การอบรมเจริญเมตตา 002

 
แล้วเจอกัน
วันที่  22 ก.ย. 2550
หมายเลข  4895
อ่าน  4,166

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

คราวที่แล้ว ได้กล่าวถึงการเจริญเมตตาว่า เมตตาจะเกิดขึ้น หรือเจริญได้นั้น ประการแรก ต้องเห็นโทษของโทสะและเห็นประโยชน์ของเมตตา เมตตาจึงจะเจริญได้ ครั้งนี้จะพูดถึงว่า การอบรมเมตตานั้น ต้องรู้ว่าควรเริ่มเจริญเมตตากับใคร ใครที่ยังไม่สามารถมีเมตตาได้ (เพราะเมตตาของเรายังมีกำลังน้อย) บุคคลที่ยังไม่ควรเจริญเมตตา เมื่อเมตตายังไม่มีกำลังคือ คนที่เกลียดกัน คนที่เป็นสหายที่รัก คนที่เป็นเพศตรงข้าม เป็นต้น คนที่เกลียดกัน เมื่อนึกถึงก็ย่อมไม่ชอบ คนที่เป็นสหายรักเมื่อนึกถึง ก็เป็นโลภะส่วนใหญ่ คนที่เป็นเพศตรงข้าม ก็เช่นกัน เป็นโลภะส่วนใหญ่


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 22 ก.ย. 2550

แต่ควรเริ่มพิจารณาถึงตัวเองเป็นพยาน หมายถึงว่า ควรรู้ว่าตัวเราก็เป็นที่รัก คนอื่นก็เป็นที่รักเหมือนกัน เราไม่ชอบสิ่งไม่ดี เช่น กาย วาจา ที่ไม่ดี เขาก็เช่นกัน ดังนั้นจึงควรมีเมตตาไม่เบียดเบียนกัน นี่คือความหมายที่ว่า มีตนเป็นพยานว่าเราก็รักสุขเกลียดทุกข์ คนอื่นก็เช่นกัน จึงไม่ควรทำร้ายกันครับ แต่ไม่ได้หมายถึงให้มีเมตตากับตนเองแต่นึกถึงตัวเองครับ ว่าเราชอบหรือไม่ชอบสิ่งใดคนอื่นก็เช่นกันครับ นี่คือเบื้องต้นในการเจริญเมตตา ให้พิจารณาถึงตัวเอง ตามที่กล่าวมา เมื่อพิจารณาด้วยปัญญา ด้วยความเข้าใจแล้ว กาย วาจา และใจก็จะเริ่มดีขึ้นกับคนอื่น เพราะอาศัยความเข้าใจจากเรื่อง การมีเมตตา ขออนุโมทนาทุกท่านครับ เชิญคลิกอ่านทวนที่นี่ครับ ... . การอบรมเจริญเมตตา 001 ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 23 ก.ย. 2550

บุคคลไม่โกรธตอบบุคคลผู้โกรธแล้ว ชื่อว่าชนะสงครามอันบุคคลชนะได้โดยยาก ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติสงบเสียได้ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมประพฤติประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย คือ แก่ตนและบุคคลอื่น

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 23 ก.ย. 2550
ความโกรธย่อมนำทุกข์ประการต่างๆ มาให้ผู้โกรธ แต่หานำทุกข์เดือดร้อนมาให้แก่ผู้ถูกโกรธไม่

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
medulla
วันที่ 23 ก.ย. 2550
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
มึนตึบ
วันที่ 24 ก.ย. 2550
สภาวะธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา สังขารขันธ์ทั้งหลายปรุงแต่งให้มีตัวตน เรื่องราว ความนึก
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Ju_mong
วันที่ 24 ก.ย. 2550

ถ้าเป็นเมตตาจริงๆ แล้วต้องเหมือนกันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ท่านสนิทสนม ไม่คุ้นเคยหรือคุ้นเคยก็เสมอกัน ถ้าเป็นเมตตาจริงๆ ถ้าท่านต้องการที่จะเจริญเมตตาบารมีอย่าจำกัด ถ้าจำกัดแล้ว ควรจะพิจารณาลักษณะของจิตในขณะนั้น ว่าเป็นกุศลหรืออกุศล

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ครูโอ
วันที่ 24 ก.ย. 2550
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 24 ก.ย. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

การอบรมเจริญเมตตาเบื้องต้นนั้น เมตตายังไม่มีกำลัง คววรพิจารณาว่าบุคคลใดที่ยังอบรมเมตตาไม่ได้ก่อน ต่อเมื่อเมตตามีกำลังแล้ว เมตตาจึงมีกับบุคคล

เหล่านี้ได้นะขออนุโมทนาครับ วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 152

[บุคคลที่เป็นโทษแก่ภาวนา ๖]

