พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

สัตตสติกักขันธกวรรณนา

  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 560

สัตตสติกักขันธก วรรณนา

วินิจฉัยในสัตตสติกักขันธกะ พึงทราบดังนี้ :-

บทว่า ภิกฺขุคฺเคน มีความว่า ภิกษุวัชชีบุตร ชาวเมืองเวสาลี นับ ภิกษุทั้งหลายตามจำนวนภิกษุแล้ว จัดส่วนไว้มีประมาณเท่านั้น.

บทว่า มหิกา ได้แก่ หมอกในคราวหิมะตก.

บทว่า อวิชฺชานีวุตา ได้แก่ ผู้อันอวิชชาปิดบังแล้ว.

บทว่า โปสา ได้แก่ บุรุษ. ชื่อว่าผู้ชื่นชมนักซึ่งปิยรูป เพราะ เพลินนัก คือ กระหยิ่ม ปรารถนาซึ่งปิยรูป.

บทว่า อวิทฺทสุ ได้แก่ ไม่รู้ ชื่อว่าผู้มีฐุลีด้วยธุลีคือราคะ. ชื่อว่า ผู้เป็นเพียงดังมฤค เพราะเป็นผู้คล้ายมฤค. ชื่อว่าผู้มีตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ เพราะเป็นไปกับด้วยตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ.

บาทคาถาว่า วฑฺเฒนฺติ กฏสึ โฆรํ มีความว่า ย่อมยังภูมิเป็น ที่ทิ้งซากศพให้หนาขึ้นเนืองๆ. ก็แลเมื่อยังภูมิเป็นที่ทิ้งซากศพให้หนาขึ้น เนืองๆ อย่างนั้น ชื่อว่าย่อมถือเอาภพใหม่ที่น่ากลัว คือว่าย่อมเกิดอีก ฉะนี้ แล.

ข้อว่า ปาปิกํ โน อาวุโส กตํ มีความว่า ผู้มีอายุ กรรมลามก อัน เราทั้งหลายกระทำแล้ว.

บทว่า ภุมฺมิ นี้ ซึ่งมีอยู่ใน คำว่า กตเมน ตฺวํ ภุมฺมิ วิหาเรน นี้ เป็นคำไพเราะ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 561

ได้ยินว่า ท่านพระสัพพกามี ผู้ประสงค์จะกล่าวคำอันไพเราะจึงเรียก ภิกษุใหม่ทั้งหลาย อย่างนั้น.

บทว่า กุลฺลกวิหาเรน ได้แก่ ธรรมเป็นที่อยู่อันตื้น.

[ว่าด้วยสิงคิโลณกัปปะ]

สองบทว่า สาวตฺถิยา สุตฺตวิภงฺเค มีความว่า เกลือเขนงนี้เป็น ของอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้วในสุตตวิภังค์ อย่างไร? จริงอยู่ ใน สุตตวิภังค์นั้น เกลือเขนงเป็นของอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ของภิกษุรับ ประเคนแล้วในวันนี้ ควรเพื่อฉันในวันอื่นอีก ชื่อว่าเป็นของสันนิธิ ดังนี้แล้ว ตรัสอาบัติห้ามอีกว่า ภิกษุมีความสำคัญในของเคี้ยวของฉันที่รับประเคนไว้ ค้างคืน ว่ามิได้รับประเคนไว้ค้างคืน เคี้ยวของเคี้ยวก็ดี ฉันของฉันก็ดี ต้อง ปาจิตตีย์.

