พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

สังฆเภทขันธกะ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  13 มี.ค. 2565
หมายเลข  42840
อ่าน  762

[เล่มที่ 9] พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก

เล่ม ๗

จุลวรรค ทุติยภาค

สังฆเภทขันธกะ

เรื่องมหานามศากยะและอนุรุทธศากยะ 337/267

เรื่องพระเจ้าภัททิยศากยะ 340/268

เรื่องคน ๗ คน 341/270

เรื่องพระภัททิยะ 345/272

อุทานคาถา 347/273

เรื่องพระเทวทัต 349/274

เรื่องกักกุธโกฬิยบุตร 350/275

เรื่องศาสดา ๕ จําพวก 352/276

เรื่องพระเทวทัต 358/280

พระเทวทัตทูลขอปกครองสงฆ์ 361/282

ปกาสนียกรรม 362/283

กรรมวาจาทําปกาสนียกรรม 283

วิธีสมมติ 285

กรรมวาจาสมมติ 285

เรื่องอชาตสัตตุกุมาร 366/287

พระเทวทัตส่งคนไปปลงพระชนม์พระศาสดา 368/289

ทรงแสดงอนุปุพพิกถา 369/290

พระเทวทัตทําโลหิตุปบาท 372/293

ตรัสเรื่องศาสดา ๕ จําพวก 294

ปล่อยช้างนาฬาคิรี 377/296

เรื่องวัตถุ๕ ประการ 383/300

ทูลขอวัตถุ๕ ประการ 384/301

โฆษณาวัตถุ๕ ประการ 385/302

พระเทวทัตหาพรรคพวก 389/305

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง 392/306

พระอัครสาวกพาภิกษุ๕๐๐ กลับ 393/306

องค์แห่งทูต 398/309

พระเทวทัตจักเกิดในอบาย 401/310

นิคมคาถา 403/314

สังฆราชี 404/315

สังฆเภท 405/307

สังฆสามัคคี 406/318

นิคมคาถา 408/320

นิคมคาถา (อีก) 410/320

ผู้ทําลายสงฆ์ต้องเกิดในอบาย 411/321

ผู้ทําลายสงฆ์ไม่ต้องเกิดในอบาย 412/324

หัวข้อประจําขันธกะ 413/325


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 9]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 267

สังฆเภทขันธกะ

เรื่องมหานานศากยะและอนุรุทศากยะ

[๓๓๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ที่อนุปิยนิคม ของพวกเจ้ามัลละ ครั้งนั้น พวกศากยกุมารที่มีชื่อเสียงออกผนวชตามพระผู้มี พระภาคเจ้า ผู้ทรงผนวชแล้ว.

[๓๓๘] สมัยนั้น มหานามศากยะ และอนุรุทธศากยะทั้ง ๒ เป็น พี่น้องกัน อนุรุทธศากยะ เป็นสุขุมาลชาติ เธอมีปราสาท ๓ หลัง คือ สำหรับ อยู่ในฤดูหนาวหลัง ๑ สำหรับอยู่ในฤดูร้อนหลัง ๑ สำหรับอยู่ในฤดูฝนหลัง ๑ เธออันเหล่าสตรีไม่มีบุรุษเจือปนบำเรอยู่ด้วยดนตรีตลอด ๔ เดือน ในปราสาท สำหรับฤดูฝน ไม่ลงมาภายใต้ปราสาทเลย ครั้งนั้น มหานามศากยะคิดว่า บัดนี้พวกศากยกุมารที่มีชื่อเสียงต่างออกผนวชตามพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงผนวช แล้ว แต่สกุลของเราไม่มีใครออกบวชเลย ถ้ากระไร เราหรืออนุรุทธะพึงบวช จึงเข้าไปหาอนุรุทธศากยะกล่าวว่า พ่ออนุรุทธะ บัดนี้ พวกศากยกุมารที่มีชื่อ เสียงต่างออกผนวชตามพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงผนวชแล้ว แต่สกุลของเรา ไม่มีใครออกบวชเลย ถ้าเช่นนั้น น้องจงบวช หรือพี่จักบวช.

อ. ฉันเป็นสุขุมาลชาติ ไม่สามารถจะออกบวชได้ พี่จงบวชเถิด.

ม. พ่ออนุรุทธะ น้องจงมา พี่จะพร่ำสอนเรื่องการครองเรือนแก่ น้องผู้อยู่ครองเรือน ชั้นต้นต้องให้ไถนา ครั้นแล้วให้หว่าน ให้ไขน้ำเข้า ครั้นไขน้ำเข้ามากเกินไป ต้องให้ระบายน้ำออก ครั้นให้ระบายน้ำออกแล้ว ต้องให้ถอนหญ้า ครั้นแล้วต้องให้เกี่ยว ให้ขน ให้ตั้งลอม ให้นวด ให้สง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 268

ฟางออก ให้ฝัดข้าวลีบออก ให้โปรยละออง ให้ขนขึ้นฉาง ครั้นถึงฤดูฝน ต้องทำอย่างนี้ๆ แหละต่อไปอีก.

อ. การงานไม่หมดสิ้น ที่สุดของการงานไม่ปรากฏ เมื่อไรการงานจัก หมดสิ้น เมื่อไรที่สุดของการงานจักปรากฏ เมื่อไรเราจักขวนขวายน้อย เพียบพร้อมบำเรอด้วยเบญจกามคุณเที่ยวไป.

ม. พ่ออนุรุทธะ การงานไม่หมดสิ้นสุดแน่ ที่สุดของการงาน ก็ไม่ ปรากฏ เมื่อการงานยังไม่สิ้น มารดา บิดา ปู่ ย่า ตา ยาย ก็ได้ตายไปแล้ว.

อ. ถ้าเช่นนั้น พี่จงเข้าใจเรื่องการอยู่ครองเรือนเองเถิด ฉันจักออก บวชละ.

[๓๓๙] ครั้งนั้น อนุรุทธศากยะเข้าไปหามารดา แล้วกล่าวว่า ท่าน แม่ หม่อมฉันปรารถนาจะออกบวช ขอท่านแม่จงอนุญาตให้หม่อมฉันออกบวช เถิด เมื่ออนุรุทธศากยะกล่าวอย่างนี้แล้ว มารดาได้กล่าวว่า พ่ออนุรุทธะ เจ้าทั้งสองเป็นลูกที่รักที่พึงใจ ไม่เป็นที่เกลียดชังของแม่ แม้ด้วยการตายของ เจ้าทั้งหลายแม่ก็ไม่ปรารถนาจะจาก ไฉนแม่จะยอมอนุญาตให้เจ้าทั้งสองผู้ยังมี ชีวิตออกบวชเล่า.

แม้ครั้งสอง ...

แม้ครั้งที่สาม อนุรุทธศากยะได้กล่าวกะมารดาว่า ท่านแม่ หม่อมฉัน ปรารถนาจะออกบวช ขอท่านแม่จงอนุญาตให้หม่อมฉันออกบวชเถิด.

เรื่องพระเจ้าภัททิยศากยะ

[๓๔๐] สมัยนั้น พระเจ้าภัททิยศากยะได้ครองสมบัติเป็นราชาของ พวกศากยะ และพระองค์เป็นพระสหายของอนุรุธศากยะ ครั้งนั้น มารดาของ อนุรุทธศากยะคิดว่า พระเจ้าภัททิยศากยะนี้ครองสมบัติเป็นราชาของพวกศากยะ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 269

เป็นพระสหายของอนุรุทธศากยะ พระองค์จักไม่อาจทรงผนวช จึงได้กล่าวกะ อนุรุทธศากยะว่า พ่ออนุรุทธะ ถ้าพระเจ้าภัททิยศากยะทรงผนวช เมื่อเป็น เช่นนี้ เจ้าก็ออกบวชเถิด ลำดับนั้น อนุรุทธศากยะเข้าไปเฝ้าพระเจ้าภัททิย ศากยะ แล้วได้ทูลว่า สหาย บรรพชาของเราเนื่องด้วยท่าน.

ภ. สหาย ถ้าเช่นนั้น บรรพชาของท่านจะเนื่องด้วยเราหรือไม่เนื่อง ก็ตาม นั่นช่างเถอะ ท่านจงบวชตามสบายของท่านเถิด.

อ. มาเถิด สหาย เราทั้งสองจักออกบวชด้วยกัน.

ภ. สหาย เราไม่สามารถจักออกบวช สิ่งอื่นใดที่เราสามารถจะทำให้ ท่านได้ เราจักทำสิ่งนั้นให้แก่ท่าน ท่านจงบวชเองเถิด.

อ. สหาย มารดาได้พูดกะเราอย่างนี้ว่า พ่ออนุรุทธะ ถ้าพระเจ้าภัททิย ศากยะทรงผนวช เมื่อเป็นเช่นนี้ เจ้าก็ออกบวชเถิด สหาย ก็ท่านได้พูดไว้ อย่างนี้ว่า สหาย ถ้าบรรพชาของท่านจะเนื่องด้วยเราหรือไม่เนื่องก็ตาม นั้น ช่างเถอะ ท่านจงออกบวชตามความสบายของท่าน มาเถิด สหาย เราทั้งสอง จะออกบวชด้วยกัน.

ก็สมัยนั้น คนทั้งหลายเป็นผู้พูดจริง ปฏิญาณจริง จึงพระเจ้าภัททิย ศากยะได้ตรัสกะอนุรุทธะว่า จงรออยู่สัก ๗ ปีเถิด สหายต่อล่วง ๗ ปีแล้ว เราทั้งสองจึงจักออกบวชด้วยกัน.

อ. ๗ ปีนานนัก สหาย เราไม่สามารถจะรอได้ถึง ๗ ปี.

ภ. จงรออยู่สัก ๖ ปีเถิดสหาย ... จงรออยู่สัก ๕ ปี ๔ ปี ๓ ปี ๒ ปี ๑ ปี ต่อล่วง ๑ ปีแล้ว เราทั้งสองจึงจักออกบวชด้วยกัน.

อ. ๑ ปีก็ยังนานนัก สหาย เราไม่สามารถจะรอได้ถึง ๑ ปี.

ภ. จงรออยู่สัก ๗ เดือนเถิด สหาย ต่อล่วง ๗ เดือนแล้ว เราทั้ง สองจักออกบวชด้วยกัน.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 270

อ. ๗ เดือนก็ยังนานนัก สหาย เราไม่สามารถจะรอได้ถึง ๗ เดือน

ภ. จนรออยู่สัก ๖ เดือนเถิด สหาย ... จงรออยู่สัก ๕ เดือน ๔ เดือน ๓ เดือน ๒ เดือน ๑ เดือน กึ่งเดือน ต่อล่วงกึ่งเดือนแล้ว เราทั้ง สองจักออกบวชด้วยกัน.

อ. กึ่งเดือนก็ยังนานนัก สหาย เราไม่สามารถจะรอได้ถึงกึ่งเดือน.

ภ. จงรออยู่สัก ๗ วันเถิด สหาย พอเราได้มอบหมายราชสมบัติแก่ พวกลูกๆ และพี่น้อง.

อ. ๗ วันไม่นานนักดอก สหาย เราจักรอ.

เรื่องคน ๗ คน

[๓๔๑] ครั้งนั้น พระเจ้าภัททิยศากยะ อนุรุทธะ อานนท์ ภัคคุ กิมพิละและเทวทัต เป็น ๗ ทั้งอุบาลีซึ่งเป็นภูษามาลา เสด็จออกโดยเสนา ๔ เหล่า เหมือนเสด็จประพาสราชอุทยาน โดยเสนา ๔ เหล่า ไปกาลก่อน ฉะนั้น กษัตริย์ทั้ง ๖ องค์เสด็จไปไกลแล้วสั่งเสนาให้กลับ แล้วย่างเข้าพรมแดน ทรง เปลื้องเครื่องประดับ เอาภูษาห่อแล้ว ได้กล่าวกะอุบาลีผู้เป็นภูษามาลาว่า เชิญ พนาย อุบาลี กลับเถิด ทรัพย์เท่านี้พอเลี้ยงชีพท่านได้ละ.

[๓๔๒] ครั้งนั้น อุบาลีผู้เป็นภูษามาลาเมื่อจะกลับ คิดว่าเจ้าศากยะ ทั้งหลายเหี้ยมโหดนัก จะพึงให้ฆ่าเราเสียด้วยเข้าพระทัยว่า อุบาลีนี้ให้พระ กุมารทั้งหลายออกบวช ก็ศากยกุมารเหล่านี้ยังทรงผนวชได้ ไฉนเราจักบวช ไม่ได้เล่า เขาแก้ห่อเครื่องประดับเอาเครื่องประดับนั้นแขวนไว้บนต้นไม้ แล้ว พูดว่า ของนี้เราให้แล้วแล ผู้ใดเห็น ผู้นั้นจงนำไปเถิด แล้วเข้าไปเฝ้าศากย กุมารเหล่านั้น ศากยกุมารเหล่านั้น ทอดพระเนตรเห็นอุบาลีผู้เป็นภูษามาลา กำลังเดินมาแต่ไกล ครั้นแล้วจึงรับสั่งถามว่า พนาย อุบาลีกลับมาทำไม.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 271

อ. พระพุทธเจ้าข้า เมื่อข้าพระพุทธเจ้าจะกลับมา ณ ที่นี้ คิดว่าเจ้าศากยะทั้งหลายเหี้ยมโหดนัก จะพึงให้ฆ่าเราเสียด้วยเข้าพระทัยว่า อุบาลีนี้ให้ พระกุมารทั้งหลายออกบวช ก็ศากยกุมารเหล่านี้ยังทรงผนวชได้ ไฉน เราจัก บวชไม่ได้เล่า ข้าพระพุทธเจ้านั้นแก่ห่อเครื่องประดับแล้ว เอาเครื่องประดับ นั้นแขวนไว้บนต้นไม้ แล้วพูดว่า ของนี้เราให้แล้วแล ผู้ใดเห็น ผู้นั้นจงนำ ไปเถิด แล้วจึงกลับมาจากที่นั้น พระพุทธเจ้าข้า.

