พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

กัมมขันธกะ - อุกเขปนียกรรมที่ ๕

 
บ้านธัมมะ
วันที่  13 มี.ค. 2565
หมายเลข  42827
อ่าน  465

[เล่มที่ 8] พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑

พระวินัยปิฏก เล่ม ๖

จุลวรรค ปฐมภาค

กัมมขันธกะ

อุกเขปนียกรรมที่ ๕

เรื่องพระฉันนะ 174/105

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม 175/105

ทรงติเตียน 105

วิธีลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ 106

กรรมวาจาลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ 106

ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด 176/107

ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด 188/112

ข้อที่สงฆ์จํานง ๖ หมวด 200/116

วัตร ๔๓ ข้อในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ 206/119

สงฆ์ลงโทษและระงับกรรม 207/121

วัตรที่ไม่ควรระงับ ๔๓ ข้อ ๘ หมวด 208/122

วัตรที่ควรระงับ ๔๓ ข้อ ๘ หมวด 216/127

วิธีระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ 224/131

คําขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ 131

กรรมวาจาระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ 132

อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทําคืนอาบัติ 225/133

ทรงสอบถาม 133

ทรงติเตียน 134

วิธีทําอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทําคืนอาบัติ 226/134

กรรมวาจาทําอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทําคืนอาบัติ 135

ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด 227/136

ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด 239/141

ข้อที่สงฆ์จํานง ๖ หมวด 251/145

วัตร ๔๓ ข้อในอุปเขปนียกรรม ฐานไม่ทําคืนอาบัติ 257/148

สงฆ์ลงโทษและระงับ 258/150

วัตรที่ไม่ควรระงับ ๔๓ ข้อ ๘ หมวด 259/151

วัตรที่ควรระงับ ๔๓ ข้อ ๘ หมวด 267/156

วิธีระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทําคืนอาบัติ 275/160

คําขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทําคืนอาบัติ 160

กรรมวาจาระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทําคืนอาบัติ 161

อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปเรื่อง พระอริฏฐะ 276/163

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม 277/165

ทรงติเตียน 165

วิธีลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป 278/167

กรรมวาจาทําอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป 167

ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด 279/169

ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด 291/174

ข้อที่สงฆ์จํานง ๖ หมวด 303/179

วัตร ๑๘ ข้อ 309/181

สงฆ์ลงโทษและระงับกรรม 310/182

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม 311/183

ทรงติเตียน 183

วัตรที่ไม่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด 312/184

วัตรที่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด 315/186

วิธีระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป 318/187

คําขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป 188

กรรมวาจาระงับอุกเขปนียกรรม 188

หัวข้อประจําขันธกะ 319/190


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 8]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 105

อุกเขปนียกรรม ที่ ๕

เรื่องพระฉันนะ

[๑๗๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตพระนครโกสัมพี ครั้งนั้น ท่านพระฉันนะต้องอาบัติแล้ว ไม่ปรารถนาจะเห็นอาบัติ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อยต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระฉันนะต้องอาบัติแล้ว จึงได้ไม่ปรารถนาจะ เห็นอาบัติเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม

[๑๗๕] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถาม ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ภิกษุฉันนะต้องอาบัติ แล้วไม่ปรารถนาจะเห็นอาบัติจริงหรือ?

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียน

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การ กระทำของโมฆบุรุษนั้นนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร มิใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉน โมฆบุรุษนั้นต้องอาบัติแล้วจึงไม่ปรารถนาจะ เห็นอาบัติเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษนั้นนั่น ไม่ เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุนชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ... ..ครั้นแล้ว ทรงทำ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 106

ธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จง ทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแก่ภิกษุฉันนะ คือ ห้ามสมโภค กับสงฆ์.

วิธีลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็น อาบัติ พึงทำอย่างนี้ คือ พึงโจทภิกษุฉันนะก่อน ครั้นแล้วพึงให้เธอ ให้การ แล้วพึงปรับอาบัติ ครั้นแล้ว ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึง ประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

กรรมวาจาลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระฉันนะนี้ ต้องอาบิตแล้ว ไม่ปรารถนาจะเห็นอาบัติ ถ้าความพร้อม พรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้วสงฆ์พึงทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ เห็นอาบิตแก่พระฉันนะ คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ นี่เป็น ญัตติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระฉันนะนี้ ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะเห็นอาบัติ สงฆ์ทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบิตแก่พระฉันนะ คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ การทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ แก่พระฉันนะ คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ชอบแก่ท่านผู้ใด

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 107

ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึง พูด

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ... ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระฉันนะนี้ต้องอาบัติแล้ว ไม่ ปรารถนาจะเห็นอาบัติ สงฆ์ทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ เห็นอาบิตแก่พระฉันนะ คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ การทำ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบิตแก่พระฉันนะ คือห้าม สมโภคกับสงฆ์ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ สงฆ์ทำแล้ว แก่พระฉันนะคือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงบอกภิกษุผู้อยู่ในอาวาสต่อๆ ไปว่า พระฉันนะถูกสงฆ์ทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแล้ว คือ ห้าม สมโภคกับสงฆ์.

ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด

หมวดที่ ๑

[๑๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 108

แล้วไม่ดี คือ ทำลับหลัง ๑ ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำไม่ตาม ปฏิญาณ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้ว ไม่ดี.

หมวดที่ ๒

[๑๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ ๑ ทำเพราะอาบัติมิใช่ เทสนาคามินี ๑ ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้ว ไม่ดี.

หมวดที่ ๓

[๑๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่โจทก่อนแล้วทำ ๑ ไม่ให้จำเลยให้การก่อน แล้วทำ ๑ ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้ว ไม่ดี.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 109

หมวดที่ ๔

[๑๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำลับหลัง ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็น วรรคทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้ว ไม่ดี.

หมวดที่ ๕

[๑๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับ แล้วไม่ดี.

หมวดที่ ๖

[๑๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำไม่ตามปฏิญาณ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 110

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนีกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้ว ไม่ดี.

หมวดที่ ๗

[๑๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้ว ไม่ดี.

หมวดที่ ๘

[๑๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะมิใช่อาบัติเป็นเทศนาคามินี ๑ ทำโดย ไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้ว ไม่ดี.

หมวดที่ ๙

[๑๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 111

และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ๑ ทำโดยไม่เป็น ธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้ว ไม่ดี.

หมวดที่ ๑๐

[๑๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่โจทก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์ เป็นวรรคทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้ว ไม่ดี.

หมวดที่ ๑๑

[๑๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียธรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่ เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้ว ไม่ดี.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 112

หมวดที่ ๑๒

[๑๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ต่อ ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้ว ไม่ดี.

ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด

ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ จบ

ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด

หมวดที่ ๑

[๑๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือทำต่อหน้า ๑ สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำตามปฏิญาณ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.

หมวดที่ ๒

[๑๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 113

ระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะต้องอาบัติ ๑ ทำเพราะอาบัติเป็นเทสนาคามินี ๑ ทำเพราะอาบัติที่ยังไม่ได้แสดง ๑ i

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.

หมวดที่ ๓

[๑๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และ ระงับดีแล้ว คือ โจทก่อนแล้วทำ ๑ ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ปรับอาบัติแล้วทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.

หมวดที่ ๔

[๑๙๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และ ระงับดีแล้ว คือ ทำต่อหน้า ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียง กันทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.

หมวดที่ ๕

[๑๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 114

ระงับดีแล้ว คือ สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์ พร้อมเพรียงกัน ทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.

หมวดที่ ๖

[๑๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และ ระงับดีแล้ว คือ ทำตามปฏิญาณ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียง กันทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.

หมวดที่ ๗

[๑๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และ ระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะต้องอาบัติ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อม เพรียงกันทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียธรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.

หมวดที่ ๘

[๑๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และ

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 115

ระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะอาบัติที่เป็นเทศนาคามินี ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.

หมวดที่ ๙

[๑๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และ ระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะอาบัติยังไม่ได้แสดง ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์ พร้อมเพรียงกันทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.

หมวดที่ ๑๐

[๑๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และ ระงับดีแล้ว คือ โจทก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อม เพรียงกันทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.

หมวดที่ ๑๑

[๑๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และ

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 116

ระงับดีแล้ว คือ ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์ พร้อมเพรียงกันทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว

หมวดที่ ๑๒

[๑๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และ ระงับดีแล้ว คือ ปรับอาบัติแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อม เพรียงกันทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว. ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด

ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ จบ

ข้อที่สงฆ์จำนง ๖ หมวด

หมวดที่ ๑

[๒๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ เมื่อสงฆ์ จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ คือ เป็นผู้ก่อความบาดหมางก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๑ เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร ๑ อย่าคลุกคลี กับคฤหัสถ์ ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ๑

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 117

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์ จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ.

หมวดที่ ๒

[๒๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่น อีก เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ คือ เป็นผู้ มีศีลวิบัติในอธิศีล ๑ เป็นผู้มีอาจารวิบัติ ในอัธยาจาร ๑ เป็นผู้มีทิฏฐิ วิบัติในอติทิฏฐิ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์ จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ.

