พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

คาถาสังคณิกะ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  13 มี.ค. 2565
หมายเลข  42863
อ่าน  474

[เล่มที่ 10] พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘

พระวินัยปิฎก

เล่ม ๘

ปริวาร

คาถาสังคณิกะ 593

ท่านพระอุบาลีเข้าเฝ้าทูลถามปัญหา 1016/593

สิกขาบทบัญญัติ 1018/594

ทรงพยากรณ์อาบัติหนักและเบาเป็นต้น 1019/599

ทิฎฐิวิบัติ 1020/600

อาชีววิบัติ 1021/600

ยาวตติยกสิกขาบท 1022/601

ทรงพยากรณ์เฉทนกสิกขาบทฯ 1023/601

จํานวนสิกขาบทของภิกษุเป็นต้น 1024/602

ประเภทสิกขาบทของภิกษุ 1025/602

ประเภทสิกขาบทของภิกษุณี 1026/602

อสาธารณสิกขาบทของภิกษุ 1027/603

อสาธารณสิกขาบทของภิกษุณี 1028/603

สิกขาบทที่ไม่ทั่วไปของท้้งสองฝ่าย 1029/604

สิกขาบทท้ังสองฝ่ายที่ศึกษาร่วมกัน 1030/604

อาบัติที่ระงับไม่ได้ 1031/604

อาบัติที่ระงับได้ 1032/605

ส่วนที่ทรงจําแนก 1033/605

อธิกรณ์ 1034/605

วิเคราะห์ปาราชิก 1035/606

วิเคราะห์สังฆาทิเสส 1036/606

วิเคราะห์อนิยต 1037/606

วิเคราะห์ถุลลัจจัย 1038/607

วิเคราะห์นิสสัคคิยะ 1029/607

วิเคราะห์ปาจิตตีย์ 1040/607

วิเคราะห์ปาฎิเทสนียะ 1041/608

วิเคราะห์ทุกกฏ 1042/609

วิเคราะห์ทุพภาสิต 1043/609

วิเคราะห์เสขิยะ 1044/609

อุปมาอาบัติและอนาบัติ 610

หัวข้อประจําเรื่อง 1045/610

ปฐมคาถาสังคณิกวัณณนา 611

วิบัติ ๔ 612

ประมวลสิกขาบท 613

จําแนกสิกขาบท 615

กองอาบัติที่ระงับไม่ได้ 616

กองอาบัติที่ระงับได้ 617

วิเคราะห์ปาราชิก 619

วิเคราะห์สังฆาทิเสส 619

วิเคราะห์อนิยต 620

วิเคราะห์ถุลลัจจัย 621

วิเคราะห์นิสสัคคิยะ 621

วิเคราะห์ปาจิตตีย์ 621

วิเคราะห์ปาฎิเทสนียะ 622

วิเคราะห์ทุกกฏ 622

วิเคราะห์ทุพภาสิต 623

วิเคราะห์เสขิยะ 623

อุปมาแห่งอาบัติอนาบัติ 624


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 10]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 593

คาถาสังคณิกะ

ท่านพระอุบาลีเข้าเฝ้าทูลถามปัญหา

[๑,๐๑๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ถามว่า ท่านห่มผ้าเฉวียงบ่า ประนมมือดู เหมือนมีความมุ่ง มา ณ สถานที่นี้ เพื่อ ประสงค์อะไร

ท่านพระอุบายลีกราบทูลว่า สิกขาบท ที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ในวินัยทั้งสอง ย่อม มาสู่อุเทศทุกวันอุโบสถ สิกขาบทเหล่านั้น มีเท่าไร ทรงบัญญัติไว้ ณ พระนครกี่แห่ง

พ. ปัญญาของท่านดี ท่านสอบถาม โดยแยบคาย เพราะฉะนั้น เราจักบอกแก่ ท่าน ตามที่ท่านเป็นผู้ฉลาดถาม

สิกขาบทที่บัญญัติไว้ในวินัยทั้งสอง ย่อมมาสู่อุเทศทุกวันในอุโบสถ สิกขาบท เหล่านั้นมี ๓๕๐ สิกขาบท ตถาคตบัญญัติไว้ ณ พระนคร ๗ แห่ง.

[๑,๐๑๗] อุ. สิกขาบทที่ทรงบัญญัติ ไว้ ณ พระนคร ๗ แห่งๆ ไหนบ้าง ขอ พระองค์ได้โปรดแจ้งพระนคร ๗ แห่งนั้น

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 594

แก่ข้าพระพุทธเจ้าๆ ได้ฟังทางแห่งพระดำรัสของพระองค์แล้ว จะปฏิบัติ ข้อนั้นจะพึง มีเพื่อความเกื้อกูลแก่พวกข้าพระพุทธเจ้า

พ. สิกขาบทเทล่านั้น บัญญัติ ไว้ ณ พระนครเวสาลี ๑ พระนครราชคฤห์ ๑ พระนครสาวัตถี ๑ พระนครอาฬวี ๑ พระนครโกสัมพี ๑ สักกชนบท ๑ ภัคคชนบท ๑.

สิกขาบทบัญญัติ

[๑,๐๑๘] อุ. สิกขาบทที่ทรงบัญญัติ ไว้ ณ พระนครเวสาลี มีเท่าไร ณ พระนคร ราชคฤห์ มีเท่าไร ณ พระนครสาวัตถี มี เท่าไร ณ พระนครอาฬวี มีเท่าไร ณ พระนครโกสัมพี มีเท่าไร ณ สักกชนบท มีเท่าไร ณ ภัคคชนบท มีเท่าไร พระองค์อันข้าพระพุทธเจ้าทูลถามแล้ว ขอได้โปรดตอบข้อนั้น แก่ข้าพระพุทธเจ้า

พ. สิกขาบทที่บัญญัติไว้ ในพระนครเวสาลีมี ๑๐ สิกขาบท ในพระนคร ราชคฤห์มี ๒๑ สิกขาบท ในพระนครสาวัตถี รวมทั้งหมด มี ๒๙๔ สิกขาบท ในพระนคร

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 595

อาฬวี มี ๖ สิกขาบท ในพระนครโกสัมพี มี ๘ สิกขาบทในสักกชนบท มี ๘ สิกขาบท ในภัคคชนบท มี ๓ สิกขาบท

สิกขาบทเหล่าใดได้บัญญัติไว้ใน พระนครเวสาลี ท่านจงฟังสิกขาบทเหล่านั้น ตามที่จะกล่าวต่อไป สิกขาบทว่าด้วยเสพเมถุน ๑ สิกขาบทว่าด้วยฆ่ามนุษย์ ๑ สิกขาบทว่าด้วยอวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีจริง ๑ สิกขาบทว่าด้วยทรงอติเรกจีวร ๑ สิกขาบท ว่าด้วยหล่อสันถัตด้วยขึ้นเจียมดำล้วน ๑ สิกขาบทว่าด้วยอวดอุตริมนุสธรรมที่มีจริง ๑ สิกขาบทว่าด้วยภัตรทีหลัง ๑ สิกขาบท ว่าด้วยไม้ชำระฟัน ๑ สิกขาบทว่าด้วยให้ ของเคี้ยวของฉันแก่อเจลก ๑ สิกขาบทว่า ด้วยภิกษุณีด่าภิกษุ ๑ รวมสิกขาบทที่บัญญัติ ไว้ในพระนครเวสาลี เป็น ๑ สิกขาบท

สิกขาบทเหล่าใดที่บัญญัติไว้ใน พระนครราชคฤห์ ท่านจงฟังสิกขาบทเหล่า นั้น ตามที่จะกล่าวต่อไป สิกขาบทว่าด้วย ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ณ พระนคร

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 596

ราชคฤห์ ๑ สิกขาบทว่าด้วยตามกำจัดภิกษุ รวม ๒ สิกขาบทว่าด้วยทำลายสงฆ์และประพฤติตามรวม ๒ สิกขาบทว่าด้วยรับอันตรวาสก ๑ สิกขาบทว่าด้วยแลกเปลี่ยนรูปิยะ ๑

