การเบียดเบียนตัวเอง

 
ตุลา
วันที่  15 ส.ค. 2550
หมายเลข  4553
อ่าน  13,292

ขอกราบบูชาคุณพระรัตนตรัย

การที่เราเบียดเบียนคนอื่นนั้น ถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่ดีแน่นอน แต่อยากทราบว่าการที่เราเบียดเบียนตัวเราเองนั้น ถือว่าผิดในทางธรรมไหมค่ะ?


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 15 ส.ค. 2550

การเบียดเบียนผู้อื่นด้วยอกุศลเจตนาเป็นอกุศลกรรม มีอกุศลวิบากเป็นผล
การเบียดเบียนตนเอง เป็นอกุศลจิต ไม่เป็นอกุศลกรรม ไม่มีอกุศลวิบาก

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 15 ส.ค. 2550

ผู้ที่รักตน ต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่นและตนเองด้วย รักตนในที่นี้หมายถึงการไม่ทำ ไม่ทำให้ตนเองเดือดร้อน ไม่ทำอกุศลกรรมบถ ๑๐ คือไม่ทำความชั่ว ให้ทำความดี เจริญกุศลทุกอย่าง เพราะเหตุดีย่อมนำผลที่ดีมาให้ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 15 ส.ค. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระัรัตนตรัย

การเบียดเบียนตนเอง มี ๒ อย่าง คือเบียดเบียนทางกาย (ทรมานตนเอง เช่น ทำทุกกรกิริยา) เบียดเบียนทางใจ (เกิดอกุศล) การที่เราเบียดเบียนตนเองนั้น มีหลายนัย หลายแบบ ขณะที่ให้ทานแล้วเสียดาย ขณะนั้นเบียดเบียนตนเอง เพราะอกุศลเกิดขึ้น แต่ถ้าให้แล้วไม่เสียดาย เกิดปิติโสมนัส แม้จะให้หมดก็ไม่ชื่อว่าเบียดเบียนตนเพราะไม่เสียดายและปิติโสมนัส ดังนั้น การเบียดเบียนในที่นี้คือ เป็นอกุศลจึงชื่อว่า เบียดเบียนตนเอง (ดังเช่น พระโพธิสัตว์ ให้สิ่งต่างๆ จนหมด ชื่อว่าเบียดเบียนตนหรือไม่ เพราะท่านเกิดปิติโสมนัส เป็นกุศลจิตครับ)

การเบียดเบียนที่เป็นอกุศลจิต ก็มีหลายนัย อีกเช่นกัน ขณะใดที่เป็นอกุศลจิต ขณะนั้นชื่อว่าเบียดเบียนตนเอง แต่อกุศลจิตก็มีหลายประเภท ดังนั้นการเบียดเบียนตนเอง ในแต่ละอย่าง จึงมีโทษหรือผิดในทางธรรมต่างกันครับ ดังจะขอยกตัวอย่างดังต่อไปนี้ดังเช่น เรื่องการให้ ให้แล้วเสียดาย ขณะนั้นเบียดเบียนตน เพราะเป็นอกุศล เป็นโทสะ แต่ก็เป็นเพียงอกุศลจิต ไม่มีโทษมาก เพราะไม่เป็นปัจจัยให้นำเกิดไปตกนรก เป็นต้น แต่การเบียดเบียนตนอันเกิดมาจากความเห็นผิด เป็นปัจจัย เช่น พวกนอกศาสนา มีความเห็นผิด ว่าจะต้องทรมานตนเองจึงจะหลุดพ้น เป็นอกุศลที่มีความเห็นผิด เป็นปัจจัยและก็ทรมานตนเอง ยึดมั่นในความเห็นนั้น ก็ย่อมเข้าใจหนทางผิด เมื่อเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ) คิดก็ผิด (มิจฉาสังกัปปะ) เมื่อคิดผิด วาจาก็ผิด (มิจฉาวาจา) เมื่อรู้ผิด ก็ย่อมหลุดพ้นผิด ย่อมทำให้เขาไปอบาย ตกนรก ได้เพราะความเห็นผิดนั้นครับ ดังนั้น ความเห็นผิดในหนทาง (มิจฉาทิฎฐิ) อันเป็นปัจจัยให้ เบียดเบียนทางกาย (ทรมานตน) เบียดเบียนตนเอง ด้วยอกุศล ย่อมมีโทษมากกว่า อกุศลจิตประเภทอื่นที่ไม่มีความเห็นผิดเป็นปัจจัย จึงขอให้สหายธรรมทุกท่าน เข้าใจหนทางการอบรมปัญาที่ถูกว่า ให้เข้าใจสภาพธัมมะที่มีในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ไม่มีวิธีอื่นครับ ถ้าทำวิธีอื่น ก็ชื่อว่า เบียดเบียนตน เพราะเป็นอกุศลที่มีความเห็นผิดเป็นปัจจัย

