เริ่มเข้าใจ เริ่มรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า_สนทนาธรรม ไทย-ฮินดี วันเสาร์ที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๖

 
เมตตา
วันที่  10 มิ.ย. 2566
หมายเลข  46061
อ่าน  187

- (คุณสุคิน: ท่านอาจารย์ครับ คราวที่แล้วเราพูดถึงเรื่องจิตอยู่ แล้วก็มาพูดถึงเจตสิก ท่านอาจารย์เริ่มชี้ให้เห็นถึงความจริงของเจตสิกที่เกิดพร้อมจิต แล้วตอนท้ายท่านอาจารย์บอกจะสนทนาต่อเรื่องเจตสิกครับ) สนทนาธรรมเรื่องอะไรก็ได้ใช่ไหม ที่จะต้องเข้าใจสิ่งที่มีจริงที่เป็นธรรม ทุกเรื่องเป็นชีวิตประจำวัน แต่ไม่มีใครรู้ความจริง จนกว่าจะได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละคำ.

- สุนัขมีปฏิสนธิจิตไหม? (มี) แล้วปฏิสนธิจิตของสุนัขเป็นจิตอะไร? (อกุศลวิบาก) เป็นจักขุวิญญาณได้ไหม? (ไม่ได้) เพราะฉะนั้น เป็นจิตอะไรที่เป็นปฏิสนธิของสุนัข ของแมว? (เป็นปฏิสนธิจิต) จิตประเภทไหนเป็นปฏิสนธิของนก แมว ปลา ปู? (เป็นอกุศลวิบาก) อกุศลวิบากมีกี่ประเภท? (๗ ประเภท) เห็นไหม พอเราพูดเรื่องเจตสิกไม่ได้หมายความว่าเราให้ลืมเรื่องจิตหมด แต่ฟังแล้วต้องเข้าใจ ถ้าไม่เข้าใจสิ่งที่เราได้ฟังแล้ว ฟังต่อๆ ไปก็ลืมอีก จำไว้ทำไมที่เราเรียนแล้วเวลาเราพูดถึงเจตสิก และพูดถึงจิตอีก เข้าใจแค่ไหนต้องไม่ลืม มิเช่นนั้น การฟังก็ไม่มีประโยชน์เลย.

- เพราะฉะนั้น ถามอีกครั้งหนึ่ง ว่า สุนัข แมว นก ปฏิสนธิจิตเป็นจิตอะไร ประเภทไหน? (สันตีรณะครับ) สันตีรณจิตมีกี่ดวง? (๓ ดวง) ๓ ดวง อะไรบ้าง? (๑. สันตีรณอกุศลวิบาก ๒. สันตีรณกุศลวิบากอุเบกขา ๓. สันตีรณกุศลวิบากโสมนัส) ทั้งหมดมีกี่ดวง? (๓ ครับ) .

- อกุศลวิบากสันตีรณะเกิดเป็นคนได้ไหม? (ไม่ได้) และคนที่เกิดในโลกนี้ต่างกันมากมาย คนที่ปฏิสนธิจิตเป็นสันตีรณะวิบากได้ไหม? (คุณสุคิน: แกไม่ทราบครับ แกเหมือนไม่เคยได้ยินเรื่องนี้ครับ) เราพูดแล้วหรือยัง? (คุณสุคิน: ตามที่ผมจำได้พูดแล้วครับ แต่แกจำไม่ได้) เพราะฉะนั้น บอกเขาว่า ยังไม่ต้องพูดถึงเจตสิกดีไหม? (ค่ะ ยังไม่ต้องรีบไปคุยเรื่องอื่น คุยเรื่องสันตีรณะต่อ) จนกว่าสิ่งที่เขาฟังเป็นความเข้าใจไม่ใช่จำ.

- วันนี้เราจะพูดเรื่องสันตีรณะที่เป็นวิบากจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ ๓ ดวง อุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบากคืออะไร? (เป็นอกุศลวิบาก) หมายความว่าอย่างไร อกุศลวิบาก? (เป็นผลของอกุศลกรรม) อกุศลกรรมอะไร? (แบบไหนก็ได้) เป็นอกุศลกรรมทุกประเภทให้ผลเป็นอกุศลวิบากกี่ดวง? (๗ ดวง) น้อยกว่านั้นได้ไหม? (ไม่ได้) มากกว่านั้นได้ไหม? (ไม่ได้) .

- สัมปฏิจฉันนอกุศลวิบากทำกิจอะไร? (ทำกิจพิจารณาอารมณ์) ขอโทษนะ สัมปฏิจฉันนะค่ะ (รับรู้อารมณ์ต่อ) จักขุวิญญาณเป็นกุศลวิบาก สัมปฏิจฉันนะเป็นอกุศลวิบากได้ไหม? (ไม่ได้) .

- เพราะฉะนั้น อกุศลวิบากทั้งหมดมีเท่าไหร่? (มี ๗) เพราะฉะนั้น อกุศลวิบากให้ผลทำให้เกิดได้ไหม? (ได้) .