หมวดที่ ๓

[๒๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ คือ กล่าวติเตียน พระพุทธเจ้า ๑ กล่าวติเตียนพระธรรม ๑ กล่าวติเตียนพระสงฆ์ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์ จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ.

หมวดที่ ๔

[๒๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแก่ภิกษุ ๓ รูป คือรูปหนึ่งเป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อ การทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๑ รูป หนึ่งเป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร ๑ รูปหนึ่งอยู่ คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ๑

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 118

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ เห็นอาบัติแก่ภิกษุ ๓ รูปนี้แล.

หมวดที่ ๕

[๒๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีก คือ รูปหนึ่งเป็นผู้มีศีล วิบัติในอธิศีล ๑ รูปหนึ่งเป็นผู้มีอาจารวิบัติ ในอัธยาจาร ๑ รูปหนึ่ง เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ ในอติทิฏฐิ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ เห็นอาบัติแก่ภิกษุ ๓ รูปนี้แล.

หมวดที่ ๖

[๒๐๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแก่ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีก คือ รูปหนึ่งกล่าวติเตียน พระพุทธเจ้า ๑ รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรม ๑ รูปหนึ่งกล่าวติเตียน พระสงฆ์ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ เห็นอาบัติแก่ภิกษุ ๓ รูปนี้แล. ข้อที่สงฆ์จำนง ๖ หมวด

ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ จบ

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 119

วัตร ๔๓ ข้อ ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ

[๒๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแล้ว ต้องประพฤติชอบ

วิธีประพฤติชอบในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัตินั้น ดังต่อ ไปนี้ :-

๑. ไม่พึงอุปสมบท

๒. ไม่พึงให้นิสสัย

๓. ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก

๔. ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี

๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี

๖. สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ เพราะอาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น

๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน

๘. ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น

๙. ไม่พึงติกรรม

๑๐. ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม

๑๑. ไม่พึงยินดีการกราบไหว้ของปกตัตตะภิกษุ

๑๒. ไม่พึงยินดีการยืนรับของปกตัตตะภิกษุ

๑๓. ไม่พึงยินดีอัญชลีกรรมของปกตัตตะภิกษุ

๑๔. ไม่พึงยินดีสามีจิกรรมของปกตัตตะภิกษุ ๑๕. ไม่พึงยินดีการนำอาสนะมาให้ของปกตัตตะภิกษุ

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 120

๑๖. ไม่พึงยินดีการนำที่นอนมาให้ของปกตัตตะภิกษุ

๑๗. ไม่พึงยินดีการนำน้ำล้างเท้ามาให้ ไม่พึงยินดีการตั้งตั่งรองเท้า ให้ของปกตัตตะภิกษุ

๑๘. ไม่พึงยินดีจารตั้งกระเบื้องเช็ดเท้าให้ของปกตัตตะภิกษุ

๑๙. ไม่พึงยินดีการรับบาตรจีวรของปกตัตตะภิกษุ

๒๐. ไม่พึงยินดีการถูหลังให้เมื่ออาบน้ำของปกตัตตะภิกษุ

๒๑. ไม่พึงกำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยศีลวิบัติ

๒๒. ไม่พึงกำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยอาจารวิบัติ

๒๓. ไม่พึงกำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยทิฏฐิวิบัติ

๒๔. ไม่พึงกำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยอาชีววิบัติ

๒๕. ไม่พึงยุภิกษุกับภิกษุให้แตกกัน

๒๖. ไม่พึงใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างคฤหัสถ์

๒๗. ไม่พึงใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างเดียรถีย์

๒๘. ไม่พึงคบพวกเดียรถีย์

๒๙. พึงคบพวกภิกษุ

๓๐. พึงศึกษาสิกขาของภิกษุ

๓๑. ไม่พึงอยู่ในอาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ

๓๒. ไม่พึงอยู่ในอนาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ

๓๓. ไม่พึงอยู่ในอาวาสหรือในอนาวาสมีเครื่องมุงเดียวกัน กับ ปกตัตตะภิกษุ

๓๔. เห็นปกตัตตะภิกษุแล้วพึงลุกจากอาสนะ

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 121

๓๕. ไม่พึงรุกรานปกตัตตะภิกษุข้างใน หรือข้างนอกวิหาร

๓๖. ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ

๓๗. ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ

๓๘. ไม่พึงทำการไต่สวน

๓๙. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์

๔๐. ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส

๔๑. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น

๔๒. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ

๔๓. ไม่พึงช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน

วัตร ๔๓ ข้อ ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ จบ

สงฆ์ลงโทษและระงับกรรม

[๒๐๗] ครั้งนั้น สงฆ์ได้ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ พระฉันนะ คือห้ามสมโภคกับสงฆ์ เธอถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ เห็นอาบัติแล้ว ได้ไปจากอาวาสนั้น สู่อาวาสอื่น ภิกษุทั้งหลายในอาวาสอื่น นั้นไม่กราบไหว้ ไม่ยืนรับ ไม่ทำอัญชลีกรรม ไม่ทำสามีจิกรรม ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา เธออันภิกษุทั้งหลายไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชาอยู่ เป็นผู้ไม่มีใครทำสักการะ จึงได้ไปจากอาวาสแม้ นั้นสู่อาวาสอื่น ภิกษุทั้งหลายในอาวาสอื่นแม้นั้น ก็ไม่กราบไหว้ ไม่ยืนรับ ไม่ทำอัญชลีกรรม ไม่ทำสามีจิกรรม ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชาเธออันภิกษุทั้งหลายไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชาอยู่

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 122

เป็นผู้ไม่มีใครทำสักการะ จึงได้ไปจากอาวาสแม้นั้นสู่อาวาสอื่น ภิกษุทั้ง หลายในอาวาสอื่นแม้นั้นก็ไม่กราบไหว้ ไม่ยืนรับ ไม่ทำอัญชลีกรรม ไม่ ทำสามีจิกรรม ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา เธออัน ภิกษุทั้งหลายไม่สักการะไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชาอยู่ เป็นผู้ไม่มี ใครทำสักการะ จึงกลับมาสู่พระนครโกสัมพีอีกตามเดิม ได้ประพฤติโดย ชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ เข้าไปหาภิกษุทั้งหลาย แล้วกล่าว อย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็น อาบัติ แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่งประพฤติแก้ตัวได้ ผมจะพึง ปฏิบัติอย่างไรต่อไป ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า:-

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงระงับอุกเขปนียกรรม ฐาน ไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุฉันนะ.

วัตรที่ไม่ควรระงับ ๔๓ ข้อ ๘ หมวด

หมวดที่ ๑

[๒๐๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐาน ไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ:-

๑. ให้อุปสมบท

๒. ให้นิสัย

๓. ให้สามเณรอุปัฏฐาก

๔. รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 123

๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ยังสั่งสอนภิกษุณี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึง ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ.

หมวดที่ ๒

[๒๐๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐาน ไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ แม้อื่นอีก คือ :-

๑. สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ เพราะอาบัติใดต้อง อาบัตินั้น

๒. ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน

๓. ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น

๔. ติกรรม

๕. ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึง ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ.

หมวดที่ ๓

[๒๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ:-

๑. ยินดีการกราบไหว้ ของปกตัตตะภิกษุ

๒. ยินดีการยืนรับ ของปกตัตตะภิกษุ

๓. ยินดีอัญชลีกรรม ของปกตัตตะภิกษุ

๔. ยินดีสามีจิกรรม ของปกตัตตะภิกษุ

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 124

๕. ยินดีการนำอาสนะมาให้ ของปกตัตตะภิกษุ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึง ระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ.

หมวดที่ ๔

[๒๑๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ :-

๑. ยินดีการนำที่นอนมาให้ ของปกตัตตะภิกษุ

๒. ยินดีการนำน้ำล้างเท้ามาให้ การตั้งตั่งรองเท้าให้ ของ ปกตัตตะภิกษุ

๓. ยินดีการตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า ของปกตัตตะภิกษุ

๔. ยินดีการรับบาตรจีวร ของปกตัตตะภิกษุ

๕. ยินดีการถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึง ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ.

หมวดที่ ๕

[๒๑๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ:-

๑. กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยศีลวิบัติ

๒. กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยอาจารวิบัติ

๓. กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยทิฏฐิวิบัติ

๔. กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยอาชีววิบัติ

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 125

๕. ยุภิกษุกับภิกษุให้แตกกัน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึง ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ.

หมวดที่ ๖

[๒๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ :-

๑. ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างคฤหัสถ์

๒. ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างเดียรถีย์

๓. คบพวกเดียรถีย์

๔. ไม่คบพวกภิกษุ

๕. ไม่ศึกษาสิกขาของภิกษุ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึง ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ.

