พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ขุททกวัตถุขันธกวรรณนา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  13 มี.ค. 2565
หมายเลข  42837
อ่าน  425

[เล่มที่ 9] พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก

เล่ม ๗

จุลวรรค ทุติยภาค

ขุททกวัตถุขันธกวรรณนา

ว่าด้วยการอาบน้ํา 79

ว่าด้วยการแต่งตัวเป็นต้น 80

ว่าด้วยการฟ้อนและขับเป็นต้น 82

ว่าด้วยสรภัญญะ 83

ว่าด้วยบาตร 84

ว่าด้วยมีดและเข็ม 88

ว่าด้วยไม้สะดึง 89

ว่าด้วยเครื่องกรอง 91

ว่าด้วยจงกรมและเรือนไฟ 92

ว่าด้วยการฉัน 93

ว่าด้วยการคว่ําบาตร 94

เรื่องโพธิราชกุมาร 94

ว่าด้วยเครื่องเช็ดเท้า 95

ว่าด้วยพัด 96

ว่าด้วยร่ม 96

ว่าด้วยทัณฑสมมติเป็นต้น 96

ว่าด้วยภิกษุผู้มักอ้วก 97

ว่าด้วยมีดตัดเล็บ 97

ว่าด้วยผมและหนวด 97

ว่าด้วยประคดเอว 98

ว่าด้วยการนุ่งห่ม 99

ว่าด้วยการหาบเป็นต้น 102

ว่าด้วยการจุดไฟ 102

ว่าด้วยการข้นตึ ้นไม้ 103

ว่าด้วยคัมภีร์ทางโลก 103

ว่าด้วยของโลหะเป็นต้น 104


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 9]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 79

ขุททกวัตถุขันธกวรรณนา

[ว่าด้วยการอาบน้ำ]

วินิจฉัยในขุททกวัตถุขันธกะ พึงทราบดังนี้:-

บทว่า มลฺลมุฏฺิกา ได้แก่ นักมวยผู้ชกกันด้วยหมัด.

บทว่า คามปูฏวา ได้แก่ ชนชาวเมืองผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งการ ประดับย้อมผิว, ปาฐะว่า คามโปตกา ก็มี เนื้อความเหมือนกัน.

บทว่า ถมฺเภ ได้แก่ เสาที่เขาปักไว้ที่ท่าเป็นที่อาบน้ำ

บทว่า กุฑฺเฑ ได้แก่ บรรดาฝาอิฐฝาศิลาและฝาไม้ ฝาชนิดใด ชนิดหนึ่ง.

ชนทั้งหลายถากต้นไม้ให้เป็นเหมือนแผ่นกระดานแล้ว ตัดให้เป็นรอย โดยอาการอย่างกระดานหมากรุก แล้วปักไว้ที่ท่าเป็นที่อาบ, ท่าเช่นนี้ชื่อ อัฏฐานะ ในคำว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ ย่อมอาบที่ท่าอันเป็นอัฏฐานะ ชนทั้งหลาย เรี่ยรายจุณแล้วสีกายที่ท่านั้น.

บทว่า คนฺธพฺพหตฺถเกน มีความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ ย่อมอาบ ด้วยมือทีทำด้วยไม้ ที่เขาตั้งไว้ที่ท่าเป็นที่อาบ, ได้ยินว่า ชนทั้งหลายเอามือไม้ นั้นถือจุณถูตัว.

บทว่า กุรุวินฺทกสุตฺติยา ท่านเรียกกำกลมๆ ที่ชนทั้งหลายขยำ เคล้าจุณแห่งศิลามีสีดังพลอยแดง ด้วยครั่งทำไว้. ชนทั้งหลายจับกำกลมๆ นั้น ที่ปลาย ๒ ข้างแล้วถูตัว.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 80

ข้อว่า วิคคยฺห ปริกมฺมํ การาเปนติ มีความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ เอาตัวกับตัวสีเข้ากะกันและกัน.

บังเวียนกระดานที่ทำโดยทรวดทรงอย่างก้นถ้วยจักเป็นฟันมังกร เรียก ชื่อว่า มัลลกะ, บังเวียนกระดานที่จักเป็นฟันนี้ ไม่ควรแม้แก่ภิกษุผู้อาพาธ.

บังเวียนกระดานที่ไม่ได้จักเป็นฟัน ชื่ออกตมัลลกะ, บังเวียนกระดาน ที่ไม่ได้จักเป็นฟันนี้ ไม่ควรแก่ภิกษุผู้ไม่อาพาธ. ส่วนแผ่นอิฐ หรือแผ่น กระเบื้อง ควรอยู่.

บทว่า อุกฺกาสิกํ ได้แก่ เกลียวผ้า. เพราะเหตุนั้น ภิกษุรูปใด รูปหนึ่งผู้อาบน้ำ จะถูหลังด้วยเกลียวผ้าสำหรับอาบ ก็ควร.

การบริกรรมด้วยมือ เรียกว่า ปุถุปาณิกํ. เพราะเหตุนั้น ภิกษุ ทั้งปวงจะทำบริกรรมหลังด้วยมือ ควรอยู่

[ว่าด้วยการแต่งตัวเป็นต้น]

คำว่า วลฺลิกา นี้ เป็นชื่อแห่งเครื่องประดับหูเป็นต้นว่า แก้วมุกดา และตุ้มหูที่ห้อยออกจากหู. ก็แล จะไม่ควรแต่ตุ้มหูอย่างเดียวเท่านั้นหามิได้, เครื่องประดับหูอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยที่สุด แม้เป็นใบตาล ก็ไม่ควร.

สายสร้อยชนิดใดชนิดหนึ่ง ชื่อว่า สังวาล.

เครื่องประดับสำหรับแต่งที่คอ ชนิดใดชนิดหนึ่ง ชื่อว่า สร้อยคอ.

เครื่องประดับเอวชนิดใดชนิดหนึ่ง โดยที่สุดแม้เพียงเป็นสายด้าย ชื่อว่า สายรัดเอว.

วลัย ชื่อว่า เข็มขัด.

บานพับ (สำหรับรัดแขน) เป็นต้น ปรากฏชัดแล้ว เครื่องประดับ ไม่เลือกว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ไม่ควร.

วินิจฉัยในคำว่า ทุมาสิกํ วา ทุวงฺคุลํ วา นี้ พึงทราบดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 81

หากว่า ภายใน ๒ เดือน ผมยาวถึง ๒ นิ้วไซร้, ต้องปลงเสียภายใน ๒ เดือนเท่านั้น, จะปล่อยให้ยาวเกิน ๒ นิ้วไป ไม่ควร.

แม้ถ้าไม่ยาว, จะปล่อยให้เกินกว่า ๒ เดือนไปแม้วันเดียว ก็ไม่ได้ เหมือนกัน นี้เป็นกำหนดอย่างสูง ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยบททั้ง ๒ ด้วยประการฉะนี้. แต่หย่อนกว่ากำหนดนั้น ขึ้นชื่อว่าความสมควร ไม่มีหามิได้.

สองบทว่า โกจฺเฉน โอสณฺเหนฺติ มีความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ แปรงเสยผมทำให้เรียบ.

บทว่า ผณเกน มีความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ ใช้หวีอย่างใดอย่างหนึ่ง มีหวีงาเป็นต้น เสยผมให้เรียบ.

บทว่า หตฺถผณเกน มีความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ เมื่อจะใช้มือนั่นเอง ต่างหวี จึงเสยผมด้วยนิ้วมือทั้งหลาย.

บทว่า สิตฺถเตลเกน มีความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ เสยผมด้วยของ เหนียวอย่างใดอย่างหนึ่ง มีขี้ผึ้งและยางเป็นต้น.

บทว่า อุทกเตลเกน มีความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ เสยผมด้วยน้ำมัน เจือน้ำ, เพื่อประโยชน์แก่การประดับ ปรับทุกกฏทุกแห่ง, แต่พึงชุบมือให้ เปียกแล้วเช็ดศีรษะ เพื่อยังผมที่มีปลายงอนให้ราบไปตามลำดับ, จะเอามือ อันเปียกเช็ดแม้ซึ่งศีรษะที่ร้อนจัด ด้วยความร้อนและเปื้อนธุลี ก็ควร.

