สงสัยในพระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติและผลของการประพฤติผิด

 
Atom
วันที่  22 ก.ย. 2550
หมายเลข  4881
อ่าน  1,963

ผมศึกษาธรรมมาระยะหนึ่ง มีข้อสงสัยในพระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ หากมีใครรู้ช่วยไขความกระจ่างนะครับ

๑. สงสัยเช่น การรับเงินของพระ เท่าที่รู้มาคือผิดวินัย นิสสัคคีย์ปาจิตตี ผลคือลงนรกโรรุวนรก ผมสงสัยมานานแล้วว่าหากผลต้องลงนรกขนาดนั้น พระพุทธเจ้าทำไมไม่ทรงบัญญัติตั้งแต่แรก เพราะเป็นผลที่ร้ายแรงขนาดนี้ ทำไมถึงมาทรงบัญญัติเมื่อเกิดเหตุ แสดงว่าพระวินัยที่ทรงบัญญัติมาอาจไม่ต้องถึงกับลงนรกหรือเปล่า?

๒. มีหลายคนรวมถึงพ่อผมซึ่งเคยบวชมาบอกว่า เป็นพระวินัยที่บัญญัติขึ้น (เรื่องการรับเงินของพระ) เป็นกฏ แต่ไม่น่าจะเกี่ยวกับการลงนรก หรือเปล่า? และก็บอกว่าปัจจุบันพระต้องใช้เงิน ในปัจจัย ๔ อีกทั้งบางวัดก็ไม่มีลูกศิษย์ด้วย

๓. หากเราไม่ถวายกับมือท่านแต่ไปหยอดที่ตู้ในวัดหน้าพระประธาน เราจะบาปหรือไม่?

ขอบคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 22 ก.ย. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

. การรับเงินทองเป็นอาบัติ เมื่อไม่สละคืนด้วยเจตนาสละคืนและไม่ปลงอาบัติด้วยเจตนาที่เห็นโทษแล้วเมื่อตายไปในเพศภิกษุ ย่อมไปอบายภูมิ แต่เหตุผลที่พระพุทธองค์ไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทก่อน ล่วงหน้านั้นเพราะย่อมถูกติเตียนจากภิกษุบางรูปได้ว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้ผูกมัด บังคับ ภิกษุรูปนั้นอาจกล่าวว่า เราละกองสมบัติใหญ่มาบวช ใครเล่าจะกล้าฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เสพเมถุน เป็นต้น พระองค์ผูกมัดด้วยสิกขาบทกับเราก่อนเมื่อเป็นดังนี้ สิกขาบทก็จะไม่สามารถตั้งอยู่ได้นาน อันเนื่องมาจากเหตุเกิดเรื่องยังไม่เกิดขึ้น และความไม่เคารพในสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติก่อน แต่เมื่อเรื่องเกิดขึ้นพระพุทธองค์ย่อมบัญญัติสิกขาบท เพื่อระงับโทษคือ กิเลสที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เป็นต้น สิกขาบทย่อมเป็นที่เคารพ ยำเกรงเพราะเหตุเกิดขึ้นและย่อมตั้งอยู่ได้นาน ที่สำคัญที่สุดเป็นวิสัยของพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะบัญญัติสิกขาบทครับ ดังข้อความในพระไตรปิฎกในความเห็นที่ 4

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 22 ก.ย. 2550

๒. ถ้าเป็นอาบัติแล้วในเรื่องการรับ เงิน ทอง ถ้าภิกษุไม่เห็นโทษปลงอาบัติด้วยการสละ ตามพระธรรมวินัย เมื่อตายในเพศภิกษุย่อมไปอบายภูมิ แต่ถ้าลาสิกขา (สึก) ย่อมไม่ไปนรกเพราะเหตุแห่งกรรมคือ รับเงินทองครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 22 ก.ย. 2550

๓.ขณะที่เป็นกุศล คือ ขณะที่เป็นไปในทาน ศีล สมถและวิปัสสนา ดังนั้นขึ้นอยู่กับเจตนาเป็นสำคัญ เจตนาที่สละเพื่อบำรุงวัด บูชาพระรัตนตรัยก็เป็นกุศล เป็นต้น

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 22 ก.ย. 2550
 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
wannee.s
วันที่ 22 ก.ย. 2550

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
Atom
วันที่ 22 ก.ย. 2550

ขอขอบคุณ คุณแล้วเจอกันมาก

ที่ไขข้อข้องใจที่มีมานาน เปรียบเสมือนฟ้าหลังฝนที่ครึ้มมานานครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
olive
วันที่ 24 ก.ย. 2550
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
ajarnkruo
วันที่ 24 ก.ย. 2550

ถ้าโรคไม่ปรากฎ แต่แพทย์กลับทำการรักษา แล้วบอกว่าหายแล้ว ย่อมหมดศรัทธาจากคนไข้ ... นัยเดียวกันกับการที่พระพุทธองค์ไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทใดสิกขาบทหนึ่งก่อนเหตุเกิดครับ พระปริวิตกของพระผู้มีพระภาคล้วนเป็นไปด้วยพระมหากรุณาคุณจริงๆ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 24 ก.ย. 2550

อนุโมทนาด้วยนะ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 6 เม.ย. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