พระโพธิสัตว์ปรารถนาจะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยดำริใด

  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 9 ส.ค. 2550

ความดำริของพระโพธิสัตว์สมัยเป็นสุเมธบัณฑิตมีดังนี้เชิญคลิกอ่าน ... ความดำริสุเมธบัณฑิตเพื่อเป็นพระพุทธเจ้า

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 9 ส.ค. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

เรื่อง พระดำริของพระโพธิสัตว์ ในการปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 580

เราข้ามแล้วพึงให้สัตว์ข้าม เราพ้นแล้วพึงให้สัตว์พ้น เราฝึกแล้วพึงให้สัตว์ฝึก เราสงบแล้วพึงให้สัตว์สงบ เราหายใจคล่องแล้วพึงให้สัตว์หายใจคล่อง เรานิพพานแล้วพึงให้สัตว์นิพพาน เราบริสุทธิ์แล้วพึงให้สัตว์บริสุทธิ์ เราตรัสรู้แล้วพึงให้สัตว์ตรัสรู้ ดังนี้.

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 9 ส.ค. 2550

ประเด็นเรื่อง ลูกศรได้ต้องแล้ว ต้องถอนลูกศรก่อน จึงเที่ยวหาดูว่าลูกศรมาจากที่ใด ฯลฯ

หมายถึง บุคคลถูกลูกศรคือกิเลส ที่เกิดขึ้นกับตนและยังมีอยู่ กิจที่ควรทำคือ การเจริญหนทางดับกิเลส (ถอนลูกศร) แต่บุคคลที่เห็นผิด เมื่อตัวเองถูกลูกศรแทนที่จะให้หมอรักษาก็กับบอกว่า ถ้าไม่รู้ว่า ลูกศรทำด้วย ไม้อะไร ใครคนทำลูกศร เป็นต้น (คือการถามว่า โลกเที่ยงหรือไม่เที่ยง เป็นต้น (ซึ่งเป็นการถามในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ไม่เป็นไปเพื่อดับกิเลส) ก็จะไม่ให้รักษาบุคคลนั้นก็ต้องตายไปเพราะ ไม่รู้จักว่าสิ่งใดควรทำ ฉันใด แม้บุคคลที่ถูกลูกศรคือ กิเลส สิ่งที่ควรทำคือให้หมอรักษาคือ อบรมปัญญาดับกิเลส มิใช่ถามในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ เช่น สัตว์ตายแล้วไปไหน เป็นต้น (เปรียบเหมือนการหาที่มาของลูกศร)

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 9 ส.ค. 2550

ประเด็นเรื่อง ดำริใดหนอถึงจะชอบธรรมในการปรารถนาความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ใครก็คิดจะเป็นพระพุทธเจ้าได้ คิดได้ แต่เหตุสมควรกับผลหรือไม่ พระโพธิสัตว์มี ๒ อย่าง คือนิยตพระโพธิสัตว์ (แน่นอนที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า) เพราะได้รับพยาการณ์จากพระพุทธเจ้า อนิยตพระโพธิสัตว์ (ไม่แน่นอนที่จะได้ตรัสรู้ เพราะยังไม่ได้รับพยากรณ์ว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้า) การคิดที่ชอบคือ ต้องประกอบด้วยพระมหากรุณาที่จะช่วยสรรพสัตว์ บารมี ๑๐นั้น มีกรุณา เป็นรากฐานที่สำคัญ ถ้าไม่สงสารสัตว์ที่เวียนว่ายตายเกิด เป็นทุกข์แล้ว จะบำเพ็ญบารมี ๑๐ ทำไม ดังนั้น ดำริที่ชอบคือ เพราะความกรุณา สงสาร ในสรรพสัตว์ และถ้าชอบธรรมก็คือ ต้องพร้อมกัน ด้วยเหตุแปดประการ ไม่ใช่คิดนึกอย่าเดียวเท่านั้นครับ จึงจะสมควรที่จะเป็นพระพุทธเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 106

อภินิหารนี้ย่อมสำเร็จได้ ก็เพราะการประชุมธรรม ๘ ประการ คือ ความเป็นมนุษย์ ๑ ความถึงพร้อมด้วยเพศ ๑ เหตุ ๑ การเห็นพระศาสดา ๑ การบรรพชา ๑ ความถึงพร้อมแห่งคุณ ๑ อธิการ ๑ ความพอใจ ๑.

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
keaw10
วันที่ 10 ส.ค. 2550

รู้ไปทำไมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
WS202398
วันที่ 10 ส.ค. 2550
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
WS202398
วันที่ 10 ส.ค. 2550

ผมเห็นว่า ถ้าต้องการจะเข้าใจแนวคิดของพุทธฝ่ายมหายาน ต้องรู้อย่างถูกต้องชัดเจนกับแนวคิดเหล่านี้ครับ รวมไปถึงชาวพุทธปัจจุบันที่เรียกตนว่าเถรวาท แต่มีคำกล่าวที่ฟังแล้วจะแตกต่างกับคำสอนที่มีมาตามประเพณีของพุทธเถรวาทของไทยแต่เดิม (คำกล่าวที่มิใช่เชิงวิชาการ : คือกล่าวต่อๆ กันมาตามอาจารย์ โดยมิได้อ้างอิงพระไตรปิฎก)

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
WS202398
วันที่ 10 ส.ค. 2550

ขออนุโมทนากับคุณแล้วเจอกันครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
keaw10
วันที่ 20 ส.ค. 2550

ถ้ารู้แล้วพึงเกิดประโยชน์กับตนแล้ว ก็อนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
wannee.s
วันที่ 20 ส.ค. 2550

พระโพธิสัตว์มีความปรารถนาที่จะช่วยให้สัตว์โลกพ้นทุกข์ค่ะ


ขออนุโมทนา


 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 20 ส.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