วินิจฉัยในคำว่า น ภิกฺขเว อาทาเส วา อุทกปตฺเต วา พึงทราบดังนี้:-

เงาหน้าย่อมปรากฏในวัตถุเหล่าใด วัตถุเหล่านั้นทั้งหมด แม้มีแผ่น สำริดเป็นต้น ย่อมถึงความนับว่ากระจกเหมือนกัน, แม้วัตถุมีน้ำส้มพะอูม เป็นต้น ย่อมถึงความนับว่า ภาชนะน้ำเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงเป็นทุกกฏ แก่ภิกษุผู้แลดู (เงาหน้า) ในที่ใดที่หนึ่ง.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 82

บทว่า อาพาธปจฺจยา มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุดูเงาหน้าเพื่อ รู้ว่า แผลของเรามีผิวเต็มหรือยังก่อน.

(ในปุรามอรรถกถา) กล่าวว่า สมควรมองดูเงาหน้า เพื่อตรวจดู อายุสังขารอย่างนี้ว่า เราแก่หรือยังหนอ ดังนี้ก็ได้.

สองบทว่า มุขํ อาลิมฺเปนฺติ มีความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ ย่อมผัด ด้วยเครืองผัดหน้า สำหรับทำให้หน้ามีผิวผุดผ่อง.

บทว่า อุมฺมทฺเทนฺติ มีความว่า ย่อมไล้หน้า ด้วยเครื่องไล้ต่างๆ.

บทว่า จุณฺเณนฺติ มีความว่า ย่อมทา ด้วยจุณสำหรับทาหน้า.

หลายบทว่า มโนสิลกาย มุขํ ลญฺเฉนฺติ มีความว่า ย่อมทำ การเจิมเป็นจุดๆ เป็นต้น ด้วยมโนศิลา. การเจิมเหล่านั้น ย่อมไม่ควร แม้ ด้วยวัตถุมีหรดาลเป็นต้นแท้. การย้อมตัวเป็นต้น ชัดเจนแล้ว ปรับทุกกฏ ในที่ทั้งปวง.

[ว่าด้วยการฟ้อนและขับเป็นต้น]

วินิจฉัยในคำว่า น ภิกฺขเว นจฺจํ วา เป็นอาทิ พึงทราบดังนี้:-

เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไปเพื่อดูการฟ้อนอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยที่สุด แม้การฟ้อนแห่งนกยูง. เมื่อภิกษุฟ้อนแม้เองก็ตาม ให้ผู้อื่นฟ้อนก็ตาม เป็น ทุกกฏเหมือนกัน. แม้การขับอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นการขับของคนฟ้อนก็ตาม เป็นการขับที่ดี (คือ เนื่องเฉพาะด้วยอนิจจธรรมเป็นต้น) ก็ตาม โดยที่สุด แม้การขับด้วยฟันก็ไม่ควร.

ภิกษุคิดว่า เราจักขับ แล้วร้องเสียงเปล่าในส่วนเบื้องต้นเพลงขับ แม้การร้องเสียงเปล่านั้น ก็ไม่ควร. เมื่อภิกษุขับเองก็ตาม ให้ผู้อินขับก็ตาม เป็นทุกกฏเหมือนกัน. แม้การประโคม อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ไม่ควร. แต่เมื่อ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 83

รำคาญหรือตั้งอยู่ในที่น่ารังเกียจ จึงดีดนิ้วมือก็ตาม ตบมือก็ตาม, ในข้อนั้น ไม่เป็นอาบัติ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้อยู่ภายในวัด เห็นการเล่นทุกอย่างมีการ ฟ้อนเป็นต้น.

เมื่อภิกษุออกจากวัดไปสู่วัด (อื่น) ด้วยตั้งใจว่า เราจักดู ดังนี้ เป็น อาบัติแท้. นั่งอยู่ที่อาสนศาลาแล้วเห็น, ไม่เป็นอาบัติ. ลุกเดินไปด้วยคิดว่า เราจักดู เป็นอาบัติ. แม้ยืนอยู่ที่ถนนเหลียวคอไปดู เป็นอาบัติเหมือนกัน.

[ว่าด้วยสรภัญญะ]

บทว่า สรกุตฺตึ ได้แก่ ทำเสียง.

สองบทว่า ภงฺโค โหติ มีความว่า ไม่อาจเพื่อจะยังสมาธิที่ตนยัง ไม่ได้ ให้เกิดขึ้น, ไม่อาจเพื่อจะเข้าสมาธิที่ตนได้แล้ว.

ข้อว่า ปจฺฉิมา ชนตา เป็นอาทิ มีความว่า ประชุมชนในภายหลัง ย่อมถึงความเอาอย่างว่า อาจารย์ก็ดี อุปัชฌาย์ก็ดี ของเราทั้งหลายขับแล้ว อย่างนี้ คือ ขับอย่างนั้นเหมือนกัน.

วินิจฉัยในข้อว่า น ภิกฺขเว อายตเกน นี้ พึงทราบดังนี้ :-

เสียงขับที่ทำลายวัตร (คือวิธีเปลี่ยนเสียง) นั้นๆ ทำอักขระให้เสีย ชื่อเสียงขับอันยาว. ส่วนในธรรม วัตรสำหรับสุตตันตะก็มี วัตรสำหรับชาดก ก็มี วัตรสำหรับคาถาก็มี การที่ยังวัตรนั้นให้เสีย ทำเสียงให้ยาวเกินไป ไม่ควร. พึงแสดงบทและพยัญชนะให้เรียบร้อยด้วยวัตร (คือการเปลี่ยนเสียง) อนกลมกล่อม.

บทว่า สรภญฺํ คือ การสวดด้วยเสียง. ได้ยินว่า ในสรภัญญะ มีวัตร ๓๒ มีตรังควัตร (ทำนองดังคลื่น) โทหกวัตร (ทำนองดังรีดนมโค) คลิวัตร (ทำนองดังของเลื่อน) เป็นต้น. ในวัตรเหล่านั้นภิกษุย่อมได้เพื่อใช้ วัตรที่ตนต้องการ.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 84

การที่ไม่ยังบทและพยัญชนะให้เสียคือ ไม่ทำให้ผิดเพี้ยนเปลี่ยนโดยนัย ที่เหมาะ ซึ่งสมควรแก่สมณะนั้นแล เป็นลักษณะแห่งวัตรทั้งปวง.

สองบทว่า พาหิรโลมึ อุณฺณึ มีความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ ห่มผ้า ปาวารขนสัตว์เอาขนไว้ข้างนอก. เป็นทุกกฎแก่ภิกษุผู้ทรงอย่างนั้น. จะห่ม เอาขนไว้ข้างใน ควรอยู่..

สมณกัปปกถา ได้กล่าวไว้แล้วในอรรถกถาแห่งภูตคามสิกขาบท.

หลายบทว่า น ภิกฺขเว อตฺตโน องฺคชาตํ มีความว่า เป็น ถุลลัจจัย แก่ภิกษุผู้ตัดองคชาตเท่านั้น. แม้เมื่อภิกษุตัดอวัยวะอื่นอย่างใด อย่างหนึ่ง มีหูจมูกและนิ้วเป็นต้นก็ตาม ยังทุกข์เช่นนั้นให้เกิดขึ้นก็ตาม เป็น ทุกกฏ. แต่ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้กอกโลหิตหรือตัดอวัยวะเพราะถูกงูหรือร่าน กัดเป็นต้นก็ตาม เพราะปัจจัยคืออาพาธอย่างอื่นก็ตาม.

[ว่าด้วยบาตร]

สามบทว่า จนฺทนคณฺี อุปฺปนฺนา โหติ มีความว่า ปุ่มไม้จันทน์ เป็นของเกิดขึ้นแล้ว.

ได้ยินว่า ราชคหเศรษฐีนั้นให้ขึงข่ายทั้งเหมือน้ำ และใต้น้ำแล้ว เล่นในแม่น้ำคงคา. ปุ่มไม้จันทน์อันกระแสแห่งแม่น้ำนั้นพัดลอยมาติดที่ข่าย. บุรุษทั้งหลายของเศรษฐีนั้น ได้นำปุ่มไม้จันทน์นั้นมาให้. ปุ่มไม้จันทน์นั้น เป็นของเกิดขึ้น ด้วยประการฉะนี้.

อิทธิปาฏิหาริย์ คือ การแผลง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว ในบทว่า อิทฺธิปาฏิหาริยํ นี้.