ศ. พนาย อุบาลี ท่านได้ทำถูกต้องแล้ว เพราะท่านกลับไป เจ้าศากยะทั้งหลายเหี้ยมโหดนัก จะพึงให้ฆ่าท่านเสียด้วยเข้าพระทัยว่า อุบาลีนี้ให้ พระกุมารทั้งหลายออกบวช

[๓๔๓] ลำดับนั้น ศากยกุมารเหล่านั้น พระอุบาลีผู้เป็นภูษามาลา เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้วถวายบังคมประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พวกหม่อมฉันเป็นเจ้าศากยะยังมี มานะ อุบาลีผู้เป็นภูษามาลานี้เป็นผู้รับใช้ของหม่อมฉันมานาน ขอพระผู้มี พระภาคเจ้าจงให้อุบาลีผู้เป็นภูษามาลานี้บวชก่อนเถิด พวกหม่อมฉันจักทำการ อภิวาท การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่อุบาลีผู้เป็นภูษามาลานี้ เมื่อเป็นอย่างนี้ ความถือตัวว่าเป็นศากยะของพวกหม่อมฉันผู้เป็นศากยะจัก เสื่อมคลายลง.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดให้อุบาลีผู้เป็นภูษามาลาบวชก่อน ให้ศากยกุมารเหล่านั้นผนวชต่อภายหลัง.

[๓๔๔] ครั้งต่อมา ในระหว่างพรรษานั้นเอง ท่านพระภัททิยะได้ ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล พระเทวทัตได้สำเร็จฤทธิ์ชั้นปุถุชน.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 272

เรื่องพระภัททิยะ

[๓๔๕] ครั้งนั้น ท่านพระภัททิยะ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไป สู่เรือนว่างก็ดี ย่อมเปล่งอุทานเนืองๆ ว่า สุขหนอ สุขหนอ ครั้งนั้น ภิกษุ มากรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ท่านพระภัททิยะไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี ได้เปล่งอุทานเนืองๆ ว่า สุขหนอ สุขหนอ พระพุทธเจ้า ข้า ท่านพระภัททิยะ ฝืนใจประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่ต้องสงสัย หรือมิ ฉะนั้นก็ระลึกถึงสุขในราชสมบัติครั้งก่อนนั้นเอง ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี จึงเปล่งอุทานเนืองๆ ว่า สุขหนอ สุขหนอ.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุรูปหนึ่งว่า ดูก่อนภิกษุ เธอจงมา จงเรียกภัททิยะภิกษุมาตามคำของเราว่า ท่านภัททิยะ พระศาสดารับ สั่งหาท่าน ภิกษุนั้นรับสนองพระพุทธพจน์แล้ว เข้าไปหาท่านพระภัททิยะ ครั้นแล้วได้กล่าวว่า ท่านภัททิยะ พระศาสดารับสั่งหาท่าน.

[๓๔๖] ท่านพระภัทภิยะรับคำของภิกษุนั้น แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อท่านพระภัททิยะนั่ง เรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภัททิยะ ข่าวว่า เธอไป สู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี ได้เปล่งอุทานเนืองๆ ว่า สุขหนอ สุขหนอ จริงหรือ

ภ. จริงอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า

พ. ดูก่อนภัททิยะ ก็เธอพิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์อะไร ไปสู่ป่า ก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี จึงได้เปล่งอุทานเนืองๆ ว่า สุขหนอ สุขหนอ ดังนี้

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 273

ภ. พระพุทธเจ้าข้า เมื่อก่อนข้าพระพุทธเจ้าเป็นพระเจ้าแผ่นดิน แม้ ภายในพระราชวังก็ได้จัดการรักษาไว้อย่างเรียบร้อย แม้ภายนอกพระราชวังก็ ได้จัดการรักษาไว้อย่างเข้มแข็ง แม้ภายในพระนครก็ได้จัดการรักษาไว้เรียบ ร้อย แม้ภายนอกพระนครก็ได้จัดการรักษาไว้อย่างแข็งแรง แม้ภายในชนบท ก็ได้จัดการรักษาไว้เรียบร้อย แม้ภายนอกชนบทก็ได้จัดการรักษาไว้อย่างมั่นคง พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้านั้น แม้เป็นผู้อันเขาทั้งหลายรักษาคุ้มครอง แล้ว อย่างนี้ ก็ยังกลัว ยังหวั่น ยังหวาด ยังสะดุ้งอยู่ แต่บัดนี้ ข้าพระพุทธเจ้าไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี ลำพังผู้เดียวก็ไม่กลัว ไม่ หวั่น ไม่หวาด ไม่สะดุ้ง ขวนขวายน้อย มีขนอันราบเรียบ เป็นอยู่ด้วย ปัจจัย ๔ ที่ผู้อื่นให้ มีใจดุจมฤคอยู่ ข้าพระพุทธเจ้าพิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์นี้แล ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี ... จึงเปล่งอุทาน เนืองๆ ว่า สุขหนอ สุขหนอ.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเรื่องนั้นแล้ว ทรงเปล่งอุทาน ในเวลานั้น ว่าดังนี้

อุทานคาถา

[๓๔๗] บุคคลใดไม่มีความโกรธภาย ในจิต และก้าวล่วงภพน้อยภพใหญ่มีประการเป็นอันมากเสียได้ เทวดาทั้งหลายไม่ อาจเล็งเห็นวาระจิตของบุคคลนั้น ผู้ปลอดภัย มีสุข ไม่มีโศก.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 274

[๓๔๘] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในอนุปิยนิคม ตามพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จจาริกทางเมืองโกสัมพี เสด็จจาริกโดยลำดับถึงเมืองโกสัมพี แล้ว ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ที่โฆสิตาราม เขตเมืองโกสัมพีนั้น.

เรื่องพระเทวทัต

[๓๔๙] ครั้งนั้น พระเทวทัตหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด เกิดความปริวิตก แห่งจิตอย่างนี้ว่า เราจะพึงยังใครหนอให้เลื่อมใส เมื่อผู้ใดเลื่อมใสต่อเราแล้ว ลาภสักการะเป็นอันมากจะพึงเกิดขึ้น ลำดับนั้น พระเทวทัตได้คิดต่อไปว่า อชาตสัตตุกุมารนี้แล ยังหนุ่ม ยังเจริญต่อไป ไฉนเราพึงยังอชาตสัตตุกุมาร ให้เลื่อมใส เมื่ออชาตสัตตุกุมารนั้นเลื่อมใสต่อเราแล้ว ลาภสักการะเป็นอันมาก จักเกิดขึ้น ลำดับนั้น พระเทวทัตเก็บเสนาสนะแล้ว ถือบาตร จีวร เดินทาง ไปยังกรุงราชคฤห์ ถึงกรุงราชคฤห์ โดยลำดับ แล้วแปลงเพศของตนนิรมิต เพศเป็นกุมารน้อยเอางูพันสะเอว ได้ปรากฏบนพระเพลาของอชาตสัตตุกุมาร

ทีนั้น อชาตสัตตุกุมารกลัว หวั่นหวาด สะดุ้ง ตกพระทัย พระเทวทัตจึงได้กล่าวกะอชาตสัตตุกุมารว่า พระกุมาร ท่านกลัวฉัน หรือ

อ. จ้ะ ฉันกลัว ท่านเป็นใคร

ท. ฉัน คือ พระเทวทัต

อ. ท่านเจ้าข้า ถ้าท่านเป็นพระผู้เป็นเจ้าเทวทัต ขอจงปรากฎด้วย เพศของตนทีเดียวเถิด

ทันใดนั้น พระเทวทัตกลับเพศกุมารน้อยแล้ว ทรงสังฆาฏิ บาตร และ จีวร ได้ยืนอยู่ข้างหน้าอชาตสัตตุกุมาร

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 275

ครั้งนั้น อชาตสัตตุกุมารเลื่อมใสยิ่งนัก ด้วยอิทธิปาฎิหาริย์นี้ของ พระเทวทัต ได้ไปสู่ที่บำรุงทั้งเวลาเย็นทั้งเวลาเช้า ด้วยรถ ๕๐๐ คัน และนำ ภัตตาหาร ๕๐๐ สำรับไปด้วย

ครั้งนั้น พระเทวทัต อันลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ รึงรัดจิต และเกิดความปรารถนาเห็นปานนี้ว่า เราจะปกครองภิกษุสงฆ์ พระเทวทัตได้เสื่อมจากฤทธิ์นั้น พร้อมกับจิตตุปบาททีเดียว.

เรื่องกักกุธโกฬิยบุตร

[๓๕๐] สมัยนั้น โกฬิยบุตรชื่อกักกุธะ เป็นอุปัฏฐากของท่านพระมหาโมคคัลลานะ ผู้ตายไม่นาน ได้เข้าถึงมโนมัยกายอย่างหนึ่ง อัตภาพเห็น ปานดังนี้ ที่เขาได้มีขนาดเท่ากับคามเขตของชาวมคธ ๒ หรือ ๓ แห่ง เขาย่อม ไม่ยังตนและคนอื่นให้ลำบาก เพราะอัตภาพที่เขาได้นั้น ครั้งนั้น กักกุธเทพ บุตร เข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะ อภิวาทแล้วยืน ณ ที่ควรส่วนข้าง หนึ่ง ครั้งแล้วได้กล่าวกะท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า ท่านเจ้าข้า พระเทวทัต อันลาภสักการะและความสรรเสริญ ครอบงำ รึงรัดจิต แล้วได้เกิดความ ปรารถนาเห็นปานนี้ว่า เราจักปกครองภิกษุสงฆ์ ท่านเจ้าข้า พระเทวทัตได้ เสื่อมจากฤทธิ์นั้นแล้ว พร้อมกับจิตตุปบาททีเดียว กักกุธเทพบุตรได้กล่าว อย่างนี้แล้ว จึงอภิวาทท่านมหาโมคคัลลานะ กระทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้นเอง.

[๓๕๑] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า โกฬิยบุตร ชื่อกักกุธะ เป็นอุปัฏฐากของข้าพระพุทธเจ้า ผู้ตายไม่นาน ได้ เข้าถึงมโนมัยกายอย่างหนึ่ง อัตภาพเห็นปานดังนี้ ที่เขาได้มีขนาดเท่ากับคาม

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 276

เขตของชาวมคธ ๒ หรือ ๓ แห่ง เขาย่อมไม่ยังตนและคนอื่นให้ลำบาก เพราะ อัตภาพที่เขาได้นั้นพระพุทธเจ้าข้า ครั้งนั้น กักกุธเทพบุตรเข้าไปหาข้าพระพุทธเจ้า อภิวาทแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะ ข้าพระพุทธเจ้าว่า ท่านเจ้าข้า พระเทวทัตอันลาภสักการะครอบงำ รึงรัดจิต แล้ว ได้เกิดความปรารถนาเห็นปานนี้ว่า เราจักปกครองภิกษุสงฆ์ ท่านเจ้าข้า พระเทวทัตเสื่อมจากฤทธิ์นั้นแล้วพร้อมกับจิตตุปบาททีเดียว พระพุทธเจ้าข้า กักกุธเทพบุตรได้กล่าวอย่างนี้แล้ว อภิวาทข้าพระพุทธเจ้า กระทำประทักษิณ แล้วหายไป ณ ที่นั้นเอง

พ. ดูก่อนโมคคัลลานะ ก็กักกุธเทพบุตรอันเธอกำหนดรู้ซึ่งจิตด้วย จิตแล้วหรือว่า กักกุธเทพบุตรกล่าวคำอย่างหนึ่งอย่างใด คำนั้นทั้งหมดย่อม เป็นอย่างนั้นทีเดียว ไม่เป็นอย่างอื่น

ม. พระพุทธเจ้าข้า กักกุธเทพบุตรอันข้าพระพุทธเจ้ากำหนดรู้จิต ด้วยจิตแล้วว่า กักกุธเทพบุตรกล่าวคำอย่างหนึ่งอย่างใด คำนั้นทั้งหมดย่อม เป็นอย่างนั้นทีเดียว ไม่เป็นอย่างอื่น

พ. ดูก่อนโมคคัลลานะ เธอจงรักษาวาจานั้น ดูก่อนโมคคัลลานะ เธอจงรักษาวาจานั้น บัดนี้ โมฆบุรุษนั้นจักกระทำตนให้ปรากฏด้วยตนเอง.

เรื่องศาสดา ๕ จำพวก

[๓๕๒] ดูก่อนโมคคัลลานะ ศาสดา ๕ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ใน โลก ๕ จำพวกเป็นไฉน ดูก่อนโมคคัลลานะ ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มี ศีลไม่บริสุทธิ์ ปฎิญาณว่า เราเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ และว่า ศีลของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่องไม่เศร้าหมอง สาวกทั้งหลายย่อมรู้ซึ่งศาสดานั้นนั่นอย่างนี้ว่า ศาสดาผู้ เจริญนี้แลเป็นผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์ ปฎิญาณว่า เราเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ และว่า

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 277

ศีลของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง ก็พวกเรานี่แหละพึงบอกแก่พวก คฤหัสถ์ ศาสดานั้นไม่พึงมีความพอใจ ก็ความไม่พอใจใดแลจะพึงมี พวกเรา จะพึงกล่าวกะศาสดา นั้นด้วยความไม่พอใจนั้นอย่างไร ก็ศาสดานั้นย่อมนับถือ บูชาเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ท่าน จักกระทำกรรมใดไว้ ท่านก็จักปรากฏด้วยกรรมนั้นเอง ดูก่อนโมคคัลลานะ สาวกทั้งหลายย่อมรักษาศาสดาเห็นปานนั้นโดยศีล ก็แล ศาสดาเห็นปานนั้น ย่อมหวังการรักษาโดยศีลจากสาวกทั้งหลาย.

[๓๕๓] ดูก่อนโมคคัลลานะ อนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มี อาชีวะไม่บริสุทธิ์ ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์ และว่า อาชีวะของ เราบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง สาวกทั้งหลายย่อมรู้ซึ่งศาสดานั้นนั่นอย่างนี้ ว่า ศาสดาผู้เจริญนี้แล เป็นผู้มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มี อาชีวะบริสุทธิ์ และว่า อาชีวะของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง ก็ พวกเรานี่แหละพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ศาสดานั้นไม่พึงมีความพอใจ ก็ความ ไม่พอใจใดแลพึงมี พวกเราจะพึงกล่าวกะศาสดานั้นด้วยความไม่พอใจนั้นอย่าง ไร ก็ศาสดานั้นย่อมนับถือบูชาเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน ปัจจัยเภสัชบริขาร ท่านจักกระทำกรรมใดไว้ ท่านก็จักปรากฏด้วยกรรมนั้น เอง ดูก่อนโมคคัลลานะ สาวกทั้งหลายย่อมรักษาศาสดาเห็นปานนั้นโดยอาชีวะ ก็แล ศาสดาเห็นปานนั้น ย่อมหวังเฉพาะซึ่งการรักษาโดยอาชีวะจากสาวกทั้ง หลาย.

