พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

สมถขันธกะ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  13 มี.ค. 2565
หมายเลข  42833
อ่าน  657

[เล่มที่ 8] พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑

พระวินัยปิฏก เล่ม ๖

จุลวรรค ปฐมภาค

สมถขันธกะ

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ 585/504

ทรงสอบถาม 504

ทรงติเตียน 504

ธรรมวาทีและอธรรมวาทีบุคคล 586/505

ธรรมฝ่ายดํา ๙ อย่าง 587/505

ธรรมฝ่ายขาว ๙ อย่าง 588/507

เรื่องพระทัพพมัลลบุตร 589/509

สมมติภิกษุแต่งต้งเสนาสนะเป ั ็นต้น 592/511

กรรมวาจาสมมติ 511

เรื่องพระเมตติยะและพระภุมมชกะ 594/514

ภิกษุณีเมตติยาไปเยี่ยม 516

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม 597/518

ทรงสอบถาม 519

ทรงติเตียน 519

คําขอสติวินัย 520

กรรมวาจาให้สติวินัย 520

การให้สติวินัยที่เป็นธรรมมี๕ อย่าง 599/522

เรื่องพระคัคคะ 600/522

คําขออมูฬหวินัย 523

กรรมวาจาให้อมูฬหวินัย 525

ให้อมูฬหวินัยไม่เป็นธรรม ๓ หมวด 602/527

ให้อมูฬหวินัยเป็นธรรม ๓ หมวด 605/528

ทํากรรมไม่ตามปฏิญาณ 608/530

ทําตามปฏิภาณไม่เป็นธรรม 609/530

ทําตามปฏิภาณเป็นธรรม 610/534

ระงับอธิกรณ์ด้วยเยภุยยสิกา 611/534

กรรมวาจากสมมติ 535

การจับสลากไม่เป็นธรรม ๑๐ อย่าง 612/536

การจับสลากเป็นธรรม ๑๐ อย่าง 613/537

สงฆ์ทําตัสสปาปิยสิกากรรม 614/537

กรรมวาจาทําตัสสปาปิยสิกากรรม 538

ตัสสปาปิยสิกากรรมเป็นธรรม ๕ อย่าง 615/539

ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด 606/540

ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด 617/543

ข้อที่สงฆ์จํานง ๖ หมวด 618/547

วัตร ๑๘ ข้อ 624/549

ภิกษุก่อการวุ่นวาย 625/550

พุทธานุญาตให้ระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัตถารกะ 626/551

วิธีระงับ 627/551

ญัตติกรรมวาจาระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัตถารกะ 551

คณะญัตติกรรมวาจา 552

ญัตติทุติยกรรมวาจา 553

อธิกรณ์ 632/557

อธิกรณ์๔ อย่าง 633/557

มูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ 637/559

อกุศลมูล ๓ 639/561

กุศลมูล ๓ 640/562

มูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ 641/562

อกุศลมูล ๓ 644/564

กุศลมูล ๓ 645/564

กาย 646/565

วาจา 647/565

มูลแห่งอาปัตตาธิกรณ์ 648/565

มูลแห่งกิจจาธิกรณ์ 649/566

อธิกรณ์เป็นกุศลอกุศลและอัพยากฤต 650/566

วิวาทาธิกรณ์ 664/570

อนุวาทาธิกรณ์ 666/571

อาปัตตาธิกรณ์ 668/572

กิจจาธิกรณ์ 670/573

วิวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง 672/574

อุพพาหิกวิธี 675/578

องค์คุณ ๑๐ ประการ 579

กรรมวาจาสมมติ 580

กรรมวาจาคณะญัตติ 581

กรรมวาจาสมมติ 583

วิธีจับสลาก ๓ วิธี 681/585

อนุวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๔ อย่าง 682/588

วิธีให้สติวินัย 588

คําขอสติวินัย 589

กรรมวาจาให้สติวินัย 589

คําขออมูฬหวินัย 591

กรรมวาจาให้อมูฬหวินัย 592

วิธีทําตัสสปาปิยสิกากรรม 688/596

กรรมวาจาทําตัสสปาปิยสิกา 596

อาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง 689/598

วิธีระงับ 601

ญัตติกรรมวาจา 601

คณะญัตติกรรมวาจา 602

ญัตติทุติยกรรมวาจา 603

กิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะอย่างเดียว 694/606


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 8]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 504

สมถขันธกะ

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๕๘๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้ง นั้นแล พระฉัพพัคคีย์ กระทำกรรม คือ ตัชชนียกรรมบ้าง นิยสกรรมบ้าง ปัพพาชนียกรรมบ้าง ปฏิสารณียกรรมบ้าง อุกเขปนียกรรม บ้าง แก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ลับหลัง บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... .ต่างก็ เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้กระทำกรรม คือ ตัชชชียกรรมบ้าง นิยสกรรมบ้าง ปัพพาชนียกรรมบ้าง ปฏิสารณียกรรมบ้าง อุกเขปนียกรรมบ้าง แก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ลับหลังเล่า แล้ว กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์กระทำกรรม คือ ตัชชนียกรรม บ้าง นิยสกรรมบ้าง ปัพพาชนียกรรมบ้าง ปฏิสารณียกรรมบ้าง อุกเขปนียกรรมบ้าง แก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้อยู่ลับหลัง จริงหรือ?

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียน

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การ กระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร มิใช่กิจของ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 505

สมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นจึงได้กระทำกรรม คือ ตัชชนียกรรมบ้าง นิยสกรรมบ้าง ปัพพาชนียกรรมบ้าง ปฏิสารณียกรรมบ้าง อุกเขปนียกรรมบ้าง แก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ลับหลังเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้น นั่นไม่เป็นไป เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนผู้ยังไม่เลื่อมใส ... ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรม คือ ตัชชนียกรรม ก็ดี นิยสกรรมก็ดี ปัพพาชนียกรรมก็ดี ปฏิสารณียกรรมก็ดี อุกเขปนียกรรมก็ดี อันภิกษุไม่พึงทำแก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ลับหลัง ภิกษุใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ธรรมวาทีและอธรรมวาทีบุคคล

[๕๘๖] อธรรมวาทีบุคคล ๑ ภิกษุอธรรมวาทีมากรูป ๑ สงฆ์ อธรรมวาที ๑ ธรรมวาทีบุคคล ๑ ภิกษุธรรมวาทีมากรูป ๑ สงฆ์ ธรรมวาที ๑.

ธรรมฝ่ายดำ ๙ อย่าง

[๕๘๗] ๑. อธรรมวาทีบุคคล ยังธรรมวาทีบุคคลให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์ นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่เป็นธรรม เป็นสัมมุขาวินัยเทียม

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 506

๒. อธรรมวาทีบุคคล ยังภิกษุธรรมวาทีมากรูปให้ยินยอม ให้ พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับ อย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่เป็นธรรม เป็นสัมมุขาวินัยเทียม

๓. อธรรมวาทีบุคคล ยังสงฆ์ธรรมวาทีให้ยินยอม ให้พินิจ ให้ เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้ สัตถุศาสน์ ท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับ อย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่เป็นธรรม เป็นสัมมุขาวินัยเทียม

๔. ภิกษุอธรรมวาทีมากรูป ยังธรรมวาทีบุคคลให้ยินยอน ให้ พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับ อย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่เป็นธรรม เป็นสัมมุขาวินัยเทียม

๕. ภิกษุอธรรมวาทีมากรูป ยังภิกษุธรรมวาทีมากรูปให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์ นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่เป็นธรรม เป็นสัมมุขาวินัยเทียม

๖. ภิกษุอธรรมวาทีมากรูป ยังสงฆ์ธรรมวาทีให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับ อย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่เป็นธรรม เป็นสัมมุขาวินัยเทียม

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 507

๗. สงฆ์อธรรมวาที ยังธรรมวาทีบุคคลให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับ อย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่เป็นธรรม เป็นสัมมุขาวินัยเทียม

๘. สงฆ์อธรรมวาที ยังภิกษุธรรมวาทีมากรูปให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้น ระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่เป็นธรรม เป็นสัมมุขาวินัยเทียม

๙. สงฆ์อธรรมวาที ยังสงฆ์ธรรมวาทีให้ยินยอม ให้พินิจ ให้ เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้ สัตถุศาสน์ ท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับ อย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่เป็นธรรม เป็นสัมมุขาวินัยเทียม.

ธรรมฝ่ายดำ ๙ อย่าง จบ

ธรรมฝ่ายขาว ๙ อย่าง

[๕๘๘] ๑. ธรรมวาทีบุคคล ยังธรรมวาทีบุคคลให้ยินยอม ให้ พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับ อย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็นสัมมุขาวินัย

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 508

๒. ธรรมวาทีบุคคล ยังภิกษุอธรรมวาทีมากรูปให้ยินยอม ให้ พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้น ระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็นสัมมุขาวินัย

๓. ธรรมวาทีบุคคล ยังสงฆ์อธรรมวาทีให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับ อย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็นสัมมุขาวินัย

๔. ภิกษุธรรมวาทีมากรูป ยังอธรรมวาทีบุคคลให้ยินยอม ให้ พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับ อย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็นสัมมุขาวินัย

๕. ภิกษุธรรมวาทีมากรูป ยังภิกษุอธรรมวาทีมากรูปให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้น ระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็นสัมมุขาวินัย

๖. ภิกษุธรรมวาทีมากรูป ยังสงฆ์อธรรมวาที่ให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับ อย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็นสัมมุขาวินัย

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 509

๗. สงฆ์ธรรมวาที ยังอธรรมวาทีบุคคลให้ยินยอม ให้พินิจ ให้ เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้ สัตถุศาสน์ ท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็นสัมมุขาวินัย

๘. สงฆ์ธรรมวาที ยังภิกษุอธรรมวาทีมากรูปให้ยินยอม ให้ พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้ วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจงถืออย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรมเป็นสัมมุขาวินัย

๙. สงฆ์ธรรมวาที ยังสงฆ์อธรรมวาทีให้ยินยอม ให้พินิจ ให้ เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่า ระงับโดยธรรม เป็นสัมมุขาวินัย.

ธรรมฝ่ายขาว ๙ อย่าง จบ

เรื่องพระทัพพมัลลบุตร

[๕๘๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ เวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนคร ราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ท่านพระทัพพมัลลบุตร มีอายุ ๗ ปีนับแต่เกิด ได้ทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัต คุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งสาวกจะพึง

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 510

บรรลุ ท่านได้บรรลุแล้วโดยลำดับทั้งหมด อนึ่ง ท่านไม่มีกรณียกิจ อะไรที่ยิ่งขึ้นไป หรือกรณียกิจที่ทำเสร็จแล้ว ก็ไม่ต้องกลับสั่งสมอีก.

[๕๙๐] ครั้งนั้น ท่านพระทัพพมัลลบุตรหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้ เกิดความปริวิตกแห่งใจอย่างนี้ว่า เราแลมีอายุ ๗ ปีนับแต่เกิด ได้ทำ ให้แจ้งซึ่งพระอรหัต คุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งสาวกจะพึงบรรลุ เราได้บรรลุแล้วโดยลำดับทุกอย่าง อนึ่งเล่า เราไม่มีกรณียกิจอะไรที่ยิ่ง ขึ้นไป หรือกรณียกิจที่เราทำเสร็จแล้ว ก็ไม่ต้องกลับมาสั่งสมอีก เรา ควรทำความช่วยเหลือแก่สงฆ์อย่างไรหนอ ลำดับนั้น ท่านพระทัพพมัลลบุตรได้คิดว่า มิฉะนั้น เราควรแต่งตั้งเสนาสนะ และแจกอาหาร แก่สงฆ์.

[๕๙๑] ครั้นท่านพระทัพพมัลลบุตรออกจากที่เร้นในเวลาเย็น แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงพุทธสำนัก ถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้า หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ณ ตำบลนี้ได้เกิดความวิตกแห่งใจอย่างนี้ว่า ข้าพระพุทธเจ้าแล มีอายุ ๗ ปีนับแต่เกิด ได้ทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัต คุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งสาวกจะบรรลุ ข้าพระพุทธเจ้าก็ได้บรรลุ แล้วโดยลำดับทุกอย่าง อนึ่งเล่า ข้าพระพุทธเจ้าไม่มีกรณียกิจอะไรที่ยิ่ง ขึ้นไป หรือกรณียกิจที่ข้าพระพุทธเจ้าทำเสร็จแล้ว ก็ไม่ต้องกลับสั่งสม อีก ข้าพระพุทธเจ้าควรทำความช่วยเหลือสงฆ์อย่างไรหนอ พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้า นั้นคิดตกลงใจว่า ถ้ากระไร ข้าพระพุทธเจ้า

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 511

ควรแต่งตั้งเสนาสนะ และแจกอาหารแก่สงฆ์ ข้าพระพุทธเจ้าปรารถนา จะแต่งตั้งเสนาสนะ และแจกอาหารแก่สงฆ์ พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละ ดีละ ทัพพะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงแต่งตั้งเสนาสนะ และแจกอาหารแก่สงฆ์เถิด ท่านพระทัพพมัลลบุตรทูลรับสนองพระพุทธานุญาตแล้ว.

สมมติภิกษุแต่งตั้งเสนาสนะเป็นต้น

[๕๙๒] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ใน เพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงสมมติทัพพมัลลบุตรให้เป็นผู้แต่งตั้งเสนาสนะ และแจกอาหาร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ เบื้องต้นพึง ขอให้ทัพพะรับ ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่าดังนี้:-

กรรมวาจาสมมติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อม พรั่ง ของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติท่านพระทัพพมัลลบุตร ให้เป็นผู้แต่งเสนาสนะและแจกอาหาร นี้ เป็นญัตติ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 512

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติ ท่านพระทัพพมัลลบุตรให้เป็นผู้แต่งตั้งเสนาสนะและแจก อาหาร การสมมติท่านพระทัพพมัลลบุตร ให้เป็นผู้แต่ง ตั้งเสนาสนะและแจกอาหาร ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้ นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

ท่านพระทัพพมัลลบุตร อันสงฆ์สมมติให้เป็นผู้ แต่งตั้งเสนาสนะและแจกอาหารแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุ นั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ อย่างนี้.

[๕๙๓] ก็แล ท่านพระทัพพมัลลบุตรอันสงฆ์สมมติแล้ว ย่อม แต่งตั้งเสนาสนะสำหรับหมู่ภิกษุผู้เสมอกันรวมไว้เป็นพวกๆ คือ ภิกษุ เหล่าใดทรงพระสูตร ท่านก็แต่งตั้งเสนาสนะรวมภิกษุเหล่านั้นไว้แห่งเดียว กัน ด้วยประสงค์ว่า พวกเธอจักซักซ้อมพระสูตรกัน ภิกษุเหล่าใด ทรงพระวินัย ท่านก็แต่งตั้งเสนาสนะรวมภิกษุเหล่านั้น ไว้แห่งเดียวกัน ด้วยประสงค์ว่า พวกเธอจักวินิจฉัยพระวินัยกัน ภิกษุเหล่าใดเป็นพระธรรมกถึก ท่านก็แต่งตั้งเสนาสนะรวมภิกษุเหล่านั้นไว้แห่งเดียวกัน ด้วย ประสงค์ว่า พวกเธอจักสนทนาธรรมกัน ภิกษุเหล่าใดได้ฌาน ท่านก็ แต่งตั้งเสนาสนะรวมภิกษุเหล่านั้นไว้แห่งเดียวกัน ด้วยประสงค์ว่า พวก เธอจักไม่รบกวนกัน ภิกษุเหล่าใดชอบกล่าวดิรัจฉานกถา มีการบำรุงร่าง กายอยู่มาก ท่านก็แต่งตั้งเสนาสนะรวมภิกษุเหล่านั้นไว้แห่งเดียวกัน ด้วย ประสงค์ว่า ท่านเหล่านี้จักอยู่ด้วยความยินดีแม้นี้ ภิกษุเหล่าใดมาในเวลา ค่ำคืน ท่านก็เข้าจตุตถฌานมีเตโชกสิณเป็นอารมณ์ แล้วแต่งตั้งเสนาสนะ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 513

สำหรับภิกษุแม้เหล่านั้น ด้วยแสงสว่างนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย ย่อมแกล้ง มาแม้เวลาค่ำ ด้วยประสงค์ว่า พวกเราจักได้ดูอิทธิปาฏิหาริย์ของท่าน พระทัพพมัลลบุตร ดังนี้ก็มี

ภิกษุเหล่านั้นเข้าไปหาท่านพระทัพพมัลลบุตร แล้วพูดอย่างนี้ว่า พระคุณเจ้าทัพพะ ขอท่านจงแต่งตั้งเสนาสนะให้พวกข้าพเจ้า

ท่านพระทัพพมัลลบุตรถามภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ท่านปรารถนา ที่ไหน ผมจะแต่งตั้งที่นั้น ภิกษุเหล่านั้นแกล้งกล่าวอ้างที่ไกลๆ ว่า พระคุณเจ้าทัพพะ ขอท่านจงแต่งตั้งเสนาสนะให้พวกข้าพเจ้าที่ภูเขา คิชฌกูฏ ขอท่านจงแต่งตั้งเสนาสนะให้พวกข้าพเจ้าที่เหวสำหรับทิ้งโจร ขอท่านจงแต่งตั้งเสนาสนะให้พวกข้าพเจ้าที่กาฬศิลาข้างภูเขาอิสิคิลิ ขอ ท่านจงแต่งตั้งเสนาสนะให้พวกข้าพเจ้าที่ถ้ำสัตตบรรณคูหาข้างภูเขาเวภาระ ขอท่านจงแต่งตั้งเสนาสนะให้พวกข้าพเจ้าที่เงื้อมเขาสัปปโสณฑิกะใกล้ สีตวัน ขอท่านจงแต่งตั้งเสนาสนะให้พวกข้าพเจ้าที่ซอกเขาโคมฏะ ขอ ท่านจงแต่งตั้งเสนาสนะให้พวกข้าพเจ้าที่ซอกเขาติณฑุกะ ขอท่านจงแต่ง ตั้งเสนาสนะให้พวกข้าพเจ้าที่ซอกเขากโปตะ ขอท่านจงแต่งตั้งเสนาสนะ ให้พวกข้าพเจ้าที่ตโปทาราม ขอท่านจงแต่งตั้งเสนาสนะให้พวกข้าพเจ้าที่ ชีวกัมพวัน ขอท่านจงแต่งตั้งเสนาสนะให้พวกข้าพเจ้าที่มัททกุจฉิมฤคทายวัน

ท่านพระทัพพมัลลบุตร จึงเข้าจตุตถฌานมีเตโชกสิณเป็นอารมณ์ มีองคุลีส่องสว่างเดินนำหน้าภิกษุเหล่านั้นไป แม้ภิกษุเหล่านั้นก็เดินตาม หลังท่านพระทัพพมัลลบุตร ด้วยแสงสว่างนั้นแล ท่านพระทัพพมัลลบุตร

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 514

แต่งตั้งเสนาสนะสำหรับภิกษุเหล่านั้น โดยชี้แจงอย่างนี้ว่า นี่เตียง นี่ตั่ง นี่ฟูก นี่หมอน นี่ที่ถ่ายอุจจาระ นี่ที่ถ่ายปัสสาวะ นี่น้ำฉัน นี่น้ำใช้ นี่ไม้เท้า นี่ระเบียบกติกาสงฆ์ ควรเข้าเวลานี้ ควรออกเวลานี้ ครั้นแต่งตั้งเสนาสนะเพื่อภิกษุเหล่านั้นเสร็จแล้ว กลับมาสู่พระเวฬุวันวิหารตามเดิม.