ส่วนฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยอำนาจอธิษฐานพึงทราบว่า ไม่ได้ทรงห้าม.

วินิจฉัยในคำว่า น ภิกฺขเว โสวณฺณมโย ปตฺโต เป็นต้น พึงทราบดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 85

ก็ถ้าว่า คฤหัสถ์ทั้งหลาย ทำกับข้าวใส่ในภาชนะมีจานทองคำเป็นต้น น้อมเข้าไปถวายในโรงครัว, ไม่ควรแม้เพื่อจะถูกต้อง.

อนึ่ง ภาชนะทั้งหลาย มีจานเป็นต้น ที่ทำด้วยแก้วผลึก ทำด้วย กระจกและทำด้วยสำริดเป็นต้น ย่อมไม่ควร แต่เพียงใช้เป็นของส่วนตัวเท่านั้น ใช้เป็นของสงฆ์ หรือเป็นคิหิวิกัติ (คือ เป็นของคฤหัสถ์) ควรอยู่.

บาตร แม้เป็นวิการแห่งทองแดง ก็ไม่ควร ส่วนภาชนะควร. คำ ทั้งปวงที่ว่าดังนี้ๆ ท่านกล่าวไว้ในกุรุนที.

ส่วนบาตรที่แล้วด้วยแก้วมีแก้วอินทนิลเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสในบทว่า มณิมโย นี้.

บาตรแม้ล้วนแล้วด้วยทองห้าว ท่านรวมเข้าในบทว่า กํสมโย นี้

คำว่า เพื่อกลึง นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพื่อประโยชน์แก่การทำ ให้บาง

บังเวียนปกตินั้น ได้แก่ บังเวียนที่จักเป็นฟันมังกร.

บทว่า อาวตฺติตฺวา ได้แก่ กระทบกันและกัน.

วินิจฉัยในคำว่า ปตฺตาธารฺกํ นี้ พึงทราบดังนี้ :-

ในกุรุนทีกล่าวว่า บนเชิงบาตรที่เนื่องกับพื้น ซึ่งทำด้วยงาเถาวัลย์ และหวายเป็นต้น ควรวางซ้อนๆ กันได้ ๓ บาตร บนเชิงไม้ ควรวางซ้อน กันได้ ๒ บาตร.

ส่วนในมหาอรรถกถากล่าวว่า บนเชิงบาตรที่เนื่องกับพื้น ไม่เป็น โอกาสแห่งบาตร ๓ ใบ จะวางแต่ ๒ ใบ ก็ควร. แม้ในเชิงบาตรไม้และเชิง บาตรท่อนไม้ ซึ่งตกแต่งเกลี้ยงเกลาดี ก็มีนัยเหมือนกัน.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 86

ก็แล เชิงบาตรไม้ที่คล้ายปลายเครื่องกลึง และเชิงบาทรท่อนไม้ที่ผูก ด้วยไม้ ๓ ท่อน ไม่เป็นโอกาสแห่งบาตรแม้ใบเดียว. แม้วางบนเชิงนั้นแล้ว ก็ต้องนั่งเอามือยึดไว้อย่างนั้น. ส่วนบนพื้นพึงคว่ำวางไว้แต่ใบเดียวเท่านั้น.

บทว่า มิฒนฺเต ได้แก่ ริมเฉลียงและกระดานเลียบเป็นต้น. ก็ถ้าว่า บาตรกลิ้งไปแล้ว จะค้างอยู่บนริมกระดานเลียบนั่นเอง; จะวางบนกระดานเลียบ อันกว้างเห็นปานนั้น ก็ควร.

บทว่า ปริภณฺฑนฺเต ได้แก่ ริมกระดานเลียบอันแคบซึ่งเขาทำไว้ ที่ข้างภายนอก.

วินิจฉัยแม้ในกระดานเลียบอันแคบนี้ ก็พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วใน กระดานเลียบนั่นแล.

บทว่า โจฬกํ ได้แก่ ผ้าที่เขาปูลาดแล้ววางบาตร. ก็เมื่อผ้านั้นไม่มี ควร วางบนเสื่อลำแพนหรือบนเสืออ่อน หรือบนพื้นที่เขาทาขัดด้วยดินเหนียว หรือ บนพื้นเห็นปานนั้น ซึ่งจะไม่ประทุษร้ายบาตร หรือบนทรายก็ได้.

แต่เมื่อภิกษุวางในที่มีดินร่วนและฝุ่นเป็นต้น หรือบนพื้นที่คมแข็ง ต้องทุกกฏ.

โรงสำหรับเก็บบาตรนั้น จะก่อด้วยอิฐหรือทำด้วยไม้ ก็ควร.

หม้อสำหรับเก็บสิ่งของ ทรวดทรงคล้ายอ่างน้ำ มีปากกว้าง เรียกว่า หม้อสำหรับเก็บบาตร.

สองบทว่า โย ลคฺเคยฺย มีความว่า เป็นอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ แขวนบาตรในที่ใดที่หนึ่ง. จะผูกแขวนไว้แม้ที่ราวจีวร ก็ไม่ควร.

เตียงและตั่ง จะเป็นของที่เขาทำไวั เพื่อวางสิ่งของเท่านั้น หรือเพื่อ นั่งนอน ก็ตามที, เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้วางบาตรบนเตียงหรือตั่งอันใดอันหนึ่ง.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 87

แต่จะมัดรวมกับของอื่นวางไว้ ควรอยู่. หรือจะผูกที่แม่แคร่ห้อยไว้ ก็ควร. จะผูกแล้ววางข้างบนเตียงและตั่ง ไม่ควรเหมือนกัน.

ก็ถ้าว่า เตียงหรือตั่ง เป็นของที่เขายกขึ้นพาดเป็นนั่งร้านบนราวจีวร เป็นต้น, จะวางบนเตียงหรือตั่งนั้น. ก็ควร. จะเอาสายโยกคล้องบนจะงอยบ่า แล้ววางบนตัก ก็ควร. ถึงบาตรที่คล้องบนจะงอยบ่าแม้เต็มด้วยข้าวสุก ก็ไม่ ควรวางบนร่ม. แต่จะวางบาตรชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือบนร่มที่ผูกมัดเป็นร้าน ม้าควรอยู่.

วินิจฉัยในคำว่า ปตฺตหตฺเถน พึงทราบดังนี้:-

บาตรของภิกษุใดอยู่ในมือ ภิกษุนั้นแล ชื่อว่าผู้มีบาตรในมืออย่างเดียว หามิได้, อนึ่ง ภิกษุผู้มีบาตรอยู่ในมือ ย่อมไม่ได้เพื่อผลักบานประตูอย่างเดียว เท่านั้นหามิได้.

แต่อันที่จริง เมื่อบาตรอยู่ในมือหรือบนหลังเท้า หรือที่อวัยวะแห่ง สรีระอันใดอันหนึ่ง ภิกษุย่อมไม่ได้เพื่อจะผลักบานประตูหรือเพื่อจะถอดลิ่มสลัก หรือเพื่อจะเอาลูกกุญแจไขแม่กุญแจ ด้วยมือหรือด้วยหลังเท้า หรือด้วยศีรษะ หรือด้วยอวัยวะแห่งสรีระอันใดอันหนึ่ง. แต่คล้องบาตรบนจะงอยบ่าแล้ว ย่อม ได้เพื่อเปิดบานประตูตามความสบายแท้.

กะโหลกน้ำเต้า เรียกว่า ตุมฺพกฏาห จะรักษากะโหลกน้ำเต้านั้น ไว้ ไม่ควร. ก็แลได้มาแล้วก็จะใช้เป็นของยืม ควรอยู่. แม้ในกระเบื้อง หม้อ ก็มีนัยเหมือนกัน.

กระเบื้องหม้อเรียกว่า ฆฏิกฏาห.

คำว่า อพฺภุมฺเม นี้ เป็นคำแสดงความตกใจ.

วินิจฉัยในบทว่า สพฺพปํสุกูลิเกน นี้ พึงทราบดังนี้ :-

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 88

จีวร เตียง และตั่ง เป็นของบังสกุล ย่อมควร. ส่วนของที่จะพึง กลืนกิน อันเขาให้แล้วนั่นแล พึงถือเอา.

บทว่า จลกานิ ได้แก่ อามิสที่จะทิ้งคายออกไม่กลืน.