[๓๕๔] ดูก่อนโมคคัลลานะ อนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มี ธรรมเทศนาไม่บริสุทธิ์ ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ และว่า ธรรมเทศนาของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง สาวกทั้งหลายย่อมรู้ซึ่ง

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 278

ศาสดานั้นนั่นอย่างนี้ว่า ศาสดาผู้เจริญนี้แล เป็นผู้มีธรรมเทศนาไม่บริสุทธิ์ ปฏิญาณว่าเราเป็นผู้มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ และว่า ธรรมเทศนาของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง ก็พวกเรานี่แหละพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ศาสดานั้น ไม่พึงมีความพอใจ ก็ความไม่พอใจใดแลพึงมี พวกเราจะพึงกล่าวกะศาสดา นั้นด้วยความไม่พอใจนั้นอย่างไร ก็ศาสดานั้นย่อมนับถือบูชาเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ท่านจักกระทำกรรมใดไว้ ท่านก็จักปรากฏด้วยกรรมนั้นเอง ดูก่อนโมคคัลลานะ สาวกทั้งหลายย่อมรักษา ศาสดาเห็นปานนั้นโดยธรรมเทศนา ก็แล ศาสดาเห็นปานนั้น ย่อมหวังเฉพาะ ซึ่งการรักษา โดยธรรมเทศนาจากสาวกทั้งหลาย.

[๓๕๕] ดูก่อนโมคคัลลานะ อนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มี ไวยากรณ์ไม่บริสุทธิ์ ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีไวยากรณ์บริสุทธิ์ เละว่า ไวยากรณ์ของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง สาวกทั้งหลายย่อมรู้ซึ่งศาสดานั้น นั่นอย่างนี้ว่า ศาสดาผู้เจริญนี้แล เป็นผู้มีไวยากรณ์ไม่บริสุทธิ์ ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีไวยากรณ์บริสุทธิ์ และว่า ไวยากรณ์ของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่ เศร้าหมอง ก็พวกเรานี่แหละพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ศาสดานั้นไม่พึงมีความพอ ใจ ก็ความไม่พอใจใดแลพึงมี พวกเราพึงกล่าวกะศาสดานั้นด้วยความไม่พอ ใจนั้นอย่างไร ก็ศาสดานั้นย่อมนับถือบูชาเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ท่านจักกระทำกรรมใดไว้ ท่านก็จักปรากฏด้วย กรรมนั้นเอง ดูก่อนโมคคัลลานะ สาวกทั้งหลายย่อมรักษาศาสดาเห็นปานนั้น โดยไวยากรณ์ ก็แลศาสดาเห็นปานนั้น ย่อมหวังเฉพาะซึ่งการรักษาโดยไวยากรณ์จากสาวกทั้งหลาย.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 279

[๓๕๖] ดูก่อนโมคคัลลานะ อนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มี ญาณทัสสนะไม่บริสุทธิ์ ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ และว่า ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง สาวกทั้งหลายย่อมรู้ซึ่ง ศาสดานั้นนั่นอย่างนี้ว่า ศาสดาผู้เจริญนี้แล เป็นผู้มีญาณทัสสนะไม่บริสุทธิ์ ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ และว่า ญาณทัสสนะของเรา บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง ก็พวกเรานี่แหละพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ศาสดานั้นไม่พึงมีความพอใจ ก็ความไม่พอใจใดแลพึงมี พวกเราจะพึงกล่าว กะศาสดานั้นด้วยความไม่พอใจนั้นอย่างไร ก็ศาสดานั้นย่อมนับถือบูชาเราด้วย จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ท่านจักกระทำกรรม ใดไว้ ท่านก็จักปรากฏด้วยกรรมนั้นเอง ดูก่อนโมคคัลลานะ สาวกทั้งหลาย ย่อมรักษาศาสดาเห็นปานนั้น โดยญาณทัสสนะ ก็แล ศาสดาเห็นปานนั้น ย่อมหวังเฉพาะซึ่งการรักษาโดยญาณทัสสนะจากสาวกทั้งหลาย.

ดูก่อนโมคคัลลานะ ศาสดา ๕ จำพวก เหล่านี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก.

[๓๕๗] ดูก่อนโมคคัลลานะ ก็เราแลเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ และว่า ศีลของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง แลสาวกทั้งหลายย่อมไม่รักษาเราโดยศีลและเราก็ไม่หวังเฉพาะ ซึ่งการรักษา โดยศีล จากสาวกทั้งหลาย.

อนึ่ง เราเป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์ ...

อนึ่ง เราเป็นผู้มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ ...

อนึ่ง เราเป็นผู้มีไวยากรณ์บริสุทธิ์ ...

อนึ่ง เราเป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีญาณ ทัสสนะบริสุทธิ์ และว่า ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 280

แลสาวกทั้งหลายย่อมไม่รักษาเราโดยญาณทัสสนะ และเราก็ไม่หวังเฉพาะ ซึ่ง การรักษาโดยญาณทัสสนะ จากสาวกทั้งหลาย.

เรื่องพระเทวทัต

[๓๕๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่เมืองโกสัมพี ตาม พุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จจาริกไปทางกรุงราชคฤห์ เสด็จจาริกไปโดยลำดับถึง กรุงราชคฤห์แล้ว ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ที่เวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่ พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตกรุงราชคฤห์นั้น.

[๓๕๙] ครั้งนั้น ภิกษุเป็นอันมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า อชาตสัตตุกุมารได้ไปสู่ที่บำรุงของพระเทวทัต ทั้งเวลาเย็นทั้งเวลาเช้า ด้วยรถ ๕๐๐ คัน แลนำภัตตาหาร ๕๐๐ สำรับไปดัวย พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าพอใจลาภสักการะ และความ สรรเสริญของเทวทัตเลย อชาตสัตตุกุมารจักไปสู่ที่บำรุงของเทวทัต ทั้งเวลา เย็นทั้งเวลาเช้า ด้วยรถ ๕๐๐ คัน. แลจักนำภัตตาหาร ๕๐๐ สำรับไปด้วย สักกี่วัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทัตพึงหวังความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย ถ่ายเดียว หวังความเจริญไม่ได้ เปรียบเหมือนคนทั้งหลายพึงทาน้ำดีหมีที่จมูก ลูกสุนัขที่ดุร้าย ลูกสุนัขนั้นจะเป็นสัตว์ดุร้ายขึ้นยิ่งกว่าประมาณ ด้วยอาการ อย่างนี้แล แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อชาตสัตตุกุมารจักไปสู่ที่บำรุงของ เทวทัต ทั้งเวลาเย็นทั้งเวลาเช้า ด้วยรถ ๕๐๐ คัน แลจักนำภัตตาหาร ๕๐๐ สำรับไปด้วย สักกี่วัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทัตพึงหวังความเสื่อมใน กุศลธรรมทั้งหลายถ่ายเดียว หวังความเจริญไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตน

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 281

ลาภสักการะและความสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อความวอดวาย ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ต้นกล้วยย่อมเผล็ดผลเพื่อฆ่าตน ย่อมเผล็ดผลเพื่อความวอดวาย ฉันใด ลาภสักการะและความสรรเสริญก็เกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตน ลาภ สักการะและความสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อความวอดวาย ฉันนั้นเหมือน กันแล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม้ไผ่ย่อมตกขุยเพื่อฆ่าตน ย่อมตกขุยเพื่อความ วอดวาย แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญก็ เกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตน ลาภสักการะและความสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัด เพื่อความวอดวาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม้อ้อย่อม ตกขุยเพื่อฆ่าตน ย่อมตกขุยเพื่อความวอดวาย แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตน ลาภสักการะและ ความสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อความวอดวาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย แม่ม้าอัสดรย่อมตั้งครรภ์เพื่อฆ่าตน ย่อมตั้งครรภ์เพื่อความ วอดวาย แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญก็ เกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตน ลาภสักการะและความสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัต เพื่อความวอดวาย ฉันนั้นเหมือนกันแล.

[๓๖๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไวยากรณ์บาลีนี้แล้ว จึงตรัสคาถา ประพันธ์ ดังต่อไปนี้ :-

ผลกล้วยย่อมฆ่าต้นกล้วย ขุยไผ่ย่อม ฆ่าต้นไผ่ ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ สักการะ ย่อมฆ่าคนชั่ว เหมือนม้าอัสดรซึ่งเกิดใน ครรภ์ ย่อมฆ่าแม้ม้าอัสดร ฉะนั้น.

ปฐมภาณวาร จบ

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 282

พระเทวทัตทูลขอปกครองสงฆ์

[๓๖๑] ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าอันบริษัทหมู่ใหญ่ แวดล้อมแล้ว ประทับนั่งแสดงธรรมแก่บริษัทพร้อมทั้งพระราชา ครั้งนั้น พระเทวทัตลุกจากอาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลีไปทาง พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระชราแล้ว เป็นผู้เฒ่าแก่หง่อมแล้ว ล่วงกาลผ่านวัยไปแล้ว บัดนี้ ขอ พระองค์จงทรงขวนขวายน้อย ประกอบทิฏฐธรรมสุขวิหารอยู่เถิด ขอจงมอบ ภิกษุสงฆ์แก่ข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าจักปกครองภิกษุสงฆ์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามว่า อย่าเลยเทวทัต เธออย่าพอใจที่จะ ปกครองภิกษุสงฆ์เลย.

แม้ครั้งที่สอง ...

แม้ครั้งที่สาม พระเทวทัตก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคะจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระชราแล้ว เป็นผู้เฒ่า แก่หง่อม แล้ว ล่วงกาลผ่านวัยไปแล้ว บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงขวนขวายน้อย ประกอบทิฏฐธรรมสุขวิหารอยู่เถิด ขอจงมอบภิกษุสงฆ์แก่ข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าจักปกครองภิกษุสงฆ์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนเทวทัต แม้แต่สารีบุตรและ โมคคัลลานะ เรายังไม่มอบภิกษุสงฆ์ให้ ไฉนจะพึงมอบให้เธอผู้ เช่นซากศพ ผู้บริโภคปัจจัย เช่นก้อนเขฬะเล่า.

ทีนั้น พระเทวทัตคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรุกรานเรากลางบริษัท พร้อมด้วยพระราชา ด้วยวาทะว่าบริโภคปัจจัยดุจก้อนเขฬะ ทรงยกย่องแต่ พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ดังนี้ จึงโกรธ น้อยใจ ถวายบังคมพระผู้มี พระภาคเจ้า ทำประทักษิณแล้วกลับไป.

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 283

นี่แหละ พระเทวทัตได้ผูกอาฆาตในพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นครั้งแรก.

ปกาสนียกรรม

[๓๖๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงลงปกาสนียกรรมในกรุงราชคฤห์แก่ เทวทัตว่า ปกติของพระเทวทัตก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำอย่างใด ด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะตัวพระเทวทัตเอง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงทำอย่างนี้

ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรม วาจา ว่าดังนี้ :-

กรรมวาจาทำปกาสนียกรรม

ท่านเจ้าข้า ขอพระสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่ง ของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำปกาสนียกรรมในกรุงราชคฤห์แก่พระเทวทัตว่า ปกติของพระเทวทัตก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็นอีก อย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำอย่างใดด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นว่า พระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะ ตัวเทวทัตเอง นี้เป็นญัตติ.

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ทำปกาสนัยกรรมใน กรุงราชคฤห์แก่พระเทวทัตว่า ปกติของพระเทวทัตก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำอย่างใดด้วยกาย วาจา ไม่

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 284

พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึง เห็นเฉพาะตัวพระเทวทัตเอง การทำปกาสนียกรรมในกรุงราชคฤห์ แก่พระเทวทัตว่า ปกติของพระเทวทัตก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้ เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำอย่างใดด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็น ว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะ ตัวพระเทวทัตเอง ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบ แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.

ปกาสนียกรรมในกรุงราชคฤห์ อันสงฆ์กระทำแล้ว แก่ พระเทวทัตว่า ปกติของพระเทวทัตก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็น อีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำอย่างใดด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นว่า พระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะ ตัวพระเทวทัตเอง ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ ไว้ด้วยอย่างนี้.

[๓๖๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนสารีบุตร ถ้ากระนั้น เธอจงประกาศเทวทัตในกรุงราชคฤห์.

ท่านพระสารีบุตรทูลถามว่า เมื่อก่อนข้าพระพุทธเจ้ากล่าวชมพระเทวทัตในกรุงราชคฤห์ว่า โคธิบุตรมีฤทธิ์มาก โคธิบุตรมีอานุภาพมาก

ข้าพระพุทธเจ้าจะประกาศพระเทวทัตในกรุงราชคฤห์อย่างไร พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนสารีบุตร เธอกล่าวชมเทวทัตในกรุงราชคฤห์แล้ว เท่าที่ เป็นจริงว่า โคธิบุตรมีฤทธิ์มาก โคธิบุตรมีอานุภาพมาก.

ส. อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนสารีบุตร เธอจงประกาศเทวทัตในกรุงราชคฤห์เท่าที่ เป็นจริง เหมือนอย่างนั้นแล.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 285

ท่านพระสารีบุตร ทูลรับสนองพระพุทธพจน์แล้ว.

[๓๖๔] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงสมมติสารีบุตรเพื่อประกาศเทวทัตใน กรุงราชคฤห์ว่า ปกติของพระเทวทัตก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่าง หนึ่ง พระเทวทัตทำอย่างใดด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะตัวเทวทัตเอง.

วิธีสมมติ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้

พึงขอร้องสารีบุตรก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศ ให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

กรรมวาจาสมมติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติท่านพระสารีบุตรเพื่อประกาศพระ - เทวทัตในกรุงราชคฤห์ว่า ปกติของพระเทวทัต ก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำอย่างใดด้วยกาย วาจา ไม่ พึงเห็นว่า พระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึง เห็นเฉพาะตัว พระเทวทัตเอง นี้เป็นญัตติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติท่านพระสารีบุตรเพื่อประกาศพระเทวทัตในกรุงราชคฤห์ว่า ปกติของพระเทวทัต ก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำอย่างใด

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 286

ด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะตัวพระเทวทัตเอง การสมมติท่านพระ สารีบุตรเพื่อประกาศพระเทวทัตในกรุงราชคฤห์ว่า ปกติของพระ เทวทัตก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำ อย่างใดด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะตัวพระเทวทัตเอง ชอบแก่ท่าน ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

ท่านพระสารีบุตรอันสงฆ์สมมติแล้ว เพื่อประกาศพระเทวทัตในกรุงราชคฤห์ว่า ปกติของพระเทวทัต ก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำอย่างใดด้วยกาย วาจา ไม่ พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็น เฉพาะตัวพระเทวทัตเอง ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรง ความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.

