พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

บทภาชนีย์อกุศลธรรม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  6 ก.พ. 2565
หมายเลข  42010
อ่าน  1,000

[เล่มที่ 76] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒

บทภาชนีย์อกุศลธรรม

อกุศลจิต ๑๒ จิตดวงที่ ๑ หน้า 1

กถาแสดงธัมมุทเทสวารในบทอกุศล หน้า 3

อธิบายอกุศลจิตดวงที่ ๑ หน้า 3

ว่าด้วยธัมมุทเทสมีผัสสะเป็นต้น หน้า 4

บาลีนิทเทสวาร หน้า 12

อรรถกถาแสดงนิทเทสวาร หน้า 19

จิตดวงที่ ๒ หน้า 24

จิตดวงที่ ๓ หน้า 25

จิตดวงที่ ๔ หน้า 26

จิตดวงที่ ๕ หน้า 26

จิตดวงที่ ๖ หน้า 28

จิตดวงที่ ๗ หน้า 28

จิตดวงที่ ๘ หน้า 30

จิตดวงที่ ๙ หน้า 30

จิตดวงที่ ๑๐ หน้า 32

จิตดวงที่ ๑๑ หน้า 33

จิตดวงที่ ๑๒ หน้า 34

อธิบายอกุศลจิตดวงที่ ๒ หน้า 36

อธิบายอกุศลจิตดวงที่ ๓ หน้า 37

อธิบายอกุศลจิตดวงที่ ๔ หน้า 38

อธิบายอกุศลจิตดวงที่ ๕ หน้า 38

อธิบายอกุศลจิตดวงที่ ๖, ๗, ๘ หน้า 39

อธิบายอกุศลจิตดวงที่ ๙ หน้า 39

อธิบายอกุศลจิตดวงที่ ๑๐ หน้า 43

อธิบายอกุศลจิตดวงที่ ๑๑ หน้า 44

อธิบายอกุศลจิตดวงที่ ๑๒ หน้า 46

กามาวจรวิบาก หน้า 49

วิญญาณ ๕ ที่เป็นกุศลวิบาก หน้า 49

มโนธาตุ เป็นกุศลวิบาก หน้า 54

มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลวิบาก หน้า 57

สหรคตด้วยโสมนัส หน้า 57

มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลวิบาก หน้า 61

สหรคตด้วยอุเบกขา หน้า 61

อธิบายอัพยากตธรรม หน้า 64

อธิบายมโนธาตุกุศลวิบาก หน้า 67

อธิบายมโนวิญญาณธาตุ หน้า 68

มหาวิบาก ๘ หน้า 70

อธิบายมหาวิบาก ๘ ดวง หน้า 71

อธิบายทวารวิบากมาติกากถา หน้า 74

ว่าด้วยวิบากจิต ๑๖ ดวงนัยของพระจูฬนาคเถระ หน้า 77

ว่าด้วยนิยาม ๕ อย่าง หน้า 81

อุปมาวิบากจิตเปรียบด้วยคนหีบอ้อย หน้า 85

ว่าด้วยทุเหตุกปฏิสนธิมีกรรมเป็นทุเหตุกะ หน้า 86

ว่าด้วยอเหตุกปฏิสนธิ หน้า 87

นัยปกิณกะ (เรื่องใยแมลงมุม) หน้า 91

จิตเปรียบด้วยนายทวารเป็นต้น หน้า 92

จิตเปรียบด้วยเด็กชาวบ้าน หน้า 94

นามรูปเปรียบด้วยชายบอดและคนเปลี้ย หน้า 95

จักขุวิญญาณอาศัยปัจจัย ๔ เกิดขึ้น หน้า 96

รูปาวจรวิบาก หน้า 107

อรูปาวจรวิบาก หน้า 108

อรรถกถาแสดงรูปาวจรวิบากเป็นต้น หน้า 110


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 76]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 1

พระอภิธรรมปิฎก

เล่มที่ ๑ ภาคที่ ๒

ธรรมสังคณี

บทภาชนีย์อกุศลธรรม

อกุศลจิต ๑๒

จิตดวงที่ ๑

[๒๗๕] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน?

อกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ หรือมีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ อโนตตัปปพละ โลภะ โมหะ อภิชฌา มิจฉาทิฏฐิ อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ก็หรือว่านามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 2

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล.

[๒๗๖] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า ผัสสะ มีในสมัยนั้น.

[๒๗๗] เวทนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เวทนามีในสมัยนั้น.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 3

กถาแสดงธัมมุทเทสวารในบทอกุศล

อธิบายอกุศลจิตดวงที่ ๑

    บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์จะจำแนกแสดงบทอกุศล จึงทรงเริ่มพระดำรัสว่า กตเม ธมฺมา อกุสลา (ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน) ดังนี้เป็นต้น.

    ในคำว่าอกุศลเป็นต้นเหล่านั้น พึงทราบประเภทวาระมีการกำหนดธรรมเป็นต้น และการวินิจฉัยเนื้อความแห่งบทที่มาแล้วในหนหลัง โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ก็ข้าพเจ้าจักพรรณนาบทที่เพียงต่างกันในที่นั้นๆ เท่านั้นในอธิการแห่งอกุศลนั้น จะวินิจฉัยในการกำหนดสมัยก่อน เพราะอกุศลไม่ต่างภูมิกันเหมือนกุศล ฉะนั้น อกุศลนี้แม้เป็นกามาวจรอย่างเดียว พระองค์ก็มิได้ตรัสว่า เป็นกามาวจร.

วินิจฉัยคำว่าทิฏฐิคตสัมปยุต

    พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ทิฏฺิคตสมฺปยุตฺตํ นี้ต่อไป.

    ทิฏฐินั่นแหละชื่อว่า ทิฏฐิคตะ เหมือนในประโยคทั้งหลายมีอาทิว่า คูถคตํ (คูถ) มุตฺตคตํ (มูตร) ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมที่ชื่อว่า ทิฏฐิคตะ เพราะอรรถว่า ทิฏฐิคตะนี้เป็นเพียงการเป็นไปของทิฏฐิเท่านั้น เพราะไม่มีสิ่งที่ควรรู้ หรือเพราะไม่มีสิ่งที่ควรดำเนินไป. ที่ชื่อว่า ทิฏฐิคตสัมปยุต เพราะอรรถว่า สัมปยุตด้วยทิฏฐินั้น.

    ในทิฏฐิคตสัมปยุตจิตนั้น บัณฑิตพึงทราบความเกิดขึ้น แห่งความเห็นผิด กล่าวคือทิฏฐิคตะนี้ ด้วยเหตุทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ คือ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 4

    อสทฺธทมสวนํ การฟังแต่อสัทธรรม

    อกลฺยาณมิตฺตตา ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว

    อริยานํ อทสฺสนกามตาทีนิ ความเป็นผู้ไม่ต้องการเห็นพระอริยะเป็นต้น.

    อโยนิโสมนสิกาโร การทำไว้ในใจโดยอุบายไม่แยบคาย.

    จริงอยู่ ความเห็นอันนั่น พึงทราบว่า ย่อมเกิดขึ้นด้วยการฟังเว้นจากความใคร่ครวญ ก้าวล่วงความเป็นกลาง มีมานะหลายอย่าง เป็นประธานแห่งอสัทธรรมที่ประกอบด้วยวาทะอันผิดเหล่านั้น ด้วยความเป็นผู้มีอกัลยาณมิตรกล่าวคือความเป็นผู้ซ่องเสพมิตรชั่วผู้มีทิฏฐิวิบัติเหล่านั้น ด้วยไม่ต้องการเห็นพระอริยะทั้งหลาย และสัตบุรุษทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ด้วยความเป็นผู้ไม่ฉลาดในอริยธรรมและสัปปุริสธรรมอันต่างด้วยสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้นด้วยความไม่มีวินัยกล่าวคือการแตกแห่งสังวรในอริยธรรม และสัปปุริสธรรมอันมีปาฏิโมกขสังวร อินทรียสังวร สติสังวร ญาณสังวร และปหานสังวร ด้วยการกระทำไว้ในใจโดยอุบายอันไม่แยบคาย ด้วยเหตุเหล่านั้นนั่นแหละ อันตนอบรมแล้ว และเพราะความเป็นผู้ขวนขวายในมงคลตื่นข่าวเป็นต้น. ก็พึงทราบความที่จิตนี้เป็นอสังขาร (ไม่มีการชักจูง) โดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ.

ว่าด้วยธัมมุทเทสมีผัสสะเป็นต้น

    พึงทราบวินิจฉัยในวาระแห่งธัมมุทเทส (ข้อธรรม) ต่อไป.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 5

    บทว่า ผสฺโส ได้แก่ ผัสสะที่เกิดพร้อมกับอกุศลจิต. แม้ในธรรมมีเวทนาเป็นต้นก็นัยนี้แหละ ธรรมมีผัสสะเป็นต้นเหล่านี้แตกต่างจากธรรมที่แสดงไว้ก่อนเพียงเป็นอกุศลเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้.

    บทว่า จิตฺตสฺเสกคฺคตา โหติ (เอกัคคตาแห่งจิตย่อมมี) ความว่าเอกัคคตา (สมาธิจิต) ย่อมมี เพราะความไม่ส่งจิตไปอื่นแม้ในปาณาติบาตเป็นต้น. จริงอยู่ มนุษย์ทั้งหลายตั้งจิตไว้มั่นไม่ซัดส่ายจึงยังศัสตราให้ตกไปในสรีระของสัตว์ทั้งหลายไม่ผิดพลาด เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นแล้วย่อมนำวัตถุอันเป็นของมีอยู่ของคนอื่นไป ย่อมประพฤติมิจฉาจารด้วยจิตมีสภาพยินดีอย่างหนึ่งเอกัคคตาแห่งจิตย่อมมี แม้ในเพราะประพฤติอกุศล ด้วยประการฉะนี้.

    คำว่า มิจฺฉาทิฏฺิ ได้แก่ ความเห็นไม่มีตามความเป็นจริง อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะอรรถว่า เห็นคลาดเคลื่อนโดยถือเอาผิด. ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะอรรถว่า เป็นทิฏฐิอันบัณฑิตเกลียด เพราะนำมาแต่ความฉิบหายบ้าง. แม้ในมิจฉาสังกัปปะเป็นต้นก็นัยนี้แหละ. อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้คนเห็นผิด หรือเห็นผิดเอง หรือทิฏฐินี้ เพียงเห็นผิดเท่านั้น.

    มิจฉาทิฏฐินั้นมีการยึดถือมั่นโดยอุบายไม่แยบคายเป็นลักษณะ (อโยนิโส อภินิเวส ลกฺขณา) มีความยึดมั่นผิดสภาวะเป็นรส (ปรามาสรสา) มีความยึดถือผิดเป็นปัจจุปัฏฐาน (มิจฺฉาภินิเวสนปจฺจุฏฺานา) มีความไม่ต้องการเห็นพระอริยะทั้งหลายเป็นต้นเป็นปทัฏฐาน (อริยานํ อทสฺสนกามตาทิปทฏฺานา) พึงเห็นว่าเป็นโทษอย่างยิ่ง. แม้ในมิจฉาสังกัปปะเป็นต้นมีความต่างกันเพียงบทว่า มิจฺฉา เท่านั้น. คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยที่กล่าวในอธิการแห่งกุศลนั้นแหละ.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 6

เนื้อความแห่งพละในข้อว่า อหิริกพละ อโนตตัปปพละ นี้จักแจ่มแจ้งในนิทเทสวาร ส่วนในคำนอกนี้ พึงทราบวจนัตถะดังต่อไปนี้. บุคคลชื่อว่า อหิริโก เพราะอรรถว่า ย่อมไม่ละอาย. ภาวะแห่งบุคคลผู้ไม่ละอาย ชื่อว่า อหิริกํ (๑) (ความเป็นผู้ไม่ละอาย). สภาวธรรมที่ไม่ใช่โอตตัปปะชื่อว่า อโนตตัปปะ (ความเป็นผู้ไม่กลัว) ในธรรมทั้งสองเหล่านั้น อหิริกะมีการไม่รังเกียจกายทุจริตเป็นต้นเป็นลักษณะ. หรือมีความไม่ละอายกายทุจริตเป็นต้นเป็นลักษณะ (กายทุจฺจริตาทีหิ อชิคุจฺฉนลกฺขณํ อลชฺชนลกฺขณํ วา). อโนตตัปปะ มีความไม่กลัวกายทุจริตเป็นต้นเหล่านั้นนั่นแหละเป็นลักษณะ หรือมีความไม่สะดุ้งกายทุจริตเป็นต้นเหล่านั้นเป็นลักษณะ (เตเหว อสารชฺชกฺขณํ อนุตฺตาสนลกฺขณํ วา) พละคืออหิริกะนั่นแหละ ชื่อว่า อหิรกพละ. พละคืออโนตตัปปะนั่นแหละ ชื่อว่า อโนตตัปปพละ. เนื้อความสังเขปในอธิการแห่งอกุศลนี้มีเท่านี้. ส่วนความพิสดารพึงทราบด้วยสามารถความเป็นปฏิปักษ์กันตามที่กล่าวในหนหลังนั่นแหละ.

สภาวธรรมที่ชื่อว่า โลภะ เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้คนอยากได้ หรืออยากได้เอง หรือเป็นเพียงอยากได้เท่านั้น. ที่ชื่อว่า โมหะ เพราะอรรถว่าเป็นเหตุให้คนหลง หรือหลงเอง หรือเป็นเพียงความหลงเท่านั้น. บรรดาสภาวะทั้งสองเหล่านั้น โลภะ มีการยึดอารมณ์เป็นลักษณะ (อารมฺมณคฺคหณลกฺขโณ) เหมือนลิงติดตัง มีความคิดในอารมณ์เป็นรส (อภิสํครโส) เหมือนชิ้นเนื้อที่ใส่ในกระเบื้องร้อน มีการไม่สละไปเป็นปัจจุปัฏฐาน (อปริจาคปจฺจุปฏฺาโน) เหมือนเปื้อนสีน้ำมันและยาหยอดตา มีความเห็นชอบใจในธรรมเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นปทัฏฐาน (สญฺโชนิยธมฺเมสุ อสฺสาททสฺสนปทฏฺาโน) เมื่อเจริญขึ้นโดยความเป็นแม่น้ำ คือ ตัณหา


(๑) บทนี้เป็น อหิริกฺกํ ท่านลบกะอักษรจึงเป็น อหิริกํ.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 7

พึงทราบว่า ย่อมพาไปสู่อบายเท่านั้น เหมือนแม่น้ำมีกระแสอันเชี่ยว ย่อมไหลพัดพาไปสู่มหาสมุทรฉะนั้น.

    โมหะ มีความมืดมนแห่งจิตเป็นลักษณะ หรือมีความไม่รู้เป็นลักษณะ (จิตฺตสฺส อนฺธภาวลกฺขโณ อญฺาณลกฺขโน วา) มีความไม่แทงตลอดเป็นรส (อสมฺปฏิเวธรโส) หรือมีความปกปิดสภาวะแห่งอารมณ์เป็นรส (อารมมณสภาวจฺฉาทนรโส วา) มีการไม่ปฏิบัติโดยชอบเป็นปัจจุปัฏฐาน (อสมฺมาปฏิปตฺติปจฺจุปฏฺาโน) หรือมีความมืดมนเป็นปัจจุปัฏฐาน (อนฺธการปจจุปฏฺาโน วา) มีการทำไว้ในใจโดยอุบายไม่แยบคายเป็นปทัฏฐาน (อโยนิโสมนสการปทฏฺาโน) พึงทราบว่า เป็นมูลของอกุศลธรรมทั้งปวง.

    สภาวธรรมที่ชื่อว่า อภิชฌา เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้คนเพ่งเฉพาะหรือย่อมเพ่งเฉพาะเอง หรือธรรมนี้เป็นเพียงการเพ่งเฉพาะเท่านั้น. อภิชฌานั้นมีความปรารถนากระทำสมบัติของผู้อื่นให้เป็นของตนเป็นลักษณะ (ปรสมฺปตฺตีนํ สกกรณอิจฺฉาลกฺขณา) มีความเกี่ยวข้องโดยอาการอย่างนั้นเป็นรส (เตนากาเรน ปสงฺคภาวรสา) มีความมุ่งหมายแต่สมบัติของผู้อื่นเป็นปัจจุปัฏฐาน (ปรสมฺปตฺติอภิมุขภาวปจฺจุปฏฺานา) มีความยินดียิ่งในสมบัติของผู้อื่นเป็นปทัฏฐาน (ปรสมฺปตฺตีสุ อภิรติปทฏฺานา) . จริงอยู่อภิชฌานั้นย่อมปรากฏมุ่งหน้าแต่สมบัติของผู้อื่นเท่านั้น ก็เมื่อความยินดียิ่งมีอยู่อภิชฌานั้นก็ย่อมเป็นไปในสมบัติของผู้อื่น พึงทราบว่า เหมือนจิตเหยียดมือไปในสมบัติเหล่านั้น ฉะนั้น.

    พึงทราบวินิจฉัยในคำเป็นต้นว่า สมถะย่อมมี ต่อไป.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 8

    สภาวธรรมที่ชื่อว่า สมถะ เพราะสงบความฟุ้งซ่านในกิจอื่นๆ ที่ชื่อว่า ปัคคาหะ เพราะประคองจิตให้เป็นไปในอกุศล. ชื่อว่า อวิกเขปะ เพราะไม่ซัดส่ายไป. ในอกุศลจิตนี้ ไม่ถือเอาธรรมเหล่านี้คือ ศรัทธา สติ ปัญญา และธรรม ๖ คู่ เพราะเหตุไร? เพราะขึ้นชื่อว่า ความเลื่อมใสในจิตที่ไม่มีศรัทธาหามีได้ไม่ ฉะนั้น เบื้องต้นนี้จึงไม่ถือเอาศรัทธา. ถามว่าก็คนมีทิฏฐิทั้งหลายไม่เชื่อศาสดาของตนๆ หรือ? ตอบว่า เชื่อ. แต่การเชื่อนั้นไม่ชื่อว่าเป็นศรัทธา คำเชื่อนี้เป็นเพียงการรับคำเท่านั้น ว่าโดยอรรถความเชื่อนั้นย่อมเป็นความเชื่อที่ปราศจากความใคร่ครวญบ้าง เป็นทิฏฐิบ้าง.

    อนึ่ง สติย่อมไม่มีในอกุศลจิตเพราะไม่เป็นที่ตั้งแห่งสติ เพราะฉะนั้นพระองค์จึงไม่ถือเอา. ถามว่า บุคคลผู้มีทิฏฐิทั้งหลายย่อมไม่ระลึกถึงการงานอันตนกระทำบ้างหรือ? ตอบว่า ย่อมระลึก แต่การระลึกนั้นไม่ชื่อว่าเป็นสติเพราะอาการระลึกนั้น เป็นความประพฤติของอกุศลจิตอย่างเดียว ฉะนั้น จึงไม่ทรงถือเอาสติ. ถามว่า เมื่อความเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุไร ในพระสูตรจึงตรัสว่า มิจฉาสติ เป็นความระลึกเล่า? ตอบว่า เพื่อจะทรงยังมิจฉัตตะแห่งมิจฉามรรคให้บริบูรณ์ เพราะอกุศลขันธ์ทั้งหลายเป็นสภาวะเว้นจากสติและเป็นปฏิปักษ์ต่อสติ จึงทรงทำเทศนามิจฉาสติไว้ในพระสูตรนั้นโดยปริยาย แต่มิจฉาสตินั้นว่าโดยนิปปริยายย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น จึงไม่ทรงถือเอา.

    อนึ่ง ปัญญา ย่อมไม่มีในจิตของอันธพาลนั้น เพราะฉะนั้น จึงไม่ทรงถือเอา. ถามว่า ความรู้ (ปญฺา) เป็นเครื่องหลอกลวงของบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีหรือ? ตอบว่า มีอยู่ แต่ความรู้เป็นเครื่องหลอกลวงนั้นไม่ชื่อว่า ปัญญา ความรู้นั้นชื่อว่าเป็นมายา ว่าโดยใจความ มายานั้นก็คือตัณหานั่นเอง. ก็เพราะจิตนี้เป็นจิตกระวนกระวาย หนัก หยาบ แข็ง กระด้าง

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 9

ไม่ควรแก่การงาน ป่วย คด โกง ฉะนั้น ธรรม ๖ คู่ มีปัสสัทธิเป็นต้นพระองค์จึงไม่ทรงถือเอา.

    พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงบท ๓๒ ที่ขึ้นสู่พระบาลีด้วยสามารถองค์แห่งจิตโดยลำดับบทเพียงเท่านี้แล้ว บัดนี้ เพื่อทรงแสดง เยวาปนกธรรม จึงตรัสพระพุทธพจน์มีอาทิว่า เย วา ปน ตสฺมึ สมเย (ก็หรือว่านามธรรมที่อิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น) ดังนี้.

    พึงทราบวินิจฉัยในคำมีอาทิว่า เยวาปนกธรรมนั้นต่อไป.

    ในอกุศลจิตแม้ทั้งหมด ธรรมทั้ง ๑๐ เหล่านี้เท่านั้น คือ ฉันทะ อธิโมกข์ มนสิการ มานะ อิสสา มัจฉริยะ ถีนะ มิทธะ อุทธัจจะ กุกกุจจะเป็นเยวาปนกธรรมมาในพระสูตร ย่อมปรากฏในบทพระสูตร เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจึงกล่าวไว้ในที่นี้ ส่วนในอกุศลจิตนี้มีเยวาปนกธรรม ๔ ประการกล่าวคือเป็นองค์ที่แน่นอน คือ ฉันทะ อธิโมกข์ มนสิการ อุทธัจจะ.

    ในบรรดาเยวาปนกธรรมเหล่านั้น ธรรมมีฉันทะเป็นต้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ ก็ธรรมมีฉันทะเป็นต้น (ฉันทะ ๑ อธิโมกข์ ๑ มนสิการ ๑ ตัตรมัชฌัตตตา ๑ ตามนัยที่กล่าวแล้วนั้น) เป็นกุศลอย่างเดียว ธรรมมีฉันทะเป็นต้น (คือ ฉันทะ ๑ อธิโมกข์ ๑ มนสิการ ๑ อุทธัจจะ ๑) เหล่านี้เป็นอกุศล. ส่วนธรรมนอกนี้ ความที่จิตฟุ้งซ่าน ชื่อว่า อุทธัจจะ.

    อุทธัจจะนั้นมีความไม่เข้าไปสงบเป็นลักษณะ (อวูปสมนลกฺขณํ) เหมือนน้ำกระเพื่อมเพราะลมพัด มีความไม่ตั้งมั่นเป็นรส (อนวฏฺานรสํ) เหมือนธงชัยและธงแผ่นผ้าพริ้วไปเพราะลมพัด, มีความพล่านไปเป็นปัจจุบัน-

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 10

ฐาน (ภนฺตตฺตปจฺจุปฏฺานํ) มีความไม่เข้าไปสงบเหมือนขี้เถ้าฟุ้งขึ้นเพราะแผ่นหินที่ทุ่มลง, มีความมนสิการโดยอุบายไม่แยบคายเป็นปทัฏฐาน (เจตโส อวูปสโม อโยนิโสมนสิการปทฏฺานํ) พึงทราบว่าเป็นความฟุ้งซ่านแห่งจิต.

บทธรรม ๓๒ มีผัสสะเป็นต้น (มีอวิกเขปะเป็นที่สุด) กับบทธรรม ๔ มีฉันทะเป็นต้นที่ตรัสด้วยอำนาจเยวาปนกธรรม รวมทั้งหมดเป็นบทธรรม ๓๖ ในวาระแห่งธัมมุทเทสนี้. บทธรรมที่มาในบาลีเหล่านั้น ลดบทธรรมที่เป็นเยวาปนกธรรมที่แน่นอน ๔ อย่าง ออกแล้วก็เหลือ ๓๒ เท่านั้น ด้วยประการฉะนี้. แต่ในอุทเทสแห่งอกุศลนี้ เพราะเว้นธรรมที่ไม่ถือเอาจึงเป็นธรรม ๑๖ บทคือ หมวดธรรม ๕ มีผัสสะเป็นต้น (๑) วิตก ๑ วิจาร ๑ ปีติ ๑ เอกัคคตาจิต ๑ วิริยินทรีย์ ๑ ชีวิตินทรีย์ ๑ มิจฉาทิฏฐิ ๑ โลภะ ๑ โมหะ ๑ อหิริกะ ๑ อโนตตัปปะ ๑.

บรรดาธรรม ๑๖ เหล่านั้น ธรรม ๗ จำแนกไม่ได้ ธรรม ๙ จำแนกได้ ธรรม ๗ ที่จำแนกไม่ได้ เป็นไฉน? ธรรมที่จำแนกไม่ได้เหล่านี้คือ ผัสสะสัญญา เจตนา วิจาร ปีติ ชีวิตินทรีย์ โมหะ ส่วนธรรมที่จำแนกได้ ๙ เหล่านี้ คือ เวทนา จิต วิตก เอกัคคตาจิต วิริยินทรีย์ มิจฉาทิฏฐิ อหิริกะ อโนตตัปปะ โลภะ.

บรรดาธรรม ๑๖ อย่างเหล่านั้น ธรรม ๖ อย่างจำแนกได้ ๒ ฐาน ธรรมอย่างหนึ่งจำแนกได้ ๓ ฐาน ธรรมอย่างหนึ่งจำแนกได้ ๔ ฐาน และธรรมอีกอย่างหนึ่งจำแนกได้ ๖ ฐาน. เป็นอย่างไร? ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้คือ จิต วิตก มิจฉาทิฏฐิ อหิริกพละ อโนตตัปปพละ โลภะ จำแนกได้ ๒ ฐาน. จริงอยู่ บรรดาธรรมทั้ง ๖ เหล่านั้น จิตก่อนเพ่งถึงผัสสปัญจกะเรียกว่าจิต เพ่งถึงอินทรีย์เรียกว่ามนินทรีย์. วิตกเพ่งถึงองค์ฌาน


(๑) ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 11

ทั้งหลายเรียกว่า วิตก เพ่งถึงองค์มรรคทั้งหลายเรียกว่า มิจฉาสังกัปปะ. มิจฉาทิฏฐิ ก็เป็นมิจฉาทิฏฐิเหมือนกันทั้งในองค์มรรคทั้งในกรรมบถ. อหิริกะ เพ่งถึงพละทั้งหลายเรียกว่า อหิริกพละ เพ่งถึงหมวดสองแห่งธรรมเป็นเครื่องยังโลกให้พินาศเรียกว่า อหิริกะ แม้ในอโนตตัปปะก็นัยนี้แหละ. โลภะ เพ่งถึงมูลเรียกว่า โลภะ เพ่งถึงกรรมบถ เรียกว่า อภิชฌา. ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ท่านจำแนกในฐานะทั้ง ๒ ด้วยประการฉะนี้.