สิกขาบทว่าด้วยขอด้าย ๑ สิกขาบทว่าด้วย บ่นว่า ๑ สิกขาบทว่าด้วยฉันโภชนะที่ภิกษุณี แนะให้เขาถวาย ๑ สิกขาบทว่าด้วยอาหาร ในโรงทาน ๑ สิกขาบทว่าด้วยฉันหมู่ ๑ สิกขาบทว่าด้วยฉันในเวลาวิกาล ๑ สิกขาบท ว่าด้วยเที่ยวไปในสกุล ๑ สิกขาบทว่าด้วย อาบน้ำ ๑ สิกขาบทว่าด้วยบวชคนมีอายุไม่ ครบ ๑ สิกขาบทว่าด้วยให้จีวร ๑ สิกขาบท ว่าด้วยฉันโภชนะที่ภิกษุณียืนสั่งเสีย ๑ สิกขาบทว่าด้วยเทียวยอดเขา ๑ สิกขาบทว่า ด้วยจาริก ๑ สิกขาบทเหล่านี้บัญญัติไว้ ใน พระราชคฤห์ รวมกับการให้ฉันทะในกรรม นั้นแหละ เป็น ๒๑ สิกขาบท

สิกขาบทเหล่าใดบัญญัติไว้ในพระนครสาวัตถี ท่านจงฟังสิกขาบทเหล่านั้น ตามที่กล่าวต่อไป ปาราชิก ๔ ของภิกษุณี สังฆาทิเสส ๑๖ อนิยต ๒ นิสสัคคิยะ ๒๔

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 597

สิกขาบทที่เรียกว่าขุททกสิกขาบทมี ๑๕๖ สิกขาบทที่ควรติเตียน ๑๐ สิกขาบทเสขิยวัตร ๗๒ สิกขาบท รวมสิกขาบททั้งหมดที่บัญญัติ ไว้ ในพระนครสาวัตถี ๒๙๔ สิกขาบท

สิกขาบทเหล่าใดบัญญัติไว้ ในพระ นครอาฬวี ท่านจงฟังสิกขาบทเหล่านั้น ดัง จะกล่าวต่อไป สิกขาบทว่าด้วยให้ทำกุฎี ๑ สิกขาบทว่าด้วยทำสันถัตเจือไหม ๑ สิกขาบทว่าด้วยนอนร่วมกับอนุปสัมบัน ๑ สิกขาบทว่าด้วยขุดดิน ๑ สิกขาบทว่าด้วยพราก ภูตคาม ๑ สิกขาบทว่าด้วยน้ำมีตัวสัตว์เอา รดหญ้าหรือดิน ๑ สิกขาบทเหล่านี้รวม ๖ สิกขาบท บัญญัติไว้ในพระนครอาฬวี

สิกขาบทเหล่าใดบัญญัติไว้ ในพระ นครโกสัมพี ท่านจงฟังสิกขาบทเหล่านั้น ดังจะกล่าวต่อไป สิกขาบทว่าด้วยให้ทำวิหาร ใหญ่ ๑ สิกขาบทว่าด้วยภิกษุว่ายากสอน ยาก ๑ สิกขาบทว่าด้วยแกล้งพูดคำอื่นกลบ เกลื่อน ๑ สิกขาบทว่าด้วยกรอบประตู ๑ สิกขาบทว่าด้วยดื่มสุราเมรัย ๑ สิกขาบทว่า ด้วยไม่เอื้อเฟื้อ ๑ สิกขาบทว่าด้วยกล่าวโดย

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 598

ชอบธรรม ๑ รวมเป็น ๘ สิกขาบททั้งดื่ม น้ำนม

สิกขาบทเหล่าใดบัญญัติไว้ ในสักกชนบท ท่านจงฟังสิกขาบทเหล่านั้น ดังจะ กล่าวต่อไป สิกขาบทว่าด้วยให้ซักขนเจียม ๑ สิกขาบทว่าด้วยบาตรมีรอยร้าวหย่อน ๕ แห่ง ๑ สิกขาบทว่าด้วยสั่งสอนภิกษุณีถึงที่ อยู่ ๑ สิกขาบทว่าด้วยขอเภสัช ๑ สิกขาบท ว่าด้วยกล่องเข็ม ๑ สิกขาบทว่าด้วยเสนาสนะป่า ๑ รวม ๖ สิกขาบทนี้บัญญัติไว้ ณ พระนครกบิลพัสดุ์ สิกขาบทว่าด้วยทำความ สะอาดด้วยน้ำ ๑ สิกขาบทว่าด้วยไม่รับโอวาท ๑ ตถาคตได้กล่าวไว้ในหมู่ภิกษุณี

สิกขาบทเหล่าใดบัญญัติไว้ ในภัคคชนบท ท่านจงฟังสิกขาบทเหล่านั้น ดังจะ กล่าวต่อไป สิกขาบทว่าด้วยติดไฟผิง ๑ สิกขาบทว่าด้วยมือเปื้อนอามิส ๑ สิกขาบท ว่าด้วยล้างบาตรมีเมล็ดข้าวสุก ๑ สิกขาบท เหล่านี้ คือ ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๗ นิสสัคคิยะ ๘ ขุททกะ ๓๒ ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่น่าติ ๒ เสขิยวัตร ๓ อันพระ-

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 599

พุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ บัญญัติไว้ใน ๖ พระนคร รวม ๕๖ สิกขาบท ในพระนครสาวัตถี พระโคดมผู้ มียศ บัญญัติไว้ทั้งหมดรวม ๒๙๔ สิกขาบท.

ทรงพยากรณ์อาบัติหนักและอาบัติเบาเป็นต้น

[๑,๐๑๙] อุ. ข้าพระพุทธเจ้า ได้ทูล ถามปัญหาข้อใดกะพระองค์ พระองค์ได้ ทรงแก้ปัญหาข้อนั้นแก่ข้าพระพุทธเจ้า ได้ ทรงแก้ปัญหานั้นๆ โดยมิได้เป็นอย่างอื่น ข้าพระพุทธเจ้า ขอทูลถามปัญหาข้ออื่นกะ พระองค์ ขอพระองค์ทรงโปรดตอบปัญหา นั้นต่อไป คือ อาบัติหนัก ๑ อาบัติเบา ๑ อาบัติมีส่วนเหลือ ๑ อาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๑ อาบัติชั่วหยาบ ๑ อาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑ สิกขาบทเป็นยาวตติยกะ ๑ สิกขาบททั่วไป ๑ สิกขาบทไม่ทั่วไป ๑ สิกขาบทที่จำแนก ไว้ ระงับด้วยสมถะเหล่าใด ๑ ขอพระองค์ ได้โปรดชี้แจงสิกขาบทนี้แม้ทั้งมวล พระฅ พุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าจะฟังพระดำรัส ของพระองค์

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 600

พ. อาบัติหนักมี ๓๐ ศีลวิบัติและ อาจารวิบัติในอาบัติหนักเหล่านั้น อาบัติ ปาราชิกที่ไม่มีส่วนเหลือมี ๘ อาบัติใดหนัก อาบัตินั้นชั่วหยาบ อาบัติใดชั่วหยาบ อาบัติ นั้นเป็นศีลวิบัติ อาบัติปาราชิก อาบัติ สังฆาทิเสส เรียกชื่อว่าศีลวิบัติ อาบัติ ถุลลัจจัย ปาจิตติยะ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต คือด่าประสงค์จะล้อเล่น.

อาบัตินี้นั้นรวมเรียกว่า อาจารวิบัติ.

ทิฏฐิวิบัติ

[๑,๐๒๐] บุคคลมีปัญญาเขลา อัน โมหะครอบงำ ถูกอสัทธรรมรุมล้อม ย่อม ถือทิฏฐิวิบัติ กล่าวตู่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า. อาบัตินี้นั้นรวมเรียกว่า ทิฏฐิวิบัติ

อาชีววิบัติ

[๑,๐๒๑] ภิกษุผู้ปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำ ย่อมอวด อุตริมนุสธรรม อันไม่มีไม่เป็นจริง เพราะเหตุอาชีวะ เพราะการณ์อาชีวะ ภิกษุถึงความเที่ยวชักสื่อ เพราะเหตุอาชีวะ เพราะการณ์อาชีวะ ภิกษุกล่าวว่า ภิกษุใดอยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุนั้นเป็นอรหันต์ เพราะเหตุอาชีวะ เพราะ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 601

การณ์อาชีวะ ภิกษุณีขอโภชนะอันประณีต เพื่อประโยชน์ตนมาฉัน เพราะ เหตุอาชีวะ เพราะการณ์อาชีวะ ภิกษุไม่อาพาธ ขอแกงหรือข้าวสุก เพื่อ ประโยชน์ตนมาฉัน เพราะเหตุอาชีวะ เพราะการณ์อาชีวะ อาบัตินี้นั้นรวม เรียกว่า อาชีววิบัติ.

