พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ปาริวาสิกขันธกะ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  13 มี.ค. 2565
หมายเลข  42829
อ่าน  798

[เล่มที่ 8] พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑

พระวินัยปิฏก เล่ม ๖

จุลวรรค ปฐมภาค

ปาริวาสิกขันธกะ

เรื่องพระอยู่ปริวาส 320/204

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม 321/204

ทรงติเตียน 205

ปาริวาสิกวัตร ๙๔ ข้อ 322/206

รัตติเฉท ๓ อย่าง 331/213

พุทธานุญาตให้เก็บปริวาส 332/213

วิธีเก็บปริวาส 213

พุทธานุญาตให้สมาทานปริวาส 333/214

วิธีสมาทานปริวาส 214

เรื่องมูลายปฏิกัสสนารหภิกษุ 334/215

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม 335/215

ทรงติเตียน 216

มูลายปฏิกัสสนารหวัตร 336/217

เรื่องมานัตตารหภิกษุ 344/223

ทรงสอบถาม 224

ทรงติเตียน 224

มานัตตารหวัตร 345/225

เรื่องมานัตตจาริกภิกษุ 354/232

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม 355/232

ทรงติเตียน 233

มานัตตจาริกวัตร 356/234

รัตติเฉท ๔ อย่าง 365/241

พุทธานุญาตให้เก็บมานัต 366/241

วิธีเก็บมานัต 241

พุทธานุญาตให้สมาทานมานัต 367/242

เรื่องอัพภานารหภิกษุ 368/243

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม 369/243

ทรงติเตียน 244

อัพภานารหวัตร 370/245

หัวข้อประจําขันธกะ 376/251


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 8]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 204

ปาริวาสิกขันธกะ

เรื่องพระอยู่ปริวาส

[๓๒๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุ ทั้งหลายผู้อยู่ปริวาส ยินดีการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิ กรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การนำน้ำล้างเท้ามาให้ การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถูหลัง เมื่ออาบน้ำของปกตัตตะภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... .ต่างก็ เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ปริวาส จึงได้ ยินดีการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะ มาให้ การนำที่นอนมาให้ การนำน้ำล้างเท้ามาให้ การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรันบาตรจีวร การถูหลังเมื่ออาบน้ำของ ปกตัตตะภิกษุทั้งหลายเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม

[๓๒๑] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ใน เพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุ ทั้งหลายว่า:-

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ปริวาส ยินดีการ กราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 205

การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ด เท้า การรับบาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำของปกตัตตะภิกษุทั้งหลาย จริงหรือ?

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียน

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ปริวาส จึงได้ยินดีการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลี กรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถู หลังให้เมื่ออาบน้ำของปกตัตตะภิกษุทั้งหลายเล่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำของพวกภิกษุผู้อยู่ปริวาสนั้นไม่เป็น ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ... .ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส ไม่พึงยินดีการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอน มาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับ บาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำของปกตัตตะภิกษุทั้งหลาย รูปใดยิน ดี ต้องอาบัติทุกกฏ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 206

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งร้องเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบนำของ ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ปริวาสด้วยกัน ตามลำดับผู้แก่พรรษา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาติกิจ ๕ อย่าง คือ อุโบสถ ปวารณา ผ้าอาบน้ำฝน การสละภัตร และการรับภัตร แก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้อยู่ปริวาสด้วยกัน ตามลำดับผู้แก่พรรษา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แล เราจักบัญญัติวัตรแก่ภิกษุทั้ง หลายผู้อยู่ปริวาส โดยประการที่ภิกษุผู้อยู่ปริวาส ต้องประพฤติทุกรูป.

ปาริวาสิกวัตร ๙๔ ข้อ

หมวดที่ ๑

[๓๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาสพึงประพฤติชอบ วิธีประพฤติชอบในวัตรนั้น ดังต่อไปนี้ :-

อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส ไม่พึงให้อุปสมบท

ไม่พึงให้นิสัย

ไม่พึงไห้สามเณรอุปัฏฐาก

ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี

แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี

สงฆ์ให้ปริวาสเพื่ออาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 207

ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน

ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น

ไม่พึงติกรรม

ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม

ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ

ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ

ไม่พึงทำการไต่สวน

ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์

ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส

ไม่พึงโจทภิกษุอื่น

ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ

ไม่พึงช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน.

หมวดที่ ๒

[๓๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส ไม่พึงไปข้าง หน้าแห่งปกตัตตะภิกษุ

ไม่พึงนั่งข้างหน้าแห่งปกตัตตะภิกษุ

พึงพอใจด้วยอาสนะสุดท้าย ที่นอนสุดท้าย วิหารสุดท้ายของสงฆ์ ที่สงฆ์จะพึงให้แก่เธอ

ไม่พึงมีปกตัตตะภิกษุ เป็นสมณะนำหน้า หรือตามหลังเข้าไปสู่สกุล

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 208

ไม่พึงสมาทานอารัญญิกธุดงค์

ไม่พึงสมาทานบิณฑปาติกธุดงค์ และ

ไม่พึงให้เขานำบิณฑบาตมาส่ง เพราะปัจจัยนั้น ด้วยคิดว่าคนทั้ง หลายอย่ารู้เรา.

หมวดที่ ๓

[๓๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปาริวาสเป็นอาคันตุกะ ไปพึงบอกมีอาคันตุกะมา ก็พึงบอก พึงบอกในอุโบสถ พึงบอกใน ปวารณา ถ้าอาพาธพึงสั่งทูตให้บอก.