    ส่วน เวทนา เพ่งถึงผัสสปัญจกะเรียกว่า เวทนา เพ่งถึงองค์ฌานทั้งหลายเรียกว่า สุข เพ่งถึงอินทรีย์ทั้งหลาย เรียกว่า โสมนัสสินทรีย์ ธรรม (เวทนา) อย่างเดียวจำแนกได้ ๓ ฐานด้วยประการฉะนี้. ก็ วิริยะ เพ่งถึงอินทรีย์ทั้งหลายเรียกว่า วิริยินทรีย์ เพ่งถึงองค์มรรคทั้งหลาย เรียกว่า มิจฉาวายามะ เพ่งถึงพละ เรียกว่า วิริยพละ เพ่งถึงธรรมปิฏฐิทุกะ เรียกว่า ปัคคาหะ ธรรม (วิริยะ) อย่างเดียวนี้ท่านจำแนกไว้ ๔ ฐาน ด้วยประการฉะนี้. ก็ สมาธิ เพ่งถึงองค์ฌานทั้งหลาย เรียกว่า เอกัคคตาจิต เพ่งถึงอินทรีย์ เรียกว่า สมาธินทรีย์ เพ่งถึงองค์มรรคทั้งหลาย เรียกว่า มิจฉาสมาธิ เพ่งถึงพละทั้งหลาย เรียกว่าสมาธิพละ เพ่งถึงธรรมปิฏฐิทุกะ เรียกว่า สมถะ ด้วยสามารถแห่งธรรมหมวดหนึ่งในทุติยทุกะ เรียกว่า อวิกเขปะ โดยทุกะที่สาม ธรรม (สมถะ) นี้อย่างเดียวท่านจำแนกไว้ ๖ ฐาน ด้วยประการฉะนี้.

    ก็ธรรมแม้ทั้งหมดเหล่านั้นจัดเป็น ๙ กอง คือ

    ผัสสปัญจกะ ๑ องค์ฌาน ๑ อินทรีย์ ๑ องค์มรรค ๑ พละ ๑ มูล ๑ กรรมบถ ๑ โลกนาสกธรรม ๑ ปิฏฐิทุกะ ๑.

    บรรดาธรรม ๙ กองนั้น กองนั้น คำใดที่ข้าพเจ้าพึงกล่าว คำนั้นข้าพเจ้ากล่าวไว้ในนิทเทสแห่งกุศลจิตดวงที่หนึ่งแล้วแล.

    จบกถาว่าด้วยธัมมุทเทสวาร

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 12

บาลีนิทเทสวาร

[๒๗๘] สัญญา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การจำ กิริยาที่จำ ความจำ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัญญา มีในสมัยนั้น.

[๒๗๙] เจตนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การคิด กิริยาที่คิด ความคิด อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เจตนา มีในสมัยนั้น.

[๒๘๐] จิต มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าจิต มีในสมัยนั้น.

[๒๘๑] วิตก มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ ความที่จิตแนบอยู่ในอารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ มิจฉาสังกัปปะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิตก มีในสมัยนั้น.

[๒๘๒] วิจาร มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณาความที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งดูอารมณ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าวิจาร มีในสมัยนั้น.

[๒๘๓] ปีติ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 13

ความอิ่มใจ ความปราโมทย์ ความยินดียิ่ง ความบันเทิง ความร่าเริง ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความตื่นเต้น ความที่จิตชื่นชมยินดี ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า ปีติ มีในสมัยนั้น.

[๒๘๔] สุข มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบาย เป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาที่เสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัสในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สุข มีในสมัยนั้น.

[๒๘๕] เอกัคคตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบสมาธินทรีย์ สมาธิพละ มิจฉาสมาธิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เอกัคคตามีในสมัยนั้น.

[๒๘๖] วิริยินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ อินทรีย์คือวิริยะ วิริยพละ มิจฉาวายามะในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิริยินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

[๒๘๗] สมาธินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 14

อินทรีย์คือสมาธิ สมาธิพละ มิจฉาสมาธิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าสมาธินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

[๒๘๘] มนินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ อินทรีย์คือมโนวิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใดนี้ชื่อว่า มนินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

[๒๘๙] โสมนัสสินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบาย เป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาที่เสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัสในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า โสมนัสสินทรีย์มีในสมัยนั้น.

[๒๙๐] ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการสืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิต อินทรีย์คือชีวิตของนามธรรมนั้นๆ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

[๒๙๑] มิจฉาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดยวิปลาสในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่ามิจฉาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น.

[๒๙๒] มิจฉาสังกัปปะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 15

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ ความที่จิตแนบอยู่ในอารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ ความดำริผิด ในสมัยนั้น อันใด ที่ชื่อว่า มิจฉาสังกัปปะ มีในสมัยนั้น.

[๒๙๓] มิจฉาวายามะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่นความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ ความพยายามผิดในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า มิจฉาวายามะ มีในสมัยนั้น.

[๒๙๔] มิจฉาสมาธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบสมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งมั่นผิด ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า มิจฉาสมาธิมีในสมัยนั้น.

[๒๙๕] วิริยพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความก้าวหน้าไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ กำลังคือวิริยะ มิจฉาวายามะในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิริยพละ มีในสมัยนั้น.

[๒๙๖] สมาธิพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 16

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบสมาธินทรีย์ กำลังคือสมาธิ มิจฉาสมาธิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมาธิพละมีในสมัยนั้น.

[๒๙๗] อหิริกพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

กิริยาที่ไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าละอาย กิริยาที่ไม่ละอายต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าอหิริกพละ มีในสมัยนั้น.

[๒๙๘] อโนตตัปปพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

กิริยาที่ไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัว กิริยาที่ไม่เกรงกลัวต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้น อันใดนี้ชื่อว่า อโนตตัปปพละมีในสมัยนั้น.

[๒๙๙] โลภะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การโลภ กิริยาที่โลภ ความโลภ การกำหนัดนัก กิริยาที่กำหนัดนักความกำหนัด ความเพ่งเล็ง อกุศลมูลคือโลภะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าโลภะมีในสมัยนั้น.

[๓๐๐] โมหะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้ตามความเป็นจริง ความไม่แทงตลอด ความไม่ถือเอาให้ถูกต้อง ความไม่หยั่งลงโดยรอบคอบ ความไม่พินิจ ความไม่พิจารณา ความไม่กระทำให้ประจักษ์ ความทรามปัญญา ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัย

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 17

คืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า โมหะ มีในสมัยนั้น.

[๓๐๑] อภิชฌา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การโลภ กิริยาที่โลภ ความโลภ ความกำหนัด กิริยาที่กำหนัดความกำหนัดนัก ความเพ่งเล็ง อกุศลมูลคือโลภะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อภิชฌา มีในสมัยนั้น.

[๓๐๒] มิจฉาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ทิฏฐิ ความเป็นไปข้างทิฏฐิ ป่าช้าคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สัญโญชน์ คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิดลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดยวิปลาส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่ามิจฉาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น.

[๓๐๓] อหิริกะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

กิริยาที่ไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าละอาย กิริยาที่ไม่ละอายต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อหิริกะ มีในสมัยนั้น.

[๓๐๔] อโนตตัปปะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

กิริยาที่ไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัว กิริยาที่ไม่เกรงกลัวต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้น อันใดนี้ชื่อว่า อโนตตัปปะ มีในสมัยนั้น.

[๓๐๕] สมถะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 18

สมาธินทรีย์ สมาธิพละ มิจฉาสมาธิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมถะมีในสมัยนั้น.

[๓๐๖] ปัคคาหะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่นความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประดับประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ มิจฉาวายามะ ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า ปัคคาหะ มีในสมัยนั้น.

[๓๐๗] อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบสมาธินทรีย์ สมาธิพละ มิจฉาสมาะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อวิกเขปะมีในสมัยนั้น.

[๓๐๘] หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล.

[๓๐๙] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๕

ฌานมีองค์ ๕ มรรคมีองค์ ๔ พละ ๔ เหตุ ๒ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธรรมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล.

[๓๑๐] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 19

ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละสมาธิพละ อหิริกพละ อโนตตัปปพละ โลภะ โมหะ อภิชฌา มิจฉาทิฏฐิ อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้นนี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล.

อรรถกถาแสดงนิทเทสวาร

พึงทราบวินิจฉัยนิทเทสเอกัคคตาแห่งจิตในนิทเทสวารก่อน.

สองบทนี้ที่ตรัสว่า สณฺิติ (ความดำรงอยู่) อวฏฺิติ (ความมั่นอยู่) เป็นคำไวพจน์ของบท ฐิติ (ความตั้งอยู่) นั่นแหละ ส่วนคำใดที่กล่าวไว้ในนิทเทสแห่งกุศลว่า ชื่อว่า อวฏฺิติ (ความมั่นอยู่) เพราะอรรถว่า หยั่งลงคือเข้าไปสู่อารมณ์แล้วตั้งอยู่ ดังนี้ คำนั้นไม่ได้ในนิทเทสแห่งอกุศลนี้ เพราะว่าในอกุศล เอกัคคตาแห่งจิตมีกำลังทราม เพราะฉะนั้น สองบทว่า (สณฺิติและอวฏิติ) นี้ ข้าพเจ้าแสดงไว้ในบทหลังตามที่กล่าวแล้วนั้นแล.

ธรรมที่ชื่อว่า อวิสาหาโร (ความไม่ส่ายไปแห่งจิต) เพราะเป็นสภาพตรงกันข้ามกับความส่ายไป ซึ่งเป็นไปด้วยอำนาจอุทธัจจะและวิจิกิจฉาเพราะฉะนั้น ในนิทเทสแห่งอกุศลนี้ จึงไม่ได้อรรถะแม้เช่นนี้ แต่ในสหชาตธรรม จิตชื่อว่า อวิสาหาร เพราะอรรถว่า ย่อมไม่ส่ายไป. ที่ชื่อว่า อวิกเขปะ

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 20

(ความไม่ฟุ้งซ่าน) เพราะอรรถว่า ย่อมไม่ฟุ้งไป. ภาวะแห่งใจที่ไม่ส่ายไปด้วยสามารถเอกัคคตาแห่งจิตที่เป็นอกุศล ชื่อว่า อวิสาหฏมานสตา (ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป) . ที่ชื่อว่า สมาธิพละ เพราะอรรถว่า ย่อมไม่หวั่นไหวในสหชาตธรรมทั้งหลาย. ที่ชื่อว่า มิจฉาสมาธิ เพราะตั้งมั่นตามความไม่เป็นจริง พึงทราบเนื้อความในอธิการแห่งอกุศลนี้ อย่างนี้.

    พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งวิริยินทรีย์ต่อไป.

    นัยมีอาทิว่า ก็นี้เป็นความบากบั่นเพื่อบรรเทากามทั้งหลาย อันใดที่ข้าพเจ้ากล่าวในหนหลัง นัยนั้นย่อมไม่ได้ในนิทเทสแห่งอกุศลนี้. พึงทราบว่าชื่อว่า วิริยพละ ด้วยอรรถว่าไม่หวั่นไหวในสหชาตธรรมทั้งหลายเท่านั้น.

    พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งมิจฉาทิฏฐิต่อไป.

    สภาวะที่ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ ด้วยอรรถว่า เห็นตามความไม่เป็นจริง. ที่ชื่อว่า ทิฏฐิคตะ (ความเห็นไปข้างทิฏฐิ) เพราะอรรถว่า ความเห็นนี้เป็นไปในทิฏฐิทั้งหลาย เพราะเป็นสภาวะหยั่งลงภายในทิฏฐิ ๖๒. เนื้อความแห่งทิฏฐิแม้นี้ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหลังนั่นแหละ. ทิฏฐินั่นแหละ ชื่อว่าทิฏฐิคหณะ (ป่าชัฏคือทิฏฐิ) เพราะอรรถว่า ก้าวล่วงไปโดยยาก เหมือนชัฏหญ้า ชัฏป่า ชัฏภูเขา. ทิฏฐินั่นแหละ ชื่อว่า ทิฏฐิกันดาร (กันดารคือทิฏฐิ) ด้วยอรรถว่า น่าระแวงและมีภัยเฉพาะหน้า เหมือนกันดารโจร กันดารสัตว์ร้าย กันดารทราย กันดารน้ำ กันดารทุพภิกขภัย. ที่ชื่อว่า ทิฏฐิวิสูกายิกะ (ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ) ด้วยอรรถว่าขัดแย้งและทวนกับสัมมาทิฏฐิ. จริงอยู่ ความเห็นผิคเมื่อเกิดย่อมขัดแย้ง และทวนสัมมาทิฏฐิไป ที่ชื่อว่า ทิฏฐิวิปผันทิตะ (ความผันแปรแห่งทิฏฐิ) เพราะอรรถว่า ผันแปรผิดรูปแห่งทิฏฐิเพราะบางคราวก็ถือเอาความเที่ยง บางคราวก็ถือเอาความขาดสูญ เพราะว่า

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 21

คนผู้มีความเห็นผิดย่อมไม่อาจตั้งอยู่ในสิ่งเดียว คือบางคราวก็คล้อยตามความเที่ยง บางคราวก็คล้อยตามความขาดสูญ. ทิฏฐินั่นแหละ ชื่อว่า สัญโญชน์ด้วยอรรถว่าเป็นเครื่องผูก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิฏฐิสัญโญชน์. ที่ชื่อว่า คาหะ (ความยึดถือ) เพราะอรรถว่า ย่อมยึดอารมณ์ไว้มั่น เหมือนสัตว์ร้ายมีจระเข้เป็นต้น เอาปากงับคนไว้มั่นฉะนั้น. ที่ชื่อว่า ปติฏฐวาหะ (๑) (ความตั้งมั่น) เพราะตั้งไว้โดยเฉพาะ จริงอยู่ ความตั้งมั่นนี้ ตั้งมั่นแล้วยึดไว้โดยความเป็นไปอย่างมีกำลัง. ที่ชื่อว่า อภินิเวสะ (ความยึดมั่น) เพราะอรรถว่า ย่อมตั้งมั่นโดยความเป็นของเที่ยงเป็นต้น ที่ชื่อว่า ปรามาสะ (ความถือผิด) เพราะอรรถว่า ก้าวล่วงสภาวธรรมแล้ว ถือเอาโดยประการอื่นด้วยอำนาจแห่งความเที่ยงเป็นต้น. ที่ชื่อว่า กุมมัคคะ (ทางชั่ว) เพราะอรรถว่า เป็นทางอันบัณฑิตเกลียด เพราะเป็นทางนำความพินาศมาให้ หรือเป็นทางแห่งอบายทั้งหลายที่บัณฑิตเกลียด. ที่ชื่อว่า มิจฉาปถะ (ทางผิด) เพราะเป็นทางตามความไม่เป็นจริง ที่ชื่อว่า มิจฉัตตะ (ภาวะที่ผิด) เพราะเป็นสภาพผิดเหมือนกัน. เหมือนอย่างว่า ชนผู้หลงทิศ แม้ยึดถือว่า ทางนี้ชื่อทางของบ้านโน้นดังนี้ ก็ไม่ยังบุคคลนั้นให้ถึงบ้านได้ ฉันใด บุคคลผู้มิจฉาทิฏฐิ แม้ยึดถือว่าทางนี้เป็นไปสู่สุคติ ดังนี้ ก็ไม่สามารถถึงสุคติได้ ฉันนั้น. ชื่อว่า ทางผิด เพราะเป็นทางตามความไม่เป็นจริง ทางนี้ ชื่อว่า มิจฉัตตะ เพราะมีสภาพผิด. ที่ชื่อว่า ติตถะ (สัทธิเป็นดังท่า) เพราะเป็นที่ๆ พวกคนพาลข้ามไป โดยการหมุนไปมาในที่นั้นนั้นแหละ ติตถะ (คือลัทธิ) นั้นด้วย เป็นอายตนะ (บ่อเกิด) แห่งความฉิบหายด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ติตถายตนะ (ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ). อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ติตถายตนะ เพราะอรรถว่าเป็นอายตนะด้วยความหมายเป็นส่วนสัญชาติ และด้วยความหมายว่าเป็นที่อาศัย


(๑) ในธรรมสังคณิเป็นปฏิคฺคาโห

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 22

ของพวกเดียรถีย์บ้าง. ที่ชื่อว่า วิปริเยสัคคาหะ (การถือโดยวิปลาส) เพราะอรรถว่า เป็นการถือสภาวะที่ใคร่ครวญผิด หรือว่าเป็นการถือสภาวะโดยตรงกันข้าม อธิบายว่า ถือเอาคลาคเคลื่อน.

    พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งอหิริกะและอโนตตัปปะต่อไป. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความแห่งอหิริกะและอโนตตัปปะโดยปริยายตรงกันข้ามในนิทเทสแห่งหิริและโอตตัปปะ ก็บัณฑิต พึงทราบอหิริกพละและอโนตตัปปพละเพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวในสหชาตธรรมทั้งหลายเท่านั้น.

    พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งโลภะและโมหะต่อไป

    สภาวะที่ชื่อว่า โลภะ เพราะอรรถว่า อยากได้. อาการที่โลภ ชื่อว่า ลุพภนา (กิริยาที่โลภ) จิตที่สัมปยุตด้วยโลภะ หรือบุคคลผู้ประกอบด้วยความโลภ ชื่อว่า ลุพภิตะ ภาวะแห่งจิตที่สัมปยุตด้วยโลภะหรือแห่งบุคคลผู้ประกอบด้วยความโลภ ชื่อว่า ลุพภิตัตตะ (ความโลภ) ที่ชื่อว่า สาราคะ (ความกำหนัด) เพราะย่อมกำหนัดนัก. อาการแห่งความกำหนัดนัก ชื่อว่า สารัชชนา (กิริยาที่กำหนัดนัก) . ภาวะแห่งจิตที่กำหนัดนักชื่อว่า สารัชชิตัตตะ (ความกำหนัด) . ชื่อว่า อภิชฌา ด้วยอรรถว่าเพ่งเล็ง.

    การณะ (เหตุ) พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยศัพท์ว่าโลภะอีก เพราะโลภะนั้นเป็นอกุศลด้วย เป็นมูลด้วย จึงชื่อว่า อกุศลมูล อีกอย่างหนึ่งโลภะนั้นเป็นมูลของอกุศลทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อกุศลมูล.

    สภาวะที่ชื่อว่า อัญญาณ (ความไม่รู้) เพราะปฏิปักษ์ต่อญาณ. ที่ชื่อว่า อทัสสนะ (ความไม่เห็น) เพราะปฏิปักษ์ต่อความเห็น. ที่ชื่อว่า อนภิสมัยความไม่ตรัสรู้) เพราะอรรถว่า เป็นสภาพเผชิญหน้าก็ไม่ตรัสรู้ตามธรรมได้ คือย่อมไม่ถึงโดยชอบ. ที่ชื่อว่า อนุโพธะ (ตรัสรู้โดยสมควร) เพราะอรรถว่า

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 23

ย่อมตรัสรู้ธรรมโดยสมควร ที่ชื่อว่า อนนุโพธะ (การไม่ตรัสรู้ธรรมโดยสมควร) เพราะความที่อนนุโพธะนั้นเป็นปฏิปักษ์ต่ออนุโพธะนั้น. ที่ชื่อว่าอสัมโพธะ (ไม่รู้ตามเป็นจริง) เพราะอรรถว่า ไม่ประกอบกับสภาวะทั้งหลายมีความไม่เที่ยงเป็นต้นแล้วตรัสรู้. ชื่อว่า อสัมโพธะ เพราะอรรถว่า ไม่สงบและไม่ชอบ ดังนี้บ้าง. ที่ชื่อว่า อัปปฏิเวธะ (ไม่แทงตลอด) เพราะอรรถว่า ย่อมไม่แทงตลอดธรรมคือสัจจะ ๔. ที่ชื่อว่า อสังคาหณา (ไม่ถือเอาให้ถูกต้อง) เพราะอรรถว่า ย่อมไม่ถือเอาพร้อมแม้ธรรมหนึ่งในธรรมมีรูปเป็นต้น โดยสามัญลักษณะมีความไม่เที่ยงเป็นต้น. ที่ชื่อว่า อปริโยคาหณา (ไม่หยั่งลงโดยรอบคอบ) เพราะอรรถว่า ย่อมไม่หยั่งลงสู่ธรรมนั้นนั่นแหละ. ที่ชื่อว่า อสมเปกขนา (ความไม่พินิจ) เพราะอรรถว่า ย่อมไม่เพ่งโดยสม่ำเสมอ. ที่ชื่อว่า อปัจจเวกขณา (ความไม่พิจารณา) เพราะอรรถว่า ย่อมไม่เพ่งเฉพาะสภาวะแห่งธรรมทั้งหลาย. ที่ชื่อว่า อปัจจักขกัมมะ (การไม่ทำให้ประจักษ์) เพราะอรรถว่า กรรมแม้ข้อหนึ่งก็ไม่ประจักษ์แก่สภาวะนี้ในบรรดากุศลกรรมและอกุศลกรรมทั้งหลายด้วยความเป็นไปโดยวิปริตบ้าง ด้วยไม่มีการกำหนดโดยสภาวะบ้าง อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า การทำให้ประจักษ์แก่ธรรมไรๆ เองมิได้มี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อปัจจักขกัมมะ. ที่ชื่อว่า ทุมเมชฌะ (ความทรามปัญญา) เพราะอรรถว่า เมื่อโมหะนี้ยังไม่เกิดขึ้น จิตสันดานใด พึงเป็นจิตบริสุทธิ์ คือสะอาดผ่องแผ้ว จิตสันดานอันบริสุทธิ์นั้น อันโมหะนี้ประทุษร้ายแล้ว. ที่ชื่อว่า พาลยะ (ความโง่เขลา) เพราะอรรถว่า เป็นภาวะของพวกคนพาล. ที่ชื่อว่า โมหะ (ความหลง) เพราะอรรถว่า ย่อมหลง. โมหะมีกำลังแรงชื่อว่า ปโมหะ (ความลุ่มหลง) ที่ชื่อว่าสัมโมหะ (หลงใหล) เพราะอรรถว่า ย่อมหลงโดยรอบ. ที่ชื่อว่า อวิชชา เพราะอรรถว่า ไม่ใช่วิชชาเพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อวิชชา ความหมายของโอฆะ

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 24

โยคะ และคัณฐะ ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วทั้งนั้น. ที่ชื่อว่า อนุสัย เพราะอรรถว่าย่อมนอนเนื่อง โดยอรรถว่ามีกำลัง. ที่ชื่อว่า ปริยุฏฐาน เพราะอรรถว่าย่อมกลุ้มรุม คือ ครอบงำจิต. ที่ชื่อว่า ลังคี (ลิ่ม) เพราะอรรถว่า ย่อมไม่อาจเพื่อไปมุ่งหน้าเฉพาะต่อประโยชน์ ย่อมติดโดยแท้ เพราะไม่มีการถือเอาประโยชน์ได้ คือ ย่อมไปลำบาก. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ลังคี เพราะอรรถว่า ถอนขึ้นได้ยาก. เหมือนอย่างว่า ลิ่มกล่าวคือกลอนเหล็กใหญ่เป็นของถอนขึ้นโดยยาก ฉันใดอวิชชาเห็นก็ฉันนั้น เป็นราวกะลิ่ม เพราะฉะนั้น อวิชชานั้น จึงชื่อว่า ลังคี (ลิ่ม).

คำที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น เพราะฉะนั้น พึงทราบแม้สังคหวาระและสุญญตวาระโดยอรรถะ ด้วยนัยที่กล่าวไว้ในหนหลังนั่นแล. จบอกุศลจิตดวงที่หนึ่ง

จิตดวงที่ ๒

[๓๑๑] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน?

อกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ ก็หรือว่าปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 25

จิตดวงที่ ๓

[๓๑๒] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน?

อกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์หรือมีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใดผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา วิริยินทรีย์สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะมิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ โอตตัปปพละ โลภะ โมหะอภิชฌา อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีอยู่ในสมัยนั้นหรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล ฯลฯ

[๓๑๓] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๕ ฌานมีองค์ ๕ มรรคมีองค์ ๓ พละ ๔ เหตุ ๒ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธรรมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล ฯลฯ

[๓๑๔] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ โลภะ โมหะ อภิชฌา อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้น แม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 26

สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีในสมัยใด ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล ฯลฯ

จิตดวงที่ ๔

[๓๑๕] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน?

อกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ฯลฯ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล ฯลฯ

จิตดวงที่ ๕

[๓๑๖] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน?

อกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ หรือมีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใดผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา วิริยินทรีย์สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ อโนตตัปปพละ โลภะ โมหะ อภิชฌา มิจฉาทิฏฐิ อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะมีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล.

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 27

[๓๑๗] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้องในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า ผัสสะ มีในสมัยนั้น

เวทนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เวทนา มีในสมัยนั้น ฯลฯ

อุเบกขา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อุเบกขา มีในสมัยนั้น ฯลฯ

อุเปกขินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัสในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อุเปกขินทรีย์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล.

[๓๑๘] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๕ ฌานมีองค์ ๔ มรรคมีองค์ ๔ พละ ๕ เหตุ ๒ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธรรมายตนะ ๑

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 28

ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อันใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล ฯลฯ

[๓๑๙] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ อโนตตัปปะ โลภะ โมหะ อภิชฌา มิจฉาทิฏฐิ อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้นนี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล ฯลฯ

จิตดวงที่ ๖

[๓๒๐] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน?

อกุศลจิต สหรตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูงในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล ฯลฯ

จิตดวงที่ ๗

[๓๒๑] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน?

อกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ หรือมีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็น

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 29

อารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใดผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ อโนตตัปปพละ โลภะ โมหะ อภิชฌา อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล ฯลฯ

[๓๒๒] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๕ ฌานมีองค์ ๔ มรรคมีองค์ ๓ พละ ๔ เหตุ ๒ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธรรมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล ฯลฯ

[๓๒๓] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ อโนตตัปปพละ โลภะ โมหะ อภิชฌา อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล.

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 30

จิตดวงที่ ๘

[๓๒๔] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน?

อกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตด้วยทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูงในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล ฯลฯ

จิตดวงที่ ๙

[๓๒๕] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน?

อกุศลจิต สหรคตด้วยโทมนัส สัมปยุตด้วยปฏิฆะ มีรูปเป็นอารมณ์ หรือมีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ทุกข์ เอกัคคตา วิริยินทรีย์สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ อโนตตัปปพละ โทสะโมหะ พยาปาทะ อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล.