ยาวตติยกสิกขาบท

[๑,๐๒๒] ยาวตติยกสิกขาบท ๑๑ นั้น ท่านจงฟัง ดังจะกล่าวต่อไป อุกขิตตานุ- วัตติกสิกขาบท ๑ ยาวตติยกสิกขาบท ๘ อริฏฐสิกขาบท ๑ จัณฑกาลีสิกขาบท ๑ สิกขาบทเหล่านี้นั้น ชื่อยาวตติยกสิกขาบท.

ทรงพยากรณ์เฉทนกสิกขาบทและเภทนกสิกขาบทเป็นต้น

[๑,๐๒๓] อุ. สิกขาบทว่าด้วยการตัดมีเท่าไร สิกขาบทว่าด้วยการ ทำลายมีเท่าไร สิกขาบทว่าด้วยการรื้อมีเท่าไร สิกขาบทว่าเป็นปาจิตตีย์มิใช่อื่น มีเท่าไร สิกขาบทว่าด้วยการสมมติภิกษุมีเท่าไร สิกขาบทที่ว่าเป็นความชอบ มีเท่าไร สิกขาบทที่ว่าอย่างยิ่งมีเท่าไร สิกขาบทที่พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ทรงบัญญัติว่ารู้อยู่ มีเท่าไร

พ. สิกขาบทว่าด้วยการตัดมี ๖ สิกขาบท ว่าด้วยการทำลายมี ๑ สิกขาบทว่าด้วยการรื้อมี ๑ สิกขาบทที่ว่าเป็นปาจิตตีย์ มิใช่อื่นมี ๔ สิกขาบท ว่าด้วยการสมมติภิกษุมี ๔ สิกขาบทที่ว่าเป็นความชอบมี ๗ สิกขาบทที่ว่า

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 602

อย่างยิ่งมี ๑๔ สิกขาบทที่พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ ทรงบัญญัติไว้ว่า รู้อยู่มี ๑๖.

จำนวนสิกขาบทของภิกษุเป็นต้น

[๑,๐๒๔] สิกขาบทของภิกษุมาสู่อุเทศทุกวันอุโบสถรวม ๒๒๐

สิกขาบท ของภิกษุณีมาสู่อุเทศทุกวันอุโบสถรวม ๓๐๔ สิกขาบท

สิกขาบทของภิกษุที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุณี มี ๘๖ สิกขาบท

สิกขาบทของภิกษุณีที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุ มี ๑๓๐ สิกขาบท

สิกขาบทของทั้งสองฝ่ายที่ไม่ทั่วไปรวม ๑๗๖ สิกขาบท

สิกขาบทของทั้งสองฝ่ายที่ศึกษาร่วมกันมี ๑๗๔ สิกขาบท.

ประเภทสิกขาบทของภิกษุ

[๑,๐๒๕] สิกขาบทของภิกษุ ๒๒๐ สิกขาบท มาสู่อุเทศทุกวันอุโบสถ ท่านจง ฟังสิกขาบทเทล่านั้น ดังจะกล่าวต่อไป ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ อนิยต ๒ นิสสัคคิยะ ๓๐ ถ้วน ขุททกะ ๙๒ ปาฏิ- เทสนียะ ๔ เสขิยะ ๗๕ สิกขาบทของภิกษุ รวม ๒๒๐ สิกขาบท มาสู่อุเทศทุกวันอุโบสถ.

ประเภทสิกขาบทของภิกษุณี

[๑,๐๒๖] สิกขาบทของภิกษุณี ๓๐๔ สิกขาบท มาสู่อุเทศทุกวันอุโบสถ ท่าน

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 603

จงฟังสิกขาบทเหล่านั้น ดังจะกล่าวต่อไป ปาราชิก ๘ สังฆาทิเสส ๑๗ นิสสัคคิยะ ๓๐ ถ้วน ขุททกะ ๑๖๖ ปาฏิเทสนียะ ๘ เสขิยะ ๗๕ สิกขาบทของภิกษุณีรวม ๓๐๔ สิกขาบทมาสู่อุเทศทุกวันอุโบสถ.

อสาธารณสิกขาบทของภิกษุ

[๑,๐๒๗] สิกขาบทของภิกษุ ที่ไม่ ทั่วไปกับภิกษุณี มี ๔๖ ท่านจงฟังสิกขาบท เหล่านั้น ดังจะกล่าวต่อไป สังฆาทิเสส ๖ รวมเป็น ๘ ทั้งอนิยต ๒ สิกขาบท นิสสัค คิยะ ๑๒ รวมกันเป็น ๒๐ ขุททกะ ๒๒ ปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบทของภิกษุไม่ทั่วไป กับภิกษุณี รวม ๔๖ สิกขาบท.

อสาธารณสิกขาบทของภิกษุณี

[๑,๐๒๘] สิกขาบทของภิกษุณี ที่ไม่ ทั่วไปกับภิกษุมี ๑๓๐ ท่านจงฟังสิกขาบท เหล่านั้น ดังจะกล่าวต่อไป ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๐ ที่สงฆ์ขับออกจากหมู่ นิสสัคคิยะ ๑๒ ขุททกะ ๙๖ ปาฏิเทสนียะ ๘

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 604

สิกขาบทของภิกษุณี ที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุ รวม ๑๓๐.

สิกขาบทที่ไม่ทั่วไปของทั้งสองฝ่าย

[๑,๐๒๙] สิกขาบทของทั้งสองฝ่าย ที่ไม่ทั่วไปมี ๑๗๖ ท่านจงฟังสิกขาบท เหล่านั้น ดังจะกล่าวต่อไป ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๖ อนิยต ๒ นิสสัคคิยะ ๒๔ ขุททกะ ๑๑๘ ปาฏิเทสนียะ ๑๒ สิกขาบท ของทั้งสองฝ่ายที่ไม่ทั่วไป รวม ๑๗๖.

สิกขาบทของทั้งสองฝ่ายที่ศึกษาร่วมกัน

[๑,๐๓๐] สิกขาบทของทั้งสองฝ่ายที่ ศึกษาร่วมกันมี ๑๗๔ ท่านจงฟังสิกขาบท เหล่านั้น ดังจะกล่าวต่อไป ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๗ นิสสัคคิยะ ๑๘ ขุททกะ ๗๐ ถ้วน เสขิยะ ๗๕ สิกขาบท ของทั้งสองฝ่าย ที่ศึกษาร่วมกัน รวม ๑๗๔ สิกขาบท.

อาบัติที่ระงับไม่ได้

[๑,๐๓๑] บุคคลผู้ต้องปาราชิกเหล่าใด ๘ จำพวก ไม่ควรเข้าใกล้ เปรียบเสมอ

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 605

ด้วยโคนต้นตาล บุคคลผู้ต้องปาราชิก เหล่านั้น ย่อมไม่งอกงามเปรียบเหมือนใบ ไม้เหลือง ศีลาหนา คนศีรษะขาด ต้นตาล ยอดด้วน ฉะนั้น.

อาบัติที่ระงับได้

[๑,๐๓๒] สังฆาทิเสส ๒๓ อนิยต ๒ นิสสัคคิยะ ๔๒ ปาจิตตีย์ ๑๘๘ ปาฏิเทสนียะ ๑๒ เสขิยะ ๗๕ ระงับด้วยสมณะ ๓ คือ สัมมุขาวินัย ๑ ปฏิญญาตกรณะ ๑ ติณวตถารกะ ๑.

ส่วนที่ทรงจำแนก

[๑,๐๓๓] อุโบสถ ๒ ปวารณา ๒ กรรม ๔ อันพระชินเจ้าทรงแสดงแล้ว อุเทศ ๕ และอุเทศ ๔ ย่อมไม่มีโดยประการ อื่น และกองอาบัติมี ๗.