ในสุตตวิภังค์นั้น อาจารย์พวกหนึ่งเข้าใจว่า ก็ สิกขาบทนี้พระผู้มี พระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า โย ปน ภิกฺขุ สนฺนิธิการกํ ขาทนียํ วา โภชนียํ วา เป็นอาทิ แต่ธรรมดาเกลือนี้ ไม่ถึงความเป็นสันนิธิ เพราะเป็นยาวชีวิก ภิกษุรับประเคนอามิสที่ไม่เค็มแม้ใดด้วยเกลือนั้น แล้วฉันพร้อมกับเกลือนั้น อามิสนั้น อันภิกษุรับประเคนในวันนั้นเท่านั้น เพราะเหตุนั้น อันอาบัติทุกกฏ ในเพราะเกลือที่รับประเคนก่อนนี้ พึงมี เพราะพระบาลีว่า ภิกษุทั้งหลาย วัตถุเป็นยาวชีวก ภิกษุรับประเคนในวันนั้น พร้อมกับวัตถุเป็นยาวกาลิกควร ในกาล ไม่ควรในวิกาล. (๑)


(๑) มหาวคฺค. ทติย. ๑๓๒.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 562

อาจารย์เหล่านั้น อันปรวาที่พึงกล่าวแก้ว่า แม้อาบัติทุกกฏก็ไม่พึงมี ตามมติของพวกท่าน ด้วยว่า บรรดาเกลือและอามิสที่ไม่เค็มนี้ เกลือซึ่งเป็น ยาวชีวิก หาได้รับประเคนในวันนั้นไม่ อามิสที่ไม่เค็มซึ่งเป็นยาวกาลิกเท่านั้น รับประเคนในวันนั้น และอามิสนั้นภิกษุหาได้บริโภคในเวลาวิกาลไม่ หรือ หากว่า พวกท่านสำคัญอาบัติทุกกฏ เพราะพระบาลีว่า วิกาเล น กปฺปติ ดังนี้ ไซร้ แม้อาบัติปาจิตตีย์ เพราะในวิกาลโภชน์ จะไม่พึงมี แก่ภิกษุผู้ บริโภคยาวกาลิกซึ่งปนกับยาวชีวิก ในเวลาวิกาล. เพราะเหตุนั้น ท่านไม่พึง ฉวยเอาแต่เพียงพยัญชนะ พึงพิจารณาดูใจความ

ในคำว่า วิกาเล กปฺปติ นี้ มีเนื้อความดังนี้ :-

ยาวชีวิกกับยาวกาลิก ที่รับประเคนในวันนั้น ถ้าว่า เป็นของมีรส เจือกันได้ ย่อมเป็นของมีคติอย่างยาวกาลิกแท้. เพราะเหตุนั้นทุกกฏชื่อว่าไม่มี ในคำว่า กาเล กปฺปติ วิกาเล น กปฺปติ นี้ เพราะสิกขาบทนี้ว่า โย ปน ภิกฺขุ วิกาเล ขาทนียํ วา โภชนียํ วา ดังนี้เป็นอาทิ แต่ ย่อมมีในเพราะยาวชีวิก มีรสเจือปนกับยาวกาลิกนี้ด้วยสักว่า คำว่า น กปฺปติ.

ยาวชีวิกที่รับประเคนในวันนั้น มีรสเจือปนยาวกาลิก ไม่ควรในวิกาล คือ เป็นกาลิกที่นำมาซึ่งปาจิตตีย์ เพราะวิกาลโภชน์ฉันใดเลย ยาวชีวิกแม้ที่ รับประเคนในวันนี้ มีรสเจือปนกับยาวกาลิกในวันอื่นอีก ไม่ควร คือ เป็น กาลิกนำมาซึ่งปาจิตตีย์เพราะฉันของเป็นสันนิธิ ข้อนี้ก็ฉันนั้น. ภิกษุแม้ไม่รู้อยู่ ซึ่งกาลิกนั้นว่า นี้เป็นของที่ทำการสะสม ย่อมไม่พ้น (จากอาบัติ).

จริงอยู่ คำนี้อันพระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวแล้วว่า ภิกษุมีความ สำคัญในของเคี้ยวของฉันที่รับประเคนไว้ค้างคืน ว่านี้ได้รับประเคนไว้ค้างคืน เคี้ยวของเคี้ยวก็ดี ฉันของฉันก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะเหตุนั้น คำตอบ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 563

ที่ว่า สาวตฺถิยา สุตฺตวิภงฺเค นี้ จึงเป็นคำตอบที่หมดจดดี แห่งคำถาม ที่ว่า กตฺถ ปฏิกฺขิตฺตํ นี้.