[๓๒๖] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า ผัสสะมีในสมัยนั้น

เวทนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 31

ความไม่สบายทางใจ ความทุกข์ทางใจอันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใดนี้ชื่อว่า เวทนามีในสมัยนั้น ฯลฯ

ทุกข์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความไม่สบายทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ทุกข์ในสมัยนั้น ฯลฯ

โทมนัสสินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความไม่สบายทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า โทมนัสสินทรีย์มีในสมัยนั้น ฯลฯ

โทสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ความคิดประทุษร้าย การคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ความคิดปองร้าย ความโกรธ ความแค้นความดุร้าย ความปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าโทสะมีในสมัยนั้น ฯลฯ

พยาปาทะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ความคิดประทุษร้าย การคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ความคิดปองร้าย ความโกรธ ความแค้นความดุร้าย ความปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าพยาปาทะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 32

หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล.

[๓๒๗] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๕ ฌานมีองค์ ๔ มรรคมีองค์ ๓ พละ ๔ เหตุ ๒ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธรรมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล ฯลฯ

[๓๒๘] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกคัคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ อโนตตัปปพละ โทสะ โมหะ พยาปาทะ อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล.

จิตดวงที่ ๑๐

[๓๒๙] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน?

อกุศลจิต สหรคตด้วยโทมนัส สัมปยุตด้วยปฏิฆะ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูงในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 33

จิตดวงที่ ๑๑

[๓๓๐] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน?

อกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉา มีรูปเป็นอารมณ์ หรือมีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา วิริยินทรีย์ มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาสังกปะ มิจฉาวายามะ วิริยพละ อหิริกพละ อโนตตัปพละ วิจิกิจฉา โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล.

[๓๓๑] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้องในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า ผัสสะมีในสมัยนั้น ฯลฯ

เอกัคคตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เอกัคคตามีในสมัยนั้น ฯลฯ

วิจิกิจฉา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การเคลือบแคลง กิริยาที่เคลือบแคลง ความเคลือบแคลง ความคิดเห็นไปต่างๆ นานา ความตัดสินอารมณ์ไม่ได้ ความเห็นเป็นสองแง่ ความเห็นเหมือนทางสองแพร่ง ความสงสัย ความไม่สามารถจะถือเอาโดยส่วนเดียวได้

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 34

ความคิดส่ายไป ความคิดพร่าไป ความไม่สามารถจะหยั่งลงถือเอาเป็นยุติได้ ความกระด้างแห่งจิต ความลังเลใจ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิจิกิจฉามีในสมัยนั้น ฯลฯ

หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล ฯลฯ

[๓๓๒] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๔ ฌานมีองค์ ๔ มรรคมีองค์ ๒ พละ ๓ เหตุ ๑ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธรรมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล ฯลฯ

[๓๓๓] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา วิริยินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ วิริยพละ อหิริกพละ อโนตตัปปพละ วิจิกิจฉา โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ ปัคคาหะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล.

จิตดวงที่ ๑๒

[๓๓๔] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน?

อกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ มีรูปเป็นอารมณ์ หรือมีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็น

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 35

อารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ อโนตตัปปพละ อุทธัจจะ โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล.

[๓๓๕] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้องในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า ผัสสะมีในสมัยนั้น ฯลฯ

อุทธัจจะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบแห่งจิต ความวุ่นวายใจ ความพล่านแห่งจิต ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อุทธัจจะมีในสมัยนั้น ฯลฯ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล ฯลฯ

[๓๓๖] ก็ขันธ์ ๘ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๕ ฌานมีองค์ ๔ มรรคมีองค์ ๓ พละ ๔ เหตุ ๑ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธรรมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล ฯลฯ

[๓๓๗] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 36

ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ อโนตตัปปพละ อุทธัจจะ โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์มีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล.

    อกุศลจิต ๑๒ จบ

อธิบายอกุศลจิตดวงที่ ๒

    พึงทราบวินิจฉัยในอกุศลจิตดวงที่ ๒ ต่อไป.

    บทว่า สสํขาเรน (โดยมีการชักจูง) เป็นความต่างกัน คำว่าโดยมีการชักจูงนั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในหนหลังนั่นแหละ. ก็อกุศลจิตนี้ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ประกอบด้วยโสมนัสในอารมณ์ทั้ง ๖ ผู้ยังโลภะให้เกิดขึ้นแล้วถือผิดโดยนัยมีอาทิว่า นี้เป็นสัตว์ นี้เป็นสัตว์ ดังนี้ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้นในกาลใด กุลบุตรปรารถนากุมาริกาของตระกูลมิจฉาทิฏฐิ และตระกูลเหล่านั้นย่อมไม่ให้กุมาริกา โดยอ้างว่า พวกท่านถือทิฏฐิอื่น. แต่ภายหลัง พวกญาติอีกพวกหนึ่งบอกให้ยกให้ ด้วยการตกลงกันว่า พวกท่านจงกระทำสิ่งที่กุลบุตรนี้จักกระทำ ดังนี้ กุลบุตรนั้นพร้อมกับหมู่ญาติจึงพากันเข้าไปหาพวกเดียรถีย์นั่นแหละ ตอนต้นยังเป็นผู้ลังเลอยู่ แต่เมื่อกาลผ่านไปๆ ก็ชอบใจลัทธิ ย่อมถือซึ่งทิฏฐิด้วยคิดว่า กิริยาของพวกเดียรถีย์เหล่านี้เป็นที่ชอบใจ ในกาลเห็นปานนี้ พึงทราบว่า อกุศลจิตนี้ ย่อมได้ ดังนี้ เพราะความเกิดขึ้นโดยสัมปโยคะ

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 37

(การประกอบพร้อมกัน) พร้อมด้วยอุบาย เพราะความที่อกุศลจิตนั้นเป็นสสังขาริก (มีการชักจูง) .

    ส่วนในเยวาปนกธรรมทั้งหลาย ถีนมิทธะ เป็นธรรมยิ่งในอกุศลจิตดวงที่ ๒ นี้. บรรดาอกุศลธรรมเหล่านั้น ความหดหู่ ชื่อว่า ถีนะ ความง่วงโงก ชื่อว่า มิทธะ อธิบายว่า ความไม่อุตสาหะ ความไม่สามารถ และความพิฆาต. ถีนะด้วยมิทธะด้วย ชื่อว่า ถีนมิทธะ ในอกุศลทั้งสองนั้นถีนะมีความไม่อุตสาหะเป็นลักษณะ (อนุสฺสาหนลกฺขณํ) มีการกำจัดวิริยะเป็นรส (วิริยวิโนทนรสํ) มีความท้อถอยเป็นปัจจุปัฏฐาน (สํสีทนปจฺจุปฏฺานํ) .

    มิทธะ มีความไม่ควรแก่การงานเป็นลักษณะ (อกมฺมญฺตาลกฺขณํ) มีความมีการปกปิดเป็นรส (โอทหนรสํ) มีความหดหู่เป็นปัจจุปัฏฐาน (ลีนตาปจฺจุปฏฺานํ) หรือมีความง่วงโงกและความหลับเป็นปัจจุปัฏฐาน (ปจลายิกนิทฺทาปจฺจุปฏฺานํ) . ถีนมิทธะแม้ทั้งสองมีมนสิการโดยอุบายไม่แยบคายในสภาวะมีความไม่ยินดี ความเกียจคร้าน และความง่วงเหงาหาวนอนเป็นต้นเป็นปทัฏฐาน.

    อกุศลจิตดวงที่ ๒ จบ

อธิบายอกุศลจิตดวงที่ ๓

    อกุศลจิตดวงที่ ๓ ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้ประกอบด้วยโสมนัสในอารมณ์ทั้ง ๖ ผู้ยังโลภะให้เกิดขึ้น ไม่ยึดถือโดยนัยว่า นี้เป็นสัตว์ นี้เป็นสัตว์ ดังนี้แลดูอยู่ซึ่งพระราชา มวยปล้ำ การเล่นมีการต่อสู้เป็นต้น หรือมีการขวนขวายในการฟังเสียงที่ชอบใจเป็นต้น ในอธิการแห่งอกุศลดวงที่ ๓ นี้ มีองค์ที่เหมือนกัน ๕ องค์ พร้อมกับมานะ ในบรรดาองค์เหล่านั้น สภาวะที่ชื่อว่า

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 38

    มานะ เพราะอรรถว่า ย่อมถือตัว. มานะนั้นมีการทรนงตนเป็นลักษณะ (อุนฺนติลกฺขโณ) มีการยุกย่องสัมปยุตธรรมเป็นรส (สมฺปคฺคหนรโส) มีความปรารถนาดุจธงเป็นปัจจุปัฏฐาน (เกตุกมฺยตาปจฺจุปฏฺาโน) มีโลภะไม่ประกอบด้วยทิฏฐิเป็นปทัฏฐาน (ทิฏิวิปฺปยุตตฺตโลภปทฏฺาโน) พึงทราบว่า เหมือนคนบ้า.

    อกุศลจิตดวงที่ ๓ จบ

อธิบายอกุศลจิตดวงที่ ๔

    อกุศลจิตดวงที่ ๔ ย่อมเกิดขึ้นในฐานะมีประการดังกล่าวนั่นแหละคือในฐานะทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า ในกาลใด พวกชนย่อมถ่มเขฬะไปหรือโปรยฝุ่นเท้าไปบนศีรษะ ในกาลนั้น อกุศลจิตดวงที่ ๔ ย่อมเกิดแก่บุคคลทั้งหลายผู้แลดูในระหว่างๆ โดยเป็นไปกับด้วยอุตสาหะเพื่อหลบหลีกเขฬะและฝุ่นเท้านั้นและย่อมเกิดแก่บุคคลทั้งหลายผู้แลดูตามช่องนั้นๆ เมื่อความวุ่นวายเป็นไปในเมื่อตัวละครหลวงกำลังออกมา ดังนี้. ในอกุศลจิตดวงที่ ๔ นี้ มีเยวาปนกธรรม ๗ กับมานะถีนมิทธะ แม้อรรถแห่งอกุศลจิตทั้งสอง คืออกุศลจิตดวงที่ ๓ และที่ ๔ ย่อมลดมิจฉาทิฏฐิ พึงทราบการนับธรรมด้วยสามารถธรรมที่เหลือเว้นทิฏฐินั่นแล.

    อกุศลจิตดวงที่ ๔ จบ

อธิบายอกุศลจิตดวงที่ ๕

    อกุศลจิตดวงที่ ๕ ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้มัชฌัตตะ (วางเฉย) ด้วยสามารถแห่งเวทนาในอารมณ์ทั้ง ๖ ผู้ยังโลภะให้เกิด ผู้ยึดถืออยู่โดยนัยมีอาทิว่านี้เป็นสัตว์ นี้เป็นสัตว์. ก็ในอกุศลจิตดวงที่ ๕ นี้ อุเบกขาเวทนาย่อมมีในที่

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 39

โสมนัส (แทนโสมนัสเวทนา) ย่อมลดบทปีติ. คำที่เหลือทั้งหมดเป็นเหมือนอกุศลจิตดวงที่หนึ่งแล.

    อกุศลจิตดวงที่ ๕ จบ

อธิบายอกุศลจิตดวงที่ ๖, ๗, ๘

    แม้อกุศลจิตดวงที่ ๖ ที่ ๗ และที่ ๘ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในอกุศลจิตดวงที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ นั่นแหละโดยเปลี่ยนเวทนาและลดบทปีติ. อธิปติแม้ทั้ง ๒ คือ สหชาตาธิปติและอารัมมณาธิปติ ย่อมได้ในจิตสหรคตด้วยโลภะ ๘ ดวง เหล่านี้.

    โลภมูลจิต ๘ ดวงจบ

อธิบายอกุศลจิตดวงที่ ๙

    อกุศลจิตดวงที่ ๙ ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ประกอบด้วยโทมนัสในอารมณ์ทั้ง ๖ ผู้ยังปฏิฆะให้เกิดขึ้นนั่นแหละ. จะวินิจฉัยในวาระว่าด้วยการกำหนดสมัย ๓ สมัย แห่งอกุศลจิตดวงที่ ๙ ก่อน.

    มนะอันโทษประทุษร้ายแล้ว หรือมนะอันบัณฑิตเกลียด เพราะมีเวทนาอันเลว เพราะเหตุนั้น มนะนั้น จึงชื่อว่า ทุมมโน (ผู้มีใจชั่ว) . ภาวะแห่งบุคคลผู้มีใจชั่ว ชื่อว่า โทมนัส. อกุศลจิตสหรคตด้วยโทมนัสนั่น เพราะฉะนั้น อกุศลจิตนั้น จึงชื่อว่า โทมนัสสสหคตะ (สหรคตด้วยโทมนัส) .

    สภาวะที่ชื่อว่า ปฏิฆะ เพราะอรรถว่า ย่อมกระทบในอารมณ์โดยภาวะที่ไม่พอใจ. อกุศลจิตที่สัมปยุตด้วยปฏิฆะนั้น ชื่อว่า ปฏิฆสัมปยุต.

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 40

ในธัมมุทเทส โทมนัสสเวทนามาแล้วในฐานะแม้ทั้ง ๓. ในฐานะทั้ง ๓ มีเวทนาเป็นต้นนั้น บทว่า เวทนา มีเนื้อความตามที่กล่าวไว้นั่นแหละ. บทว่า ทุกข์และโทมนัส ก็กล่าวไว้แล้วเหมือนกัน. แต่เมื่อว่าโดยลักษณะเป็นต้น โทมนัสมีการเสวยอารมณ์อันไม่หน้าชอบใจเป็นลักษณะ (อนิฏฺารมฺมณานุภวนลกฺขณํ) มีการเสวยอาการไม่ดีอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นรส (ยถา ตถา วา อนิฏฺาการสมฺโภครสํ) มีความอาพาธทางใจเป็นปัจจุปัฏฐาน (เจตสิกาพาธปจฺจุปฏฺานํ) มีหทยวัตถุเท่านั้นเป็นปทัฏฐาน (หทยวตฺถุปทฏฺานํ) .

    ในมูลกรรมบถทั้งหลาย พระองค์ตรัสว่า โทสะย่อมมี พยาบาทย่อมมี เหมือนพระดำรัสที่ตรัสถึงอกุศลจิตดวงก่อนๆ ว่า โลภะย่อมมี อภิชฌาย่อมมี ฉะนั้น บรรดาโทสะและพยาบาททั้งสองนั้น สภาวะที่ชื่อว่า โทสะ เพราะอรรถว่าเป็นเหตุให้คนประทุษร้าย หรือประทุษร้ายเอง หรือว่าธรรมชาตินั้นสักว่าเป็นเครื่องประทุษร้ายเท่านั้น. โทสะนั้นมีความดุร้ายเป็นลักษณะ พึงเห็นเหมือนอสรพิษถูกประหาร (จณฺฑิกฺกลกฺขโณ ปหฏาสิวิโส วิย) มีการกระสับกระส่ายเป็นรส พึงเห็นเหมือนถูกยาพิษ (วิสปฺปนรโส วิสนิปาโต วิย) อีกอย่างหนึ่ง มีการหม่นไหม้นิสัยของตนเป็นรส พึงเห็นเหมือนไฟไหม้ป่า (อตฺตโน นิสฺสยทหนรโส วาทาวคฺคิ วิย) มีการประทุษร้ายเป็นปัจจุปัฏฐาน พึงเห็นเหมือนศัตรูได้โอกาส (ทุสฺสนปจฺจุปฏฺาโน ลทฺโธกาโส วิย สปตฺโต) มีอาฆาตวัตถุเป็นปทัฏฐาน พึงเห็นเหมือนน้ำมูตรเน่าเจือด้วยยาพิษ (อาฆาตวตฺถุปทฏฺาโน วิสสํสฏฺปูติมุตฺตํ วิย) ฉะนั้น.

    สภาวะที่ชื่อว่า พยาบาท เพราะอรรถว่า เป็นเหตุเบียดเบียน คือย่อมเข้าถึงภาวะเสียจิต หรือว่าย่อมยังวินัย อาจาระ รูปสมบัติและหิตสุขเป็นต้นให้ถึงความพิบัติ. ก็เมื่อว่าโดยอรรถ พยาบาทนี้ ก็คือโทสะนั่นแหละ แต่ใน

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 41

อกุศลจิตดวงที่ ๙ นี้ เป็นบทอกุศล ๒ โดยลำดับ. พึงทราบบท ๑๔ บทโดยการถือเอาบทที่ยังไม่ถือเอา และพึงทราบประเภทกองธรรมที่แจกได้ และแจกไม่ได้ ด้วยสามารถแห่งบทธรรมเหล่านั้น.

    ในเยวาปนกธรรมทั้งหลาย สภาวธรรมเป็นนิยตะมีฉันทะ อธิโมกข์ มนสิการ และอุทธัจจะเป็นต้น (คือเจตสิกประกอบกับอกุศลจิตดวงที่ ๙ แน่นอน) อนึ่ง ธรรม (ทั้ง ๔) เหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นครั้งละ ๕ๆ กับด้วยธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในอิสสา มัจฉริยะ หรือกุกกุจจะ ธรรมทั้ง ๓ มีอิสสาเป็นต้นแม้เหล่านี้ ชื่อว่า อนิยตเยวาปนกะ ด้วยประการฉะนี้. บรรดาธรรมทั้ง๓ เหล่านั้น สภาวธรรมที่ชื่อว่า อิสสา เพราะอรรถว่า ย่อมริษยา.

    อิสสานั้น มีการริษยาสมบัติของผู้อื่นเป็นลักษณะ (ปรสมฺปตฺตีนํ อุสฺสุยนลกฺขณา) มีความไม่ยินดีในสมบัติของผู้อื่นนั้นนั่นแหละเป็นรส (ตตฺเถว อนภิรติรสา) มีความเบือนหน้าจากสมบัติของผู้อื่นนั้นเป็นปัจจุปัฏฐาน (ตโต วิมุขภาวปจฺจุปฏฺานา) มีสมบัติของผู้อื่นเป็นปทัฏฐาน (ปรสมฺปตฺติปทฏฺานา) พึงทราบว่า เป็นสัญโญชน์.

    ความเป็นแห่งความตระหนี่ ชื่อว่า มัจฉริยะ มัจฉริยะนั้นมีการปกปิดสมบัติของตนที่ได้มาแล้ว หรือที่ควรได้เป็นลักษณะ (ลทฺธานํ วาลภิตพฺพานํ วา อตฺตโน สมฺปตฺตีนํ นิคูหณลกฺขณํ) มีความไม่ชอบใจในความที่สมบัติของตนนั้นนั่นแหละ เป็นของทั่วไปแก่ชนเหล่าอื่น เป็นรส (ตาสํเยว ปเรหิ สาธารณภาวอกฺขมนรสํ) มีความสยิ้วหน้าเป็นปัจจุปัฏฐาน (สํโกจนปจฺจุปฏฺานํ) หรือว่ามีความหวงแหนเป็นลักษณะ (กฏุกญฺจุกตาปจฺจุปฏานํ วา) มีสมบัติของตนเป็นปทัฏฐาน (อตฺตโน สมฺปตฺติปทฏฺานํ) มัจฉริยะนี้ พึงเห็นว่าเป็นความพิการของจิต.

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 42

    กรรมที่บัณฑิตเกลียด อันบุคคลทำแล้ว ชื่อว่า กุกตะ ความเป็นแห่งกุกตะนั้น ชื่อว่า กุกกุจจะ กุกกุจจะนั้นมีความเดือดร้อนใจในภายหลังเป็นลักษณะ (ปจฺฉานุตาปนลกฺขณํ) มีความเศร้าโศกเนืองๆ ถึงบาปที่ทำแล้ว และบุญที่ยังไม่ได้กระทำเป็นกิจ (กตากตานุโสจนรสํ) มีความวิปฏิสาร คือความเดือดร้อนเป็นปัจจุปัฏฐาน (วิปฺปฏิสารปจฺจุปฏฺานํ) มีการทำบาปแล้วและมิได้ทำบุญไว้เป็นปทัฏฐาน (กตากตปทฏฺานํ) พึงเห็นเหมือนอย่างความเป็นทาส ฉะนั้น.

    นี้เป็นความต่างกันในอุทเทสวารก่อน. ในนิทเทสวาร พึงทราบความไม่ชอบใจในเวทนานิทเทส ด้วยสามารถเป็นธรรมปฏิปักษ์ต่อความชอบใจ.

    พึงทราบวินิจฉัยในโทสนิทเทสต่อไป

    สภาวะที่ชื่อว่า โทสะ เพราะอรรถว่า ย่อมคิดประทุษร้าย. อาการที่คิดประทุษร้ายชื่อว่า ทุสสนา (กิริยาที่ประทุษร้าย) . ภาวะแห่งความประทุษร้าย ชื่อว่า ทุสสิตัตตะ (ความคิดประทุษร้าย) .

    ความคิดเบียดเบียน ชื่อว่า พยาปัตติ (การคิดปองร้าย) ด้วยอรรถว่าการละความเป็นปกติ. อาการแห่งการปองร้าย ชื่อว่า พยาปัชชนา (กิริยาที่ปองร้าย) ที่ชื่อว่า วิโรธ (ความโกรธ) เพราะอรรถว่า มุ่งร้าย. ที่ชื่อว่าปฏิวิโรธ (ความแค้น) เพราะอรรถว่า พิโรธเนืองๆ . อีกอย่างหนึ่ง คำทั้งสองนี้ ตรัสไว้ด้วยอำนาจแห่งอาการที่โกรธและอาการที่แค้น.

    บุคคลมีจิตกระด้างดุร้าย เรียกว่า จัณฑิกะ ภาวะแห่งจัณฑิกะนั้นเรียกว่า จัณฑิกกะ (ความดุร้าย) . ถ้อยคำอันคนดุร้ายนี้ยกขึ้นพูดอย่างดีมิได้มี คำพูดของคนเช่นนี้เป็นคำพูดชั่ว คือ ไม่บริบูรณ์เลย เพราะฉะนั้น

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 43

คนนี้จึงชื่อว่า อสุโรปะ (ปากร้าย) . จริงอยู่ ในเวลาที่บุคคลผู้ดุร้ายโกรธแล้วขึ้นชื่อว่า คำพูดที่บริบูรณ์ ย่อมไม่มี ถึงหากจะมีแก่บางคน ข้อนั้นก็ไม่เป็นประมาณ.

    อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า คนเช่นนั้น ชื่อว่า อสุโรปะ (ความไม่สุภาพ) เพราะให้เกิดน้ำตาโดยการไหลออกแห่งน้ำตา ข้อที่ว่านั้น ไม่ใช่เหตุได้กล่าวแล้วในหนหลัง เพราะแม้โสมนัสก็ทำให้น้ำตาเกิดได้.

    สภาวะที่ชื่อว่า อนัตตมนตา (ความไม่มีใจแช่มชื่น) เพราะอรรถว่าความเป็นผู้ไม่มีใจเป็นของตน เพราะความเป็นปฏิปักษ์ต่อความเป็นผู้มีใจเป็นของตน แต่เพราะความไม่มีใจแช่มชื่นนั้น เป็นของจิตเท่านั้น ไม่เป็นของสัตว์ ฉะนั้น จึงตรัสว่า จิตฺตสฺส (ของจิต) ดังนี้. คำที่เหลือในอกุศลจิตดวงที่ ๙ นี้ และในสังคหวาร ในสูญญตวาร พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในหนหลังนั่นแล.

    อกุศลจิตดวงที่ ๙ จบ

อธิบายอกุศลจิตดวงที่ ๑๐

    อกุศลจิตดวงที่ ๑๐ ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้ถูกคนอื่นๆ ให้เกิดอุตสาหะบ้าง ผู้ถูกคนอื่นๆ ตักเตือนให้นึกถึงความผิดบ้าง ตนเองนั่นแหละนึกถึงความผิดของคนอื่นๆ แล้วโกรธบ้าง เพราะความที่อกุศลจิตนี้เป็นไปกับการชักจูง. แม้ในอกุศลจิตนี้ก็มี ๒๙ บทตามลำดับบท. เพราะถือเอาบทที่ยังมิได้ถือเอาจึงเป็น ๑๔ บทเท่านั้น. แต่เพราะในเยวาปนกธรรมทั้งหลาย ย่อมได้แม้ถีนะและมิทธะ ฉะนั้นในอกุศลจิตดวงนี้จึงเว้นอิสสา มัจฉริยะ และกุกกุจจะ หรือเว้นซึ่งธรรม ๖ เหล่านี้ คือองค์ธรรมที่เหมือนกัน ๔ และถีนมิทธะ ในเวลาที่

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 44

อิสสาเป็นต้นเกิดขึ้น ก็จะเป็นเยวาปนกธรรม ๗ ข้อๆ กับข้อใดข้อหนึ่งในบรรดาธรรมมีอิสสาเป็นต้นนั้นเกิดขึ้นในขณะเดียวกัน (พร้อมกัน) . คำที่เหลือทั้งหมดทุกวาระเป็นเช่นกับอกุศลจิตดวงที่ ๙ ทั้งนั้น. ก็ในโทมนัสจิตทั้ง ๒ นี้ย่อมได้สหชาตาธิปติอย่างเดียว ไม่ได้อารัมมณาธิปติ. เพราะบุคคลโกรธแล้วย่อมไม่ทำอารมณ์อะไรๆ ให้หนัก (เป็นอธิบดี) ได้ ฉะนี้แล.

    อกุศลจิตดวงที่ ๑๐ จบ

อธิบายอกุศลจิตดวงที่ ๑๑

    อกุศลจิตดวงที่ ๑๑ ย่อมเกิดขึ้นในเวลาความสงสัยเป็นไปแก่บุคคลผู้วางเฉยด้วยอำนาจเวทนาในอารมณ์ทั้ง ๖. ในการกำหนดสมัยของอกุศลจิตดวงที่ ๑๑ นั้น บทว่า วิจิกิจฺฉาสมฺปยุตฺตํ (สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉา) ไม่ใช่บทที่เกิดก่อน เนื้อความแห่งอกุศลจิตนั้นว่า ที่ชื่อว่า วิจิกิจฉาสัมปยุตเพราะอรรถว่า สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉา. ในธัมมุทเทส บทว่า วิจิกิจฺฉา โหติ (วิจิกิจฉาย่อมมี) ดังนี้เท่านั้นแปลกกัน.

    พึงทราบวินิจฉัยในวิจิกิจฉานั้น ต่อไป

    สภาวธรรมที่ชื่อว่า วิจิกิจฉา เพราะอรรถว่า ปราศจากความแก้ไข อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วิจิกิจฉา เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้คนเมื่อคิดสภาว-ธรรมย่อมยุ่งยาก คือย่อมลำบาก.

