พระสารีบุตรทูลขอให้ทรงบัญญัติสิกขาบท [มหาวิภังค์]

 
เมตตา
วันที่  26 เม.ย. 2553
หมายเลข  15961
อ่าน  3,197

[เล่มที่ 1] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ หน้าที่ ๓๕๔

[พระสารีบุตรทูลขอให้ทรงบัญญัติสิกขาบท]

ถามว่า ในคำว่า อถโข อายสฺมา สารีปุตฺโต มีอะไรเป็นอนุสนธิ

ตอบว่า คือท่านพระสารีบุตร

ครั้นได้ฟังเหตุการณ์ดำรงอยู่นานแห่งพรหมจรรย์ของพระพุทธเจ้า ๓ พระองค์อย่างนี้แล้ว ถึงความตกลงใจว่า การบัญญัติสิกขาบทเท่านั้น เห็นเหตุแห่งความดำรงอยู่ได้นาน เมื่อปรารถนาความดำรงอยู่นาน แห่งพรหมจรรย์ แม้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทูลวิงวอนขอการบัญญัติสิกขาบทกะพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระอุบาลีเถระ กล่าวคำว่า อถโข อายสฺมา สารีปุตฺโต อุฏฺายาสนา ฯเปฯ จิรฏฺิติก นี้ เพื่อแสดงวิธีทูลวิงวอนของการบัญญัติสิกขาบทนั้น

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อทฺธนิย คือควรแก่กาลนาน มีคำอธิบายว่า มีกาลยาวนาน คำที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้น


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
เมตตา
วันที่ 26 เม.ย. 2553

[พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามท่านพระสารีบุตร]

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงประกาศแก่พระสารีบุตรนั้นว่า เวลานี้ ยังไม่เป็นกาลแห่งอันบัญญัติสิกขาบทก่อน จึงตรัสว่า อาคเมหิตฺว สารีปุตฺต ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า อาคเมหิ ตฺว ความว่า เธอจงรอก่อน มีคำอธิบายว่า เธอจงยับยั้งก่อน. ก็คำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสซ้ำสองครั้ง ด้วยอำนาจความเอื้อเฟื้อ. ด้วยคำว่า อาคเมหิ เป็นต้นนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามความที่การบัญญัติสิกขาบท เป็นวิสัยของพระสาวก เมื่อจะทรงทำให้แจ้งว่า การบัญญัติสิกขาบทเป็นพุทธวิสัย จึงตรัสคำว่า ตถาคโตว เป็นต้น. ก็ในคำว่า ตถาคโตว นี้ คำว่า ตตฺถ เป็นสัตตมีวิภัตติ เพ่งถึงการอ้อนวอน ขอให้ทรงบัญญัติสิกขาบท. ในคำว่า

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
เมตตา
วันที่ 27 เม.ย. 2553

[พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามท่านพระสารีบุตร]

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงประกาศแก่พระสารีบุตรนั้นว่า เวลานี้ ยังไม่เป็นกาลแห่งอันบัญญัติสิกขาบทก่อน จึงตรัสว่า อาคเมหิตฺว สารีปุตฺต ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า อาคเมหิ ตฺวความว่า เธอจงรอก่อน มีคำอธิบายว่า เธอจงยับยั้งก่อน. ก็คำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสซ้ำสองครั้ง ด้วยอำนาจความเอื้อเฟื้อ. ด้วยคำว่า อาคเมหิ เป็นต้นนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามความที่การบัญญัติสิกขาบท เป็นวิสัยของพระสาวก เมื่อจะทรงทำให้แจ้งว่า การบัญญัติสิกขาบทเป็นพุทธวิสัย จึงตรัสคำว่า ตถาคโตว เป็นต้น. ก็ในคำว่า ตถาคโตว นี้ คำว่า ตตฺถ เป็นสัตตมีวิภัตติเพ่งถึงการอ้อนวอน ขอให้ทรงบัญญัติสิกขาบท. ในคำว่า