[ว่าด้วยอาวาสกัปปะ]

คำว่า ราชคเห อุโปสถสํยุตฺเต นี้ อันพระสังคาหกเถระกล่าว หมายเอาพระพุทธพจน์นี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสเดียวกัน ไม่ควรสมมติ โรงอุโบสถ ๒ แห่ง ภิกษุได้พึงสมมติ ภิกษุนั้นต้องทุกกฏ.

ข้อว่า วินยาติสาเร ทุกฺกฏํ มีความว่า เป็นทุกกฏ เพราะละเมิด พระวินัยนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสเดียวกัน ไม่ควรสมมติโรงอุโบสถ ๒ แห่ง นี้แล.

[ว่าด้วยอนุมติกัปปะ]

คำว่า จมฺเปยฺยเก วินยวตฺถุสฺมึ นี้ พระสังคาหกเถระกล่าวหมาย เอาเรื่องวินัย อันมาแล้วในจัมเปยยักขันธกะ เริ่มต้นอย่างนี้ว่า อธมฺเมน เจ ภิกฺขเว วคฺคกมฺมํ อกมฺนํ น จ กรณียํ ดังนี้.

คำว่า เอกจฺโจ กปฺปติ นี้ พระสังคาหกเถระกล่าวหมายเอาความ ประพฤติที่เป็นธรรม.

[ว่าด้วยอทสกนิสีทนกัปปะ]

จริงอยู่ คำว่า เฉทนเก ปาจิตฺติยํ นี้ มาแล้วในสุตตวิภังค์ว่า ผ้าปูนั่งที่มีชาย เรียกชื่อว่า นิสีทนะ เพราะเหตุนั้น เฉพาะชายประมาณคืบ หนึ่ง อันภิกษุย่อมได้เกินกว่า ๒ คืบสุคตขึ้นไป.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 564

คำว่า เป็นปาจิตตีย์ มีการตัดเป็นวินัยกรรม แก่ภิกษุผู้ให้ก้าวล่วงประมาณนั้น นี้ ย่อมเป็นคำปรับได้ทีเดียว แก่ภิกษุผู้ทำตามประมาณนั้น เว้นชายเสีย. เพราะเหตุนั้น ท่านพระสัพพกามี อันท่านพระเรวตะถามว่า ต้องอาบัติอะไร? จึงตอบว่า ต้องปาจิตตีย์ ในเฉทนกสิกขาบท อธิบายว่า ต้องอาบัติปาจิตตีย์อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในเฉทนกสิกขาบท.

คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.

สัตตสติกักขันธก วรรณนา ในอรรถกถา

ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ

คาถาสรุป

ขันธกะ ๒๒ ประเภท สงเคราะห์ด้วยวรรค ๒ อัน พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงละทุกข์ คือ เบญจขันธ์เสีย ตรัสแล้วในพระศาสนา วรรณนาขันธกะเหล่านี้นั้น สำเร็จแล้วปราศจากอันตรายฉันใด แม้ความหวังอันงามทั้งหลาย ของสัตว์มีปราณจงสำเร็จฉันนั้นเถิด ฉะนี้แล.

ในจุลลวรรคนี้ มีขันธกะ คือ กัมมักขันธกะ ปาริวาสิกักขันธกะ สมุจจยักขันธกะสมถักขันธกะ ขุททกวัตถุกขันธกะ เสนาสนักขันธกะ สังฆเภทักขันธกะ วัตตักขันธกะ ปาติโมกขัฏฐปนักขันธกะ ภิกขุนิกขันธกะ ปัญจสติกักขันธกะ และสัตตสติกักขันธกะ

จบแล้ว.

 
หัวข้อก่อนหน้า

หน้าบัญชีเรื่อง