    วิจิกิจฉานั้น มีความสงสัยเป็นลักษณะ (สํสยนลกฺขณา) มีความหวั่นไหวเป็นรส (กมฺปนรสา) มีการตัดสินใจไม่ได้เป็นปัจจุปัฏฐาน (อนิจฺฉยปจฺจุปฏฺานา) หรือว่า มีการถือเอาอย่างเดียวไม่ได้เป็นปัจจุปัฏฐาน

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 45

(อเนกํสคาหปจฺจุปฏฺานา) มีการทำไว้ในใจโดยอุบายไม่แยบคายเป็นปทัฏฐาน (อโยนิโสมนสิการปทฏานา) บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นการทำอันตรายต่อการปฏิบัติ. ในอกุศลจิตดวงที่ ๑๑ นี้ ได้บท ๒๓ ตามลำดับบท ว่าโดยธรรมที่ยังมิได้ถือเอาก็เป็นธรรม ๑๔ บท พึงทราบวินิจฉัยในกองธรรมที่จำแนกได้และจำแนกไม่ได้ ด้วยสามารถแห่งธรรม ๑๔ บทเหล่านั้น. ธรรมแม้ทั้ง ๒ คือ มนสิการ และอุทธัจจะ เป็นเยวาปนกธรรม.

    ก็เพราะในนิทเทสเอกัคคตาแห่งจิตแห่งนิทเทสวาร อกุศลจิตนี้ ทุรพลมีแต่เพียงฐิติ (คือการตั้งอยู่) ในปัจจุบัน ฉะนั้น จึงไม่ตรัสว่า สณฺิติ (ความดำรงอยู่) เป็นต้น แต่ตรัสบทเดียวเท่านั้นว่า จิตฺตสฺส ิติ และด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ แม้ในอุทเทสวารพระองค์ไม่ตรัสคำเป็นต้นว่า สมาธินฺทริยํ (สมาธินทรีย์) .

    พึงทราบวินิจฉัยในวิจิกิจฉานิทเทส ต่อไป

    สภาวะที่ชื่อว่า กังขา ด้วยสามารถแห่งการเคลือบแคลง. อาการเป็นไปแห่งความเคลือบแคลง ชื่อว่า กังขายนา (กิริยาที่เคลือบแคลง) . จริงอยู่ การเคลือบแคลงอันแรกชื่อว่านำมาซึ่งการเคลือบแคลงต่อไป อีกอย่างหนึ่ง การเคลือบแคลงนี้ ตรัสไว้ด้วยอำนาจแห่งอาการ. จิตที่พรั่งพร้อมด้วยการสงสัย ชื่อว่า กังขายิตะ เพราะนำมาซึ่งความเคลือบแคลง. ภาวะแห่งกังขายิตะนั้นชื่อว่า กังขายิตัตตะ (ความเคลือบแคลง) . สภาวะที่ชื่อว่า วิมติเพราะความคิดเห็นต่างๆ . วิจิกิจฉา (ความตัดสินอารมณ์ไม่ได้) มีเนื้อความตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. ที่ชื่อว่า เทฺวฬหกํ (ความเห็นสองแง่) เพราะอรรถว่า ย่อมเห็นสองอย่างด้วยอรรถว่า หวั่นไหวไป. ที่ชื่อว่า เทฺวธาปโถ (ความเห็นเหมือนทางสองแพร่ง) เพราะอรรถว่า เหมือนทางสองแพร่งโดยการห้ามการปฏิบัติ. ที่ชื่อว่า สํสโย (ความสงสัย) เพราะอรรถว่า ย่อมนอน

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 46

โดยรอบเพราะไม่สามารถดำรงอยู่ในอาการหนึ่งที่เป็นไปว่า นี้เที่ยงหรือหนอ หรือว่าไม่เที่ยง เป็นต้น. ที่ชื่อว่า อเนกํสคาโห (ความไม่สามารถถือเอาโดยส่วนเดียวได้) เพราะอรรถว่า ไม่ใช่ถือเอาโดยส่วนเดียว เพราะไม่สามารถถือเอาโดยส่วนเดียว. ที่ชื่อว่า อาสปฺปนา (ความคิดส่ายไป) เพราะอรรถว่าวิจิกิจฉานั้นเมื่อไม่อาจเพื่ออันชี้ขาด จึงถอยกลับจากอารมณ์. ที่ชื่อว่า ปริสปฺปนา (ความคิดพร่าไป) เพราะอรรถว่า วิจิกิจฉานั้นเมื่อไม่อาจเพื่อจะหยั่งลงจึงคิดส่ายไปรอบด้าน. ที่ชื่อว่า อปริโยคาหนา (ความไม่สามารถจะหยั่งลงถือเอาที่สุดได้) เพราะความเป็นสภาวะไม่สามารถเพื่อหยั่งลงถือเอาได้. ที่ชื่อว่า ถมฺภิตตฺตํ (ความกระด้าง) เพราะความเป็นสภาวะที่ไม่สามารถเพื่อเป็นไปในอารมณ์ด้วยอำนาจการตัดสินใจได้ อธิบายว่า ความที่จิตเป็นธรรมชาติกระด้าง. จริงอยู่ วิจิกิจฉาเกิดขึ้นแล้ว ย่อมทำจิตให้กระด้าง ก็เพราะวิจิกิจฉานั้นเมื่อเกิดเป็นดุจการจับอารมณ์มาขัดอยู่ซึ่งใจ ฉะนั้น พระองค์จึงตรัสว่า มโนวิเลโข (รอยขีดใจ) คือ ความลังเลใจ. คำที่เหลือในที่ทุกแห่งมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

    อกุศลจิตดวงที่ ๑๑ จบ

อธิบายอกุศลจิตดวงที่ ๑๒

    พึงทราบวินิจฉัยในอกุศลจิตดวงที่ ๑๒ ต่อไป.

    ในการกำหนดสมัยแห่งอกุศลจิตดวงที่ ๑๒ ที่ชื่อว่า อุทธัจจสัมปยุต เพราะอรรถว่า อกุศลจิตนั้นสัมปยุตด้วยอุทธัจจะ จริงอยู่ อกุศลจิตดวงที่ ๑๒ นี้เป็นกลาง (อุเบกขา) ด้วยอำนาจเวทนาในอารมณ์ ๖ เป็นฟุ้งซ่าน (อุทฺธตํ) ในอกุศลจิตดวงนี้ จิตนี้มาแล้วในที่วิจิกิจฉาในธัมมุทเทสว่า อุทฺธจฺจํ โหติ

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 47

(อุทธัจจะย่อมมี) ย่อมได้บท ๒๘ ตามลำดับ ว่าโดยบทที่ยังมิได้ถือเอาก็ได้ ๑๔ บท. พึงทราบวิธีการจำแนกกองธรรมได้ และจำแนกไม่ได้ด้วยสามารถแห่งธรรม ๑๔ เหล่านั้น ธรรมทั้ง ๒ คือ อธิโมกข์ มนสิการ เท่านั้นเป็นเยวาปนกธรรม.

    พึงทราบวินิจฉัยในอุทธัจจนิทเทสแห่งนิทเทสวารต่อไป.

    บทว่า จิตฺตสฺส. (แห่งจิต) คือไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล. บทว่า อุทฺธจฺจํ ได้แก่ อาการที่ฟุ้งซ่าน. สภาวะที่ชื่อว่า อวูปสมะ (ความไม่สงบ) เพราะอรรถว่า การไม่เข้าไปสงบแห่งจิต. ที่ชื่อว่า เจตโส วิกฺเขโป (ความวุ่นวายใจ) เพราะอรรถว่า จิตซัดส่ายไป. บทว่า ภนฺตตฺตํ จิตฺตสฺส (จิตพล่านไป) ได้แก่ ความที่จิตหมุนไป. ด้วยบทนี้ท่านกล่าวจิตดิ้นรนไปในอารมณ์เดียวเท่านั้น ดุจยานที่พล่านไปและโคที่พล่านไปเป็นต้น. เพราะอุทธัจจะดิ้นรนไปในอารมณ์เดียว วิจิกิจฉาดิ้นรนไปในอารมณ์ต่างๆ . คำที่เหลือทุกวาระ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในหนหลังนั่นแหละ.

    บัดนี้ จะวินิจฉัยข้อปกิณกะในจิต ๒ ดวงนี้ต่อไป.

    ก็เมื่อมีผู้กล่าวว่า ชื่อว่า จิตที่เป็นไปในอารมณ์ มีเท่าไร พึงตอบได้ว่าจิตเหล่านี้มี ๒ ดวงเท่านั้น. บรรดาจิต ๒ ดวงนั้น จิตที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ย่อมเป็นไปอย่างเดียว ส่วนจิตที่สหรคตด้วยอุทธัจจะได้ที่อาศัยแล้วได้ที่ยึดเหนี่ยวแล้วก็เป็นไปตามที่อาศัยอันได้แล้ว เพราะมีอธิโมกข์ได้แล้ว. เหมือนอย่างว่า เมื่อแก้วมณี ๒ ดวง ดวงหนึ่งกลม ดวงหนึ่งสี่เหลี่ยม เมื่อเขาปล่อยให้กลิ้งไปในที่เนินลาด แก้วมณีดวงกลมย่อมกลิ้งไปๆ โดยแท้ทีเดียว ส่วนแก้วมณีดวงสี่เหลี่ยมพลิกไปๆ ย่อมตั้งอยู่ได้ ฉันใด คำอุปไมยเป็นเครื่องเปรียบเทียบนี้ พึงทราบฉันนั้น.

    ในอกุศลจิตแม้ทั้งหมด พระองค์มิได้ทรงยกขึ้นแสดงความแตกต่างกันโดยความเลวเป็นต้น เพราะความที่อกุศลทั้งหมดเป็นสภาพเลวอย่างเดียว

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 48

สหชาตาธิปติแม้ได้อยู่ก็ไม่ทรงยกขึ้นแสดง เพราะความที่นัยทรงแสดงไว้ในหนหลังแล้ว. ก็ในอกุศลทั้งหมดนี้ ชื่อว่า วิมังสาธิปติ ย่อมไม่มีเพราะไม่มีญาณ. ในจิต ๒ ดวงหลัง (ที่สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉาและอุทธัจจะ) ไม่มีความแปลกกันเลย เพราะเหตุไร? เพราะไม่เกิดขึ้นทำธรรมอะไรๆ ให้เป็นธุระจึงทรงปฏิเสธไว้ในปัฏฐานปกรณ์นั่นแหละ.

    ก็เมื่อกรรมอันอกุศลจิต ๑๒ ดวงเหล่านี้ประมวลมาแล้ว เว้นอกุศลจิตที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ อกุศลจิตที่เหลือ ๑๑ ดวงเท่านั้น ย่อมชักปฏิสนธิมา (คือให้ปฏิสนธิ) .

    ถามว่า ครั้นเมื่ออกุศลจิตสหรคตด้วยวิจิกิจฉามีอธิโมกข์ยังไม่ได้แล้ว แม้มีกำลังทรามก็ยังชักปฏิสนธิมาได้ อกุศลจิตที่สหรคตด้วยอุทธัจจะมีอธิโมกข์ได้แล้ว มีกำลังย่อมชักปฏิสนธิมาไม่ได้ เพราะเหตุไร?

    ตอบว่า เพราะไม่มีธรรมอันโสดาปัตติมรรคพึงละ ก็ผิว่าจิตที่สหรคตด้วยอุทธัจจะพึงชักปฏิสนธิมาไซร้ ก็จะพึงตรัสไว้ในวิภังค์แห่งบทว่า ทสฺสเนน ปหาตพฺพา เพราะฉะนั้น อกุศลจิตที่เหลือ ๑๑ ดวงเว้นอุทธัจจสัมปยุตจิตย่อมชักปฏิสนธิมา. จริงอยู่ เมื่อกรรมอันอกุศลธรรมดวงใดดวงหนึ่งในบรรดาอกุศลธรรมเหล่านั้น ประมวลมาแล้ว ปฏิสนธิจิตย่อมมีในอบาย ๔ ด้วยเจตนานั้น. บรรดาอกุศลวิบากทั้งหลาย สัตว์ย่อมถือปฏิสนธิด้วยเจตนาอันสหรคตด้วยอุเบกขา คืออเหตุกมโนวิญญาณธาตุ แม้การให้ปฏิสนธิในอบาย ๔ เหล่านี้นั่นแหละก็พึงมีแก่อุทธัจจสหรคตจิต แต่เพราะอุทธัจจสหรคตจิตนั้นไม่มีการให้ผลในปฏิสนธิ ฉะนั้น พระองค์จึงไม่ตรัสไว้ในวิภังค์ว่าด้วยบทว่า ทสฺสเนน ปหาตพฺพา ดังนี้.

    พรรณนาบทว่าด้วยธรรมอันเป็นอกุศบ จบ

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 49

กามาวจรวิบาก

วิญญาณ ๕ ที่เป็นกุศลวิบาก

[๓๓๘] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

จักขุวิญญาณอันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์เกิดขึ้นเพราะกามาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต อุเขกขา เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๓๓๙] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้องในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า ผัสสะมีในสมัยนั้น.

[๓๔๐] เวทนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายใจก็ไม่ใช่ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งจักขุวิญญาณธาตุที่สมกัน ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า เวทนามีในสมัยนั้น.

[๓๔๑] สัญญา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การจำ กิริยาที่จำ ความจำ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งจักขุวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัญญามีในสมัยนั้น.

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 50

[๓๔๒] เจตนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การคิด กิริยาที่คิด ความคิด อันเกิดแต่สัมผัสแห่งจักขุวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เจตนามีในสมัยนั้น.

[๓๔๓] จิต มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์วิญญาณ วิญญาณขันธ์ จักขุวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าจิตมีในสมัยนั้น.

[๓๔๔] อุเบกขา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัสในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อุเบกขามีในสมัยนั้น.

[๓๔๕] เอกัคคตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความตั้งใจอยู่แห่งจิต ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เอกัคคตามีในสมัยนั้น.

[๓๔๖] มนินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ อินทรีย์ คือมโนวิญญาณ วิญญาณขันธ์ จักขุวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใดนี้ชื่อว่า มนินทรีย์มีในสมัยนั้น.

[๓๔๗] อุเปกขินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อุเปกขินทรีย์มีในสมัยนั้น

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 51

[๓๔๘] ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่สืบเนืองกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิตอินทรีย์คือชีวิต ของนามธรรมนั้นๆ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ชีวิตินทรีย์มีในสมัยนั้น.

[๓๔๙] หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๓๕๐] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ จักขุวิญญาณธาตุ ๑ ธรรมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้นหรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ

[๓๕๑] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้นนี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๓๕๒] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

โสตวิญญาณอันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ

ฆานวิญญาณอันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ

ชิวหาวิญญาณอันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรสเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 52

กายวิญญาณอันเป็นวิบาก สหรคตด้วยสุขเวทนา มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น เพราะกามาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะเวทนา สัญญา เจตนา จิต สุข เอกคัคตา มนินทรีย์ สุขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๓๕๓] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า ผัสสะมีในสมัยนั้น.

[๓๕๔] เวทนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความสบายทางกาย ความสุขทางกาย อันเกิดแต่สัมผัสแห่งกายวิญญาณธาตุที่สมกัน ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่กายสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เวทนามีในสมัยนั้น.

[๓๕๕] สัญญา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การจำ กิริยาที่จำ ความจำ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งกายวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัญญามีในสมัยนั้น.

[๓๕๖] เจตนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การคิด กิริยาที่คิด ความคิด อันเกิดแต่สัมผัสแห่งกายวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เจตนามีในสมัยนั้น.

[๓๕๗] จิต มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์วิญญาณ วิญญาณขันธ์ กายวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าจิตมีในสมัยนั้น.

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 53

[๓๕๘] สุข มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความสบายทางกาย ความสุขทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขอันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่กายสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี่ชื่อว่า สุขมีในสมัยนั้น.

[๓๕๙] เอกัคคตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความตั้งอยู่แห่งจิต สมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เอกัคคตามีในสมัยนั้น.

[๓๖๐] มนินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

จิต มโน มนัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ อินทรีย์ คือมโน วิญญาณ วิญญาณขันธ์ กายวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใดนี้ชื่อว่า มนินทรีย์มีในสมัยนั้น.

[๓๖๑] สุขินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความสบายทางกาย ความสุขทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่กายสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สุขินทรีย์มีในสมัยนั้น.

[๓๖๒] ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่สืบเนืองกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิตอินทรีย์คือชีวิต ของนามธรรมนั้นๆ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

[๓๖๓] หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 54

[๓๖๔] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ กายวิญญาณธาตุ ๑ ธรรมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้นหรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ

[๓๖๕] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้นนี้ชื่อว่า สังขารขันธ์มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

วิญญาณ ๕ ที่เป็นกุศลวิบาก จบ

มโนธาตุ ที่เป็นกุศลวิบาก

[๓๖๖] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

มโนธาตุ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น เพราะกามาวจรกุศลกรรม อันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ เวทนาสัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวินทรีย์ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้นสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 55

[๓๖๗] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า ผัสสะมีในสมัยนั้น.

[๓๖๘] เวทนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนธาตุที่สมกัน ความเสวยอารมณ์ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า เวทนามีในสมัยนั้น.

[๓๖๙] สัญญา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การจำ กิริยาที่จำ ความจำ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนธาตุที่สมกันในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัญญามีในสมัยนั้น.

[๓๗๐] เจตนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การคิด กิริยาที่คิด ความคิด อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนธาตุที่สมกันในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เจตนามีในสมัยนั้น.

[๓๗๑] จิต มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตมีในสมัยนั้น.

[๓๗๒] วิตก มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความตรึก ความตรึงอย่างแรง ความดำริ ความที่จิตแนบอยู่ในอารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า วิตกมีในสมัยนั้น.

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 56

[๓๗๓] วิจาร มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณาความที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งอารมณ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าวิจารมีในสมัยนั้น.

[๓๗๔] อุเบกขา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อุเบกขามีในสมัยนั้น.

[๓๗๕] เอกัคคตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เอกัคคตา มีในสมัยนั้น.

[๓๗๖] มนินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ อินทรีย์คือมโน วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่ามนินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

[๓๗๗] อุเปกขินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อุเปกขินทรีย์มีในสมัยนั้น.

[๓๗๘] ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิตอินทรีย์คือ

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 57

ชีวิต ของนามธรรมนั้นๆ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ชีวิตินทรีย์มีในสมัยนั้น.

[๓๗๙] หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๓๘๐] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ มโนธาตุ ๑ ธรรมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ

[๓๘๑] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

มโนธาตุที่กุศลวิบาก จบ

มโนวิญญาณธาตุ ที่เป็นกุศลวิบาก

สหรคตด้วยโสมนัส

[๓๘๒] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น เพราะกามาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญาเจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 58

ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๓๘๓] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า ผัสสะมีในสมัยนั้น.

[๓๘๔] เวทนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เวทนามีในสมัยนั้น.

[๓๘๕] สัญญา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การจำ กิริยาที่จำ ความจำ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัญญามีในสมัยนั้น.

[๓๘๖] เจตนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การคิด กิริยาที่คิด ความคิด อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เจตนามีในสมัยนั้น.

[๓๘๗] จิต มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าจิตมีในสมัยนั้น.

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 59

[๓๘๘] วิตก มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ ความที่จิตแนบอยู่ในอารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า วิตกมีในสมัยนั้น.

[๓๘๙] วิจาร มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณาความที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งอารมณ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าวิจารมีในสมัยนั้น.

[๓๙๐] ปีติ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความอิ่มใจ ความปราโมทย์ ความยินดียิ่ง ความบันเทิง ความร่าเริง ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความตื่นเต้น ความที่จิตชื่นชมยินดีในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า ปีติมีในสมัยนั้น.

[๓๙๑] สุข มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบาย เป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัสในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สุขมีในสมัยนั้น.

[๓๙๒] เอกัคคตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เอกัคคตามีในสมัยนั้น.

[๓๙๓] มนินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ อินทรีย์คือมโนวิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่ามนินทรีย์มีในสมัยนั้น.

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 60

[๓๙๔] โสมนัสสินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบาย เป็นสุขอื่นเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัสในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า โสมนัสสินทรีย์มีในสมัยนั้น.

[๓๙๕] ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิตอินทรีย์คือชีวิตของนามธรรมนั้นๆ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ชีวิตินทรีย์มีในสมัยนั้น.

[๓๙๖] หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๓๙๗] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๓

ผัสสะ ๑ ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุ ๑ ธรรมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้นหรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น. สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ

[๓๙๘] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์มีอยู่ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต. มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลวิบากสหรคตด้วยโสมนัส จบ

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 61

มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลวิบาก

สหรคตด้วยอุเบกขา

    [๓๙๙] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    มโนวิญญาณธาตุ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น เพราะกามาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ เวทนาสัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๐๐] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

    การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า ผัสสะมีในสมัยนั้น.

    [๔๐๑] เวทนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

    ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เวทนามีในสมัยนั้น.

    [๔๐๒] สัญญา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

    การจำ กิริยาที่จำ ความจำ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัญญามีในสมัยนั้น.

 
  ข้อความที่ 62  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 62

    [๔๐๓] เจตนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

    การคิด กิริยาที่คิด ความคิด อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เจตนามีในสมัยนั้น.

    [๔๐๔] จิต มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

    จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าจิตมีในสมัยนั้น.

    [๔๐๕] วิตก มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

    ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ ความที่จิตแนบอยู่ในอารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตในสู่อารมณ์ ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า วิตกมีในสมัยนั้น.

    [๔๐๖] วิจาร มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

    ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณาความที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งอารมณ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าวิจารมีในสมัยนั้น.

    [๔๐๗] อุเบกขา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

    ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อุเบกขามีในสมัยนั้น.

    [๔๐๘] เอกัคคตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

    ความตั้งอยู่แห่งจิต ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เอกัคคตา มีในสมัยนั้น.

    [๔๐๙] มนินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 63  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 63

    จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ อินทรีย์คือมโนวิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่ามนินทรีย์มีในสมัยนั้น.

    [๔๑๐] อุเปกขินทรีย์ ในสมัยนั้น เป็นไฉน?

    ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อุเปกขินทรีย์มีในสมัยนั้น.

    [๔๑๑] ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

    อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิตอินทรีย์คือชีวิตของนามธรรมนั้นๆ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ชีวิตินทรีย์มีในสมัยนั้น.

    [๔๑๒] หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๑๓] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุ ๑ ธรรมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้นหรือนามธรรมท่องอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ

    [๔๑๔] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

    ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต. มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลวิบากสหรคตด้วยอุเบกขา จบ

 
  ข้อความที่ 64  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 64

อธิบายอัพยากตธรรม

    บัดนี้ พระองค์ทรงประสงค์จะแสดงจำแนกบทอัพยากตธรรม จึงเริ่มคำว่า ธรรมอันเป็นอัพยากตะ เป็นไฉน? เป็นต้น.

    ในพระบาลีนั้น อัพยากตะมี ๔ อย่าง คือ วิบาก กิริยา รูป พระนิพพาน บรรดาอัพยากตะเหล่านั้น พระองค์ตรัสประสงค์เอาอัพยากตวิบาก แม้ในอัพยากตวิบากก็ทรงประสงค์เอากุศลวิบาก แม้ในกุศลวิบากนั้นก็ทรงประสงค์เอากามาวจรวิบาก แม้ในกามาวจรวิบากก็ทรงประสงค์เอาอเหตุกะแม้ในอเหตุกะก็ทรงประสงค์เอาปัญจวิญญาณ (วิญญาณ ๕) แม้ในปัญจวิญญาณนั้นก็ทรงประสงค์เอาจักขุวิญญาณตามลำดับในทวาร แม้จักขุวิญญาณนั้นเล่า ทรงประสงค์จะแสดงความเกิดขึ้นด้วยอำนาจกรรมปัจจัยที่ไม่ทั่วไปเท่านั้น เว้นสาธารณปัจจัยทางทวารและอารมณ์เป็นต้น จึงตรัสพระดำรัสว่า เพราะกามาวจรกุศลกรรมอันตนทำแล้ว.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กตตฺตา (อันได้ทำไว้แล้ว) ได้แก่เหตุที่ทำไว้แล้ว. บทว่า อุปฺปจิตตฺตา (ได้สั่งสมไว้แล้ว) ได้แก่ ทำให้เจริญขึ้นแล้ว. บทว่า จกฺขุวิญฺาณํ ความว่า ที่ชื่อว่า จักขุวิญญาณ เพราะอรรถว่าเป็นวิญญาณแห่งจักษุที่มีเหตุสำเร็จแล้ว หรือว่าวิญญาณอันเป็นไปทางจักษุหรือว่าเป็นวิญญาณอันอาศัยในจักษุ แม้ในโสตวิญญาณเป็นต้นข้างหน้าก็นัยนี้แหละ.

    ในวิญญาณ ๕ เหล่านั้น จักขุวิญญาณมีการรู้รูป อาศัยจักขุประสาทเป็นลักษณะ (จกฺขุสนฺนิสฺสิตรูปวิชานนลกฺขณํ) มีอารมณ์เพียงรูปเป็นรส

 
  ข้อความที่ 65  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 65

(รูปมตฺตารมฺมณรสํ) มีความมุ่งต่อรูปเป็นปัจจุปัฏฐาน (รูปาภิมุขภาวปจฺจุปฏฺานํ) มีการไม่ปราศจากกิริยามโนธาตุซึ่งมีรูปเป็นอารมณ์เป็นปทัฏฐาน (รูปารมฺมณาย กิริยามโนธาตุยา อปคมนปทฏฺานํ) .

    โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ ที่จะมาข้างหน้าก็มีการรู้เสียงเป็นต้นอาศัยโสตเป็นต้นเป็นลักษณะ มีอารมณ์สักแต่ว่าเสียงเป็นต้นเป็นรส มีความมุ่งต่อเสียงเป็นต้นเป็นปัจจุปัฏฐาน มีการไม่ปราศจากกิริยามโนธาตุที่มีอารมณ์มีเสียงเป็นต้นเป็นปทัฏฐาน.

    ในอัพยากตวิบากนี้ มีบทธรรมตามลำดับ ๑๐ บท ว่าโดยการถือเอาบทที่ยังมิได้ถือเอาก็ได้ ๗ บท. ในบรรดา ๗ บทเหล่านั้น บทที่จำแนกไม่ได้มี ๕ บท บทที่จำแนกได้มี ๒ บท บรรดาธรรมที่จำแนกได้นั้น จิตถึงการจำแนกให้ที่ทั้ง ๒ คือด้วยสามารถแห่งผัสสปัญจกะ และด้วยสามารถแห่งอินทรียเวทนาถึงการจำแนกในที่ทั้ง ๓ คือด้วยสามารถแห่งผัสสปัญจกะ องค์ฌาน และอินทรีย์. แม้กองธรรมเหล่านี้ก็มี ๓ เหมือนกัน เยวาปนกธรรมมีหนึ่ง คือมนสิการเท่านั้น.

    ในนิทเทสวาร ตรัสจักขุวิญญาณว่า ปณฺฑรํ (ผ่องใส) โดยวัตถุ. จริงอยู่ กุศล ชื่อว่า ปณฺฑรํ (ผ่องใส) เพราะความที่ตนบริสุทธิ์. อกุศลก็ชื่อว่า ปณฺฑรํ (ผ่องใส) เพราะผลอันไหลออกจากภวังค์ วิบากก็ชื่อว่า ปฏฺฑรํ (ผ่องใส) เพราะผ่องใสโดยวัตถุ.