- สัมปฏิจฉันนอกุศลวิบากทำกิจปฏิสนธิได้ไหม? (ไม่ได้) .

- จักขุวิญญาณทำได้กี่กิจ? (๑ กิจ)

- สัมปฏิจฉันนะทำกิจอะไรได้? (รับอารมณ์ต่อ) ทำกิจอื่นได้ไหม? (ไม่ได้) สัมปฏิจฉันนะทำปฏิสนธิกิจได้ไหม? (ไม่ได้) .

- อกุศลวิบากทั้งหมดมีกี่ดวง? (๗) เพราะฉะนั้น อกุศลวิบากที่ทำกิจปฏิสนธิได้แก่จิตอะไร? (สันตีรณะ) สันตีรณอกุศลวิบากทำกิจเกิดเป็นเทวดาได้ไหม? (ไม่ได้) ทำกิจเกิดเป็นมนุษย์ได้ไหม? (ไม่ได้) .

- เพราะฉะนั้น อกุศลวิบากอเหตุกะมีกี่ดวง? (๗ ดวง) อกุศลวิบากสันตีรณะทำกิจอะไร? (ทำกิจสันตีรณะ และปฏิสนธิ) ๒ กิจหรือ อะไรอีก? (มี ๕ กิจ แต่ตอนนี้เราพูดถึงแค่ ๔ กิจ ๑. สันตีรณะ ๒. ปฏิสนธิ ๓. ภวังค์ ๔. จุติ อันที่ ๕ เรายังไม่ได้พูดถึงครับ) ที่พูดอย่างนี้เพื่อให้เขารู้ทุกครั้งที่เขาเห็นสัตว์เป็นนก เป็นปู เป็นปลา รู้ว่าเป็นผลของกรรมที่ทำให้เกิดเป็นอย่างนั้น.

- คุณสุคินให้เขาคิดเองหรือบอกเขา (คุณสุคิน: อธิบายว่าเหตุผลที่ท่านอาจารย์พูดถึง ก็คือเพื่อที่จะให้เขาเมื่อไหร่ที่เห็นสัตว์ จะได้พิจราณาได้ว่า ๕ จิตนี้ แม้ว่าอันที่ ๕ เราจะไม่พูดถึง ๕ จิตนี้ที่เกิดในชีวิตประจำวัน ยกเว้นปฏิสนธิเกิดครั้งเดียวแล้วไม่เกิดอีก สำหรับจุติยังไม่มาถึง ที่เหลือก็เกิดขึ้นเป็นประจำวันเป็นผลของอกุศลกรรม เช่นเดียวกับมนุษย์ตรงกันข้ามเป็นผลของกุศลกรรมครับ) เพราะฉะนั้น เหมือนกับที่เราอาจจะพูดคราวนี้ และเป็นคราวก่อนของคราวต่อไป แต่เขาก็ไม่รู้เขาลืม แต่ต้องถามให้เขาคิดถึงจะรู้ว่า เขาจำได้แค่ไหน เขาเข้าใจละเอียดได้แค่ไหน เพราะฉะนั้น เป็นเรื่องของคนฟังที่จะต้องไตร่ตรอง ถ้าเราไปบอกเขาหมดคราวหน้าเขาก็ลืม เหมือนเราบอกเขาคราวก่อนแล้วคราวนี้เขาก็ลืม แต่ว่าเราจะเตือนความจำเขาโดยการที่ถามเพื่อที่จะรู้ว่าเขาจำได้แค่ไหน เขาลืมจุดไหน เขาเข้าใจมากน้อยเท่าไหร่ มิเช่นนั้น เราจะไม่รู้จักคนที่เรากำลังพูดด้วย ว่า เราจะช่วยให้เขาเข้าใจได้อย่างไร.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งและกราบยินดีในกุศลจิตของคุณสุคิน ด้วยค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
เมตตา
วันที่ 10 มิ.ย. 2566

- ถ้าเขาเข้าใจไม่จำเป็นต้องคิดถึงชื่อ เพราะฉะนั้น เวลาที่เขาเห็นงูเขารู้เลย ว่า นี่เป็นผลของกรรม ประโยชน์กว่าที่เขาไปคิด ว่า ปฏิสนธิของงูเป็นอะไร.

- งูไม่ใช่นก ไม่ใช่ตุ๊กแก ไม่ใช่จรเข้ เพราะแม้ปฏิสนธิเป็นจิตประเภทเดียว คืออกุศลวิบากผลของอกุศลกรรม ขณะนั้นไม่ได้ทำหน้าที่เห็น ไม่ได้ทำหน้าที่ได้กลิ่น ไม่ได้ทำหน้าที่รับ แต่ขณะที่รับรู้ต่อ ขณะนั้นความสามารถทำให้เกิดปฏิสนธิจิต และก็การที่สัตว์ต่างๆ หลากหลายแสดงให้เห็นกรรมที่หลากหลายมาก และจากคนว่าอาจจะไปเป็นนก เป็นงู เป็นจรเข้ที่ไหนก็ได้เป็นการเตือนให้เห็นโทษของอกุศล.