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เมตตา
วันที่ 27 เม.ย. 2553

ตถาคโตว นั้น มีโยชนาดังต่อไปนี้ :- ในคำที่เธอกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงบัญญัติสิกขาบทนั้น พระตถาคตเท่านั้นจักรู้กาลแห่งอันบัญญัติสิกขาบทนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว เพื่อจะแสดงสมัยมิใช่กาลก่อน จึงตรัสคำมีอาทิว่า น ตาว สารีปุตฺต ดังนี้. ในคำว่า น ตาว สารีปุตฺต เป็นต้นนั้นมีวินิจฉัยว่า อาสวะทั้งหลายย่อมตั้งอยู่ในธรรมเหล่านี้ เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า เป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ, อีกอย่างหนึ่งธรรมทั้งหลายอันอาสวะพึงตั้งอยู่ คือไม่พึงผ่านเลยไป เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า เป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ, อธิบายว่า อาสวะคือทุกข์ และอาสวะ คือกิเลส อันเป็นไปในทิฏฐธรรม และในสัมปรายภพ อาสวะมีการค่อนขอดของคนอื่น ความวิปฏิสาร การฆ่าและการจองจำเป็นต้น และอาสวะอันเป็นทุกข์พิเศษในอบาย ย่อมตั้งอยู่นั่นเทียว ในวิติกกมธรรมเหล่าใด เพราะวีติกกมธรรมเหล่านั้น เป็นเหตุแห่งอาสวะมีอาสวะอันเป็นไปในทิฏฐธรรมเป็นต้นเหล่านั้น.

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เมตตา
วันที่ 27 เม.ย. 2553

* วาจาสำหรับประกอบในคำว่า น ตาว เป็นต้นนี้ ดังนี้ว่า วีตกกมธรรมทั้งหลาย ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะเหล่านั้น ยังไม่มีปรากฏในสงฆ์ เสียงใดพระศาสดาจะไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลายเพียงนั้น. ก็ถ้าพึงบัญญัติไซร้ ไม่พึงพ้นจากความค่อนขอดของผู้อื่น จากความคัดค้านของผู้อื่น จากโทษคือความติเตียน,

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เมตตา
วันที่ 27 เม.ย. 2553

[ข้อที่จะถูกตำหนิในการบัญญัติสิกขาบท]

ถามว่า ไม่พึงพ้นอย่างไร? ตอบว่า จริงอยู่ สิขาบททั้งปวงมีอาทิว่า โย ปน ภิกฺขุ เมถุน ธมม ปฏิสเวยฺย ดังนี้ พึงเป็นสิกขาบทอันพระศาสดาผู้จะบัญญัติ ควรบัญญัติ. ฝ่ายชนเหล่าอื่นไม่เห็นวีติกกมโทษ แต่รู้พระบัญญัตินี้ จะพึงยังความค่อนขอด ความคัดค้านและความติเตียนให้เป็นไปอย่างนี้ว่า นี่อย่างไรกัน พระสมณโคดมจักผูกมัดด้วยสิกขาบททั้งหลายจักบัญญัติปาราชิก ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ว่า ภิกษุสงฆ์ยอมตามเรา ทำตามคำของเรา กุลบุตรเหล่านี้ละกองโภคะใหญ่ละเครือญาติใหญ่ และละแม้ซึ่งราชสมบัติอันอยู่ในเงื้อมมือบวช เป็นผู้สันโดษด้วยความเป็นผู้มีอาหารและเครื่องนุ่งห่มเป็นอย่างยิ่ง มีความเคารพจัดในสิกขา ไม่ห่วงใยในร่างกายและชีวิตอยู่มิใช่หรือ ในกุลบุตรเหล่านั้น ใครเล่า จักเสพเมถุนซึ่งเป็นโลกามิสหรือจักลักของๆ ผู้อื่น หรือจักเข้าไปตัดชีวิตของผู้อื่น ซึ่งเป็นของปรารถนารักใคร่ หวานยิ่งนัก หรือจักสำเร็จการเลี้ยงชีวิตด้วยอวดคุณที่ไม่มี, เมื่อปาราชิกแม้ไม่ทรงบัญญัติไว้ สิกขาบทนั่นเป็นอันพระองค์ทรงทำให้ปรากฏแล้วโดยสังเขปในบรรพชานั่นเอง มิใช่หรือ? ชนทั้งหลายไม่ทราบเรี่ยวแรง และกำลังแม้แห่งพระตถาคต, สิขาบทแม้ที่ทรงบัญญัติไว้ จะพึงกำเริบ คือไม่คงอยู่ในสถานเดิม.