    ในนิทเทสเอกัคคตาแห่งจิต ตรัสบทเดียวเท่านั้นว่า จิตฺตสฺส ิติ (ความตั้งอยู่แห่งจิต) เพราะจิตแม้นี้ทุรพลในอัพยากตวิบากนี้ ย่อมได้เพียงตั้งอยู่เป็นไปเท่านั้น ย่อมไม่อาจเพื่อถึงความเป็นสัณฐิติ (ความดำรงอยู่.) อวัฏฐิติ (ความมั่นอยู่) ในสังคหวาร ไม่ทรงยกองค์ฌานและองค์มรรคขึ้นแสดง เพราะ

 
  ข้อความที่ 66  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 66

เหตุไร? เพราะธรรมดาฌานมีวิตกเป็นธรรมต่ำ ธรรมดามรรคก็มีเหตุเป็นธรรมต่ำ องค์ฌานย่อมไม่ได้ในจิตที่ไม่มีวิตกตามปกติ องค์มรรคก็ไม่ได้ในอเหตุกจิต (จิตไม่ประกอบด้วยเหตุ) เหมือนกัน เพราะฉะนั้น องค์ฌานและองค์มรรคแม้ทั้ง ๒ พระองค์ จึงไม่ทรงยกขึ้นแสดงในจักขุวิญญาณนี้ ก็สังขารขันธ์ในจักขุวิญญาณนี้เป็นธรรมประกอบด้วยองค์ ๔ (ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์) นั่นแหละจึงทรงจำแนกไว้. สุญญตวารเป็นไปตามปกตินั่นแหละ แม้นิทเทสแห่งโสตวิญญาณเป็นต้น พึงทราบโดยนัยนี้เหมือนกัน.

    ก็ในวิญญาณ ๕ นั้น มีความแปลกกันอย่างเดียว คือ ในจักขุวิญญาณเป็นต้น ทรงจำแนกอุเบกขา ในกายวิญญาณทรงจำแนกสุข. แม้ความต่างกันนั้นก็พึงทราบว่า ย่อมมีด้วยอำนาจการกระทบ เพราะในทวาร ๔ มีจักขุทวารเป็นต้น อุปาทารูปย่อมกระทบกับอุปาทารูปเท่านั้น ครั้นเมื่ออุปาทารูปนั่นแหละกระทบอยู่ซึ่งอุปาทารูป ความเสียดสีเกิดจากการกระทบย่อมไม่มีกำลัง ย่อมเป็นเพียงถูกกันเท่านั้น ย่อมไม่กระทบกันหนัก เหมือนเวลาที่เขาวางปุยนุ่นอันเกิดแต่ฝ้าย ๔ อันไว้บนทั่ง ๔ อัน แล้วเอาปุยนุ่นนั่นแหละกระทบกันฉะนั้น เวทนาจึงตั้งอยู่ในฐานะกลาง (อุเบกขา) แต่ในกายทวาร อารมณ์ที่เป็นมหาภูตรูปในภายนอกกระทบกายปสาทอันเป็นภายในแล้วกระทบมหาภูตรูปทั้งหลายที่มีปสาทรูปเป็นปัจจัย เหมือนบุคคลวางปุยนุ่นบททั่งแล้วเอาค้อนทุบ ค้อนก็เลยปุยนุ่นไปกระทบทั่ง เพราะการเสียดสีเป็นสภาพมีกำลัง ข้อนี้ฉันใด การกระทบมหาภูตรูปกับมหาภูตรูปเป็นการเสียดสีที่มีกำลัง ฉันนั้นเหมือนกัน. กายวิญญาณที่สหรคตด้วยสุข ย่อมเกิดขึ้นในอิฏฐารมณ์ กายวิญญาณที่สหรคตด้วยทุกข์ย่อมเกิดขึ้นในอนิฏฐารมณ์.

 
  ข้อความที่ 67  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 67

    ก็วัตถุ ทวาร และอารมณ์ของจิตทั้ง ๕ เหล่านี้ ย่อมเป็นของเกี่ยวข้องกันโดยเฉพาะ ชื่อว่า การก้าวก่ายกันด้วยวัตถุเป็นต้น ในที่นี้ย่อมไม่มี เพราะจักขุวิญญาณที่เป็นกุศลวิบาก กระทำจักขุปสาทให้เป็นวัตถุ (ที่อาศัยเกิด) แล้วยังทัสสนกิจ (กิจคือการเห็น) ให้สำเร็จในรูปารมณ์อันมีสมุฏฐาน ๔ ในอิฏฐารมณ์ และในอิฏฐมัชฌัตตารมณ์ ดำรงอยู่ในจักขุทวารสำเร็จผล. โสตวิญญาณเป็นต้น ทำโสตปสาทเป็นต้นให้เป็นวัตถุแล้วให้สำเร็จสวนกิจฆายนกิจสายนกิจ และผุสนกิจ ในอารมณ์มีเสียงเป็นต้นที่เป็นอิฏฐารมณ์และอิฏฐมัชฌัตตารมณ์ ดำรงอยู่ในโสตทวารเป็นต้นสำเร็จผล. ก็ในอารมณ์เหล่านั้น เสียงมีสมุฏฐาน ๒ เท่านั้น.

อธิบายมโนธาตุกุศลวิบาก

    พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งมโนธาตุต่อไป.

    ธาตุ คือ มโนนั่นแหละ ชื่อว่า มโนธาตุ ด้วยอรรถว่า สูญจากสภาวะและมิใช่สัตว์. มโนธาตุนั้นมีการรู้รูปารมณ์เป็นต้น ในลำดับแห่งจักขุวิญญาณเป็นต้นเป็นลักษณะ (จกฺขุวิญฺาณาทีนํ อนนฺตรรูปาทิวิชานนลกฺขณา) มีการรับอารมณ์ มีรูปเป็นต้นเป็นรส (รูปาทีนํ สมฺปฏิจฺฉนฺนรสา) มีภาวะเช่นการรับอารมณ์อย่างนั้นเป็นปัจจุปัฏฐาน (ตถาภาวปจฺจุปฏานา) มีการไม่ปราศจากจักขุวิญญาณเป็นปทัฏฐาน (จกฺขุวิญฺญาณา อปคมนปทฏฺานา) ธัมมุทเทสในมโนธาตุนี้มี ๑๒ บท ว่าด้วยการถือเอาบทที่ยังมิได้ถือเอาก็ได้ ๙ บท. ใน ๙ บทนั้น ๗ บทจำแนกไม่ได้ ๒ บทจำแนกได้. เยวาปนกธรรมมี ๒ คือ อธิโมกข์ และ มนสิการ.

    นิทเทสแห่งวิตก พระองค์ทรงกำหนดไว้ถึงอภินิโรปนะ (คือการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์) ก็เพราะจิต (อัพยากตวิบาก) ดวงนี้เป็นกุศลก็มิใช่ เป็นอกุศล

 
  ข้อความที่ 68  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 68

ก็มิใช่ เพราะฉะนั้น จึงไม่ตรัสว่า เป็นสัมมาสังกัปปะหรือเป็นมิจฉาสังกัปปะ องค์ฌานแม้ได้อยู่ในสังคหวารก็ตกไปเป็นไปในกระแสแห่งวิญญาณ ๕ เพราะฉะนั้น จึงไม่ยกขึ้นแสดง ส่วนองค์มรรคย่อมไม่ได้โดยแท้ เพราะฉะนั้น จึงไม่ทรงยกขึ้นแสดงสุญญตวารเป็นไปตามปกตินั่นแหละ จิตนี้เป็นจิตเนื่องด้วยวัตถุ คือ อาศัยเกิดที่หทยวัตถุเท่านั้น. ทวารและอารมณ์เป็นสภาพไม่เนื่องกันบรรดาทวารและอารมณ์ที่ไม่เนื่องกันเหล่านั้น ทวารและอารมณ์จะก้าวก่ายกันแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้นก็มีฐานเดียวกัน เพราะฐานนี้มีสัมปฏิจฉันนกิจ (กิจคือมีหน้าที่รับอารมณ์) เหมือนกัน จริงอยู่ จิตดวงนี้ (อัพยากตวิบาก) เป็นสัมปฏิจฉันนจิต (เป็นจิตรับอารมณ์) ในอารมณ์ ๕ ในปัญจทวาร สำเร็จผลเมื่อวิญญาณ ๕ มีจักขุวิญญาณเป็นต้น ที่เป็นกุศลวิบากดับแล้ว สันปฏิจฉันนจิต (อัพยากตวิบาก) นั้นก็รับอารมณ์เหล่านั้นนั่นแหละมีรูปารมณ์เป็นต้นที่ถึงฐานในลำดับทีเดียว.

อธิบายมโนวิญญาณธาตุ

    พึงทราบวินิจฉัยในนิสเทสแห่งสันติรณมโนวิญญาณธาตุ. บทว่า ปีติ เป็นบทอธิกะ (ยิ่ง) ในมโนวิญญาณธาตุดวงที่หนึ่ง แม้เวทนาก็เป็นโสมนัสสเวทนา เพราะมโนวิญญาณธาตุดวงที่หนึ่งนี้ ย่อมเป็นไปในอิฏฐารมณ์อย่างเดียว ส่วนมโนวิญญาณธาตุดวงที่สอง ย่อมเป็นไปในอิฏฐมัชฌัตตัตตารมณ์ เพราะฉะนั้น ในมโนวิญญาณธาตุดวงที่สองนี้ จึงเป็นอุเบกขาเวทนา บททั้งหลายเป็นเช่นเดียวกันในนิทเทสแห่งมโนธาตุนั่นแหละ ในมโนวิญญาณธาตุ แม้ทั้ง๒ ดวง พระองค์มิได้ทรงยกองค์ฌานขึ้นแสดง เพราะความที่มโนวิญญาณธาตุ ๒ ดวงนั้นเป็นธรรมชาติตกไปเป็นไปในกระแสแห่งวิญญาณ ๕ ทีเดียว

 
  ข้อความที่ 69  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 69

องค์มรรคก็เหมือนกัน มิได้ทรงยกขึ้นแสดงเพราะไม่ได้โดยแท้. คำที่เหลือในที่ทั้งหมดพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วนั้นแล.

    อนึ่ง ว่าโดยลักษณะเป็นต้น มโนวิญญาณธาตุแม้ทั้ง ๒ เป็นอเหตุกวิบาก (วิปากจิตไม่มีเหตุประกอบ) มีการรู้อารมณ์ ๖ เป็นลักษณะ (สฬารมฺมณวิชานนลกฺขณา) พึงทราบว่า มีการพิจารณาอารมณ์เป็นต้นเป็นรส (สนฺติรณาทิรสา) มีความเป็นอย่างนั้น (มีการพิจารณาอารมณ์เป็นต้นอย่างนั้น) เป็นปัจจุปัฏฐาน (ตถาภาวปจฺจุปฏฺานา) มีหทยวัตถุเป็นปทัฏฐาน (หทยวตฺถุปทฏฺานา) .

    บรรดามโนวิญญาณธาตุ ๒ ดวงนั้น ดวงที่ ๑ ย่อมให้ผลในฐานทั้ง ๒จริงอยู่ มโนวิญญาณธาตุดวงที่ ๑ นั้น เมื่อมโนธาตุอันเป็นวิบาก (สัมปฏิจฉันนจิต) รับอารมณ์ในลำดับแห่งจักขุวิญญาณเป็นต้น ซึ่งเป็นกุศลวิบากในทวาร ๕ นั้นดับแล้วก็ยังสันติรณกิจให้สำเร็จอยู่ในอารมณ์นั้นนั่นแหละ ย่อมตั้งอยู่ให้ผลในทวาร ๕ และย่อมเป็นตทารัมมณะให้ผลในอารมณ์ที่มีกำลังในทวาร ๖ ข้อนี้ เป็นอย่างไร? คือ เปรียบเหมือนเมื่อเรือขวางลำในแม่น้ำกระแสเชี่ยวไปอยู่ กระแสน้ำก็แตกติดตามเรือไปสู่ที่หน่อยหนึ่ง แล้วก็ไปตามสมควรแก่กระแสนั่นแหละ ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือเมื่ออารมณ์มีกำลังปรากฏชัดในทวาร ๖ ไปสู่คลองแล้ว ชวนจิตย่อมแล่นไป เมื่อชวนนั้นเสพอารมณ์แล้วก็เป็นโอกาสของภวังค์ แต่ว่าจิต (สันตีรณจิต) นี้ไม่ให้โอกาสแก่ภวังค์ จึงรับอารมณ์ที่ชวนจิตรับแล้วก็เป็นไปสิ้น ๑ วารจิต ๒ วารจิต ก็หยั่งลงสู่ภวังค์ทีเดียว. บัณฑิตพึงยังอุปมาด้วยอาการอย่างนี้นั่นแหละให้พิสดาร แม้ในฝูงโคที่กำลังข้ามแม่น้ำ. มโนวิญญาณธาตุดวงที่หนึ่งนี้ ชื่อว่า ตทารัมมณจิต เพราะความที่มโนวิญญาณธาตุนั่นนั่นแหละรับอารมณ์ที่ชวนจิตรับเอาแล้วให้ผลอยู่.

 
  ข้อความที่ 70  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 70

ส่วนมโนวิญญาณธาตุดวงที่ ๒ ย่อมให้ผลใน ๕ ฐาน อย่างไร? คือในเบื้องต้นให้ผลเป็นปฏิสนธิจิต ในเวลาถือปฏิสนธิของคนบอดแต่เกิด คนหนวกแต่เกิด คนใบ้แต่เกิด คนบ้าแต่เกิด เป็นอุภโตพยัญชนกและเป็นกระเทยในมนุษยโลกประการ ๑ เมื่อปฏิสนธิผ่านไปแล้วก็ให้ผลเป็นภวังค์ตลอดอายุประการ ๑ ย่อมให้ผลเป็นสันติรณะ (พิจารณา) ในวิถีแห่งอารมณ์ ๕ ในอิฎฐมัชฌัตตตารมณ์ประการ ๑ ย่อมให้ผลเป็นตทารัมมณะในอารมณ์ที่มีกำลังในทวาร ๖ ประการ ๑ ในเวลามรณะให้ผลเป็นจุติจิตประการ ๑ มโนวิญญาณธาตุดวงที่ ๒ นี้ย่อมอำนวยผลใน ๕ ฐานเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.

    มโนวิญญาณธาตุ ๒ ดวงจบ

มหาวิบาก ๘

    [๔๑๕] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก สหรตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณมีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ฯลฯ

    มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ... เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ฯลฯ

    มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ... เกิดขึ้น ฯลฯ

    มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ... เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ฯลฯ

    มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ... เกิดขึ้น ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 71  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 71

    มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ...เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ฯลฯ

    มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ... เกิดขึ้น ฯลฯ

    มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ... เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง เพราะกามาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๑๖] อัพยากตมูล คือ อโลภะ ฯลฯ อัพยากตมูล คือ อโทสะ ฯลฯ อัพยากตมูล คือ อโมหะ ฯลฯ

    ภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    มหาวิบาก ๘ จบ

อธิบายมหาวิบาก ๘ ดวง

    บัดนี้ พระองค์ทรงประสงค์จะแสดงมหาวิบากจิต ๘ ดวง จึงทรงเริ่มพระดำรัส มีอาทิว่า กตเม ธมฺมา อพฺยากตา (ธรรมเป็นอัพยากฤตเป็นไฉน?) อีก.

    ในมหาวิบาก ๘ เหล่านั้น ทรงแสดงเพียงนัยไว้ในพระบาลีแล้วทรงย่อวาระไว้ทั้งหมด. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความแห่งวาระเหล่านั้นโดยนัยที่กล่าวในหนหลังนั่นแหละ ส่วนความแปลกกันอันใดในมหาวิบากจิตเหล่านั้น ทรง

 
  ข้อความที่ 72  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 72

ประสงค์จะแสดงความแปลกกันนั้น จึงตรัสพระพุทธพจน์มีอาทิว่า อโลโภ อพฺยากตมูลํ (อัพยากตะคืออโลภะ) ดังนี้. พระดำรัสใดแม้มิได้ตรัสไว้พระดำรัสนั้น บัณฑิตพึงทราบอย่างนี้ว่า

    ก็ความต่างกันแห่งกรรม ทวาร กรรมบถ บุญกิริยาวัตถุ อันใดที่ตรัสไว้ในกามาวจรกุศลทั้งหลาย ความต่างกันอันนั้นไม่มีในมหาวิบาก ๘ เหล่านี้ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะมหาวิบาก ๘ ให้วิญญัติเกิดไม่ได้ คือ เหตุที่มหาวิบากไม่มีวิบากเป็นธรรมดา และเพราะมหาวิบากไม่เป็นไป (เหมือนบุญกิริยาวัตถุ) อย่างนั้น กรุณาและมุทิตาแม้เหล่าใดที่ตรัสไว้ในเยวาปนกธรรมทั้งหลาย กรุณาและมุทิตานั้นก็ไม่มีอยู่ในวิบากทั้งหลาย เพราะมีสัตว์เป็นอารมณ์ด้วยว่า กามาวจรวิบากทั้งหลายเป็นปริตตารมณ์อย่างเดียว มิใช่กรุณาและมุทิตาเท่านั้นไม่มี แม้วิรตีทั้งหลายก็ไม่มีในวิบากเหล่านี้ ข้อนี้สมจริงดังที่ตรัสว่า สิกขาบท ๕ เป็นกุศลเท่านั้น. ก็ในมหาวิบากนี้ พึงทราบวิธีของธรรมที่เป็นอสังขาร (ไม่มีการชักจูง) สสังขาร (มีการชักจูง) โดยกุศล และโดยความต่างแห่งปัจจัย.

    จริงอยู่ กุศลเป็นอสังขาริก วิบากก็เป็นอสังขาริก กุศลเป็นสสังขาริกวิบากก็เป็นสสังขาริก. อนึ่ง กุศลที่เป็นอสังขาริกเกิดขึ้นด้วยปัจจัยที่มีกำลังกุศลที่เกิดขึ้นด้วยปัจจัยนอกนี้เป็นสสังขาริก. แม้ในความต่างกันแห่งความเลวเป็นต้น มหาวิบากเหล่านี้ย่อมไม่ชื่อว่าเลว ปานกลาง และประณีต เพราะความที่ธรรมมีฉันทะเป็นต้นที่เลว ปานกลางและประณีตไม่ให้สำเร็จไว้ แต่ว่าวิบากของกุศลที่เลวก็ย่อมเลว วิบากของกุศลปานกลางก็ย่อมเป็นปานกลาง วิบากของกุศลที่ประณีตก็ย่อมเป็นของประณีต ในวิบากเหล่านี้ แม้ธรรมที่เป็นอธิบดีทั้งหลาย ก็มิได้มี. ข้อนี้เป็นเพราะเหตุไร? เพราะความที่วิบากเหล่านี้

 
  ข้อความที่ 73  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 73

ไม่ทำฉันทะเป็นต้นให้เป็นธุระแล้วเกิดขึ้น. คำที่เหลือทั้งหมดเหมือนกับคำที่กล่าวไว้ในกุศล ๘ นั่นแล.

    บัดนี้ พึงทราบที่เป็นที่ให้ผลของมหาวิบากจิต ๘ เหล่านี้ต่อไป.

    จริงอยู่ มหาวิบากเหล่านี้ย่อมให้ผลในที่ทั้ง ๔ คือ ในปฏิสนธิ ๑ ในภวังค์ ๑ ในจุติ ๑ ในตทารัมมณะ ๑ ให้ผลอย่างไร? คือ ย่อมให้ผลเป็นปฏิสนธิ ในเวลาถือปฏิสนธิของผู้มีบุญทั้งหลายเป็นทุเหตุกะและติเหตุกะในพวกมนุษย์ และในพวกเทพชั้นกามาวจรก่อน เมื่อปฏิสนธิจิตผ่านไปแล้วก็ให้ผลเป็นภวังค์ในปวัตติกาลตลอดอายุ ๖๐ ปีบ้าง ๘๐ ปีบ้าง ตลอดอสงไขยหนึ่งบ้าง ย่อมให้ผลเป็นตทารัมมณะในอารมณ์ที่มีกำลังในทวาร ๖ และย่อมให้ผลเป็นจุติในเวลาตาย มหาวิบากย่อมให้ผลในที่ ๔ ด้วยประการฉะนี้.

    ในกาลให้ผลของมหาวิบากจิต ๘ เหล่านั้น พระสัพพัญญูโพธิสัตว์แม้ทุกพระองค์ย่อมถือปฏิสนธิด้วยมหาวิบากจิตที่เป็นอสังขาริก สหรคตด้วยโสมนัส เป็นติเหตุกะดวงที่หนึ่ง ในการถือปฏิสนธิภพสุดท้าย ก็มหาวิบากจิตดวงนั้นเป็นวิบากของจิตมีเมตตาเป็นส่วนเบื้องต้น ก็ปฏิสนธิจิตอันมหาวิบากมีเมตตาเป็นส่วนเบื้องต้นนั้นให้มีอายุหนึ่งอสงไขย แต่ย่อมเปลี่ยนไปด้วยอำนาจแห่งกาล.

    ส่วนพระมหาสิวเถระกล่าวว่า มหาวิบากจิตที่สหรคตด้วยอุเบกขามีกำลังกว่ามหาวิบากที่สหรคตด้วยโสมนัส พระสัพพัญญูโพธิสัตว์ย่อมถือปฏิสนธิด้วยมหาวิบากที่สหรคตด้วยอุเบกขานั้น เพราะผู้ถือปฏิสนธิด้วยมหาวิบากที่สหรคตด้วยอุเบกขานั้น ย่อมเป็นผู้มีอัธยาศัยใหญ่ เพราะความเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอารมณ์ทั้งหลายอันเป็นทิพย์ เหมือนพระจูฬนาคเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกเป็นต้น. แต่คำนี้ในอรรถกถาท่านปฏิเสธว่า นี้เป็นความชอบใจของพระเถระ

 
  ข้อความที่ 74  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 74

ข้อนี้หาเป็นเช่นนั้นไม่ แล้วกล่าวว่า การบำเพ็ญประโยชน์เกื้อกูลของพระสัพพัญญูโพธิสัตว์ทั้งหลายเป็นสภาพมีกำลังมาก เพราะฉะนั้น พระสัพพัญญูโพธิสัตว์ทั้งหลายย่อมถือปฏิสนธิด้วยอสังขาริกจิต อันเป็นติเหตุกะ สหรคตด้วยกามาวจรกุศลวิบากมีเมตตาเป็นส่วนเบื้องต้น.

อธิบายทวารวิบากมาติกากถา

    บัดนี้ ควรจะตั้งมาติกาในกถาทวารวิบาก ต่อไป.

    พระจูฬนาคเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกกล่าวไว้ก่อนว่า กุศลเจตนาดวงเดียวย่อมเกิดวิบากจิต ๑๖ ดวง ในกุศลเจตนาดวงนี้แหละเป็นเหตุให้เกิดวิบากจิต ๑๒ ดวงบ้าง เป็นอเหตุกจิต ๘ บ้าง ดังนี้.

    ก็พระมหาทัตตเถระผู้อยู่ในวิหารโมรวาปีกล่าวว่า กุศลเจตนาหนึ่งดวงย่อมเกิดวิบากจิต ๑๒ ดวง ในกุศลเจตนาดวงนี้แหละเป็นเหตุให้เกิดวิบากจิต ๑๐ ดวงบ้าง อเหตุกจิต ๘ บ้าง ดังนี้.

    แต่พระมหาธัมมรักขิตเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกกล่าวว่า กุศลเจตนาดวงเดียวย่อมเกิดวิบากจิต ๑๐ ดวง ในกุศลเจตนาดวงนี้แหละ เป็นอเหตุกจิต ๘ ดังนี้.

    ในฐานะนี้ พระเถระเหล่านั้นถือเอาเรื่องชื่อว่า สาเกตกปัญหา.

    ได้ยินว่า พวกอุบาสกผู้อยู่ในเมืองสาเกต นั่งในศาลาสนทนากันถึงปัญหาว่า ในเจตนากรรมดวงเดียวที่ประกอบแล้ว จะมีปฏิสนธิอย่างเดียวหรือหลายอย่าง ดังนี้ ไม่อาจวินิจฉัยได้ จึงพากันไปถามพระเถระผู้ทรงพระอภิธรรม. พระเถระทั้งหลายให้พวกอุบาสกเหล่านั้นยอมรับด้วยคำว่า หน่ออันเดียวเท่านั้นย่อมออกจากเมล็ดมะม่วงอันเดียวฉันใด เจตนาเดียวก็มีปฏิสนธิ

 
  ข้อความที่ 75  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 75

หนึ่งเท่านั้น ฉันนั้นดังนี้. ในวันต่อมาก็สนทนากันถึงปัญหาว่า ก็เจตนาต่างๆ ที่กระทำกรรมแล้วย่อมมีปฏิสนธิต่างๆ หรือมีปฏิสนธิเดียว ดังนี้ เมื่อไม่อาจวินิจฉัยได้จึงพากันไปถามพระเถระทั้งหลาย พระเถระทั้งหลายยังอุบาสกเหล่านั้นให้ยอมรับด้วยคำว่า เมื่อเมล็ดมะม่วงมากที่เขาเพาะไว้ หน่อเป็นอันมากก็ย่อมงอกขึ้น ฉันใด เจตนามากก็มีปฏิสนธิมากฉันนั้นเหมือนกัน ดังนี้.

    อีกอย่างหนึ่ง ในฐานะนี้ ท่านถือเอาเรื่องชื่อว่าการแสดงถึงสิ่งที่มีมากเป็นประมาณ เพราะสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้มีโลภะมากก็ดี มีโทสะมากก็ดี มีโมหะมากก็ดี มีอโลภะ อโทสะ อโมหะ มากก็ดี ถามว่า ธรรมอะไรย่อมกำหนดสภาวะนั้นของสัตว์เหล่านั้นที่มีมากได้. ตอบว่า บุรพเหตุย่อมกำหนด ความต่างกันย่อมมีในขณะแห่งการประกอบกรรมนั่นแหละ ข้อนี้เป็นอย่างไร? คือ ในขณะการประกอบกรรมของบุคคลใด โลภะมีกำลังแรง อโลภะมีกำลังอ่อน อโทสะและอโมหะมีกำลังแรง โทสะและโมหะมีกำลังอ่อน อโลภะอ่อนของบุคคลนั้นไม่อาจเพื่อครอบงำโลภะได้ แต่ว่าอโทสะและอโมหะมีกำลังแรง ย่อมอาจเพื่อครอบงำโทสะและโมหะได้ เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นเกิดด้วยอำนาจปฏิสนธิอันกรรมนั้นให้แล้ว ย่อมเป็นคนมักได้ มีความสุขเป็นปกติ มักไม่โกรธ แต่มีปัญญา มีญาณเปรียบด้วยเพชร ดังนี้.