หมวดที่ ๔

[๓๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส ไม่พึงออกจาก อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หาภิกษุมิได้

ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่หา ภิกษุมิได้

ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หาภิกษุมิได้

ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุ มิได้

ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาส ที่หาภิกษุมิได้

ไม่พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หา ภิกษุมิได้

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 209

ไม่พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาส ที่หาภิกษุมิได้

ไม่พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือ ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ ทั้งนี้ เว้นแต่ไปกับปกตัตตะภิกษุ เว้นแต่มี อันตราย.

หมวดที่ ๕

[๓๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส ไม่พึงออกจาก อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส

ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็น นานาสังวาส

ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส

ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็น นานาสังวาส

ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส

ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาส ที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส

ไม่พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 210

ไม่พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาส ที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส

ไม่พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่น มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส ทั้งนี้ เว้นแต่ไปกับปกตัตตะ ภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย.

หมวดที่ ๖

[๓๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส พึงออกจาก อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมาน สังวาส

พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาทที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส

พีงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมาน สังวาส

พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็น สมานสังวาส

พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่ มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส

พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 211

พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่ มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส

พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่น มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส ทั้งนี้ ที่รู้ว่าอาจจะไปถึงในวันนี้ เทียว.

หมวดที่ ๗

[๓๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส ไม่พึงอยู่ในที่ มุงอันเดียวกันในอาวาส กับปกตัตตะภิกษุ

ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส

ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี เห็นปกตัตตะภิกษุแล้ว พึงลุกออกจากอาสนะ

พึงนิมนต์ปกตัตตะภิกษุให้นั่ง

ไม่พึงนั่งในอาสนะเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ

เมื่อปกตัตตะภิกษุนั่ง ณ อาสนะต่ำ ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะสูง

เมื่อปกตัตตะภิกษุนั่ง ณ พื้นดิน ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะ

ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมอันเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ

เมื่อปกตัตตะภิกษุจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงจงกรมในที่จงกรม สูง

เมื่อปกตัตตะภิกษุจงกรม ณ พื้นดิน ไม่พึงจงกรมในที่จงกรม.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 212

หมวดที่ ๘

[๓๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส ไม่พึงอยู่ในที่ มุงเดียวกันในอาวาส กับภิกษุอยู่ปริวาสผู้แก่พรรษากว่า

ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส

ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี

ไม่พึงนั่งในอาสนะเดียวกันกับภิกษุอยู่ปริวาสผู้แก่พรรษากว่า

... กับภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม

... กับภิกษุผู้ควรมานัต

... กับภิกษุผู้ประพฤติมานัต

... กับภิกษุผู้ควรอัพภาน

เมื่อเธอนั่ง ณ อาสนะต่ำ ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะสูง

เมื่อเธอนั่ง ณ พื้นดิน ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะ

ในพึงจงกรมในที่จงกรมเดียวกัน

เมื่อเธอจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมสูง

เมื่อเธอจงกรมอยู่ ณ พื้นดิน ไม่พึงจงกรมในที่จงกรม.

[๓๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุอยู่ปริวาสเป็นที่ ๔ พึง ให้ปริวาส พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม พึงให้มานัต สงฆ์ ๒๐ รูป ทั้งภิกษุผู้ อยู่ปริวาสนั้นพึงอัพภาน การกระทำดังนั้นใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ.

ปาริวาสิกวัตร ๙๔ ข้อ จบ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 213

รัตติเฉท ๓ อย่าง

[๓๓๑] ครั้งนั้น ท่านพระอุบาลีเข้าไปในพุทธสำนัก ครั้นถึงแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่งเฝ้า ณ ที่อันควรส่วนข้างหนึ่ง ท่าน พระอุบาลีนั่งเฝ้าเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถามความข้อนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ว่า ความขาดแห่งราตรีของภิกษุผู้อยู่ปริวาส มีเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อุบาลี ความขาดแห่งราตรี ของภิกษุผู้ อยู่ปริวาสมี ๓ คือ อยู่ร่วม ๑ อยู่ปราศ ๑ ไม่บอก ๑ รัตติเฉทของภิกษุ ผู้อยู่ปริวาสมี ๓ อย่างนี้แล.

พุทธานุญาตให้เก็บปริวาส

[๓๓๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ในพระนครสาวัตถี ภิกษุสงฆ์มาประชุม กันมากมาย ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ปริวาส ไม่สามารถจะชำระปริวาส จึงกราบ ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เก็บ ปริวาส

วิธีเก็บปริวาส

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีเก็บปริวาส พึงเก็บอย่างนี้ :-

อันภิกษุผู้อยู่ปริวาสนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์ เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าเก็บ

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 214

ปริวาส ปริวาสเป็นอันเก็บแล้ว หรือกล่าวว่า ข้าพเจ้าเก็บปริวาส ปริวาสก็เป็นอันเก็บแล้ว.

พุทธานุญาตให้สมาทานปริวาส

[๓๓๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายออกจากพระนครสาวัตถี ไปในที่นั้นๆ แล้ว พวกภิกษุผู้อยู่ปริวาสสามารถชำระปริวาสได้ จึงกราบ ทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมา ทานปริวาส

วิธีสมาทานปริวาส

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีสมาทานปริวาส พึงสมาทานอย่างนี้:-

อันภิกษุอยู่ปริวาสนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์ เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำสมาทานว่า ข้าพเจ้า สมาทานปริวาส ปริวาสเป็นอันสมาทานแล้ว หรือกล่าวคำสมาทานว่า ข้าพเจ้าสมาทานวัตร ปริวาสก็เป็นอันสมาทานแล้ว.