[๓๖๕] ก็ท่านพระสารีบุตรได้รับสมมติแล้ว จึงเข้าไปสู่กรุงราชคฤห์ พร้อมกับภิกษุมากรูป แล้วได้ประกาศพระเทวทัตในกรุงราชคฤห์ว่า ปกติ ของพระเทวทัต ก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัต ทำอย่างใดด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะตัวพระเทวทัตเอง

ประชาชนในกรุงราชคฤห์นั้นพวกที่ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใสไร้ปัญญา ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ เป็นคนริษยา ย่อมเกียดกันลาภสักการะของพระเทวทัต

ส่วนประชาชนพวกที่มีศรัทธา เลื่อมใส เป็นบัณฑิต มีปัญญาดี กล่าวอย่างนี้ว่า เรื่องนี้คงจักไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้ารับ สั่งให้ประกาศพระเทวทัตในกรุงราชคฤห์.

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 287

เรื่องอชาตสัตตุกุมาร

[๓๖๖] ครั้งนั้น พระเทวทัตเข้าไปหาอชาตสัตตุกุมาร แล้วได้กล่าว ว่า ดูก่อนกุมาร เมื่อก่อนคนทั้งหลายมีอายุยืน เดี๋ยวนี้มีอายุสั้น ก็การที่ท่าน จะพึงตายเสียเมื่อยังเป็นเด็ก นั่นเป็นฐานะจะมีได้ ดูก่อนกุมาร ถ้ากระนั้น ท่านจงปลงพระชนม์พระชนกเสียแล้วเป็นพระเจ้าแผ่นดิน อาตมาจักปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วเป็นพระพุทธเจ้า ครั้งนั้น อชาตสัตตุกุมารคิดว่า พระผู้เป็นเจ้า เทวทัตมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก พระผู้เป็นเจ้าเทวทัตพึงทราบ แน่ แล้วเหน็บกฤชแนบพระเพลา ทรงกลัว หวั่นหวาด สะดุ้งพระทัยรับเสด็จ เข้าไปภายในพระราชวังแต่เวลากลางวัน พวกมหาอำมาตย์ผู้รักษาภายในพระราชวัง ได้แลเห็นอชาตสัตตุกุมารทรงกลัว หวั่นหวาด สะดุ้งพระทัยรีบเสด็จ เข้ามาภายในพระราชวัง แต่เวลากลางวัน จึงรีบจับไว้ มหาอำมาตย์เหล่านั้น ตรวจค้นพบกฤชเหน็บอยู่ที่พระเพลาแล้วได้ทูลถามอชาตสัตตุกุมารว่า พระองค์ ประสงค์จะทำการอันใด พระเจ้าข้า

อ. เราประสงค์จะปลงพระชนม์พระชนก

ม. ใครใช้พระองค์

อ. พระผู้เป็นเจ้าเทวทัต

มหาอำมาตย์บางพวกได้ลงมติอย่างนี้ว่า ควรปลงพระชนม์พระกุมาร ควรฆ่าพระเทวทัต และภิกษุทั้งหมด

มหาอำมาตย์บางพวกได้ลงมติอย่างนี้ว่า ไม่ควรฆ่าพวกภิกษุ เพราะ พวกภิกษุไม่ผิดอะไร ควรปลงพระชนม์พระกุมาร และฆ่าพระเทวทัต

มหาอำมาตย์บางพวกได้ลงมติอย่างนี้ว่า ไม่ควรปลงพระชนม์พระกุมาร ไม่ควรฆ่าพระเทวทัต ไม่ควรฆ่าพวกภิกษุ ควรกราบทูลพระราชา พระราชารับสั่งอย่างใด พวกเราจักทำอย่างนั้น.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 288

[๓๖๗] ครั้งนั้น มหาอำมาตย์เหล่านั้นคุมอชาตสัตตุกุมารเข้าไปเฝ้า พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระเจ้าพิมพิสารจอม เสนามาคธราช

พิ. ดูก่อนพนาย มหาอำมาตย์ทั้งหลายลงมติอย่างไร

ม. ขอเดชะ มหาอำมาตย์บางพวกได้ลงมติอย่างนี้ว่า ควรปลงพระชนม์พระกุมาร ควรฆ่าพระเทวทัต และภิกษุทั้งหมด มหาอำมาตย์บางพวก ได้ลงมติอย่างนี้ว่า ไม่ควรฆ่าพวกภิกษุ เพราะพวกภิกษุไม่ผิดอะไร ควรปลง พระชนม์พระกุมารและฆ่าพระเทวทัต มหาอำมาตย์บางพวกได้ลงมติอย่างนี้ว่า ไม่ควรปลงพระชนม์พระกุมาร ไม่ควรฆ่าพระเทวทัต ไม่ควรฆ่าพวกภิกษุ ควรกราบทูลพระราชา พระราชารับสั่งอย่างใด พวกเราจักทำอย่างนั้น

พิ. ดูก่อนพนาย พระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ จักทำอะไร ได้ชั้นแรกทีเดียว พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประกาศพระเทวทัต ในกรุง ราชคฤห์มิใช่หรือว่า ปกติของพระเทวทัต ก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็น อีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำอย่างใดด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะตัวพระเทวทัตเอง

บรรดามหาอำมาตย์ เหล่านั้น พวกที่ลงมติอย่างนี้ว่า ควรปลงพระชนม์พระกุมาร ควรฆ่าพระเทวทัต และภิกษุทั้งหมด พระราชาได้ทรงถอดยศ พวกเธอเสีย

พวกที่ลงมติอย่างนี้ว่า ไม่ควรฆ่าพวกภิกษุ เพราะพวกภิกษุไม่ผิด อะไร ควรปลงพระชนม์ระกุมาร และฆ่าพระเทวทัต พระราชาได้ทรงลด ตำแหน่งพวกเธอ

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 289

พวกที่ลงมติอย่างนี้ว่า ไม่ควรปลงพระชนม์พระกุมาร ไม่ควรฆ่า พระเทวทัต ไม่ควรฆ่าพวกภิกษุ ควรกราบทูลพระราชา พระราชาสั่งอย่างใด พวกเราจักทำอย่างนั้น พระราชาได้ทรงเลื่อนตำแหน่งพวกเธอ

ลำดับนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ได้รับสั่งถาม อชาสัตตุกุมารว่า ลูก เจ้าต้องการฆ่าพ่อเพื่ออะไร

อชาตสัตตุกุมารกราบทูลว่า หม่อมฉันต้องการราชสมบัติ พระพุทธเจ้าข้า

พระราชาตรัสว่า ลูก ถ้าเจ้าต้องการราชสมบัติ ราชสมบัตินั้นเป็น ของเจ้าแล้วทรงมอบราชสมบัติแก่อชาตสัตตุกุมาร.

พระเทวทัตส่งคนไปปลงพระชนม์พระศาสดา

[๓๖๘] ครั้งนั้น พระเทวทัตเข้าไปหาอชาตสัตตุกุมาร แล้วถวาย พระพรว่า ขอถวายพระพร ขอมหาบพิตรจงรับสั่งใช้ ราชบุรุษผู้จักปลง พระชนม์ พระสมณโคดม ลำดับนั้น อชาตสัตตุกุมาร รับสั่งใช้คนทั้งหลาย ว่า พนาย พระผู้เป็นเจ้าเทวทัตสั่งอย่างใด ท่านทั้งหลายจงทำอย่างนั้น ลำดับ นั้น พระเทวทัตจึงสั่งราชบุรุษคนหนึ่งว่า เจ้าจงไป พระสมณโคดมประทับ อยู่ในโอกาสโน้น จงปลงพระชนม์พระองค์แล้วจงมาทางนี้ ดังนี้ ซุ่มราชบุรุษ ไว้ ๒ คนริมทางนั้นด้วยสั่งว่า ราชบุรุษใดมาทางนี้ลำพังผู้เดียว เจ้าทั้งสองจง ฆ่าราชบุรุษนั้นแล้วมาทางนี้ได้ซุ่มบุรุษไว้ ๔ คนริมทางนั้นด้วยสั่งว่า ราชบุรุษ เหล่าใดมาทางนี้ ๒ คน เจ้าทั้ง ๔ คน จงฆ่าราชบุรุษ ๒ คนนั้น แล้วมาทาง นี้ ได้ซุ่มบุรุษไว้ ๘ คน ริมทางนั้นด้วยสั่งว่า ราชบุรุษเหล่าใดมาทางนี้ ๔ คน เจ้าทั้ง ๘ คน จงฆ่าราชบุรุษ ๔ คนนั้นแล้วมาทางนี้ ได้ซุ่มราชบุรุษไว้ ๑๖

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 290

คนริมทางนั้น ด้วยสั่งว่า ราชบุรุษเหล่าใดมาทางนี้ ๘ คน เจ้าทั้ง ๑๖ คน จง ฆ่าราชบุรุษ ๘ คนนั้นแล้วมา.

ทรงแสดงอนุปุพพิกถา

[๓๖๙] ครั้งนั้น บุรุษคนเดียวนั้นถือดาบและโล่ผูกสอดแล่งธนู แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กลัว หวั่นหวาด สะทกสะท้าน มีกายแข็ง ได้ยืนอยู่ในที่ไม่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ได้ทอดพระเนตรเห็นบุรุษนั้น ผู้ กลัว หวั่นหวาด สะทกสะท้าน มีกายแข็ง ยืนอยู่ ครั้นแล้วได้ตรัสกะบุรุษ นั้นว่า มาเถิด เจ้าอย่ากลัวเลย จึงบุรุษนั้นวางดาบและโล่ปลดแล่งธนูวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ซบศีรษะลงแทบพระบาทยุคลของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า โทษมาถึง ซึ่งข้าพระพุทธเจ้าตามความโง่ ตามความหลง ตามอกุศล เพราะข้าพระพุทธ เจ้ามีจิตคิดประทุษร้าย มีจิตคิดจะฆ่าเข้ามาถึงที่นี้ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรด รับโทษของข้าพระพุทธเจ้านั้น โดยความเป็นโทษ เพื่อความสำรวมต่อไป พระพุทธเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เอาเถอะเจ้า โทษมาถึงเจ้าตามความโง่ ตามความหลง ตามอกุศล เพราะเจ้ามีจิตคิดประทุษร้าย มีจิตคิดจะฆ่า เข้า มาถึงที่นี้ เมื่อใดเจ้าเห็นโทษ โดยความเป็นโทษ แล้วทำคืนตามธรรม เมื่อนั้น เรารับโทษนั้นของเจ้า เพราะผู้ใดเห็นโทษโดยความเป็นโทษ แล้วทำคืนตาม ธรรม ถึงความสำรวมต่อไป ข้อนั้น เป็นความเจริญในอริยวินัย

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอนุปุพพิกถาแก่บุรุษนั้น คือ ทรงแสดงทาน ศีล สวรรค์ และอาทีนพ ความต่ำทราม ความเศร้าหมอง ของกามทั้งหลาย แล้วจึงทรงประกาศอานิสงส์ในการออกจากกาม เมื่อพระผู้มี

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 291

พระภาคเจ้าทรงทราบว่า บุรุษนั้นมีจิตคล่อง มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตสูงขึ้น มีจิตผ่องใส จึงทรงแสดงพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ดวงตาเห็น ธรรมปราศจากธุลีปราศจากมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา ได้เกิดแก่บุรุษนั้น ณ ที่นั่นนั้นแล ดุจ ผ้าที่สะอาดปราศจากมลทิน ควรได้รับน้ำย้อมเป็นอย่างดี ฉะนั้น ครั้งนั้น บุรุษนั้นมีธรรมอันเห็นแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มี ธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้าไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยายอย่างนี้ เปรียบ เหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทางหรือส่อง ประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ข้าพระพุทธเจ้านี้ขอ ถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม และภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงจำข้าพระพุทธเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้มอบชีวิตถึงสรณะ จำ เดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้รับสั่งกะบุรุษนั้นว่า เจ้าอย่าไปทางนี้ จงไปทางนี้ แล้วทรงส่งไปทางอื่น.

[๓๗๐] ครั้งนั้น บุรุษสองคนนั้นคิดว่า ทำไมหนอ บุรุษคนเคียว นั้นจึงมาช้านัก. แล้วเดินสวนทางไป ได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอนุปุพพิกถาแก่บุรุษ ๒ คน นั้น ... พวกเขา ... ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลพระ -

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 292

ผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ภาษิตของพระองค์ไพเราะนัก พระพุทธเจ้าข้า ... ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจง ทรงจำข้าพระพุทธเจ้าทั้งสองว่า เป็นอุบาสกผู้มอบชีวิตถึงสรณะ จำเดิมแต่วัน นี้เป็นต้นไป.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้รับสั่งกะบุรุษทั้งสองนั้นว่า เจ้าทั้งสอง นั้นว่า เจ้าทั้งสองอย่าไปทางนี้ จงไปทางนี้ แล้วทรงส่งไปทางอื่น.

[๓๗๑] ครั้งนั้น บุรุษ ๔ คนนั้น ...

ครั้งนั้น บุรุษ ๘ คนนั้น ...

ครั้งนั้น บุรุษ ๑๖ คนนั้น คิดว่า ทำไมหนอ บุรุษ ๘ คนนั้นมาช้า นัก แล้วเดินสวนทางไป ได้ไปพบพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง ณ ที่โคน ไม้แห่งหนึ่ง จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอนุปุพพิกถาแก่บุรุษ ๑๖ คนนั้น คือ ทรงแสดงทาน ศีล ... พวกเขา ... ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ แจ่มแจ้งนัก ภาษิตของพระองค์ไพเราะนัก พระพุทธเจ้าข้า ... ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงจำข้าพระพุทธเจ้าทั้ง ๑๖ คนว่า เป็นอุบาสกผู้มอบชีวิตถึง สรณะ จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป

ครั้งนั้น บุรุษคนเดียวนั้นได้เข้าไปหาพระเทวทัต แล้วได้กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า กระผมไม่สามารถจะปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ได้ เพราะพระองค์มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก พระเทวทัตจึงกล่าวว่า อย่า เลยเจ้า อย่าปลงพระชนม์พระสมณโคดมเลย เรานี้แหละจักปลงพระชนม์พระสมณโคดม.