บทว่า อฏฺิกานิ ได้แก่ ก้างปลาหรือกระดูกเนื้อ.

บทว่า อุจฺฉิฏฺโทกํ ได้แก่ น้ำบวนปาก. เมื่อภิกษุผู้ใช้บาตร ขนทิ้งซึ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในอามิสที่เป็นเดนเป็นต้นนั้น เป็นทุกกฏ ภิกษุย่อม ไม่ได้ แม้เพื่อจะทำบาตรให้เป็นกระโถนล้างมือ จะใส่แม้ซึ่งน้ำล้างมือล้างเท้า ลงในบาตรแล้วนำไปเท ก็ไม่ควร. จะจับบาตรที่สะอาด ไม่เปื้อน ด้วยมือ ที่เปื้อน ก็ไม่ควร. แต่จะเอามือซ้ายเทน้ำลงในบาตรที่สะอาดนี้แล้ว อมเอา น้ำอม ๑ แล้วจึงจับด้วยมือที่เปื้อน ควรอยู่. จริงอยู่ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บาตรนั้น ย่อมเป็นบาตรเปื้อนด้วย.

อนึ่ง จะล้างมือที่เปื้อนด้วยน้ำข้างนอกแล้ว จึงจับ (บาตร) ควรอยู่

เมื่อฉันเนื้อปลาและผลาผลเป็นต้นอยู่ ในของเหล่านั้น สิ่งใดเป็นก้าง หรือกระดูกหรือเป็นเดน เป็นผู้ใคร่จะทิ้งเสีย จะเอาสิ่งนั้นวางลงในบาตร ย่อมไม่ได้. ส่วนสิ่งใด ยังอยากจะฉันต่อไปอีก จะเอายาสิ่งนั้นวางลงในบาตร ก็ได้. จะวางเนื้อที่มีกระดูกและปลาที่มีก้างเป็นต้น ในบาตรนั้นและเอามือ ปล้อนออกฉัน ก็ควร. แต่สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เอาออกจากปากแล้ว ยังอยากจะฉันอีก จะเอาสิ่งนั้นวางในบาตรไม่ได้.

ชิ้นขิงและชิ้นมะพร้าวเป็นต้น กัดกินแล้วจะวางอีกก็ได้.

[ว่าด้วยมีดและเข็ม]

บทว่า นมตกํ ได้แก่ ท่อนผ้าสำหรับห่อมีด.

บทว่า ทณฺฑสตฺถกํ ได้แก่ มีดที่เข้าด้ามอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นมีด พับหรือมีดอื่นก็ได้.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 89

สองบทว่า กณฺณกิตาโย โหนฺติ คือ เป็นของอันสนิมจับ.

สองบทว่า กิณฺเณน ปูเรตุํ มีความว่า เราอนุญาตให้บรรจุให้เต็ม ด้วยผงเป็นแป้งเหล้า.

บทว่า สตฺตุยา มีความว่า เราอนุญาตให้บรรลุให้เต็มด้วยผงแป้งเจือ ด้วยขมิ้น.

แม้จุลแห่งศิลา เรียกว่า ผงหิน. ความว่า เราอนุญาตให้บรรจุให้ เต็มด้วยผงศิลานั้น.

สองบทว่า มธุสิตฺถเกน สาเรตุํ มีความว่า เราอนุญาตให้พอก (เข็ม) ด้วยขี้ผึ้ง.

สองบทว่า สริตกมฺปิ ปริภิชฺชติ มีความว่า ขี้ผึ้งที่พอกไว้นั้น แตกกระจาย.

บทว่า สริตสิปาฏกํ ได้แก่ ผ้าห่อขี้ผึ้ง คือปักมีด. ในกุรุนที่กล่าวว่า และผูกมีดก็อนุโลมตามผ้าห่อเข็มนั้น.

[ว่าด้วยไม้สะดึง]

ไม้สะดึงนั้น ได้แก่ แม่สะดึงบ้าง เสื่อหวายหรือเสื่อลำแพนอย่างใด อย่างหนึ่ง ที่จะพึงปูบนแม่สะดึงนั้นบ้าง.

เชือกผูกไม้สะดึงนั้น ได้แก่ เชือกสำหรับผูกจีวรที่ไม้สะดึงเมื่อเย็บ จีวร ๒ ชั้น.

สองบทว่า กินํ นปฺปโหติ มีความว่า ไม้สะดึงที่ทำตามขนาด ของภิกษุที่สูง จีวรของภิกษุที่เตี้ย เมื่อขึงลาดบนไม้สะดึงนั้นย่อมไม่พอ คือ หลวมอยู่ภายในเท่านั้น, อธิบายว่า ไม่ถึงไม้ขอบสะดึง.

บทว่า ทณฺฑกินํ มีความว่า เราอนุญาตให้ผูกสะดึงอื่นตามขนาด ของภิกษุผู้เตี้ยนอกนี้ ในท่ามกลางแห่งแม่สะดึงยาวนั้น.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 90

บทว่า วิทลกํ ได้แก่ การพับชายโดยรอบแห่งเสื่อหวายทำให้เป็น ๒ ชั้น พอได้ขนาดกับกระทงสะดึง.

บทว่า สุลากํ ได้แก่ ซี่ไม้สำหรับสอดเข้าในระหว่างแห่งจีวร ๒ ชั้น.

บทว่า วินทฺธนรชฺชุํ ได้แก่ เชือกที่มัดแม่สะดึงเล็กกับแม่สะดึง ใหญ่ ที่ไม้สะดึงนั้น.

บทว่า วินทุธนสุตฺตกํ ได้แก่ ด้ายที่ตรึงจีวรติดกับแม่สะดึงเล็ก.

สามบทว่า วินทฺธิตฺวา จีวรํ สิพฺเพตุํ มีความว่า เราอนุญาต ให้ตรึงจีวรที่แม่สะดึงนั้น ด้วยด้ายนั้นแล้วเย็บ.

สองบทว่า วิสมา โหนฺติ มีความว่า ด้วยเกษียนบางแห่งเล็ก บางแห่งใหญ่.

บทว่า กฬิมฺพกํ ได้แก่ วัตถุมีใบตาลเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง สำหรับทำการวัดขนาด.

บทว่า โมฆสุตฺตกํ ได้แก่ การทำแนวเครื่องหมาย ด้วยเส้น บรรทัคขมิ้น ดังการทำแนวเครื่องหมายที่ไม้ ด้วยเส้นบรรทัดดำของพวกช่าง ไม้ฉะนั้น.

สองบทว่า องฺคุลิยา ปฏิคฺคณฺหนฺติ มีความว่า ภิกษุทั้งหลาย (เย็บจีวร) รับปากเข็มด้วยนิ้วมือ.

บทว่า ปฏิคฺคหํ ได้แก่ สนับแห่งนิ้วมือ.

ภาชนะมีถาดและผอบเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อภาชนะสำหรับใส่ และกระบอก.

บทว่า อุจฺจวตฺถุกํ มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุถมดินทำพื้นที่ ให้สูง.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 91

หลายบทว่า โอคุมฺเพตฺวา อุลฺลิตฺตาวลิตฺตํ กาตุํ มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุรื้อหลังคาเสียแล้วทำระแนงให้ทึบ โบกทั้งข้างในและข้างนอก ด้วยดินเหนียว.

บทว่า โคฆํสิกาย มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุใส่ไม้ไผ่หรือไม้จริง ไว้ข้างในแล้วม้วนแม่สะดึงกับไม้นั้น.

บทว่า พนฺธนรชฺชุํ ได้แก่ เชือกสำหรับมัดแม่สะดึงที่ม้วนแล้ว อย่างนั้น

[ว่าด้วยเครื่องกรอง]

ผ้ากรองที่ผูกติดกับไม้ ๓ อัน ชื่อกระชอนสำหรับกรอง.

ข้อว่า โย น ทเทยฺย มีความว่า ภิกษุใดไม่ให้ผ้ากรองแก่ภิกษุ ผู้ไม่มีผ้ากรองนั่นแล, เป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้นแท้.

ฝ่ายภิกษุใด เมื่อผ้ากรองในมือของตนแม้มีอยู่ แต่ยังยืม ไม่อยากให้ ก็อย่าพึงให้ภิกษุนั้น.