ก็แล เมื่อจะเริ่ม เบื้องต้นทีเดียว ควรทราบปุคคลโทส (บุคคล

ที่เป็นโทษแก่ภาวนา) ว่า ในบุคคลเหล่านี้ไม่ควรเจริญเมตตาไปเป็น

ปฐม ในบุคคลเหล่านี้ไม่ควรเจริญเมตตาไปเลยทีเดียว แท้จริงเมตตา

นี้ไม่ควรเจริญเป็นปฐม ในบุคคล ๔ นี้ คือในบุคคลที่เกลียดกัน ใน

บุคคลที่เป็นสหายรักกันมาก ในบุคคลที่เป็นกลางๆ กัน ในบุคคลที่

เป็นศัตรูกัน (ส่วน) ในบุคคลที่มีเพศเป็นข้าศึกกัน ไม่ควรเจริญโดย

เจาะจง ในบุคคลที่ทำกาลกิริยาแล้ว ไม่ควรเจริญทีเดียว ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Ju_mong
วันที่ 25 ก.ย. 2550

ขอแสดงความคิดเห็น 1 ข้อความในวิสุทธิมรรคเป็นข้อความที่เข้าใจยาก และลึกซึ้ง ต้องอ่านให้ละเอียดกว่านี้ และต้องอ่านให้ต่อเนื่อง ถ้าตัดมาบางช่วงอาจจะไม่ตรงกับความหมาย

และเนื้อหาที่แท้จริง 2 ข้อความที่ยกมายังมีอธิบายต่อว่า ไม่ควรเจริญเป็นปฐมคือไม่ให้ เจาะจง ไม่ว่าจะเป็นสหายที่รักกันมาก บุคคลที่เป็นกลางๆ กันหรือในบุคคลที่เป็นศัตรูกัน หรือแม้

แต่เพศตรงข้าม ท่านผู้เขียนหัวข้อได้ตัดบางข้อความออกไปเพื่อให้เข้ากับเรื่องที่ต้อง

การแสดง 3 ผู้เขียนหัวข้อพยายามจะให้เข้าใจว่า การเจริญเมตตา ต้องเริ่มเจริญกับใครก่อน ซึ่งไม่ตรงกับความหมายในวิสุทธิมรรคและก็ผิดหลักการเจริญเมตตาด้วย ถ้าอ่าน

เผินๆ ก็จะเกิดความเชื่อที่ผิดๆ ตามไป 4 ถ้าอ่านต่อไปจะพบว่า เมตตาพรหมวิหารในวิสุทธิมรรค ท่านกล่าวถึงการเจริญในเมตตาฌาณ ที่เป็นขั้นอุปจารสมาธิและอัปนาสมาธิ จะเอามาปรับใช้กับผู้อ่าน

ในบ้านธัมมะได้อย่างไร 5 การแสดงความคิดเห็น ถ้าเป็นความคิดเห็นส่วนตัวจะผิดพลาดอย่างไรก็ไม่กระทบกระเทือนมาก แต่การแสดงแบบมีการเอาพระคัมภีร์มาอ้างสนับสนุน ควรต้อง

ละเอียดและเข้าใจถูกต้องจริงๆ มิฉะนั้นอาจจะกลายเป็นดึงเอาคัมภีร์เหล่านั้นเบี่ยง

เบนไปได้ง่ายๆ จึงขอออกความเห็นมาด้วยเจตนาดี และขออนุโมทนาในความตั้งใจของท่านที่มีการมาโพสท์เป็นจำนวนมาก

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
udomjit
วันที่ 25 ก.ย. 2550

ดิฉันไม่เข้าใจทำไมถึงไม่ควรเจริญเมตตาในบุคคลที่เป็นสหายรักกันมากและบุคคลที่ทำกาลกิริยา (คือตายใช่ไหมค่ะ) ขอได้โปรดขยายความด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 25 ก.ย. 2550
 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
พุทธรักษา
วันที่ 26 ก.ย. 2550

ขอเรียนถาม. ๑. ควรเจริญเมตตาต่อ "บุคคล" ใดก่อนจึงจะควร. ๒. ส่วน "บุคคล" ๔ จำพวก หากยังเมตตาไม่ได้ ควรปฏิบัติต่อเขาอย่างไร. ...................กรุณาแนะนำด้วยค่ะ............................
 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 26 ก.ย. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

1.เมื่อเมตตายังไม่มีกำลัง บุคคลที่มีเมตตาได้ก่อน คือ ครู อาจารย์ เป็นต้น ดังเช่น ท่านอ.สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ผู้ให้ความรู้ถูกต้องตามความเป็นจริง มีเมตตากับท่านได้ครับ ขอกราบท่านอาจารย์ครับ

2.ก็คงไม่มีตัวตนที่จะบังคับให้มีเมตตาหรือไม่มีเมตตานะ เมื่อเมตตายังมีน้อย บางครั้งก็เป็นอกุศลส่วนใหญ่ในบุคคลที่กล่าวมา แต่การอบรมเจริญเมตตาก็