อธิกรณ์

[๑,๐๓๔] อธิกรณ์ ๔ ระงับด้วยสมถะ ๗ คือ ระงับด้วยสมถะ ๒ ด้วยสมถะ ๔ ด้วยสมถะ ๓ แต่กิจจาธิกรณ์ระงับด้วย สมถะ ๑.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 606

วิเคราะห์ปาราชิก

[๑,๐๓๕] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า ปาราชิก ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว ต่อไป บุคคลเป็นผู้เคลื่อนแล้ว ผิดพลาด แลเหินห่างจากสัทธรรม อนึ่ง แม้สังวาสก็ ไม่มีในผู้นั้น เพราะเหตุนั้น เราจึงเรียก อาบัตินั้นว่า ปาราชิก.

วิเคราะห์สังฆาทิเสส

[๑,๐๓๖] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า สังฆา ทิเสส ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว ต่อไป สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส ชักเข้าหา อาบัติเดิมให้มานัต อัพภาน เพราะเหตุนั้น เราจึงเรียกอาบัตินั้นว่า สังฆาทิเสส.

วิเคราะห์อนิยต

[๑,๐๓๗] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า อนิยต ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าวต่อไป กองอาบัติชื่อว่าอนิยต เพราะไม่แน่ บท อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำแล้วโดยมิใช่ ส่วนเดียว บรรดาฐานะ ๓ ฐานะอย่างใด อย่างหนึ่ง เรียกว่า อนิยต.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 607

วิเคราะห์ถุลลัจจัย

[๑,๐๓๘] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า ถุลลัจจัย ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว ต่อไป ภิกษุแสดงอาบัติถุลลัจจัย ในที่ใกล้ ภิกษุรูปหนึ่ง แ ละภิกษุรับอาบัตินั้น โทษ เสมอด้วยถุลลัจจัยนั้นไม่มี เพราะเหตุนั้น จึงเรียกโทษนั้นว่า ถุลลัจจัย.

วิเคราะห์นิสสัคคิยะ

[๑,๐๓๙] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า นิสสัคคิยะ ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว ต่อไป ภิกษุเสียสละในท่ามกลางสงฆ์ ท่าม กลางคณะ และต่อหน้าภิกษุรูปหนึ่งๆ แล้ว จึงแสดงข้อละเมิดใด เพราะเหตุนั้น จึง เรียกข้อละเมิดนั้นว่า นิสสัคคิยะ.

วิเคราะห์ปาจิตตีย์

[๑,๐๔๐] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า ปาจิตตีย์ ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว ต่อไป ความละเมิดยังกุศลธรรมให้ตก ย่อม ฝืนต่ออริยมรรค เป็นเหตุแห่งความลุ่มหลง

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 608

แห่งจิต เพราะเหตุนั้น จึงเรียกความละเมิด นั้นว่า ปาจิตตีย์.

วิเคราะห์ปาฏิเทสนียะ

[๑,๐๔๑] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า ปาฏิ- เทสนียะ ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว ต่อไป ภิกษุไม่มีญาติ หาโภชนะได้ยาก รับมาเองแล้วฉัน เรียกว่า ต้องธรรมที่น่าติ ภิกษุฉันอยู่ในที่นิมนต์ ภิกษุณีสั่งเสียอยู่ใน ที่นั้นตามพอใจ ภิกษุไม่ห้าม ฉันอยู่ในที่นั้น เรียกว่า ต้องธรรมที่น่าติ ภิกษุไม่อาพาธ ไปสู่ตระกูลที่มีจิตศรัทธา แต่มีโภคทรัพย์ น้อย เขามิได้นำไปถวายแล้วฉันในที่นั้น เรียกว่า ต้องธรรมที่น่าติ ภิกษุใดถ้าอยู่ในป่า ที่น่ารังเกียจ มีภัยจำเพาะหน้า ฉันภัตตาหาร ที่เขาไม่ได้บอกในที่นั้น เรียกว่า ต้องธรรม ที่น่าติ ภิกษุณีไม่มีญาติ ขอโภชนะที่ผู้อื่น ยืดถือว่าเป็นของเรา คือ เนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา เนื้อ นมสด และนมส้ม ด้วยตนเอง ชื่อว่า ถึงธรรมที่น่าติ ในศาสนา ของพระสุคต.

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 609

วิเคราะห์ทุกกฏ

[๑,๐๔๒] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า ทุกกฏ ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าวต่อไป กรรมใดผิดพลั้งและพลาด กรรมนั้นชื่อว่า ทำไม่ดี คนทำความชั่วอันใด ในที่แจ้ง หรือในที่ลับ บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมประกาศ ความชั่วนั้นว่า ทำชั่ว เพราะเหตุนั้น กรรมนั่นจึงเรียกว่า ทุกกฏ.

วิเคราะห์ทุพภาสิต

[๑,๐๔๓] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า ทุพภาสิต ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว ต่อไป บทใด อันภิกษุกล่าวไม่ดี พูดไม่ดี และเศร้าหมอง วิญญูชนทั้งหลายย่อมติเตียน บทใด เพราะเหตุนั้น บทนั้น จึงเรียกว่า ทุพภาสิต.

วิเคราะห์เสขิยะ

[๑,๐๔๔] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า เสขิยะ ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าวต่อไป ข้อนี้เป็นเบื้องต้น เป็นข้อประพฤติ เป็นทาง

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 610

และเป็นข้อระวัง คือ สำรวม ของพระเสขะ ผู้ศึกษาอยู่ ผู้ดำเนินไปตามทางตรง สิกขา ทั้งหลาย เช่นด้วยสิกขานั้นไม่มี เพราะ เหตุนั้น สิกขานั้น จึงเรียกว่า เสขิยะ.

อุปมาอาบัติและอนาบัติ

เรือนคืออาบัติอันภิกษุปิดไว้ ย่อมรั่ว เรือนคืออาบัติอันภิกษุเปิดแล้ว ย่อมไม่รั่ว เพราะฉะนั้น ภิกษุพึงเปิดเผยอาบัติที่ปิดไว้ เมื่อเป็นอย่างนั้น เรือนคืออาบัตินั้น ย่อม ไม่รั่ว ป่าใหญ่เป็นที่พึ่งของหมู่มฤค อากาศ เป็นทางไปของหมู่ปักษี ความเสื่อมเป็นคติ ของธรรมทั้งหลาย นิพพานเป็นภูมิที่ไปของ พระอรหันต์.

คาถาสังคณิกะ จบ

หัวข้อประจำเรื่อง

[๑,๐๔๕] สิกขาบทที่ทรงบัญญัติใน ๗ พระนคร ๑ วิบัติ ๔ อย่าง ๑ สิกขาบทของภิกษุ และของภิกษุณีทั่วไป ๑ ไม่ทั่วไป ๑ นี้เป็นถ้อยคำที่รวม ไว้ด้วยคาถา เพื่ออนุเคราะห์พระศาสนา.

หัวข้อประจำเรื่อง จบ

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 611

ปฐมคาถาสังคณิก วัณณนา

บาทคาถาว่า เอกํสํ จีวรํ กตฺวา มีความว่า ท่านกระทำจีวร เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง อธิบายว่า ห่มอุตราสงค์เรียบร้อย.

บาทคาถาว่า ปคฺคณฺหิตฺวาน อญฺชลึ มีความว่า ยกอัญชลีอัน รุ่งเรืองด้วยประชุมแห่งนิ้วทั้ง ๑๐.

บาทคาถาว่า อาสึสมานรูโปว ความว่า ดูเหมือนจะมุ่งหวัง.

บาทคาถาว่า กิสฺส ตฺวํ อิธมาคโต มีความว่า ท่านปรารถนา ประโยชน์อะไร มาในที่นี้ เพราะเหตุไร?

ใครกล่าวอย่างนี้? พระสัมมาสัมพุทธเจ้า. ตรัสอย่างนั้นกะใคร? กะท่านพระอุบาลี. ท่านพระอุบาลี เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามคาถานี้ว่า (สิกขาบทที่ทรงบัญญัติ) ในวินัยทั้ง ๒ (ย่อมมาสู่อุทเทสในวันอุโบสทั้งหลาย สิกขาบทเห่ลานั้น มีเท่าไร? ทรงบัญญัติในนครเท่าไร?) ด้วยประการฉะนี้.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคำว่า ปัญญาของท่านดีเป็นต้น ทรงตอบคำถามนั้นของท่าน. มีนัยเหมือนกันทุกปัญหา.