ปาริวาสิกวัตร จบ

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 215

เรื่องมูลายปฏิกัสสนารหภิกษุ

[๓๓๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ยินดีการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะ มาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะ ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพน ทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลายผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม จึงได้ยินดีการกราบ ไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำ ที่นอนมาให้ การล้างหน้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุทั้งหลายเล่า แล้ว กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม

[๓๓๕] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบ ถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ภิกษุทั้งหลายผู้ควร ชักเข้าหาอาบัติเดิม ยินดีการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามี จิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้ง ตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตร จีวร การถูหลังให้ เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุทั้งหลาย จริงหรือ

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 216

ทรงติเตียน

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุทั้งหลายผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม จึงได้ยินดีการกราบไหว้ การลุก รับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุทั้งหลายเล่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำของพวกภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติ เดิมนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ... .ครั้นแล้ว ทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ ควรชักเข้าหาอาบัติเดิมไม่พึงยินดีการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การ ตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถูหลังให้ เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุทั้งหลาย รูปใดยินดีต้องอาบัติทุกกฎ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลี กรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การ ล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของภิกษุทั้งหลาย ผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิมด้วย กันตามลำดับผู้แก่พรรษา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกิจ ๕ อย่าง คือ อุโบสถ ปวารณา ผ้าอาบน้ำฝน การสละภัตร และการรับภัตร แก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ตามลำดับผู้แก่พรรษา

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 217

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติวัตรแก่ภิกษุ ทั้งหลายผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม โดยประการที่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติ เดิม ต้องประพฤติทุกรูป.

มูลายปฏิกัสสนารหวัตร

หมวดที่ ๑

[๓๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม พึงประพฤติโดยชอบ วิธีประพฤติชอบในวัตรนั้น ดังนี้:-

อันภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ไม่พึงให้อุปสมบท

ไม่พึงให้นิสัย

ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก

ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี

แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี

เป็นผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม เพราะอาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น

ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน

ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น

ไม่พึงติกรรม

ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม

ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ

ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 218

ไม่พึงทำการไต่สวน

ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์

ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส

ไม่พึงโจทภิกษุอื่น

ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ

ไม่พึงช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน.

หมวดที่ ๒

[๓๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม

ไม่พึงไปข้างหน้าแห่งปกตัตตะภิกษุ

ไม่พึงนั่งข้างหน้าแห่งปกตัตตะภิกษุ

พึงพอใจด้วยอาสนะสุดท้าย ที่นอนสุดท้าย วิหารสุดท้ายของสงฆ์ ที่สงฆ์จะพึงให้แก่เธอ

ไม่พึงมีปกตัตตะภิกษุเป็นสมณะไปข้างหน้า หรือตามหลังเข้าไปสู่ สกุล

ไม่พึงสมาทานอารัญญิกธุดงค์

ไม่พึงสมาทานบิณฑปาติกธุดงค์ และ

ไม่พึงให้เขานำบิณฑบาตมาส่ง เพราะปัจจัยนั้น ด้วยคิดว่า คน ทั้งหลายอย่ารู้เรา.

หมวดที่ ๓

[๓๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หาภิกษุมิได้

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 219

ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นที่มิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้

ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่หา ภิกษุมิได้

ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หาภิกษุมิได้

ไม่พึงออกจากถิ่นที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นที่มิใช่อาวาสที่หา ภิกษุมิได้

ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาส ที่หาภิกษุมิได้

ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หา ภิกษุมิได้

ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่ อาวาสที่หาภิกษุมิได้

ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือ ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ ทั้งนี้ เว้นแต่ไปกับปกตัตตะภิกษุ เว้นแต่มี อันตราย.

หมวดที่ ๔

[๓๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส

ไม่พึงออกจากอาวาสที่ภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็น นานาสังวาส

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 220

ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มี ภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส

ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็น นานาสังวาส

ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส

ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่ อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส

ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มี ภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส

ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่ อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส

ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือ ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส ทั้งนี้ เว้นแต่ไปกับปกตัตตะ ภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย

หมวดที่ ๕

[๓๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุควรชักเข้าหาอาบัติเดิม พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส

พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุเป็นสมาน สังวาส

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 221

พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส

พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมาน สังวาส

พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็น สมานสังวาส

พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาส ที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส

พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส

พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาส ที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส

พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่น มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส ทั้งนี้ ที่รู้ว่าอาจจะไปถึงในวันนี้ เที่ยว.