เรื่องพระเมตติยะและพระภุมมชกะ

[๕๙๔] ก็โดยสมัยนั้นแล พระเมตติยะและพระภุมมชกะ เป็น พระบวชใหม่และมีบุญน้อย เสนาสนะของสงฆ์ชนิดเลว และอาหารอย่าง เลว ย่อมตกถึงแก่เธอทั้งสอง ครั้งนั้น ชาวบ้านในพระนครราชคฤห์ ชอบถวายเนยใสบ้าง น้ำมันบ้าง แกงที่มีรสดีๆ บ้าง ซึ่งจัดปรุงเฉพาะ พระเถระ ส่วนพระเมตติยะและพระภุมมชกะ เขาถวายอาหารอย่าง ธรรมดาตามแต่จะหาได้ มีชนิดปลายข้าว มีน้ำส้มเป็นกับ เวลาหลัง อาหารเธอทั้งสองกลับจากบิณฑบาตแล้ว เที่ยวถามพวกพระเถระว่า ใน โรงฉันของพวกท่านมีอาหารอะไรบ้าง ขอรับ ในโรงฉันของพวกท่าน ไม่มีอะไรบ้าง ขอรับ พระเถระบางพวกบอกอย่างนี้ว่า พวกเรามีเนยใส น้ำมัน แกงที่มีรสอร่อยๆ ส่วนพระเมตติยะและพระภุมมชกะพูดอย่าง นี้ว่า พวกข้าพเจ้าไม่มีอะไรเลย ขอรับ มีแต่อาหารอย่างธรรมดาตาม แต่จะหาได้ เป็นชนิดปลาข้าวมีน้ำส้มเป็นกับ

[๕๙๕] สมัยต่อมา คหบดีผู้ชอบถวายอาหารที่ดี ถวายภัตตาหาร วันละ ๔ ที่แก่สงฆ์เป็นนิตยภัต เขาพร้อมด้วยบุตรภรรยา อังคาสอยู่

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 515

ใกล้ๆ ในโรงฉัน คนอื่นๆ ย่อมถามด้วยข้าวสุก กับข้าว น้ำมัน แกง ที่มีรสอร่อย.

[๕๙๖] คราวนั้น ภัตตุทเทสก์ได้แสดงภัตตาหารของคหบดี ผู้ ชอบถวายอาหารที่ดี แก่พระเมตติยะและพระภุมมชกะ เพื่อฉันในวัน รุ่งขึ้น ขณะนั้น ท่านคหบดีไปสู่อารามด้วยกรณียะบางอย่าง เข้าไปหา ท่านพระทัพพมัลลบุตร นมัสการแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ท่าน พระทัพพมัลลบุตรแสดงธรรมีกถาให้ท่านคหบดีผู้นั่งแล้ว ให้เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ครั้นแล้วคหบดีเรียนถามว่า พระคุณเจ้า แสดงภัตตาหารเพื่อฉันในวันพรุ่งนี้ที่เรือนของกระผมแก่ใคร ขอรับ ท่านพระทัพพมัลลบุตรตอบว่า อาตมาแสดงให้แก่พระเมตติยะกับพระภุมมชกะแล้ว ขณะนั้น คหบดีมีความเสียใจว่า ไฉนภิกษุลามกจักฉัน ภัตตาหารในเรือนเราเล่า แล้วไปเรือนสั่งหญิงคนรับใช้ไว้ว่า แม่สาวใช้ เจ้าจงจัดอาสนะไว้ที่ซุ้มประตู แล้วอังคาสภิกษุผู้จะมาฉันภัตตาหารในวัน พรุ่งนี้ด้วยปลายข้าว มีน้ำผักดองเป็นกับ หญิงคนใช้รับคำของคหบดีแล้ว ครั้งนั้นพระเมตติยะและพระภุมมชกะกล่าวแก่กันว่า คุณ เมื่อวานนี้ท่าน ภัตตุทเทสก์แสดงภัตตาหารของคหบดีให้พวกเรา พรุ่งนี้คหบดีพร้อมด้วย บุตรภรรยาจักอังคาสพวกเราอยู่ใกล้ๆ คนอื่นๆ จักถามด้วย ข้าวสุก กับข้าว น้ำมัน แกงที่มีรสอร่อยๆ เพราะความดีใจนั้นแล ตกกลางคืน ภิกษุ ๒ รูปนั้น นอนหลับไม่เต็มตื่น ครั้นเวลาเช้า พระเมตติยะและ พระภุมมชกะครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตร จีวรเดินเข้าไปยังนิเวศน์ ของท่านคหบดี หญิงคนรับใช้นั้นได้แลเห็นพระเมตติยะและพระภุมมชกะ

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 516

กำลังเดินมาแต่ไกล ครั้นแล้วจึงปูอาสนะถวายที่ซุ้มประตู แล้วกล่าวว่า นิมนต์นั่งเจ้าค่ะ พระเมตติยะและพระภุมมชกะจึงนึกว่า ภัตตาหารคงจะ ยังไม่เสร็จเป็นแน่ เขาจึงให้เรานั่งพักที่ซุ้มประตูก่อน ขณะนั้น หญิง คนรับใช้ ได้นำอาหารปลายข้าวซึ่งมีน้ำผักดองเป็นกับเข้าไปถวาย พลาง กล่าวว่า นิมนต์ฉันเถิดเจ้าค่ะ

ภิ. น้องหญิง พวกฉันเป็นพระรับนิตยภัต

ญ. ดิฉันทราบว่าพระคุณเจ้าเป็นพระรับนิตยภัต เจ้าค่ะ แต่เมื่อ วานนี้เอง ท่านคหบดีได้สั่งดิฉันไว้ว่า แม่สาวใช้ เจ้าจงจัดอาสนะไว้ ที่ซุ้มประตู แล้วอังคาสภิกษุผู้จะมาฉันภัตตาหารในวันพรุ่งนี้ด้วยปลายข้าว มีน้ำผักดองเป็นกับ นิมนต์ฉันเถิด เจ้าคะ.

พระเมตติยะและพระภุมมชกะพูดกันว่า คุณ เมื่อวานนี้เอง ท่าน คหบดีไปสู่อารามที่สำนักพระทัพพมัลลบุตร พวกเราคงถูกพระทัพพมัลลบุตรยุยงในสำนักคหบดีเป็นแน่ เพราะความเสียใจนั้นแล ภิกษุทั้งสอง รูปนั้นฉันไม่อิ่ม ครั้นเวลาหลังอาหารกลับจากบิณฑบาตไปสู่อาราม เก็บ บาตร จีวรแล้ว นั่งรัดเข่าด้วยผ้าสังฆาฏิอยู่ภายนอกซุ้มประตูอาราม นิ่งอั้น เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา ไม่พูดจา

ภิกษุณีเมตติยาไปเยี่ยม

คราวนั้น ภิกษุณีเมตติยาเข้าไปหาพระเมตติยะและพระภุมมชกะ แล้วได้กล่าวว่า ดิฉันไหว้ เจ้าค่ะ เมื่อนางกล่าวอย่างนั้นแล้ว ภิกษุ ทั้งสองรูปก็มิได้ทักทายปราศรัย แม้ครั้งที่สอง ... ..แม้ครั้งที่สาม นางก็ได้

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 517

กล่าวว่าดิฉันไหว้ เจ้าค่ะ แม้ครั้งที่สาม ภิกษุทั้งสองรูป ก็มิได้ทักทาย ปราศรัย

ภิกษุณีเมตติยาถามว่า ดิฉันผิดต่อพระคุณเจ้าอย่างไร ทำไม พระคุณเจ้าจึงไม่ทักทายปราศรัยกับดิฉัน

ภิกษุทั้งสองตอบว่า ก็จริงอย่างนั้นแหละ น้องหญิง พวกเรา ถูกพระทัพพมัลลบุตรเบียดเบียนอยู่ เธอยังเพิกเฉยได้

เม. ดิฉันจะช่วยเหลืออย่างไร เจ้าค่ะ

ภิ. น้องหญิง ถ้าเธอเต็มใจช่วย วันนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าต้อง ให้พระทัพพมัลลบุตรสึก

เม. ดิฉันจะทำอย่างไร ดิฉันสามารถจะช่วยเหลือได้ด้วยวิธีไหน

ภิ. มาเถิดน้องหญิง เธอจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบ ทูลอย่างนี้ว่า กรรมนี้ไม่แนบเนียน ไม่สมควร ทิศที่ไม่มีภัย ไม่มี จัญไร ไม่มีอันตราย บัดนี้กลับมามีภัย มีจัญไร มีอันตราย ณ สถาน ที่ไม่มีลม บัดนี้กลับมามีลมแรงขึ้น หม่อมฉันถูกพระคุณเจ้าทัพพมัลลบุตรประทุษร้าย คล้ายน้ำถูกไฟเผา พระพุทธเจ้าข้า

นางรับคำของภิกษุทั้งสอง แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า กรรมนี้ไม่แนบเนียน ไม่สมควร ทิศที่ไม่มีภัย ไม่มีจัญไร ไม่มีอันตราย บัดนี้กลับมามีภัย มีจัญไร มีอันตราย ณ สถานที่ไม่ มีลม บัดนี้ กลับมามีลมแรงขึ้น หม่อมฉันถูกพระคุณเจ้าทัพพมัลลบุตร ประทุษร้าย คล้ายน้ำถูกไฟเผา พระพุทธเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 518

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม

[๕๙๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถาม ท่านพระทัพพมัลลบุตรว่า ดูก่อนทัพพะ เธอยังระลึกได้หรือว่า เป็น ผู้ทำกรรมตามที่ภิกษุณีนี้กล่าวหา ท่านพระทัพพมัลลบุตรกราบทูลว่า พระองค์ย่อมทรงทราบว่า ข้าพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า

แม้ครั้งที่สอง พระผู้มีพระภาคเจ้า ... .

แม้ครั้งที่สาม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามท่านพระทัพพมัลลบุตร ว่า ดูก่อนทัพพะ เธอยังระลึกได้หรือว่า เป็นผู้ทำกรรมตามที่ภิกษุณี นี้กล่าวหา ท่านพระทัพพมัลลบุตรกราบทูลว่า พระองค์ย่อมทรงทราบว่า ข้าพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า

ภ. ดูก่อนทัพพะ บัณฑิตย่อมไม่กล่าวแก้คำกล่าวหาเช่นนี้ ถ้า เธอทำก็จงบอกว่าทำ ถ้าไม่ได้ทำ ก็จงบอกว่าไม่ได้ทำ

ท. พระพุทธเจ้าข้า ตั้งแต่ข้าพระพุทธเจ้าเกิดมาแล้ว แม้โดย ความฝันก็ยังไม่รู้จักเสพเมถุนธรรม จะกล่าวใยถึงเมื่อตื่นอยู่เล่า

พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล พวกเธอจงให้ภิกษุณีเมตติยาสึกเสีย และจงสอบสวน ภิกษุเหล่านี้ ครั้นแล้วทรงลุกจากที่ประทับเสด็จเข้าพระวิหาร ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายให้ภิกษุณีเมตติยาสึกแล้ว จึงพระเมตติยะและพระภุมมชกะได้ แถลงเรื่องนี้กะภิกษุทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลาย ขอพวกท่านอย่าให้ภิกษุณี เมตติยาสึกเสียเลย นางไม่ผิดอะไร พวกข้าพเจ้าแค้นเคือง ไม่พอใจ

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 519

มีความประสงค์จะให้ท่านพระทัพพมัลลบุตรเคลื่อนจากพรหมจรรย์ จึงได้ ให้นางใส่ไคล้

ภิกษุทั้งหลายถามว่า ก็พวกคุณโจทท่านพระทัพพมัลลบุตร ด้วย ศีลวิบัติอันหามูลมิได้หรือ

ภิกษุทั้งสองนั้นรับว่า อย่างนั้น ขอรับ

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระเมตติยะและพระภุมมชกะ จึงได้โจทท่านพระทัพพมัลลบุตรด้วย ศีลวิบัติอันหามูลมิได้เล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง หลาย ได้ยินว่าภิกษุเมตติยะและภิกษุภุมมชกะโจททัพพมัลลบุตร ด้วย ศีลวิบัติอันไม่มีมูล จริงหรือ

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

ทรงติเตียน

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์ จงให้สติวินัยแก่ทัพพมัลลบุตรผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงให้อย่างนี้ ทัพพมัลลบุตรนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่ง กระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอ ว่าดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 520

คำขอสติวินัย

ท่านเจ้าข้า ภิกษุเมตติยะและภิกษุภุมมชกะนี้ โจทข้าพเจ้าด้วยศีลวิบัติอันไม่มีมูล ข้าพเจ้านั้นถึงความ ไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกะสงฆ์

พึงขอแม้ครั้งที่สอง ...

พึงขอแม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ภิกษุเมตติยะ และภิกษุภุมมชกะนี้ โจทข้าพเจ้าด้วยศีลวิบัติอันไม่มีมูล ข้าพเจ้านั้นถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกะ สงฆ์ แม้ครั้งที่สาม.

[๕๙๘] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย ญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

กรรมวาจาให้สติวินัย

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุเมตติยะ และภิกษุภุมมชกะนี้ โจทท่านพระทัพพมัลลบุตรด้วยศีล วิบัติอันไม่มีมูล ท่านพระทัพพมัลลบุตรเป็นผู้ถึงความ ไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกะสงฆ์ ถ้าความพร้อม พรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้สติวินัย แก่ท่านพระ ทัพพมัลลบุตรผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว นี้เป็นญัตติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุเมตติยะ และภิกษุภุมมชกะนี้ โจทท่านพระทัพพมัลลบุตรด้วยศีล

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 521

วิบัติอันไม่มีมูล ท่านพระทัพพมัลลบุตรเป็นผู้ถึงความ ไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกะสงฆ์ สงฆ์ให้สติวินัย แก่ท่านพระทัพพมัลลบุตร ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว การให้สติวินัยแก่ท่านพระทัพพมัลลบุตร ผู้ถึงความ ไพบูลย์แห่งสติแล้ว ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็น ผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง ...

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุเมตติยะและภิกษุภุมมชกะนี้ โจทท่านพระทัพพมัลลบุตรด้วยศีลวิบัติอันไม่มีมูล ท่าน พระทัพพมัลลบุตรเป็นผู้ถึงความไพบูลย์แต่งสติแล้ว ขอ สติวินัยกะสงฆ์ สงฆ์ให้สติวินัยแก่ท่านพระทัพพมัลลบุตร ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว การให้สติวินัยแต่ท่าน พระทัพพมัลลบุตร ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ชอบ แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

สติวินัย อันสงฆ์ให้แล้วแก่ท่านพระทัพพมัลลบุตร ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุ นั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ อย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 522

การให้สติวินัยที่เป็นธรรมมี ๕ อย่าง

[๕๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การให้สติวินัยที่เป็นธรรมมี ๕ อย่าง นี้ คือ ภิกษุเป็นผู้หมดจด ไม่ต้องอาบัติ ๑ ผู้อื่นโจทเธอ ๑ เธอ ขอ ๑ สงฆ์ให้สติวินัยแก่เธอ ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันโดยธรรมให้ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การให้สติวินัยที่เป็นธรรมมี ๕ อย่างนี้แล.