หมวดที่ ๗

[๒๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ:-

๑. อยู่ในอาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ

๒. อยู่ในอนาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ

๓. อยู่ในอาวาส หรือในอนาวาส มีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะ ภิกษุ

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 126

๔. เห็นปกตัตตะภิกษุแล้ว ไม่ลุกจากอาสนะ

๕. รุกรานปกตัตตะภิกษุ ข้างในหรือข้างนอกวิหาร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึง ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ.

หมวดที่ ๘

[๒๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ :-

๑. ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ

๒. ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ

๓. ทำการไต่สวน

๔. เริ่มอนุวาทาธิกรณ์

๕. ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส

๖. โจทภิกษุอื่น

๗. ให้ภิกษุอื่นให้การ

๘. ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล สงฆ์ไม่พึง ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ

วัตรที่ไม่ควรระงับ ๔๓ ข้อ ๘ หมวด

ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ จบ

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 127

วัตรที่ควรระงับ ๔๓ ข้อ ๘ หมวด

หมวดที่ ๑

[๒๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐาน ไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ :-

๑. ไม่ให้อุปสมบท

๒. ไม่ให้นิสัย

๓. ไม่ให้สามเณรอุปัฏฐาก

๔. ไม่รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี

๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่สั่งสอนภิกษุณี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ.

หมวดที่ ๒

[๒๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐาน ไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ :-

๑. สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ เพราะอาบัติใด ไม่ เห็นอาบัตินั้น

๒. ไม่ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน

๓. ไม่ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น

๔. ไม่ติกรรม

๕. ไม่ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 128

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ.

หมวดที่ ๓

[๒๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐาน ไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ :-

๑. ไม่ยินดีการกราบไหว้ ของปกตัตตะภิกษุ

๒. ไม่ยินดีการยืนรับ ของปกตัตตะภิกษุ

๓. ไม่ยินดีอัญชลีกรรม ของปกตัตตะภิกษุ

๔. ไม่ยินดีสามีจิกรรม ของปกตัตตะภิกษุ

๕ ไม่ยินดีการนำอาสนะมาให้ ของปกตัตตะภิกษุ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ.

หมวดที่ ๔

[๒๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐาน ไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ :-

๑. ไม่ยินดีการนำที่นอนมาให้ ของปกตัตตะภิกษุ

๒. ไม่ยินดีการนำน้ำล้างเท้ามาให้ การตั้งตั่งรองเท้าให้ ของปกตัตตะภิกษุ

๓. ไม่ยินดีการตั้งกระเบื้องเช็ดเท้าให้ ของปกตัตตะภิกษุ

๔. ไม่ยินดีการรับบาตรจีวร ของปกตัตตะภิกษุ

๕. ไม่ยินดีการถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุ

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 129

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ.

หมวดที่ ๕

[๒๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐาน ไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ :-

๑. ไม่กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยศีลวิบัติ

๒. ไม่กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยอาจารวิบัติ

๓. ไม่กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยทิฏฐิวิบัติ

๔. ไม่กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยอาชีววิบัติ

๕. ไม่ยุภิกษุกับภิกษุให้แตกกัน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ.

หมวดที่ ๖

[๒๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐาน ไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ :-

๑. ไม่ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างคฤหัสถ์

๒. ไม่ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างเดียรถีย์

๓. ไม่คบพวกเดียรถีย์

๔. คบพวกภิกษุ

๕. ศึกษาสิกขาของภิกษุ

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 130

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล้ว สงฆ์พึง ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ.

หมวดที่ ๗

[๒๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐาน ไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ:-

๑. อยู่ในอาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ

๒. อยู่ในอนาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ

๓. อยู่ในอาวาส หรือในอนาวาส มีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะ ภิกษุ

๔. เห็นปกตัตตะภิกษุแล้วลุกจากอาสนะ

๕. ไม่รุกรานปกตัตตะภิกษุ ข้างในหรือข้างนอกวิหาร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ.

หมวดที่ ๘

[๒๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐาน ไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ.

๑. ไม่ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ

๒. ไม่ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ

๓. ไม่ทำการไต่สวน

๔. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์

๕. ไม่ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส

๖. ไม่โจทภิกษุอื่น

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 131

๗. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ

๘. ไม่ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล สงฆ์พึงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ.

วัตรที่ควรระงับ ๔๓ ข้อ ๘ หมวด

ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ จบ

วิธีระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ

[๒๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลวิธีระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่ เห็นอาบัติ พึงระงับอย่างนี้

ภิกษุฉันนะนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้า ภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอระงับกรรมนั้น อย่างนี้ว่าดังนี้ :-

คำขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ

ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ เห็นอาบัติแล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัว ได้ ข้าพเจ้าขอระงับ อุกเขปนียกรรมฐานไม่เห็นอาบัติ

พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 132

ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

กรรมวาจาระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระฉันนะนั้น ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแล้ว ประ พฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอ ระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติถ้าความพร้อม พรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรมฐาน ไม่เห็นอาบัติ แก่พระฉันนะ นี้เป็นญัตติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระฉันนะนี้ถูก สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแล้ว ประพฤติ โดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ สงฆ์ระงับอุกเขปนีย กรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ แก่พระฉันนะ การระงับอุกเขป นียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ แก่พระฉันนะ ชอบแก่ท่าน ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้- นั้นพึงพูด

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ...

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอ สงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระฉันนะนี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 133

ประพฤติแล้วแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ สงฆ์ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ เห็นอาบัติแก่พระฉันนะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึง เป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ อันสงฆ์ระงับ แล้วแก่พระฉันนะ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า ทรงความนี้ไว้อย่างนี้.

อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ ๕ จบ

อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ

เรื่องพระฉันนะ

[๒๒๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตพระนครโกสัมพี ครั้งนั้น ท่านพระฉันนะต้องอาบัติแล้ว ไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัติ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระฉันนะต้องอาบัติแล้ว จึงได้ไม่ ปรารถนาจะทำคืนอาบัติเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้ง หลายว่า

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 134

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ภิกษุฉันนะต้องอาบัติแล้ว ไม่ ปรารถนาจะทำคืนอาบัติ จริงหรือ?

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียน

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การ กระทำของภิกษุโมฆบุรุษนั้นนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร มิใช่กิจ ของสมณะใช้ไม่ได้ไม่ควรทำ ไฉนภิกษุโมฆบุรุษนั้น ต้องอาบัติแล้ว จึงไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัติเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำของ ภิกษุโมฆบุรุษนั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อควานเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อม ใส ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่ ภิกษุฉันนะ คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์.

วิธีทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ

[๒๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีทำอุกเขปนียกรรม ฐาน ไม่ทำคืนอาบัติ พึงทำอย่างนี้ :-

พึงโจทภิกษุฉันนะก่อน ครั้นแล้วพึงให้เธอให้การ แล้วพึงปรับ อาบติ ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย ญัตติจตุตถกรรมวาจาว่าดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 135

กรรมวาจาทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระฉันนะนี้ ต้องอาบัติแล้ว ไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัติ ถ้าความ พร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่พระฉันนะ คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ นี้เป็นญัตติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระฉันนะนี้ ต้องอาบัติแล้ว ไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัติ สงฆ์ทำ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่พระฉันนะ คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็น ผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ...

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระฉันนะนี้ต้องอาบัติแล้ว ไม่ ปรารถนาจะทำคืนอาบิด สงฆ์ทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ ทำคืนอาบัติแก่พระฉันนะ คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ การ ทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่พระฉันนะ คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็น ผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 136

อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ สงฆ์ทำแล้ว แก่พระฉันนะ คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ อย่างนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงบอกภิกษุผู้อยู่ในอาวาสต่อๆ ไปว่า พระฉันนะอันสงฆ์ทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแล้ว คือ ห้าม สมโภคกับสงฆ์.

ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด

หมวดที่ ๑

[๒๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้ว ไม่ดี คือทำลับหลัง ๑ ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำไม่ตามปฏิญาณ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้ว ไม่ดี.

หมวดที่ ๒

[๒๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ ทำเพราะอาบัติมิใช่ เทสนาคามินี ๑ ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ๑

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 137

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และ ระงับแล้วไม่ดี.

หมวดที่ ๓

[๒๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืน อาบัติที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็น วินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่โจทก่อนแล้วทำ ๑ ไม่ให้จำเลยให้ การก่อนแล้วทำ ๑ ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และ ระงับแล้วไม่ดี.

หมวดที่ ๔

[๒๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืน อาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่ เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำลับหลัง ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นธรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และ ระงับแล้วไม่ดี.

หมวดที่ ๕

[๒๓๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืน อาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 138

เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่ยอมสอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำ โดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และ ระงับแล้วไม่ดี.

หมวดที่ ๖

[๒๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืน อาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่ เป็นวินัย และระงับแล้ว ไม่ดี คือ ไม่ทำตามปฏิญาณ ๑ ทำโดยไม่เป็น ธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับ แล้วไม่ดี.

หมวดที่ ๗

[๒๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืน อาบัติที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็น วินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ ๑ ทำโดยไม่เป็น ธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และ ระงับแล้วไม่ดี.

