อเหตุกะ สเหตุกะ

 
h_peijen
วันที่  29 ส.ค. 2550
หมายเลข  4672
อ่าน  1,421

ขอความกรุณาช่วยยกตัวอย่าง ที่เป็นอเหตุกะ และสเหตุกะ ด้วยค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 29 ส.ค. 2550

ตามหลักพระอภิธรรม คำว่า เหตุ อเหตุกะ สเหตุกะ มีความหมายดังนี้ เหตุ ได้แก่ธรรม ๖ ประเภท คือ โลภ โทส โมห อโลภ อโทส อโมห อเหตุกะ หมายถึงธรรมที่ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย ได้แก่ อเหตุกจิต ๑๘ และเจตสิกที่ประกอบ รูป ๒๘ พระนิพพาน ๑ สเหตุกะ หมายถึงธรรมที่มีเหตุเกิดร่วมด้วย ได้แก่สเหตุกจิต ๗๑ และเจตสิกที่ประกอบ ในชีวิตประจำวันของเราขณะใดที่จิตเห็น ได้ยิน เป็นต้น ขณะนั้นชื่อว่าอเหตุกะในขณะที่จิตเป็นอกุศล หรือเป็นกุศล นามธรรมที่เกิดขณะนั้นเป็นสเหตุกะ รูปธรรมทั้งหมดและพระนิพพาน ไม่มีเหตุเกิดสัมปยุตด้วย เป็นอเหตุกะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 29 ส.ค. 2550

ไม่พ้นจากสภาพธัมมะที่มีในขณะนี้ ในชีวิตประจำวัน รู้ด้วยความไม่เป็นเรา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 30 ส.ค. 2550

จิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส จิตรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส เป็นอเหตุกจิต เพราะไม่มีเหตุ ๖ เกิดร่วมด้วย ขณะที่ให้ทาน ขณะนั้นจิตเป็นกุศลมีอโลภเจตสิก อโทสเจตสิกหรืออาจจะมีอโมหเจตสิกเกิดร่วมด้วย จิตนั้นจึงเป็นสเหตุกจิตค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
พุทธรักษา
วันที่ 31 ส.ค. 2550

ตอบได้ชัดเจนมาก ขออนุโมทนาทุกท่าน.

ขอเรียนถามเพิ่มเติมที่ว่า"ไม่เป็นเรา.." เพราะคิด หรือประจักษ์" เมตตากันนะ ขออนุโมทนาล่วงหน้าจ้ะ.

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
study
วันที่ 31 ส.ค. 2550

การรู้ว่าไม่ใช่เรามีหลายระดับคือ การฟัง การพิจารณาตาม การค่อยๆ รู้ขึ้นและการประจักษ์

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 1 ก.ย. 2550

ปัญญามีหลายระดับ ตั้งแต่ขั้นการฟัง การศึกษา ปัญญาจะค่อยๆ เจริญขึ้น เมื่อเราฟังแล้วเข้าใจจรดกระดูก เข้าถึงสภาพธรรมะ ว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมะไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน ต้องเป็นปัญญาของคนนั้นที่จะรู้เองว่าเป็นขั้นคิดนึกหรือประจักษ์หรือเป็นความเข้าใจ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
พุทธรักษา
วันที่ 1 ก.ย. 2550
ขออนุโมทนาทุกท่านที่ช่วยตอบค่ะ.
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 14 ก.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