หมวดที่ ๖

[๓๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาส กับปกตัตตะภิกษุ

ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส

ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี กับ ปกตัตตะภิกษุ

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 222

เห็นปกตัตตะภิกษุแล้วพึงลุกจากอาสนะ

พึงนิมนต์ปกตัตตะภิกษุให้นั่ง

ไม่พึงนั่งในอาสนะเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ

เมื่อปกตัตตะภิกษุนั่ง ณ อาสนะต่ำ ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะสูง เมื่อปกตัตตะภิกษุนั่ง ณ พื้นดิน ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะ

ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ

เมื่อปกตัตตะภิกษุจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงจงกรมในที่จงกรม สูง

เมื่อปกตัตตะภิกษุจงกรม ณ พื้นดิน ไม่พึงจงกรมในที่จงกรม

หมวดที่ ๗

[๓๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม

ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาส กันภิกษุผู้อยู่ปริวาส

ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส

ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี

ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะเดียวกันกับภิกษุผู้อยู่ปริวาส

... กับภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ที่แก่พรรษากว่า

... กับภิกษุผู้ควรมานัต

... กับภิกษุผู้ประพฤติมานัต

... กับภิกษุผู้ควรอัพภาน

เมื่อเธอนั่ง ณ อาสนะต่ำ ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะสูง

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 223

เมื่อเธอนั่ง ณ พื้นดิน ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะ

ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมเดียวกัน

เมื่อเธอจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมสูง

เมื่อเธอจงกรม ณ พื้นดิน ไปพึงจงกรมในที่จงกรม.

[๓๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติ เดิมเป็นที่ ๔ พึงให้ปริวาส พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม พึงให้มานัต สงฆ์ ๒๐ รูป ทั้งภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิมนั้น พึงอัพภาน การกระทำ ดังนั้นใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.

มูลายปฏิกัสสนารหวัตร จบ

เรื่องมานัตตารหภิกษุ

[๓๔๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายผู้ควรมานัต ยินดีการ กราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ด เท้า การรับบาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุทั้ง หลาย บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา ว่า ไฉน ภิกษุทั้งหลายผู้ควรมานัต จึงได้ยินดี การกราบไหว้ การลุก รับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 224

การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุทั้งหลายเล่า แล้วกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง หลาย ได้ยินว่า ภิกษุทั้งหลายผู้ควรมานัต ยินดีการกราบไหว้ การลุก รับอัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุทั้งหลาย จริงหรือ?

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียน

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายไฉน ภิกษุทั้งหลายผู้ควรมานัต จึงได้ยินดีการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลี กรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้าง เท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การ ถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุทั้งหลายเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำของภิกษุผู้ควรมานัตนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน ที่ยังไม่เลื่อมใส ... .ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดู ก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรมานัต ไม่พึงยินดีการกราบไหว้ การ

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 225

ลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอน มาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การ รับบาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุทั้งหลาย รูป ใดยินดีต้องอาบัติทุกกฏ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถูหลัง ให้เมื่ออาบน้ำ ของภิกษุทั้งหลายผู้ควรมานัตด้วยกัน ตามลำดับผู้แก่ พรรษา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกิจ ๕ อย่าง คือ อุโบสถ ปวารณา ผ้าอาบน้ำฝน การสละภัตร และการรับภัตร แก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้ควรมานัตด้วยกันตามลำดับผู้แก่พรรษา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจะบัญญัติวัตรแก่ภิกษุผู้ ควรมานัต โดยประการที่ภิกษุผู้ควรมานัต ต้องประพฤติทุกรูป.

มานัตตารหวัตร

หมวดที่ ๑

[๓๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรมานัต พึงประพฤติ ชอบ วิธีประพฤติชอบในวัตรนั้น ดังนี้ :-

อันภิกษุผู้ควรมานัต ไม่พึงให้อุปสมบท

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 226

ไม่พึงให้นิสัย

ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก

ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี

แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี

ตนเป็นผู้ควรมานัตเพราะอาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น

ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน

ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น

ไม่พึงติกรรม

ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม

ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ

ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ

ไม่พึงทำการไต่สวน

ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์

ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส

ไม่พึงโจทภิกษุอื่น

ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ

ไม่พึงช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน.

หมวดที่ ๒

[๓๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรมานัต ไม่พึงไปข้าง หน้าแห่งปกตัตตะภิกษุ

ไม่พึงนั่งข้างหน้าแห่งปกตัตตะภิกษุ

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 227

พึงพอใจด้วยอาสนะสุดท้าย ที่นอนสุดท้าย วิหารสุดท้ายของสงฆ์ ที่สงฆ์จะพึงให้เธอ

ไม่พึงมีปกตัตตะภิกษุเป็นสมณะนำหน้า หรือตามหลังเข้าไปสู่สกุล

ไม่พึงสมาทานอารัญญิกธุดงค์

ไม่พึงสมาทานปิณฑปาติกธุดงค์ และ

ไม่พึงให้เขานำบิณฑบาตมาส่ง เพราะปัจจัยนั้น ด้วยคิดว่าคนทั้ง หลายอย่ารู้เรา.

หมวดที่ ๓

[๓๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรมานัต เป็นอาคันตุกะ ไป พึงบอก มีอาคันตุกะมา ก็พึงบอก พึงบอกในอุโบสถ พึงบอกใน ปวารณา พึงบอกทุกวัน ถ้าอาพาธ พึงสั่งทูตให้บอก.

หมวดที่ ๔

[๓๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรมานัต ไม่พึงออกจาก อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หาภิกษุมิได้

ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้

ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาส ที่หา ภิกษุมิได้

ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หาภิกษุมิได้

ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุ มิได้

ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หาภิกษุมิได้

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 228

ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุ มิได้

ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่ อาวาสที่หาภิกษุมิได้

ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หา ภิกษุมิได้

ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่ อาวาสที่หาภิกษุมิได้

ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือ ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ ทั้งนี้ เว้นแต่ไปกับปกตัตตะภิกษุให้ เว้นแต่มี อันตราย.