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 139

หมวดที่ ๘

[๒๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืน อาบัติที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็น วินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะอาบัติมิใช่เป็นเทสนาคามินี ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และ ระงับแล้วไม่ดี.

หมวดที่ ๙

[๒๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืน อาบัติที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็น วินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ทำโดย ไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และ ระงับแล้วไม่ดี.

หมวดที่ ๑๐

[๒๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืน อาบัติที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็น วินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่โจทก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็น ธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 140

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และ ระงับแล้วไม่ดี.

หมวดที่ ๑๑

[๒๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืน อาบัติที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็น วินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ทำ โดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และ ระงับแล้วไม่ดี.

หมวดที่ ๑๒

[๒๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืน อาบัติที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็น วินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่ เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และ ระงับแล้วไม่ดี.

ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ จบ

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 141

ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด

หมวดที่ ๑

[๒๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืน อาบัติที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และ ระงับดีแล้ว คือ ทำต่อหน้า ๑ สอบถามก่อนแล้วทํา ๑ ทำตามปฏิญาณ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับ ดีแล้ว.

หมวดที่ ๒

[๒๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืน อาบัติที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะต้องอาบัติ ๑ ทำเพราะอาบัติเป็นเทสนาคามินี ๑ ทำเพราะอาบัติยังมิได้แสดง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับ ดีแล้ว.

หมวดที่ ๓

[๒๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืน อาบัติที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ โจทก่อนแล้วทำ ๑ ให้จำเลยให้การแล้วทำ ๑ ปรับอาบัติแล้วทำ ๑

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 142

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับ ดีแล้ว.

หมวดที่ ๔

[๒๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืน อาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำต่อหน้า ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียง กันทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับ ดีแล้ว.

หมวดที่ ๕

[๒๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืน อาบัติที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์ พร้อมเพรียงกันทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับ ดีแล้ว.

หมวดที่ ๖

[๒๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืน อาบัติที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 143

และระงับดีแล้ว คือ ทำตามปฏิญาณ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อม เพรียงกันทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดี แล้ว.

หมวดที่ ๗

[๒๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และ ระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะต้องอาบัติ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อม เพรียงกันทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย ระงับดีแล้ว.

หมวดที่ ๘

[๒๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และ ระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะอาบัติเป็นเทศนาคามินี ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์ พร้อมเพรียงกันทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดี แล้ว.

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 144

หมวดที่ ๙

[๒๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และ ระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะอาบัติที่ยังมิได้แสดง ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์ พร้อมเพรียงกันทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดี แล้ว.

หมวดที่ ๑๐

[๒๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และ ระงับดีแล้ว คือ โจทก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียง กันทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดี แล้ว.

หมวดที่ ๑๑

[๒๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และ ระงับดีแล้ว คือ ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์ พร้อมเพรียงกันทำ ๑

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 145

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดี แล้ว.

หมวดที่ ๑๒

[๒๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืน อาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ปรับอาบัติแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อม เพรียงกันทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.

ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด

ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ จบ

ข้อที่สงฆ์จำนง ๖ หมวด

หมวดที่ ๑

[๒๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ เมื่อสงฆ์ จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๑ เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมารยาทไม่สมควร ๑ อยู่คลุกคลีกับ คฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ๑

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 146

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนง พึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ.

หมวดที่ ๒

[๒๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือเป็นผู้มีศีล วิบัติในอธิศีล ๑ เป็นผู้มีอาจารวิบัติ ในอัธยาจาร ๑ เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ ในอติทิฏฐิ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนง พึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ.

หมวดที่ ๓

[๒๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่น อีก เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๑ กล่าวติเตียนพระธรรม ๑ กล่าวติเตียนพระ สงฆ์ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนง พึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ.

หมวดที่ ๔

[๒๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุ ๓ รูป คือรูปหนึ่งเป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๑ รูป

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 147

หนึ่งเป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร ๑ รูปหนึ่ง อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุ ๓ รูปนี้แล.

หมวดที่ ๕

[๒๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ แก่ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีก คือรูปหนึ่งเป็นผู้มีศีลวิบัติ ในอธิศีล ๑ รูปหนึ่งเป็นผู้มีอาจารวิบัติ ในอัธยาจาร ๑ รูปหนึ่งเป็นผู้ มีทิฏฐิวิบัติ ในอติทิฏฐิ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุ ๓ รูปนี้แล.

หมวดที่ ๖

[๒๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุ ๓ รูปแม้อื่นอีก คือ รูปหนึ่งกล่าวติเตียน พระพุทธเจ้า ๑ รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรม ๑ รูปหนึ่งกล่าวติเตียน พระสงฆ์ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุ ๓ รูปนี้แล.

ข้อที่สงฆ์จำนง ๖ หมวด

ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ จบ

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 148

วัตร ๔๓ ข้อ ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ

[๒๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐาน ไม่ทำคืนอาบัติแล้ว ต้องประพฤติชอบ

วิธีประพฤติชอบในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัตินั้นดังนี้ :-

๑. ไม่พึงให้อุปสมบท

๒. ไม่พึงให้นิสัย

๓. ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก

๔. ไม่รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี

๕. แม้ได้สมมติแล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี

๖. สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ เพราะอาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น

๗. ไม่ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน

๘. ไม่พึงต้องอาบัติอัน เลวทรามกว่านั้น

๙. ไม่พึงติกรรม

๑๐. ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม

๑๑. ไม่พึงยินดีการกราบไหว้ ของปกตัตตะภิกษุ

๑๒. ไม่พึงยินดีการยืนรับ ของปกตัตตะภิกษุ

๑๓. ไม่พึงยินดีอัญชลีกรรม ของปกตัตตะภิกษุ

๑๔. ไม่พึงยินดีสามีจิกรรม ของปกตัตตะภิกษุ

๑๕. ไม่พึงยินดีการนำอาสนะมาให้ ของปกตัตตะภิกษุ

๑๖. ไม่พึงยินดีการนำที่นอนมาให้ ของปกตัตตะภิกษุ

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 149

๑๗. ไม่พึงยินดีการนำน้ำล้างเท้ามาให้ การตั้งตั่งรองเท้าให้ ของ ปกตัตตะภิกษุ

๑๘. ไม่พึงยินดีการตั้งกระเบื้องเช็ดเท้าให้ ของปกตัตตะภิกษุ

๑๙. ไม่พึงยินดีการรับบาตร จีวร ของปกตัตตะภิกษุ

๒๐. ไม่พึงยินดีการถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุ

๒๑. ไม่พึงกำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยศีลวิบัติ

๒๒. ไม่พึงกำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยอาจารวิบัติ

๒๓. ไม่พึงกำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยทิฏฐิวิบัติ

๒๔. ไม่พึงกำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยอาชีววิบัติ ๒๕. ไม่พึงยุภิกษุกับภิกษุให้แตกกัน

๒๖. ไม่พึงใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างคฤหัสถ์

๒๗. ไม่พึงใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างเดียรถีย์

๒๘. ไม่พึงคบพวกเดียรถีย์

๒๙. พึงคบพวกภิกษุ

๓๐. พึงศึกษาสิกขาของภิกษุ

๓๑. ไม่พึงอยู่ในอาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ

๓๒. ไม่พึงอยู่ในอนาวาสมีเครื่องมุงเดียวกัน กับปกตัตตะภิกษุ

๓๓. ไม่พึงอยู่ในอาวาส หรือในอนาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับ ปกตัตตะภิกษุ

๓๔. เห็นปกตัตตะภิกษุแล้วพึงลุกจากอาสนะ

๓๕. ไม่พึงรุกรานปกตัตตะภิกษุ ข้างในหรือข้างนอกวิหาร

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 150

๓๖. ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ

๓๗. ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ

๓๘. ไม่พึงทำการไต่สวน

๓๙. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์

๔๐. ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส

๔๑. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น

๔๒. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ

๔๓. ไม่พึงช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน

วัตร ๔๓ ข้อ ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ จบ

สงฆ์ลงโทษและระงับ

[๒๕๘] ครั้งนั้น สงฆ์ได้ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ แก่พระฉันนะ คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ท่านถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแล้ว ได้ไปจากอาวาสนั้น สู่อาวาสอื่น ภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสอื่นนั้น ไม่กราบไหว้ ไม่ยืนรับ ไม่ทำอัญชลีกรรม ไม่ทำสามี จิกรรม ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา ท่านอันภิกษุทั้งหลาย ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชาอยู่ เป็นผู้ไม่มีใครทำสักการะ จึงได้ไปจากอาวาสนั้น สู่อาวาสอื่น แม้ภิกษุทั้งหลายในอาวาสอื่นนั้นก็ไม่ กราบไหว้ ไม่ยืนรับ ไม่ทำอัญชลีกรรม ไม่ทำสามีจิกรรม ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา ท่านอันภิกษุทั้งหลาย ไม่สักการะ ไม่

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 151

เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา เป็นผู้ไม่มีใครทำสักการะ จึงได้ไปจากอาวาส นั้น สู่อาวาสอื่น แม้ภิกษุทั้งหลายในอาวาสอื่นนั้นก็ไม่กราบไหว้ ไม่ยืน รับ ไม่ทำอัญชลีกรรม ไม่ทำสามีจิกรรม ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับ ถือ ไม่บูชา ท่านอันภิกษุทั้งหลา ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่ บูชาอยู่ เป็นผู้ไม่มีใครทำสักการะ จึงกลับมาสู่พระนครโกสัมพีอีกตามเดิม ได้ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงเข้าไปหาภิกษุทั้ง หลายแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ แล้วประพฤติโดยชอบ หาเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัว ได้ ผมจะพึงปฏิบัติอย่างไรต่อไป ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์ จงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ แก่ภิกษุฉันนะ.