พระอุบาลีเถระทูลถามปัญหาทั้งปวงเหล่านี้ ในพุทธกาล ด้วยประการ ฉะนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตอบเอง. ส่วนในสังคีติกาล พระมหากัสสปเถระถาม พระอุบาลีเถระตอบ.

บรรดาบทเหล่านั้น บาทคาถาว่า ภทฺทโก เต อุมฺมงฺโค มีความว่า ปัญญาของท่านดี. จริงอยู่ ปัญญาเรียกว่า อุมมังคะ เพราะผุดขึ้นจากมืด คือ อวิชชาตั้งอยู่.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 612

ศัพท์ว่า ตคฺฆ เป็นนิบาต ใช้ในอรรถคือเหตุ. ความว่า ท่าน ถามเราเพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น เราจักตอบแก่ท่าน.

อีกอย่างหนึ่ง ศัพท์ว่า ตคฺฆ เป็นนิบาต ใช้ในอรรถคือยอมรับ. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับคำ ด้วยคำว่า เอาเถิด. นี้จึงตรัสว่า เรา จักตอบ.

เฉพาะ ๓ สิกขาบทนี้ คือ ติดไฟผิง มือเปื้อนอามิส น้ำล้างบาตร มีเมล็ดข้าวสุก ทรงบัญญัติในภัคคชนบท.

สองบทว่า ยนฺตฺวํ อปุจฺฉิมฺหา มีความว่า ข้าพเจ้าได้ทูลถามปัญหา ใดกะพระองค์.

บทว่า อกิตฺตยิ คือ พระองค์ได้ตรัสแล้ว.

บทว่า โน คือ แก่ข้าพเจ้า.

สองบทว่า ตนฺตํ พฺยากตํ มีความว่า คำใดๆ อันข้าพเจ้าได้ทูล ถามแล้ว คำนั้นๆ อันพระองค์ทรงแก้แล้ว.

บทว่า อนญฺถา ความว่า มิได้ทรงแก้บ่ายเบี่ยงโดยประการอื่น.

[วิบัติ ๔]

ชื่อว่า สีลวิบัติ ย่อมไม่มีในปัญหาในคำว่า เย ทุฏฺฐุลฺลา สา ลีลวิปตฺติ นี้ แม้โดยแท้ ถึงกระนั้น คำว่า เย ทุฏฺฐุลฺลา สา สีลวิปตฺติ นี้ ท่านกล่าวแล้ว ด้วยความเป็นผู้ประสงค์จะแก้ทุฏฺฐุลลาบัติ.

จริงอยู่ ในวิบัติ ๔ ทุฏฐุลลาบัติ สงเคราะห์ด้วยวิบัติ ๑ อทุฏฐุลลาบัติ สงเคราะห์ด้วยวิบัติ ๓. เพราะเหตุนั้น ท่านกล่าวว่า เย ทุฏฺฐุลฺลา สา

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 613

สีลวิปตฺติ แล้ว จึงกล่าวว่า ปาราชิก สังฆาทิเสส เรียกว่า สีลวิบัติ เพื่อ แสดงสีลวิบัตินั้นเอง โดยพิสดาร.

บัดนี้ ท่านกล่าวคำว่า ถุลฺลจฺจยํ เป็นอาทิ เพื่อแสดงอทุฏจุลลาบัติ ด้วยอำนาจวิบัติ ๓.

ในคำเหล่านั้น คำว่า โย จายํ อกฺโกสติ หสฺสาธิปฺปาโย นี้ ท่านกล่าว เพื่อชี้วัตถุแห่งทุพภาสิต.

บทว่า อพฺภาจิกฺขติ มีความว่า เมื่อกล่าวว่า ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรม ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วอย่างนั้น ชื่อว่ากล่าวตู่.

หลายบทว่า อยํ สา อาชีววิปตฺติสมฺมตา มีความว่า ชื่อว่า อาชีววิบัติ ที่ประมวลด้วย ๖ สิกขาบทนี้ สมมติว่าวิบัติที่ ๔ ฉะนี้แล.

คำถามว่า อทุฏฺฐุลฺลํ นี้ เป็นอันเฉลยแล้ว ด้วยคำมีประมาณเท่านี้.

[ประมวลสิกขาบท]

บัดนี้ ท่านกล่าวคำว่า เอกาทส เป็นอาทิ เพื่อเฉลยปัญหาที่ว่า เย จ ยาวตติยกา. ก็เพราะปัญหาที่ว่า เย จ ยาวตติยกา นี้ ท่าน เฉลยแล้วด้วยอำนาจจำนวน อย่างนี้ว่า ยาวตติยกสิกขาบท ๑๑, เพราะฉะนั้น ท่านจึงถามอันตราปัญหาเหล่าอื่น มีคำว่า เฉทนกสิกขามีเท่าใด? เป็น อาทิ ด้วยอำนาจสืบต่อแห่งจำนวนนั่นเอง.

ท่านกล่าวว่า ฉ เฉทนกานิ เป็นอาทิ ก็เพื่อเฉลยอันตราปัญหา เหล่านั้น. ในคำเฉลยนั้น คำว่า เภทนกสิกขาบท ๑ อุททาลนกสิกขาบท ๑ สิกขาบท ๑๖ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติว่า รู้อยู่ นี้แล ตรัสภายหลัง.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 614

บทที่เหลือ ได้จำแนกไว้ในมหาวัคค์หมดแล้ว.

ก็ในคำที่ตรัสภายหลังนั้น สองบทว่า เอกํ เภทนกํ ได้แก่ สูจิ- ฆรสิกขาบท.

สองบทว่า เอกํ อุทฺทาลนกํ ได้แก่ ดูโลนัทธมัญจปิฐสิกขาบท.

บทว่า โสรส ได้แก่ โสฬส (คือ ๑๖).

สองบทว่า ชานนฺติ ปญฺตฺตา ได้แก่ สิกขาบทที่ตรัสอย่างนี้ว่า รู้อยู่ ทรงบัญญัติแล้ว.

สิกขาบทเหล่านั้น พึงทราบอย่างนี้ คือ:-

ภิกษุรู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมไปจะถวายสงฆ์มาเพื่อตน รู้อยู่สำเร็จการ นอนเบียดภิกษุผู้เข้าไปก่อน รู้อยู่ว่า น้ำมีตัวสัตว์ รดเองก็จาม ใช้ให้รดก็ตาม ซึ่งหญ้าหรือดิน รู้อยู่ ฉันบิณฑบาต อันภิกษุณีแนะนำให้ถวาย รู้อยู่ มุ่งหมาย จะยกโทษ พอเธอฉันแล้วเป็นปาจิตตีย์ รู้อยู่ บริโภคน้ำมีตัวสัตว์ รู้อยู่ พื้น อธิกรณ์ที่ตัดสินเสร็จแล้วโดยธรรม รู้อยู่ ปิดอาบัติชั่วหยาบ รู้อยู่ ยังบุคคล มีปีหย่อน ๒๐ ให้อุปสมบท รู้อยู่ ชักชวนแล้ว เดินทางสายเดียวกันกับพวก เกวียนพวกต่างที่เป็นโจร รู้อยู่ กินร่วมก็ดี ... กับภิกษุผู้กล่าวอย่างนั้น ยัง ไม่ได้ทำธรรมอันสมควร รู้อยู่ เกลี้ยกล่อมสมณุทเทสผู้ถูกให้นาสนะแล้ว อย่างนั้น รู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมไปจะถวายสงฆ์มาเพื่อบุคคล ภิกษุณี รู้อยู่ ไม่โจทด้วยตนเอง ซึ่งภิกษุณีผู้ล่วงธรรมถึงปาราชิก รู้อยู่ ว่าสตรีเป็นนางโจร อันชนทั้งหลายรู้ว่าต้องโทษประหาร ไม่บอก รู้อยู่ ไม่บอกก่อน เข้าไปสู่อาราม ที่มีภิกษุ.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 615

[จำแนกสิกขาบท]

บัดนี้ ท่านจะเฉลยปัญหาแรกนี้ว่า สาธารณํ อสาธารณํ จึงกล่าว คำว่า วีสํ เทฺว สตานิ เป็นอาทิ.