หมวดที่ ๕

[๓๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรมานัต ไม่พึงออกจาก อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส

ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็น นานาสังวาส

ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มี ภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส

ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็น นานาสังวาส

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 229

ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส

ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่ อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส

ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มี ภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส

ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่ อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส

ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือ ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส ทั้งนี้ เว้นแต่ไปกับปกตัตตะ ภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย.

หมวดที่ ๖

[๓๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรมานัต พึงออกจาก อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส

พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมาน สังวาส

พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส

พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมาน สังวาส

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 230

พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็น สมานสังวาส

พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาส ที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส

พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส

พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาส ที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส

พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่น มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส ทั้งนี้ ที่รู้ว่าอาจจะไปถึงในวันนี้ เทียว.

หมวดที่ ๗

[๓๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรมานัต ไม่พึงอยู่ในที่ มุงเดียวกันในอาวาส กับปกตัตตะภิกษุ

ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส

ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี กับ ปกตัตตะภิกษุ

เห็นปกตัตตะภิกษุแล้วพึงลุกจากอาสนะ

พึงนิมนต์ปกตัตตะภิกษุให้นั่ง

ไม่พึงนั่งในอาสนะเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ

เมื่อปกตัตตะภิกษุนั่ง ณ อาสนะต่ำ ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะสูง

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 231

เมื่อปกตัตตะภิกษุนั่ง ณ พื้นดิน ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะ

ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ

เมื่อปกตัตตะภิกษุจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงจงกรมในที่จงกรม สูง

เมื่อปกตัตตะภิกษุจงกรม ณ พื้นดิน ไม่พึงจงกรมในที่จงกรม.

หมวดที่ ๘

[๓๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรมานัต ไม่พึงอยู่ในที่ มุงเดียวกันในอาวาส กับภิกษุผู้อยู่ปริวาส

ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส

ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี

ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะเดียวกัน กับภิกษุผู้อยู่ปริวาส

... กับภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม

... กับภิกษุผู้ควรมานัตที่แก่กว่า

... กับภิกษุผู้ประพฤติมานัต

... กับภิกษุผู้ควรอัพภาน

เมื่อเธอนั่ง ณ อาสนะต่ำ ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะสูง

เมื่อเธอนั่ง ณ พื้นดิน ไม่พึงนั่ง อาสนะ

ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมเดียวกัน

เมื่อเธอจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมสูง

เมื่อเธอจงกรมอยู่ ณ พื้นดิน ไม่พึงจงกรมในที่จงกรม.

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 232

[๓๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้ควรมานัตเป็นที่ ๔ พึงให้ปริวาส พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม พึงให้มานัต สงฆ์ ๒๐ รูป ทั้งภิกษุ ผู้ควรมานัตนั้นพึงอัพภาน การกระทำดังนั้น ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ

มานัตตารหวัตร จบ

เรื่องมานัตตจาริกภิกษุ

[๓๕๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายผู้ประพฤติมานัตยินดีการ กราบไหว การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้อง เช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุ ทั้งหลาย บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพน ทะนาว่า ไฉนมานัตตจาริกภิกษุทั้งหลายจึงได้ยินดีการกราบไหว้ การลุก รับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุทั้งหลายเล่า แล้วกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม

[๓๕๕] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถาม

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 233

ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ภิกษุทั้งหลายผู้ประพฤติ มานัต ยินดีการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การ นำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การ ทั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของ ปกตัตตะภิกษุทั้งหลาย จริงหรือ?

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียน

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายไฉน ภิกษุทั้งหลายผู้ประพฤติมานัต จึงได้ยินดีการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การ ล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถูกหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุทั้งหลายเล่า ดูก่อนภิกษุทั้ง หลายการกระทำของพวกภิกษุผู้ประพฤติมานัตนั้น ไม่เป็นไปเพื่อความ เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมมีกถา รับสั่ง กะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ประพฤติมานัต ไม่ พึงยินดีการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำ อาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การ ตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของ ปกตัตตะภิกษุทั้งหลาย รูปใดยินดีต้องอาบัติทุกกฏ

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 234

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การ ล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของภิกษุทั้งหลายผู้ประพฤติมานัต ด้วยกัน ตาม ลำดับผู้แก่พรรษา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกิจ ๕ อย่าง คือ อุโบสถ ปวารณา ผ้าอาบน้ำฝน การสละภัตร และการรับภัตร แก่ภิกษุ ทั้งหลายผู้ประพฤติมานัตด้วยกันตามลำดับผู้แก่พรรษา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติวัตรแก่ภิกษุ ผู้ประพฤติมานัต โดยประการที่ภิกษุผู้ประพฤติมานัต ต้องประพฤติทุก รูป.

มานัตตจาริกวัตร

หมวดที่ ๑

[๓๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ประพฤติมานัต พึงประพฤติชอบ วิธีประพฤติชอบในวัตรนั้น ดังต่อไปนี้ :-

อันภิกษุผู้ประพฤติมานัต ไม่พึงให้อุปสมบท

ไม่พึงให้นิสัย

ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก

ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 235

แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี

สงฆ์ให้มานัตเพื่ออาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น

ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน

ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น

ไม่พึงติกรรม

ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม

ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ

ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ

ไม่พึงทำการไต่สวน

ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์

ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส

ไม่พึงโจทภิกษุอื่น

ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ

ไม่พึงช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน.