- คุณอาช่าตายแต่เกิดเป็นเสือได้ไหม? (ได้) เสือก็มีหลายชนิดไม่ใช่อย่างเดียวกัน แต่มีเสือหลายประเภท เสือตาบอดก็มีใช่ไหม? (ครับ) พราะฉะนั้น จะเห็นได้อกุศลวิบาก กรรมใดๆ ที่ได้ทำแล้วจะทำให้จิตที่เป็นผลเกิดได้เพียง ๗ เท่านั้น (ครับ) .

- เพราะฉะนั้น อีกครั้งอเหตุกอกุศลวิบากสันตีรณะทำกิจปฏิสนธิเป็นอะไรบ้าง? (เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นเปรต และก็ทุกๆ สัตว์ที่ต่ำกว่าสัตว์เดรัจฉาน และเปรตครับ) .

- เพราะฉะนั้น จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ จนถึงสัมปฏิจฉันนะมีเจตสิกเกิดไม่เท่ากันใช่ไหม? (ไม่เหมือนกัน) อะไรมากกว่า? (สัมปฏิจฉันนะจะมีเจตสิกมากกว่า) นี่เป็นการที่เราเริ่มเข้าใจความต่าง ว่า จิตต่างกันเพราะเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยต่างกัน.

- เพราะฉะนั้น การที่เราเรียนเรื่องเจตสิก ก็เพื่อเข้าใจจิตเพิ่มขึ้นว่า จิตหลากหลายมากตามประเภทของจิตที่ประกอบด้วยเจตสิกต่างกัน เข้าใจไหม? (เข้าใจ) ให้รู้ ไม่ใช่ให้ไปนั่งนับเจตสิก แต่ให้รู้ว่า กรรมที่ได้กระทำแล้วทั้งหมดทำให้เกิดผลของกรรม นอกจากเกิดไม่ใช่เกิดเป็นคน เกิดเป็นเทวดา หรือเกิดเป็นอะไร ก็เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ในนรก หรืออะไรแล้วก็ยังทำให้จิตเห็นเกิดขึ้นเพียงแค่เห็น การที่เราบอกว่ามีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเพียง ๗ ดวง แสดงให้เห็นว่า กรรมสามารถทำให้จิต และเจตสิก ๗ ดวงเกิดขึ้นแสนสั้น และไม่สามารถจะคิด ไม่สามารถจะเป็นกุศล อกุศลใดๆ เลย เพียงแค่เกิดขึ้นเห็น ๑ ขณะ.

- กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
เมตตา
วันที่ 10 มิ.ย. 2566

- เพราะฉะนั้น การศึกษาเรื่องจิต เจตสิก ไม่ใช่ให้นั่งนับจิต และเจตสิก แต่ให้เริ่มเข้าใจ ว่า ต่างกันอย่างไรในแต่ละ ๑ ขณะ.

- ถ้าไม่ได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ใครจะรู้ว่าเห็นเดี๋ยวนี้เพียง ๑ ขณะจะปรากฏเป็นรูปร่างสัณฐานต่างๆ เพื่อให้เริ่มรู้จักพระพุทธเจ้าพระองค์ตรัสรู้สิ่งที่คนอื่นรู้ไม่ได้เพราะจิตขณะนี้มีเท่าไหร่ จิตเพียงจิตเห็นอย่างเดียวนับไม่ถ้วน.

- การศึกษาธรรม ไม่ใช่ไปจำเจตสิก จำเรื่องราวต่างๆ แต่ให้มีความเข้าใจที่มั่นคงว่า ขณะนี้เป็นธรรมแต่ละ ๑ ถ้าไม่เข้าใจธรรมแต่ละ ๑ ละเอียดขึ้น ชัดเจนขึ้น ไม่สามารถที่จะละความเห็นว่าเป็นเราและเป็นสิ่งใดได้.

- เพราะฉะนั้น ทุกครั้งที่ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อเข้าใจ เป็นการศึกษาสิ่งที่กำลังมีซึ่งไม่เคยรู้มาเลยในชีวิตประจำวันทั้งหมด.

- ธรรมไม่ใช่สำหรับจำ แต่ขณะใดก็ตามที่ เห็น สามารถรู้ได้ว่าไม่มีใครทำให้เห็นเกิดเลย นอกจากกรรมที่ได้ทำแล้ว.

- ไม่มีใครทำให้เห็นสิ่งที่น่าพอใจ แต่เมื่อสิ่งที่ปรากฏที่เห็นแล้วเป็นสิ่งที่น่าพอใจ ก็รู้ได้ว่า เพราะกรรมทำให้เห็นสิ่งนั้น ขณะที่เข้าใจอย่างนี้มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยมากกว่า เห็น ที่กำลังเห็น.