บทว่า ทณฺฑกปริสฺสาวนํ มีความว่า พึงผูกผ้ากับไม้ที่ทำดังแม่ บันไดขั้นกลาง ซึ่งผูกติดบนขา ๔ ขา แล้วเทน้ำลงตรงกลางไม้ที่ดังเครื่องกรอง ด่างของพวกช่างย้อม. น้ำนั้นเต็มทั้ง ๒ ห้องแล้วย่อมไหลออก. ภิกษุทั้งหลาย

[๓๔๓] ลาดผ้ากรองใดลงในน้ำแล้วเอาหม้อตักน้ำ ผ้ากรองนั้น ชื่อ โอตฺถริกํ.

จริงอยู่ ภิกษุทั้งหลายผูกผ้าติดกับไม้ ๔ อัน ปักหลัก ๔ หลักลงใน น้ำแล้ว ผูกผ้ากรองนั้นติดกับหลักนั้น ให้ริมผ้าโดยรอบทั้งหมดพ้นจากน้ำ ตรงกลางหย่อนลง แล้วเอาหม้อตักน้ำ.

เรือนที่ทำด้วยจีวร เรียกว่า มุ้งกันยุง.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 92

[ว่าด้วยจงกรมและเรือนไฟ]

บทว่า อภิสนฺนกายา คือ ผู้มีกายหมักหมมด้วยสิ่งอันเป็นโทษมี เสมหะเป็นต้น.

เสาสำหรับใส่ลิ่ม ขนาดเท่ากับบานประตูพอดี เรียกชื่อว่าอัคคฬวัฏฎิ เสาสำหรับใส่ลิ่มนั้น เป็นเสาที่เขาเจาะรูไว้ ๓ - ๔ รู แล้ว ใส่ลิ่ม.

ห่วงสำหรับใส่ดาล ที่เขาเจาะบานประตูแล้วตรึงติดที่บานประตูนั้น เรียกชื่อว่า สลักเพชร. ลิ่มที่เขาทำช่องที่ตรงกลางสลักเพชรแล้วสอดไว้ ชื่อ สูจิกา กลอนที่เขาติดไว้ข้างบนสลักเพชร ชื่อฆฎิกา.

สองบทว่า มณฺฑลิกํ กาตุํ มีความว่า เราอนุญาตให้ก่อพื้นให้ต่ำ.

ปล่องควันนั้น ได้แก่ ช่องสำหรับควันไฟออก.

บทว่า วาเสตุํ มีความว่า เราอนุญาตให้อบด้วยของหอมทั้งหลาย.

อุทกนิธานนั้น ได้แก่ ที่สำหรับขังน้ำ ภิกษุใช้หม้อตักน้ำขังไว้ใน นั้นแล้ว เอาขันตักน้ำใช้.

ซุ้มน้ำ ได้แก่ ซุ้มประตู.

วินิจฉัยในคำว่า ติสฺโส ปฏิจฺฉาทิโย นี้ พึงทราบดังนี้ :-

เครื่องปกปิด คือ เรือนไฟ ๑ เครื่องปกปิด คือ น้ำ ๑ ควรแก่ ภิกษุผู้ทำบริกรรมเท่านั้น. ไม่ควรในสามีจิกรรมทั้งหลายมีอภิวาทเป็นต้นที่ยัง เหลือ. เครื่องปกปิด คือ ผ้า ควรในกรรมทั้งปวง

ข้อว่า น้ำไม่มีนั้น ได้แก่ ไม่มีสำหรับอาบ. i

บทว่า ตุลํ ได้แก่ คันสำหรับโพงเอาน้ำขึ้น ดังคันชั่งของพวกชาว ตลาด.

[๓๔๔] ยนต์ที่เทียมโค หรือใช้มือจับชักด้วยเชือกอันยาว เรียกว่า ระหัด.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 93

ยนต์ที่มีหม้อผูกติดกับซี่ เรียกว่า กังหัน.

ภาชนะที่ทำด้วยหนัง ซึ่งจะพึงผูกติดกับคันโพงหรือระหัด ชื่อว่า ท่อนหนัง.

สองบทว่า ปากฏา โหติ มีความว่า บ่อน้ำครำ เป็นที่ไม่ได้ล้อม.

บทว่า อุทกปุญฺฉนี มีความว่า เครื่องเช็ดน้ำ ทำด้วยงาก็ดี ทำ ด้วยเขาก็ดี ทำด้วยไม้ก็ดี ย่อมควร. เมื่อเครื่องเช็ดน้ำนั้นไม่มี จะใช้ผ้าซับน้ำ ก็ควร.

บทว่า อุทกมาติกํ ได้แก่ ลํารางสำหรับน้ำไหล.

เรือนไฟที่ติดปั่นลมโดยรอบ เรียกชื่อว่า เรือนไฟไม่มีรอยมุง.

คำว่า เรือนไฟไม่มีรอยมุงนั้น เป็นชื่อแห่งเรือนไฟที่มีหลังคาทำเป็น ยอด ติดปั่นลมที่มณฑลช่อฟ้าบนกลอนทั้งหลาย.

สองบทว่า จาตุมฺมาสํ นิสีทเนน มีความว่า ภิกษุไม่พึงอยู่ปราศ จากผ้านิสีทนะตลอด ๔ เดือน.

บทว่า ปุปฺผาภิกิณฺเณสุ มีความว่า ภิกษุไม่พึงนอนบนที่นอนที่ เขาประดับด้วยดอกไม้.

บทว่า นมตกํ มีความว่า เครื่องปูนั่งคล้ายสันถัตที่ทำ คือทอด้วย ขนเจียม พึงใช้สอย โดยบริหารไว้อย่างท่อนหนัง.

[ว่าด้วยการฉัน]

ชื่อว่า อาสิตฺตกูปธานํ นั้น เป็นคำเรียก ลุ้ง ที่ทำด้วยทองแดง หรือด้วยเงิน. อนึ่ง ลุ้งนั้น แม้ทำด้วยไม้ ก็ไม่ควร เพราะเป็นของที่ทรง ห้ามแล้ว.

เครื่องรองทำด้วยไม้ทั้งท่อน เรียกว่า โตก. แม้เครื่องรองที่ทำด้วยใบ กระเช้าและตะกร้า ก็นับเข้าในโตกนี้เหมือนกัน.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 94

[๓๔๕] จริงอยู่ วัตถุมีไม้เส้าเป็นต้นนั้น จำเดิมแต่ที่ถึงความรวมลง ว่าเป็นเครื่องรอง มีช่องเจาะไว้ข้างในก็ตาม เจาะไว้โดยรอบก็ตาม ควร เหมือนกัน.

วินิจฉัยในคำว่า เอกภาชเน นี้ พึงทราบดังนี้ :-

หากว่า ภิกษุรูปหนึ่งถือเอาผลไม้ หรือขนมจากภาชนะไป, ครั้นเมื่อ ภิกษุนั้นหลีกไปแล้ว การที่ภิกษุนอกนี้จะฉันผลไม้หรือขนมที่ยังเหลือ ย่อม ควร. แม้ภิกษุนอกจากนี้ จะถือเอาอีกในขณะนั้นก็ควร.

[ว่าด้วยการคว่ำบาตร]

วินิจฉัยในคำว่า อฏฺหงฺเคหิ นี้พึงทราบดังนี้:-

การที่สงฆ์คว่ำบาตรในภายในสีมา หรือไปสู่ภายนอกสีมาคว่ำบาตรใน ที่ทั้งหลายมีแม่น้ำเป็น แก่อุบาสกผู้ประกอบแม้ด้วยองค์อันหนึ่งๆ ย่อมควรทั้ง นั้น.

ก็แล เมื่อบาตรอันสงฆ์คว่ำแล้วอย่างนั้น ไทยธรรมไรๆ ในเรือน ของอุบาสกนั้น อันภิกษุทั้งหลายไม่พึงรับ. พึงส่งข่าวไปในวัดแม้เหล่าอื่นว่า ท่านทั้งหลายอย่ารับภิกษา ในเรือนของอุบาสกโน้น

ก็ในการที่จะหงายบาตร ต้องให้อุบาสกนั้น ขอเพียงครั้งที่ ๓ ให้ อุบาสกนั้นละหัตถบาสแล้ว หงายบาตรด้วยญัตติทุติยกรรม.

[เรื่องโพธิราชกุมาร]

สองบทว่า ปุรกฺขิตฺวา ได้แก่ จัดไว้โดยความเป็นยอด.