เรื่องพระคัคคะ

[๖๐๐] โดยสมัยนั่นแล พระคัคคะวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและ พยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายโจทพระคัคคะด้วยอาบัติที่เธอวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดต้องแล้วว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จง ระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้า วิกลจริต มีจิตแปรปรวนเสียแล้ว ข้าพเจ้านั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ข้าพเจ้าระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ ข้าพเจ้าหลง ได้ ทำสิ่งนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายผู้อันเธอกล่าวอยู่แม้อย่างนั้น ก็ยังโจทเธอ อยู่ตามเดิมว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ บรรดา ภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลาย จึงได้โจทพระคัคคะ ด้วยอาบัติที่เธอวิกลจริต มี จิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดต้องแล้วว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึก อาบัติเห็นปานนี้ เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าวิกลจริต

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 523

มีจิตแปรปรวนเสียแล้ว ข้าพเจ้านั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ข้าพเจ้าระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ ข้าพเจ้าหลง ได้ ทำสิ่งนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลาย ผู้อันเธอกล่าวอยู่แม้อย่างนั้น ก็ยังโจทเธอ อยู่ตามเดิมว่า ท่านต้องอาบัติแล้วจงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ แล้วกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง หลาย ได้ยินว่าภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุคัคคะ ... จริงหรือ

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงติเตียน ... ..ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์ จงให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุคัคคะผู้หายวิกลจริตแล้ว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงให้อย่างนี้ คัคคะภิกษุนั้นพึง เข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอ ว่าดังนี้:-

คำขออมูฬหวินัย

ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าวิกลจริต มีจิตแปรปรวนเสีย แล้ว ข้าพเจ้านั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติ ละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วย วาจาและพยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายโจทข้าพเจ้า

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 524

ด้วยอาบัติที่ข้าพเจ้าวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติ ละเมิดต้องแล้วว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติ เห็นปานนี้ ข้าพเจ้ากล่าวกะภิกษุเท่านั้นอย่างนี้ว่า ท่าน ทั้งทลาย ข้าพเจ้าวิกลจริต มีจิตแปรปรวนเสียแล้ว ข้าพเจ้านั้นวิกลจริล มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิด กิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ข้าพเจ้าระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ ข้าพเจ้าหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายผู้อันข้าพเจ้า กล่าวอยู่แม้อย่างนั้นก็ยังโจทข้าพเจ้าอยู่ตามเดิมว่า ท่าน ต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้น หายวิกลจริตแล้ว ขออมูฬหวินัยกะสงฆ์ พึงขอแม้ครั้งที่สอง ...

พึงขอแม้ครั้งที่สาม ... ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าวิกล จริต มีจิตแปรปรวนเสียแล้ว ข้าพเจ้านั้นวิกลจริต มี จิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะ เป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายโจทข้าพเจ้าด้วยอาบัติที่ข้าพเจ้าวิกลจริต มี จิตแปรปรวนประพฤติละเมิดต้องแล้วว่า ท่านต้องอาบัติ แล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ ข้าพเจ้ากล่าวกะภิกษุ เหล่านั้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าวิกลจริต มี จิตแปรปรวนเสียแล้ว ข้าพเจ้านั้นวิกลจริต มีจิตแปร

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 525

ปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอัน มาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ข้าพเจ้า ระลึกอาบัติไม่ได้ ข้าพเจ้าหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายผู้อันข้าพเจ้ากล่าวอยู่แม้อย่างนี้ ก็ยังโจทข้าพเจ้าอยู่ ตามเดิมว่า ท่านต้องอาบัติแล้วจงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นหายวิกลจริตแล้ว ขออมูฬหวินัย กะสงฆ์ แม้ครั้งที่สาม.

[๖๐๑] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทรามด้วย ญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

กรรมวาจาให้อมูฬหวินัย

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า คัคคะภิกษุนี้ วิกลจริตมีจิตแปรปรวน เธอวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้ง ที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลาย โจทคัคคะภิกษุด้วยอาบัติที่เธอวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดต้องแล้วว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึก อาบัติเห็นปานนี้ เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าวิกลจริต มีจิตแปรปรวนเสียแล้ว ข้าพเจ้านั้น วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ข้าพเจ้าระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ ข้าพเจ้า

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 526

หลง ได้ทำสิ่งนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายผู้อันเธอกล่าวอยู่ แม้อย่างนั้น ก็ยังโจทเธออยู่ตามเดิมว่า ท่านต้องอาบัติ แล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอหายวิกลจริตแล้ว ขออมูฬหวินัยกะสงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่ แล้ว สงฆ์พึงให้อมูฬหวินัยแก่คัคคะภิกษุผู้หายวิกลจริต แล้ว นี้เป็นญัตติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า คัคคะภิกษุนี้ วิกลจริตมีจิตแปรปรวน เธอวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้ง ที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลาย โจทคัคคะภิกษุด้วยอาบัติที่เธอวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดต้องแล้วว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึก อาบัติเห็นปานนี้เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้า วิกลจริตมีจิตแปรปรวนเสียแล้ว ข้าพเจ้านั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะ เป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ข้าพเจ้าระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ ข้าพเจ้าหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายผู้อันเธอกล่าวอยู่แม้อย่างนั้น ก็ยังโจทเธอ อยู่ตามเดิมว่าท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปาน นี้ เธอหายวิกลจริตแล้ว ขออมูฬหวินัยกะสงฆ์ สงฆ์ ให้อมูฬหวินัยแก่คัคคะภิกษุผู้หายวิกลจริตแล้ว การให้

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 527

อมูฬหวินัยแก่คัคคะภิกษุผู้หายวิกลจริตแล้ว ชอบแก่ท่าน ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่งไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน ผู้นั้นพึงพูด

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง ...

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม ...

อมูฬหวินัย อันสงฆ์ให้แล้วแก่คัคคะภิกษุ ผู้หาย วิกลจริตแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า ทรงความนี้ไว้ อย่างนี้.

ให้อมูฬหวินัยไม่เป็นธรรม ๓ หมวด

[๖๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การให้อมูฬหวินัย ไม่เป็นธรรม ๓ หมวด เป็นธรรม ๓ หมวดนี้ การให้อมูฬหวินัย ไม่เป็นธรรม ๓ หมวด เป็นไฉน?

หมวดที่ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรนวินัยนี้ ต้องอาบัติ สงฆ์หรือ ภิกษุ ๒ - ๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียว โจทเธอว่าท่านต้องอาบัติแล้วจงระลึก อาบัติเห็นปานนี้ เธอกำลังระลึก กล่าวอย่างนี้ว่าท่าน ข้าพเจ้าต้อง แล้ว แต่ระลึกอาบัติเห็นปานนี้ไม่ได้ สงฆ์ให้อมูฬหวินัยแก่เธอ การ ให้อมูฬหวินัยไม่เป็นธรรม.

หมวดที่ ๒

[๖๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ต้องอาบัติ สงฆ์หรือภิกษุ ๒ - ๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติ

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 528

แล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอระลึกได้จึงกล่าวอย่างนี้ว่าท่าน ข้าพเจ้าระลึกได้เหมือนความฝัน สงฆ์ให้อมูฬหวินัย แก่เธอ การให้ อมูฬหวินัยไม่เป็นธรรม.

หมวดที่ ๓

n [๖๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ต้องอาบัติ สงฆ์หรือภิกษุ ๒ - ๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติ แล้วจงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอหายวิกลจริตแล้วแต่ยังทำเป็นวิกลจริต ว่า ข้าพเจ้าก็ทำอย่างนี้ ท่านทั้งหลายก็ทำอย่างนี้ สิ่งนี้ควรแก่ข้าพเจ้า สิ่งนี้ควรแม้แก่ท่านทั้งหลาย สงฆ์ให้อมูฬหวินัยแก่เธอ การให้อมูฬหวินัย ไม่เป็นธรรม.

การให้อมูฬหวินัยไม่เป็นธรรม ๓ หมวด เหล่านี้

ให้อมูฬหวินัยไม่เป็นธรรม ๓ หมวด จบ

ให้อมูฬหวินัยเป็นธรรม ๓ หมวด

หมวดที่ ๑

[๖๐๕] การให้อมูฬหวินัยเป็นธรรม ๓ หมวดเป็นไฉน? ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย สงฆ์ หรือภิกษุ ๒ - ๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียว

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 529

โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอระลึก ไม่ได้จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน ข้าพเจ้าต้องอาบัติแล้วแต่ระลึกอาบัติเห็น ปานนี้ไม่ได้ สงฆ์ให้อมูฬหวินัยแก่เธอ การให้อมูฬหวินัยเป็นธรรม.

หมวดที่ ๒

[๖๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอัน มาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย สงฆ์หรือภิกษุ ๒ - ๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติแล้วจงระลึกอาบัติเห็น ปานนี้ เธอระลึกไม่ได้จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน ข้าพเจ้าระลึกได้คล้าย ความฝัน สงฆ์ให้อมูฬหวินัยแก่เธอ การให้อมูฬหวินัยเป็นธรรม.

หมวดที่ ๓

[๖๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอัน มาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย สงฆ์หรือภิกษุ ๒ - ๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติ เห็นปานนี้ เธอวิกลจริต ทำอาการวิกลจริตว่า ข้าพเจ้าก็ทำอย่างนี้ แม้ท่านทั้งหลายก็ทำอย่างนี้ สิ่งนี้ควรแม้แก่ข้าพเจ้า สิ่งนี้ควรแม้แก่ท่าน ทั้งหลาย สงฆ์ให้อมูฬหวินัยแก่เธอ การให้อมูฬหวินัยเป็นธรรม.

การให้อมูฬหวินัยเป็นธรรม ๓ หมวด เหล่านี้

ให้อมูฬหวินัยเป็นธรรม ๓ หมวด จบ

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 530

ทำกรรมไม่ตามปฏิญาณ

[๖๐๘] สมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ทำกรรม คือ ตัชชนียกรรม บ้าง นิยสกรรมบ้าง ปัพพาชนียกรรมบ้าง ปฏิสารณียกรรมบ้าง อุกเขปนียกรรมบ้าง แก่ภิกษุทั้งหลายไม่ตามปฏิญาณ บรรดาภิกษุที่เป็น ผู้มักน้อย ... .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์ จึงได้ทำกรรมคือ ตัชชนียกรรมบ้าง นิยสกรรมบ้าง ปัพพาชนียกรรม บ้าง ปฏิสารณียกรรมบ้าง อุกเขปนียกรรมบ้าง แก่ภิกษุทั้งหลาย ไม่ ตามปฏิญาณเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง หลาย ได้ยินว่าพระฉัพพัคคีย์ทำกรรม คือ ตัชชนียกรรมบ้าง นิยสกรรมบ้าง ปัพพาชนียกรรมบ้าง ปฏิสารณียกรรมบ้าง อุกเขปนียกรรม บ้าง แก่ภิกษุทั้งหลาย ไม่ตามปฏิญาณ จริงหรือ?

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรมคือ ตัชชนียกรรม ก็ดี นิยสกรรมก็ดี ปัพพาชนียกรรมก็ดี ปฏิสารณียกรรมก็ดี อุกเขปนียกรรมก็ดี อันภิกษุไม่พึงทำแก่ภิกษุทั้งหลาย ไม่ตามปฏิญาณ รูปใด ทำ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ทำตามปฏิญาณไม่เป็นธรรม

[๖๐๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การทำตามปฏิญาณที่ไม่เป็นธรรม อย่างนี้แล ที่เป็นธรรมอย่างนี้ การทำตามปฏิญาณไม่เป็นธรรมอย่างไร?

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 531

ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุ ๒ - ๓ รูป หรือภิกษุรูป เดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิก เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน ข้าพเจ้ามิได้ต้องอาบัติปาราชิก ข้าพเจ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสส สงฆ์ปรับ เธอด้วยอาบัติสังฆาทิเสส การปรับอย่างนี้ ชื่อว่าทำตามปฏิญาณไม่เป็น ธรรม

ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุ ๒ - ๓ รูป หรือภิกษุรูป เดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิก เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน ข้าพเจ้ามิได้ต้องอาบัติปาราชิก ข้าพเจ้าต้องอาบัติถุลลัจจัย สงฆ์ปรับ เธอด้วยอาบัติถุลลัจจัย การปรับอย่างนี้ ชื่อว่าทำตามปฏิญาณ ไม่เป็น ธรรม

ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุ ๒ - ๓ รูป หรือภิกษุรูป เดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิก เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน ข้าพเจ้ามิได้ต้องอาบัติปาราชิก ข้าพเจ้าต้องอาบัติปาจิตตีย์ สงฆ์ปรับ เธอด้วยอาบัติปาจิตตีย์ การปรับอย่างนี้ ชื่อว่าทำตามปฏิญาณไม่เป็น ธรรม

ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุ ๒ - ๓ รูป หรือภิกษุรูป เดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิก เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน ข้าพเจ้ามิได้ต้องอาบัติปาราชิก ข้าพเจ้าต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ สงฆ์ปรับ เธอด้วยอาบัติปาฏิเทสนียะ การปรับอย่างนี้ ชื่อว่าทำตามปฏิญาณไม่เป็น ธรรม

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 532

ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุ ๒ - ๓ รูป หรือภิกษุรูป เดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิก เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน ข้าพเจ้ามิได้ต้องอาบัติปาราชิก ข้าพเจ้าต้องอาบัติทุกกฏ สงฆ์ปรับเธอ ด้วยอาบัติทุกกฏ การปรับอย่างนี้ ชื่อว่าทำตามปฏิญาณไม่เป็นธรรม

ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุ ๒ - ๓ รูป หรือภิกษุรูป เดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิก เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน ข้าพเจ้ามิได้ต้องอาบัติปาราชิก ข้าพเจ้าต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์ปรับ เธอด้วยอาบัติทุพภาสิต การปรับอย่างนี้ ชื่อว่าทำตามปฏิญาณไม่เป็น ธรรม

ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ... .

ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย ...

ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ ... .

ภิกษุต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ... .

ภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ ... ..

ภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์หรือภิกษุ ๒ - ๓ รูป หรือภิกษุรูป เดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน ข้าพเจ้ามิได้ต้องอาบัติทุพภาสิต ข้าพเจ้าต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์ปรับ เธอด้วยอาบัติปาราชิก การปรับอย่างนี้ ชื่อว่าทำตามปฏิญาณไม่เป็น ธรรม

ภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์หรือภิกษุ ๒ - ๓ รูป หรือภิกษุรูป เดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 533

ข้าพเจ้ามิได้ต้องอาบัติทุพภาสิต ข้าพเจ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสส สงฆ์ปรับ เธอด้วยอาบัติสังฆาทิเสส การปรับอย่างนี้ ชื่อว่าทำตามปฏิญาณไม่เป็น ธรรม

ภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์หรือภิกษุ ๒ - ๓ รูป หรือภิกษุรูป เดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต เธอกล่าวอย่างนี้ว่าท่าน ข้าพเจ้ามิได้ต้องอาบัติทุพภาสิต ข้าพเจ้าต้องอาบัติถุลลัจจัย สงฆ์ปรับ เธอด้วยอาบัติถุลลัจจัย การปรับอย่างนี้ ชื่อว่าทำตามปฏิญาณไม่เป็นธรรม

ภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์หรือภิกษุ ๒ - ๓ รูป หรือภิกษุรูป เดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต เธอกล่าวอย่างนี้ว่าท่าน ข้าพเจ้ามิได้ต้องอาบัติทุพภาสิต ข้าพเจ้าต้องอาบัติปาจิตตีย์ สงฆ์ปรับ เธอด้วยอาบัติปาจิตตีย์ การปรับอย่างนี้ ชื่อว่าทำตามปฏิญาณไม่เป็นธรรม

ภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์หรือภิกษุ ๒ - ๓ รูป หรือภิกษุรูป เดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต เธอกล่าวอย่างนี้ว่าท่าน ข้าพเจ้ามิได้ต้องอาบัติทุพภาสิต ข้าพเจ้าต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ สงฆ์ปรับ เธอด้วยอาบัติปาฏิเทสนียะ การปรับอย่างนี้ชื่อว่าทำตามปฏิญาณไม่เป็น ธรรม

ภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์ หรือภิกษุ ๒ - ๓ รูป หรือภิกษุ รูปเดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต เธอกล่าวอย่างนี้ว่าท่าน ข้าพเจ้ามิได้ต้องอาบัติทุพภาสิต ข้าพเจ้าต้องอาบัติทุกกฏ สงฆ์ปรับเธอ ด้วยอาบัติทุกกฏ การปรับอย่างนี้ ชื่อว่าทำตามปฏิญาณไม่เป็นธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ทำตามปฏิญาณไม่เป็นธรรม.

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 534

ทำตามปฏิภาณเป็นธรรม

[๖๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การทำตามปฏิญาณเป็นธรรม อย่างไร?

ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์ หรือภิกษุ ๒ - ๓ รูป หรือภิกษุ รูปเดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิก เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ถูกละ ท่าน ข้าพเจ้าต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติปาราชิก การ ปรับอย่างนี้ ชื่อว่าทำตามปฏิญาณเป็นธรรม

ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ... .

ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย ... .

ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ ... ...

ภิกษุต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ... .

ภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ ... .

ภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์ หรือภิกษุ ๒ - ๓ รูป หรือภิกษุ รูปเดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ถูกละท่าน ข้าพเจ้าต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติทุพภาสิต การปรับ อย่างนี้ ชื่อว่าทำตามปฏิญาณเป็นธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ทำตามปฏิญาณเป็นธรรม.

ระงับอธิกรณ์ด้วยเยภุยยสิกา

[๖๑๑] สมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายก่อความบาดหมาง ก่อความ ทะเลาะถึงความวิวาทกัน ในท่ามกลางสงฆ์ กล่าวทิ่มแทงกันและกันด้วย หอกคือปากอยู่ ไม่อาจเพื่อระงับอธิกรณ์นั้นได้ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 535

พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ ระงับอธิกรณ์เห็นปานนี้ด้วยเยภุยยสิกา พึงสมมติภิกษุผู้ประกอบด้วย องค์ ๕ ให้เป็นผู้จับฉลาก คือ:-

๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ

๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง

๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย

๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว และ

๕. รู้จักฉลากที่จับแล้วและยังไม่จับ

ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ พึงขอร้องภิกษุก่อน ครั้นแล้วภิกษุ ผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

กรรมวาจาสมมติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อม พรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็น ผู้ให้จับฉลาก นี้เป็นญัตติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติ ภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ให้จับฉลาก การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้ เป็นผู้ให้จับฉลาก ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้ นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 536

ภิกษุมีชื่อนี้อันสงฆ์สมมติแล้วให้เป็นผู้จับฉลาก ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ อย่างนี้.