- การฟังเรื่องเจตสิก ไม่ใช่ฟังเพื่อเราเข้าใจเจตสิก แต่เพื่อรู้ความจริงว่า เจตสิกไม่ใช่จิต และเจตสิกเกิดพร้อมจิตเพราะกรรมเป็นปัจจัยทำให้จิตที่เป็นผลของกรรมคือวิบากเกิดขึ้นพร้อมวิบากเจตสิก ทั้งสองอย่างที่เกิดอาศัยกันและกันเกิดโดยกรรมเป็นปัจจัย.

- เป็นการยืนยันว่า แต่ละขณะไม่มีใครสามารถทำอะไรได้ แต่ละหนึ่งเป็นธรรมที่ถ้าไม่รู้ก็ยึดถือทั้งหมดว่าเป็นเรา หรือเป็นของเรา.

- เพราะฉะนั้น เรียนเรื่องจิตเพื่ออะไร? (เข้าใจความจริง) เมื่อไหร่? (ปัจจุบัน) ปัจจุบันแปลว่าอะไร? (เช่นตอนนี้เห็นอยู่ เข้าใจเห็น) ไม่ใช่เช่นค่ะ เดี๋ยวนี้ (เห็นครับ) ได้ยิน ด้วยหรือเปล่า? (มีครับ) ไม่ค่ะ เพื่อเข้าใจอะไร? (เมื่อไหร่เข้าใจเห็น ไม่ได้เข้าใจได้ยินครับ) ฟังดีๆ นะ ฟังธรรมเพื่อเข้าใจอะไร? (เข้าใจความจริงตอนนี้ปรากฏตอนนี้) ต้องเดี๋ยวนี้นะ แต่ว่ายังไม่ได้ประจักษ์แจ้งความจริงตามที่เข้าใจ.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เมตตา
วันที่ 10 มิ.ย. 2566

- เริ่มเข้าใจ เริ่มรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สิ่งที่ทุกคนกำลังฟัง และเข้าใจเป็นความจริงที่พระองค์ได้ทรงประจักษ์แจ้งทุกอย่างถึงที่สุดโดยประการทั้งปวง พระองค์ทรงแสดงตามลำดับ ถ้าไม่มีความเข้าใจจากการที่ได้ฟังเรื่องสิ่งที่มีจริงเลย สามารถที่จะรู้ความจริงของสิ่งที่เกิดแล้วดับ ขณะนี้ ได้ไหม.

- สิ่งที่มีจริงทุกขณะทั้งวันทุกวันเป็นธรรมแต่ละหนึ่งทั้งหมด ต้องฟังให้เข้าใจละเอียดขึ้น จึงจะละความสงสัย และความไม่รู้ได้.

- คนที่เกิดในนรก ขณะที่เกิดมีจิตไหม? (มี) มีเจตสิกไหม? (มี) มีรูปไหม? (มี) อะไรทำให้จิตเกิด อะไรทำให้เจตสิกเกิด อะไรทำให้รูปเกิด? (กรรมที่ทำไว้ชาติก่อนนั้นครับ) อะไรเป็นปัจจัยให้เกิด? (อกุศลกรรม) ถ้าไม่มีอกุศลกรรม จะเกิดในนรกได้ไหม? (ไม่ได้) .

- เพราะฉะนั้น จิตที่เป็นอเหตุกอกุศลวิบากเกิดเป็นมนุษย์ได้ไหม? (ไม่ได้) แล้วสันตีรณกุศลวิบากอุเบกขาเกิดเป็นมนุษย์ได้ไหม? (ได้) .

- คุณอาช่าเกิดจากอเหตุกสันตีรณกุศลวิบากหรือเปล่า? (เป็นไปได้) เดี๋ยวค่ะ คุณอาช่าเกิด ขณะเกิดเป็นสันตีรณกุศลวิบากจิตหรือเปล่า? (อาจได้) ไม่มีคำว่าอาจจะนะ ได้หรือไม่ได้? (ไม่ทราบ) แล้วนอกจากเป็นอเหตุกกุศลวิบากที่ทำให้เกิดแล้ว เกิดเป็นมนุษย์ เกิดเป็นเทวดา เพราะอะไร? (ไม่ทราบ) คนที่เกิดมาต่างกันหรือเหมือนกัน? (ต่างกัน) คนพิการ ตาบอด ตั้งแต่เกิดมีไหม? (มี) เป็นผลของกุศลหรือเปล่า? (เป็นมนุษย์แล้วต้องเป็นผลของกุศล) แล้วทำไมต่างกับคนอื่นที่ตาไม่บอดตั้งแต่เกิด? (ต่างกันตรงกำลังของกุศล) เห็นไหม ถ้าคิดไตร่ตรอง จะเห็นปัจจัยหรือเหตุว่า กุศลมีหลายระดับมาก เพราะฉะนั้น การให้ผลต้องต่างกันด้วย เพราะฉะนั้น กุศลกรรมที่ทำอย่างอ่อนมากให้ผลทำให้เกิดได้เป็นมนุษย์ได้ แต่ว่าพิการตั้งแต่กำเนิด ไม่เหมือนกุศลที่มีกำลังที่ไม่ทำให้พิการ.