บรรดาสิกขาบทที่ทั่วไปและไม่ทั่วไปเหล่านั้น วินิจฉัยในสิกขาบท ทั้งหลายที่ไม่ทั่วไปด้วยเหล่าภิกษุณี พึงทราบดังนี้:-

สองบทว่า ฉ สงฺฆาทิเสสา ได้แก่ สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท ๑ กายสังสัคคสิกขาบท ๑ ทุฏฐุลลวาจสิกขาบท ๑ อัตตกามปาริจริยสิกขาบท ๑ กุฏิการสิกขาบท ๑ วิหารสิกขาบท ๑.

สองบทว่า เทฺวอนิยเตหิ อฏฺิเม ได้แก่ สิกขาบทเหล่านี้รวม เป็น ๘ กับอนิยต ๒ สิกขาบท.

สองบทว่า นิสฺสคฺคิยา ทฺวาทส ได้แก่ สิกขาบท ๑๒ เหล่านี้ คือ จีวรโธวนะ ๑ จีวรปฏิคคหะ ๑ โกเสยยะ ๑ สุทธกาฬกะ ๑ เทวภาคะ ๑ ฉัพพัสสะ ๑ นิสีทนสันถัต ๑ โลมสิกขาบท ๒ ปฐมปัตตะ ๑ วัสสิกสาฏิกะ ๑ อารัญญกะ คือ สาสังกะ ๑.

สองบทว่า ทฺวาวีสติ ขุทฺทกา ได้แก่ สิกขา ๒๒ ที่ประกาศแล้วใน ขุททกกัณฑ์ เหล่านี้ คือ ภิกขุนีวัคค์ทั้งสิ้น ปรัมปาโภชนสิกขาบท อนติ- ริตตสิกขาบท อภิหัฏฐุปวารณาสิกขาบท ปณีตโภชนาสิกขาบท อเจลกสิกขาบท โอนวีสติวัสสสิกขาบท ทุฏฐุลลัจฉาทนสิกขาบท มาตุคามสังวิธานสิกขาบท อนิกขันตราชกสิกขาบท ไม่บอกลาภิกษุที่มีอยู่ เข้าบ้านในวิกาล นิสีทนสิกขาบท วัสสิกสาฏิกสิกขาบท.

วินิจฉัยแม้ในสิกขาบทที่ไม่ทั่วไป ด้วยภิกษุทั้งหลาย พึงทราบดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 616

หลายบทว่า สงฺฆมฺหา ทส นิสฺสเร ได้แก่ สิกขาบทที่ตรัสไว้ ในวิภังค์อย่างนี้ว่า ๑๐ สิกขาบท อันสงฆ์พึงขับออกจากหมู่. แต่ ๑๐ สิกขาบท มาในมาติกาอย่างนี้ว่า สังฆาทิเสสที่ต้องเสีย.

สองบทว่า นิสฺสคฺคิยานิ ทฺวาทส ได้แก่ นิสสัคคีย์ที่ทรงจำแนก ไว้ในภิกขุนีวิภังค์เท่านั้น.

แม้ขุททกสิกขาบท ก็ได้แก่ ขุททกสิกขาบทที่ทรงจำแนกในภิกษุนีวิภังค์นั้นเอง.

ปาฏิเทสนียะ ๘ ก็เหมือนกัน. สิกขา ๑๓๐ ของพวกภิกษุณี ไม่ทั่วไป ด้วยภิกษุทั้งหลายอย่างนี้.

ในตอนที่แก้สิกขาบทที่ทั่วไปนี้ คำทีเหลือ ตื้นทั้งนั้น.

[กองอาบัติที่ระงับไม่ได้]

บัดนี้ พระอุบาลีเถระ เมื่อจะแก้ปัญหานี้ว่า ก็กองอาบัติเป็นต้น อันท่านจำแนก ย่อมระงับด้วยสมถะเหล่าใด? ดังนี้ จึงกล่าวว่า บุคคลผู้ พ่ายแพ้ ๘ พวกแล เป็นอาทิ.

บรรดาบทเหล่านั้น ท่านแสดงข้อที่บุคคลผู้พ่าย ๘ พวกนั้นเป็นผู้มีภัย เฉพาะหน้า ด้วยบทว่า ทุราสทา นี้.

จริงอยู่ ผู้พ่ายเหล่านั้น เป็นราวกะงูเห่าเป็นต้น ยากที่จะเข้าใกล้ คือยากที่จะเข้าเคียง ยากที่จะเข้าหา อันบุคคลเกี่ยวข้องอยู่ ย่อมเป็นไปเพื่อ ตัดรากเหง้า.

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 617

บทว่า ตาลวตฺถุสมูปมา มีความว่า เปรียบสมด้วยการถอนต้นตาล หมดทั้งต้น กระทำให้เป็นสักว่าวัตถุแห่งตาล. ต้นตาลที่บุคคลกระทำให้เป็น สักว่าวัตถุ เป็นต้นไม้ที่กลับคืนเป็นปกติอีกไม่ได้ฉันใด บุคคลผู้พ่าย ๘ พวก นั้น ย่อมเป็นผู้กลับคืนอย่างเดิมอีกไม่ได้ฉันนั้น.

พระอุบาลีเถระ ครั้นแสดงอุปมาที่ทั่วไปอย่างนี้แล้ว จะแสดงอุปมา ซึ่งกล่าวเฉพาะสำหรับผู้หนึ่งๆ อีก จึงกล่าวว่า เปรียบเหมือนใบไม้เหลือง เป็นอาทิ.

บาทคาถาว่า อวิรูฬฺหิ ภวนิติ เต มีความว่า ใบไม้เหลืองเป็นอาทิ เหล่านั่น เป็นของมีอันไม่งอกงาม โดยความเป็นของเขียวสดอีกเป็นต้น เป็น ธรรมดาฉันใด, แม้บุคคลผู้พ่ายทั้งหลายก็ฉันนั้น ย่อมเป็นผู้ไม่งอกงามโดย ความเป็นผู้มีศีลตามปกติอีกเป็นธรรมดา.

ในคำว่า ก็กองอาบัติเป็นต้น อันท่านจำแนก ย่อมระงับด้วยสมถะ เหล่าใดนี้ คำอย่างนี้ว่า กองอาบัติเป็นต้น อันท่านจำแนก คือ ปาราชิก ๘ เหล่านี้ก่อน ย่อมไม่ระงับด้วยสมถะเหล่าใดๆ เป็นอันแสดงแล้ว ด้วยคำมี ประมาณเท่านี้.

[กองอาบัติที่ระงับได้]

ส่วนคำว่า เตวีสํ สงฺฆาทิเสสา เป็นอาทิ ท่านกล่าวแล้ว เพื่อ แสดงอาบัติเครื่องจำแนกเป็นต้นที่ระงับได้.

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า ตีหิ สมเถหิ นี้ เป็นคำกล่าวครอบ สมถะทั้งหมด.

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 618

จริงอยู่ สังฆาทิเสส ย่อมระงับด้วยสมถะ ๒ เท่านั้น, หาระงับด้วย ติณวัตถารกสมถะไม่, ที่เหลือย่อมระงับด้วยสมถะทั้ง ๓.

คำว่า เทฺว อุโปสถา เทฺว ปวารณา นี้ ท่านกล่าวด้วยอำนาจ ภิกษุและภิกษุณี, จริงอยู่ คำนั่นท่านกล่าวแล้วด้วยอำนาจแสดงสักว่าส่วน อันท่านจำแนกเท่านั้น หาได้กล่าวด้วยอำนาจการระงับด้วยสมถะทั้งหลายไม่.

จริงอยู่ ส่วนอันท่านจำแนก อธิบายว่า ส่วนที่ควรแจกออก ๔ แม้ เหล่านี้ คือ ภิกขุอุโบสถ ภิกขุณีอุโบสถ ภิกขุปวารณา ภิกขุณีปวารณา.

สองบทว่า จตฺตาริ กมฺมานิ ได้แก่ อุโบสถกรรม มีที่เป็นวรรค โดยอธรรมเป็นอาทิ.