ต้องอันดับแรกคือ เริ่มเห็นประโยชน์ของการมีเมตตาและโทษของโทสะ อาศัย

การฟังธรรมเรื่องเมตตา และโทษของโทสะ เป็นต้น เมื่อธรรมทำหน้าที่ปรุง-

แต่ง เมตตาก็จะเจริญขึ้น จนสามารถมีเมตตากับบุคคล แม้เป็นศัตรูและเป็นที่

รักได้ สุดท้ายก็ต้องอาศัยการฟังพระธรรมนะครับ ขออนุโมทนาครับก็ขอให้เข้าใจความจริงว่า ถ้ายังมีเมตตาน้อยก็คือน้อย แต่ทุกอย่างอบรมได้ครับ จะไปมี

เมตตากับคนที่เราไม่ชอบก็ไม่ได้ ถ้าเมตตามีน้อยครับเป็นต้น ลองอ่านข้อความ

ใน

พระไตรปิฎกนะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 26 ก.ย. 2550

วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 156

แล้วในลำดับนั้นเพื่อยังเมตตาภาวนาให้เป็นไปโดยสะดวก ท่านผู้ใดเป็นที่รักที่เจริญใจ เป็นที่เคารพที่เชิดชู เป็นอาจารย์ หรืออาจริยมัต (ภิกษุขนาด

อาจารย์) เป็นอุปัชฌายหรืออุปัชฌายมัต (ภิกษุขนาดอุปัชฌาย) ของเธอ พึง

ระลึกถึงเหตุแห่งความเป็นที่รักที่เจริญใจ มีการให้ปันและการพูดไพเราะเป็น

ต้น และเหตุแห่งความเป็นที่เคารพและเชิดชู มีศีลและสุตะเป็นอาทิแห่งท่าน

ผู้นั้นแล้วเจริญเมตตาไปโดยนัยว่า 'ขอท่านสัตบุรุษนั่นจงเป็นผู้ถึงซึ่งความสุข ไม่มีความทุกข์เถิด' ดังนี้เป็นต้น ก็แล (เมื่อเจริญไป) ในบุคคลเห็นปานนั้น

อัปปนาย่อมจะสำเร็จเป็นแท้

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
devout
วันที่ 26 ก.ย. 2550

ข้อความที่ท่าน แล้วเจอกัน ยกมาทั้งหมดจากคัมภีร์วิสุทธิมรรค เป็นเรื่องของการอบรมเจริญสมถภาวนา (ภาค ๒ ซึ่งเป็นเรื่องของสมาธิขันธ์) เป็นการเจริญความ

สงบของจิต ขั้นฌานจิต ซึ่งท่านพระพุทธโฆสาจารย์ ได้อธิบายขั้นตอนไว้โดย

ละเอียด เนื้อหาโดยรวมในคัมภีร์วิสุทธิมรรค จะเน้นการดำเนินชีวิตเยี่ยงบรรพชิต

มากกว่าการดำเนินชีวิตอย่างคฤหัสถ์ เพราะชีวิตของบรรพชิตเป็นชีวิตแห่งไตรสิกขา

โดยตรง

* * * * * * * * * * * * * * * * *

ไม่ทราบว่าท่านมีจุดประสงค์อะไรในการเจริญเมตตา....เพื่อละโทสะ?

นั่นเป็นลักษณะของความต้องการรึเปล่า?...เพราะไม่ชอบโทสะ

ผู้ที่อบรมเจริญปัญญาจะรู้ว่า โทสะ เมื่อมีเหตุปัจจัยก็เกิดขึ้น

โทสะก็เป็นสภาพธรรมชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับ โลภะและโมหะ

ถ้าไม่ศึกษาลักษณะของโทสะ ก็ไม่มีวันที่จะรู้จักโทสะได้ถูกต้องตามความเป็นจริง

ดังนั้นควรศึกษาเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในสภาพธรรมที่ถูกต้อง

เมื่อมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแล้ว ความรู้ความเข้าใจนั่นเอง จะเป็นตัวละอกุศล

* * * * * * * * * * * * * * * * *

แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่า " ท่านต้องการอบรมความสงบของจิตด้วยการเจริญเมตตา "

หรือว่า

" ท่านต้องการศึกษาสภาพธรรมตามความเป็นจริง "

* * * * * * * * * * * * * * * * *

เมตตาเป็นนามธรรมชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย

บังคับให้เกิดได้มั้ย? เลือกอารมณ์ของเมตตาได้มั้ย?

ถ้าได้...ก็เป็นอัตตา...เป็นความเห็นผิด

แม้ขณะต่อไป จิตประเภทใดจะเกิด มีใครรู้บ้าง?

เมตตาเป็นสิ่งที่ดีที่ควรเจริญ

แต่ต้องเจริญด้วยความเห็นที่ถูกต้องค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
พุทธรักษา
วันที่ 27 ก.ย. 2550

.............เข้าใจ ชัดเจน ขออนุโมทนา..............

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 27 ก.ย. 2550

ขออนุโมทนาในความเห็นที่ ๖ ครับ โดยเฉพาะข้อความที่ว่า "ควรจะพิจารณาลักษณะของจิตในขณะนั้น ว่าเป็นกุศลหรืออกุศล"

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
happyindy
วันที่ 28 เม.ย. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
pamali
วันที่ 24 ก.ย. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