- เพราะฉะนั้น ต่อไปนี้เห็นอะไรก็รู้ในความเป็นธรรมคือจิต และเจตสิกที่ได้ทำแล้วที่เป็นเหตุ นี่ก็แสดงให้เขาเห็นว่า การศึกษาธรรมเพื่อเข้าใจสิ่งที่มีในโลกตามปกติที่ไม่เคยรู้.

- คนที่เกิดเป็นมนุษย์ เราพูดถึงเฉพาะมนุษย์ก่อนก็ได้นะ เพราะเราเกิดในโลกมนุษย์ คนที่เกิดเป็นมนุษย์ต่างกันหรือเหมือนกันที่ไม่พิการ? (ต่างกัน) อะไรเป็นเหตุให้ต่างกัน? (ผลของกุศลกรรมที่ต่างกัน) เริ่มเข้าใจนะว่า เมื่อกุศลกรรมที่เป็นเหตุต่างกัน ผลก็ทำให้เกิดต่างกัน.

- เพราะฉะนั้น จิตที่ต่างๆ กันไปเพราะอะไร? (เหตุอย่างหนึ่งที่เราพูดก่อนนี้ว่า เจตสิกที่เกิดกับจิตต่างกัน จำนวนต่างกันนั่นคือเหตุหนึ่ง) เพราะฉะนั้น จิตเป็นจิต แต่จิตต่างกันเป็นประเภทต่างๆ เพราะเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยต่างๆ กัน.

- เพราะฉะนั้น คนที่ไม่สนใจธรรมเลย ฟังธรรมไม่รู้เรื่องเลย พูดอะไรก็ไม่เข้าใจเลยมีไหม? (มี) เวลาที่เขาทำกุศล เขารู้ไหมว่าเป็นกุศล? (ไม่รู้) เพราะอะไร? (เพราะไม่มีความเข้าใจเกิด) นี่ซิ เริ่มรู้ว่าแม้ความเข้าใจก็เป็นเจตสิก ไม่เกิดแล้วจะให้เขารู้เข้าใจสิ่งที่ปรากฏได้อย่างไร.

- เพราะฉะนั้น เราจะค่อยๆ เริ่มเข้าใจเจตสิกซึ่งไม่ใช่จิต แต่เป็นเจตสิกเฉพาะที่มีลักษณะแต่ละหนึ่งๆ ไม่ปนกัน เราต้องศึกษาเข้าใจสิ่งนี้เพื่ออะไร? (เพื่อที่จะเข้าใจว่า อะไรที่เกิดขึ้นอยู่ ไม่ใช่เราที่ทำเป็นแต่จิต เจตสิกที่เกิดขึ้นทำหน้าที่ตัวเอง) .

- ถ้าไม่ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะสามารถรู้ไหมว่า ไม่มีเรา ไม่ใช่เรา เป็นสิ่งที่มีจริงแต่ละหนึ่งเท่านั้น (ถ้าไม่ได้ฟังคำสอนของพระสัมมมาสัมพุทธเจ้า ก็ไม่สามารถจะรู้ได้) .

- รู้เพียงเท่านี้พอที่จะละการยึดถือว่าเป็นเราได้ไหม? (ไม่ได้ ยังต้องฟังอีกเยอะครับ) นี่เป็นเหตุที่เห็นประโยชน์ เพราะว่า มีความเห็นที่ถูกต้องเป็นเจตสิกที่เป็นปัญญาเจตสิกเกิด.

- ขณะรับประทานอาหาร รู้ไหมว่าขณะนั้นอะไร? (ไม่ทราบ) แสดงให้เห็นว่า ต้องฟังอีก เข้าใจอีก จนกว่าขณะนั้นเข้าใจว่า เป็นอะไร.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เมตตา
วันที่ 10 มิ.ย. 2566

- เพราะฉะนั้น ความเข้าใจพระธรรมจากการฟัง เริ่มจากเป็นความเข้าใจเรื่องของธรรมที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ ต้องมีความเข้าใจว่า สามารถที่จะระลึกได้ จำได้ เข้าใจได้ในสิ่งที่กำลังปรากฏ ไม่ใช่เพียงแต่ฟัง แล้วก็ลืม.