หมวดที่ ๒

[๓๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ประพฤติมานัต ไม่พึงไป ข้างหน้าแห่งปกตัตตะภิกษุ

ไม่พึงนั่งข้างหน้าแห่งปกตัตตะภิกษุ

พึงพอใจด้วยอาสนะสุดท้าย ที่นอนสุดท้าย วิหารสุดท้ายของสงฆ์ ที่สงฆ์จะพึงให้แก่เธอ

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 236

ไม่พึงมีปกตัตตะภิกษุเป็นสมณะนำหน้าหรือตามหลัง เข้าไปสู่สกุล

ไม่พึงสมาทานอารัญญิกธุดงค์

ไม่พึงสมาทานปิณฑปาติกธุดงค์ และ

ไม่พึงให้เขานำบิณฑบาตมาส่ง เพราะปัจจัยนั้น ด้วยคิดว่าคนทั้ง หลายอย่ารู้เรา.

หมวดที่ ๓

[๓๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ประพฤติมานัต เป็น อาคันตุกะไปพึงบอก มีอาคันตุกะมา ก็พึงบอก พึงบอกในอุโบสถ พึงบอกในปวารณา พึงบอกทุกวัน ถ้าอาพาธ พึงสั่งทูตให้บอก.

หมวดที่ ๔

[๓๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ประพฤติมานัตไม่พึงออก จากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หาภิกษุมิได้

ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้

ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่หา ภิกษุมิได้

ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หาภิกษุมิได้

ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุ มิได้

ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่ อาวาสที่หาภิกษุมิได้

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 237

ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หา ภิกษุมิได้

ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่ อาวาสที่หาภิกษุมิได้

ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือ ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ ทั้งนี้ เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย.

หมวดที่ ๕

[๓๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ประพฤติมานัตไม่พึงออก จากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส

ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาส ที่มีภิกษุ แต่เป็น นานาสังวาส

ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส

ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็น นานาสังวาส

ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส

ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่ อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส

ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มี ภิกษุแต่เป็นนานาสังวาส

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 238

ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่ อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส

ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือ ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส ทั้งนี้ เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย.

หมวดที่ ๖

[๓๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ประพฤติมานัต พึงออก จากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส

พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส

พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุเป็นสมานสังวาส

พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็น สมานสังวาส

พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาส ที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส

พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 239

พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาส ที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส

พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่น มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส ทั้งนี้ ที่รู้ว่าจะไปถึงในวันนี้เทียว.

หมวดที่ ๗

[๓๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ประพฤติมานัตไม่พึงอยู่ใน ที่มุงอันเดียวกันในอาวาส กับปกตัตตะภิกษุ

ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส

ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี กับ ปกตัตตะภิกษุ

เห็นปกตัตตะภิกษุแล้ว พึงลุกจากอาสนะ

พึงนิมนต์ปกตัตตะภิกษุให้นั่ง

ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะอันเดียวกับปกตัตตะภิกษุ

เมื่อปกตัตตะภิกษุนั่ง ณ อาสนะต่ำ ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะสูง

เมื่อปกตัตตะภิกษุนั่ง ณ พื้นดิน ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะ

ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ

เมื่อปกตัตตะภิกษุอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมสูง

เมื่อปกตัตตะภิกษุจงกรม ณ พื้นดิน ไม่พึงจงกรมในที่จงกรม.

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 240

หมวดที่ ๘

[๓๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ประพฤติมานัต ไม่พึงอยู่ ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาส กับภิกษุผู้อยู่ปริวาส

ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกัน ในถิ่นมิใช่อาวาส

ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี

ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะอันเดียวกันกับภิกษุผู้อยู่ปริวาส

... กับภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม.

... กับภิกษุผู้ควรมานัต

... กับภิกษุผู้ประพฤติมานัตผู้แก่กว่า

... กับภิกษุผู้ควรอัพภาน

เมื่อปักตัตตะภิกษุนั่ง ณ อาสนะต่ำ ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะสูง

เมื่อปกตัตตะภิกษุนั่ง พื้นดิน ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะ

ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมเดียวกัน

เมื่อปกตัตตะภิกษุจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงจงกรมในที่จง กรมสูง

เมื่อปกตัตตะภิกษุจงกรมอยู่ ณ พื้นดิน ไม่พึงจงกรมในที่จงกรม

[๓๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้ประพฤติมานัตเป็นที่ ๔ พึงให้ปริวาส พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม พึงให้มานัต สงฆ์ ๒๐ รูป ทั้ง มานัตตจาริกภิกษุนั้น พึงอัพภาน การกระทำดังนั้น ใช้ไม่ได้และไม่ ควรทำ.

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 241

รัตติเฉท ๔ อย่าง

[๓๖๕] ครั้งนั้น ท่านพระอุบาลีเข้าไปในพุทธสำนัก ครั้นแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้านั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ทูล ถามความข้อนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ความขาดแห่งราตรีของพระภิกษุ ผู้ประพฤติมานัต มีเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อุบาลี ความขาดแห่งราตรีของภิกษุผู้ ประพฤติมานัตมี ๔ คือ อยู่ร่วม ๑ อยู่ปราศ ๑ ไม่บอก ประพฤติใน คณะอันพร่อง ๑ รัตติเฉทของภิกษุผู้ประพฤติมานัตมี ๔ อย่างนี้แล.