วัตรที่ไม่ควรระงับ ๔๓ ข้อ ๘ หมวด

หมวดที่ ๑

[๒๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์ไม่พึง ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ :-

๑. ให้อุปสมบท

๒. ให้นิสัย

๓. ให้สามเณรอุปัฏฐาก

๔. รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี

๕. แม้รับสมมติแล้วก็ยังสั่งสอนภิกษุณี

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 152

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึง ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ.

หมวดที่ ๔

[๒๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ :-

๑. สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติเพราะอาบัติใดต้อง อาบัตินั้น

๒. ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน

๓. ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น

๔. ติกรรม

๕. ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึง ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ.

หมวดที่ ๓

[๒๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ:-

๑. ยินดีการกราบไหว้ ของปกตัตตะภิกษุ

๒. ยินดีการยืนรับ ของปกตัตตะภิกษุ

๓. ยินดีอัญชลีกรรม ของปกตัตตะภิกษุ

๔. ยินดีสามีจิกรรม ของปกตัตตะภิกษุ

๕. ยินดีการนำอาสนะมาให้ ของปกตัตตะภิกษุ

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 153

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึง ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ.

หมวดที่ ๔

[๒๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ :-

๑. ยินดีการนำที่นอนมาให้ ของปกตัตตะภิกษุ

๒. ยินดีการนำน้ำล้างเท้ามาให้ การตั้งตั่งรองเท้าให้ ของปกตัตตะ ภิกษุ

๓. ยินดีการตั้งกระเบื้องเช็ดเท้าให้ ของปกตัตตะภิกษุ

๔. ยินดีการรับบาตรและจีวร ของปกตัตตะภิกษุ

๕. ยินดีการถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึง ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ.

หมวดที่ ๕

[๒๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ:-

๑. กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยศีลวิบัติ

๒. กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยอาจารวิบัติ

๓. กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยทิฏฐิวิบัติ

๔. กำจัด ปกตัตตะภิกษุ ด้วยอาชีววิบัติ

๕. ยุภิกษุกับภิกษุให้แตกกัน

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 154

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึง ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ.

หมวดที่ ๖

[๒๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ:- ๑. ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างคฤหัสถ์

๒. ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างเดียรถีย์

๓. คบพวกเดียรถีย์

๔. ไม่คบพวกภิกษุ

๕. ไม่ศึกษาสิกขาของภิกษุ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึง ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ.

หมวดที่ ๗

[๒๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ :-

๑. อยู่ในอาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ

๒. อยู่ในอนาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ

๓. อยู่ในอาวาส หรือในอนาวาส มีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะ ภิกษุ

๔. เห็นปกตัตตะภิกษุแล้วไม่ลุกจากอาสนะ

๕. รุกรานปกตัตตะภิกษุ ข้างในหรือข้างนอกวิหาร

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 155

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึง ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ.

หมวดที่ ๘

[๒๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ สงฆ์ไม่พึง ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ:-

๑. ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ

๒. ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ

๓. ทำการไต่สวน

๔. เริ่มอนุวาทาธิกรณ์

๕. ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส

๖. โจทภิกษุอื่น

๗. ให้ภิกษุอื่นให้การ

๘. ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล สงฆ์ไม่พึง ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ.

วัตรที่ไม่ควรระงับ ๔๓ ข้อ ๘ หมวด

ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ จบ

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 156

วัตรที่ควรระงับ ๔๓ ข้อ ๘ หมวด

หมวดที่ ๑

[๒๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์พึง ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ :-

๑. ไม่ให้อุปสมบท

๒. ไม่ให้นิสัย

๓. ไม่ให้สามเณรอุปัฏฐาก

๔. ไม่รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี

๕. แม้ได้รับสมมติแล้วก็ไม่สั่งสอนภิกษุณี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึง ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ

หมวดที่ ๒

[๒๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ :-

๑. สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ เพราะอาบัติใด ไม่ต้องอาบัตินั้น

๒. ไม่ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน

๓. ไม่ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น

๔. ไม่ติกรรม

๕. ไม่ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 157

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึง ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ.

หมวดที่ ๓

[๒๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ :-

๑. ไม่ยินดีการกราบไหว้ ของปกตัตตะภิกษุ

๒. ไม่ยินดีการยืนรับ ของปกตัตตะภิกษุ

๓. ไม่ยินดีอัญชลีกรรม ของปกตัตตะภิกษุ

๔. ไม่ยินดีสามีจิกรรม ของปกตัตตะภิกษุ

๕. ไม่ยินดีการนำอาสนะมาให้ ของปกตัตตะภิกษุ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึง ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ.

หมวดที่ ๔

[๒๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่น อีก สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ:-

๑. ไม่ยินดีการนำที่นอนมาให้ ของปกตัตตะภิกษุ

๒. ไม่ยินดีการนำน้ำล้างเท้ามาให้ การตั้งตั่งรองเท้าให้ ของ ปกตัตตะภิกษุ

๓. ไม่ยินดีการตั้งกระเบื้องเช็ดเท้าให้ ของปกตัตตะภิกษุ

๔. ไม่ยินดีการรับบาตรจีวร ของปกตัตตะภิกษุ

๕. ไม่ยินดีการถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุ

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 158

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึง ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ.

หมวดที่ ๕

[๒๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่น อีก สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ :-

๑. ไม่กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยศีลวิบัติ

๒. ไม่กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยอาจารวิบัติ

๓. ไม่กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยทิฏฐิวิบัติ

๔. ไม่กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยอาชีววิบัติ

๕. ไม่ยุภิกษุกับภิกษุให้แตกกัน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ.

หมวดที่ ๖

[๒๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ แม้อื่น อีก สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติคือ:-

๑. ไม่ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างคฤหัสถ์

๒. ไม่ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างเดียรถีย์

๓. ไม่คบพวกเดียรถีย์

๔. คบพวกภิกษุ

๕. ศึกษาสิกขาของภิกษุ

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 159

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึง ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ.

หมวดที่ ๗

[๒๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่น อีก สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ :-

๑. ไม่อยู่ในอาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ

๒. ไม่อยู่ในอนาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ

๓. ไม่อยู่ในอาวาส หรือในอนาวาส มีเครื่องมุงเดียวกันกับ ปกตัตตะภิกษุ

๔. เห็นปกตัตตะภิกษุแล้วลุกจากอาสนะ

๕. ไม่รุกรานปกตัตตะภิกษุ ข้างในหรือข้างนอกวิหาร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึง ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ.

หมวดที่ ๘

[๒๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ แม้อื่น อีก สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ :-

๑. ไม่ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ

๒. ไม่ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ

๓. ไม่ทำการไต่สวน

๔. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์

๕. ไม่ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 160

๖. ไม่โจทภิกษุอื่น

๗. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ

๘. ไม่ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล สงฆ์พึง ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ.

วัตรที่ควรระงับ ๔๓ ข้อ ๘ หมวด

ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ จบ

วิธีระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ

[๒๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ พึงระงับอย่างนี้

ภิกษุฉันนะนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้ เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอระงับ กรรมนั้นอย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

คำขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่คืนอาบัติ

ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ ทำคืนอาบัติ แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติ แก้ตัวได้ ข้าพเจ้าขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 161

พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม

ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

กรรมวาจาระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระฉันนะนี้ ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ถ้าความ พร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่พระฉันนะ นี้เป็นญัตติ

ท่านเจ้าข้า พระฉันนะนี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐาน ไม่ทำคืนอาบัติ สงฆ์ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืน อาบัติแก่พระฉันนะ การระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำ อาบัติคืนแก่พระฉันนะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงนิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 162

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ...

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอ สงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระฉันนะนี้ ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ ทำคืนอาบัติ สงฆ์ระงับอุเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืน อาบัติแก่พระฉันนะ การระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ ทำคืนอาบัติแก่พระฉันนะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ อันสงฆ์ระงับ แล้วแก่พระฉันนะ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า ทรงความนี้ไว้อย่างนี้.

อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ ๖ จบ

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 163

อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป

เรื่องพระอริฏฐะ

[๒๗๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระอริฏฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง มีทิฏฐิอันเป็นบาปเห็นปานนี้เกิดขึ้น ว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ ตรัสว่า เป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพ ได้จริงไม่, ภิกษุหลายรูปด้วยกันได้ทราบข่าวว่า พระอริฏฐะผู้เกิดใน ตระกูลพรานแร้งมีทิฏฐิอันเป็นบาปเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เรารู้ทั่วถึงธรรม ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วโดยประการที่ตรัสว่า เป็นธรรมทำ อันตรายธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่ แล้วพากันเข้า ไปหาพระอริฏฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง ถามว่า อาวุโสอริฏฐะ ได้ ยินว่า ท่านมีทิฏฐิอันเป็นบาปเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรม ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ตรัสว่า เป็นธรรมทำ อันตรายธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่ดังนี้ จริงหรือ?

พระอริฏฐะตอบว่า จริงเหมือนอย่างนั้นแล อาวุโสทั้งหลาย ผมรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วโดยประการที่ตรัสว่า เป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่.

ภิกษุทั้งหลายกล่าวห้ามว่า อาวุโสอริฏฐะ ท่านอย่าได้พูดเช่นนั้น ท่านอย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดี

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 164

แน่ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ตรัสอย่างนั้นเลย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ธรรมอันทำอันตรายไว้โดยปริยายเป็นอันมาก ก็แลธรรมเหล่านั้นอาจทำ อันตรายแก่ผู้เสพได้จริง กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มีความ ยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามทั้งหลายนี้มากยิ่ง นัก กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบเหมือนร่างกระดูก มี ทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามทั้งหลายนี้มากยิ่งนัก กามทั้ง หลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ ... กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า เปรียบเหมือนคบหญ้า ... .กามทั้งหลายพระผู้มี พระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ... .กามทั้งหลายพระผู้มี พระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบเหมือนความฝัน ... .กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบเหมือนของยืม ... ..กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่าเปรียบเหมือนผลไม้ ... ... .กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบเหมือนเขียงสำหรับสับเนื้อ ... .กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบเหมือนหอกและหลาว ... ..กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบเหมือนศีรษะงู มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามทั้ง หลายนี้มากยิ่งนัก

พระอริฏฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง แม้อันภิกษุเหล่านั้น ว่ากล่าว อยู่อย่างนี้ ก็ยังยึดถือทิฏฐิอันเป็นบาปนั้นด้วยความยึดถือมั่นอย่างเดิม กล่าว ยืนยันว่า ผมกล่าวอย่างนั้นจริง ท่านทั้งหลายผมรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มี พระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ตรัสว่า เป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 165

ก็เพราะเหตุที่ภิกษุเหล่านั้น ไม่อาจเปลื้องพระอริฏฐะผู้เกิดในตระกูล พรานแร้งจากทิฏฐิอันเป็นบาปนั้นได้ ภิกษุเหล่านั้นจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคเจ้า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม

[๒๗๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถาม พระอริฏฐะ ผู้เกิดในตระกูลพรานแร้งว่า ดูก่อนอริฏฐะ ได้ยินว่า เธอมี ทิฏฐิอันเป็นบาปเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ตรัสว่า เป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่านั้น หาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่ ดังนี้ จริงหรือ?

พระอริฏฐะทูลรับว่า ข้าพระพุทธเจ้ากล่าวอย่างนั้นจริง พระพุทธ เจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้ารู้ถึงธรรมที่พระองค์ทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ ตรัสว่า เป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพ ได้จริงไม่.

ทรงติเตียน

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เพราะเหตุไร เธอจึง เข้าใจธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนั้นเล่า เรากล่าวธรรมอันทำอันตรายไว้ โดยปริยายเป็นอันมากมิใช่หรือ และธรรมเหล่านั้นอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพ

 
  ข้อความที่ 62  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 166

ได้จริง กามทั้งหลายเรากล่าวว่า มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความ คับแค้นมาก โทษในกามทั้งหลายนี้มากยิ่งนัก กามทั้งหลายเรากล่าวว่า เปรียบเหมือนร่างกระดูก มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกาม ทั้งหลายนี้มากยิ่งนัก กามทั้งหลายเรากล่าวว่า เปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ ... กามทั้งหลายเรากล่าวว่า เปรียบเหมือนคบหญ้า ... กามทั้งหลายเรากล่าวว่า เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ... กามทั้งหลายเรากล่าวว่า เปรียบเหมือน ความฝัน ... กามทั้งหลายเรากล่าวว่า เปรียบเหมือนของยืม ... กามทั้งหลาย เรากล่าวว่าเปรียบเหมือนผลไม้ ... กามทั้งหลายเรากล่าวว่า เปรียบเหมือน เขียงสำหรับสับเนื้อ ... กามทั้งหลายเรากล่าวว่า เปรียบเหมือนหอกและ หลาว ... ... กามทั้งหลายเรากล่าวว่า เปรียบเหมือนศีรษะงู มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามทั้งหลายนี้มากยิ่งนัก เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยทิฏฐิที่ตนยึดถือไว้ผิด ชื่อว่าทำลายตนเอง และชื่อ ว่าประสพบาปมิใช่บุญมาก ข้อนั้นแหละจักเป็นไปเพื่อความไม่เกื้อกูลเพื่อ ทุกข์แก่เธอ ตลอดกาลนาน

ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใส แล้ว ... ..ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ อันเป็นบาปแก่ภิกษุอริฏฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง คือ ห้ามสมโภคกับ สงฆ์.

 
  ข้อความที่ 63  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 167

วิธีลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป

[๒๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีลงอุกเขปนียกรรม ฐาน ไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป พึงทำอย่างนี้ คือ พึงโจทภิกษุอริฏฐะผู้เกิดใน ตระกูลพรานแร้งก่อน ครั้นแล้วพึงให้เธอให้การ แล้วพึงปรับอาบัติ ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่าดังนี้ :-

กรรมวาจาทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอริฏฐะผู้ เกิดในตระกูลพรานแร้ง มีทิฏฐิอันเป็นบาปเห็นปานนี้เกิด ขึ้นว่าเรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ตรัสว่า เป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่านั้น หาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่ ดังนี้เธอไม่ยอมสละ ทิฏฐินั้น ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ละทิฏฐิอันเป็นบาปแก่ภิกษุอริฏฐะ ผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ นี้เป็น ญัตติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอริฏฐะผู้ เกิดในตระกูลพรานแร้ง มีทิฏฐิอันเป็นบาปเห็นปานนี้เถิด ขึ้นว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ตรัสว่า เป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่า

 
  ข้อความที่ 64  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 168

นั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่ ดังนี้เธอไม่ยอม สละทิฏฐินั้น สงฆ์ทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ อันเป็นบาปแก่ภิกษุอริฏฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ การทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละ ทิฏฐิอันเป็นบาปแก่ภิกษุอริฏฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึง เป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ...

ข้าพเจ้ากล่าวควานนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอ สงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอริฏฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง มีทิฏฐิอันเป็นบาปเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ตรัสว่า เป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ ผู้เสพได้จริงไม่ ดังนี้ เธอไม่ยอมสละทิฏฐินั้น สงฆ์ทำ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปแก่ภิกษุ อริฏฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ การทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สะทิฏฐิอันเป็นบาปแก่ ภิกษุอริฏฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง คือ ห้ามสมโภคกับ สงฆ์ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

 
  ข้อความที่ 65  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 169

อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป อัน สงฆ์ทำแล้วแก่ภิกษุอริฏฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า ทรงความนี้ไว้อย่างนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงบอกภิกษุที่อยู่ในอาวาสต่อๆ ไปว่า ภิกษุอริฏฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง อันสงฆ์ทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ สละทิฏฐิอันเป็นบาปแล้ว คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์.

ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด

หมวดที่ ๑

[๒๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอัน เป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำลับหลัง ๑ ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำไม่ ตามปฏิญาณ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิเป็นบาป ที่ ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับ แล้วไม่ดี.

หมวดที่ ๒

[๒๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอัน เป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่

 
  ข้อความที่ 66  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 170

เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ ๑ ทำเพราะ อาบัติมิใช่เป็นเทสนาคามินี ๑ ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับ แล้วไม่ดี.

หมวดที่ ๓

[๒๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอัน เป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่ เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่โจทก่อนแล้วทำ ๑ ไม่ให้จำเลย ให้การก่อนแล้วทำ ๑ ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับ แล้วไม่ดี.

หมวดที่ ๔

[๒๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอัน เป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่ เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และ ระงับแล้วไม่ดี.

 
  ข้อความที่ 67  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 171

หมวดที่ ๕

[๒๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอัน เป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่ เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่ เป็นธรรม สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และ ระงับแล้วไม่ดี.

หมวดที่ ๖

[๒๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอัน เป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่ เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่ทำตามปฏิญาณ ๑ ทำโดยไม่เป็น ธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และ ระงับแล้วไม่ดี.

หมวดที่ ๗

[๒๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอัน เป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่ เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ ๑ ทำโดยไม่เป็น ธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑

 
  ข้อความที่ 68  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 172

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และ ระงับแล้วไม่ดี.