การจับฉลากไม่เป็นธรรม ๑๐ อย่าง

[๖๑๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การจับฉลากไม่เป็นธรรม ๑๐ อย่าง เป็นธรรม ๑๐ อย่าง เหล่านี้ การจับฉลากไม่เป็นธรรม ๑๐ อย่าง เป็นไฉน? คือ:-

๑. อธิกรณ์เป็นเรื่องเล็กน้อย

๒. ไม่ลุกลามไปไกล

๓. ภิกษุพวกนั้นระลึกไม่ได้เอง และพวกอื่นก็ให้ระลึกไม่ได้

๔. รู้ว่า อธรรมวาทีมากกว่า

๕ รู้ว่า ไฉน อธรรมวาทีพึงมีมากกว่า

๖. รู้ว่า สงฆ์จักแตกกัน

๗. รู้ว่า ไฉน สงฆ์พึงแตกแยกกัน

๘. อธรรมวาทีภิกษุจับโดยไม่เป็นธรรม

๙. อธรรมวาทีภิกษุจับเป็นพวกๆ

๑๐. ไม่จับตามความเห็น

การจับฉลากไม่เป็นธรรม ๑๐ อย่าง เหล่านี้.

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 537

การจับฉลากเป็นธรรม ๑๐ อย่าง

[๖๑๓] การจับฉลากเป็นธรรม ๑๐ อย่าง เป็นไฉน? คือ:-

๑. อธิกรณ์ไม่ใช่เรื่องเล็ก

๒. ลุกลามไปไกล

๓. ภิกษุพวกนั้นระลึกได้ และพวกอื่นก็ให้ระลึกได้

๔. รู้ว่า ธรรมวาทีมากกว่า

๕. รู้ว่า ไฉนธรรมวาทีพึงมีมากกว่า

๖. รู้ว่า สงฆ์จักไม่แตกกัน

๗. รู้ว่า ไฉนสงฆ์ไม่พึงแตกกัน

๘. ธรรมวาทีภิกษุจับโดยธรรม

๙. ธรรมวาทีภิกษุพร้อมเพรียงกันจับ

๑๐. จับตามความเห็น

การจับสลากเป็นธรรม ๑๐ อย่าง เหล่านี้.

สงฆ์ทำตัสสปาปิยสิกากรรม

[๖๑๔] สมัยนั้นแล พระอุปวาฬถูกซักถามถึงอาบัติ ในท่าม กลางสงฆ์ ปฏิเสธแล้วปฏิญาณ ปฏิญาณแล้วปฏิเสธ ให้การกลับไป กลับมา กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระอุปวาฬถูกชักถามถึงอาบัติในท่ามกลาง สงฆ์ จึงได้ปฏิเสธแล้วปฏิญาณ ปฏิญาณแล้วปฏิเสธ ให้การกลับไป กลับมา กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่เล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค-

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 538

เจ้าๆ ทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่าภิกษุ อุปวาฬถูกซักถามถึงอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ ปฏิเสธแล้วปฏิญาณ ปฏิญาณ แล้วปฏิเสธ ให้การกลับไปกลับมา กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่ จริงหรือ

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน ... .ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับ สั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จง ทำตัสสปาปิยสิกากรรม๑ แก่ภิกษุอุปวาฬ

ก็แล สงฆ์พึงทำอย่างนี้ พึงโจทภิกษุอุปวาฬก่อน ครั้นแล้วพึง ให้เธอ ให้การ แล้วพึงปรับอาบัติ ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

กรรมวาจาทำตัสสปาปิยสิกากรรม

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุปวาฬ นี้ถูกซักถามถึงอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ ปฏิเสธแล้ว ปฏิญาณ ปฏิญาณแล้วปฏิเสธ ให้การกลับไปกลับมา กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุอุปวาฬ นี้เป็นญัตติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุปวาฬ นี้ถูกซักถามถึงอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ ปฏิเสธแล้ว


๑. กรรมอันสงฆ์พึงทำ เพราะความที่ภิกษุนั้นเป็นผู้บาป สงฆ์ได้ทำแก่ภิกษุอุปวาฬเป็นครั้ง แรก.

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 539

ปฏิญาณ ปฏิญาณแล้วปฏิเสธ ให้การกลับไปกลับมา กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่ สงฆ์ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุ อุปวาฬ การทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุอุปวาฬ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง ...

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม ...

ตัสสปาปิยสิกากรรมอันสงฆ์ทำแล้วแก่ภิกษุอุปวาฬ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ อย่างนี้.

ตัสสปาปิยสิกากรรมเป็นธรรม ๕ อย่าง

[๖๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การทำตัสสปาปิยสิกากรรมเป็นธรรม ๕ อย่างนี้ คือ :-

๑. ภิกษุเป็นผู้ไม่สะอาด

๒. เป็นอลัชชี

๓. เป็นผู้ถูกโจท

๔. สงฆ์ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่เธอ

๕. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำโดยธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การทำตัสสปาปิยสิกากรรมเป็นธรรม ๕ อย่าง นี้แล.

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 540

ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด

หมวดที่ ๑

[๖๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วย องค์ ๓ เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำลับหลัง ๑ ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำไม่ตามปฏิญาณ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี

หมวดที่ ๒

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ ๑ ทำเพราะอาบัติมิใช่เป็นเทศนาคามินี ๑ ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรม ... .

หมวดที่ ๓

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่โจทก่อนแล้วทำ ๑ ไม่ให้จำเลย ให้การก่อนแล้วทำ ๑ ไม่ปรับ อาบัติแล้วทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรม ...

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 541

หมวดที่ ๔

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำลับหลัง ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรม ... .

หมวดที่ ๕

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรม ... .

หมวดที่ ๖

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำไม่ตามปฏิญาณ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรม ... .

หมวดที่ ๗

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรม ... .

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 542

หมวดที่ ๘

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้ว ไม่ดี คือ ทำเพราะอาบัติมิใช่เป็นเทสนาคามินี ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรม ... .

หมวดที่ ๙

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะอาบัติที่แสดง ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรม ... ...

หมวดที่ ๑๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่โจทก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรม ... .

หมวดที่ ๑๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 543

ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรค ทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรม ... .

หมวดที่ ๑๒

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่ปรับอาบัติก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.

ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด จบ

ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด

หมวดที่ ๑

[๖๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วย ๓ องค์ ๓ เป็นธรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำต่อ หน้า ๑ สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำตามปฏิญาณ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 544

หมวดที่ ๒

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำ เพราะต้องอาบัติ ๑ ทำเพราะอาบัติเป็นเทสนาคามินี ๑ ทำเพราะอาบัติ ยังมิได้แสดง ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรม ...

หมวดที่ ๓

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ โจท ก่อนแล้วทำ ๑ ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ปรับอาบัติแล้วทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรม ... .

หมวดที่ ๔

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำต่อ หน้า ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรม ... .

หมวดที่ ๕

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ สอบ ถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรม ...

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 545

หมวดที่ ๖

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำ ตามปฏิญาณ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรม ... .

หมวดที่ ๗

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำ เพราะต้องอาบัติ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรม ... .

หมวดที่ ๘

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำ เพราะอาบัติเป็นเทสนาคามินี ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกัน ทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรม ... ...

หมวดที่ ๙

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำ เพราะอาบัติยังมิได้แสดง ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรม ... .

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 546

หมวดที่ ๑๐

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ โจทก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรม ... .

หมวดที่ ๑๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ให้ จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรม ... .

หมวดที่ ๑๒

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ปรับ อาบัติก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.

ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด จบ

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 547

ข้อที่สงฆ์จำนง ๖ หมวด

หมวดที่ ๑

[๖๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ เมื่อ สงฆ์จำนง พึงทำตัสสปาปิยสิกากรรม คือ เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เป็นพาล ไม่ฉลาด ไม่อาบัติมาก มีมารยาทไม่สมควร ๑ เป็นผู้ คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์ จำนงพึงทำตัสสปาปิยสิกากรรม.

หมวดที่ ๒

[๖๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่น อีก เมื่อสงฆ์จำนงพึงทำตัสสปาปิยสิกากรรม คือ เป็นผู้มีศีลวิบัติใน อธิศีล ๑ เป็นผู้มีอาจารวิบัติในอัธยาจาร ๑ เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์ จำนงพึงทำตัสสปาปิยสิกากรรม.

หมวดที่ ๓

[๖๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่น อีก เมื่อสงฆ์จำนงพึงทำตัสสปาปิยสิกากรรม คือกล่าวติเตียนพระพุทธ เจ้า ๑ กล่าวติเตียนพระธรรม ๑ กล่าวติเตียนพระสงฆ์ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์ จำนงพึงทำตัสสปาปิยสิกากรรม.

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 548

หมวดที่ ๔

[๖๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป คือ รูปหนึ่งเป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการ วิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ รูปหนึ่งเป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร รูปหนึ่งคลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการ คลุกคลีอันไม่สมควร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงทำตัสสปาปิยสิกากรรม แก่ ภิกษุ ๓ รูปนี้แล.

หมวดที่ ๕

[๖๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีก คือ รูปหนึ่งเป็นผู้มีศีลวิบัติในอธิศีล รูปหนึ่งเป็นผู้มีอาจารวิบัติในอัธยาจาร รูปหนึ่งเป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติใน อติทิฏฐิ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงทำตัสสปาปิยสิกากรรม แก่ ภิกษุ ๓ รูปนี้แล.

หมวดที่ ๖

[๖๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีก คือ รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรม รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระสงฆ์

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 549

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ ภิกษุ ๓ รูป นี้แล.

ข้อที่สงฆ์จำนง ๖ หมวด จบ

วัตร ๑๘ ข้อ

[๖๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ถูกสงฆ์ทำตัสสปาปิยสิกากรรม แล้วนั้น ต้องประพฤติชอบ วิธีประพฤติชอบในตัสสปาปิยสิกากรรม นั้น ดังต่อไปนี้ :-

๑. ไม่พึงให้อุปสมบท

๒. ไม่พึงให้นิสัย

๓. ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก

๔. ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี

๕. แม้ได้รับสมมติไว้แล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี

๖. สงฆ์ทำตัสสปาปิยสิกากรรมเพราะอาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น

๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน

๘. ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น

๙. ไม่พึงติกรรม

๑๐. ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 550

๑๑. ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ

๑๒. ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ

๑๓. ไม่พึงทำการไต่สวน

๑๔. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์

๑๕. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นทำโอกาส

๑๖. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น

๑๗. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ

๑๘. ไม่พึงช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้กันในอธิกรณ์

คราวนั้น สงฆ์ได้ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่พระอุปวาฬแล้ว

ภิกษุก่อการวุ่นวาย

[๖๒๕] สมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายเกิดความบาดหมาง เกิดความ ทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็น อันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ครั้งนั้น พวก เธอคิดว่า พวกเราเกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาท อยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าว ด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้น จะพึงเป็นไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ แล้วกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 551

พุทธานุญาตให้ระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัตถารกะ

พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย ว่าดังนี้ :-

[๖๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิด ความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิด กิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วย กาย ถ้าพวกเธอในหมู่นั้นคิดอย่างนี้ว่า พวกเราเกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่ สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวก เราจักปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความ รุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ระงับอธิกรณ์เห็นปานั้น ด้วยติณวัตถารกะ ... ..

วิธีระงับ

[๖๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงระงับอย่างนี้

ภิกษุทุกๆ รูปพึงประชุมในที่แห่งเดียวกัน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

ญัตติกรรมวาจาระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัตถารกะ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิด ความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมาก

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 552

ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจัก ให้ปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็น ไป เพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความ แตกกันก็ได้ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์ พึงระงับอธิกรณ์นี้ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษ หนัก เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกัน ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศ ให้ฝ่ายของคนทราบด้วยคณะญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

คณะญัตติกรรมวาจา

ขอท่านทั้งหลายจงพึงข้าพเจ้า พวกเราเกิดความ บาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่ กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับ กันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อ ความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึง แสดงอาบัติของท่านทั้งหลาย และอาบัติของตนในท่าม กลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้น อาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านทั้งหลาย และเพื่อประโยชน์แก่ตน.

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 553

[๖๒๘] ลำดับนั้น บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกันอีกพวกหนึ่ง ภิกษุ ผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้ฝ่ายของคนทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

คณะญัตติกรรมวาจา

ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิดความ บาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่ กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับ กันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไป เพื่อ ความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึง แสดงอาบัติของท่านทั้งหลาย และอาบัติของตน ใน ท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านทั้งหลาย และเพื่อประโยชน์แก่ตน.

[๖๒๙] บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกัน ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึง ประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

ญัตติทุติยกรรมวาจา

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิด ความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 554

ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่ กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับ กันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไป เพื่อ ความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดง อาบัติของท่านเหล่านี้ และอาบัติของตน ในท่ามกลาง สงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติ เนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้ และ เพื่อประโยชน์แก่ตน นี้เป็นญัตติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิด ความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่ กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจัก ปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไป เพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ ได้ ข้าพเจ้าแสดงอาบัติของท่านเหล่านี้ และอาบัติของ ตน ในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มี โทษหนัก เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์ แก่ท่านเหล่านี้ และเพื่อประโยชน์แก่ตน การแสดงอาบัติ เหล่านี้ของพวกเรา ในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ ชอบ

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 555

แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด อาบัติเหล่านี้ของพวกเราเว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ ข้าพเจ้าแสดงแล้วในท่าม กลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ อย่างนี้.

[๖๓๐] ลำดับนั้น บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกันอีกพวกหนึ่ง ภิกษุ ผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้.

ญัตติทุติยกรรมวาจา

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิด ความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่ กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับ กันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไป เพื่อ ความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดง อาบัติของท่านเหล่านี้ และอาบัติของตนในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติเนื่อง ด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้ และเพื่อ ประโยชน์แก่ตน นี้เป็นญัตติ

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 556

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิด ความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ ประพูดละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่ กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับ กันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไป เพื่อ ความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ข้าพเจ้าแสดงอาบัติของท่านเหล่านี้ และอาบัติของตนใน ท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้ และเพื่อประโยชน์แก่ตน การแสดงอาบัติเหล่านี้ของพวก เรา ในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มี โทษหนัก เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงพูด

อาบัติเหล่านี้ของพวกเรา เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ ข้าพเจ้าแสดงแล้ว ในท่าม กลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ ชอบแก่สง ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ อย่างนี้.

[๖๓๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุ เหล่านั้นเป็นผู้ออกแล้วจากอาบัติเหล่านั้น เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้น อาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ เว้นผู้แสดงความเห็นแย้ง เว้นผู้ไม่ได้อยู่ในที่นั้น.

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 557

อธิกรณ์

[๖๓๒] โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุวิวาทกับพวกภิกษุณีบ้าง พวก ภิกษุณีวิวาทกับพวกภิกษุบ้าง ฝ่ายพระฉันนะเข้าแทรกแซงพวกภิกษุณี แล้ววิวาทกับพวกภิกษุ ให้ถือฝ่ายภิกษุณี บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระฉันนะจึงได้เข้าแทรกแซง พวกภิกษุณี แล้ววิวาทกับพวกภิกษุ ให้ถือฝ่ายภิกษุณีเล่า แล้วกราบ ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ได้ยิน ว่า ภิกษุฉันนะเข้าแทรกแซงพวกภิกษุณี แล้ววิวาทกับพวกภิกษุ ให้ถือ ฝ่ายภิกษุณี จริงหรือ

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงติเตียน ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับ สั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อธิกรณ์ ๔ นี้ คือ วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์.

อธิกรณ์ ๔ อย่าง

๑. วิวาทาธิกรณ์

[๖๓๓] ในอธิกรณ์ ๔ อย่างนั้น วิวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน? ดู ก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมวิวาทกันว่า

๑. นี้เป็นธรรม นี้ไม่เป็นธรรม

๒. นี้เป็นวินัย นี้ไม่เป็นวินัย

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 558

๓. นี้พระตถาคตเจ้าตรัสภาษิตไว้ นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ตรัสภาษิต ไว้

๔. นี้พระตถาคตเจ้าทรงประพฤติมา นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ทรง ประพฤติมา

๕. นี้พระตถาคตเจ้าทรงบัญญัติไว้ นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ทรง บัญญัติไว้

๖. นี้เป็นอาบัติ นี้ไม่เป็นอาบัติ

๗. นี้เป็นอาบัติเบา นี้เป็นอาบัติหนัก

๘. นี้เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ นี้เป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้

๙. นี้เป็นอาบัติชั่วหยาบ นี้เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ.

ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความทุ่มเถียง ความกล่าวต่างกัน ความกล่าวประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้มใจ ความหมายมั่นในเรื่องนั้นอันใด นี้เรียกว่า วิวาทาธิกรณ์.

๒. อนุวาทาธิกรณ์

[๖๓๔] ในอธิกรณ์ ๔ อย่างนั้น อนุวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมโจทภิกษุ ด้วยศีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ การโจท การ กล่าวหา การฟ้องร้อง การประท้วง ความเป็นผู้คล้อยตาม การทำ ความอุตสาหะโจท การตามเพิ่มกำลังให้ ในเรื่องนั้นอันใด นี้เรียกว่า อนุวาทาธิกรณ์.

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 559

๓. อาปัตตาธิกรณ์

[๖๓๕] ในอธิกรณ์ ๔ อย่างนั้น อาปัตตาธิกรณ์ เป็นไฉน? อาบัติทั้ง ๕ กอง ซึ่งอาปัตตาธิกรณ์ อาบัติทั้ง ๗ กอง ชื่ออาปัตตา ธิกรณ์ นี้เรียกว่า อาปัตตาธิกรณ์.