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 293

พระเทวทัตทำโลหิตุปบาท

[๓๗๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจงกรมอยู่ ณ เขาคิชฌ- กูฏบรรพต ครั้งนั้น พระเทวทัตขึ้นสู่คิชฌกูฏบรรพต แล้วกลิ้งศิลากอันใหญ่ ด้วยหมายใจว่า จักปลงพระชนม์พระสมณโคดมด้วยศิลานี้ ยอดบรรพตทั้งสอง น้อมมารับศิลานั้นไว้ สะเก็ดกระเด็นจากศิลานั้นต้องพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำพระโลหิตให้ห้อขึ้นแล้วขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแหงนขึ้น ไปได้ตรัสกะพระเทวทัตว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอสั่งสมบาปมิใช่บุญไว้มากนัก เพราะมีจิตคิดประทุษร้าย มีจิตคิดฆ่ายังโลหิตของตถาคตให้ห้อขึ้น ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้จัดเป็น อนันตริยกรรมข้อที่ ๑ ที่เทวทัตสั่งสมแล้ว เพราะเธอ มีจิตคิดประทุษร้าย มีจิตคิดฆ่า ทำโลหิตของตถาคตให้ห้อขึ้น ภิกษุทั้งหลายได้สดับข่าวว่า พระเทวทัตได้ประกอบการปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ภิกษุเหล่านั้นจงกรม อยู่รอบๆ วิหารของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำการสาธยายมีเสียงสูงเสียงดัง เพื่อ รักษาคุ้มครองป้องกันพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับเสียง สาธยาย มีเสียงเซ็งแซ่ แล้วรับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ นั่น เสียงสาธยาย มีเสียงเซ็งแซ่ อะไรกัน.

ท่านอานนท์ทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุทั้งหลายได้สดับข่าวว่า พระเทวทัตได้ประกอบการปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ภิกษุเหล่านั้นจง กรมอยู่รอบๆ วิหารของพระผู้มีพระภาคเจ้าทำการสาธยายมีเสียงเซ็งแซ่ เพื่อ รักษาคุ้มครองป้องกันพระผู้มีพระภาคเจ้า เสียงนั้นนั่น เป็นเสียงสาธยาย มี เสียงเซ็งแซ่ พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ถ้ากระนั้น เธอจงเรียกภิกษุ ทั้งหลายเหล่านั้นมาตามคำของเราว่า พระศาสดารับสั่งหาท่านทั้งหลาย.

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 294

ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระพุทธพจน์ แล้วเข้าไปหาภิกษุเหล่า นั้นแจ้งให้ทราบว่า พระศาสดารับสั่งหาท่านทั้งหลาย.

ภิกษุเหล่านั้นรับคำของท่านพระอานนท์แล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถวายบังคมนั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อภิกษุเหล่านั้นนั่งเรียบ ร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลจะปลง ชีวิตตถาคตด้วยความพยายามของผู้อื่นนั่น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส เพราะ พระตถาคตทั้งหลายย่อมไม่ปรินิพพานด้วยความพยายามของผู้อื่น.

ตรัสเรื่องศาสดา ๕ จำพวก

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ศาสดา ๕ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก ๕ จำพวก เป็นไฉน คือ ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์ ปฏิญาณว่าเรา เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ และว่า ศีลของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง สาวก ทั้งหลาย ย่อมรู้ซึ่งศาสดานั้นนั่นอย่างนี้ว่า ศาสดาผู้เจริญนี้แล เป็นผู้มีศีลไมี บริสุทธิ์ย่อมปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ และว่า ศีลของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง ก็พวกเรานี่แหละพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ศาสดานั้น ไม่พึงมีความพอใจ ก็ความไม่พอใจใดแลจะพึงมี พวกเราจะพึงกล่าวกะศาสดา นั้นด้วยความไม่พอใจนั้นอย่างไร ก็ศาสดานั้นย่อมนับถือบูชาเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ท่านจักทำกรรมใดไว้ ท่านก็จักปรากฏด้วยกรรมนั้นเอง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย ย่อม รักษาศาสดาเห็นปานนี้โดยศีล ก็แลศาสดาเห็นปานนั้น ย่อมหวังการรักษาโดย ศีลจากสาวกทั้งหลาย.

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 295

[๓๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้เป็นผู้มี อาชีวะไม่บริสุทธิ์ ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์ ... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาวกทั้งหลายย่อมรักษาศาสดาเห็นปานนั้นโดยอาชีวะ ก็แลศาสดาเห็นปานนั้น ย่อมหวังการรักษาโดยอาชีวะจากสาวกทั้งหลาย.

[๓๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้เป็นผู้มี ธรรมเทศนาไม่บริสุทธิ์ ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ ... ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สาวกทั้งหลายย่อมรักษาศาสดาเห็นปานนั้น โดยธรรมเทศนา ก็แลศาสดาเห็นปานนั้น ย่อมหวังการรักษา โดยธรรมเทศนา จากสาวก ทั้งหลาย

[๓๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้เป็นผู้มี ไวยากรณ์ไม่บริสุทธิ์ ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีไวยากรณ์บริสุทธิ์ ... ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย สาวกทั้งหลายย่อมรักษาศาสดาเห็นปานนัยโดยไวยากรณ์ ก็แล ศาสดาเห็นปานนั้น ย่อมหวังการรักษา โดยไวยากรณ์ จากสาวกทั้งหลาย.

[๓๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้เป็นผู้มี ญาณทัสนะไม่บริสุทธิ์ ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ และว่า ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง สาวกทั้งหลายย่อมรู้ซึ่ง ศาสดานั้นนั่นอย่างนี้ว่า ศาสดาผู้เจริญนี้แล เป็นผู้มีญาณทัสสนะไม่บริสุทธิ์ ปฏิญาณว่าเป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ และญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง ก็พวกเรานี้แหละพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ศาสดานั้นไม่พึงมีความ พอใจ ก็ความไม่พอใจใดแลจะพึงมีพวกเราจะพึงกล่าวกะศาสดานั้นด้วยความ ไม่พอใจนั้นอย่างไร ก็ศาสดานั้น ย่อมนับถือบูชาเรา ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ท่านจักทำกรรมใดไว้ ท่านก็จักปรากฏ

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 296

ด้วยกรรมนั้นเอง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาวกทั้งหลายย่อมรักษาศาสดาเห็น ปานนั้นโดยญาณทัสสนะ ก็แล ศาสดาเห็นปานนั้น ย่อมหวังการรักษา โดย ญาณทัสสนะ จากสาวกทั้งหลาย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ศาสดา ๕ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เราเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ปฏิญาณวา เราเป็นผู้ มีศีลบริสุทธิ์ และว่า ศีลของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง และสาวก ทั้งหลาย ย่อมไม่รักษาเราโดยศีล และเราก็ย่อมไม่หวังการรักษาโดยศีล จาก สาวกทั้งหลาย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เราเป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์ ...

... เป็นผู้มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ ...

... เป็นผู้มีไวยากรณ์บริสุทธิ์ ...

... เป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีญาณทัสสนะ บริสุทธิ์ และว่า ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง และ สาวกทั้งหลายย่อมไม่รักษาเราโดยญาณทัสสนะ และเราก็ย่อมไม่หวังการรักษา โดยญาณทัสสนะ จากสาวกทั้งหลาย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลจะปลงชีวิตตถาคต ด้วยความพยายาม ของผู้อื่นนั้นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส เพราะพระตถาคตทั้งหลาย ย่อมไม่ปริ- นิพพานด้วยความพยายามของผู้อื่น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงไปที่อยู่ตามเดิม พระตถาคตทั้งหลาย อันพวกเธอไม่ต้องรักษา.

ปล่อยช้างนาฬาคิรี

[๓๗๗] สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์ มีช้างชื่อนาฬาคิรี เป็นสัตว์ดุร้าย ฆ่ามนุษย์ ครั้งนั้น พระเทวทัตเข้าไปสู่กรุงราชคฤห์แล้วไปยังโรงช้างได้กล่าวกะ

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 297

พวกควาญช้างว่า พนาย เราเป็นพระราชญาติ สามารถจะแต่งตั้งผู้ที่อยู่ใน ตำแหน่งต่ำไว้ในตำแหน่งสูงได้ สามารถจะเพิ่มได้ทั้งเบี้ยเลี้ยงและเงินเดือน พนาย ถ้ากระนั้น เวลาใดพระสมณโคดมทรงพระดำเนินมาตรอกนี้ เวลานั้น พวกท่านจงปล่อยช้างนาฬาคิรีเข้าไปยังตรอกนี้ ควาญช้างเหล่านั้นรับคำพระเทวทัตแล้ว ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสกแล้วทรง ถือบาตร จีวร เสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์พร้อมกับภิกษุมากรูป ทรงพระ ดำเนินถึงตรอกนั้น ควาญช้างเหล่านั้นได้แลเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระ ดำเนินถึงตรอกนั้น จึงปล่อยช้างนาฬาคิรีให้ไปยังตรอกนั้น ช้างนาฬาคิรีได้ แลเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระดำเนินมาแต่ไกลเทียว แล้วได้ชูงวง หู ชัน หางชี้ วิ่งรี่ไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า ภิกษุเหล่านั้นได้แลเห็นช้างนาฬาคิรีวิ่งมาแต่ไกลเทียว แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ช้างนาฬาคิรีนี้ดุร้าย หยาบช้า ฆ่ามนุษย์ เดินเข้ามายังตรอกนี้แล้ว ขอ พระผู้มีพระภาคเจ้าจงเสด็จกลับเถิด ขอพระสุคตจงเสด็จกลับเถิด พระพุทธ เจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธออย่ากลัวเลย ข้อที่บุคคลจะปลงชีวิตตถาคตด้วยความพยายามของผู้อื่น นั่นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่ โอกาสเพราะพระตถาคตทั้งหลายย่อมไม่ปรินิพพานด้วยความพยายามของผู้อื่น.

แม้ครั้งที่สอง ภิกษุเหล่านั้น ...

แม้ครั้งที่สาม ภิกษุเหล่านั้นได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ช้างนาฬาคิรีนี้ ดุร้าย หยาบช้า ฆ่ามนุษย์ เดินเข้ามายังตรอกนี้ แล้ว ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงเสด็จกลับเถิด ขอพระสุคตจงเสด็จกลับเถิด พระพุทธเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 298

พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า มาเถิดภิกษุทั้งหลาย อย่ากลัวเลย ข้อที่ บุคคลจะปลงชีวิตตถาคตด้วยความพยายามของผู้อื่น นั่นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่ โอกาสเพราะพระตถาคตทั้งหลายย่อมไม่ปรินิพพานด้วยความพยายามของผู้อื่น.

[๓๗๘] คราวนั้น คนทั้งหลาย หนีขึ้นไปอยู่บนปราสาทบ้าง บน เรือนโล้นบ้าง บนหลังคาบ้าง บรรดาคนเหล่านั้น พวกที่ไม่มีศรัทธา ไม่ เลื่อมใสไร้ปัญญา กล่าวอย่างนี้ว่า ชาวเราผู้เจริญ พระมหาสมณโคดม พระ รูปงาม จักถูกช้างเบียดเบียน.

ส่วนพวกที่มีศรัทธา เลื่อมใส ฉลาด มีปัญญา กล่าวอย่างนี้ว่า ชาว เราผู้เจริญ ไม่นานเท่าไรนัก พระพุทธนาคจักทรงทำสงครามกับช้าง.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแผ่เมตตาจิตไปสู่ช้างนาฬาคิรี.

ลำดับนั้น ช้างนาพาคิรีได้สัมผัสพระเมตตาจิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้ว ลดงวงลงแล้วเข้าไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้ยืนอยู่ตรงพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกพระหัตถ์ขวาลูบกระพองช้าง นาฬาคิรีพลางตรัสกะช้างนาฬาคิรี ด้วยพระคาถา ว่าดังนี้ :-

[๓๗๙] ดูก่อนกุญชร เจ้าอย่าเข้าไป หาพระพุทธนาค เพราะการเข้าไปหาพระพุทธนาคด้วยวธกจิตเป็นเหตุแห่งทุกข์ ผู้ ฆ่าพระพุทธนาคจากชาตินี้ไปสู่ชาติหน้าไม่มี สุคติเลย เจ้าอย่าเมา และอย่าประมาท เพราะคนเหล่านั้น เป็นผู้ประมาทแล้ว จะ ไปสู่สุคติไม่ได้ เจ้านี่แหละ จักทำโดย ประการที่จักไปสู่สุคติได้.

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 299

[๓๘๐] ลำดับนั้น ช้างนาฬาคิรีเอางวงลูบละอองธุลีพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วพ่นลงบนกระหม่อม ย่อตัวถอยออกไปชั่วระยะที่แลเห็น พระผู้มีพระภาคเจ้า ไปสู่โรงช้างแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ของตน.

ก็แล ช้างนาฬาคิรีเป็นสัตว์อันพระพุทธนาคทรงทรมานแล้วด้วย ประการนั้น.

[๓๘๑] สมัยนั้น คนทั้งหลายขับร้องคาถานี้ ว่าดังนี้ :-

คนพวกหนึ่งย่อมฝึกช้างและม้า ด้วย ใช้ท่อนไม้บ้าง ใช้ขอบ้าง ใช้แส้บ้าง สมเด็จพระพุทธเจ้าผู้แสวงพระคุณใหญ่ทรง ทรมานช้างโดยมิต้องใช้ท่อนไม้ มิต้องใช้ ศัสตรา.

คนทั้งหลายต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระเทวทัตนี้เป็น คนมีบาป ไม่มีบุญ เพราะพยายามปลงพระชนม์พระสมณโคดม ผู้มีฤทธิ์มาก อย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ ลาภสักการะของพระเทวทัตเสื่อม ส่วนลาภสักการะของพระผู้มีพระภาคเจ้าเจริญยิ่งขึ้น.

[๓๘๒] สมัยต่อมา พระเทวทัตเสื่อมลาภสักการะแล้ว พร้อมทั้ง บริษัทได้เที่ยวขอในสกุลทั้งหลายมาฉัน ประชาชนทั้งหลายต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร จึงเที่ยวขอใน สกุลทั้งหลายมาฉันเล่า ของที่ปรุงเสร็จแล้วใครจะไม่พอใจ ของที่ดีใครจะไม่ ชอบใจ.

ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ พวก ที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ตีเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระเทวทัต

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 300

พร้อมกับบริษัท จึงเที่ยวขอในสกุลทั้งหลายมาฉันเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระะผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ... ตรัสถามว่า ดูก่อนเทวทัต ข่าวว่า เธอ พร้อมกับบริษัทเที่ยวขอในสกุลทั้งหลายมาฉัน จริงหรือ.

พระเทวทัตทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติ โภชนะสำหรับ ๓ คนในสกุลแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๓ ประการ คือ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่ผาสุกของภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อ อนุเคราะห์สกุลด้วยหวังว่า ภิกษุทั้งหลายที่มีความปรารถนาลามกอย่าอาศัยฝัก ฝ่ายทำลายสงฆ์ ๑ ในการฉันเป็นหมู่ พึงปรับอาบัติตามธรรม.

เรื่องวัตถุ ๕ ประการ

[๓๘๓] ครั้งนั้น พระเทวทัตเข้าไปหาพระโกกาลิกะ พระกตโมรกติสสกะ พระขัณฑเทวีบุตร พระสมุทรทัตตะ แล้วได้กล่าวว่า มาเถิดท่าน ทั้งหลาย พวกเราจักทำสังฆเภท จักรเภท แก่พระสมณโคดม เมื่อพระเทวทัต กล่าวอย่างนี้แล้ว.

พระโกกาลิกะได้กล่าวว่า พระสมณโคดมมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก พวกเราจักทำสังฆเภท จักรเภท แก่สมณโคดมอย่างไรได้.

พระเทวทัตกล่าวว่า มาเถิดท่านทั้งหลาย พวกเราจักเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดม แล้วทูลขอวัตถุ ๕ ประการว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคุณแห่ง ความเป็นผู้มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่า เลื่อมใส การไม่สั่งสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย พระพุทธ

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 301

เจ้าข้า วัตถุ ๕ ประการนี้ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย ความเป็นผู้สันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สั่งสม การปรารภ ความเพียร โดยอเนกปริยาย ข้าพระพุทธเจ้า ขอประทานพระวโรกาส ภิกษุ ทั้งหลายพึงถือการอยู่ป่าเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดอาศัยบ้านอยู่ รูปนั้นพึงต้อง โทษ ภิกษุทั้งหลายพึงถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดยินดี กิจนิมนต์ รูปนั้นพึงต้องโทษ ภิกษุทั้งหลายพึงถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดยินดีคหบดีจีวร รูปนั้น พึงต้องโทษ ภิกษุทั้งหลายพึงถืออยู่โคนไม้เป็น วัตรตลอดชีวิต รูปใดเข้าอาศัยที่มุงที่บัง รูปนั้นพึงต้องโทษ ภิกษุทั้งหลายไม่ พึงฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต รูปใดฉันปลาและเนื้อ รูปนั้นพึงต้องโทษ พระสมณโคดมจักไม่ทรงอนุญาตวัตถุ ๕ ประการนี้ แต่พวกเรานั้น จักให้ประชาชนเชื่อถือวัตถุ ๕ ประการนี้.

พระโกกาลิกะกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย พวกเราสามารถเพื่อทำสังฆเภท จักรเภท แก่สมณโคดมด้วยวัตถุ ๕ ประการนี้แน่ เพราะมนุษย์ทั้งหลายเลื่อมใส ในความปฏิบัติเศร้าหมอง.

ทูลขอวัตถุ ๕ ประการ

[๓๘๔] ครั้งนั้น พระเทวทัตพร้อมกับบริษัทเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อนั่งเรียบร้อยแล้วได้ กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคุณ แห่งความเป็นผู้มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่ น่าเลื่อมใส ความไม่สั่งสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย พระพุทธ เจ้าข้า วัตถุ ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย ความเป็นผู้ สันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส ความไม่สั่งสม การ

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 302

ปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ข้าพระพุทธเจ้า ขอประทานพระวโรกาส ภิกษุทั้งหลายพึงถือการอยู่ป่าเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดอาศัยบ้านอยู่ รูปนั้นพึง ต้องโทษ ภิกษุทั้งหลายพึงถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดยินดี กิจนิมนต์ รูปนั้นพึงต้องโทษ ภิกษุทั้งหลายพึงถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดยินดีคหบดีจีวร รูปนั้นพึงต้องโทษ ภิกษุทั้งหลายพึงถือการอยู่โคนไม้ เป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดเข้าอาศัยที่มุงที่บัง รูปนั้นพึงต้องโทษ ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต รูปใดฉันปลาและเนื้อ รูปนั้นพึงต้องโทษ.

พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า อย่าเลย เทวทัต ภิกษุใดปรารถนา ภิกษุนั้นจงถือการอยู่ป่าเป็นวัตร รูปใดปรารถนา จงอยู่ในบ้าน รูปใดปราถนา จงถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร รูปใดปารถนา จงยินดีกิจนิมนต์ รูปใดปรารถนา จงถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร รูปใดปรารถนา จงยินดีคหบดีจีวร เราอนุญาต โคนไม้เป็นเสนาสนะ ๘ เดือน เราอนุญาตปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์โดยส่วนสาม ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่รังเกียจ.

ครั้งนั้น พระเทวทัตคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงอนุญาต วัตถุ ๕ ประการนี้ จึงร่าเริงดีใจพร้อมกับบริษัทลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มี พระภาคเจ้า ทำประทักษิณ แล้วกลับไป.

โฆษณาวัตถุ ๕ ประการ

[๓๘๕] ต่อมา พระเทวทัตพร้อมกับบริษัทเข้าไปสู่กรุงราชคฤห์แล้ว ประกาศให้ประชาชนเข้าใจวัตถุ ๕ ประการว่า ท่านทั้งหลาย พวกอาตมาเข้า ไปเฝ้าพระสมณโคดมทูลขอวัตถุ ๕ ประการว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระ - ภาคเจ้าตรัสคุณแห่งความเป็นผู้มักน้อย ... การปรารภความเพียร โดยอเนก ปริยาย พระพุทธเจ้าข้า วัตถุ ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มัก

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 303

น้อย ... การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ข้าพระพุทธเจ้าขอประทาน พระวโรกาส ภิกษุทั้งหลายพึงถืออยู่ป่าเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดอาศัยบ้านอยู่ รูปนั้นพึงต้องโทษ ... ภิกษุทั้งหลายไม่พึงฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต รูปใด ฉันปลาและเนื้อ รูปนั้นพึงต้องโทษ วัตถุ ๕ ประการนี้ พระสมณโคดมไม่ ทรงอนุญาต แต่พวกอาตมาสมาทานประพฤติตามวัตถุ ๕ ประการนี้.

[๓๘๖] บรรดาประชาชนเหล่านั้น พวกที่ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส ไร้ปัญญากล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากบุตรเหล่านั้น เป็นผู้กำจัด มีความประพฤติขัดเกลา ส่วนพระสมณโคดมประพฤติมักมาก ย่อมคิดเพื่อความ มักมาก.

ส่วนพวกที่มีศรัทธา เลื่อมใส เป็นผู้ฉลาด มีปัญญา ย่อมเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระเทวทัตจึงได้พยายามเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำ ลายจักรเล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดา ที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระเทวทัต จึงได้พยายามเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายจักร แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ... ทรงสอบถามว่า ดูก่อนเทวทัต ข่าวว่า เธอ พยายามเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายจักร จริงหรือ.

พระเทวทัตทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อย่าเลย เทวทัต เธออย่าชอบใจการทำ ลายสงฆ์ เพราะการทำลายสงฆ์มีโทษหนักนัก ผู้ใดทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรีองกัน ย่อมประสบโทษตั้งกัป ย่อมไหม้ในนรกตลอดกัป ส่วนผู้ใดสมานสงฆ์ผู้แตกกัน แล้วให้พร้อมเพรียงกัน ย่อมประสบบุญอันประเสริฐ ย่อมบันเทิงในสวรรค์

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 304

ตลอดกัป อย่าเลย เทวทัต เธออย่าชอบใจการทำลายสงฆ์เลย เพราะการทำ ลายสงฆ์มีโทษหนักนัก.

[๓๘๗] ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งอันตรวาสก ถือ บาตร จีวร เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ พระเทวทัตได้พบท่านพระอานนท์กำลังเที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ จึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ แล้วได้กล่าวว่า ท่านอานนท์ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ผมจักทำอุโบสถ จักทำ สังฆกรรม แยกจากพระผู้มีพระภาคเจ้า แยกจากภิกษุสงฆ์ ครั้นท่านพระอานนท์ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์แล้ว เวลาปัจฉาภัตร กลับจากบิณฑบาตเข้าเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคม นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อนั่งเรียบร้อย แล้วจึงกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า เมื่อเช้านี้ข้าพระพุทธเจ้านุ่งอันตรวาสก ถือบาตร และจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ พระเทวทัตพบข้าพระพุทธเจ้ากำลังเที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ แล้วเข้ามาหาข้าพระพุทธเจ้า ครั้นแล้ว กล่าวว่า ท่านอานนท์ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ผมจักทำอุโบสถ จักทำสังฆกรรม แยกจากพระผู้มีพระภาคเจ้า แยกจากภิกษุสงฆ์ วันนี้พระเทวทัตจักทำลายสงฆ์ พระพุทธเจ้าข้า

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเรื่องนั้นแล้ว ทรงเปล่งอุทาน ในเวลานั้น ว่าดังนี้ :-

[๓๘๘] ความดี คนดีทำง่าย ความดี คนชั่วทำยาก ความชั่ว คนชั่วทำง่าย แต่ อารยชน ทำความชั่วได้ยาก.

ทุติยภาณวาร จบ

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 305

พระเทวทัตหาพรรคพวก

[๓๘๙] ครั้งนั้น ถึงวันอุโบสถ พระเทวทัตลุกจากอาสนะ ประกาศ ให้ภิกษุทั้งหลายจับสลากว่า ท่านทั้งหลาย พวกเราเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดม แล้วทูลขอวัตถุ ๕ ประการว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคุณ แห่งความเป็นผู้มักน้อย ... การปรารภความเพียรโดยอเนกปริยาย วัตถุ ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย ... การปรารภความเพียร โดย อเนกปริยาย ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาส ภิกษุทั้งหลายพึงถืออยู่ป่า เป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดอาศัยบ้านอยู่ รูปนั้นพึงต้องโทษ ... ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต รูปใดพึงฉันปลาและเนื้อ รูปนั้น พึงต้องโทษ วัตถุ ๕ ประการนี้ พระสมณโคดมไม่ทรงอนุญาต แต่พวกเรานั้นย่อมสมาทาน ประพฤติตามวัตถุ ๕ ประการนี้ วัตถุ ๕ ประการนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน ผู้นั้นจงจับสลาก.

[๓๙๐] สมัยนั้น พระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลี ประมาณ ๕๐๐ รูป เป็นพระบวชใหม่ และรู้พระธรรมวินัยน้อย พวกเธอจับสลากด้วยเข้าใจว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ลำดับนั้น พระเทวทัตทำลายสงฆ์แล้ว พาภิกษุ ประมาณ ๕๐๐ รูป หลีกไปทางคยาสีสู่ประเทศ.

[๓๙๑] ครั้งนั้น พระสารีบุตรพระโมคคัลลานะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อท่านพระสารีบุตรนั่ง เรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พระเทวทัตทำลายสงฆ์แล้ว พาภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูปหลีกไปทางคยาสีสะประเทศ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร โมคคัลลานะ พวกเธอ จักมีความการุญในภิกษุใหม่เหล่านั้นมิใช่หรือ พวกเธอจงรีบไป ภิกษุเหล่านั้น กำลังจะถึงความย่อยยับ

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 306

พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะทูลรับสนองพระพุทธพจน์แล้ว ลุก จากอาสนะถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณแล้ว เดินทางไปคยาสีสะ ประเทศ.

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง

[๓๙๒] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งยืนร้องไห้อยู่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ เธอร้องไห้ทำไม

ภิกษุนั้นกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ เป็นอัครสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ไปในสำนักพระเทวทัต คงจะชอบใจ ธรรมของพระเทวทัต

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ข้อที่สารีบุตรโมคคัลลานะ จะพึงชอบใจธรรมของเทวทัต นั่นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส แต่เธอทั้งสองไป เพื่อซ้อมความเข้าใจกะภิกษุ.

พระอัครสาวกพาภิกษุ ๕๐๐ กลับ

[๓๙๓] สมัยนั้น พระเทวทัตอันบริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อม แล้วนั่ง แสดงธรรมอยู่ เธอได้เห็นพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ มาแต่ไกล จึง เตือนภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เห็นไหม ธรรมเรากล่าวดีแล้ว พระสารีบุตรโมคคัลลานะอัครสาวกของพระสมณโคดม พากันมาสู่สำนักเรา ต้องชอบใจธรรมของเรา เมื่อพระเทวทัตกล่าวอย่างนี้แล้ว พระโกกาลิกะ ได้ กล่าวกะพระเทวทัตว่า ท่านเทวทัต ท่านอย่าไว้วางใจพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ เพราะเธอทั้งสองมีความปรารถนาลามก ลุอำนาจแก่ความ ปรารถนาลามก พระเทวทัตกล่าวว่า อย่าเลย คุณ ท่านทั้งสองมาดี เพราะ ชอบใจธรรมของเรา

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 307

ลำดับนั้น ท่านพระเทวทัตนิมนต์ท่านพระสารีบุตรด้วยอาสนะกึ่งหนึ่ง ว่า มาเถิด ท่านสารีบุตร นิมนต์นั่งบนอาสนะนี้ ท่านพระสารีบุตรห้ามว่า อย่าเลยท่าน แล้วถืออาสนะแห่งหนึ่งนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แม้ท่านพระมหาโมคคัลลานะก็ถืออาสนะแห่งหนึ่งนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ลำดับนั้น พระเทวทัตแสดงธรรมกถาให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง หลายราตรี แล้วเชื้อเชิญท่านพระสารีบุตรว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุสงฆ์ปราศ จากถิ่นมิทธะแล้ว ธรรมีกถาของภิกษุทั้งหลายจงแจ่มแจ้งกะท่าน เราเมื่อยหลัง จักเอน ท่านพระสารีบุตรรับคำพระเทวทัตแล้ว ลำดับนั้น พระเทวทัตปูผ้า สังฆาฏิ ๔ ชั้น แล้วจำวัตรโดยข้างเบื้องขวา เธอเหน็ดเหนื่อยหมดสติสัมปชัญญะ ครู่เดียวเท่านั้น ก็หลับไป.