- กว่าจะเข้าใจมั่นคงจริงๆ ว่า ไม่มีเรา สามารถที่จะรู้ในขณะที่ เดี๋ยวนี้ เป็นแต่ละหนึ่งนานเท่าไหร่ เพราะฉะนั้น จึงมีความเข้าใจธรรม ๓ รอบ รอบที่ ๑ ฟังเข้าใจเรื่องของสิ่งที่มีจริง มั่นคง อธิษฐานบารมี สิ่งที่ได้ยินได้ฟังกำลังมีเดี๋ยวนี้ทุกขณะ จนกว่าจะรู้ตรงสิ่งที่มีเดี๋ยวนี้ เพิ่มความเข้าใจขึ้นจนประจักษ์แจ้งความจริงตรงตามที่ได้ฟังเป็นรอบที่ ๓ เข้าใจอย่างนี้เป็นรอบที่ ๑ แล้วหรือยังในอริยสัจจ์ ๔? (ยัง รอบแรกยังไม่เต็มที่) ถูกต้อง ต้องไม่ประมาทความลึกซึ้งของแต่ละคำที่ได้ฟัง.

- ฟังจนกว่าจะเข้าใจมั่นคงในอริยสัจจธรรม ๔ รอบที่ ๑ คือ มั่นคงว่าเป็นอย่างนี้ ไม่เป็นอย่างอื่น.

- อริยสัจจ์ ๔ ที่ ๑ คืออะไร? (ทุกข์) ทุกข์คืออะไร? (ทุกอย่างที่ปรากฏอยู่ที่มีจริง คือทุกข์) ทุกข์อย่างไร? (คุณสุคิน: ดูเหมือนเขายังไม่เข้าใจ ผมพยายามลองให้เขาพิจารณาดู) คุณสุคินไม่ต้องไปพยายาม ถามให้เขาคิด เพราะฉะนั้น เพราะเขาไม่เข้าใจเราถามให้เขาคิดๆ แล้วเขาจะเข้าใจขึ้น. (คุณสุคิน: ท่านอาจารย์ต่อได้เลยครับ) เพราะฉะนั้น ถามว่า ทุกขอริยสัจจะ คืออะไร? (อาช่าตอบว่า ไม่รู้ความจริงก็คือทุกข์ เพราะไม่รู้ถึงทุกข์) นั่นไม่ใช่ทุกขอริยสัจจะ ต้องเข้าใจความหมายของ ทุกขะ เข้าใจความหมายของ สัจจะ (คุณสุคิน: ผมเน้นไปตรงที่ อริยสัจจ์ ก็คือ ความหมายว่า ที่พระอริยบุคคลรู้ความจริงนั้นคืออะไร แกเลยตอบว่า ทุกอย่างที่เกิดแล้วดับ นั่นคือทุกข์) .

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เมตตา
วันที่ 10 มิ.ย. 2566

- ทุกข์ คือสิ่งที่มีจริงที่เป็นอริยะ คือประเสริฐที่สุดที่ใครเปลี่ยนไม่ได้ ทุกขอริยสัจจะเป็นความจริงที่ใครเปลี่ยนไม่ได้ในสภาวะที่เป็นทุกข์.

- เดี๋ยวนี้อะไรเป็นทุกข์ บอกมาทีละหนึ่ง (เห็น ได้ยิน ลิ้มรส สัมผัสทางกาย คิด) ทำไมว่า เห็น เป็นทุกข์? (เกิดแล้วดับ) เดี๋ยวนี้ที่ เห็น เกิดดับไหม? (เกิดแล้วดับ) เป็นอริยสัจจธรรมหรือยัง? (ยังไม่เป็นความเข้าใจระดับนั้น) นี่คือ รอบที่ ๑ ของความเข้าใจอริยสัจจะข้อที่ ๑.

- สิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็นทางตาเป็นทุกขอริยสัจจะหรือเปล่า? (เป็นครับ) รอบไหน? (รอบ ๑) เพราะฉะนั้น ต้องมั่นคงจริงๆ ต้องรอบรู้ไม่ว่าจะพบคำว่า ปฏิจจสมุปบาท หรือขันธ์ หรืออะไรทั้งหมด ก็คือ ธรรมทั้งหมดที่เกิดแล้วดับ เป็นทุกขอริยสัจจะข้อที่ ๑ แน่นอนเปลี่ยนไม่ได้.

- เห็นเดี๋ยวนี้เป็นทุกขอริยสัจจะหรือเปล่า? (ขั้นฟัง รู้ว่าเป็นอริยสัจจะ) ต้องรอบรู้จริงๆ เพราะฉะนั้น เมื่อรู้ว่า เดี๋ยวนี้เป็นปริยัติรอบที่ ๑ รอบที่ ๒ จะคืออะไร? (คุณสุคิน : ท่านอาจารย์ครับ ที่อาช่าเข้าใจเขาเข้าใจว่าขั้นปริยัตินี่ต้องเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว มีความต่างจากฟังครั้ง ๑ ๒ ครั้ง ๑,๐๐๐ ครั้ง กับมากกว่านั้นก็ต่างกัน เขาเข้าใจตรงนั้นเองครับ) เพราะฉะนั้น คำถามถามว่าอะไร? (ท่านอาจารย์ถามว่า ปริยัติขั้นต่อไปเมื่อไหร่?) เพราะเหตุว่า มีความเข้าใจธรรม ๓ ระดับใช่ไหม? (ใช่ครับ) เห็นเดี๋ยวนี้เป็นธรรมหรือเปล่า? (เป็น) เป็นสัจจธรรมหรือเปล่า? (เป็น) เป็นอริยสัจจธรรมหรือเปล่า? (เป็น) เพราะฉะนั้น ความเข้าใจมั่นคงไหมว่า ทุกขอริยสัจจะ คือสิ่งที่มีเดี๋ยวนี้แหละเกิดดับ (ครับ) เพราะฉะนั้น อันนี้เป็นความเข้าใจซึ่งเป็นปริยัติ รอบที่ ๑ ในอริยสัจจธรรมที่ ๑.