    อนึ่ง ในขณะที่ประกอบกรรมของบุคคลใด โลภะและโทสะมีกำลังแรง อโลภและอโทสะมีกำลังอ่อน และมีอโมหะแรงมีโมหะอ่อน บุคคลนั้นเป็นผู้มักได้โดยนัยก่อนนั่นแหละด้วย เป็นผู้มักประทุษร้ายด้วย แต่เป็นคนมีปัญญา มีญาณเปรียบด้วยเพชร ดุจพระทัตตาภยเถระ.

    อนึ่ง ในขณะประกอบกรรมของบุคคล โลภะ อโทสะ โมหะ มีกำลังแรง นอกนี้ (อโลภะ โทสะ และอโมหะ) มีกำลังอ่อน บุคคลนั้นเป็นผู้มักโลภโดยนัยก่อนนั่นแหละด้วย เป็นคนเขลาด้วย แต่เป็นคนมีความสุขเป็นปกติ มักไม่โกรธ.

 
  ข้อความที่ 76  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 76

อนึ่ง ในขณะประกอบกรรมของบุคคลใด โลภะ โทสะ และโมหะ แม้ทั้ง ๓ มีกำลังแรง อโลภะเป็นต้นมีกำลังอ่อน บุคคลนั้นเป็นผู้มักได้ตามนัยก่อนนั่นแหละด้วย เป็นผู้มักประทุษร้ายด้วย ผู้ลุ่มหลงด้วย.

    อนึ่ง ในขณะประกอบกรรมของบุคคลใด อโลภะ โทสะ โมหะ มีกำลังแรง นอกนี้ (คือโลภะ อโทสะ และอโมหะ) มีกำลังอ่อน บุคคลนั้นมีกิเลสน้อยโดยนัยก่อนนั่นแหละ เขาเห็นแม้อารมณ์อันเป็นทิพย์ก็ไม่หวั่นไหว แต่เป็นผู้มักประทุษร้ายและมีปัญญาทราม ดังนี้.

    อนึ่ง ในขณะประกอบกรรมของบุคคลใด อโลภะ อโทสะ และโมหะ มีกำลังแรง นอกนี้ (คือ โลภะ โทสะ และอโมหะ) มีกำลังอ่อน บุคคลนั้นเป็นคนไม่มักได้ เป็นคนมีความสุขเป็นปกติ แต่เป็นคนโง่เขลา.

    อนึ่ง ในขณะที่ประกอบกรรมของบุคคลใด อโลภะ โทสะ และอโมหะ มีกำลังแรง นอกนี้ (คือ โลภะ อโทสะ และโมหะ) มีกำลังอ่อนบุคคลนั้นเป็นผู้ไม่มักได้โดยนัยก่อนนั่นแหละด้วย มีปัญญาด้วย แต่เป็นคนมักประทุษร้าย มักโกรธ.

    อนึ่ง ในขณะที่ประกอบกรรมของบุคคลใดมีอโลภะเป็นต้น แม้ทั้ง ๓ มีกำลังแรง มีโลภะเป็นต้นอ่อน บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่มักโลภ ไม่มักประทุษร้ายและมีปัญญา เหมือนพระมหาสังฆรักขิตเถระ ดังนี้แล.

    อีกอย่างหนึ่ง ในฐานะนี้ ท่านถือเอาเรื่องการยกย่องเหตุ. จริงอยู่กรรมที่ประกอบด้วยเหตุ ๓ ย่อมให้วิบากเป็นติเหตุกะบ้าง ทุเหตุกะบ้าง อเหตุกะบ้าง. กรรมอันประกอบด้วยเหตุ ๒ ย่อมไม่ให้วิบากเป็นติเหตุกะ ให้แต่วิบากนอกนี้ ด้วยกรรมที่ประกอบด้วยเหตุ ๓ ปฏิสนธิย่อมเป็นติเหตุกะบ้างทุเหตุกะบ้าง ไม่มีอเหตุกะ ด้วยกรรมที่ประกอบด้วยเหตุ ๒ ปฏิสนธิย่อมเป็น

 
  ข้อความที่ 77  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 77

ทุเหตุกะบ้าง ย่อมเป็นอเหตุกะบ้าง ไม่เป็นติเหตุกะ กุศลกรรมที่เป็นอสังขาริกย่อมให้วิบากเป็นอสังขาริกบ้าง เป็นสสังขาริกบ้าง. กุศลที่เป็นสสังขาริกย่อมให้วิบากเป็นสสังขาริกบ้าง อสังขาริกบ้าง. เวทนาพึงเปลี่ยนไปตามอารมณ์ ตทารัมมณะพึงกำหนดด้วยชวนะ.

ว่าด้วยวิบากจิต ๑๖ ดวง นัยของพระจูฬนาคเถระ

    บัดนี้ พึงทราบเห็นเกิดวิบาก ๑๖ ดวงเป็นต้นในวาทะของพระเถระนั้นๆ ก็สัตว์ผู้ถือปฏิสนธิด้วยมหาวิบากจิตดวงที่หนึ่งเช่นเดียวกับกามาวจรกุศลดวงที่หนึ่ง ออกจากการอยู่ในครรภ์แล้ว เข้าถึงความเป็นผู้สามารถเพื่อเริ่มตั้งอยู่ในสังวรและอสังวร เมื่ออิฏฐารมณ์มาสู่คลองจักษุทวารแล้ว มโนธาตุที่เป็นกิริยาไม่ยังภวังค์ให้เปลี่ยนไป ขอบเขตอารมณ์ที่ก้าวล่วงก็ไม่มี เพราะเหตุไร จึงเป็นเช่นนั้น เพราะอารมณ์มีกำลังอ่อน นี้เป็นโมฆวาระหนึ่งก่อน.

    ก็ถ้าว่า จิตนั้นหมุนไปสู่ภวังค์ เมื่อมโนธาตุที่เป็นกิริยายังภวังค์ให้เปลี่ยนไป จิตนั้นไม่ทันถึงโวฏฐัพพนะเลย จิตนั้นจักกลับมาตั้งอยู่ในจักขุวิญญาณหรือสัมปฏิจฉันนะ หรือสันติรณะดังนี้ ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่มีได้. แต่ว่าจิตหนึ่งดวงบ้าง สองดวงบ้าง ตั้งอยู่ในโวฏฐัพพนะเป็นไป จากนั้นก็ดำรงอยู่ในที่ชวนะได้อาเสวนะแล้วก็หยั่งลงสู่ภวังค์อีก แม้จิตนี้ก็ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ เพราะความที่อารมณ์ทุรพล แต่วาระนี้ย่อมได้ในเวลาที่กล่าวถ้อยคำมีอาทิว่า รูปนี้เหมือนข้าพเจ้าเห็นแล้ว เสียงนี้เหมือนข้าพเจ้าฟังแล้ว ดังนี้ โมฆวาระแม้นี้เป็นที่สอง.

    เมื่อมโนธาตุที่เป็นกิริยาของบุคคลอื่นอีก ยังภวังค์ให้เปลี่ยนไปแล้ววิถีจิตทั้งหลายย่อมเกิด ชวนะย่อมแล่นไป ในเวลาสุดแห่งชวนะก็เป็นวาระของตทารัมมณะ แต่ตทารัมมณะนั้นยังไม่เกิดเลย ก็หยั่งลงสู่ภวังค์ไป ในข้อนั้นมีอุปมาดังนี้

 
  ข้อความที่ 78  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 78

    เหมือนเมื่อเขาสร้างทำนบกั้นแม่น้ำทำให้น้ำไหลบ่าไปสู่เหมืองใหญ่ น้ำย่อมไหลบ่าไปเต็มขอบคันในฝั่งทั้งสอง แล้วก็ล้นไปตามทางทั้งหลาย มีทางปูเป็นต้นแล้วก็หยั่งลงสู่แม่น้ำนั่นแหละอีก ฉันใด ข้ออุปไมยนี้พึงทราบฉันนั้นเถิด. ก็ในความข้อนี้เวลาที่ภวังควิถีเป็นไป เหมือนเวลาเป็นไปของน้ำในแม่น้ำ. เวลามโนธาตุที่เป็นกิริยายังภวังค์ให้เปลี่ยนไป เหมือนเวลาที่เขาสร้างทำนบกั้นแม่น้ำ. การที่วิถีจิตเป็นไป เหมือนเวลาที่น้ำกำลังไหลไปในเหมืองใหญ่. ชวนะเหมือนการเต็มขอบคันทั้งสองฝั่ง. การแล่นไปของชวนะแล้ว แต่ตทารมณ์ยังไม่ทันเกิดเลย จิตชวนะนั้นก็หยั่งลงสู่ภวังค์อีก เหมือนน้ำไหลจากทางทั้งหลายมีทางปูเป็นต้น แล้วไปสู่แม่น้ำอีก คลองการนับจิตที่หยั่งลงสู่ภวังค์ด้วยอาการอย่างนี้หามีไม่ แม้จิตนี้ ย่อมเป็นอย่างนี้ก็เพราะความที่อารมณ์ทุรพล นี้เป็นโมฆวาระที่สาม.

    ก็ถ้าอารมณ์ที่มีกำลังแรงมาสู่คลองไซร้ มโนธาตุที่เป็นกิริยายังภวังค์ให้เปลี่ยนไปแล้ว จิตทั้งหลายมีจักขุวิญญาณเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้น ก็ในฐานแห่งชวนะ กามาวจรกุศลจิตดวงที่หนึ่งเป็นชวนะแล้ว ก็แล่นไป ๖ - ๗ วาระ แล้วจึงให้โอกาสแก่ตทารัมมณะ ตทารัมมณะเมื่อตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่เป็นมหาวิบากจิตเช่นเดียวกับกามาวจรกุศลจิตดวงที่หนึ่งนั่นแหละ มหาวิบากจิตดวงนี้ได้มี ๒ ชื่อคือ มูลภวังค์ เพราะเป็นเหมือนจิตปฏิสนธิ และชื่อว่า ตทารัมมณะ เพราะความที่จิตนั้นรับอารมณ์ที่ชวนจิตรับมาแล้ว. ในฐานนี้วิบากจิตย่อมถึงการนับได้ ๔ อย่าง คือ จักขุวิญญาณ ๑ สัมปฏิจฉันนะ ๑ สันติรณะ ๑ ตทารัมมณะ ๑.

    อนึ่ง เมื่อใดกุศลจิตดวงที่ ๒ เป็นชวนะ เมื่อนั้นกุศลวิบากจิตดวงที่ ๒ เช่นกับกุศลจิตดวงที่สองนั้นก็ตั้งอยู่ในฐานเป็นตทารัมมณะ แม้วิปากจิตดวงที่ ๒ นี้ย่อมได้ชื่อ ๒ อย่าง คือ ชื่อว่า อาคันตุกภวังค์ เพราะไม่เป็นเช่นเดียวกับ

 
  ข้อความที่ 79  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 79

ปฏิสนธิจิต และชื่อว่า ตทารัมมณะโดยนัยก่อนนั่นแหละ วิบากจิตดวงก่อนๆ ๔ ดวง กับจิตดวงนี้รวมเป็นจิต ๕ ดวง.

    ก็เมื่อใด กุศลจิตดวงที่ ๓ เป็นชวนะ เมื่อนั้นวิบากจิตดวงที่ ๓ เช่นกับกุศลจิตนั้นก็ตั้งอยู่ในฐานเป็นตทารัมมณะ วิปากจิตดวงที่ ๓ นี้ ได้ชื่อ ๒ อย่างคือ อาคันตุกภวังค์ และตทารัมมณะโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ วิบากจิตดวงก่อนๆ ๕ ดวง กับจิตนี้ก็รวมเป็นจิต ๖ ดวง.

    อนึ่ง เมื่อใดกุศลจิตดวงที่ ๔ เป็นชวนะ เมื่อนั้นวิบากจิตดวงที่ ๔เช่นกับกุศลจิตนั้น ก็ตั้งอยู่ในฐานเป็นตทารัมมณะ วิปากจิตแม้นี้ย่อมได้ ๒ ชื่อคืออาคันตุกภวังค์ และตทารัมมณะ โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ วิบากจิตดวงก่อนๆ ๖ ดวงกับจิตดวงนี้ก็รวมเป็นจิต ๗ ดวง.

    ก็เมื่อใด อิฏฐมัชฌัตตารมณ์มาสู่คลองทวารนั้น เมื่อนั้นย่อมได้โมฆวาระ ๓ โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในอิฏฐารมณ์แม้นั้น แต่เพราะเวทนาย่อมเปลี่ยนไปตามอารมณ์ ฉะนั้น ในเวทนานั้น สันติรณะจึงสหรคตด้วยอุเบกขา. ในที่สุดแห่งมหากุศลชวนะที่สหรคตด้วยอุเบกขา ๔ ดวง มหาวิบากจิตที่สหรคตด้วยอุเบกขา ๔ ดวง ย่อมตั้งอยู่โดยความเป็นตทารัมมณะ แม้มหาวิบากจิตที่สหรคตด้วยอุเบกขา ๔ เหล่านั้น ก็ได้ชื่อ ๒ อย่าง คือ อาคันตุกภวังค์และตทารัมมณะ โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ท่านเรียกว่า ปิฏฐิภวังค์ (ภวังค์ดวงหลัง) ดังนี้ก็มี วิบากจิต ๕ ดวงกับดวงนี้ และวิบากจิต ๗ ดวงก่อนรวมเป็น ๑๒ ดวง ด้วยประการฉะนี้. วิบากจิตในจักขุทวารมี ๑๒ ดวง ในโสตทวารเป็นต้นก็มีทวารละ ๑๒ ดวง จึงรวมเป็นวิบากจิต ๖๐ ดวงถ้วนด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 80  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 80

    เมื่อกุศลเจตนาดวงหนึ่งประกอบกรรมแล้ว ย่อมยังวิบากจิต ๖๐ ถ้วนให้เกิดขึ้นด้วยประการฉะนี้ แต่ว่าเมื่อถือเอาวิบากที่ยังมิได้ถือเอา ก็ได้วิบากจิต ๑๖ ดวง คือ วิบากจิต ๑๒ ดวง เกิดในจักขุทวาร และวิบากจิต ๔ ดวงได้แก่ โสตวิญญาณ ๑ ฆานวิญญาณ ๑ ชิวหาวิญญาณ ๑ และกายวิญญาณ ๑.

    ในฐานะนี้ ท่านถือเอาเรื่องชื่อว่า อัมโพปมา คือเปรียบด้วยผลมะม่วง

    สมมติว่า บุรุษคนหนึ่งนอนคลุมศีรษะที่โคนต้นมะม่วงที่มีผลสุกแล้วหลับไป ขณะนั้นผลมะม่วงสุกผลหนึ่งหลุดจากขั้วหล่นลงพื้นดินเสียงดังเหมือนเสียดสีอยู่ซึ่งช่องหูของเขา เขาตื่นขึ้นด้วยเสียงของมะม่วงนั้นแล้วลืมตาแลดู ในทันทีนั้นจึงเหยียดมือไปหยิบผลมะม่วงบีบ สูดดมกลิ่น แล้วบริโภค.

    ในคำอุปมาเหล่านั้น เวลาที่ภวังค์พร้อมเพียงกัน พึงทราบว่าเหมือนเวลาที่บุรุษคนนั้นนอนหลับที่โคนต้นมะม่วง เวลาที่อารมณ์กระทบประสาทเหมือนเวลาที่ผลมะม่วงสุกหลุดจากขั้วตกลงเสียดสีอยู่ซึ่งช่องหู เวลาที่มโนธาตุคือกิริยายังภวังค์ให้เปลี่ยนไป เหมือนเวลาที่บุรุษนั้นตื่นขึ้นด้วยเสียงมะม่วงตกเวลาที่จักขุวิญญาณยังทัศนกิจให้สำเร็จ เหมือนเวลาบุรุษนั้นลืมตาขึ้นแลดู เวลาที่มโนธาตุซึ่งเป็นวิบากรับอารมณ์ เหมือนเวลาที่บุรุษเหยียดมือไปหยิบผลมะม่วงนั้น เวลาที่มโนวิญญาณธาตุซึ่งเป็นวิบากพิจารณาอารมณ์ เหมือนเวลาที่บุรุษหยิบมะม่วงมาบีบ เวลาที่มโนวิญญาณธาตุซึ่งเป็นกิริยากำหนดอารมณ์ เหมือนเวลาสูดดมกลิ่นมะม่วง เวลาที่ชวนจิตเสวยรสอารมณ์ เหมือนเวลาบุรุษนั้น บริโภคมะม่วง ฉะนั้น.

    ถามว่า อุปมานี้แสดงเนื้อความอะไร?

 
  ข้อความที่ 81  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 81

ตอบว่า แสดงถึงการกระทบประสาทเป็นกิจ (๑) (หน้าที่) ของอารมณ์เท่านั้น.

คือเมื่ออารมณ์นั้นมากระทบประสาทแล้ว การเปลี่ยนไปแห่งภวังค์นั้นเป็นกิจของกิริยามโนธาตุ กิจของจักขุวิญญาณมีเพียงการเห็นเท่านั้น กิจของวิบากมโนธาตุมีเพียงการรับอารมณ์เท่านั้น กิจของวิบากมโนวิญญาณธาตุมีเพียงการพิจารณาอารมณ์เท่านั้น กิจของกิริยามโนธาตุมีเพียงกำหนดอารมณ์เท่านั้น ชวนะเท่านั้นย่อมเสวยรสอารมณ์อย่างเดียว ดังนี้.

ก็ในความเป็นไปแห่งจิตนี้ ใครๆ เป็นผู้กระทำหรือผู้สั่งให้กระทำว่าท่านจงชื่อว่าภวังค์ ท่านจงชื่อว่าอาวัชชนะ ท่านจงชื่อว่าทัสสนะ (จักขุวิญญาณ) ท่านจงชื่อว่าสัมปฏิจฉันนะ ท่านจงชื่อว่าสันติรณะ ท่านจงชื่อว่าโวฏฐัพพนะ ท่านจงชื่อว่าชวนะ ท่านจงชื่อว่าตทาลัมพนะ ดังนี้ มิได้มี. (เพื่อความแจ่มแจ้งจึงแสดงถึงนิยาม ๕)

ว่าด้วยนิยาม ๕ อย่าง

ก็ในฐานะนี้ท่านถือเอาเรื่องชื่อนิยาม ๕ อย่าง คือ พีชนิยาม (ความแน่นอนของพืช)


(๑) ท่านแสดงกิจทั้งหมดมี ๑๔ ที่นี่แสดงไว้ ๘ คือ

๑. การกระทบประสาทเป็นกิจของอารมณ์

๒. การรำพึงถึงอารมณ์เป็นกิจของอาวัชชนะ

๓. การเห็นเป็นกิจของจักขุวิญญาณ

๔. การรับอารมณ์เป็นกิจของสัมปฏิจฉันนะ

๕. การพิจารณาเป็นกิจของสันติรณะ

๖. การตัดสินอารมณ์เป็นกิจของโวฏฐัพพนะ

๗. การเสวยรสอารมณ์เป็นกิจของชวนะ

๘. การเสวยรสอารมณ์ที่เหลือจากชวนะเป็นกิจของตทารัมมณะ

 
  ข้อความที่ 82  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 82

อุตุนิยาม (ความแน่นอนของฤดูกาล)

กรรมนิยาม (ความแน่นอนของกรรม)

ธรรมนิยาม (ความแน่นอนของธรรม)

จิตนิยาม (ความแน่นอนของจิต).

บรรดานิยาม ๕ เหล่านั้น ความที่พืชนั้นๆ ให้ผลเหมือนกันกับพืชนั้น คือ ความที่กอถั่วพูชนิดหนึ่งทอดยอดไปทางซ้าย (๑) เถาวัลย์ไปทางขวาพันล้อมต้นไม้ไปทางขวา ดอกทานตะวันหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เถาย่านทรายมุ่งหน้าไปเฉพาะต้นไม้อย่างเดียว ผลมะพร้าวมีรูข้างบน ชื่อว่า พีชนิยาม (โยชนาว่า เป็นธรรมดาของพืช) ความที่ต้นไม้นั้นๆ ผลิดอกออกผลและมีใบอ่อนพร้อมๆ กันในสมัยนั้นๆ ชื่อว่า อุตุนิยาม ความที่กรรมนั้นๆ ให้ผลเช่นเดียวกันกับกรรมนั้นๆ อย่างนี้คือ กรรมที่ประกอบด้วยกุศลเหตุ ๓ ย่อมให้วิบากเป็นติเหตุกะ ทุเหตุกะ และอเหตุกะ กรรมที่ประกอบด้วยกุศลเหตุ ๒ ย่อมให้วิบากเป็นทุเหตุกะ และอเหตุกะ ไม่ให้วิบากเป็นติเหตุกะชื่อว่า กรรมนิยาม.

อีกอย่างหนึ่ง เป็นกรรมนิยามด้วยอำนาจแห่งวิบากเหมือนกับกรรมนั่นแหละ เพื่อแสดงกรรมนิยามนั้น ท่านอาจารย์ทั้งหลายกล่าวเรื่องไว้ดังนี้

ในสมัยแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บ้านใกล้ประตูพระนครสาวัตถีถูกไฟไหม้ กระจุกหญ้า (๒) ติดไฟโพลงแต่บ้านไฟไหม้นั้น ขึ้นไปสวมคอกาตัวบินทางอากาศ กานั้นร้องตกตายในแผ่นดิน.

เรือลำหนึ่งได้หยุดนิ่งลอยอยู่แม้ในมหาสมุทร เมื่อพวกเขาไม่เห็นทางที่ใครๆ จะปลอดภัยจากอันตรายในภายใต้ จึงใคร่ครวญจับสลากคนกาลกรรณี


(๑) หันหน้าไปทางทิศตะวันออกก็เป็นซ้ายมือ หรือเรียกว่า ทิศอุดร.

(๒) กระจุกหญ้าที่เขามัดทำวงกลมรองหม้อ

 
  ข้อความที่ 83  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 83

สลากนั้นได้ตกไปในมือหญิงภรรยาใกล้ชิดของนายเรือนั้นเท่านั้น ทีนั้น ชนทั้งหลายจึงพูดว่า ขอคนทั้งหมดอย่าพากันฉิบหายเพราะเหตุแห่งหญิงคนเดียว พวกเราจักโยนเขาไปในน้ำ นายเรือพูดว่า เราไม่อาจเห็นหญิงนี้ลอยอยู่ในน้ำได้ จึงให้เอาหม้อบรรจุทรายผูกติดคอโยนลงไป ในขณะนั้นนั่นเอง เรือก็แล่นไปดุจลูกศรที่ยิงไป ฉะนั้น.

    ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในถ้ำ ยอดภูเขาใหญ่ตกมาปิดประตูถ้ำ ในวันที่ ๗ยอดเขานั้นก็เปิดเองทีเดียว.

    พวกภิกษุกราบทูลเรื่องทั้ง ๓ นี้ แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ประทับนั่งแสดงธรรมในพระเชตวัน คราวเดียวกันทั้งหมด พระศาสดาตรัสว่า นั่นมิใช่ผู้อื่นกระทำ นั่นเป็นกรรมอันเขานั่นแหละทำแล้ว ดังนี้ เมื่อจะทรงนำเรื่องอดีตมาแสดงธรรม จึงตรัสว่า กาเป็นมนุษย์ในอัตภาพก่อน ไม่อาจเพื่อฝึกโคโกงตัวหนึ่ง จึงได้ผูกเขน็ดฟางสวมคอโคจุดไฟ โคนั้นตายด้วยเหตุนั้นแหละบัดนี้ กรรมนั้นจึงไม่ปล่อยกานั้นแม้บินอยู่ทางอากาศ. แม้หญิงนี้ก็เป็นหญิงคนหนึ่งนั่นแหละในอัตภาพก่อน สุนัขตัวหนึ่งคุ้นเคยกัน เมื่อเธอไปป่าก็ไปด้วย เมื่อมาก็มาด้วย พวกมนุษย์ทั้งหลายผู้ออกไปย่อมเยาะเย้ยเธอว่า บัดนี้ พรานสุนัขออกแล้ว ดังนี้ นางอึดอัดอยู่ด้วยสุนัขนั้น เมื่อไม่อาจห้ามสุนัขได้ จึงเอาหม้อใส่ทรายผูกคอแล้วเหวี่ยงไปในน้ำ กรรมนั้นจึงไม่ปล่อยเธอในท่ามกลางสมุทร. แม้ภิกษุนั้นก็เป็นนายโคบาลในอัตภาพก่อน เมื่อเหี้ยเข้าไปในรูก็หักกิ่งไม้กำมือหนึ่งปิดรูเสีย หลังจากนั้นมา ๗ วัน เขาจึงมาเปิดรูเองทีเดียวเหี้ยตัวสั่นออกมา ด้วยกรุณาเขาจังไม่ฆ่ามัน กรรมนั้นไม่ให้เพื่อจะปล่อยภิกษุนั้นผู้เข้าไปยังซอกเขานั่งอยู่.

    เมื่อทรงประชุมเรื่องทั้ง ๓ เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

 
  ข้อความที่ 84  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 84

    น อนฺตลิกฺเข น สมุทฺทมชฺเฌ

    น ปพฺพตานํ วิวรํ ปวิสฺส

    น วิชฺชเต โส ชคติปฺปเทโส

    ยตฺรฏฺิโต มุจฺเจยฺย ปาปกมฺมา

    ไม่ว่าในที่ใดๆ ในอากาศ ในกลางทะเลหรือในซอกเขา ส่วนภูมิประเทศที่สัตว์สถิตอยู่แล้ว จะพึงพ้นไปจากบาปกรรมได้ไม่มี ดังนี้.

    นี้ ก็ชื่อว่า กรรมนิยาม เหมือนกัน. เรื่องอื่นๆ แม้เช่นนี้ก็ควรแสดง.

    อนึ่ง ในเวลาที่พระโพธิสัตว์ทั้งหลายทรงถือปฏิสนธิ ในเวลาทรงออกจากครรภ์พระมารดา ในเวลาที่ตรัสรู้อภิสัมโพธิญาณ ในเวลาที่พระตถาคตทรงประกาศพระธรรมจักร ในเวลาที่ทรงปลงอายุสังขาร ในเวลาที่เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน หมื่นจักรวาลหวั่นไหว นี้ชื่อว่า ธรรมนิยาม.