บทว่า สํหรนฺตุ มีความว่า ผ้าทั้งหลายอันท่านจงม้วนเสีย.

บทว่า เจฬปฏิกํ ได้แก่ เครื่องปูลาด คือ ผ้า

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 95

ได้ยินว่า โพธิราชกุมารนั้น ปูลาดแล้วด้วยความมุ่งหมายนี้ว่า ถ้าว่า เราจักได้บุตร, พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงเหยียบผืนผ้าของเรา.

จริงอยู่ โพธิราชกุมารนั้น ไม่สมควรได้บุตร; เพราะเหตุนั้น พระ ผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ทรงเหยียบ. หากว่า พระองค์พึงทรงเหยียบไซร้, ภาย หลังเมื่อกุมารไม่ได้บุตร จะพึงถือทิฏฐิว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านี้ มิใช่พระ สัพพัญญู. นี้เป็นเหตุในการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงเหยียบก่อน.

ฝ่ายภิกษุทั้งหลายเล่า เธอเหล่าใด ไม่รู้อยู่ พึงเหยียบ, เธอเหล่านั้น พึงเป็นผู้ถูกพวกคฤหัสถ์ดูหมิ่น, เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรง บัญญัติสิกขาบท เพื่อปลดภิกษุทั้งหลายจากความดูหมิ่น. นี้เป็นเหตุในการทรง บัญญัติสิกขาบท.

ข้อว่า มงฺคลตฺถาย ยาจิยมาเนน มีความว่า สตรีจะเป็นผู้ปราศ ครรภ์ หรือเป็นผู้มีครรภ์แก่ก็ตามที, อันภิกษุซึ่งเขาอ้อนวอนเพื่อต้องการมงคล ในฐานะเห็นปานนั้น สมควรเหยียบ.

[ว่าด้วยเครื่องเช็ดเท้า]

เครื่องปูลาด เป็นของที่เขาลาดไว้ใกล้ที่ล้างเท้า เพื่อประโยชน์ ที่จะเหยียบด้วยเท้าซึ่งล้างแล้ว ชื่อว่าเครื่องลาดสำหรับเท้าที่ล้างแล้ว. ภิกษุ ควรเหยียบเคลื่องลาดนั้น.

วัตถุที่มีท่าทางคล้ายฝักบัว ซึ่งเขาทำให้หนามตั้งขึ้น เพื่อเช็ดเท้า ชื่อว่าเครื่องเช็ดเท้า, เครื่องเช็คเท้านั้น จะเป็นของกลม หรือต่างโดยสัณฐาน มี ๔ เหลี่ยมเป็นต้นก็ตามที เป็นของที่ทรงห้ามทั้งนั้น เพราะเป็นของอุดหนุน แก่ความเป็นผู้มักมาก; ไม่ควรรับ ไม่ควรใช้สอย.

ศิลา เรียกว่า กรวด แม้หินฟองน้ำ ก็ควร.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 96

[ว่าด้วยพัด]

พัดเรียกว่า วิธูปนํ แปลว่า วัตถุสำหรับโบก. ส่วนพัดมีด้ามอย่าง ใบตาล จะเป็นของที่สานด้วยใบตาลหรือสานด้วยเส้นดอกไม้ไผ่และเส้นตอกงา หรือทำด้วยขนหางนกยูง หรือทำด้วยจัมมวิกัติทั้งหลายก็ตามที ควรทุกอย่าง.

พัดปัดยุงนั้น แม้มีด้ามทำด้วยงาหรือเขาก็ควร. แม้พัดปัดยุงที่ทำด้วย ย่านแห่งไม้เกดและใบมะพูดเป็นต้น สงเคราะห์เข้ากับพัดที่ทำด้วยเปลือกไม้.

[ว่าด้วยร่ม]

วินิจฉัยในคำว่า คิลานสฺส ฉตฺตํ นี้ พึงทราบดังนี้:-

ภิกษุใด มีความร้อนในกาย หรือมีความกลุ้มใจ หรือมีตาฟางก็ดี หรืออาพาธบางชนิดอย่างอื่น ที่เว้นร่มเสีย ย่อมเกิดขึ้น, ภิกษุนั้นควรกางร่ม ในบ้านหรือในป่า. อนึ่ง เมื่อฝนตก จะกางร่มเพื่อรักษาจีวร และในที่ควร กลัวสัตว์ร้ายและโจร จะกางร่มเพื่อป้องกันตนบ้าง ก็ควร. ส่วนร่มที่ทำด้วย ใบไม้ใบเดียว ควรในที่ทั้งปวงทีเดียว.

[ว่าด้วยทัณฑสมมติเป็นต้น]

บทว่า อุสิสฺส ตัดบทว่า อสิ อสฺส แปลว่า ดาบของโจรนั้น.

บทว่า วิโชตลติ ได้แก่ ส่องแสงอยู่.

วินิจฉัยในคำว่า ทณฺฑสมฺมตึ นี้ พึงทราบดังนี้:- ไม้คาน ควรแก่ประมาณ คือยาว ๔ ศอกเท่านั้น อันสงฆ์พึงสมมติ ให้. ไม้คานที่หย่อนหรือเกินกว่า ๔ ศอกนั้น แม้เว้นจากการสมมติ ก็ควรแก่ ภิกษุทั้งปวง.

ส่วนสาแหรก ไม่ควรแก่ภิกษุผู้ไม่อาพาธ. สงฆ์จึงสมมติให้เฉพาะ แก่ภิกษุผู้อาพาธเท่านั้น.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 97

[ว่าด้วยภิกษุผู้มักอ้วก]

วินิจฉัยในคำว่า โรมฏฺกสฺส นี้ พึงทราบดังนี้:-

เว้นภิกษุผู้นักอ้วกเสีย เป็นอาบัติแก่ภิกษุทั้งหลายที่เหลือ ผู้ยังอาหาร ที่อ้วกออกมาให้ค้างอยู่ในปากแล้วกลืนกิน. แต่ถ้าว่า อาหารที่อ้วกออกมานั้น ไม่ทันค้าง ไหลลงลำคอไป ควรอยู่.

คำว่า ยํ ทียมานํ นี้ ข้าพเจ้าได้พรรณนาไว้แล้วในโภชนวรรค.

[ว่าด้วยมีดตัดเล็บ]

สองบทว่า กุปฺปํ กริสฺสามิ มีความว่า เราจักทำซึ่งเสียง.

ไม่มีอาบัติเพราะตัดเล็บด้วยเล็บเป็นต้น. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง อนุญาตมีดตัดเล็บ ก็เพื่อรักษาตัว.

บทว่า วีสติมฏฺํ มีความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ ให้แต่งเล็บทั้ง ๒๐ ให้เกลี้ยงด้วยการขูด.

บทว่า มลมตฺตํ มีความว่า เราอนุญาตให้แคะแต่มูลเล็บออกจากเล็บ.

[ว่าด้วยผมและหนวด]

บทว่า ขุรสิปาฏิกํ ได้แก่ ฝักมีดโกน.

สองบทว่า มสฺสุํ วปฺปาเปนฺติ มีความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ให้ตัด หนวดด้วยกรรไกร.

สองบทว่า มสฺส ํ วฑฺฒาเปนฺติ ได้แก่ ให้แต่งหนวดให้ยาว เครา ที่คางที่เอาไว้ยาวดังเคราแพะ เรียกว่า หนวดดังพู่ขนโค.

บทว่า จตุรสฺสกํ ได้แก่ ให้แต่งหนวดเป็น ๔ มุม.

บทว่า ปริมุขํ ได้แก่ ให้ทำการขมวดกลุ่มแห่งขนที่อก.

บทว่า อฑฺฒรุกํ ได้แก่ เอาไว้กลุ่มขนที่ท้อง.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 98

สองบทว่า อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส มีความว่า เป็นอาบัติทุกกฏในที่ ทั้งปวงมีตัดหนวดเป็นต้น.

หลายบทว่า อาพาธปฺปจฺจยา สมฺพาเธ โลมํ มีความว่า เรา อนุญาตให้นำขนในที่แคบออก เพราะปัจจัย คือ อาพาธมีฝีแผลใหญ่และแผล เล็กเป็นต้น.