[๓๙๔] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรกล่าวสอน พร่ำสอนภิกษุทั้งหลาย ด้วยธรรมีกถาอันเป็นอนุศาสนีเจือด้วยอาเทสนาปาฏิหาริย์ ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวสอน พร่ำสอน ภิกษุทั้งหลายด้วยธรรมีกถาอันเป็นอนุศาสนีเจือด้วย อิทธิปาฏิหาริย์ ขณะเมื่อภิกษุเหล่านั้นอันท่านพระสารีบุตรกล่าวสอนอยู่ พร่ำ สอนอยู่ด้วยอนุศาสนีเจือด้วยอาเทศนาปาฏิหาริย์ และอันท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวสอนอยู่ พร่ำสอนอยู่ ด้วยอนุศาสนีเจือด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ ดวงตา เห็นธรรมที่ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินได้เกิดขึ้นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความ เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา ทีนั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ท่านทั้งหลาย เราจักไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ใดชอบใจธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ผู้นั้นจงมา

ครั้งนั้น พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ พาภิกษุ ๕๐๐ รูปนั้น เข้าไปทางพระเวฬุวัน

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 308

ครั้งนั้น พระโกกาลิกะปลุกพระเทวทัตให้ลุกขึ้นด้วยคำว่า ท่านเทวทัต ลุกขึ้นเถิด พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะพาภิกษุเหล่านั้นไปแล้ว เราบอก ท่านแล้วมิใช่หรือว่า อย่าไว้วางใจพระสารีบุตรพระโมคคัลลานะ เพราะเธอ ทั้งสองมีความปรารถนาลามก ถึงอำนาจความปรารถนาลามก

ครั้งนั้น โลหิตร้อนได้พุ่งออกจากปากพระเทวทัต ในที่นั้นเอง.

[๓๙๕] ครั้งนั้น พระสารีบุตรพระโมคคัลลานะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อท่านพระสารีบุตรนั่ง เรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอประทาน พระวโรกาส ภิกษุทั้งหลายผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลาย พึงอุปสมบทใหม่

พ. อย่าเลย สารีบุตร เธออย่าพอใจการอุปสมบทใหม่ของพวกภิกษุ ผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายเลย ดูก่อนสารีบุตร ถ้าเช่นนั้น เธอจงให้พวกภิกษุ ผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายแสดงอาบัติถุลลัจจัย ก็เทวทัตปฏิบัติแก่เธออย่างไร

ส. พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมีกถาให้ภิกษุ ทั้งหลายเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ตลอดราตรีเป็นอันมาก แล้วได้ รับสั่งกะข้าพระพุทธเจ้าว่า ดูก่อนสารีบุตร ภิกษุสงฆ์ปราศจากถิ่นมิทธะแล้ว ธรรมีกถาของภิกษุทั้งหลายจงแจ่มแจ้งแก่เธอ เราเมื่อยหลัง ดังนี้ ฉันใด พระเทวทัต ก็ได้ปฏิบัติฉัน นั้นเหมือนกัน พระพุทธเจ้าข้า.

[๓๙๖] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีสระใหญ่อยู่ในราวป่า ช้างทั้งหลายอาศัยสระ นั้นอยู่และพวกมันพากันลงสระนั้น เอางวงถอนเหง้าและรากบัวล้างให้สะอาด จนไม่มีตมแล้วเคี้ยวกลืนกินเหง้าและรากบัวนั้น เหง้าและรากบัวนั้น ย่อมบำรุง วรรณะและกำลังของช้างเหล่านั้น และช้างเหล่านั้นก็ไม่เข้าถึงความตาย หรือ ความทุกข์ปางตายมีข้อนั่นเป็นเหตุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนลูกช้างตัวเล็กๆ

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 309

เอาอย่างช้างใหญ่เหล่านั้น และพากันลงสระนั้น เอางวงถอนเหง้าและรากบัว แล้วไม่ล้างให้สะอาดเคี้ยวกลืนกินทั้งที่มีตม เหง้าและรากบัวนั้น ย่อมไม่บำรุง วรรณะและกำลังของลูกช้างเหล่านั้น และพวกมั่นย่อมเข้าถึงความตาย หรือ ความทุกข์ปางตาย มีข้อนั้นเป็นเหตุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทัตเลียนแบบเรา จักตายอย่างคนกำพร้า อย่างนั้นเหมือนกัน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสประพันธคาถา ว่าดังนี้ :-

[๓๙๗] เมื่อช้างใหญ่คุมฝูง ขุดดิน กินเหง้าบัวอยู่ในสระใหญ่ ลูกช้างกินเหง้าบัว ทั้งที่มีตมแล้วตาย ฉันใด เทวทัตเลียนแบบ เราแล้วจักตายอย่างคนกำพร้า ฉันนั้น.

องค์แห่งทูต

[๓๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ ควรทำ หน้าที่ทูต องค์ ๘ เป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. รับฟัง

๒. ให้ผู้อื่นฟัง

๓. กำหนด

๔. ทรงจำ

๕. เข้าใจความ

๖. ให้ผู้อื่นเข้าใจความ

๗. ฉลาดต่อประโยชน์และมิใช่ประโยชน์

๘. ไม่ก่อความทะเลาะ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล ควรทำหน้าที่ทูต.

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 310

[๓๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ ควรทำ หน้าที่ทูต องค์ ๘ เป็นไฉน คือ:-

๑. สารีบุตรเป็นผู้รับฟัง

๒. ให้ผู้อื่นฟัง

๓. กำหนด

๔. ทรงจำ

๕. เข้าใจความ

๖. ให้ผู้อื่นเข้าใจความ

๗. ฉลาดต่อประโยชน์และมิใช่ประโยชน์

๘. ไม่ก่อความทะเลาะ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล ควรทำ หน้าที่ทูต.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสประพันธคาถา ว่าดังนี้ :-

[๔๐๐] ภิกษุใด เข้าไปสู่บริษัทที่พูด คำหยาบก็ไม่สะทกสะท้าน ไม่ยังคำพูดให้ เสีย ไม่ปกปิดข่าวสาส์นพูดจนหมดความ สงสัย และถูถถามก็ไม่โกรธ ภิกษุผู้เช่นนั้น แล ย่อมควรทำหน้าที่ทูต.

พระเทวทัตจักเกิดในอบาย

[๔๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทัตมีจิตอันอสัทธรรม ๘ ประการ ครอบงำ ย่ำยีแล้ว จักเกิดในอบาย ตกนรกชั่วกัปช่วยเหลือไม่ได้ อสัทธรรม ๘ ประการ เป็นไฉน คือ

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 311

๑. เทวทัตมีจิตอันลาภครอบงำ ย่ำยีแล้ว จักเกิดในอบายตกนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป ช่วยเหลือไม่ได้

๒. เทวทัตมีจิตอันความเสื่อมลาภครอบงำ ย่ำยีแล้ว ...

๓. เทวทัตมีจิตอันยศครอบงำ ย่ำยีแล้ว ...

๔. เทวทัตมีจิตอันความเสื่อมยศครอบงำ ย่ำยีแล้ว ... .

๕. เทวทัตมีจิตอันสักการะครอบงำ ย่ำยีแล้ว ...

๖. เทวทัตมีจิตอันความเสื่อมสักการะครอบงำ ย่ำยีแล้ว ...

๗. เทวทัตมีจิตอันความปรารถนาลามกครอบงำ ย่ำยีแล้ว ...

๘. เทวทัตมีจิตอันความเป็นมิตรชั่วครอบงำ ย่ำยีแล้วจักเกิดในอบาย ตกนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป ช่วยเหลือไม่ได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทัตมีจิตอันอสัทธรรม ๘ ประการนี้แล ครอบงำ ย่ำยีแล้ว จักเกิดในอบาย ตกนรก ทั่งอยู่ตลอดกัป ช่วยเหลือไม่ได้.

ดีละ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงครอบงำ ย่ำยี ลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่

... ความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่

... ยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่

... ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่

... สักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่

... ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่

... ความปรารถนาลามกที่เกิดขึ้นแล้วอยู่

ภิกษุพึงครอบงำ ย่ำยี ความเป็นมิตรลามกทีเกิดขึ้นแล้วอยู่ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร จึงครอบงำ ย่ำยี ลาภที่ เกิดขึ้นแล้วอยู่

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 312

... ความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่

... ยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่

... ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่

... สักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่

... ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่

... ความปรารถนาลามกที่เกิดขึ้นแล้วอยู่

ภิกษุครอบงำ ย่ำยี ความเป็นมิตรลามกที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ก็เมื่อภิกษุนั้นไม่ครอบงำลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ อาสวะทั้งหลาย ที่ทำความคับแค้น และรุ่มร้อนพึงเกิดขึ้น เมื่อครอบงำ ย่ำยี ลาภที่เกิดขึ้นแล้ว อยู่ อาสวะเหล่านั้น ที่ทำความคับแค้นและรุ่มร้อน ย่อมไม่มีแก่เธอ ด้วย อาการอย่างนี้.

ก็เมื่อเธอไม่ครอบงำความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ ... .

... ยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ ...

... ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ ...

... สักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ ...

... ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ ...

... ความปรารถนาลามกที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ ...

เมื่อเธอไม่ครอบงำความมีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ อาสนะทั้งหลาย ที่ทำความคับแค้นและรุ่มร้อน พึงเกิดขึ้น.

... ครอบงำ ย่ำยี ความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ ...

... ครอบงำ ย่ำยี ความมีมิตรลามกที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ อาสวะเหล่านั้น ที่ทำความคับแค้น และรุ่มร้อน ย่อมไม่มีแก่เธอ ด้วยอาการอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 313

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล พึงครอบงำ ย่ำยี ลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่.

... ความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ ...

... ยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ ...

... ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ ...

... สักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ ...

... ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ ...

... ความปรารถนาลามกที่เกิดขึ้นแล้ว อยู่ ...

พึงครอบงำ ย่ำยี ความมีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นแล้วอยู่.

เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงศึกษาว่า พวกเราจัก ครอบงำ ย่ำยีลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่

... ความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่

... ยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่

... ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่

... สักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่

... ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่

... ความปรารถนาลามก เกิดขึ้นแล้วอยู่.

พวกเราจักครอบงำ ย่ำยี ความมีมิตรลามกที่เกิดขึ้นแล้วอยู่. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้แล.

[๔๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทัตมีจิตอันอสัทธรรม ๓ ประการ ครอบงำ ย่ำยี จักเกิดในอบาย ตกนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป ช่วยเหลือไม่ได้ อสัทธรรม ๓ ประการ เป็นไฉน คือ:-

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 314

๑. ความปรารถนาลามก

๒. ความมีมิตรชั่ว

๓. พอบรรลุคุณวิเศษเพียงคั่นต่ำ ก็เลิกเสียในระหว่าง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทัตมีจิตอันอสัทธรรม ๓ ประการนี้แล ครอบงำ ย่ำยี จักเกิดในอบาย ตกนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป. ช่วยเหลือไม่ได้.

นิคมคาถา

[๔๐๓] ใครๆ จงอย่าเกิดเป็นคน ปรารถนาลามกในโลก ท่านทั้งหลายจงรู้จัก เทวทัตนั้นตามเหตุแม้นี้ว่า มีคติเหมือนคติ ของคนปรารถนาลามก เทวทัตปรากฏว่า เป็นบัณฑิต รู้กันว่าเป็นผู้อบรมตนแล้ว เรา ก็ได้ทราบว่าเทวทัตตั้งอยู่ดุจผู้รุ่งเรืองด้วยยศ เธอสั่งสมความประมาทเบียดเบียนตถาคต นั้น จึงตกนรกอเวจี มีประตูถึง ๔ ประตู อันน่ากลัว ก็ผู้ใดประทุษร้ายต่อผู้ไม่ ประทุษร้าย ผู้ไม่ทำบาปกรรม บาปย่อมถูก ต้องเฉพาะผู้นั้น ผู้มีจิตประทุษร้าย ไม่ เอื้อเฟื้อ ผู้ใดตั้งใจประทุษร้ายมหาสมุทร ด้วยยาพิษเป็นหม้อๆ ผู้นั้น ไม่ควรประทุษ- ร้ายด้วยยาพิษนั้นเพราะมหาสมุทรเป็นสิ่งที่ น่ากลัว ฉันใด ผู้ใดเบียดเบียนตถาคตผู้เสด็จ ไปดีแล้ว มีพระทัยสงบ ด้วยกล่าวติเตียน

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 315

การกล่าวติเตียนในตถาคตนั้นฟังไม่ขึ้น ฉันนั่นเหมือนกัน ภิกษุผู้ดำเนินตามมรรคา ของพระพุทธเจ้า หรือสาวกของพระพุทธเจ้า พระองค์ใด พึงถึงความสิ้นทุกข์ บัณฑิต พึงกระทำพระพุทธเจ้า หรือสาวกของ พระพุทธเจ้า ผู้เป็นนั้นให้เป็นมิตร และพึง คบหาท่าน..

สังฆราชี

[๔๐๔] ครั้งนั้น ท่านพระอุบาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถวาย บังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อท่านพระอุบาลีนั่งเรียบร้อยแล้วได้ กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ตรัสว่า สังฆราชี สังฆราชี ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรเป็นสังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท ด้วยเหตุเพียงเท่าไร เป็นทั้งสังฆราชี และสังฆเภท.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุบาลี ฝ่ายหนึ่งมีภิกษุหนึ่งรูป ฝ่ายหนึ่งมี ๒ รูป รูปที่ ๔ ประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้ ดูก่อนอุบายลี แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ เป็นสังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท.

ดูก่อนอุบาลี ฝ่ายหนึ่งมีภิกษุ ๒ รูป ฝ่ายหนึ่งก็มี ๒ รูป รูปที่ ๕ ประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้ ดูก่อนอุบาลี แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ก็เป็นสังฆราชี แต่ไม่เป็น สังฆเภท.

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 316

ดูก่อนอุบาลี ฝ่ายหนึ่งมีภิกษุ ๒ รูป ฝ่ายหนึ่งมี ๓ รูป รูปที่ ๖ ประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้ ดูก่อนอุนาลี แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ก็เป็นสังฆราชี แต่ไม่เป็น สังฆเภท.

ดูก่อนอบาลี ฝ่ายหนึ่งมีภิกษุ ๓ รูป ฝ่ายหนึ่งก็มี ๓ รูป รูปที่ ๗ ประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับ สลากนี้ จงชอบใจสลากนี้ ดูก่อนอุบาลี แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ก็เป็นสังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท.

ดูก่อนอุบาลี ฝ่ายหนึ่งมีภิกษุ ๓ รูป ฝ่ายหนึ่งมี ๔ รูป รูปที่ ๘ ประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับ สลากนี้ จงชอบใจสลากนี้ ดูก่อนอุบาลี แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ก็เป็นสังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท.

ดูก่อนอุบาลี ฝ่ายหนึ่งมีภิกษุ ๔ รูป ฝ่ายหนึ่งมี ๔ รูป รูปที่ ๙ ประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับ สลากนี้ จงชอบใจสลากนี้ ดูก่อนอุบาลี แม้ด้วยเหตุอย่างนี้แล เป็นทั้งสังฆราชี และสังฆเภท.