หลายบทว่า ปญฺเจว อุทฺเทสา จตุโร ภวนฺติ อนญฺถา มี ความว่า อุทเทสของภิกษุมี ๕ ของภิกษุณีมี ๔ โดยประการอื่น ไม่มี.

พึงทราบส่วนจำแนกแม้อื่นอีกเหล่านี้ คือ กองอาบัติมี ๗ อธิกรณ์ มี ๔, ก็ส่วนจำแนกเหล่านี้ ย่อมระงับด้วยสมถะทั้งหลาย, เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคำว่า สตฺตหิ สมเถหิ เป็นอาทิ.

อีกประการหนึ่ง อาบัติเหล่าใด อาศัยส่วนจำแนกแม้เหล่านี้แล คือ อุโบสถ ๒ ปวารณา ๒ กรรม ๔ อุทเทส ๕ อุทเทส ๔ มี, อุทเทสโดย ประการอื่น ไม่มี, เกิดขึ้นโดยนัยเป็นต้นว่า นสฺสนฺเต เต วันสฺสนฺเต เต, อาบัติเหล่านั้น ย่อมระงับด้วยสมถะทั้งหลาย มีประการดังกล่าวแล้วนั่นแล, เพราะเหตุนั้น ส่วนจำแนกเหล่านั้น อันบัณฑิตพึงทราบว่า ท่านกล่าวแล้ว เพื่อแสดงความระงับอาบัติทั้งหลายที่มีส่วนจำแนกนั้นเป็นมูลบ้าง.

สองบทว่า กิจฺจํ เอเกน มีความว่า กิจจาธิกรณ์ ย่อมระงับด้วย สมถะเดียว.

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 619

[วิเคราะห์ปาราชิก]

พระอุบาลี ครั้นแก้ปัญหาทั้งปวงตามลำดับแห่งคำถามอย่างนี้แล้ว บัดนี้ จะแสดงเพียงคำอธิบายเฉพาะอย่าง แห่งกองอาบัติที่ประมวลไว้ในคำว่า อาปตฺติกฺขนฺธา จ ภวนฺติ สตฺต จึงกล่าวคำว่า ปาราชิกํ เป็นอาทิ.

บรรดาคาถาเหล่านั้น คาถาที่ ๑ ว่า ปาราชิกํ เป็นต้น มีเนื้อความ ดังต่อไปนี้:- บรรดาบุคคลปาราชิก อาบัติปาราชิก และสิกขาบทปาราชิก ชื่ออาบัติ ปาราชิกนี้ใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว, บุคคลผู้ต้องอาบัติปาราชิกนั้น ย่อมเป็นผู้พ่าย คือ ถึงความแพ้ เป็นผู้เคลื่อน ผิด ตก อันความละเมิดทำ ให้ห่างจากสัทธรรม. เมื่อบุคคลนั้นไม่ถูกขับออก (จากหมู่) ก็ไม่มีสังวาส ต่างโดยอุโบสถและปวารณาเป็นต้นอีก. ด้วยเหตุนั้น ปาราชิกนั่น พระผู้มี พระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนั้น คือ เพราะเหตุนั้น อาบัติปาราชิกนั่น พระผู้มี พระภาคเ จ้าจึงตรัสว่า ปาราชิก.

ก็ในบทว่า ปาราชิกํ นี้ มีความสังเขปดังนี้:-

บุคคลย่อมเป็นผู้พ่ายด้วยอาบัติปาราชิกนั้น เพราะเหตุนั้น อาบัติ ปาราชิกนั่น ท่านจึงกล่าวว่า ปาราชิก.

[วิเคราะห์สังฆาทิเสส]

คำว่า สงฺโฆว เทติ ปริวาสํ เป็นอาทิ ท่านกล่าวแล้ว เพื่อแสดง แต่เนื้อความเท่านั้น ไม่เอื้อเฟื้อพยัญชนะ แม้ในคาถาที่ ๒.

ก็ในบทว่า สงฺฆาทิเสโส เป็นอาทินี้ มีเนื้อความดังต่อไปนี้:-

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 620

การออกจากอาบัตินั้นใด ของภิกษุผู้ต้องอาบัตินี้แล้วใคร่จะออก สงฆ์ อันภิกษุนั้นพึงปรารถนา ในกรรมเบื้องต้นแห่งการออกจากอาบัตินั้น เพื่อ ประโยชน์แก่การให้ปริวาส และในกรรมที่เหลือจากกรรมเบื้องต้น คือใน ท่ามกลาง เพื่อประโยชน์แก่การให้มานัต หรือเพื่อประโยชน์แก่การให้มานัตต์ กับมูลายปฏิกัสสนะ และในที่สุดเพื่อประโยชน์แก่อัพภาน. ก็ในกรรมทั้งหลาย มีปริวาสกรรมเป็นต้นนี้ กรรมแม้อย่างหนึ่ง เว้นสงฆ์เสีย อันใครๆ ไม่อาจ ทำได้ ฉะนี้แล.

สงฆ์อันภิกษุพึงปรารถนาในกรรมเบื้องต้น และในกรรมที่เหลือแห่ง กองอาบัตินั้น เหตุนั้น กองอาบัตินั้น ชื่อว่าสังฆาทิเสส.

[วิเคราะห์อนิยต]

เนื้อความแห่งคาถาที่ ๓ พึงทราบดังนี้:-

สองบทว่า อนิยโต น นิยโต มีความว่า เพราะไม่แน่ กองอาบัตินี้ จึงได้ชื่อว่าอนิยต.

คำที่ว่า ไม่แน่ นี้มีอะไรเป็นเหตุ? เพราะสิกขาบทนี้ ปรับอาบัติ ไม่จำกัดส่วนอันเดียว. อธิบายว่า สิกขาบทนี้ ปรับอาบัติโดยส่วนอันเดียวไม่ได้.

สิกขาบทนี้ ปรับอาบัติโดยส่วนเดียวไม่ได้อย่างไร? อย่างนี้ บรรดาฐานะ ๓ ฐานะอันใดอันหนึ่ง อันพระวินัยธรพึงปรับ.

จริงอยู่ ท่านกล่าวไว้ในอนิยตสิกขาบทนั้นว่า ภิกษุนั้น อันพระวินัยธร พึงปรับด้วยธรรม ๓ อย่างใดอย่างหนึ่ง. เพราะเหตุนั้น กองอาบัตินั้น ท่าน จึงกล่าวว่า อนิยต คือ กล่าวว่า ไม่แน่.

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 621

เหมือนอย่างว่า บรรดาฐานะ ๓ ฐานะอันใดอันหนึ่ง ท่านกล่าวใน กองอาบัตินั้น กองอาบัติ ชื่อว่าอนิยต ฉันใด, บรรดาฐานะ ๒ ฐานะอันใด อันหนึ่ง ท่านกล่าวในกองอาบัติใด กองอาบัติแม้นั้น ก็ชื่อว่าอนิยตเหมือนกัน ฉันนั้น.

[วิเคราะห์ถุลลัจจัย]

เนื้อความแห่งคาถาที่ ๔ พึงทราบดังนี้:-

บาทคาถาว่า อจฺจโย เตน สโม นตฺถิ มีความว่า บรรดาโทษ ที่เป็นเทสนาคามี โทษที่ล่ำ เสมอด้วยถุลลัจจัยนั้นไม่มี ด้วยเหตุนั้น ความ ละเมิดนั้น ท่านจึงเรียกอย่างนั้น. อธิบายว่า ความละเมิดนั้น ท่านเรียกว่า ถุลลัจจัย เพราะเป็นโทษล่ำ.

[วิเคราะห์นิสสัคคีย์]

เนื้อความแห่งคาถาที่ ๕ พึงทราบดังนี้:-

หลายบทว่า นิสฺสชฺชิตฺวา ย เทเสติ เตเนตํ มีความว่า ความ ละเมิดนั้น ท่านเรียกนิสสัคคิยะ เพราะต้องสละแล้วจึงแสดง.