หลายบทว่า อาพาธปฺปจฺจยา กตฺตริกาย มีความว่า เราอนุญาต ให้ตัดผมด้วยกรรไกร เพราะปัจจัย คือ อาพาธด้วยอำนาจแห่งโรคที่ศีรษะ คือ ฝีแผลใหญ่และแผลเล็ก.

ไม่มีอาบัติ เพราะถอนขนจมูกด้วยวัตถุมีกรวดเป็นต้น ส่วนแหนบ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตเพื่อรักษาตัว.

วินิจฉัยในข้อว่า น ภิกฺขเว ปลิตํ คาหาเปตพฺพํ นี้ พึงทราบ ดังนี้ :-

ขนใดขึ้นที่คิ้ว หรือที่หน้าผาก หรือที่ดงหนวด เป็นของน่าเกลียด ขนเช่นนั้นก็ตาม จะหงอกก็ตาม ไม่หงอกก็ตาม สมควรถอนเสีย.

บทว่า กํสปตฺถริกา ได้แก่ พ่อค้าเครื่องสำริด.

บทว่า พนฺธนมตฺตํ ได้แก่ ปลอกแห่งมีดและไม้เท้าเป็นต้น.

[ว่าด้วยประคดเอว]

วินิจฉัยในคำว่า น ภิกฺขเว อกายพนฺธเนน นี้ พึงทราบดังนี้:-

ประคดเอว อันภิกษุผู้มิได้คาดออกไปอยู่ คนระลึกได้ในที่ใดพึงคาด ในที่นั้น, คิดว่า จักคาดที่อาสนศาลา ดังนี้ จะไปก็ควร, นึกได้แล้วไม่ควร เที่ยวบิณฑบาต ตลอดเวลาที่ยังมิได้คาด.

ประคดเอวมีสายมาก ชื่อ กลาพุกํ.

ประคดเอวคล้ายหัวงูน้ำ ชื่อ เทฑฺฑุภกํ.

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 99

ประคดเอวที่ถักทำให้มีสัณฐานกลมดังตะโพน ชื่อ มุรชชํ.

ประคดเอวที่มีทรวดทรงดังสังวาล ชื่อ มทฺทวีณํ.

จริงอยู่ ประคดเอวเช่นนี้ แม้ชนิดเดียวก็ไม่ควร ไม่จำต้องกล่าวถึง มากชนิด.

วินิจฉัยในคำว่า ปฏฺฏิกํ สูกรนฺตกํ นี้ พึงทราบดังนี้.

ประคดแผ่นที่ทอตามปกติ หรือถักเป็นก้างปลา ย่อมควร.

ประคดที่เหลือ ต่างโดยประคดตาช้างเป็นต้น ไม่ควร.

ขึ้นชื่อว่าประคดไส้สุกร เป็นของมีทรวดทรงคล้ายไส้สุกรและฝัก กุญแจ. ส่วนประคดเชือกเส้นเดียวและประคดกลม อนุโลมตามประคดไส้สุกร.

คำที่ว่า "ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการถักด้ายให้กลม การถักดังสาย สังวาล" นี้ ทรงอนุญาตเฉพาะที่ชายทั้ง ๒. ก็ในชายกลมและชายดังสายสังวาลนี้ ชายดังสายสังวาล เกิน ๔ ชาย ไม่ควร.

การทบเข้ามาแล้วเย็บขอบปาก ซึ่ง โสภกํ.

การเย็บโดยสัณฐานดังวงแหวน ชื่อ คุณกํ.

จริงอยู่ ชายประคดที่เย็บอย่างนั้น ย่อมเป็นของแน่น. ร่วมในห่วง เรียกว่า ปวนนฺโต.

[ว่าด้วยการนุ่งห่ม]

ผ้านุ่งที่ทำชายพกมีสัณฐานดังงวงช้าง ให้ห้อยลงไปตั้งแต่สะดือ เหมือนการนุ่งของสตรีชาวโจลประเทศ ชื่อว่านุ่งเป็นงวงช้าง.

ผ้านุ่งที่ห้อยปลายไว้ข้าง ๑ ห้อยชายพกไว้ข้าง ๑ ชื่อว่านุ่งเป็น หางปลา.

นุ่งปล่อยชายเป็น ๔ มุมอย่างนี้ คือ ข้างบน ๒ มุม ข้างล่าง ๒ มุม ชื่อว่านุ่งเป็น ๔ มุม.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 100

นุ่งห้อยลงไป โดยท่าทางดังก้านตาล ชื่อว่านุ่งดังก้านตาล.

ผ้าผืนยาวให้ม้วนเป็นชั้นๆ นุ่งโจงกระเป็นก็ดี นุ่งยกกลีบเป็นลอนๆ ที่ข้างซ้ายและข้างขวาก็ดี. ชื่อว่ายกกลีบตั้งร้อย. แต่ถ้าว่าปรากฏเป็นกลีบเดียว หรือ ๒ กลีบตั้งแต่เข่าขึ้นไป ย่อมควร.

สองบทว่า สํเวลิยํ นิวาเสนฺติ มีความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์นุ่ง หยักรั้ง ดังนักมวยและกรรมกรเป็นต้น. การนุ่งหยักรั้งนั้น ย่อมไม่ควรแก่ ภิกษุ ทั้งผู้อาพาธ ทั้งผู้เดินทาง.

ภิกษุทั้งหลายผู้กำลังเดินทาง ยกมุมข้าง ๑ หรือ ๒ ข้างขึ้นเหน็บบน สบง หรือนุ่งผ้ากาสาวะผืน ๑ อย่างนั้น ไว้ข้างนั้นแล้ว นุ่งอีกผืน ๑ ทับ ข้างนอกแม้อันใด การนุ่งห่มเห็นปานนั้น ทั้งหมด ไม่ควร.

ฝ่ายภิกษุผู้อาพาธ จะนุ่งโจงกระเบนผ้ากาสาวะไว้ข้างใน แล้วนุ่งอีก ผืน ๑ ทับข้างนอก ก็ได้.

ภิกษุผู้ไม่อาพาธ เมื่อจะนุ่ง ๒ ผืน พึงซ้อนกันเข้าเป็น ๒ ชั้น นุ่ง. ด้วยประการอย่างนี้ พึงเว้นการนุ่งทั้งปวงที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้าม ในขุททกวัตถุขันธกะนี้ และที่พระอรรถกถาจารย์ห้ามในเสขิยวัณณนา (๑) ปกปิดให้ได้มณฑล ๓ ปราศจากวิการ นุ่งให้เรียบร้อย. เธอเมื่อทำให้วิการอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่พ้นทุกกฏ.

การที่ไม่ห่ม ดังการห่มของคฤหัสถ์ที่ทรงห้ามไว้อย่างนี้ว่า ภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงห่มอย่างคฤหัสถ์ ดังนี้ ห่มจัดมุมทั้ง ๒ ให้เสมอกัน ชื่อว่า ห่มเรียบร้อย. การห่มเรียบร้อยนั้น อันภิกษุพึงห่ม.


(๑) สมนฺต. ทุติย. ๔๙๒.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 101

ในการห่มดังคฤหัสถ์และการห่มเรียบร้อยนั้น การห่มอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ห่มแล้วโดยประการอื่น จากลักษณะที่เรียบร้อยมีอาทิอย่างนี้ คือ ห่มผ้าขาว ห่มอย่างปริพาชก ห่มอย่างคนที่ใช้ผ้าผืนเดียว ห่มอย่างนักเลง ห่มอย่างชาววัง ห่มคลุมทั้งตัวดังคฤหบดีผู้ใหญ่ ห่มดังชาวนาเข้ากระท่อม ห่มอย่างพราหมณ์ ห่มอย่างภิกษุผู้จัดแถว การห่มนี้ทั้งหมด ชื่อว่าห่มอย่างคฤหัสถ์.