๔. กิจจาธิกรณ์

[๖๓๖] ในอธิกรณ์ ๔ อย่างนั้น กิจจาธิกรณ์ เป็นไฉน? ความ เป็นหน้าที่ ความเป็นกรณีย์แห่งสงฆ์อันใด คือ อปโลกนกรรม ญัตติ กรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม นี้เรียกว่า กิจจาธิกรณ์.

อธิกรณ์ ๔ อย่าง จบ

มูลแห่งวิวาทาธิกรณ์

[๖๓๗] อะไรเป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ รากแห่งการเถียงกัน ๖ อย่าง เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ รากแห่งอกุศลทั้ง ๓ เป็นมูลแห่งวิวาทา ธิกรณ์ รากแห่งกุศลทั้ง ๓ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์

รากแห่งการเถียงกัน ๖ อย่าง เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มักโกรธ เป็น ผู้ถือโกรธ ภิกษุที่มักโกรธ ถือโกรธนั้น ย่อมไม่มีความเคารพยำเกรง ในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์อยู่ ย่อมไม่ทำให้บริบูรณ์ แม้ในสิกขา ภิกษุที่ไม่มีความเคารพ ยำเกรง ในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ แม้ในสิกขาก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น ย่อมยังวิวาทให้เกิดใน

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 560

สงฆ์ การวิวาทย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่เป็นสุข แก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ แก่เทพยดาและมนุษย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอเล็งเห็นรากแห่ง การเถียงกันเห็นปานนี้ ทั้งภายในและภายนอกได้ พวกเธอในบริษัทนั้น พึงพยายามละรากแห่งการเถียงกันอันลามกนั้นแหละเสีย ถ้าพวกเธอไม่เล็ง เห็นรากแห่งการเถียงกันเห็นปานนี้ ทั้งภายในและภายนอก พวกเธอ ในบริษัทนั้นพึงปฏิบัติเพื่อความยืดยาวไป แห่งรากแห่งการเถียงกันอัน ลามกนั้นแหละ ความละรากแห่งการเถียงกันอันลามกนั้น ย่อมมีด้วย อย่างนี้ ความยืดเยื้อแห่งรากแห่งการเถียงกันอันลามกนั้น ย่อมมีต่อไป ด้วยอย่างนี้.

[๖๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ลบหลู่ ตีเสมอท่าน ... ..

ภิกษุเป็นผู้มีปรกติอิสสา ตระหนี่ ... .

ภิกษุเป็นผู้อวดดี เจ้ามายา ...

ภิกษุเป็นผู้มีความปรารถนาลามก มีความเห็นผิด ... .

ภิกษุเป็นผู้ถือแต่ความเห็นของตน ถืออย่างแน่นแฟ้น ปลดได้ ยาก ภิกษุผู้ถือแต่ความเห็นของตน ถืออย่างแน่นแฟ้น ปลดได้ยากนั้น ย่อมไม่มีความเคารพยำเกรง ในพระศาสดา ในพระธรรม ใน พระสงฆ์อยู่ ย่อมไม่ทำให้บริบูรณ์แม้ในสิกขา ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพ ยำเกรง ในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์อยู่ แม้ในสิกขา ก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น ย่อมยังวิวาทให้เกิดในสงฆ์ การวิวาทย่อมเป็น ไปเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่เป็นสุขแก่ชนมาก เพื่อความ

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 561

พินาศแก่ขนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทพยดาและมนุษย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอเล็งเห็นรากแห่งการเถียงกันเห็นปานนี้ ทั้งภายในและภายนอกได้ พวกเธอในบริษัทนั้นพึง พยายามมละรากแห่ง การเถียงกันอันลามกนั้นแหละเสีย ถ้าพวกเธอไม่เล็งเห็นรากแห่งการเถียง กันเห็นปานนี้ ทั้งภายในและภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้น พึง ปฏิบัติเพื่อความยืดเยื้อแห่งรากแห่งการเถียงกันอันลามกนั้นแหละ ความ ละรากแห่งการเถียงกันอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้ ความยืดเยื้อแห่ง รากแห่งการเถียงกันอันลามกนั้น ย่อมมีต่อไปด้วยอย่างนี้ รากแห่งการ วิวาท ๖ อย่างนี้ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์.

อกุศลมูล ๓

[๖๓๙] รากแห่งอกุศล ๓ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ มีจิตโลภวิวาทกัน มีจิตโกรธวิวาทกัน มีจิตหลงวิวาทกันว่า

๑. นี้เป็นธรรม นี้ไม่เป็นธรรม

๒. นี้เป็นวินัย นี้ไม่เป็นวินัย

๓. นี้พระตถาคตเจ้าตรัสภาษิตไว้ นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ตรัส ภาษิตไว

๔. นี้พระตถาคตเจ้าทรงประพฤติมา นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ทรง ประพฤติมา

๕. นี้พระตถาคตเจ้าทรงบัญญัติไว้ นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ทรง บัญญัติไว้

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 562

๖. นี้เป็นอาบัติ นี้ไม่เป็นอาบัติ

๗. นี้เป็นอาบัติเบา นี้เป็นอาบัติหนัก

๘. นี้เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ นี้เป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้

๙. นี้เป็นอาบัติชั่วหยาบ นี้เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ

รากแห่งอกุศล ๓ อย่างนี้ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์.

กุศลมูล ๓

[๖๔๐] รากแห่งกุศล ๓ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ มีจิตไม่โลภวิวาทกัน มีจิตไม่โกรธวิวาทกัน มีจิตไม่หลงวิวาทกันว่า

๑. นี้เป็นธรรม นี้ไม่เป็นธรรม ... ...

๙. นี้เป็นอาบัติชั่วหยาบ นี้เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ.

รากแห่งกุศล ๓ อย่างนี้ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์.

มูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์

[๖๔๑] อะไรเป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ รากแห่งการโจท ๖ อย่าง เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ รากแห่งอกุศลทั้ง ๓ เป็นมูลแห่ง อนุวาทาธิกรณ์ รากแห่งกุศลทั้ง ๓ เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ แม้กาย ก็เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ แม้วาจาก็เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์.

[๖๔๒] รากแห่งการโจท ๖ อย่าง เป็นมูลเห่งอนุวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มักโกรธ ถือโกรธ ภิกษุที่มักโกรธ ถือโกรธนั้น ย่อมไม่มีความเคารพยำเกรงใน พระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์อยู่ ย่อมไม่ทำให้บริบูรณ์แม้

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 563

ในสิกขา ภิกษุที่ไม่เคารพยำกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ใน พระสงฆ์อยู่ แม้ในสิกขาก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น ย่อมยังการโจทกันให้เกิด ในสงฆ์ การโจทย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่เป็น สุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อ ทุกข์แก่เทพดาและมนุษย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอเล็งเห็น รากแห่งการโจทกันเห็นปานนี้ ทั้งภายในและภายนอกได้ พวกเธอใน บริษัทนั้น พึงพยายามละรากแห่งการโจทกันอันลามกนั้นแหละเสีย ถ้า พวกเธอไม่เล็งเห็นรากแห่งการโจทกันเห็นปานนี้ ทั้งภายในและภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้นพึงปฏิบัติเพื่อความยืดเยื้อแห่งราก แห่งการโจทกัน อันลามกนั้นแหละ ความละรากแห่งการโจทกันอันลามกนั้น ย่อมมีด้วย อย่างนี้ การยืดเยื้อแห่งรากแห่งการโจทกันอันลามกนั้น ย่อมมีต่อไป ด้วยอย่างนี้.

[๖๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ลบหลู่ ตีเสมอท่าน

ภิกษุเป็นผู้มีปกติอิสสา ตระหนี่ ... .

ภิกษุเป็นผู้อวดดี เจ้ามายา ... ..

ภิกษุเป็นผู้ความปรารถนาลามก มีความเห็นผิด ... ..

ภิกษุเป็นผู้ถือแต่ความเห็นของตน ถืออย่างแน่นแฟ้น ปลดได้ ยาก ภิกษุที่ถือแต่ความเห็นของตน ถืออย่างแน่นแฟ้น ปลดได้ยากนั้น ย่อมไม่มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 564

อยู่ ย่อมไม่ทำให้บริบูรณ์แม้ในสิกขา ภิกษุที่ไม่มีความเคารพยำกรงใน พระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์อยู่ แม้ในสิกขา ก็ไม่ทำให้ บริบูรณ์นั้น ย่อมยังการโจทกันให้เกิดในสงฆ์ การโจทกันย่อมเป็นไป เพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่เป็นสุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศ แก่ชนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทพดาและมนุษย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอเล็งเห็นรากแห่งการโจทกันเห็นปานนี้ ทั้ง ภายในและภายนอกได้ พวกเธอในบริษัทนั้น พึงพยายามละรากแห่ง การโจทกันอันลามกนั้นแหละเสีย ถ้าพวกเธอไม่เล็งเห็นรากแห่งการโจท กันเห็นปานนี้ ทั้งภายในและภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้น พึง ปฏิบัติเพื่อความยืดเยื้อแห่งรากแห่งการโจทกันอันลามกนั้นแหละ ความ ละรากแห่งการโจทกันอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้ ความยืดเยื้อแห่ง รากแห่งการโจทกันอันลามกนั้น ย่อมมีต่อไปด้วยอย่างนี้

รากแห่งการโจทกัน ๖ อย่างนี้ เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์.

อกุศลมูล ๓

[๖๔๔] อกุศลมูล ๓ อย่าง เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์เป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีจิตโลภโจท ย่อมมีจิตโกรธโจท ย่อมมีจิตหลงโจทภิกษุ ด้วยศีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติหรืออาชีววิบัติ อกุศลมูล ๓ อย่างนี้ เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์

กุศลมูล ๓

[๖๔๕] กุศลมูล ๓ อย่าง เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีจิตไม่โลภโจท

 
  ข้อความที่ 62  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 565

ย่อมมีจิตไม่โกรธโจท ย่อมมีจิตไม่หลงโจทภิกษุ ด้วยศีลวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ กุศลมูล ๓ อย่างนี้ เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์.

กาย

[๖๔๖] อนึ่ง กาย เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีผิวพรรณน่ารังเกียจ ไม่น่าดู มี รูปร่างเล็ก มีอาพาธมาก เป็นคนบอด ง่อย กระจอก หรืออัมพาต ภิกษุทั้งหลายย่อมโจทภิกษุนั้น ด้วยกายใด กายนี้ เป็นมูลแห่งอนุ วาทาธิกรณ์.

วาจา

[๖๔๗] อนึ่ง วาจา เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นคนพูดไม่ดี พูดไม่ชัด พูดระราน ภิกษุทั้งหลายย่อมโจทภิกษุนั้น ด้วยวาจาใด วาจานี้ เป็นมูลแห่งอนุ วาทาธิกรณ์.

มูลแห่งอาปัตตาธิกรณ์

[๖๔๘] อะไรเป็นมูลแห่งอาปัตตาธิกรณ์? สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ อย่าง เป็นมูลแห่งอาปัตตาธิกรณ์ คือ:-

๑. อาบัติเกิดทางกาย ไม่ใช่ทางวาจา ไม่ใช่ทางจิต ก็มี

๒. อาบัติเกิดทางวาจา ไม่ใช่ทางกาย ไม่ใช่ทางจิต ก็มี

๓. อาบัติเกิดทางกายกับวาจา ไม่ใช่ทางจิต ก็มี

๔. อาบัติเกิดทางกายกับจิต ไม่ใช่ทางวาจา ก็มี

๕. อาบัติเกิดทางวาจากับจิต ไม่ใช่ทางกาย ก็มี

 
  ข้อความที่ 63  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 566

๖. อาบัติเกิดทางกาย วาจา และจิต ก็มี.

สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ อย่างนี้ เป็นมูลแห่งอาปัตตาธิกรณ์.

มูลแห่งกิจจาธิกรณ์

[๖๔๙] อะไรเป็นมูลแห่งกิจจาธิกรณ์?

สงฆ์เป็นมูลอันหนึ่งแห่งกิจจาธิกรณ์

อธิกรณ์เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต

[๖๕๐] วิวาทาธิกรณ์เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต วิวาทาธิกรณ์ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี.

[๖๕๑] บรรดาวิวาทาธิกรณ์นั้น วิวาทาธิกรณ์ เป็นอกุศล เป็น ไฉน?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ มีจิตเป็น อกุศลวิวาทกันว่า

๑. นี้เป็นธรรม นี้ไม่เป็นธรรม ... .

๙. นี้เป็นอาบัติชั่วหยาบ นี้เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ.

ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความทุ่มเถียง การกล่าวต่างกัน การกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้มใจ ความหมายมั่นในเรื่องนั้น อันใด นี้เรียกว่า วิวาทาธิกรณ์เป็นอกุศล.

[๖๕๒] บรรดาวิวาทาธิกรณ์นั้น วิวาทาธิกรณ์เป็นกุศล เป็น ไฉน?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้มีจิตเป็นกุศล วิวาทกันว่า

 
  ข้อความที่ 64  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 567

๑. นี้เป็นธรรม นี้ไม่เป็นธรรม ... .

๙. นี้เป็นอาบัติชั่วหยาบ นี้เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ

ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความทุ่มเถียง การกล่าวต่างกัน การกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้มใจ ความหมายมั่นในเรื่องนั้นอันใด นี้เรียกว่า วิวาทาธิกรณ์เป็นกุศล.

[๖๕๓] บรรดาวิวาทาธิกรณ์นั้น วิวาทาธิกรณ์เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ มีจิตเป็น อัพยากฤตวิวาทกันว่า

๑. นี้เป็นธรรม นี้ไม่เป็นธรรม ... .

๙. นี้เป็นอาบัติชั่วหยาบ นี้เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ

ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความทุ่มเถียง การกล่าวต่างกัน การกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้มใจ ความหมายมั่นในเรื่องนั้น อันใด นี้เรียกว่า วิวาทาธิกรณ์เป็นอัพยากฤต

[๖๕๔] อนุวาทาธิกรณ์ เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต อนุ วาทาธิกรณ์ เป็นกุศลก็มี อกุศลก็มี อัพยากฤตก็มี.

[๖๕๕] บรรดาอนุวาทาธิกรณ์นั้น อนุวาทาธิกรณ์ที่เป็นอกุศล เป็นไฉน?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีจิต เป็นอกุศล ย่อมโจทภิกษุด้วยศีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรือ อาชีววิบัติ การโจท การกล่าวหา การฟ้องร้อง การประท้วงความ

 
  ข้อความที่ 65  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 568

เป็นผู้คล้อยตาม การทำความอุตสาหะโจท การตามเพิ่มกำลังให้ ใน เรื่องนั้น อัน ใด นี้เรียกว่า อนุวาทาธิกรณ์เป็นอกุศล.

[๖๕๖] บรรดาอนุวาทาธิกรณ์นั้น อนุวาทาธิกรณ์ที่เป็นกุศล เป็นไฉน?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีจิต เป็นกุศล ย่อมโจทภิกษุด้วยศีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรือ อาชีววิบัติ การโจท การกล่าวหา การฟ้องร้อง การประท้วง ความ เป็นผู้คล้อยตาม การทำความอุตสาหะโจท การตามเพิ่มกำลังให้ ใน เรื่องนั้น อันใด นี้เรียกว่า อนุวาทาธิกรณ์เป็นกุศล

[๖๕๗] บรรดาอนุวาทาธิกรณ์นั้น อนุวาทาธิกรณ์ที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีจิต เป็นอัพยากฤต ย่อมโจทภิกษุด้วยศีลวิบัติ อาจารวิบัต ทิฏฐิวิบัติ หรือ อาชีววิบัติ การโจท การกล่าวหา การฟ้องร้อง การประท้วงความ เป็นผู้คล้อยตาม การทำความอุตสาหะโจท การตามเพิ่มกำลังให้ ใน เรื่องนั้น อันใด นี้เรียกว่า อนุวาทาธิกรณ์เป็นอัพยากฤต

[๖๕๘] อาปัติตาธิกรณ์เป็นอกุศล อัพยากฤต อาปัตตาธิกรณ์ เป็นอกุศลก็มี อัพยากฤตก็มี อาปัติตาธิกรณ์เป็นกุศลไม่มี

[๖๕๙] บรรดาอาปัตตาธิกรณ์นั้น อาปัติตาธิกรณ์ที่เป็นอกุศล เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 66  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 569

ภิกษุรู้อยู่ เข้าใจอยู่ จงใจ ฝ่าฝืน ละเมิดอาบัติใด นี้เรียกว่า อาปัตตาธิกรณ์เป็นอกุศล

บรรดาอาปัตตาธิกรณ์นั้น อาปัตตาธิกรณ์ที่เป็นอัพยากฤต เป็น ไฉน?

ภิกษุไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่จงใจ ไม่ฝ่าฝืน ละเมิดอาบัติใด นี้เรียกว่า อาปัตตาธิกรณ์เป็นอัพยากฤต.

[๖๖๐] กิจจาธิกรณ์เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต กิจจาธิกรณ์ เป็นกุศลก็มี อกุศลก็มี อัพยากฤตก็มี.

[๖๖๑] บรรดากิจจาธิกรณ์นั้น กิจจาธิกรณ์ที่เป็นอกุศล เป็น ไฉน?

สงฆ์มีจิตเป็นอกุศล ทำกรรมอันใด คือ อุปโลกนกรรม ญัตติ- กรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม นี้เรียกว่า กิจจาธิกรณ์ เป็นอกุศล.

[๖๖๒] บรรดากิจจาธิกรณ์นั้น กิจจาธิกรณ์ที่เป็นกุศล เป็นไฉน? สงฆ์มีจิตเป็นกุศล ทำกรรมอันใด คือ อุปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม นี้เรียกว่า กิจจาธิกรณ์เป็นกุศล.