[วิเคราะห์ปาจิตตีย์]

เนื้อความคาถาที่ ๖ พึงทราบดังนี้:-

บาทคาถาว่า ปาเตติ กุสลํ ธมฺมํ มีความว่า ความละเมิดนั้น ยังกุศลจิตกล่าวคือกุศลธรรม ของบุคคลผู้แกล้งต้องให้ตกไป เพราะเหตุนั้น

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 622

ความละเมิดนั้น ชื่อว่ายังจิตให้ตกไป เพราะฉะนั้น ความละเมิดนั้น ชื่อว่า ปาจิตติยะ.

ก็ปาจิตติยะ ย่อมยังจิตให้ตกไป, ปาจิตติยะนั้น ย่อมผิดต่ออริยมรรค และย่อมเป็นเหตุแห่งความลุ่มหลงแห่งจิต. เพราะเหตุนั้น คำว่า ผิดต่อ อริยมรรค และคำว่า เป็นเหตุแห่งความลุ่มหลงแห่งจิต ท่านจึงกล่าวแล้ว.

[วิเคราะห์ปาฏิเทสนียะ]

ในปาฏิเทสนียคาถาทั้งหลาย คำว่า ภิกษุเป็นผู้ไม่มีญาติ เป็นอาทิ ท่านกล่าวแล้ว เพื่อแสดงความกระทำความเป็นธรรมที่น่าติ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า แน่ะเธอ ฉันต้องธรรมที่น่าติ. ก็อาบัตินั้น ท่านเรียกว่า ปาฏิเทสนียะ เพราะจะต้องแสดงคืน.

[วิเคราะห์ทุกกฏ]

เนื้อความแห่งทุกกฏคาถา พึงทราบดังนี้:-

คำว่า ผิด แย้ง พลาด นี้ทั้งหมด เป็นคำยักเรียก ทุกกฏที่กล่าว ไว้ในคำนี้ว่า ยญฺจ ทุกฺกฏํ.

จริงอยู่ กรรมใด อันบุคคลทำไม่ดี หรือทำผิดรูป กรรมนั้น ชื่อว่า ทุกกฏ. ก็ทุกกฏนั้นแล ชื่อว่าผิด เพราะเหตุที่ไม่ทำตามประการที่พระศาสดา ตรัส ชื่อว่าแย้ง เพราะเป็นไปแย้งกุศล ชื่อว่าพลาด เพราะไม่ย่างขึ้นสู่ข้อ ปฏิบัติในอริยมรรค.

ส่วนคำว่า ยํ มนุสฺโส กเร นี้ แสดงข้อควรเปรียบในทุกกฏนี้.

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 623

เนื้อความแห่งคำนั้นว่า มนุษย์ในโลก ทำบาปใด ในที่แจ้งหรือใน ที่ลับ, บัณฑิตทั้งหลายประกาศบาปนั้นว่า ทุกกฏ ฉันใด, ทุกกฏแม้นี้ ก็ฉันนั้น ชื่อว่าบาป เพราะเป็นกรรมลามก อันพระพุทธเจ้าทรงเกลียด เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่า ทุกกฏ.

[วิเคราะห์ทุพภาสิต]

เนื้อความแห่งทุพภาสิตคาถา พึงทราบดังนี้:-

บาทคาถาว่า ทุพภาสิตํ ทุราภฏฺํ มีความว่า บทใดอันภิกษุกล่าว คือพูด เจรจาชั่ว เหตุนั้น บทนั้น ชื่อว่าอันภิกษุกล่าวชั่ว: อธิบายว่า บทใด อันภิกษุกล่าวชั่ว บทนั้น เป็นทุพภาสิต.

มีคำที่จะพึงกล่าวให้ยิ่งน้อยหนึ่ง; ความว่า อนึ่ง บทใด เศร้าหมอง บทนั้น เป็นบทเศร้าหมอง เพราะเหตุใด; อนึ่ง วิญญูชนทั้งหลาย ย่อมติ เพราะเหตุใด; อธิบายว่า ท่านผู้รู้แจ้งทั้งหลาย ติบทนั้น เพราะเหตุใด.

บาทคาถาว่า เตเนตํ อิติ วุจฺจติ มีความว่า เพราะความเป็นบท เศร้าหมอง และแม้เพราะความติแห่งวิญญูชนนั้น บทนั้น ท่านย่อมกล่าว อย่างนั้น คือ บทนั้น ท่านกล่าวว่า ทุพฺภาสิตํ.

[วิเคราะห์เสขิยะ]

เนื้อความแห่งเสขิยคาถา พึงทราบดังนี้:-

พระอุบาลีเถระ แสดงความที่พระเสขะมี โดยนัยมีคำว่า อาทิ เจตํ จรณญฺจ เป็นต้น เพราะเหตุนั้น ในบทว่า เสขิยํ นี้ จึงมีเนื้อความสังเขป ดังนี้ว่า นี้เป็นข้อควรศึกษาของพระเสขะ.

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 624

คำว่า ปาราชิกนฺตํ ยํ วุตฺตํ เป็นอาทินี้ พึงทราบว่า ท่านกล่าว เพื่อแสดงเนื้อความ ที่มิได้สงเคราะห์ด้วยปัญหาที่ว่า ครุกลหุกญฺจาปิ เป็นต้น แต่สงเคราะห์ด้วยคำอ้อนวอนนี้ว่า หนฺท วากฺยํ สุโณม เต (เอาเถิด เราจะฟังคำของท่าน).

[อุปมาแห่งอาบัติอนาบัติ]

แม้ในบทว่า ฉนฺนมติวสฺสติ เป็นต้น ก็นัยนี้แล.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉนฺนมติวสฺสติ มีความว่า เรือนที่มิได้ มุงด้วยเครื่องมุงมีหญ้าเป็นต้น ย่อมเปียกก่อน. แต่เรือนกล่าวคืออาบัตินี้ อัน ภิกษุปิดไว้แล้ว ย่อมเปียก.

จริงอยู่ ภิกษุเมื่อปิดอาบัติแรกไว้ ย่อมต้องอาบัติอื่นใหม่.

สองบทว่า วิวฏฺ นาติวสฺสติ มีความว่า เรือนที่ไม่เปิด คือมุงดี แล้ว ย่อมไม่เปียกฝนก่อน. แต่เรือนกล่าวคืออนาบัตินี้ อันภิกษุเปิดแล้ว ย่อมไม่เปียก.

จริงอยู่ ภิกษุเมื่อเปิดเผยอาบัติแรก แสดงอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี เสีย ออกจากอาบัติที่เป็นวุฏฐานคามินีเสีย ย่อมประดิษฐานในส่วนหมดจด. เมื่อสำรวมต่อไป ย่อมไม่ต้องอาบัติอื่น.

บาทคาถาว่า ตสฺมา ฉนฺนํ วิวเรถ มีความว่า เพราะเหตุนั้น เมื่อแสดงอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี และออกจากอาบัติที่เป็นวุฏฐานคามินี ชื่อว่า เปิดเผยอาบัติที่ปิดไว้.

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 625

บาทคาถาว่า เอวนฺตํ นาติวสฺสติ มีความว่า ก็เรือนกล่าวคืออาบัติ นั่น อันภิกษุเปิดเผยแล้วอย่างนั้น ย่อมไม่เปียก.

บาทคาถาว่า คติ มิคานํ ปวนํ มีความว่า ป่าใหญ่ คือป่าที่ หนาแน่นด้วยต้นไม้เป็นต้น เป็นคติ คือเป็นที่พึ่งของมฤคทั้งหลายผู้อันพาล มฤคมีเสือโคร่งเป็นอาทิให้ล้มในกลางแจ้ง. มฤคเหล่านั้น ถึงป่านั้นแล้ว ย่อม โล่งใจ. โดยนัยนี้แล อากาศเป็นทางไปของเหล่าปักษี, ความเสื่อมเป็นคติ ของธรรมทั้งหลาย คือว่า ความพินาศเป็นทางของสังขตอรรมแม้ทั้งปวง เพราะอรรถว่าต้องถึงเข้าเป็นแน่.

จริงอยู่ สังขตธรรมเหล่านั้น จะไม่ถึงความพินาศ สามารถทนอยู่ หามิได้. ส่วนนิพพานดำรงอยู่แม้นาน เป็นคติของพระอรหันต์ อธิบายว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นทางไปด้านเดียวของพระอรหันตขีณาสพ.

ปฐมคาถาสังคณิก วัณณนา จบ