หมวดที่ ๘

[๒๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอัน เป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่ เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะอาบัติมิใช่เป็นเทสนาคามินี ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และ ระงับแล้วไม่ดี.

หมวดที่ ๙

[๒๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ อันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม. ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ๑ ทำ โดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และ ระงับแล้วไม่ดี.

หมวดที่ ๑๐

[๒๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ อันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม

 
  ข้อความที่ 69  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 173

ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่โจทก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่ เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และ ระงับแล้วไม่ดี.

หมวดที่ ๑๑

[๒๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ อันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และ ระงับแล้วไม่ดี.

หมวดที่ ๑๒

[๒๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ อันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ ๑ ทำโดย ไม่เป็นธรรม ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และ ระงับแล้วไม่ดี.

 
  ข้อความที่ 70  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 174

ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด

ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป จบ

ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด

หมวดที่ ๑

[๒๙๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ อันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็น วินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำต่อหน้า ๑ สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำ ตามปฏิญาณ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับ ดีแล้ว.

หมวดที่ ๒

[๒๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ อันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะต้องอาบัติ ๑ ทำเพราะอาบัติ เป็นเทสนาคามินี ๑ ทำเพราะอาบัติที่ยังมิได้แสดง ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับ ดีแล้ว.

 
  ข้อความที่ 71  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 175

หมวดที่ ๓

[๒๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ อันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์. ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ โจทก่อนแล้วทำ ๑ ให้จำเลยให้การก่อน แล้วทำ ๑ ปรับอาบัติแล้วทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับ ดีแล้ว.

หมวดที่ ๔

[๒๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ อันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำต่อหน้า ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์ พร้อมเพรียงกันทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับ ดีแล้ว.

หมวดที่ ๕

[๒๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ อันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑

 
  ข้อความที่ 72  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 176

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับ ดีแล้ว.

หมวดที่ ๖

[๒๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ อันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำตามปฏิญาณ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับ ดีแล้ว.

หมวดที่ ๗

[๒๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอัน เป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็น วินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะต้องอาบัติ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์ พร้อมเพรียงกันทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับ ดีแล้ว.

 
  ข้อความที่ 73  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 177

หมวดที่ ๘

[๒๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ อันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะอาบัติเป็นเทสนาคามินี ๑ ทำ โดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับ ดีแล้ว.

หมวดที่ ๙

[๒๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ อันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะอาบัติมิได้แสดง ๑ ทำโดย ธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับ ดีแล้ว.

หมวดที่ ๑๐

[๓๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ อันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ โจทก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกัน ทำ ๑

 
  ข้อความที่ 74  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 178

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับ ดีแล้ว.

หมวดที่ ๑๑

[๓๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ อันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็น วินัย และระงับดีแล้ว คือ ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับ ดีแล้ว.

หมวดที่ ๑๒

[๓๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ อันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือปรับอาบัติแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับ ดีแล้ว.

ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด

ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป จบ

 
  ข้อความที่ 75  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 179

ข้อที่สงฆ์จำนง ๖ หมวด

หมวดที่ ๑

[๓๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ เมื่อสงฆ์ จำนงจะพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป คือ เป็นผู้ก่อ ความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ ในสงฆ์ ๑ เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมารยาทไม่สมควร ๑ อยู่ คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนง พึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป.

หมวดที่ ๒

[๓๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป คือ เป็นผู้มีศีลวิบัติในอธิศีล ๑ เป็นผู้มีอาจารวิบัติ ในอัธยาจาร ๑ เป็นผู้มี ทิฏฐิวิบัติ ในอติทิฏฐิ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์ จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป.

หมวดที่ ๓

[๓๐๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป คือ กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๑ กล่าวติเตียนพระธรรม ๑ กล่าวติเตียนพระสงฆ์ ๑

 
  ข้อความที่ 76  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 180

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนง พึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป.

หมวดที่ ๔

[๓๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป แก่ภิกษุ ๓ รูป คือ รูปหนึ่งเป็นผู้ก่อความ บาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ใน สงฆ์ รูปหนึ่งเป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร รูป หนึ่งอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ สละทิฏฐิอันเป็นบาป แก่ภิกษุ ๓ รูปนี้แล.

หมวดที่ ๕

[๓๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป แก่ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีก คือ รูปหนึ่ง เป็นผู้มีศีลวิบัติในอธิศีล รูปหนึ่งเป็นผู้มีอาจารวิบัติ ในอัธยาจาร รูป หนึ่งเป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ ในอติทิฏฐิ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ สละทิฏฐิอันเป็นบาป แก่ภิกษุ ๓ รูปนี้แล.

หมวดที่ ๖

[๓๐๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป แก่ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีก คือ รูปหนึ่ง

 
  ข้อความที่ 77  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 181

กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรม รูปหนึ่งกล่าว ติเตียนพระสงฆ์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ สละทิฏฐิอันเป็นบาป แก่ภิกษุ ๓ รูปนี้แล.

ข้อที่สงฆ์จำนง ๖ หมวด

ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป จบ

วัตร ๑๘ ข้อ

[๓๐๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุถกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐาน ไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปแล้ว ต้องประพฤติโดยชอบ วิธีประพฤติชอบในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป นั้น ดังต่อไปนี้ :-

๑. ไม่พึงให้อุปสมบท

๒. ไม่พึงให้นิสัย

๓. ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก

๔. ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี

๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี

๖. สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปเพราะ อาบัติใด ให้พึงต้องอาบัตินั้น

๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน

 
  ข้อความที่ 78  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 182

๘. ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น

๙. ไม่พึงติกรรม

๑๐. ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม

๑๑. ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ

๑๒. ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ

๑๓. ไม่พึงทำการไต่สวน

๑๔. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์

๑๕. ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส

๑๖. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น

๑๗. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ

๑๘. ไม่พึงช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน. วัตร ๑๘ ข้อ

ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป จบ

สงฆ์ลงโทษและระงับกรรม

[๓๑๐] ครั้งนั้น สงฆ์ได้ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอัน เป็นบาปแก่พระอริฏฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ท่านถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอัน เป็นบาป แล้วสึกเสีย

 
  ข้อความที่ 79  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 183

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระอริฏฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ สละทิฏฐิอันเป็นบาปแล้ว จึงได้สึกเสียล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระ ผู้มีพระภาคเจ้า.

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม

[๓๑๑] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถาม ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ภิกษุอริฏฐะผู้เกิดใน ตระกูลพรานแร้ง ถูกสงฆ์สงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็น บาปแล้วสึกเสีย จริงหรือ?

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียน

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน โมฆบุรุษนั้น ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปแล้ว จึงได้สึกเสียเล่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษนั้นนั่น ไม่เป็นไป เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ... ..ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป.

 
  ข้อความที่ 80  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 184

วัตรที่ไม่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด

หมวดที่ ๑

[๓๑๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ :-

๑. ให้อุปสมบท

๒. ให้นิสัย

๓. ให้สามเณรอุปัฏฐาก

๔. รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี

๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ยังสั่งสอนภิกษุณี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึง ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป.

หมวดที่ ๒

[๓๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ:-

๑. สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป เพราะ อาบัติใด ต้องอาบัตินั้น

๒. ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน

๓. ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น

๔. ติกรรม

 
  ข้อความที่ 81  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 185

๕. ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึง ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป.

หมวดที่ ๓

[๓๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ:-

๑. ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ

๒. ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ

๓. ทำการไต่สวน

๔. เริ่มอนุวาทาธิกรณ์

๕. ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส

๖. โจทภิกษุอื่น

๗. ให้ภิกษุอื่นให้การ

๘. ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล สงฆ์ไม่พึง ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป.

วัตรที่ไม่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด

ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป จบ

 
  ข้อความที่ 82  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 186

วัตรที่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด

หมวดที่ ๑

[๓๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐาน ไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ

๑. ไม่ให้อุปสมบท

๒. ไม่ให้นิสัย

๓. ไม่ให้สามเณรอุปัฏฐาก

๔. ไม่รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี

๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่สั่งสอนภิกษุณี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป.

หมวดที่ ๒

[๓๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐาน ไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ:-

๑. สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป เพราะ อาบัติใด ไม่ต้องอาบัตินั้น

๒. ไม่ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน

๓. ไม่ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น

๔. ไม่ติกรรม

๕. ไม่ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม

 
  ข้อความที่ 83  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 187

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป.

หมวดที่ ๓

[๓๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐาน ไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ:-

๑. ไม่ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ

๒. ไม่ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ

๓. ไม่ทำการไต่สวน

๔. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์

๕. ไม่ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส

๖. ไม่โจทภิกษุอื่น

๗. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ

๘. ไม่ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล สงฆ์พึงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป.