[๖๖๓] บรรดากิจจาธิกรณ์นั้น กิจจาธิกรณ์ที่เป็นอัพยากฤต เป็น ไฉน? สงฆ์มีจิตเป็นอัพยากฤต ทำกรรมอันใด คือ อุปโลกนกรรม ฌัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม นี้เรียกว่า กิจจาธิกรณ์ เป็นอัพยากฤต.

 
  ข้อความที่ 67  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 570

วิวาทาธิกรณ์

[๖๖๔] วิวาท เป็นวิวาทาธิกรณ์ วิวาทไม่เป็นอธิกรณ์ อธิกรณ์ ไม่เป็นวิวาท เป็นอธิกรณ์ด้วยเป็นวิวาทด้วย วิวาทเป็นวิวาทาธิกรณ์ก็มี วิวาทไม่เป็นอธิกรณ์ก็มี อธิกรณ์ไม่เป็นวิวาทก็มี เป็นอธิกรณ์ด้วยเป็น วิวาทด้วยก็มี.

[๖๖๕] บรรดาวิวาทนั้น วิวาทที่เป็นวิวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมวิวาทกัน ว่า

๑. นี้เป็นธรรม นี้ไม่เป็นธรรม ... ..

๙. นี้เป็นอาบัติชั่วหยาบ นี้เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ

ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความทุ่มเถียง ความกล่าวต่างกัน ความกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัด กลุ้มใจ ความหมายมั่นในเรื่องนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิวาทเป็นวิวาทา ธิกรณ์

บรรดาวิวาทนั้น วิวาทไม่เป็นอธิกรณ์ เป็นไฉน? มารดาวิวาท กับบุตรบ้าง บุตรวิวาทกับมารดาบ้าง บิดาวิวาทกับบุตรบ้าง บุตรวิวาท กับบิดาบ้าง พี่ชายวิวาทกับน้องชายบ้าง พี่ชายวิวาทกับน้องหญิงบ้าง น้องหญิงวิวาทกับพี่ชายบ้าง สหายวิวาทกับสหายบ้าง นี้ชื่อว่า วิวาท ไม่เป็นอธิกรณ์

บรรดาวิวาทนั้น อธิกรณ์ไม่เป็นวิวาท เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 68  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 571

อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ นี้ชื่อว่า อธิกรณ์ ไม่เป็นวิวาท

บรรดาวิวาทนั้น อธิกรณ์ เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นวิวาทด้วย เป็น ไฉน?

วิวาทาธิกรณ์ เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นวิวาทด้วย.

อนุวาทาธิกรณ์

[๖๖๖] การโจทเป็นอนุวาทาธิกรณ์ การโจทไม่เป็นอธิกรณ์ อธิกรณ์ไม่เป็นการโจท เป็นอธิกรณ์ด้วยเป็นการโจทด้วย การโจทเป็น อนุวาทาธิกรณ์ก็มี การโจทไม่เป็นอธิกรณ์ก็มี อธิกรณ์ไม่เป็นการโจท ก็มี เป็นอธิกรณ์ด้วยเป็นการโจทด้วยก็มี.

[๖๖๗] บรรดาการโจทนั้น การโจทที่เป็นอนุวาทาธิกรณ์ เป็น ไฉน?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมโจทภิกษุ ด้วยศีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ การโจท การ กล่าวหา การฟ้องร้อง การประท้วง ความเป็นผู้คล้อยตาม การทำ ความอุตสาหะโจท การตามเพิ่มกำลังให้ ในเรื่องนั้นอันใด นี้ชื่อว่า การโจทเป็นอนุวาทาธิกรณ์

บรรดาการโจทนั้น การโจทที่ไม่เป็นอธิกรณ์ เป็นไฉน?

มารดากล่าวหาบุตรบ้าง บุตรกล่าวหามารดาบ้าง บิดากล่าวหา บุตรบ้าง บุตรกล่าวหาบิดาบ้าง พี่ชายกล่าวหาน้องชายบ้าง พี่ชาย

 
  ข้อความที่ 69  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 572

กล่าวหาน้องหญิงบ้าง น้องหญิงกล่าวหาพี่ชายบ้าง สหายกล่าวหาสหาย บ้าง นี้ชื่อว่า การโจทไม่เป็นอธิกรณ์

บรรดาอธิกรณ์นั้น อธิกรณ์ที่ไม่เป็นการโจท เป็นไฉน?

อาปัตตาธิกรณ์ กิขจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ นี้ชื่อว่า อธิกรณ์ ไม่เป็นการโจท

บรรดาอธิกรณ์นั้น อธิกรณ์ที่เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นการโจทด้วย เป็นไฉน?

อนุวาทาธิกรณ์ เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นการโจทด้วย.

อาปัตตาธิกรณ์

[๖๖๘] อาบัติเป็นอาปัตตาธิกรณ์ อาบัติไม่เป็นอธิกรณ์ อธิกรณ์ ไม่เป็นอาบัติ เป็นอธิกรณ์ด้วยเป็นอาบัติด้วย อาบัติเป็นอาปัตตาธิกรณ์ ก็มี อาบัติไม่เป็นอธิกรณ์ก็มี อธิกรณ์ไม่เป็นอาบัติก็มี เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นอาบัติด้วยก็มี.

[๖๖๙] บรรดาอธิกรณ์นั้น อาบัติเป็นอาปัตตาธิกรณ์ เป็นไฉน?

อาบัติ ๕ กองเป็นอาปัตตาธิกรณ์บ้าง อาบัติ ๗ กองเป็นอาปัตตา ธิกรณ์บ้าง นี้ชื่อว่า อาบัติเป็นอาปัตตาธิกรณ์

บรรดาอธิกรณ์นั้น อาบัติที่ไม่เป็นอธิกรณ์ เป็นไฉน?

โสดาบัติ สมาบัติ นี้ชื่อว่า อาบัติไม่เป็นอธิกรณ์

บรรดาอธิกรณ์นั้น อธิกรณ์ที่ไม่เป็นอาบัติ เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 70  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 573

กิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ นี้ชื่อว่า อธิกรณ์ไม่ เป็นอาบัติ

บรรดาอธิกรณ์นั้น อธิกรณ์ที่เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นอาบัติด้วย เป็นไฉน?

อาปัตตาธิกรณ์ เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นอาบัติด้วย.

กิจจาธิกรณ์

[๖๗๐] กิจเป็นกิจจาธิกรณ์ กิจไม่เป็นอธิกรณ์ อธิกรณ์ไม่เป็น กิจ เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นกิจด้วย กิจเป็นกิจจาธิกรณ์ก็มี กิจไม่เป็น อธิกรณ์ก็มี อธิกรณ์ไม่เป็นกิจก็มี เป็นอธิกรณ์ด้วยเป็นกิจด้วยก็มี.

[๖๗๑] บรรดาอธิกรณ์นั้น กิจเป็นกิจจาธิกรณ์ เป็นไฉน? ความเป็นหน้าที่ ความเป็นกรณีแห่งสงฆ์อันใด คือ อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม นี้ชื่อว่า กิจ เป็นกิจจาธิกรณ์

บรรดาอธิกรณ์นั้น กิจไม่เป็นอธิกรณ์ เป็นไฉน? กิจที่จะต้องทำแก่พระอาจารย์ กิจที่จะต้องทำแก่พระอุปัชฌายะ

กิจที่จะต้องทำแก่ภิกษุเสมออุปัชฌายะ กิจที่จะต้องทำแก่ภิกษุผู้เสมอพระ อาจารย์ นี้ชื่อว่า กิจไม่เป็นอธิกรณ์

บรรดาอธิกรณ์นั้น อธิกรณ์ไม่เป็นกิจ เป็นไฉน?

วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ นี้ชื่อว่า อธิกรณ์ ไม่เป็นกิจ

 
  ข้อความที่ 71  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 574

บรรดาอธิกรณ์นั้น อธิกรณ์ที่เป็นอธิกรณ์ด้วยเป็นกิจด้วย เป็น ไฉน? กิจจาธิกรณ์ เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นกิจด้วย.

วิวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง

[๖๗๒] วิวาทาธิกรณ์ย่อมระงับด้วยสมถะเท่าไร?

วิวาทาธิกรณ์ ย่อมระงับด้วยสมถะ ๒ คือ สัมมุขาวินัย ๑ เยภุยยสิกา ๑ บางทีวิวาทาธิกรณ์ไม่อาศัยสมถะอย่างหนึ่ง คือ เยภุยยสิกา พึงระงับด้วยสมถะอย่างเดียว คือสัมมุขาวินัย บางทีพึงตกลงกันได้ สม จริงดังที่ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมวิวาท กันว่า

๑. นี้เป็นธรรม นี้ไม่เป็นธรรม

๒. นี้เป็นวินัย นี้ไม่เป็นวินัย

๓ นี้พระตถาคตเจ้าตรัสภาษิตไว้ นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ตรัส ภาษิตไว้

๔. นี้พระตถาคตเจ้าทรงประพฤติมา นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ทรง ประพฤติมา

๕. นี้พระตถาคตเจ้าทรงบัญญัติไว้ นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ทรง บัญญัติไว้

๖. นี้เป็นอาบัติ นี้ไม่เป็นอาบัติ

๗. นี้เป็นอาบัติเบา นี้เป็นอาบัติหนัก

 
  ข้อความที่ 72  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 575

๘. นี้เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ นี้เป็นอาบัติไม่มีส่วนเหลือ

๙. นี้เป็นอาบัติชั่วหยาบ นี้เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุพวกนั้นสามารถระงับอธิกรณ์นั้นได้ นี้เรียกว่า อธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร? ด้วยสัมมุขาวินัย ใน สัมมุขาวินัยนั้น มีอะไรบ้าง? มีความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้า ธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล

ก็ความพร้อมหน้าสงฆ์ ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร? คือ ภิกษุผู้ เข้ากรรมมีจำนวนเท่าไร? ภิกษุเหล่านั้นมาประชุมกัน นำฉันทะของผู้ควร ฉันทะมา ผู้อยู่พร้อมหน้ากันไม่คัดค้าน นี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าสงฆ์ ในสัมมุขาวินัยนั้น

ก็ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้น อย่างไร? คือ อธิกรณ์นั้นระงับโดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์ ใด นี้ชื่อว่าความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ในสัมมุขา วินัยนั้น

ก็ความพร้อมหน้าบุคคลในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร? คือ โจทก์และ จำเลยทั้งสอง เป็นคู่ต่อสู้ในคดีอยู่พร้อมหน้ากัน นี้ชื่อว่า ความพร้อม หน้าบุคคลในสัมมุขาวินัยนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากอธิกรณ์ระงับอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้นเป็น ปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน เป็นปาจิตตีย์ที่ติเตียน

[๖๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้นไม่สามารถระงับ อธิกรณ์นั้นในอาวาสนั้นได้ พวกเธอพึงไปสู่อาวาสที่มีภิกษุมากกว่า หาก

 
  ข้อความที่ 73  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 576

พวกเธอกำลังไปสู่อาวาสนั้น สามารถระงับอธิกรณ์ได้ในระหว่างทาง นี้ เรียกว่า อธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร ด้วยสัมมุขาวินัย ใน สัมมุขาวินัยนั้น มีอะไรบ้าง? มีความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้า ธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล

ก็ความพร้อมหน้าสงฆ์ ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร? คือ ภิกษุ ผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าไร ภิกษุเหล่านั้นมาประชุมกัน นำฉันทะของผู้ ควรฉันทะมา ผู้อยู่พร้อมหน้ากันไม่คัดค้าน นี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้า สงฆ์ ในสัมมุขาวินัยนั้น

ก็ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้น อย่างไร? คือ อธิกรณ์นั้นระงับโดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์ ใด นี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ในสัมมุขา วินัยนั้น

ก็ความพร้อมหน้าบุคคล ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร? คือโจทก์ และจำเลยทั้งสอง เป็นคู่ต่อสู้ในคดีอยู่พร้อมหน้ากัน นี้ชื่อว่า ความ พร้อมหน้าบุคคล ในสัมมุขาวินัยนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าอธิกรณ์ระงับอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น เป็น ปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน เป็นปาจิตตีย์ที่ติเตียน.

[๖๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้น กำลังไปสู่อาวาสนั้น ไม่สามารถระงับอธิกรณ์นั้น ในระหว่างทางได้ พวกเธอไปถึงอาวาสนั้น แล้ว พึงกล่าวกะภิกษุเจ้าถิ่นว่า ท่านทั้งหลาย อธิกรณ์นี้เกิดแล้วอย่างนี้

 
  ข้อความที่ 74  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 577

บังเกิดแล้วอย่างนี้ ขอโอกาสท่านทั้งหลายจงระงับอธิกรณ์นี้โดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์ ตามวิถีทางที่อธิกรณ์นี้จะพึงระงับด้วยดี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกภิกษุเจ้าถิ่นเป็นผู้แก่กว่า พวกภิกษุ อาคันตุกะอ่อนกว่า พวกเธอพึงกล่าวกะภิกษุอาคันตุกะว่า ท่านทั้งหลาย ขอนิมนต์ท่านทั้งหลายจงรวมอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง สักครู่หนึ่ง ตลอดเวลาที่พวกข้าพเจ้าจะปรึกษากัน แต่ถ้าพวกภิกษุเจ้าถิ่นเป็นผู้อ่อน กว่า พวกภิกษุอาคันตุกะแก่กว่า พวกเธอพึงกล่าวกะภิกษุอาคันตุกะว่า ท่านทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้นขอท่านทั้งหลายจงอยู่ ณ ที่นี้สักครู่หนึ่งจนกว่า พวกข้าพเจ้าจะปรึกษากัน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกภิกษุเจ้าถิ่นกำลังปรึกษา คิดกันอย่าง นี้ว่า พวกเราไม่สามารถระงับอธิกรณ์นี้โดยธรรม โดยวินัย และโดย สัตถุศาสน์ พวกเธอไม่พึงรับอธิกรณ์นั้นไว้ แต่ถ้ากำลังปรึกษา คิดกัน อย่างนี้ว่า พวกเรา สามารถระงับอธิกรณ์นี้ได้โดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์ พวกเธอพึงกล่าวกะพวกภิกษุอาคันตุกะว่า ท่านทั้ง หลาย ถ้าพวกท่านจักแจ้งอธิกรณ์นี้ตามที่เกิดแล้ว ตามที่อุบัติแล้วแก่ พวกเรา เหมือนอย่างพวกเราจักระงับอธิกรณ์นี้โดยธรรม โดยวินัย และ โดยสัตถุศาสน์ฉันใด อธิกรณ์นี้จักระงับด้วยดีฉันนั้น อย่างนี้พวกเราจึง จักรับอธิกรณ์นี้ หากพวกท่านจักไม่แจ้งอธิกรณ์นี้ตามที่เกิดแล้ว ตามที่ อุบัติแล้วแก่พวกเรา เหมือนอย่างพวกเราจักระงับอธิกรณ์นี้โดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์ ฉันใด อธิกรณ์นี้จักไม่ระงับด้วยดี ฉันนั้น พวกเราจักไม่รับอธิกรณ์นี้

 
  ข้อความที่ 75  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 578

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุเจ้าถิ่นพึงรอบตอบอย่างนี้ แล้วรับ อธิกรณ์นั้น ไว้ พวกภิกษุอาคันตุกะนั้น พึงกล่าวกะพวกภิกษุเจ้าถิ่นว่า พวกข้าพเจ้าจักแจ้งอธิกรณ์นี้ตามที่เกิดแล้ว ตามที่อุบัติแล้ว แก่ท่านทั้ง หลาย ถ้าท่านสามารถระงับอธิกรณ์นี้โดยธรรม โดยวินัย และโดย สัตถุศาสน์ ระหว่างเวลาเท่านี้ได้ อธิกรณ์จักระงับ ด้วยดีเช่นว่านั้นอย่าง นี้ พวกข้าพเจ้าจักมอบอธิกรณ์แก่ท่านทั้งหลาย พวกท่านทั้งหลายไม่ สามารถระงับอธิกรณ์นี้โดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์ ระหว่าง เวลาเท่านี้ได้ อธิกรณ์จักไม่ระงับด้วยดีเช่นว่านั้น พวกข้าพเจ้าจักไม่มอบ อธิกรณ์นี้แก่ท่านทั้งหลาย พวกข้าพเจ้านี้แหละจักเป็นเจ้าของอธิกรณ์นี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุอาคันตุกะพึงรอบคอบอย่างนี้ แล้ว จึงมอบอธิกรณ์แก่พวกภิกษุเจ้าถิ่น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้นสามารถระงับอธิกรณ์นั้นได้ นี้เรียกว่า อธิกรณ์ระงับดีแล้ว ระงับด้วยอะไร? ด้วยสัมมุขาวินัย ใน สัมมุขาวินัยนั้น มีอะไรบ้าง? มีความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้า ธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล ... .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น เป็นปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน เป็นปาจิตตีย์ที่ติเตียน.

อุพพาหิกวิธี

[๖๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุเหล่านั้นวินิจฉัยอธิกรณ์ นั้นอยู่ มีเสียงเซ็งแซ่เกิดขึ้นและไม่ทราบความแห่งถ้อยคำที่กล่าวแล้วนั้น

 
  ข้อความที่ 76  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 579

เราอนุญาตให้ระงับอธิกรณ์เห็นปานนี้ด้วยอุพพาหิกวิธี ภิกษุผู้ประกอบ ด้วยองค์คุณ ๑๐ ประการ สงฆ์พึงสมมติด้วยอุพพาหิกวิธี

องค์คุณ ๑๐ ประการ

๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมในปาฏิโมกข์สังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระ และโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษมีประมาณเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ ในสิกขาบททั้งหลาย

๒. เป็นพหูสูตร ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ ธรรมเหล่านั้นใดไพเราะ ในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด ย่อมสรรเสริญพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ ธรรมทั้งหลายเห็น ปานนั้น ย่อมเป็นอันเธอสดับมาก ทรงไว้ สั่งสมด้วยวาจา เข้าไป เพ่งด้วยใจ แทงตลอดดีแล้วด้วยทิฏฐิ

๓. จำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดีโดยพิศดาร จำแนกดี สวดดี วินิจฉัย ถูกต้องโดยสูตร โดยอนุพยัญชนะ

๔. เป็นผู้ตั้งมั่นในพระวินัย ไม่คลอนแคลน

๕. เป็นผู้อาจชี้แจงให้คู่ต่อสู้ในอธิกรณ์ยินยอม เข้าใจ เพ่งเห็น เลื่อมใส

๖. เป็นผู้ฉลาดเพื่อยังอธิกรณ์อันเกิดขึ้นให้ระงับ

๗. รู้อธิกรณ์

๘. รู้เหตุเกิดอธิกรณ์

๙. รู้ความระงับแห่งอธิกรณ์

๑๐. รู้ทางระงับอธิกรณ์

 
  ข้อความที่ 77  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 580

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ คุณ ๑๐ นี้ ด้วยอุพพาหิกวิธี.