- เพราะฉะนั้น อริยสัจจ์รอบที่ ๑ ปริยัติในอริยสัจจะรอบที่ ๑ คือรู้ว่า ธรรมทั้งหมดที่เกิดต้องดับเป็นอริยสัจจธรรมที่ ๑ แล้วรู้ไหมว่า ทำไมเดี๋ยวนี้ไม่ปรากฏอย่างที่เป็นจริง? (รู้ว่า เกิดแล้วดับ แต่ก็ยังไม่เห็นว่า เกิดแล้วดับ) นั่นคือ ความเข้าใจปริยิติรอบที่ ๑ ในอริยสัจจ์ข้อที่ ๑ ใช่ไหม? (ครับ) .

- ปริยัติรอบรู้ขั้นต้น คือรอบรู้ในอริยสัจจ์ ๔ ทั้ง ๔ แต่ที่เรากล่าวถึง เป็นความรอบรู้ในอริยสัจจ์ที่ ๑ ใช่ไหม? (ครับ) เพราะฉะนั้น ยังไม่ได้รอบรู้ในขั้นปริยัติในอริยสัจจ์ที่ ๒ ใช่ไหม? (ใช่ครับ) เพราะฉะนั้น อริยสัจจ์ ๔ มีอะไรบ้าง ๑ ๒ ๓ ๔? (๑. ทุกข์ ๒. เหตุ ๓. นิพพาน ๔. หนทาง) เขารอบรู้ในอริยสัจจ์ ไหนบ้าง? (อาช่าตอบว่า ก็รู้ว่า อย่างเช่น เห็นนี้เป็นทุกข์ขั้นปริยัติ และรู้ด้วยว่า ที่เกิดแล้วดับเพราะความติดข้อง เท่ากับเข้าใจอริยสัจจ์ที่ ๒ ด้วยครับ) .

- จิตเห็น ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดดับหรือเปล่า? (เกิดดับ) แล้วอะไรเป็นเหตุ? (โลภะ) นี่เป็นการอ่านหนังสือแล้วก็คิดน แต่ตามความเป็นจริง ขณะนี้ สภาพธรรมเกิดดับแต่ไม่รู้ใช่ไหม? (ครับ) แสดงว่า ตราบใดที่ไม่รู้ สภาพธรรมก็เกิดดับไปเรื่อยๆ ใช่ไหม? (ใช่ครับ) นอกจากความไม่รู้แล้วยังพอใจติดข้องในสิ่งที่มีที่ไม่รู้ด้วย (ครับ) เพราะฉะนั้น มีความเข้าใจถูกต้องว่า ตราบใดที่ไม่รู้ และติดข้อง ตราบนั้นก็เป็นเหตุที่จะให้เกิดขึ้นของอริยสัจจะข้อที่ ๑ อย่างที่เคยเป็นมาแล้วในสังสารวัฏฏ์แสนโกฏิกัปป์ และก่อนนั้นก็เป็นอย่างนี้ เพราะไม่รู้ความจริง และติดข้องเป็นเหตุให้เกิดสภาพธรรมที่เกิดดับตลอดเวลา.

- ถ้าไม่รู้ความจริงไม่ประจักษ์แจ้งความจริง สามารถที่จะไม่ให้สิ่งที่เกิดแล้วเกิดต่อไปอีกได้ไหม? (ไม่ได้) เดี๋ยวนี้ไม่รู้ว่า ขณะนี้เองทุกอย่างที่ปรากฏเกิดแล้วก็ดับ ติดต่อกันเร็วมาก ไม่รู้.

- ถ้าประจักษ์แจ้งจริงๆ ก็จะค่อยๆ ละคลายความไม่รู้ และความติดข้องจนกว่าจะดับหมดเกิดอีกไม่ได้เลย เป็นไปได้ไหม? (เป็นไปได้) เมื่อไหร่? (ไม่ทราบนานแค่ไหนครับ) ไม่ได้ถามว่า นานเท่าไหร่ แต่ถามว่า เมื่อไหร่? (เมื่อความเข้าใจเกินพอถึงขั้นนั้น) เมื่อไหร่พอ? (เมื่อไหร่รู้ว่า สิ่งที่ปรากฏเกิดแล้วดับ) ไม่ใช่เท่านั้นนะ แล้วไม่เกิดอีกด้วย (ครับ) ขณะนั้นก็รู้แจ้งสภาพธรรมที่ดับกิเลสไม่เกิดเลยเป็นนิพพาน อริยสัจจะที่ ๓ เพราะฉะนั้น นี่เป็นปริยัติรอบที่ ๑ ในอริยสัจจะที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓.