พุทธานุญาตให้เก็บมานัต

[๓๖๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ในพระนครสาวัตถี มีภิกษุสงฆ์เป็นอัน มากมาประชุมกัน ภิกษุทั้งหลายผู้ประพฤติมานัต ไม่สามารถชำระมานัตได้ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เก็บ มานัต

วิธีเก็บมานัต

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีเก็บมานัตพึงเก็บอย่างนี้

ภิกษุผู้ประพฤติมานัตนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตรา-

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 242

สงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำเก็บมานัต ว่า ดังนี้ ข้าพเจ้าเก็บมานัต มานัตเป็นอันเก็บแล้ว หรือกล่าวว่า ข้าพเจ้าเก็บวัตร มานัตก็เป็นอันเก็บแล้ว.

พุทธานุญาตให้สมาทานมานัต

[๓๖๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายออกจากพระนครสาวัตถี ไปในที่นั้นๆ แล้ว พวกภิกษุผู้ประพฤติมานัต สามารถชำระมานัต จึง กราบทูลเรื่องนั้น แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมาทานมานัต

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีสมาทานมานัตพึงสมาทานอย่างนี้

อันภิกษุผู้ประพฤติมานัตนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำสมาทานว่าดังนี้ ข้าพเจ้าสมาทานวัตร มานัตเป็นอันสมาทานแล้ว หรือกล่าวคำ สมาทานว่า ข้าพเจ้าสมาทานวัตร มานัตก็เป็นอันสมาทานแล้ว.

มานัตตจาริกวัตร จบ

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 243

เรื่องอัพภานารหภิกษุ

[๓๖๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายผู้ควรอัพภาน ยินดีการ กราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้อง เช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุ ทั้งหลาย บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุทั้งหลายผู้ควรอัพภานจึงได้ยินดีการกราบไหว้ การลุก รับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำของปกตัตตะภิกษุทั้งหลายเล่า แล้วกราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม

[๓๖๙] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถาม ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ภิกษุทั้งหลายผู้ควรอัพภาน ยินดีการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะ มาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้ง กระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของ ปกตัตตะภิกษุทั้งหลาย จริงหรือ?

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 244

ทรงติเตียน

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุทั้งหลายผู้ควรอัพภานจึงได้ยินดีการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถูหลัง ให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุทั้งหลายเล่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำของพวกภิกษุผู้ควรอัพภานนั่นไม่ เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรอัพภาน ไม่พึงยินดีการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำ อาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้ง กระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุทั้งหลาย รูปใดยินดี ต้องอาบัติทุกกฏ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถูหลัง ให้เมื่ออาบน้ำ ของภิกษุทั้งหลายผู้ควรอัพภานด้วยกัน ตามลำดับผู้แก่ พรรษา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกิจ ๕ อย่าง คือ อุโบสถ ปวารณา ผ้าอาบน้ำฝน การสละภัตร และการรับภัตร แก่ภิกษุทั้งหลายผู้ควร อัพภานด้วยกันตามลำดับผู้แก่พรรษา

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 245

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติวัตรแก่ภิกษุ ทั้งหลายผู้ควรอัพภาน โดยประการที่ภิกษุผู้ควรอัพภานต้องประพฤติ ทุกรูป.

อัพภานารหวัตร

หมวดที่ ๑

[๓๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรอัพภานพึงประพฤติ ชอบ วิธีประพฤติชอบในวัตรนั้น ดังต่อไปนี้.

ไม่พึงให้อุปสมบท

ไม่พึงให้นิสัย

ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก

ไม่พึงรับ สมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี

แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี

สงฆ์อัพภานเพื่ออาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น

ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน

ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น

ไม่พึงติกรรม

ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม

ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ

ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ

ไม่พึงทำการไต่สวน

ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 246

ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส

ไม่พึงโจทภิกษุอื่น

ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ

ไม่พึงช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน.

หมวดที่ ๒

[๓๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรอัพภานไม่พึงไปข้าง หน้าแห่งปกตัตตะภิกษุ

ไม่พึงนั่งข้างหน้าแห่งปกตัตตะภิกษุ

พึงพอใจด้วยอาสนะสุดท้าย ที่นอนสุดท้าย วิหารสุดท้ายของสงฆ์ที่ สงฆ์จะพึงให้แก่เธอ

ไม่พึงมีปกตัตตะภิกษุ เป็นสมณะนำหน้า หรือตามหลังเข้าไปสู่สกุล

ไม่พึงสมาทานอารัญญิกธุดงค์

ไม่พึงสมาทานปิณฑิปาติกธุดงค์ และ

ไม่พึงให้นำบิณฑบาตมาส่ง เพราะปัจจัยนั้น ด้วยคิดว่า คนทั้งหลายอย่ารู้เรา.

หมวดที่ ๓

[๓๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรอัพภานไม่พึงออกจาก อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หาภิกษุมิได้

ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้

ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่หา ภิกษุมิได้

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 247

ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หาภิกษุมิได้

ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิ ได้

ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่ อาวาสที่หาภิกษุมิได้

ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หา ภิกษุมิได้

ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่ อาวาสที่หาภิกษุมิได้

ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ ทั้งนี้ เว้นแต่ไปกับปกตัตตะภิกษุ เว้น แต่มีอันตราย.

หมวดที่ ๔

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรอัพภานไม่พึงออกจากอาวาสที่มี ภิกษุไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส

ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็น นานาสังวาส

ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มี ภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส

ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็น นานาสังวาส

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 248

ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส

ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่ อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส

ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มี ภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส

ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่ อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส

ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส ทั้งนี้ เว้นแต่ไปกับ ปกตัตตะภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย.