เพราะเหตุนั้น นิครนถ์ทั้งหลาย ผู้ใช้ผ้าขาว คลุมกายครึ่งเดียว ย่อมห่นฉันใด, อนึ่ง ปริพาชกบางพวก เปิดอกพาดผ้าห่มไว้บนจะงอยบ่าทั้ง ๒ ฉันใด, อนึ่ง คนทั้งหลายที่ใช้ผ้าผืนเดียว เอาชายผ้านุ่งข้าง ๑ คลุมหลัง พาดมุมทั้ง ๒ บนจะงอยบ่าทั้ง ๒ ฉันใด, อนึ่ง พวกนักเลงสุราเป็นต้น เอาผ้า พันคอ ห้อยชายทั้ง ๒ ลงไปที่ท้องบ้าง ตวัดไว้บนหลังบ้าง ฉันใด, อนึ่ง สตรีชาววังเป็นต้น ห่มคลุมศีรษะเปิดแต่หน่วยตาไว้ ฉันใด, อนึ่ง คฤหบดี ผู้เป็นใหญ่ทั้งหลาย นุ่งผ้ายาวคลุมตัวทั้งหมด ด้วยชายข้าง ๑ แห่งชายผ้านั้นเอง ฉันใด, อนึ่ง พวกชาวนา เมื่อจะเข้าสู่กระท่อมนา ห่มผ้าตวัดเข้าไปในซอก รักแร้แล้วคลุมตัวด้วยชายข้าง ๑ แห่งผ้านั้นเอง ฉันใด, อนึ่ง พวกพราหมณ์ สอดผ้าเข้าไปทางซอกรักแร้ทั้ง ๒ แล้วตวัดไว้บนจะงอยบ่าทั้ง ๒ ฉันใด, อนึ่ง ภิกษุผู้จัดแถว เปิดแขนซ้ายที่ห่มด้วยผ้าห่มเฉวียงบ่า ยกจีวรขึ้นพาดบนจะงอย บ่า ฉันใด, ภิกษุไม่พึงห่มฉันนั้นเลยทีเดียว พึงเว้นโทษแห่งการห่มเหล่านั้น ทั้งหมด และโทษแห่งการห่มเห็นปานนั้นเหล่าอื่นเสีย ห่มให้เรียบร้อย ปราศ จากวิการ.

เมื่อภิกษุผู้ไม่ห่มอย่างนั้น กระทำวิการอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยไม่ เอื้อเฟื้อ ในวัดก็ตาม ในละแวกบ้านก็ตาม ย่อมเป็นทุกกฏ.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 102

[ว่าด้วยหาบเป็นต้น]

บทว่า มุณฺฑวฏฺฏี มีอธิบายว่า เหมือนคนหาบของสำหรับใช้ ของ พระราชาผู้เสด็จไปไหนๆ.

บทว่า อนฺตรากาชํ ได้แก่ ภาระที่จะพึงคล้องไว้กลางคาน แล้ว หามไป ๒ คน.

บทว่า อจกฺขุสฺสํ คือเป็นของไม่เกื้อกูลแก่จักษุ ได้แก่ ยังความเสีย ให้เกิดแก่ภิกษุ.

บทว่า น ฉาเทติ ได้แก่ ไม่ชอบใจ.

บทว่า อฏฺงฺคุลปรมํ ได้แก่ ไม้สีฟันยาว ๘ นิ้วเป็นอย่างยิ่ง ด้วยนิ้วขนาดของมนุษย์ทั้งหลาย.

บทว่า อติมนฺทาหกํ ได้แก่ ไม้สีฟันที่สั้นนัก

[ว่าด้วยการจุดไฟ]

สองบทว่า ทายํ อาเฬเปนติ มีความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์จุดไฟที่ ดงหญ้าเป็นต้น.

บทว่า ปฏคฺคึ มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุจุดไฟรับ.

บทว่า ปริตฺตํ มีความว่า เราอนุญาตการป้องกันด้วยการทำให้ ปราศจากหญ้า หรือด้วยการขุดคู.

แต่ในการป้องกันนี้ เมื่อมีอนุปสัมบัน ภิกษุจะจุดไฟเอง ย่อมไม่ได้, เมื่อไม่มีอนุปสัมบัน ภิกษุจะจุดไฟเองก็ดี จะถากถางพื้นดินนำหญ้าออกเสียก็ดี จะขุดคูก็ดี จะหักกิ่งไม้สดดับไฟก็ดี ย่อมได้.

ไฟถึงเสนาสนะแล้วก็ตาม ยังไม่ถึงก็ตาม ภิกษุย่อมได้เพื่อยังไฟให้ดับ ด้วยอุบายอย่างนั้นเป็นแท้.

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 103

แต่เมื่อจะให้ไฟดับด้วยน้ำ ย่อมได้เพื่อให้ดับด้วยน้ำที่ควรเท่านั้น นอกนั้นไม่ได้.

[ว่าด้วยขึ้นต้นไม้]

ข้อว่า สติ กรณีเย มีความว่า เมื่อมีกิจที่จะต้องถือเอาฟืนแห้ง เป็นต้น.

บทว่า โปริสิยํ ความว่า อนุญาตให้ภิกษุขึ้นต้นไม้ประมาณแค่ตัว บุรุษ.

ข้อว่า อาปทาสุ มีความว่า ภิกษุเห็นอันตรายมีสัตว์ร้ายเป็นต้น หรือเป็นผู้หลงทาง หรือเป็นผู้ใคร่จะมองดูทิศ หรือเห็นไฟป่าลามมา หรือ เห็นห้วงน้ำหลากมา ในอันตรายเห็นปานนี้ จะขึ้นต้นไม้แม้สูงเกินประมาณ ก็ควร.

[ว่าด้วยคัมภีร์ทางโลก]

บทว่า กลฺยาณวากฺกรณา ได้แก่ เป็นผู้มีเสียงไพเราะ.

สองบทว่า ฉนฺทโส อาโรเปม มีความว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะยก พระพุทธวจนะขึ้นสู่ทางแห่งการกล่าวด้วยภาษาสันสกฤตเหมือนเวท (๑) .

โวหารที่เป็นของชาวมคธ มีประการอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสแล้ว ชื่อภาษาเดิม ในคำว่า สกาย นิรุตฺติยา นี้.

คัมภีร์เดียรถีย์ ซึ่งประกอบด้วยเหตุอันไร้ประโยชน์ มีอาทิอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงเป็นเดน เพราะเหตุนี้ และนี้ สิ่งทั้งปวงไม่เป็นเดน เพราะเหตุนี้ และนี้ กาเผือก เพราะเหตุนี้ และนี้ นกยางดำ เพราะเหตุนี้ และนี้ ดังนี้ ชื่อคัมภีร์อันเนื่องด้วยโลก.


(๑) คือแต่งเป็นกาพย์กลอนเป็นโศลกเหมือนคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์.

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 104

สองบทว่า อนฺตรา อโหสิ มีความว่า ธรรมกถา ได้เป็นเรื่อง ขาดตอน คือ ได้ถูกเสียงนั้นกลบเสีย.

บทว่า อาพาธปฺปจฺจยา มีความว่า กระเทียมเป็นยาเพื่ออาพาธใด เพราะปัจจัย คืออาพาธนั้น.

วินิจฉัยในข้อว่า ปสฺสาวปาทุกํ นี้ พึงทราบดังนี้:-

ภิกษุจะทำเขียงรองเหยียบ ด้วยอิฐก็ดี ด้วยศิลาก็ดี ด้วยไม้ก็ดี ควรอยู่. แม้ในวัจจปาทุกา ก็มีนัยเหมือนกัน.

บทว่า ปริเวณํ ได้แก่ ร่วมในแห่งเครื่องล้อมแห่งเวจกุฎี.

ข้อว่า ยถาธมฺโม กาเรตพฺโพ มีความว่า ในวัตถุแห่งทุกกฏ พึงปรับทุกกฏ ในวัตถุแห่งปาจิตตีย์ พึงปรับปาจิตตีย์.

[ว่าด้วยของโลหะเป็นต้น]

ของโลหะที่เขาทำไว้ เพื่อประหาร เรียกว่า เครื่องประหาร.

ความว่า คำว่า เครื่องประหารนั้น เป็นชื่อของสิ่งของที่นับว่าอาวุธ ชนิดใดชนิดหนึ่ง, เราอนุญาตของโลหะทั้งปวงอื่น นอกจากเครื่องประหารนั้น.

ในคำว่า กตกญฺจ กุมฺภการิกญฺจ นี้ มีวินิจฉัยว่า เครื่อง เช็ดเท่านั้น ได้กล่าวไว้แล้วแล.

กุฎีทำด้วยดินล้วน ดังกุฎีของพระธนิยะ เรียกว่า กุมภการิกา. คำที่ เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนั้นแล.

ขุททกวัตถุขันธกวรรณนา จบ

 
หัวข้อถัดไป
หัวข้อก่อนหน้า

หน้าบัญชีเรื่อง