- มีหนทางที่จะถึงการเข้าใจธรรม แล้วก็ประจักษ์แจ้งการเกิดดับ และรู้ว่าตราบใดที่ยังติดข้องสภาพธรรมนั้นก็ต้องเกิดดับ เพราะความไม่รู้ จนกระทั่งสามารถรู้ขณะที่สภาพธรรมดับแล้วไม่เกิดอีกเลยเป็นอริยสัจจะที่ ๓ เพราะอะไรจึงเป็นอย่างนั้นได้? (โดยการฟัง และสนทนาธรรม) มีหนทางอื่นไหมคะ? (ไม่มีหนทางอื่นครับ) นี่คือ ความมั่นคง อธิษฐานบารมีในปริยัติรอบที่ ๑ ในอริยสัจจ์ ๔.

- ความเข้าใจเดี๋ยวนี้ทุกขณะเป็นอริยสัจจธรรมที่จะนำไปสู่การประจักษ์แจ้งว่า หนทางอื่นไม่มี.

- เพราะฉะนั้น การที่ไม่เข้าใจอะไรเลย แล้วไปปฏิบัติเป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือเปล่า? (คุณมานิชตอบว่า คุณจะนั่ง ๑๐ ปี ๑๐๐ ปี กี่ปี ถ้าคุณไม่เข้าใจสิ่งที่มีจริงตอนนี้ คุณไม่มีวันที่จะเข้าใจ) นี่คือ ความรอบรู้ในปริยัติรอบที่ ๑ ในอริยสัจจ์ ๔.

- ความไม่รู้มีจริงๆ ไหม? (มีจริง) ความรู้ความเข้าใจถูกมีจริงๆ ไหม? (มีจริง) ความเห็นผิดมีจริงไหม? (มีจริง) เป็นธรรมหรือเปล่า? (เป็นครับ) เป็นธรรมอะไร? (เจตสิก) ถูกต้อง นี่คือ การเริ่มเข้าใจเจตสิก เป็นสภาพธรรมที่ไม่ใช่มีชื่อสำหรับเรียกแต่มีลักษณะเฉพาะแต่ละหนึ่ง ทำให้เป็นเจตสิกแต่ละหนึ่ง.

- เจตสิกเป็นจิตหรือเปล่า? (ไม่ใช่) จิตเป็นเจตสิกหรือเปล่า? (ไม่เป็น) จิตเป็นคุณมานิชหรือเปล่า? (ไม่) เจตสิกเป็นคุณอาช่าหรือเปล่า? (ไม่เป็น) ความไม่รู้เป็นคุณอาคิ่ลหรือเปล่า? (ไม่เป็น) เวลาโกรธเป็นอะไร? (เป็นเจตสิก) เป็นสุนัขโกรธ เป็นแมวโกรธหรือเปล่า? (ไม่ใช่แมวโกรธ ไม่ใช่สุนัขโกรธ) เพราะฉะนั้น ทุกอย่างเป็นธรรม หรือบางอย่างไม่ใช่ธรรม (ทุกอย่างที่มีจริงเป็นธรรม) ธรรมเป็นโต๊ะหรือเปล่า? (คนหนึ่งตอบว่า เป็น อีกคนหนึ่งตอบว่า ไม่ครับ) เป็นธรรมอะไรที่ตอบว่า เป็น? (ถ้าสัมผัสก็แข็ง ถ้าเห็นก็เป็นสีครับ) เพราะฉะนั้น แข็งเป็นโต๊ะหรือเปล่า? (แข็งไม่ใช่โต๊ะครับ) แล้วโต๊ะเป็นธรรมหรือเปล่า? (โต๊ะไม่ใช่ธรรมครับ) ต้องรู้ว่าธรรมมีอะไรบ้าง.

- ขณะที่เห็นมีเจตสิกไหม? (มี) ขณะที่คิดมีเจตสิกไหม? (มี) มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเท่ากันไหม? (ไม่เท่ากันครับ) จิตไหนมีเจตสิกมากกว่า? (คิดครับ) นี่ก็เป็นการเริ่มรู้เรื่องเจตสิกนะ ทุกคนก็เริ่มเข้าใจดีขึ้นมั่นคงขึ้น นี่การศึกษาธรรมซึ่งเร็วมากสำหรับคนเพิ่งเริ่มต้นนะ ก็เป็นประโยชน์ ก็ยินดีด้วยกับกุศลของทุกคนต้องมั่นคงในความลึกซึ้งของพระธรรม.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