    อนึ่ง เมื่ออารมณ์กระทบประสาท ใครๆ เป็นผู้กระทำ หรือสั่งให้กระทำว่า เจ้าจงชื่อว่า อาวัชชนะ ฯลฯ เจ้าจงชื่อว่า ชวนะ ดังนี้ มิได้มีก็ว่าโดยธรรมดาของตนตั้งแต่เวลาที่อารมณ์กระทบประสาทแล้ว จิตที่เป็นกิริยามโนธาตุก็ยังภวังค์ให้เปลี่ยนไป จักขุวิญญาณก็ทำทัสสนกิจ (หน้าที่เห็น) วิบากมโนธาตุก็ทำสัมปฏิจฉันนกิจ (หน้าที่รับอารมณ์) วิบากมโนวิญญาณธาตุก็ทำสันติรณกิจ (หน้าที่พิจารณาอารมณ์) กิริยามโนวิญญาณธาตุก็ทำโวฏฐัพพนกิจ (หน้าที่ตัดสินอารมณ์) ชวนะเสวยรสแห่งอารมณ์ ดังนี้ นี้ชื่อว่าจิตนิยาม ในอธิการนี้ ทรงประสงค์เอาจิตนิยามนี้.

 
  ข้อความที่ 85  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 85

    กุศลจิตประกอบด้วยติเหตุกะเป็นสสังขาริกก็ดี กุศลจิตที่ประกอบด้วยอสังขาริกและสสังขาริกสหรคตด้วยอุเบกขาก็ดี ประกอบ (ทำ) กรรมแล้วปฏิสนธิอันวิบากจิตเช่นเดียวกับจิตที่ทำกรรมแล้วนั้นให้ผลแล้ว ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ก็จิตสหรคตด้วยอุเบกขา ๒ ดวง บัณฑิตพึงแสดงความเป็นไปครั้งแรกด้วยอำนาจอิฏฐมัชฌัตตารมณ์ ภายหลังจึงควรแสดงด้วยอำนาจอิฏฐารมณ์. ในทวารแต่ละทวารเป็นวิบากจิตทวารละ ๑๒ ดวง รวมเป็นจิต ๖๐ ดวงถ้วนแม้ด้วยประการฉะนี้. เมื่อว่าโดยการถือเอาวิบากจิตที่ยังมิได้ถือเอาก็ได้วิบากจิต ๑๖ ดวง.

อุปมาวิบาตจิตเปรียบด้วยคนหีบอ้อย

    ในฐานะนี้ท่านถือเอาเรื่อง ชื่อว่า นาฬิยันโตปมะ เปรียบด้วยนัยว่าในเวลาที่คั้นอ้อยมีคนหีบอ้อย ๑๑ คน ถือเครื่องคั้นอ้อยออกจากบ้านหนึ่งพบแหล่ง (ศูนย์รวม) อ้อยแห่งหนึ่ง ทราบว่าอ้อยนั้นแก่แล้ว จึงเข้าไปหาเจ้าของอ้อยแล้วพูดว่า พวกเรารับจ้างหีบอ้อย เจ้าของอ้อยตอบว่า เรากำลังหาพวกท่านเหมือนกัน แล้วพาชนเหล่านั้นไปโรงหีบอ้อย พวกคนรับจ้างเหล่านั้นตระเตรียมเครื่องหีบอ้อยแล้วพูดว่า พวกเรามี ๑๑ คน ได้อีกหนึ่งคนกะจะได้รับค่าจ้างพอดี เจ้าของอ้อยพูดว่า เรานี้แหละเป็นสหายช่วยท่าน แล้วขนอ้อยไปเต็มโรงจึงได้เป็นสหายช่วยเหลือชนเหล่านั้น ชนเหล่านั้นทำกิจของตนๆ เคี่ยวน้ำอ้อยข้นทำเป็นงบน้ำอ้อยแล้ว เมื่อเจ้าของพิจารณาให้ส่วนแบ่งแล้วก็ถือเอาส่วนของตนๆ มอบโรงอ้อยให้แก่เจ้าของโดยอุบายนี้แหละ ทำการงานโรงอ้อย ๔ หลัง อื่นอีกแล้วหลีกไป.

    ในข้อนั้น ประสาททั้ง ๕ พึงเห็นเหมือนโรงเครื่องยนต์ ๕ แห่ง อารมณ์ ๕ พึงเห็นเหมือนแหล่งอ้อย ๕ แห่ง วิบากจิต ๑๑ ดวง พึงเห็นเหมือน

 
  ข้อความที่ 86  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 86

คนรับจ้างหีบอ้อย ๑๑ คน เที่ยวไป วิญญาณ ๕ พึงเห็นเหมือนเจ้าของโรงหีบอ้อย ๕ คน. เวลาที่วิบากจิต ๑๑ ดวง ร่วมกับจักขุวิญญาณทำกิจของตนๆ ในรูปารมณ์ทางจักขุทวาร พึงเห็นเหมือนเวลาคนรับจ้างหีบอ้อย ๑๑ คนร่วมกับเจ้าของโรงหีบอ้อยในโรงแรก แล้วถือเอาส่วนงานที่กระทำ เวลาที่จักขุวิญญาณไม่ล่วงทวารไป พึงเห็นเหมือนเวลาที่เจ้าของโรงอ้อยรับอ้อยไว้ในโรง. เวลาที่วิบากจิต ๑๑ ดวง ร่วมกับกายวิญญาณ ทำกิจของตนๆ ในโผฏฐัพพารมณ์ทางกายทวาร การไม่ก้าวก่ายทวารของกายวิญญาณ พึงทราบเหมือนเวลาที่เจ้าของโรงอ้อยรับอ้อยไว้ในโรง. วาระที่ท่านกล่าวไว้ว่า ติเหุตกปฏิสนธิ (ปฏิสนธิประกอบด้วยเหตุ ๓) ย่อมมีด้วยกรรมอันประกอบด้วยเหตุ ๓ มีเพียงเท่านี้ ส่วนทุเหตุกปฏิสนธิ มีด้วยกรรมอันเป็นติเหตุกะนั้น ยังลี้ลับนัก (๑)

ว่าด้วยทุเหตุกปฏิสนธิมีกรรมเป็นทุเหตุกะ

บัดนี้ ควรกล่าววาระที่ว่า ทุเหตุกปฏิสนธิ ย่อมมีด้วยกรรมอันเป็นทุเหตุกะ จริงอยู่ เมื่ออสังขาริกจิตสหรคตด้วยโสมนัสทำกรรมแล้ว สัตว์ผู้ถือปฏิสนธิด้วยวิบากจิตที่เป็นทุเหตุกะเช่นเดียวกับจิตที่เป็นอลังขาริกสหรคตด้วยโสมนัสทำกรรมนั้นนั่นแหละมี ๓ โมฆวาระในอิฏรารมณ์ที่มาสู่คลองจักขุวารโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นเอง ในที่สุดลงแห่งอสังขาริกชวนจิตที่สหรคตด้วยโสมนัสที่เป็นทุเหตุกะ ตทารัมมณะ กล่าวคือมูลภวังค์เช่นเดียวกับจิตที่ทำกรรมนั่นแหละก็เกิดขึ้น. ในที่สุดลงแห่งสสังขาริกชวนจิต ตทารมณ์กล่าวคืออาคันตุกภวังค์เช่นเดียวกับจิตที่ทำกรรมนั่นแหละก็เกิดขึ้น. ในที่สุดลงแห่งชวนจิตที่สหรคตด้วยอุเบกขา ๒ ดวง ในอิฏฐมัชฌัตตารมณ์เท่านั้น ตทารมณ์ ๒ ดวง เช่นเดียวกับจิตที่ทำกรรมนั้นแหละเกิดขึ้น. ในอธิการนี้เท่านั้น ทวาร


(๑) ไม่ปรากฏเลย.

 
  ข้อความที่ 87  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 87

แต่ละทวาร แบ่งจิตทวารละ ๘ ดวง จึงรวมเป็นจิต ๔๐ ดวงถ้วน. แต่เมื่อถือเอาจิตที่ยังมิได้ถือเอา ก็ได้จิตในจักขุทวาร ๘ ดวง อีก ๔ ดวง คือ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ และกายวิญญาณ จึงรวมเป็นจิต ๑๒ ดวง เมื่อเจตนาดวงเดียวประกอบกรรมแล้วย่อมให้วิบากจิต ๑๒ ดวง เกิดขึ้นได้ด้วยประการฉะนี้ กถาว่าด้วยการเปรียบด้วยผลมะม่วง และนิยาม ๕ เป็นไปตามปกตินั่นแล. แม้ในปฏิสนธิที่สัตว์ถือเอาด้วยวิบากเช่นเดียวกับทุเหตุกจิตที่เหลือ ก็นัยนี้เหมือนกัน อนึ่ง ในทุเหตุกปฏิสนธินี้ ว่าโดยการเปรียบกับคนหีบอ้อย ก็ได้คนหีบอ้อย ๗ คน ในการอุปมานั้น พึงทราบการประกอบโดยทำนองแห่งนัยที่กล่าวกระทำคนรับจ้างหีบอ้อย ๗ คนนั้น ตระเตรียมเครื่องหีบอ้อยแล้วทำเจ้าของอ้อยให้เป็นคนที่ ๘ นั่นแหละ ข้าพเจ้ากล่าววาระที่ว่าทุเหตุกปฏิสนธิ ย่อมมีด้วยกรรมอันเป็นทุเหตุกะไว้ด้วยคำเพียงเท่านี้

ว่าด้วยอเหตุกปฏิสนธิ

    บัดนี้ เป็นกถาว่าด้วยอเหตุกปฏิสนธิ อธิบายว่า เมื่อกรรมอันกุศลจิตที่เป็นทุเหตุกะ ๔ ดวงทำแล้ว ปฏิสนธิของสัตว์ผู้ถือเอาด้วยจิตที่เป็นอเหตุกมโนวิญญาณธาตุสหรคตด้วยอุเบกขาเป็นกุศลวิบาก ไม่ควรกล่าวว่าเป็นเช่นเดียวกับกรรมที่ให้ปฏิสนธิ เพราะกรรมเป็นทุเหตุกะ (ประกอบด้วยเหตุ ๒) ปฏิสนธิเป็นอเหตุกะ (จิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ) . เมื่อบุคคลผู้ปฏิสนธิด้วยอเหตุกจิตนั้นถึงความเจริญขึ้นแล้ว เมื่ออิฏฐมัชฌัตตารมณ์มาสู่คลองประสาทในจักขุทวารแล้ว ก็พึงทราบโมฆวาระ ๓ วาระ โดยนัยก่อนนั่นแหละ แต่เมื่อกุศลจิตที่เป็นทุเหตุกะดวงใดดวงหนึ่งเป็นชวนะสิ้นสุดลง อเหตุกะจิตก็ตั้งอยู่ในความเป็นตทารัมมณะ อเหตุกจิตนั้นได้ชื่อ ๒ อย่างคือ มูลภวังค์ และตทารัมมณะ ในอเหตุกจิตนี้ จิต ๔ ดวง คือ จักขุวิญญาณ สัมปฏิจฉันนะ สันติรณะ

 
  ข้อความที่ 88  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 88

ที่สหรคตด้วยอุเบกขา แม้ตทารัมมณะก็สหรคตด้วยอุเบกขาเหมือนกัน ย่อมมีด้วยประการฉะนี้ ในจิต ๔ เหล่านั้น ถือเอาดวงหนึ่ง ก็เหลือ ๓ ดวงเท่านั้นที่เข้าถึงการนับเอา. แต่ในอิฏฐารมณ์ สันติรณะก็ดี ตทารัมมณะก็ดี ย่อมสหรคตด้วยโสมนัสได้เหมือนกัน บรรดาจิตเหล่านั้น วิบากจิต ๓ ดวงก่อนรวมกับดวงหนึ่งก็เป็นวิบากจิต ๔ ดวง เมื่อเจตนาดวงหนึ่งทำกรรมในทวาร ๕ ทวารละ ๔ ดวง พึงทราบว่า ย่อมยังวิบากจิต ๒๐ ดวงให้เกิดขึ้น แต่เมื่อถือเอาธรรมที่ยังมิได้ถือเอาก็ได้วิบากจิต ๔ ดวงในจักขุทวาร โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ และกายวิญญาณรวมเป็นวิบากจิต ๘ ดวง นี้ชื่อว่า อเหตุกจิต ๘ ดวง. อเหตุกจิต ๘ ดวงนี้ ทรงถือเอามนุษยโลก.

    ส่วนในอบาย ๔ ย่อมได้จิต ๘ ดวงนี้ในปวัตติกาล

    จริงอยู่ เมื่อใด พระมหาโมคคัลลานเถระเนรมิตดอกปทุมในนรกนั่งอยู่ที่กลีบดอกปทุมแสดงธรรมกถาแก่พวกสัตว์นรก เมื่อนั้นจักขุวิญญาณซึ่งเป็นกุศลวิบากก็เกิดขึ้นแก่พวกเขาผู้เห็นพระเถระ เมื่อฟังเสียงโสตวิญญาณกุศลวิบากก็เกิด เมื่อพระเถระไปนั่งพักผ่อนกลางวันที่ป่าไม้จันทน์ ฆานวิญญาณก็เกิดในเวลาสูดกลิ่นจีวร ในเวลาบันดาลฝนให้ตกดับไฟนรกแล้วได้ดื่มน้ำที่ควรดื่ม ชิวหาวิญญาณกุศลวิบากก็เกิด ในเวลาที่บันดาลให้ลมพัดมาอ่อนๆ กายวิญญาณกุศลวิบากก็เกิดขึ้น วิญญาณมีจักขุวิญญาณเป็นต้นอย่างนี้ ๕ ดวงสัมปฏิจฉันนะ ๑ ดวง สันติรณะ ๒ ดวง เพราะฉะนั้นจึงได้อเหตุกจิต ๘ ดวง.

    ปฏิสนธิแม้ของพวกนาค ครุฑและเวมานิกเปรตย่อมมีด้วยอกุศล แต่กุศลย่อมให้ผลในปวัตติกาล ปฏิสนธิของช้างม้ามงคลเป็นต้นของพระเจ้าจักรพรรดิก็เหมือนกัน นี้เป็นการประพันธ์ถ้อยคำด้วยอำนาจแห่งกุศลชวนะในอิฏฐมัชฌัตตารมณ์ทั้งหลายก่อน. แต่ในอิฏฐารมณ์เมื่ออกุศลจิตที่สหรคตด้วย

 
  ข้อความที่ 89  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 89

โสมนัส ๔ ดวง เสพชวนะแล้ว อเหตุกจิตสหรคตด้วยโสมนัสที่เป็นกุศลวิบากย่อมเป็นตทารัมมณะ ในอิฏฐมัชฌัตตารมณ์ จิต ๔ ดวงที่สัมปยุตด้วยโลภะสหรคตด้วยอุเบกขาเสพชวนะแล้ว อเหตุกจิตสหรคตด้วยอุเบกขากุศลวิบากเป็นตทารัมมณะ ก็คำใดที่ท่านกล่าวว่า ตทารัมมณะ อันชวนะพึงกำหนดดังนี้ คำนั้นพึงทราบว่า ท่านกล่าวหมายถึงกุศล.

    ถามว่า ตทารัมมณะเมื่อเกิดขึ้นในลำดับแห่งชวนะ สหรคตด้วยโทมนัสย่อมเกิดจิตอะไร.

    ตอบว่า จิตที่เป็นอเหตุกมโนวิญญาณธาตุฝ่ายอกุศลวิบากย่อมเกิดขึ้น.

    ถามว่า ก็ชวนะนี้ สภาวะอะไร ย่อมกำหนดไว้โดยความเป็นกุศลหรืออกุศล.

    ตอบว่า อาวัชชนะ และโวฏฐัพพนะย่อมกำหนด.

    จริงอยู่ เมื่ออาวัชชนะเปลี่ยนมาโดยแยบคายแล้ว โวฏฐัพพนะกำหนดโดยไม่แยบคาย ชวนะจักเป็นอกุศล ดังนี้ ข้อนี้เป็นไปไม่ได้ เมื่ออาวัชชนะเปลี่ยนมาโดยไม่แยบคายแล้ว โวฏฐัพพนะกำหนดโดยแยบคาย ชวนะจักเป็นกุศล ดังนี้ ข้อนี้ก็เป็นไปไม่ได้. แต่เมื่ออาวัชชนะและโวฏฐัพพนะทั้ง ๒ เปลี่ยนมากำหนดโดยแยบคาย พึงทราบว่า ชวนะเป็นกุศล ถ้าไม่แยบคายก็เป็นอกุศล.

    ถามว่า ในอิฏฐารมณ์ เมื่อความสงสัย และอุทธัจจะเกิดขึ้น ตทารัมมณะย่อมเป็นจิตอะไร?

    ตอบว่า ในอิฏฐารมณ์ ความสงสัยจะมีก็ตามไม่มีก็ตาม หรืออุทธัจจะจะมีก็ตามไม่มีก็ตาม โสมนัสจิตอเหตุกะฝ่ายกุศลวิบากเท่านั้นย่อมเป็นตทารมณ์ ในอิฏฐมัชฌัตตารมณ์ จิตสหรคตด้วยอุเบกขาอเหตุกะฝ่ายกุศลวิบาก

 
  ข้อความที่ 90  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 90

เป็นตทารมณ์ ก็ในการกำหนดตทารมณ์นี้ การแสดงเนื้อความโดยสังเขปนี้ชื่อว่าเป็นวาทะของพระมหาธรรมรักขิตเถระ. ก็เมื่อชวนะอันสหรคตด้วยโสมนัสเสพอารมณ์แล่นไปแล้ว พึงแสวงหาตทารัมมณจิตที่สหรคตด้วยโสมนัส ๕ ดวง เมื่อชวนะที่สหรคตด้วยอุเบกขาเสพอารมณ์แล่นไปแล้ว พึงแสวงหาจิต ๖ ดวง ที่สหรคตด้วยอุเบกขาแล.

    ถามว่า ก็ในกาลใด เมื่อบุคคลผู้ถือปฏิสนธิสหรคตด้วยโสมนัสยังฌานให้เกิดในปวัตติกาลแล้ว มีฌานอันเสื่อมแล้วด้วยความประมาท พิจารณาอยู่ว่าธรรมอันประณีตของเราฉิบหายแล้ว ดังนี้ โทมนัสย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปฏิสาร ในกาลนั้น จิตอะไรย่อมเกิดขึ้น เพราะในคัมภีร์ปัฏฐานท่านปฏิเสธว่า โทมนัสย่อมไม่เกิดในลำดับแห่งโสมนัส และโสมนัสย่อมไม่เกิดในลำดับแห่งโทมนัส เมื่อชวนจิตเสพอารมณ์แล้ว แม้ตทารมณ์ก็ปฏิเสธไว้ในคัมภีร์ปัฏฐานนั้น เหมือนกัน.

    ตอบว่า อเหตุกมโนวิญญาณธาตุเป็นกุศลวิบาก หรืออกุศลวิบาก ที่สหรคตด้วยอุเบกขา ย่อมเกิดขึ้น.

    ถามว่า จิตอะไร เป็นอาวัชชนะของอเหตุกมโนวิญญาณธาตุนั้น.

    ตอบว่า อาวัชชนกิจของอเหตุกมโนวิญญาณธาตุนั้นไม่มีเหมือนความไม่มีแห่งอาวัชชนะของภวังค์ อเหตุกมโนวิญญาณธาตุเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นเพราะความที่ตนน้อมไปในอารมณ์ เพราะความที่อารมณ์ตนเคยเสพ และเพราะความที่ตนเองเสพอารมณ์อยู่เสมอ.

    ถามว่า อเหตุกมโนวิญญาณธาตุนี้ ย่อมเกิดอย่างไร?

    ตอบว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะที่เป็นอนันตรปัจจัยแก่นิโรธ (คือดับจิตและเจตสิก) ๑ จิตที่ประกอบด้วยผลสมาบัติ ของบุคคลผู้ออก

 
  ข้อความที่ 91  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 91

จากนิโรธ ๑ อริยมรรคจิต ๑ ผลจิตที่เป็นลำดับแห่งมรรค ๑ ไม่มีอาวัชชนะย่อมเกิดได้ ฉันใด แม้เมื่ออาวัชชนะ (คือการพิจารณาอารมณ์) ไม่มีอยู่ อเหตุกมโนวิญญาณธาตุทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นด้วยการน้อมไปด้วยความเคยเสพและด้วยความที่เสพอยู่เสมอ ฉันนั้น.

    จริงอยู่ จิตเว้นจากอาวัชชนะ (คือการพิจารณาอารมณ์) ย่อมเกิดขึ้นได้ แต่จิตนั้นเว้นจากอารมณ์ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้.

    ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น อะไรเล่า เป็นอารมณ์ของจิตนี้.

    ตอบว่า ได้แก่ ธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในปริตธรรมมีรูปเป็นต้นจริงอยู่ ในปริตธรรมมีรูปเป็นต้นนั้น อารมณ์ใดมาสู่คลองในสมัยนั้นนั่นแหละพึงทราบว่า จิตนี้เกิดขึ้นปรารภอารมณ์นั้น.

    บัดนี้ เพื่อความแจ่มแจ้งแห่งจิตเหล่านี้แม้ทั้งหมด ท่านจึงกล่าวนัยปกิณกะไว้ว่า

    สุตฺตํ โทวาริโก จ คามิลโก อมฺโพ โกลิยเกน จ

    ชจฺจนฺโธ ปีสปฺปี จ วิสยคาโห จ อุปนิสฺสยมตฺถโส

    เรื่องใยแมลงมุม ๑ เรื่องนายทวาร ๑ เรื่องเด็กชาวบ้าน ๑ เรื่องมะม่วงกับเจ้าของโรงหีบอ้อย ๑ เรื่องชายบอดกับคนเปลี้ย ๑ เรื่องการรับอารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัยเป็นประโยชน์ ๑.

จิตเปรียบด้วยแมลงมุมชักใยเป็นต้น

    บรรดาปกิณกนัยมีเรื่องแมลงมุมเป็นต้นเหล่านั้น พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า สุตฺตํ (ใยแมลงมุม) ต่อไป.

 
  ข้อความที่ 92  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 92

    ก็แมลงมุมริมทางตัวหนึ่งขึงใยไป ๕ ทิศ ทำข่ายแล้วนอนอยู่ตรงกลางเมื่อใยที่ขึงไปในทิศแรกถูกกระทบด้วยสัตว์เล็กๆ หรือตั๊กกระแตนหรือแมลงวันมันก็จะเคลื่อนออกจากที่เป็นที่นอนไปตามสายใยเจาะศีรษะดูดเลือดของสัตว์นั้นแล้วกลับมานอน ณ ท่ามกลางใยนั้นนั่นแหละอีก แม้ในเวลาที่ทิศที่ ๒ เป็นต้นถูกกระทบแล้วก็กระทำเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ

    ในข้อนั้น ประสาททั้ง ๕ พึงทราบว่า เหมือนใยแมลงมุมที่ขึงไป๕ ทิศ. จิตเหมือนแมลงมุมนอนในท่ามกลาง. เวลาที่อารมณ์มากระทบประสาทเหมือนเวลาที่สัตว์เล็กๆ เป็นต้นมากระทบใยแมลงมุม. เวลาที่กิริยามโนธาตุรับอารมณ์ที่กระทบประสาทแล้วยังภวังค์ให้เปลี่ยนไป เหมือนการไหวของแมลงมุมซึ่งนอนท่ามกลาง. ความเป็นไปของวิถีจิต เหมือนเวลาการไปตามสายใยของแมลงมุม. เวลาที่ชวนจิตเสพอารมณ์ เหมือนการเจาะศีรษะดูดเลือด. การที่จิตอาศัยหทัยวัตถุเป็นไป เหมือนแมลงมุมกลับมานอนในท่ามกลางใยอีก.

    ถามว่า ความอุปมานี้ ย่อมแสดงให้ทราบอะไร?

    ตอบว่า ย่อมแสดงให้ทราบว่า เมื่ออารมณ์กระทบประสาทแล้ว จิตที่อาศัยหทัยรูปเกิด ย่อมเกิดขึ้นก่อนกว่าจิตที่อาศัยประสาทรูปเกิด คือ ย่อมอธิบายให้ทราบว่า อารมณ์แต่ละอารมณ์ย่อมมาสู่คลองในทวารทั้งสอง ดังนี้.

จิตเปรียบด้วยนายทวารเป็นต้น

    พระราชาพระองค์หนึ่งบรรทมหลับอยู่บนแท่นบรรทม มหาดเล็กของพระองค์ นั่งถวายงานนวดพระยุคลบาทอยู่ มีนายทวารหูหนวกยืนอยู่ที่พระทวารมีทหารยามเฝ้าอยู่ ๓ คน ยืนเรียงตามลำดับ ครั้งนั้น มีชาวชนบทคนหนึ่งถือเครื่องบรรณาการมาเคาะประตูเรียก นายทวารหูหนวกไม่ได้ยินเสียงมหาดเล็กผู้ถวายงานนวดพระยุคลบาทจึงให้สัญญาณ เขาจึงเปิดประตูด้วยสัญญาณนั้น

 
  ข้อความที่ 93  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 93

มองดู ทหารยามคนที่หนึ่งจึงรับเครื่องบรรณาการแล้วส่งให้คนที่ ๒ คนที่ ๒ ส่งให้คนที่ ๓ คนที่ ๓ ทูลเกล้าถวายพระราชา พระราชาจึงเสวย.

    ในข้อนั้น ชวนจิต พึงเห็นเหมือนพระราชาพระองค์นั้น อาวัชชนจิตเหมือนมหาดเล็กผู้นวดพระบาท. จักขุวิญญาณ เหมือนนายประตูหูหนวก. วิถีจิต ๓ ดวงมีสัมปฏิจฉันนะเป็นต้น เหมือนนายทหารยาม ๓ คน. การที่อารมณ์มากระทบประสาท เหมือนชาวชนบทถือเครื่องราชบรรณาการมาเคาะประตูเรียกเวลาที่กิริยามโนธาตุเปลี่ยนมาแต่ภวังค์ เหมือนเวลาที่มหาดเล็กผู้นวดพระยุคลบาทให้สัญญาณ. เวลาที่จักขุวิญญาณทำกิจเห็นอารมณ์ เหมือนเวลาที่นายประตูหูหนวกเปิดประตูด้วยสัญญาณที่มหาดเล็กให้สัญญานั้น. เวลาที่วิบากมโนธาตุทำสัมปฏิจฉันนกิจ คือรับอารมณ์ เหมือนเวลาทหารยามคนที่หนึ่งรับบรรณาการ. เวลาที่วิบากมโนวิญญาณธาตุทำสันติรณกิจ คือการพิจารณาอารมณ์ เหมือนเวลาที่ทหารยามคนที่หนึ่งส่งบรรณาการให้ทหารยามคนที่สองแล้ว. เวลาที่กิริยามโนวิญญาณธาตุทำโวฏฐัพพนกิจ คือ การกำหนดอารมณ์เหมือนเวลาที่ทหารยามคนที่สามทูลถวายบรรณาการแด่พระราชา. เวลาที่ชวนะทำชวนกิจ คือ เสวยรสอารมณ์ เหมือนเวลาที่พระราชาเสวยเครื่องบรรณาการฉะนั้น.

    ถามว่า อุปมานี้ ย่อมแสดงให้ทราบอะไร?