[๖๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ พึง ขอร้องภิกษุก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

กรรมวาจาสมมติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เมื่อพวกเรา วินิจฉัยอธิกรณ์นี้อยู่ มีเสียงเซ็งแซ่เกิดขึ้นและไม่ทราบ อรรถ แห่งถ้อยคำที่กล่าวแล้วนั้น ถ้าความพร้อมพรั่งของ สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้ด้วย มีชื่อนี้ด้วย เพื่อระงับอธิกรณ์นี้ ด้วยอุพพาหิกวิธี นี้เป็นญัตติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เมื่อพวกเรา วินิจฉัยอธิกรณ์นี้อยู่ มีเสียงเซ็งแซ่เกิดขึ้น และไม่ทราบ ความแห่งถ้อยคำที่กล่าวแล้วนั้น สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ ด้วย มีชื่อนี้ด้วย เพื่อระงับอธิกรณ์นี้ ด้วยอุพพาหิกวิธี การสมมตภิกษุมีชื่อนี้ด้วย มีชื่อนี้ด้วย เพื่อระงับอธิกรณ์ นี้ ด้วยอุพพาหิกวิธี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึง เป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

ภิกษุมีชื่อนี้ด้วย มีชื่อนี้ด้วย อันสงฆ์สมมติแล้ว เพื่อระงับอธิกรณ์นี้ ด้วยอุพพาหิกวิธี ชอบแก่สงฆ์ เหตุ นั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ อย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 78  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 581

[๖๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้นสามารถระงับ อธิกรณ์นั้น ด้วยอุพพาหิกวิธี นี้เรียกว่า อธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับ ด้วยอะไร? ด้วยสัมมุขาวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง? มีความ พร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล ... .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น เป็นปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น.

[๖๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุเหล่านั้นวินิจฉัยอธิกรณ์ นั้นอยู่ในบริษัทนั้นพึงมีภิกษุธรรมกถึก เธอจำสูตรไม่ได้เลย จำวิภังค์ แห่งสูตรก็ไม่ได้ เธอไม่ได้สังเกตใจความ ย่อมค้านใจความตามเค้า พยัญชนะ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้ภิกษุเหล่านั้นทราบ ด้วยคณะญัตติ ว่าดังนี้:-

กรรมวาจาคณะญัตติ

ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้ เป็นธรรมกถึก เธอจำสูตรไม่ได้เลย จำวิภังค์แห่งสูตรก็ ไม่ได้ เธอไม่ได้สังเกตใจความ ย่อมค้านใจความตาม เค้าพยัญชนะ ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่ แล้ว พวกเราพึงขับภิกษุมีชื่อนี้ให้ออกไป แล้วที่เหลือ พึงระงับอธิกรณ์นี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้นขับภิกษุนั้นออกไปแล้ว สามารถระงับอธิกรณ์นั้นได้ นี้เรียกว่า อธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วย

 
  ข้อความที่ 79  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 582

อะไร? ด้วยสัมมุขาวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง? มีความพร้อม หน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล ... .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น เป็นปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น.

[๖๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุเหล่านั้นวินิจฉัยอธิกรณ์ นั้นอยู่ ในบริษัทนั้นพึงมีภิกษุธรรมกถึก เธอจำสูตรได้ แต่จำวิภังค์ แห่งสูตรไม่ได้เลย เธอไม่สังเกตใจความ ย่อมค้านใจความตามเค้า พยัญชนะ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้ภิกษุเหล่านั้นทราบ ด้วยคณะญัตติ ว่าดังนี้ :-

กรรมวาจาคณะญัตติ

ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้ เป็นธรรมกถึก เธอจำสูตรได้ แต่จำวิภังค์แห่งสูตรไม่ได้ เลย เธอไม่สังเกตใจความ ย่อมค้านใจความตามเค้า พยัญชนะ ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว พวกเราพึงขับภิกษุชื่อนี้ให้ออกไป แล้วที่เหลือพึงระงับ อธิกรณ์นี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้นขับภิกษุนั้นออกไปแล้ว สามารถระงับอธิกรณ์นั้นได้ นี้เรียกว่า อธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร? ด้วยสัมมุขาวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง? มีความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล ... ..

 
  ข้อความที่ 80  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 583

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น เป็นปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น.

[๖๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้น ไม่สามารถระงับ อธิกรณ์นั้น ด้วยอุพพาหิกวิธี พวกเธอพึงมอบอธิกรณ์นั้นแก่สงฆ์ว่า ท่านเจ้าข้า พวกข้าพเจ้าไม่สามารถระงับอธิกรณ์นี้ด้วยอุพพาหิกวิธี ขอ สงฆ์นั่นแหละจงระงับอธิกรณ์นี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้ระงับอธิกรณ์เห็นปานนี้ด้วย เยภุยยสิกา พึงสมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์คุณ ๕ ให้เป็นผู้ให้จับสลาก คือ

๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ

๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง

๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย

๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว และ

๕. พึงรู้จักสลากที่จับแล้วและยังไม่จับ.

ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ พึงขอร้องภิกษุก่อน ครั้นแล้วภิกษุ ผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

กรรมวาจาสมมติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อม พรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้ ให้เป็น ผู้ให้จับสลาก นี้เป็นญัตติ

 
  ข้อความที่ 81  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 584

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติ ภิกษุมีชื่อนี้ ให้เป็นผู้จับสลาก การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ ให้เป็นผู้ให้จับสลาก ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็น ผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

ภิกษุมีชื่อนี้อันสงฆ์สมมติแล้ว ให้เป็นผู้ให้จับ สลาก ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความ นี้ไว้ อย่างนี้.

ภิกษุผู้ให้จับสลากนั้น พึงให้ภิกษุทั้งหลายจับสลาก ภิกษุพวก ธรรมวาทีมากกว่า ย่อมกล่าวฉันใด พึงระงับอธิกรณ์นั้น ฉันนั้น นี้ เรียกว่า อธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร? ด้วยสัมมุขาวินัย และ เยภุยยสิกา ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง? มีความพร้อมหน้าสงฆ์ ความ พร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล

ก็ความพร้อมหน้าสงฆ์ ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร? คือ ภิกษุผู้เข้า กรรมมีจำนวนเท่าไร? ภิกษุเหล่านั้นมาประชุมกัน นำฉันทะของผู้ควร ฉันทะมา ผู้อยู่พร้อมหน้ากันไม่คัดค้าน นี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าสงฆ์ ในสัมมุขาวินัยนั้น

ก็ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ในสัมมุขาวินัย นั้นอย่างไร? คือ อธิกรณ์นั้นระงับโดยธรรม โดยวินัย และโดย สัตถุศาสน์ใด นี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้น

 
  ข้อความที่ 82  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 585

ก็ความพร้อมหน้าบุคคล ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร? คือโจทก์ และจำเลยทั้งสอง เป็นคู่ต่อสู้ในคดีอยู่พร้อมหน้ากัน นี้ชื่อว่าความพร้อม หน้าบุคคล ในสัมมุขาวินัยนั้น

ก็ในเยภุยยสิกานั้นมีอะไรบ้าง? มีกิริยา ความกระทำ ความเข้าไป ความเข้าไปเฉพาะ ความรับรอง ความไม่คัดค้านกรรมในเยภุยยสิกาอัน ใด นี้มีในเยภุยยสิกานั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากอธิกรณ์ระงับอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้นเป็น ปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน เป็นปาจิตตีย์ที่ติเตียน.

วิธีจับสลาก ๓ วิธี

[๖๘๑] โดยสมัยนั้นแล อธิกรณ์เกิดแล้วอย่างนี้ อุบัติแล้ว อย่างนี้ ในพระนครสาวัตถี ภิกษุเหล่านั้นจึงไม่พอใจด้วยการระงับ อธิกรณ์ของสงฆ์ ในพระนครสาวัตถี ได้ทราบข่าวว่า ในอาวาสโน้น มีพระเถระอยู่หลายรูป เป็นผู้คงแก่เรียน ชำนาญในคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญา เป็นลัชชี มี ความรังเกียจ ใคร่ต่อสิกขา หากพระเถระเหล่านั้นพึงระงับอธิกรณ์นี้ โดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์ อย่างนี้อธิกรณ์นี้พึงระงับด้วย ดี จึงไปสู่อาวาสนั้น แล้วเรียนกะพระเถระพวกนั้นว่า ท่านเจ้าข้า อธิกรณ์นี้เกิดแล้วอย่างนี้ อุบัติแล้วอย่างนี้ ขอโอกาส ขอรับ ขอ พระเถระทั้งหลายจงระงับอธิกรณ์นี้ โดยธรรม โดยวินัย และโดย สัตถุศาสน์ ตามวิถีทางที่อธิกรณ์นี้พึงระงับด้วยดี

 
  ข้อความที่ 83  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 586

จึงพระเถระพวกนั้นช่วยระงับอธิกรณ์นั้นแล้ว เหมือนอย่างที่สงฆ์ ในพระนครสาวัตถีระงับแล้ว ตามวิธีที่ระงับด้วยดีแล้วฉะนั้น ครั้งนั้น ภิกษุผู้ไม่ยินดี ไม่พอใจด้วยการระงับอธิกรณ์ของสงฆ์ในพระนครสาวัตถี นั้น ไม่พอใจด้วยการระงับ อธิกรณ์ของพระเถระมากรูป ได้ทราบข่าวว่า ในอาวาสโน้น มีพระเถระอยู่ ๓ รูป ... มีพระเถระอยู่ ๒ รูป ... ... พระเถระอยู่รูปเดียว เป็นผู้คงแก่เรียน ชำนาญในคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญา เป็นลัชชี มี ความรังเกียจ ใคร่ต่อสิกขา หากพระเถระนั้นพึงระงับอธิกรณ์นี้โดย ธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์ อย่างนี้ อธิกรณ์นี้พึงระงับด้วย ดี จึงไปสู่อาวาสนั้น แล้วเรียนกะพระเถระนั้นว่า ท่านขอรับ อธิกรณ์ นี้เกิดแล้วอย่างนี้ อุบัติแล้วอย่างนี้ ขอโอกาส ขอรับ ขอพระเถระ จงระงับอธิกรณ์นี้ โดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์ ตามวิถี ทางที่อธิกรณ์นี้จะพึงระงับด้วยดี

พระเถระนั้นจึงช่วยระงับอธิกรณ์นั้นแล้ว เหมือนอย่างที่สงฆ์ใน พระนครสาวัตถีระงับแล้ว เหมือนอย่างที่พระเถระมากรูประงับแล้ว เหมือนอย่างที่พระเถระ ๓ รูประงับแล้ว และเหมือนอย่างที่พระเถระ ๒ รูป ระงับแล้ว ตามวิธีที่ระงับด้วยดีแล้ว ฉะนั้น

ครั้งนั้นภิกษุผู้ที่ไม่พอใจด้วยการระงับอธิกรณ์ของสงฆ์ในพระนคร สาวัตถี ไม่พอใจด้วยการระงับอธิกรณ์ของพระเถระมากรูป ไม่พอใจ ด้วยการระงับอธิกรณ์ของพระเถระ ๓ รูป ไม่พอใจด้วยการระงับอธิกรณ์

 
  ข้อความที่ 84  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 587

ของพระเถระ ๒ รูป ไม่พอใจด้วยการระงับอธิกรณ์ของพระเถระรูปเดียว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค เจ้าๆ ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อธิกรณ์ที่พิจารณาแล้วนั้นเป็นอันสงบระงับดี แล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตวิธีจับสลาก ๓ อยู่ คือ ปก ปิด ๑ กระซิบบอก ๑ เปิดเผย ๑ ตามความยินยอมของภิกษุพวกนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็วิธีจับสลากปกปิด เป็นไฉน?

ภิกษุผู้ให้จับสลากนั้น พึงทำสลากให้มีสี และไม่มีสี แล้วเข้า ไปหาภิกษุทีละรูปๆ แล้วแนะนำอย่างนี้ว่า นี้สลากของผู้กล่าวอย่างนี้ นี้สลากของผู้กล่าวอย่างนี้ ท่านจงจับสลากที่ชอบใจ เมื่อภิกษุนั้นจับแล้ว พึงแนะนำว่า ท่านอย่าแสดงแก่ใครๆ ถ้ารู้ว่าอธรรมวาทีมากกว่า พึง บอกว่า สลากจับไม่ดี แล้วให้จับใหม่ ถ้ารู้ว่าธรรมวาทีมากกว่า พึง ประกาศว่า สลากจับดีแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิธีจับสลากปกปิด เป็นอย่างนี้แหละ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็วิธีจับสลากกระซิบบอก เป็นไฉน?

ภิกษุผู้ให้จับสลากนั้น พึงกระซิบบอกที่ใกล้หูของภิกษุแต่ละรูปๆ ว่า นี้สลากของผู้กล่าวอย่างนี้ นี้สลากของผู้กล่าวอย่างนี้ ท่านจงจับ สลากที่ชอบใจ เมื่อภิกษุนั้นจับแล้ว พึงแนะนำว่า ท่านอย่าบอกแก่ ใครๆ ถ้ารู้ว่า อธรรมวาทีมากกว่า พึงบอกว่า สลากจับไม่ดี แล้ว ให้จับ ใหม่ ถ้ารู้ว่าธรรมวาทีมากกว่า พึงประกาศว่า สลากจับดีแล้ว

 
  ข้อความที่ 85  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 588

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิธีจับสลากกระซิบบอกเป็นอย่างนี้แหละ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็วิธีจับสลากเปิดเผย เป็นไฉน?

ถ้ารู้ว่าธรรมวาทีมากกว่า พึงให้จับสลากเปิดเผย อย่างแจ่มแจ้ง วิธีจับสลากเปิดเผยเป็นอย่างนี้แหละ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิธีจับสลาก ๓ อย่างนี้แล.

อนุวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๔ อย่าง

[๖๘๒] อนุวาทาธิกรณ์ย่อมระงับด้วยสมถะอย่างไร?

อนุวาทาธิกรณ์ย่อมระงับด้วยสมถะ ๔ อย่าง คือ สัมมุขาวินัย ๑ สติวินัย ๑ อมูฬหวินัย ๑ ตัสสปาปิยสิกา ๑

[๖๘๓] บางทีอนุวาทาธิกรณ์ ไม่อาศัยสมถะ ๒ อย่าง คือ อมูฬหวินัย ๑ ตัสสปาปิยสิกา ๑ ระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง คือ สัม มุขาวินัย ๑ สติวินัย ๑ บางทีพึงตกลงกันได้ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ โจทภิกษุด้วยศีลวิบัติ อันไม่มีมูล สงฆ์พึงให้สติวินัยแก่ภิกษุนั้น ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติ อยู่แล้ว ก็แล สงฆ์พึงให้สติวินัยอย่างนี้ :-

วิธีให้สติวินัย

ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุ ผู้แก่กว่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอ ว่าดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 86  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 589

คำขอสติวินัย

ท่านเจ้าข้า ภิกษุทั้งหลายย่อมโจทข้าพเจ้าด้วยศีล วิบัติ อันไม่มีมูล ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นถึงความไพบูลย์ แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกะสงฆ์

พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม.

[๖๘๔] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย ญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

กรรมวาจาให้สติวินัย

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุทั้งหลาย ย่อมโจทภิกษุมีชื่อนี้ ด้วยศีลวิบัติอันไม่มีมูล เธอถึงความ ไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกะสงฆ์ ถ้าความพร้อม พรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้สติวินัยแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว นี้เป็นญัตติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุทั้งหลาย ย่อมโจทภิกษุมีชื่อนี้ ด้วยศีลวิบัติอันไม่มีมูล เธอถึงความ ไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกะสงฆ์ สงฆ์ให้สติวินัย แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว การให้ สติวินัยแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่าน ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

 
  ข้อความที่ 87  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 590

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง ... ...

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม ... ...

สติวินัยอันสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ผู้ถึงความ ไพบูลย์แห่งสติแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า ทรงความนี้ไว้ อย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วย อะไร? ด้วยสัมมุขาวินัยกับสติวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง? มี ความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล ... .