ขออนุโมทนา ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ajarnkruo
วันที่ 15 ส.ค. 2550

การที่เราเบียดเบียนตัวเราเองนั้น ถือว่าผิดในทางธรรมไหมค่ะ?

ธรรมมีทั้งกุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากฤตธรรม แต่ละธรรมทั้งสามนี้ก็ต่างสภาพกัน ไม่เหมือนกัน เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ทุกสภาพธรรมเป็นธรรม จึงไม่มีเราผิด ไม่มีใครผิดเพราะไม่มีเรา ไม่มีใคร ก็มีแต่เพียงสภาพธรรมที่เกิดปรากฏ แต่จะระลึกได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับขณะนั้นว่าสติปัฏฐานจะเกิดระลึกได้ หรือจะหลงลืมสติ ถ้าเป็นอกุศลธรรมที่เกิดกับจิต ขึ้นชื่อว่าอกุศลธรรมย่อมต้องเป็นโทษ ถึงไม่ล่วงออกมาทางกาย วาจา ก็สั่งสมแล้วทางชวนวิถีจิต เมื่อสั่งสมมากเข้าๆ ย่อมมีโอกาสที่จะปรากฏออกมาในลักษณะที่คนทั่วไปเห็นว่า บุคคลกำลังทำร้ายตัวเอง หรือลักษณะที่เกิดความคิดว่า ตัวเรากำลังทำร้ายตัวเอง ซึ่งก็ช้ามาก จิตเกิดดับไปแล้วหลายขณะกว่าจะปรากฏอาการให้รู้ แต่ทั้งๆ ที่ก็มีสภาพธรรมปรากฏกับตัวเราขณะนี้ สติที่ไม่มีกำลังพอ ย่อมไม่สามารถจะรู้ชัด รู้ทั่วเพราะยังไม่ถึงขั้นประจักษ์นั่นเองครับ

"ผู้ที่เบียดเบียนผู้อื่น ขณะนั้นหลงลืมว่ากำลังเบียดเบียนตนเองในภายภาคหน้า เพราะอกุศลกรรมที่ตนได้กระทำนั้นไม่สูญหายไปไหน จะต้องตามให้ผลเมื่อสุกงอมแน่นอน"

"ผู้ที่เบียดเบียนตัวเองย่อมทุกข์ทั้งกาย ทุกข์ทั้งใจ มองหาความสุขได้ยาก"

"เมื่อตนก็รักตัวเอง และรู้ว่าผู้อื่นก็รักตัวเอง จึงไม่ควรเบียดเบียนกันด้วยอำนาจของอกุศล"

"เพราะสัตว์ทั้งหลายเป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้นครับ"

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ตุลา
วันที่ 17 ส.ค. 2550

ด้วยความขอบคุณที่ให้ความกระจ่าง และอนุโมทนากับความคิดเห็นของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
citta89121
วันที่ 17 ส.ค. 2550

ขออนุโมทนา ในกุศลจิต ของผู้ตั้งหัวข้อ และทุกๆ ความเห็นครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Kalaya
วันที่ 3 พ.ค. 2564

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 14 ส.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