หมวดที่ ๕

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรอัพภานพึงออกจากอาวาสที่มี ภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส

พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมาน สังวาส

พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส

พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมาน สังวาส

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 249

พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็น สมานสังวาส

พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาส ที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส

พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส

พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาส ที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส

พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือ ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส ทั้งนี้ ที่รู้ว่าอาจจะไปถึงในวันนี้ เทียว.

หมวดที่ ๖

[๓๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรอัพภานไม่พึงอยู่ ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาส กับปกตัตตะภิกษุ

ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกัน ในถิ่นมิใช่อาวาส

ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกัน ในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี กับปกตัตตะภิกษุ

เห็นปกตัตตะภิกษุแล้ว พึงลุกจากอาสนะ

พึงนิมนต์ปกตัตตะภิกษุให้นั่ง

ไม่พึงนั่งในอาสนะเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ

เมื่อปกตัตตะภิกษุนั่ง ณ อาสนะต่ำ ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะสูง

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 250

เมื่อปกตัตตะภิกษุนั่ง ณ พื้นดิน ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะ

ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ

เมื่อปกตัตตะภิกษุจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงจงกรมในที่จงกรม สูง

เมื่อปกตัตตะภิกษุจงกรม ณ พื้นดิน ไม่พึงจงกรมในที่จงกรม.

หมวดที่ ๗

[๓๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรอัพภานไม่พึงอยู่ในที่ มุงอันเดียวกันในอาวาส กับภิกษุผู้อยู่ปริวาส

ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส

ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี

ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะเดียวกันกับภิกษุผู้อยู่ปริวาส

... กับภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม

... กับภิกษุผู้ควรมานัต

... กับภิกษุผู้ประพฤติมานัต

... กับภิกษุผู้ควรอัพภานที่แก่พรรษากว่า

เมื่อเธอนั่งอาสนะต่ำ ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะสูง

เมื่อเธอนั่ง ณ พื้นดิน ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะ

ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมเดียวกัน

เมื่อเธอจงกรมในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมสูง

เมื่อเธอจงกรมอยู่ ณ พื้นดิน ไม่พึงจงกรมในที่จงกรม.

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 251

[๓๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้ควรอัพภานเป็นที่ พึงให้ปริวาสพึงชักเข้าหาอาบัติเดิม พึงให้มานัต สงฆ์ ๒๐ รูป ทั้งภิกษุ ผู้ควรอัพภานนั้นพึงอัพภาน การกระทำดังนั้นใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.

อัพภานารหวัตร จบ

ปาริวาสิกขันธกะ ที่ ๒ จบ

ในขันธกะนี้มี ๕ เรื่อง

หัวข้อประจำขันธกะ

[๓๗๖] ๑. ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ปริวาส ยินดีการกราบไหว้ การ ลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมา ให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับ บาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก จึงเพ่งโทษ เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้อยู่ปริวาส ผู้ยินดี ทรงอนุญาตแก่ภิกษุผู้อยู่ปริวาสด้วยกันตามลำดับผู้แก่พรรษา และ ทรงอนุญาตกิจ ๕ อย่าง คือ อุโบสถ ๑ ปวารณา ๑ ผ้าอาบน้ำฝน ๑ การสละภัตร ๑ การรับภัตร ๑ วิธีประพฤติชอบ คือ ภิกษุผู้อยู่ปริวาส ไม่ไปข้างหน้าปกตัตตะภิกษุ พอใจด้วยที่สุดท้าย ไม่มีสมณะนำหน้าและ ตามหลังเข้าไปสู่สกุล ไม่สมาทานอารัญญิกธุดงค์ ปิณฑปาติกธุดงค์ ไม่ให้เขานำบิณฑบาตมาส่ง เป็นอาคันตุกะไป และมีอาคันตุกะมา

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 252

ต้องบอก พึงบอกในอุโบสถ ในปวารณา สั่งทูตไห้บอก ไปสู่อาวาส และถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกัน เมื่อปกตัตตะภิกษุ นั่ง ณ พื้นดิน ไม่นั่ง ณ อาสนะ เมื่อปกตัตตะภิกษุนั่งอาสนะต่ำ ไม่นั่ง อาสนะสูง เมื่อปกตัตตะภิกษุจงกรมในที่ต่ำ ไม่จงกรมในที่สูง หรือ จงกรม ณ พื้นดิน ไม่จงกรมในที่จงกรม ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกัน ... กับภิกษุผู้อยู่ปริวาสผู้แก่พรรษากว่า ทำกรรมใช้ไม่ได้ รัตติเฉท ชำระ ปริวาส ภิกษุผู้อยู่ปริวาส พึงทราบวิธีเก็บวัตร สมาทานวัตร ภิกษุ ผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ผู้ควรมานัต ผู้ประพฤติมานัต และผู้ควร อัพภาน ปราชญ์พึงทราบโดยนัยที่เจือกันอีก

รัตติเฉทของภิกษุผู้อยู่ปริวาสมี ๓ ของภิกษุผู้ประพฤติมานัตมี ๔ ไม่ เท่ากัน และประพฤติมานัตให้ครบวัน กรรม ๒ อย่างคล้ายกัน ๓ อย่าง นอกนั้นเหมือนกันแล.

หัวข้อประจำขันธกะ จบ