ก็ความพร้อมหน้าบุคคลในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร? คือ โจทก์และ จำเลยทั้งสองอยู่พร้อมหน้ากัน นี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าบุคคลในสัมมุขา วินัยนั้น

ในสติวินัยนั้นมีอะไรบ้าง? มีกิริยา ความกระทำ ความเข้าไป ความเข้าไปเฉพาะ ความรับรอง ความไม่คัดค้านกรรม คือสติวินัย อันใด นี้มีในสติวินัยนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น เป็นปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน เป็นปาจิตตีย์ที่ติเตียน

[๖๘๕] บางทีอนุวาทาธิกรณ์ไม่อาศัยสมถะ ๒ อย่าง คือ สติ วินัย ๑ ตัสสปาปิยสิกา ๑ พึงระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง สัมมุขาวินัย ๑ อมูฬหวินัย ๑ บางทีพึงตกลงกันได้ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า

 
  ข้อความที่ 88  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 591

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ วิกลจริต มีจิต แปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่ กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายย่อมโจทเธอด้วยอาบัติ ที่เธอวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดต้องแล้วว่า ท่านต้อง อาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่ สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ข้าพเจ้า ระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ ข้าพเจ้าหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายผู้อันเธอ กล่าวอยู่แม้อย่างนั้น ก็ยังโจทเธออยู่ตามเดิมว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จง ระลึกอาบัติเห็นปานนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุนั้น ผู้หายหลง แล้ว ก็แล สงฆ์พึงให้อมูฬหวินัยอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระโหย่งประคอง อัญชลี แล้วกล่าวคำขอ ว่าดังนี้:-

คำขออมูฬหวินัย

ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้ง ที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลาย โจทข้าพเจ้า ด้วยอาบัติที่ข้าพเจ้าวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดต้องแล้วว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึก

 
  ข้อความที่ 89  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 592

อาบัติเห็นปานนี้ ข้าพเจ้ากล่าวกะภิกษุพวกนั้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่ กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ข้าพเจ้าระลึก อาบัตินั้นไม่ได้ ข้าพเจ้าหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว ภิกษุทั้ง หลายผู้อันข้าพเจ้ากล่าวอยู่แม้อย่างนั้น ก็ยังโจทข้าพเจ้า อยู่ตามเดิมว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว ระลึกอาบัติเห็น ปานนี้ ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นหายหลงแล้ว ขออมูฬหวินัยกะสงฆ์

พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม.

[๖๘๖] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติจตุตถกรรมกรรมวาจาว่า ดังนี้:-

กรรมวาจาให้อมูฬหวินัย

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ รูปนี้ วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจ อันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและ พยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายโจทเธอด้วยอาบัติที่เธอ วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดต้องแล้วว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอกล่าว

 
  ข้อความที่ 90  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 593

อย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าวิกลจริต มีจิตแปร ปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอัน มาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ข้าพเจ้า ระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ ข้าพเจ้าหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว ภิกษุ ทั้งหลาย ผู้อันเธอกล่าวอยู่แม้อย่างนั้น ก็ยังโจทเธออยู่ ตามเดิมว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอหายหลงแล้ว ขออมูฬหวินัยกะสงฆ์ ถ้าความพร้อม พรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุมีชื่อ นี้ ผู้หายหลงแล้ว นิเป็นญัตติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ รูปนี้ วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจ อัน ไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและ พยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายโจทเธอด้วยอาบัติที่เธอ วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดต้องแล้วว่า ท่าต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอกล่าว อย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าวิกลจริต มีจิตแปร ปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอัน มาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ข้าพเจ้า ระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ ข้าพเจ้าหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว ภิกษุ ทั้งหลายผู้อันเธอกล่าวอยู่แม้อย่างนั้น ก็ยังโจทเธออยู่ตาม เดิมว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้

 
  ข้อความที่ 91  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 594

เธอหายหลงแล้ว ขออมูฬหวินัยกะสงฆ์ สงฆ์ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ผู้หายหลงแล้ว การให้อมูฬหวินัย แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ผู้หายหลงแล้ว ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน ผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที้สอง ...

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม ...

อมูฬหวินัยอันสงฆ์ให้แล้ว แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ผู้หาย หลงแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความ นี้ไว้ อย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกอธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร? ด้วยสัมมุขาวินัย กับอมูฬหวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง มีความ พร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความ พร้อมหน้าบุคคล ... .

ในอมูฬหวินัยนั้น มีอะไรบ้าง มีกิริยา ความกระทำ ความ เข้าไป ความเข้าไปเฉพาะ ความรับรอง ความไม่คัดค้านกรรม คือ อมูฬหวินัยอันใด นี้มีในอมูฬหวินัยนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น เป็นปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน เป็นปาจิตตีย์ที่ติเตียน.

[๖๘๗] บางที อนุวาทาธิกรณ์ไม่อาศัยสมถะ ๒ อย่าง คือสติ- วินัย ๑ อมูฬหวินัย ๑ พึงระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง คือ สัมมุขาวินัย ๑ ตัสสปาปิยสิกา ๑ บางที่พึงตกลงกันได้ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า

 
  ข้อความที่ 92  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 595

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ โจทภิกษุด้วยครุกาบัติ ในท่ามกลางสงฆ์ว่า ท่านต้องครุกาบัติ คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติ ที่ใกล้ปาราชิกแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้

ภิกษุจำเลยนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลยว่า ต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติใกล้ปาราชิก

ภิกษุผู้โจทก์นั้น ย่อมคาดคั้นภิกษุจำเลยนั้นนั่นผู้เปลื้องตนอยู่ว่า เอาเถิด ท่านจงรู้ด้วยดี ถ้าท่านระลึกได้ว่าต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิก

ภิกษุจำเลยนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้ว่า ต้อง ครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติใกล้ปาราชิก แต่ ระลึกได้ว่า ต้องอาบัติแม้เล็กน้อยเห็นปานนี้

ภิกษุผู้โจทก์นั้น ย่อมคาดคั้นภิกษุจำเลยนั้นนั่นผู้เปลื้องตนอยู่ว่า เอาเถิด ท่านจงรู้ด้วยดี ถ้าท่านระลึกได้ว่า ต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คืออาบัติปาราชิก หรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิก

ภิกษุจำเลยนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน ข้าพเจ้าต้องอาบัติเล็กน้อยชื่อ นี้ ข้าพเจ้าไม่ถูกถามก็ปฏิญาณ ข้าพเจ้าต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิกหรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิก ข้าพเจ้าถูกถามแล้วจักไม่ปฏิญาณ หรือ

ภิกษุผู้โจทก์นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน ก็ท่านต้องอาบัติแม้เล็กน้อย ชื่อนี้ ท่านไม่ถูกถามแล้วจักไม่ปฏิญาณ ก็ท่านต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คืออาบัติปาราชิก หรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิก ท่านไม่ถูกถามแล้วจัก

 
  ข้อความที่ 93  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 596

ปฏิญาณหรือ เอาเถิด ท่านจงรู้ด้วยดี ถ้าท่านระลึกได้ว่าต้องครุกาบัติ เห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิก

ภิกษุจำเลยนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน ข้าพเจ้าระลึกได้ว่า ต้อง ครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิก คำ นั้นข้าพเจ้าพูดเล่น คำนั้นข้าพเจ้าพูดพล่อยไป ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้ว่า ต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิก

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงทำตัสสปาปิยสิกากรรมนั่นแก่ภิกษุ นั้นแล.

วิธีทำตัสสปาปิยสิกากรรม

[๖๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงทำตัสสปาปิยสิกากรรม อย่างนี้ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ จตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

กรรมวาจาทำตัสสปาปิยสิกา

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ รูปนี้ ถูกซักถามถึงครุกาบัติในท่ามกลางสงฆ์ ปฏิเสธ แล้วปฏิญาณ ปฏิญาณแล้วปฏิเสธ ให้การกลับไปกลับมา กล่าวเท็จทั้งที่รู้ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำตัสสปาปิยสิกากรรม แก่ภิกษุมีชื่อนี้ นี้เป็น ญัตติ

 
  ข้อความที่ 94  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 597

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ รูปนี้ ถูกซักถามถึงครุกาบัติในท่ามกลางสงฆ์ ปฏิเสธ แล้วปฏิญาณ ปฏิญาณแล้วปฏิเสธ ให้การกลับไปกลับมา กล่าวเท็จทั้งที่รู้ สงฆ์ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุมีชื่อนี้ การทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน ผู้นั้นพึงพูด

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง ...

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม ...

ตัสสปาปิยสิกากรรม อันสงฆ์ทำแล้วแก่ภิกษุมีชื่อ นี้ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ อย่างนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร? ด้วยสัมมุขาวินัยกับตัสสปาปิยสิกา ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง? มีความ พร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความ พร้อมหน้าบุคคล ... .

ในตัสสปาปิยสิกานั้นมีอะไรบ้าง? มีกิริยา ความกระทำ ความ เข้าไป ความเข้าไปเฉพาะ ความรับรอง ความไม่คัดค้านกรรม คือ ตัสสปาปิยสิกาอันใด นี้มีในตัสสปาปิยสิกานั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น เป็นปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน เป็นปาจิตติย์ที่ติเตียน

 
  ข้อความที่ 95  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 598

อาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง

[๖๘๙] อาปัตตาธิกรณ์ ระงับด้วยสมณะเท่าไร? อาปัตตาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ สัมมุขาวินัย ๑ ปฎิญาณตกรณะ ๑ ติณวัต ถารกะ ๑.

[๖๙๐] บางที อาปัตตาธิกรณ์ ไม่อาศัยสมถะอย่างหนึ่ง คือ ติณวัตถารกะพึงระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง คือ สัมมุขาวินัย ๑ ปฏิญญาต กรณะ ๑ บางทีพึงตกลงกันได้ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องลหุกาบัติแล้วเธอ พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคอง อัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน ผมต้องอาบัติชื่อนี้ ผมแสดงคืน อาบัตินั้น

ภิกษุผู้รับนั้นพึงกล่าวว่า ท่านเห็นหรือ

ภิกษุผู้แสดงนั้นพึงกล่าวว่า ขอรับ ผมเห็น

ภิกษุผู้รับนั้นพึงกล่าวว่า ท่านพึงสำรวมต่อไป

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร? ด้วยสัมมุขาวินัยกับปฏิญญาตกรณะ ในสัมมุขาวินัยมีอะไรบ้าง? มีความ พร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล ... .

ก็ความพร้อมหน้าบุคคล ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร? คือผู้แสดงกับ ผู้รับแสดง ทั้งสองอยู่พร้อมหน้ากัน นี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าบุคคล ในสัมมุขาวินัยนั้น

 
  ข้อความที่ 96  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 599

ในปฏิญญาตกรณะนั้น มีอะไรบ้าง? มีกิริยา ความกระทำ ความ เข้าไป ความเข้าไปเฉพาะ ความรับรอง ความไม่คัดค้านกรรม คือ ปฏิญญาตกรณะอันใดนี้มีในปฏิญญาตกรณะนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้รับรื้อฟื้น เป็นปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น หากได้การแสดงนั้นอย่างนี้ นั่นเป็นความดี หาก ไม่ได้ ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุมากรูปด้วยกัน ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติซึ่งนี้ ข้าพเจ้าแสดงคืนอาบัตินั้น

ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้ภิกษุพวกนั้นทราบด้วย คณะญัตติว่า ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ รูปนี้ ระลึก เปิดเผย ทำให้ตื้น แสดงอาบัติ ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลาย ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าขอรับอาบัติของภิกษุมีชื่อนี้ แล้วกล่าวว่า เธอเห็น หรือ

ภิกษุผู้แสดงพึงกล่าวว่า ขอรับ ผมเห็น

ภิกษุผู้รับพึงกล่าวว่า คุณพึงสำรวมต่อไป

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร? ด้วยสัมมุขาวินัยกับปฏิญญาตกรณะ ในสัมมุขาวินัยนั้น มีอะไรบ้าง? มี ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล ... ..

ก็ความพร้อมหน้าบุคคล ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร? คือ ผู้แสดง กับผู้รับแสดงทั้งสองอยู่พร้อมหน้ากัน นี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าบุคคลใน

 
  ข้อความที่ 97  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 600

สัมมุขาวินัยนั้น ในปฏิญญาตกรณะนั้น มีอะไรบ้าง? มีกิริยา ความ กระทำ ความเข้าไป ความเข้าไปเฉพาะ ความรับรอง ความไม่ คัดค้านกรรม คือ ปฏิญญาตกรณะอันใด นี้มีในปฏิญญาตกรณะนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้รับรื้อฟื้น เป็นปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น หากได้การแสดงนั้นอย่างนี้ นั่นเป็นความดี หาก ไม่ได้ ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้า ภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน เจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติชื่อนี้ ข้าพเจ้าแสดงคืนอาบัตินั้น

ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมว่า ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้ระลึกเปิดเผย ทำให้ ตื้น แสดงอาบัติ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงรับ อาบัติของภิกษุมีชื่อนี้ แล้วพึงกล่าวว่าเธอเห็นหรือ

ภิกษุผู้แสดงพึงกล่าวว่า ขอรับ ผมเห็น

ภิกษุผู้รับพึงกล่าวว่า ท่านพึงสำรวมต่อไป

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร? ด้วยสัมมุขาวินัยกับปฏิญญาตกรณะ ในสัมมุขาวินัยนั้น มีอะไรบ้าง? มี ความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความ พร้อมหน้าบุคคล ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้รับรื้อฟื้น เป็นปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน เป็นปาจิตตีย์ที่ติเตียน.

 
  ข้อความที่ 98  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 601

[๖๙๑] บางทีอาปัตตาธิกรณ์ไม่อาศัยสมถะอย่างหนึ่ง คือ ปฏิญญาตกรณะพึงระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง คือ สัมมุขาวินัย ๑ ติณวัตถารกะ ๑ บางทีพึงตกลงกันได้ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอัน ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมากทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกภิกษุในหมู่นั้นคิดอย่างนี้ว่า พวกเราเกิดความบาดหมาง เกิด ความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่สมควรแก่สมณะ เป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเรา จักปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความรุน แรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา อนุญาตให้ระงับอธิกรณ์เห็นปานนี้ ด้วยติณวัตถารกะ

วิธีระงับ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงระงับอธิกรณ์อย่างนี้

ภิกษุทุกๆ รูป พึงประชุมในที่แห่งเดียวกัน ครั้นแล้วภิกษุผู้ ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่า ดังนี้ :-

ญัตติกรรมวาจา

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิดความ บาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าว

 
  ข้อความที่ 99  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 602

ด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับกัน ด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความ รุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้า ความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงระงับอธิกรณ์นี้ ด้วยติณวัตถารกะเว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติที่เนื่อง ด้วยคฤหัสถ์

บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกัน ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศ ให้ฝ่ายของตนทราบ ด้วยคณะญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

คณะญัตติกรรมวาจา

ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิดความ บาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าว ด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับกัน ด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความ รุนแรง เพื่อความร่ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้า ความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึง แสดงอาบัติของท่านทั้งหลาย และอาบัติของตนในท่าม กลางสงฆ์ ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่าน ทั้งหลายและเพื่อประโยชน์แก่ตน.

 
  ข้อความที่ 100  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 603

[๖๙๒] ลำดับนั้น บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกันอีกพวกหนึ่ง ภิกษุ ผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้ฝ่ายของตนทราบ ด้วยคณะญัตติ กรรมวาจา ว่าดังนี้:-

คณะญัตติกรรมวาจา

ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิดความ บาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่ กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจัก ปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไป เพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกัน ก็ได้ ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านทั้งหลาย และอาบัติของ ตนในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะเว้นอาบัติที่มีโทษ หนัก เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ ท่านทั้งหลาย และเพื่อประโยชน์แก่ตน.

[๖๙๓] บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกัน ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึง ประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

ญัตติทุติยกรรมวาจา

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิด ความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้

 
  ข้อความที่ 101  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 604

ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่ กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจัก ปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไป เพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกัน ก็ได้ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึง แสดงอาบัติของท่านเหล่านี้ และอาบัติของตนในท่าม กลางสงฆ์ ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่า นี้ และเพื่อประโยชน์แก่ตน นี้เป็นญัตติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิด ความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่ กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจัก ปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไป เพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกัน ก็ได้ ข้าพเจ้าแสดงอาบัติของท่านเหล่านี้ และอาบัติของ ตนในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มี โทษหนัก เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์ แก่ท่านเหล่านี้ และเพื่อประโยชน์แก่ตน การแสดง อาบัติเหล่านี้ของพวกเราในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติที่เนื่องด้วย

 
  ข้อความที่ 102  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 605

คฤหัสถ์ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

อาบัติเหล่านี้ของพวกเรา เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ ข้าพเจ้าแสดงแล้วในท่าม กลางสงฆ์ ด้วยติณวัตถารกะ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึง นิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ อย่างนี้.

ลำดับนั้น บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกัน ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

ญัตติทุติยกรรมวาจา

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิด ความบาดหมาง ... ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ อย่างนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร? ด้วยสัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง? มีความ พร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความ พร้อมหน้าบุคคล

ก็ความพร้อมหน้าสงฆ์ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร? ภิกษุผู้เข้ากรรมมี จำนวนเท่าไร? พวกเธอมาประชุมกัน นำฉันทะของผู้ควรฉันทะมา ผู้ อยู่พร้อมหน้ากันไม่คัดค้าน นี้ชื่อว่าความพร้อมหน้าสงฆ์ ในสัมมุขาวินัย นั้น

 
  ข้อความที่ 103  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 606

ก็ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้น อย่างไร? อธิกรณ์นั้นระงับโดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์ใด นี้ชื่อว่าความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้น

ก็ความพร้อมหน้าบุคคลในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร? ผู้แสดงและผู้รับ แสดงทั้งสองอยู่พร้อมหน้ากัน นี้ชื่อว่าความพร้อมหน้าบุคคล

ในติณวัตถารกะนั้น มีอะไรบ้าง? มีกิริยา ความกระทำ ความ เข้าไป ความเข้าไปเฉพาะ ความรับรอง ความไม่คัดค้านกรรม คือ ติณวัตถารกะอันใด นี้มีในติณวัตถารกะนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้รื้อฟื้น เป็น ปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน เป็นปาจิตตีย์ที่ติเตียน.

กิจจาธิกรณระงับด้วยสมถะอย่างเดียว

[๖๙๔] กิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร? กิจจาธิกรณ์ระงับด้วย สมถะอย่างเดียว คือ สัมมุขาวินัย.

สมถขันธกะ ที่ ๔ จบ