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุ ๙ รูป หรือเกินกว่า ๙ รูป เป็นทั้งสังฆราชี และสังฆเภท.

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุณีทำลายสงฆ์ย่อมไม่ได้ แต่พยายามเพื่อจะทำลายได้

สิกขมานา ก็ทำลายสงฆ์ไม่ได้.

สามเณรก็ทำลายสงฆ์ไม่ได้.

สามเณรีก็ทำลายสงฆ์ไม่ได้.

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 317

อุบาสกก็ทำลายสงฆ์ไม่ได้.

อุบาสิกาก็ทำลายสงฆ์ไม่ได้ แต่พยายามเพื่อจะทำลายได้.

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุปกตัตตะ มีสังวาสเสมอกัน อยู่ในสีมาเดียวกัน ย่อมทำลายสงฆ์ได้.

สังฆเภท

[๔๐๕] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ตรัสว่า สังฆเภท สังฆเภท ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร สงฆ์จึงแตก.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุบาลี ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้

๑. ย่อมแสดงอธรรมว่า เป็นธรรม

๒. ย่อมแสดงธรรมว่า เป็นอธรรม

๓. ย่อมแสดงสิ่งไม่เป็นวินัยว่า เป็นวินัย

๔. ย่อมแสดงวินัยว่า ไม่เป็นวินัย

๕. ย่อมแสดงคำอันตถาคตมิได้ตรัสภาษิตไว้ว่า เป็นคำอันตถาคตตรัส ภาษิตไว้

๖. ย่อมแสดงคำอันตถาคตตรัสภาษิตไว้ว่า เป็นคำอันตถาคตมิได้ตรัส ภาษิตไว้

๗. ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตมิได้ประพฤติมาว่า เป็นกรรม อันตถาคตประพฤติมา

๘. ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตประพฤติมาว่า เป็นกรรมอันตถาคตมิ ได้ประพฤติมา

๙. ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้

๑๐. ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้

๑๑. ย่อมแสดงอนาบัติว่า เป็นอาบัติ

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 318

๑๒. ย่อมแสดงอาบัติว่า เป็นอนาบัติ

๑๓. ย่อมแสดงอาบัติเบาว่า เป็นอาบัติหนัก

๑๔. ย่อมแสดงอาบัติหนักว่า เป็นอาบัติเบา

๑๕. ย่อมแสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้

๑๖. ย่อมแสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ว่า เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ

๑๗. ย่อมแสดงอาบัติชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ

๑๘. ย่อมแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติชั่วหยาบ

พวกเธอย่อมประกาศให้แตกแยกกัน ด้วยวัตถุ ๑๘ ประการนี้ ย่อม แยกทำอุโบสถ แยกทำปวารณา แยกทำสังฆกรรม

ดูก่อนอุบาลี ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล สงฆ์เป็นอันแตกกันแล้ว

สังฆสามัคคี

[๔๐๖] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ตรัสว่า สังฆสามัคคี สังฆสามัคคี ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร สงฆ์จึงพร้อมเพรียงกัน

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุบาลี ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้

๑. ย่อมแสดงสิ่งที่ไม่เป็นธรรมว่า ไม่เป็นธรรม

๒. ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นธรรมว่า เป็นธรรม

๓. ย่อมแสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่า มิใช่วินัย

๔. ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นวินัยว่า เป็นวินัย

๕. ย่อมแสดงคำอันตถาคตมิได้ตรัสภาษิตไว้ว่า เป็นคำอันตถาคตมิ ได้ตรัสภาษิตไว้

๖. ย่อมแสดงคำอันตถาคต ตรัสภาษิตไว้ว่า เป็นคำอันตถาคตตรัส ภาษิตไว้

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 319

๗. ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตมิได้ประพฤติมาว่า เป็นกรรม อันตถาคตมิได้ประพฤติมา

๘. ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตประพฤติมาแล้วว่า เป็นกรรม อันตถาคตประพฤติมาแล้ว

๙. ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคต มิได้บัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตมิได้ บัญญัติไว้

๑๐. ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้

๑๑. ย่อมแสดงอนาบัติว่า เป็นอนาบัติ

๑๒. ย่อมแสดงอาบัติว่า เป็นอาบัติ

๑๓. ยอมแสดงอาบัติเบาว่า เป็นอาบัติเบา

๑๔. ย่อมแสดงอาบัติหนักว่า เป็นอาบัติหนัก

๑๕. ย่อมแสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ

๑๖. ย่อมแสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ว่า เป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้

๑๗. ย่อมแสดงอาบัติชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติชั่วหยาบ

๑๘. ย่อมแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ

พวกเธอย่อมไม่ประกาศให้แตกแยกกันด้วยวัตถุ ๑๘ ประการนี้ ย่อม ไม่แยกทำอุโบสถ ย่อมไม่แยกทำปวารณา ย่อมไม่แยกทำสังฆกรรม

ดูก่อนอุบาลี ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล สงฆ์เป็นอันพร้อมเพรียงกัน.

[๔๐๗] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า ก็ภิกษุนั้นทำลาย สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันแล้ว จะได้รับผลอย่างไร

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุบาลี ภิกษุทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันแล้ว ย่อมได้รับผลชั่วร้าย ตั้งอยู่ชั่วกัป ย่อมไหม้ในนรกตลอดกัป.

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 320

นิคมคาถา

[๔๐๘] ภิกษุทำลายสงฆ์ต้องเกิดใน อบาย ตกนรก อยู่ชั่วกัป ภิกษุผู้ยินดีในการ แตกพวก ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมเสื่อมจาก ธรรมอันเกษมจากโยคะ ภิกษุทำลายสงฆ์ผู้ พร้อมเพรียงกัน แล้วย่อมไหม้ในนรกตลอด กัป.

[๔๐๙] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า ก็ภิกษุสมานสงฆ์ ที่แตกกันแล้วให้พร้อมเพรียงกัน จะได้รับผลอย่างไร

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุบาลี ภิกษุสมานสงฆ์ที่แตกกัน แล้วให้พร้อมเพรียงกัน ย่อมได้บุญอันประเสริฐ ย่อมบันเทิงในสรวงสวรรค์ ตลอดกัป.

นิคมคาถา

[๔๑๐] ความพร้อมเพรียงของหมู่ เป็นเหตุแห่งสุข และการสนับสนุนผู้พร้อม เพียงกัน ก็เป็นเหตุแห่งสุข ภิกษุผู้ยินดีใน ความพร้อมเพรียงตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่ เสื่อมจากธรรมอันเกษมจากโยคะ ภิกษุสมาน สงฆ์ ให้พร้อมเพรียงกันแล้ว ย่อมบันเทิง ในสรวงสวรรค์ตลอดกัป.

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 321

ผู้ทำลายสงฆ์ต้องเกิดในอบาย

[๔๑๑] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า มีหรือ พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้ ทำลายสงฆ์ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มี อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ต้องเกิดใน อบาย ตกนรก อยู่ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้

อุ. และมีหรือ พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ต้องเกิดใน อบาย ไม่ตกนรก ไม่ตั้งอยู่ชั่วกัป พอช่วยเหลือได้

พ. มี อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ต้องเกิดในอบาย ไม่ตกนรก ไม่ตั้งอยู่ชั่วกัป พอช่วยเหลือได้

อุ. พระพุทธเจ้าข้า ก็ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้ เป็นไฉน

พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงอธรรมว่า เป็นธรรม มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นอธรรม มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นอธรรม อำพรางความเห็น อำพรางความถูกใจ อำพรางความชอบใจ อำพรางความ จริง ย่อมประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลาย จงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้

อนึ่ง อบาลี ภิกษุย่อมแสดงอธรรมว่า เป็นธรรม มีความเห็นในธรรม นั้นว่าเป็นอธรรม มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นธรรม อำพรางความเห็น อำพรางความถูกใจ อำพรางความชอบใจ อำพรางความจริง ย่อมประกาศให้ จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบ ใจสลากนี้

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 322

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นี้แล ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่ ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้

อนึ่ง อุบาลี ภิกษุย่อมแสดงอธรรมว่าเป็นธรรม มีความเห็นในธรรม นั้นว่าเป็นอธรรม มีความสงสัยในความแตกกัน อำพรางความเห็น อำพราง ความถูกใจ อำพรางความชอบใจ อำพรางความจริง ย่อมประกาศให้จับสลาก ว่านี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้

อนึ่ง อุบาลี ภิกษุย่อมแสดงอธรรมว่าเป็นธรรม มีความเห็นใน อธรรมนั้นว่าเป็นธรรม มีความเห็นในการแตกกันว่าเป็นอธรรม ...

... มีความเห็นในอธรรมนั้นว่าเป็นธรรมมีความสงสัยในความแตก กัน ...

... มีความสงสัยในอธรรมนั้น มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็น อธรรม ...

... มีความสงสัยในอธรรมนั้นมีความเห็นในความแตกกันว่าเป็น ธรรม ...

... มีความสงสัยในอธรรมนั้น มีความสงสัยในความแตกกัน อำพราง ความเห็น อำพรางความถูกใจ อำพรางความชอบใจ อำพรางความจริง ย่อม ประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับ สลากนี้ จงชอบใจสลากนี้

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 323

อนึ่ง อุบาลี ภิกษุย่อมแสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ... ย่อมแสดงสิ่งมิ ใช่วินัยว่าเป็นวินัย ย่อมแสดงวินัยว่ามิใช่วินัย ย่อมแสดงคำอันตถาคตมิได้ตรัส ภาษิตไว้ ว่าเป็นคำอันตถาคตตรัสภาษิตไว้ ย่อมแสดงคำอันตถาคตตรัสภาษิต ไว้ว่า เป็นคำอันตถาคตมิได้ตรัสภาษิตไว้ ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตมิได้ประพฤติมาว่า เป็นกรรมอันตถาคตประพฤติมาแล้ว ย่อมแสดงกรรมอัน ตถาคตประพฤติมาแล้วว่าเป็นกรรมอันตถาคตมิได้ประพฤติมาแล้ว ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคต มิได้บัญญัติไว้ว่าเป็นสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้ ย่อมแสดงอนาบัติว่าเป็นอาบัติ ย่อมแสดงอาบัติ ว่าเป็นอนาบัติ ย่อมแสดงอาบัติเบาว่าเป็นอาบัติหนัก ย่อมแสดงอาบัติหนักว่า เป็นอาบัติเบา ย่อมแสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่าเป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ ย่อม แสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ว่าเป็นอาบัติมีส่วนเหลือ ย่อมแสดงอาบัติชั่วหยาบ ว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ย่อมแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ มี ความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นอธรรม มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นอธรรม มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นอธรรม มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นธรรม มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นอธรรม มีความสงสัยในความแตกกัน มีความ เห็นในธรรมนั้นว่าเป็นธรรม มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นอธรรม มี ความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นธรรม มีความสงสัยในความแตกกัน มีความสงสัย ในธรรมนั้น มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นอธรรม มีความสงสัยในธรรม นั้น มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นธรรม มีความสงสัยในธรรมนั้น มี ความสงสัยในความแตกกัน อำพรางความเห็น อำพรางความถูกใจ อำพราง ความชอบใจ อำพรางความจริง ย่อมประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้.

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 324

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้.

ผู้ทำลายสงฆ์ไม่ต้องเกิดในอบาย

[๔๑๒] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า ก็ภิกษุผู้ทำลาย สงฆ์ไม่ต้องเกิดในอบาย ไม่ตกนรก อยู่ชั่วกัป พอช่วยเหลือได้ เป็นไฉน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อม แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม มีความเห็นในอธรรมนั้นว่าเป็นธรรม มีความเห็น ในความความแตกกันว่าเป็นธรรม ไม่อำพรางความเห็น ไม่อำพรางความถูก ใจ ไม่อำพรางความชอบใจ ไม่อำพรางความจริง ย่อมประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้.

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ไม่ต้องเกิดในอบาย ไม่ตก นรกอยู่ชั่วกัป พอช่วยเหลือได้.

อนึ่ง อุบาลี ภิกษุย่อมแสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ... ย่อมแสดงอาบัติ ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นธรรม มีความ เห็นในความแตกกันว่าเป็นธรรม ไม่อำพรางความเห็น ไม่อำพรางความถูกใจ ไม่อำพรางความชอบใจ ไม่อำพรางความจริง ย่อมประกาศให้จับสลากว่า นี้. ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลาย จงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้.

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ไม่ต้องเกิดในอบาย ไม่ตก นรกอยู่ชั่วกัป พอช่วยเหลือได้.

ตติยภาณวาร จบ

สังฆเภทขันธกะที่ ๗ จบ

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 325

หัวข้อประจำขันธกะ

[๔๑๓] เรื่องพระพุทธเจ้าประทับที่อนุปิยนิคม เรื่องศากยกุมารผู้มี ชื่อเสียง เรื่องพระอนุรุทธะสุขุมาลชาติไม่ปรารถนาจะทรงผนวช เรื่องไถ หว่าน ไขน้ำ ถอนหญ้า เกี่ยวข้าว ขนข้าวตั้งลอม นวดข้าว สงฟาง โปรยข้าวลีบ ขนขึ้นฉาง เรื่องการงานไม่สิ้นสุด มารดา บิดา ปู่ย่า ตายาย ตายไปหมด เรื่องพระภัททิยะ พระอนุรุทธะ พระอานนท์ พระภัคคุ พระกิมพิละ สำคัญ พระองค์ว่าเป็นศากยะ เรื่องพระพุทธเจ้าประทับที่เมืองโกสัมพี เรื่องพระเทวทัตเสื่อมจากฤทธิ์ เรื่องกักกุธโกฬิยบุตรตาย เรื่องประกาศพระเทวทัต เรื่อง ปลงพระชนม์พระชนก เรื่องส่งบุรุษ เรื่องกลิ้งศิลา เรื่องปล่อยช้างนาฬาคิรี เรื่องอำนาจประโยชน์ ๓ ประการ เรื่องวัตถุ ๕ ประการ เรื่องทำลายสงฆ์มี โทษหนัก เรื่องพระเทวทัตทำลายสงฆ์ เรื่องพระให้ภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ ทำลายสงฆ์แสดงอาบัติถุลลัจจัย เรื่ององค์ ๘ สามเรื่อง เรื่องอสัทธรรม ๓ ประการ เรื่องสังฆราชี เรื่องสังฆเภท.

หัวข้อประจำขัมธกะ จบ