วัตรที่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด

ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป จบ

วิธีระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป

[๓๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีระงับอุกเขปนียกรรม ฐาน ไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป พึงระงับอย่างนี้ :-

 
  ข้อความที่ 84  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 188

คำขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป

ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่ง กระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอระงับกรรมนั้นอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ สละทิฏฐิอันเป็นบาป แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤตแก้ตัวได้ ข้าพเจ้าขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ สละทิฏฐิอันเป็นบาป

พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม

ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ดังนี้ :-

กรรมวาจาระงับอุกเขปนียกรรม

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูป นี้ ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็น บาป แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ อันเป็นบาป ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์ พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป แก่ ภิกษุมีชื่อนี้ นี้เป็นญัตติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูป นี้ ถูกสงฆ์ลงอุปเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็น.

 
  ข้อความที่ 85  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 189

บาป แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ อันเป็นบาป สงฆ์ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ อันเป็นบาปแก่ภิกษุมีชื่อนี้ การระงับอุปเขปนียกรรม ฐาน ไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึง พูด

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ...

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอ สงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้ ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนีย กรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป แล้วประพฤติโดย ชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป สงฆ์ระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปแก่ภิกษุมีชื่อ นี้ การระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป สงฆ์ระงับแล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้อย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 86  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 190

อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป ที่ ๗ จบ

กัมมขันธกะ ที่ ๑ จบ

ในขันธะนี้มี ๗ เรื่อง

หัวข้อประจำขันธกะ

[๓๑๙] ๑. ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ก่อความบาด หมางเอง ได้เข้าหาภิกษุผู้เช่นกัน แล้วให้ขมักเขม้นในการก่อความบาด หมางขึ้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น แม้ที่เกิดขึ้นแล้วก็ขยาย ตัวออกไป ภิกษุทั้งหลายที่มักน้อย มีศีลเป็นที่รัก ย่อมเพ่งโทษในบริษัท

พระพุทธชินเจ้าผู้สยัมภูอัครบุคคล ผู้ทรงพระสัทธรรม รับสั่งให้ลง ตัชชนียกรรม ณ พระนครสาวัตถี

ตัชชนียกรรมที่ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย คือ ทำลับหลังไม่สอบ ถามก่อนแล้วทำ ไม่ทำตามปฏิญาณ หมวด ๑ ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ ทำเพราะอาบัติ มิใช่เทศนาคามินี ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว หมวด ๑ ไม่โจทก่อนแล้วทำ ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ หมวด ๑ ทำลับหลัง ทำโดยไม่เป็นธรรม สงฆ์เป็นวรรคทำ หมวด ๑ ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ ทำโดยไม่เป็นธรรม สงฆ์เป็นวรรคทำ หมวด ๑ ไม่ทำตามปฏิญาณ ทำโดยไม่เป็นธรรม สงฆ์เป็นวรรคทำ หมวด ๑ ทำ เพราะไม่ต้องอาบัติ ทำโดยไม่เป็นธรรม สงฆ์เป็นวรรคทำ หมวด ๑ ทำเพราะอาบัติมิใช่เป็นเทศนาคามินี ทำโดยไม่เป็นธรรม สงฆ์เป็นวรรค

 
  ข้อความที่ 87  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 191

ทำ หมวด ๑ ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ทำโดยไม่เป็นธรรม สงฆ์ เป็นวรรคทำ หมวด ๑ ไม่โจทก่อนแล้วทำ ทำโดยไม่เป็นธรรม สงฆ์ เป็นวรรคทำ หมวด ๑ ไม่ไห้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ทำโดยไม่เป็น ธรรม สงฆ์เป็นวรรคทำ หมวด ๑ ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ ทำโดยไม่เป็น ธรรม สงฆ์เป็นวรรคทำ หมวด ๑

ปราชญ์พึงทราบฝ่ายถูกตามนัยตรงกันข้ามกับฝ่ายผิดนั่นแหละ

เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุใด สงฆ์พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุนั้น ผู้ก่อความบาดหมาง เป็นพาล คลุกคลีกับคฤหัสถ์ หมวด ๑ วิบัติในอธิศีล ในอัธยาจาร ในอติทิฏฐิ หมวด ๑ กล่าว ติเตียนพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ หมวด ๑

สงฆ์พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป คือ รูปหนึ่งก่อความบาด หมาง รูปหนึ่งเป็นพาล รูปหนึ่งอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ หมวด ๑ รูปหนึ่ง วิบัติในศีล รูปหนึ่งวิบัติในอัธยาจาร รูปหนึ่งวิบัติในอติทิฏฐิ หมวด ๑ รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรม รูปหนึ่ง กล่าวติเตียนพระสงฆ์ หมวด

ภิกษุถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว ต้องประพฤติโดยชอบอย่างนี้ คือ ไม่ให้อุปสมบท ไม่ให้นิสัย ไม่ให้สามเณรอุปัฏฐาก ไม่สั่งสอน ภิกษุณี และได้สมมติแล้วก็ไม่สั่งสอน ไม่ต้องอาบัตินั้น ไม่ต้องอาบัติอื่น อันเช่นกันและอาบัติยิ่งกว่านั้น ไม่ติกรรม ไม่ภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม ไม่ห้ามอุโบสถ ปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ ไม่ทำการไต่สวน ไม่เริ่มอนุ-

 
  ข้อความที่ 88  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 192

วาทาธิกรณ์ ไม่ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส ไม่โจทภิกษุอื่น ไม่ให้ภิกษุอื่น ให้การ และไม่ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน.

ภิกษุใดประกอบด้วยองค์ ๕ คือ ให้อุปสมบท ให้นิสัย ให้ สามเณรอุปัฏฐาก สั่งสอนภิกษุณี แม้ได้รับสมมติแล้วก็ยังสั่งสอนและองค์ ๕ คือ ต้องอาบัตินั้น ต้องอาบัติอันเช่นกัน และต้องอาบัติที่ยิ่งกว่านั้น ติกรรม ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม สงฆ์ไม่ระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุนั้น.

ภิกษุใดประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ คือ ห้ามอุโบสถ ปวารณา ทํา การไต่สวน เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ให้ทำโอกาส โจทภิกษุอื่น ให้ภิกษุอื่น ให้การ และให้สู้อธิกรณ์กัน ย่อมไม่ระงับจากตัชชนียกรรม.

ปราชญ์พึงทราบฝ่ายถูกตามนัยตรงกันข้ามกับฝ่ายผิดนั้นแหละ.

๒. พระเสยยสกะเป็นพาล มีอาบัติมาก และคลุกคลีกับคฤหัสถ์ พระสัมพุทธเจ้าผู้มหามุนี รับสั่งให้ลงนิยสกรรม.

๓. ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะทั้งหลาย ในชนบท กิฏาคีรีไม่สำรวม ประพฤติแม้ซึ่งอนาจารมีอย่างต่างๆ พระสัมพุทธชินเจ้ารับสั่งให้ลงปัพพาชนียกรรม ในพระนครสาวัตถี.

๔. พระสุธรรมเป็นเจ้าถิ่นของจิตตคหบดีในเมืองมัจฉิกาสณฑ์ด่า จิตตะผู้อุบาสก ด้วยถ้อยคำกระทบชาติ พระตถาคตรับสั่งให้ลงปฏิสารณีย กรรม.

๕. พระชินเจ้าผู้อุดม ทรงบัญชาให้ลงอุกเขปนียกรรม ในเพราะ ไม่เห็นอาบัติ แก่พระฉันนะผู้ไม่ปรารถนาจะเห็นอาบัติ ในพระนคร โกสัมพี.

 
  ข้อความที่ 89  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 193

๖. พระฉันนะไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัตินั้นแล พระพุทธเจ้าผู้ ดำรงตำแหน่งนายกพิเศษ รับสั่งให้ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืน อาบัติต่อไป.

๗. ทิฏฐิอันเป็นบาป อาศัย ความรู้ บังเกิดแก่พระอริฏฐะ พระ ชินเจ้าดำรัสให้ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม และปฏิสารณียกรรม ก็เหมือนกัน.

บทเกินเหล่านั้นมีในปัพพาชนียกรรม คือ เล่นคะนอง ประพฤติ อนาจารลบล้างพระบัญญัติ และมิจฉาชีพ ฐานไม่เห็นและไม่ทำคืนอาบัติ และฐานไม่สละทิฏฐิ บทเกินเหล่านี้มีในปฏิสารณียกรรมคือ มุ่งความไม่ มีลาภ กล่าวติเตียนมีนามว่า ปัญจกะ ๒ หมวดๆ ละ ๕ แม้กรรมทั้ง สอง คือ ตัชชนียกรรม และนิยสกรรม ก็เช่นกัน ปัพพาชนียกรรม และปฏิสารณียกรรม หย่อนและยิ่งกว่ากัน ๘ ข้อ ๒ หมวด โดยการ จำแนกอุกเขปนียกรรม ๓ อย่างนั้น เช่นเดียวกัน. ปราชญ์พึงทราบกรรมที่เหลือ แม้ตามนัยแห่งตัชชนียกรรม เทอญ.

หัวข้อประจำขันธกะ จบ