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
เมตตา
วันที่ 27 เม.ย. 2553

[เปรียบด้วยแพทย์ผู้ไม่ฉลาดทำการผ่าตัด]

แพทย์ผู้ไม่ฉลาด เรียกบุรุษบางคน ซึ่งหัวฝียังไม่เกิดขึ้นมาแล้วบอกว่า มานี่แน่ะ พ่อมหาจำเริญ! หัวฝีใหญ่จักเกิดขึ้นในสรีระประเทศตรงนี้ของท่าน, จักยังความเสื่อมฉิบหายให้มาถึงท่าน, ท่านจงรีบให้หมอเยียวยามันเสียเถิด ดังนี้ ผู้อันบุรุษนั้นกล่าวว่า ดีละ ท่านอาจารย์! ท่านนั่นแหละจงเยียวยามันเถิด จึงผ่าสรีรประเทศซึ่งหาโรคมิได้ของบุรุษนั้น คัดเลือดออกแล้วทำสรีรประเทศตรงนั้นให้กลับมีผิวดีด้วยยาทาและพอก และการชะล้างเป็นต้นแล้ว จึงกล่าวกะบุรุษนั้นว่า โรคใหญ่ของท่าน เราได้เยียวยาแล้ว ท่านจงให้บำเหน็จแก่เรา. บุรุษนั้น พึงค่อนขอด พึงคัดค้าน และพึงติเตียนนายแพทย์อย่างนี้ว่า หมอโง่นี้พูดอะไร ได้ยินว่าโรคชนิดไหนของเรา ซึ่งหมอโง่นี้ได้เยียวยาแล้ว, หมอโง่นี้ทำทุกข์ให้เกิดแก่เรา และทำให้เราต้องเสียเลือดไปมิใช่หรือ ดังนี้ และไม่พึงรู้คุณของหมอนั้น ข้อนี้ ชื่อแม้ฉันใด, ถ้าเมื่อวีติกกมโทษยังไม่เกิดขึ้น พระศาสดา พึงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสาวกไซร้ พระองค์ไม่พึงพ้นจากอนิฏฐผล มีความค่อนขอดของผู้อื่นเป็นต้น และชนทั้งหลายจะไม่พึงรู้กำลังพระปรีชาสามารถของพระองค์ ฉันนั้นนั่นแล และสิกขาบทที่ทรงบัญญัติแล้ว จะพึงกำเริบ คือไม่ตั้งอยู่ในสถานเดิม. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า น ตาว สารีปุตฺต สตฺถา สาวภานฯ เป ฯ ปาตุภวนฺติ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงกาลอันไม่ควรอย่างนี้แล้ว จึงตรัสคำว่า ยโต จ โข สารีปุตฺต เป็นอาทิ เพื่อแสดงกาลอีก. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยโต คือเมื่อใด มีคำอธิบายว่า ในกาลใด. คำที่เหลือ พึงทราบโดยทำนองที่กล่าวแล้วนั่นแล. *

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
เมตตา
วันที่ 27 เม.ย. 2553

อีกนัยหนึ่ง ในคำว่า ยโต เป็นต้นนี้ มีความสังเขปดังต่อไปนี้ :-

วีติกกมโทษอันถึงซึ่งการนับว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ ย่อมมีปรากฏในสงฆ์ในกาลชื่อใด, ในกาลนั้น พระศาสนา ย่อมทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พวกสาวก ย่อมทรงแสดงปาฏิโมกข์, เพราะเหตุไร? เพราะเพื่อกำจัดวีติกกมโทษเหล่านั้นนั่นแล อันถึงซึ่งการนับว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ, พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงบัญญัติอย่างนั้น ย่อมเป็นผู้ไม่ควรค่อนขอด เป็นต้น และเป็นผู้มีอานุภาพปรากฏ ในสัพพัญญูวิสัยของพระองค์ ย่อมถึงสักการะ และสิกขาบทของพระองค์นั้นย่อมไม่กำเริบ คือตั้งอยู่ในสถานเดิม, เปรียบเหมือนนายแพทย์ผู้ฉลาดเยียวยาหัวฝีที่เกิดขึ้นแล้วด้วยการผ่าตัดพอกยาพันแผลและชะล้างเป็นต้น ทำให้สบายมีผิวดี เป็นผู้ไม่ควรค่อนขอด เป็นต้นเลย และเป็นผู้มีอานุภาพปรากฏในเพราะกรรมแห่งอาจารย์ของตน ย่อมประสบสักการะฉะนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสความเกิดขึ้น และความเกิดขึ้นแห่งธรรมเป็นที่ตั้งของอาสวะ อกาล และกาลแห่งอันบัญญัติสิกขาบทอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อแสดงกาลยังไม่เกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านั้นแลจึงตรัสคำว่า น ตาว สารปุตฺต อิเธกจฺเจ เป็นต้น.

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 6 เม.ย. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