    ตอบว่า ย่อมแสดงให้ทราบถึงคำนี้ว่า กิจของอารมณ์มีเพียงกระทบประสาทเท่านั้น. กิจของกิริยามโนธาตุมีเพียงรู้ว่ามีอารมณ์มากระทบภวังค์ กิจทั้งหลายของจักขุวิญญาณเป็นต้น เป็นเพียงการเห็นอารมณ์ การรับอารมณ์ การพิจารณาอารมณ์ และการกำหนดอารมณ์เท่านั้น ชวนจิตเท่านั้นย่อมเสวยรสอารมณ์โดยส่วนเดียว ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 94  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 94

จิตเปรียบด้วยเด็กชาวบ้าน

คำว่า เด็กชาวบ้าน คือ พวกเด็กชาวบ้านเป็นอันมากย่อมเล่นฝุ่นที่ระหว่างทาง บรรดาพวกเด็กเหล่านั้น กหาปณะกระทบมือของเด็กคนหนึ่งเด็กคนนั้นพูดว่า นั่นอะไร กระทบมือของเรา ดังนี้. ลำดับนั้น เด็กคนหนึ่งจึงพูดว่า นั่นสีขาว ดังนี้. อีกคนหนึ่งก็ถือไว้มั่นคงพร้อมกับฝุ่น คนอื่นพูดว่านั่นสี่เหลี่ยมหนา คนอื่นอีกพูดว่า นั่นกหาปณะ ลำดับนั้น พวกเขาจึงนำเหรียญกหาปณะนั้นมาให้มารดา มารดาก็นำไปใช้ในการงาน.

    ในข้อนั้น ความเป็นไปของภวังคจิต พึงเห็นเหมือนเวลาที่พวกเด็กมากด้วยกันนั่งเล่นในระหว่างทาง. เวลาที่ประสาทถูกอารมณ์กระทบแล้วเหมือนเวลาที่กหาปณะกระทบมือ. เวลาที่กิริยามโนธาตุยังภวังค์ให้เปลี่ยนไปรับอารมณ์นั้นเหมือนเวลาที่เด็กคนหนึ่งพูดว่า นั่นอะไร. เวลาที่จักขุวิญญาณทำทัสสนกิจเหมือนเวลาที่เด็กคนหนึ่งพูดว่า นั่นสีขาว. เวลาที่วิบากมโนธาตุทำหน้าที่รับอารมณ์ เหมือนเวลาที่เด็กคนหนึ่งถือกหาปณะพร้อมกับฝุ่นไว้มั่น. เวลาที่วิบากมโนวิญญาณธาตุทำกิจพิจารณาอารมณ์ เหมือนเวลาที่เด็กคนหนึ่งพูดว่า นั่นสี่เหลี่ยมหนา. เวลาที่กิริยามโนวิญญาณธาตุทำหน้าที่กำหนดอารมณ์ เหมือนเวลาที่เด็กคนหนึ่งพูดว่า นั่นกหาปณะ การที่ชวนจิตเสวยรสอารมณ์ พึงทราบเหมือนเวลาที่มารดานำกหาปณะไปใช้ในการงานฉะนั้น.

    ถามว่า ความอุปมานี้ ย่อมแสดงให้รู้ถึงอะไร?

    ตอบว่า ย่อมแสดงให้รู้ว่า กิริยามโนธาตุยังมิได้เห็นเลย ยังภวังค์ให้เปลี่ยนไป วิบากมโนธาตุก็ไม่เห็น ย่อมทำหน้าที่รับอารมณ์ วิบากมโนวิญญาณธาตุก็ไม่เห็น ย่อมทำหน้าที่พิจารณาอารมณ์ กิริยามโนวิญญาณธาตุก็ไม่เห็น

 
  ข้อความที่ 95  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 95

ย่อมทำหน้าที่กำหนดอารมณ์ ชวนจิตก็ไม่เห็น ย่อมทำหน้าที่เสวยรสอารมณ์ส่วนจักขุวิญญาณเท่านั้น ย่อมทำกิจก็เห็น (ทัสสนกิจ) โดยส่วนเดียว ดังนี้.

    คำว่า มะม่วงกับเจ้าของโรงหีบอ้อย นี้ ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในภายหลังแล้ว คำนี้ กล่าวหมายเอาอุปมาด้วยผลมะม่วง และอุปมาด้วยเจ้าของโรง-หีบอ้อย.

นามรูปเปรียบด้วยชายบอดและคนเปลี้ย

    คำว่า ชายบอดและคนเปลี้ย ความว่า ได้ยินว่า ในศาลาใกล้ประตูพระนคร มีชายตาบอดแต่กำเนิดและคนเปลี้ยสนทนากันอยู่ ในบรรดาคนทั้งสองนั้น คนเปลี้ยพูดว่า เจ้าบอด เพราะเหตุไร เจ้าจึงซูบซีดอยู่ในที่นี้เจ้าเที่ยวไปประเทศโน้นซึ่งมีภิกษาหาได้ง่าย มีข้าวน้ำมาก เจ้าไปในที่นั้นก็เป็นอยู่สบายไม่สมควรหรือ ชายตาบอดพูดว่า เจ้าบอกเราก่อนแล้ว แต่เจ้าเล่าไปในที่นั้นก็อยู่สบายไม่สมควรหรือ.

    คนเปลี้ย : เท้าที่จะเดินของเราไม่มี

    ชายบอด : ตาของเราจะดูไม่มี.

    คนเปลี้ย : ถ้าอย่างนั้น เจ้าเป็นเท้า เราเป็นตา.

    คนทั้ง ๒ ต่างก็รับคำกันแล้ว ชายบอดให้คนเปลี้ยขี่คอไป คนเปลี้ยนั้นนั่งขี่คอของชายบอดเอามือซ้ายโอบศีรษะชายตาบอด เอามือขวากำหนดทางบอกว่า ในที่นี้มีรากไม้ขวางอยู่ ในที่นี้มีหิน ท่านจงละทางซ้ายถือเอาทางขวาจงละทางขวาถือเอาทางซ้าย ดังนี้ เท้าเป็นของคนตาบอดแต่กำเนิด ตาเป็นของคนเปลี้ย คนแม้ทั้งสองไปแล้วสู่ที่ตนปรารถนาด้วยความพยายามร่วมกันเป็นอยู่แล้วเป็นสุข ด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 96  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 96

    ในความอุปมานั้น รูปกาย พึงเห็นเหมือนชายตาบอดแต่กำเนิด อรูปกาย (นามกาย) เหมือนคนเปลี้ย. รูปกายเว้นนามกายก็ไม่สามารถให้ถึงการยึดถือ การจับ และการเคลื่อนไหวได้ เหมือนเวลาที่ชายตาบอดแต่เว้นคนเปลี้ยก็ไม่เกิดความตั้งใจที่จะเดินทางไปยังถิ่นต่างๆ ได้. อรูป (นามกาย) เว้นรูปเสียก็เป็นไปไม่ได้ในปัญจโวการภพ เหมือนคนเปลี้ยเว้นชายตาบอดแต่กำเนิดก็ไม่เกิดความตั้งใจที่จะเดินทางไปสู่ถิ่นต่างๆ ได้. รูปธรรมและอรูปธรรมมีสภาพเป็นไปในกิจทั้งปวงได้ด้วยการประกอบซึ่งกันและกัน เหมือนเวลาที่ชายตาบอดและคนเปลี้ยแม้ทั้งสองไปสู่ที่ตนปรารถนาด้วยความพยายามร่วมกันแล้วเป็นอยู่สบาย ฉะนั้น. ปัญหานี้ท่านอาจารย์กล่าวได้ด้วยอำนาจปัญจโวการภพ.

ว่าด้วยการรับอารมณ์โดยมีอุปนิสสยปัจจัย

    พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า การรับอารมณ์ ต่อไป

    จักษุย่อมรับอารมณ์เฉพาะรูป โสตเป็นต้นก็รับอารมณ์เฉพาะเสียงเป็นต้น. คำว่า โดยมีอุปนิสสยปัจจัยเป็นประโยชน์ คือ โดยอุปนิสสยปัจจัย (ต้องอาศัยแน่นอนขาดไม่ได้) และโดยความเป็นประโยชน์.

จักขุวิญญาณอาศัยปัจจัย ๔ เกิดขึ้น

    ในข้อว่า โดยมีอุปนิสสยปัจจัยและโดยเป็นประโยชน์นั้น จักขุวิญญาณย่อมเกิดขึ้นพร้อมกับสัมปยุตธรรมทั้งหลายได้เพราะอาศัยปัจจัย ๔ คือ

    อสมฺภินฺนตฺตา จกฺขุสฺส เพราะจักขุประสาทยังไม่แตกดับ

    อาปาถคตฺตา รูปานํ เพราะรูปมาสู่คลอง

    อาโลกสนฺนิสฺสิตํ อาศัยแสงสว่าง

    มนสิการเหตุกํ อาศัยมนสิการเป็นเหตุ.

 
  ข้อความที่ 97  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 97

    บรรดาปัจจัย ๔ เหล่านั้น จักษุแม้ของคนตายย่อมเป็นของแตกดับไปสิ้น จักษุของคนมีชีวิตดับไปก็ดี หรือถูกน้ำดีหรือเสมหะหรือโลหิตขัดขวางแล้วก็ดี ไม่อาจเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ชื่อว่าแตกดับไปแล้ว เมื่อสามารถเป็นปัจจัยได้ ชื่อว่า ไม่แตกดับ.

    แม้ในโสตวิญญาณเป็นต้น ก็นัยนี้แหละ.

    ก็เมื่อจักขุประสาทแม้ยังไม่แตกดับ แต่รูปารมณ์ภายนอกยังไม่มาสู่คลองจักษุประสาท จักขุวิญญาณก็เกิดไม่ได้ เมื่อรูปนั้นมาสู่คลองแล้ว แต่ปัจจัยที่อาศัย คือ แสงสว่างไม่มี จักขุวิญญาณก็เกิดไม่ได้ เมื่อแสงสว่างซึ่งเป็นปัจจัยนั้นมีอยู่ แต่กิริยามโนธาตุไม่ยังภวังค์ให้เปลี่ยนไป จักขุวิญญาณก็เกิดไม่ได้ เมื่อกิริยามโนธาตุทำภวังค์ให้เปลี่ยนไปได้ จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้น (จึงเกิดการเห็นได้) . จักขุวิญญาณเมื่อเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ ย่อมเกิดขึ้นพร้อมกับสัมปยุตธรรมทั้งหลายโดยแท้ เพราะฉะนั้น จึงกล่าวว่า จักขุวิญญาณย่อมเกิดขึ้น เพราะได้ปัจจัย ๔ เหล่านี้ทีเดียว.

    โสตวิญญาณย่อมเกิดขึ้นกับสัมปยุตธรรมทั้งหลาย เพราะปัจจัย ๔เหล่านี้ คือ

    อสมฺภินฺนตฺตา โสตสฺส เพราะโสตประสาทยังไม่แตกดับ

    อาปาถคตตฺตา สทฺทานํ เพราะเสียงทั้งหลายมาสู่คลอง

    อากาสสนฺนิสฺสิตํ อาศัยอากาศ

    มนสิการเหตุกํ มีมนสิการเป็นเหตุ.

    บรรดาปัจจัย ๔ เหล่านั้น คำว่า อาศัยอากาศ คือ โสตวิญญาณนั้นได้อาศัยอากาศจึงเกิดขึ้น เว้นอากาศก็ไม่เกิด เพราะเมื่อบุคคลปิดช่องหูเสียโสตวิญญาณก็ไม่เป็นไป. คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยก่อนนั่นแหละ คือ แม้

 
  ข้อความที่ 98  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 98

ฆานวิญญาณเป็นต้นนอกจากนี้ ก็พึงทราบความเหมือนในโสตวิญญาณนี้ ข้าพเจ้าจักกล่าวแต่เนื้อความที่ต่างกันเท่านั้น.

    ฆานวิญญาณย่อมเกิดพร้อมกับสัมปยุตธรรมทั้งหลาย เพราะปัจจัย ๔ เหล่านี้ คือ

    อสมฺภินฺนตฺตา ฆานสฺส เพราะฆานประสาทยังไม่แตกดับ

    อาปาถคตตฺตา คนฺธานํ เพราะกลิ่นทั้งหลายมาสู่คลอง

    วาโยสนฺนิสฺสิตํ อาศัยวาโย

    มนสิการเหตุกํ มีมนสิการเป็นเหตุ.

    บรรดาเหตุ ๔ เหล่านั้น คำว่า อาศัยวาโย อธิบายว่า เมื่อวาโยพากลิ่นทั้งหลายเข้าไปสู่ช่องจมูกนั่นแหละ ฆานวิญญาณจึงเกิด เมื่อลมไม่มีฆานวิญญาณก็ไม่เกิด.

    ชิวหาวิญญาณย่อมเกิดพร้อมกับสัมปยุตธรรมทั้งหลายเพราะปัจจัย ๔ เหล่านี้ คือ

    อสมฺภินฺนตฺตตา ชิวฺหาย เพราะชิวหาประสาทยังไม่แตกดับ

    อาปาถคตตฺตา รสานํ เพราะรสทั้งหลายมาสู่คลอง

    อาโปสนฺนิสฺสิตํ อาศัยอาโป

    มนสิการเหตุกํ มีมนสิการเป็นเหตุ.

    บรรดาปัจจัย ๔ เหล่านั้น คำว่า อาศัยอาโป ความว่า ได้อาโปทำให้เปียก ฆานวิญญาณจึงเกิด เว้นอาโปก็ไม่เกิด เพราะเมื่อบุคคลลิ้นแห้งแม้วางขาทนียะที่แห้งไว้ที่ลิ้น ชิวหาวิญญาณย่อมไม่เกิดขึ้น.

    กายวิญญาณย่อมเกิดพร้อมกับสัมปยุตธรรมทั้งหลาย เพราะปัจจัย ๔ เหล่านี้ คือ

 
  ข้อความที่ 99  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 99

    อสมฺภินฺนตฺต กายสฺส เพราะประสาทกายยังไม่แตกดับ

    อาปาถคตตฺตา โผฏฺพฺพานํ เพราะโผฏฐัพพะมาสู่คลอง

    ปฐวีสนฺนิสฺสิตํ อาศัยปฐวี

    มนสิการเหตุกํ มีมนสิการเป็นเหตุ.

    บรรดาปัจจัย เหล่านั้น คำว่า อาศัยปฐวี ได้แก่ อาศัยปฐวีที่ควบคุมกัน คือกายประสาทเป็นปัจจัยนั่นแหละ กายวิญญาณจึงเกิดขึ้น เว้นกายประสาทแล้ว กายวิญญาณก็ไม่เกิด เพราะมหาภูตรูปเป็นอารมณ์ภายนอกกระทบกายประสาทในภายในที่กายทวาร ย่อมกระทบที่มหาภูตรูปทั้งหลายที่มีประสาทเป็นปัจจัย.

    มโนวิญญาณย่อมเกิดขึ้นพร้อมกับสัมปยุตธรรมทั้งหลาย เพราะปัจจัย ๔ เหล่านี้ คือ

    อสมฺภินฺนตฺตา มนสฺส เพราะมโนยังไม่แตกดับ

    อาปาถคตตฺตา ธมฺมานํ เพราะธรรมทั้งหลายมาสู่คลอง

    วตฺถุสนฺนิสฺสิตํ อาศัยวัตถุ

    มนสิการเหตุกํ มีมนสิการเป็นเหตุ.

    บรรดาปัจจัย ๔ เหล่านั้น คำว่า มโน ได้แก่ ภวังคจิต อธิบายว่าภวังคจิตนั้นแตกดับแล้วก็ดี มีกำลังอ่อนไม่สามารถเป็นปัจจัยแก่อาวัชชนจิตให้เป็นไปก็ดี ชื่อว่า แตกดับ แต่ที่สามารถเป็นปัจจัยแก่อาวัชชนะได้ ชื่อว่ายังไม่แตกดับ. คำว่า เพราะธรรมทั้งหลายมาสู่คลอง ได้แก่เมื่อธรรมารมณ์มาสู่คลอง. คำว่า อาศัยวัตถุ คือได้อาศัยหทยวัตถุเท่านั้นจึงเกิดขึ้น เว้นหทยวัตถุก็ไม่เกิดขึ้น. ปัญหาแม้นี้พระเถระกล่าวหมายถึงปัญจโวการภพ. คำว่า มีมนสิการเป็นเหตุ อธิบายว่า กิริยามโนวิญญาณธาตุยังภวังค์ให้เปลี่ยนไป

 
  ข้อความที่ 100  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 100

ก่อน มโนวิญญาณจึงเกิดขึ้น. พรรณนาอุปนิสสยปัจจัยในข้อว่า การรับอารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัยเป็นประโยชน์ นี้เพียงเท่านี้.

    ก็จักขุเป็นอรรถชื่อว่า ทัสสนัตถะ (มีการเห็นเป็นอรรถ) โสตเป็นอรรถชื่อว่า สวนัตถะ (มีการฟังเป็นอรรถ) ฆานะเป็นอรรถชื่อว่าฆานัตถะ (มีการสูดกลิ่นเป็นอรรถ) ชิวหาเป็นอรรถ ชื่อว่า สายนัตถะ (มีการลิ้มรสเป็นอรรถ) กายเป็นอรรถชื่อว่า ผุสนัตถะ (มีการถูกกระทบเป็นอรรถ) มโนเป็นอรรถชื่อว่า วิชานนัตถะ (มีการรู้เป็นอรรถ) .

    พึงทราบวินิจฉัยคำว่า มีการเห็นเป็นอรรถเป็นต้นต่อไป

    การเห็นเป็นอรรถของจักขุวิญญาณนั้น เพราะเหตุนั้น จักขุวิญญาณนั้นจึงชื่อว่า ทัสสนัตถะ จริงอยู่ การเห็นนั้นอันจักขุพึงให้สำเร็จ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ทัสสนัตถะ (มีการเห็นเป็นอรรถ) แม้ในโสตวิญญาณเป็นต้นก็นัยนี้แหละ.

    ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ เป็นอันจบวิบากจิต ๑๖ ดวง ในวาทะของพระจูฬนาคเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกพร้อมกับวิบากจิต ๑๒ ดวง และอเหตุกจิต ๘ ดวง เพียงเท่านี้.

วิบากจิต ๑๒ ดวงในวาทะพระมหาทัตตเถระ

บัดนี้ เป็นกถาอธิบายวิบากจิต ๑๒ ดวง ในวาทะของพระมหาทัตตเถระผู้อยู่ในโมรวาปีวิหาร. ในวาทะนั้น สาเกตกปัญหา (ปัญหาในเมืองสาเกต) อุสสันนกิตตนะ (แสดงถึงสิ่งที่พอกพูนขึ้น) และการแสดงเหตุเป็นไปตามปกตินั้น. แต่พระเถระนี้เห็นข้อบกพร่องในจิตที่เป็นอสังขาริกและสสังขาริก จึงกล่าวว่า “กรรมที่เป็นอสังขาริกย่อมให้วิบากเป็นอสังขาริกเท่านั้น ไม่ให้วิบากที่เป็นสสังขาริก แม้กรรมที่เป็นสสังขาริกย่อมให้วิบากที่เป็นสสังขาริกเท่านั้น ไม่ให้วิบากเป็นอสังขาริก.” และพระเถระนี้ไม่กล่าว

 
  ข้อความที่ 101  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 101

จิตนิยาม (๑) โดยชวนะ แต่กล่าวเวทนานิยาม (ความแน่นอนแห่งเวทนา) โดยอารามณ์. ด้วยเหตุนั้น ในวิปากทวารกถาของท่านนั้นจึงมีการอธิบายวิบากจิต ๑๒ ดวง ในวาทะนี้นั่นแหละ มีการอธิบายวิบากจิต ๑๐ ดวงบ้าง อเหตุกจิต ๘ ดวงบ้าง.

ในการอธิบายวิบากจิตเป็นต้นนั้น มีนัยดังนี้

ก็เมื่อกระทำกรรมด้วยจิตที่เป็นอสังขาริกเป็นติเหตุกะสหรคตด้วยโสมนัส สำหรับสัตว์ผู้ถือปฏิสนธิด้วยวิบากจิตเช่นนั้นนั่นแหละ ถึงการเจริญวัยแล้ว เมื่ออิฏฐารมณ์มาปรากฏทางจักขุทวาร โมฆะวาระ ๓ วาระย่อมมีโดยนัยที่เคยกล่าวมาแล้วนั่นแหละ. ในอิฏฐารมณ์นั้น เมื่อจิต ๑๓ ดวงเหล่านี้ คือ จิตที่สหรคตด้วยโสมนัสฝ่ายกุศล ๔ ดวง ฝ่ายอกุศล ๔ ดวง และฝ่ายกิริยาจิต ๕ ดวง ดวงใดดวงหนึ่งเสพอารมณ์แล้วดับลง วิบากจิตที่เป็นติเหตุกะเป็นอสังขาริกสหรคตด้วยโสมนัสก็ดี วิบากจิตที่เป็นทุเหตุกะเป็นอสังขาริกก็ดี ย่อมตั้งอยู่เป็นตทารัมมณะนั่นแหละ ด้วยอาการอย่างนี้ ในจักขุทวารของบุคคลนั้นจึงนับวิบากจิตได้ ๕ ดวง คือ วิบากจิต ๓ ดวง มีจักขุวิญญาณเป็นต้น และตทารัมมณจิต ๒ ดวง.

อนึ่ง เมื่อจิตที่สหรคตด้วยอุเบกขา ๑๒ ดวง คือ ฝ่ายกุศล ๔ ดวง ฝ่ายอกุศล ๔ ดวง และฝ่ายกิริยา ๔ ดวง ดวงใดดวงหนึ่งทำเวทนาให้เปลี่ยนไปตามอารมณ์ เสพอารมณ์แล้วดับลง วิบากจิตที่เป็นอสังขาริกเป็นติเหตุกะสหรคตด้วยอุเบกขาก็ดี วิบากจิตที่เป็นอสังขาริกเป็นทุเหตุกะก็ดี ย่อมเกิดขึ้นเป็นตทารัมมณะ ด้วยประการฉะนี้ ในจักขุทวารของบุคคลนั้นจึงนับได้ ๓ ดวงเหล่านี้ คือ สันตีรณจิต สหรคตด้วยอุเบกขา (๑ ดวง) และตทารัมมณจิตเหล่านี้ ๒ ดวง. จิต ๓ ดวงเหล่านั้นกับจิต ๕ ดวงก่อน รวมเป็น ๘ ดวง แม้ในโสตทวารเป็นต้น ก็ได้ทวารละ ๘ ดวง เมื่อกระทำกรรมด้วยเจตนาดวงหนึ่ง จิต ๔๐ ดวงถ้วนย่อม


  • (๑) ฎีกาว่า ความแน่นอนแห่งตทารัมมณะ.
 
  ข้อความที่ 102  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 102

เกิดขึ้นได้ แต่เมื่อนับจิตที่ไม่ซ้ำกัน ย่อมได้จิต ๑๒ ดวง คือ ๘ ดวงในจักขุทวาร อีก ๔ ดวงมีโสตวิญญาณเป็นต้น. ในวาทะของพระมหาทัตตเถระนี้พึงทราบมูลภวังค์ อาคันตุกภวังค์ และกถาว่าด้วยการอุปมาด้วยผลมะม่วงและกถาว่าด้วยนิยาม ๕ โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ.

แม้ในกรรมที่กระทำด้วยกุศลจิตที่เป็นสสังขาริกเป็นติเหตุกะสหรคตด้วยโสมนัส แม้ในกรรมที่กระทำด้วยกุศลจิตที่เป็นอสังขาริกและสสังขาริกเป็นติเหตุกะสหรคตด้วยอุเบกขา ก็นัยนี้นั่นแหละ. แม้อุปมาด้วยยนต์หีบอ้อยในวาทะของพระจูฬนาคเถระนั้น ก็เป็นอุปมาที่ใช้ได้เหมือนเดิมนั่นแหละ ในวาทะของพระเถระนี้. วาระว่า “ติเหตุกปฏิสนธิ มีได้ด้วยติเหตุกกรรม” ท่านกล่าวไว้แล้วด้วยคำมีประมาณเท่านี้ ส่วนวาระว่า “ทุเหตุกปฏิสนธิมีได้ (ด้วยติเหตุกกรรม) ” ยังปกปิดอยู่.

บัดนี้ จะกล่าวกถาว่าด้วยทุเหตุกปฏิสนธิมีได้ด้วยทุเหตุกกรรม. ก็เมื่อกระทำกรรมด้วยจิตที่เป็นอสังขาริกเป็นทุเหตุกะสหรคตด้วยโสมนัส สำหรับสัตว์ผู้ถือปฏิสนธิด้วยวิบากจิตเช่นนั้นนั่นแหละ ถึงความเจริญแล้ว เมื่ออิฏฐารมณ์มาปรากฏทางจักขุทวาร โมฆวาระย่อมมี ๓ วาระ โดยนัยที่เคยกล่าวมาแล้วนั่นแหละ. ส่วนสัตว์ผู้ถือทุเหตุกปฏิสนธิ ไม่มีชวนะที่เป็นกิริยาจิต. เพราะฉะนั้น เมื่อจิต ๘ ดวงเหล่านี้ คือ จิตที่สหรคตด้วยโสมนัสฝ่ายกุศล ๔ ดวง และฝ่ายอกุศล ๔ ดวง ดวงใดดวงหนึ่งเสพอารมณ์แล้วดับลง ตทารัมมณะเป็นวิบากจิตที่เป็นทุเหตุกะเท่านั้น เป็นอสังขาริกสหรคตด้วยโสมนัสเท่านั้น. ด้วยประการฉะนี้ จึงนับจิตของทุเหตุกสัตว์นั้นได้ ๔ ดวง คือ จิต ๓ ดวงมีจักขุวิญญาณ เป็นต้น และตทารัมมณะนี้ ๑ ดวง. ส่วนในอิฏฐมัชฌัตตารมณ์ เมื่อจิต ๘ ดวง คือ จิตที่สหรคตด้วยอุเบกขาฝ่ายกุศล ๔ ดวง และฝ่ายอกุศล ๔ ดวง ดวงใดดวงหนึ่งเสพอารมณ์แล้วดับลง ตทารัมมณะเป็นวิบากจิตที่เป็นทุเหตุกะเท่านั้น เป็นอสังขาริกสหรคตด้วยอุเบกขาแล. ด้วยประการฉะนี้ จึงนับจิตของทุเหตุกสัตว์นั้นได้ ๒ ดวง คือ สันตีรณะที่สหรคตด้วยอุเบกขาและตทารัมมณะดวงนี้. ก็จิตเหล่านี้กับจิต ๔ ดวงก่อน จึงรวมเป็นวิบากจิต ๖ ดวง แม้ในโสตทวารเป็นต้น ก็มีทวารละ ๖ ดวง เมื่อกระทำกรรมด้วยเจตนาดวงหนึ่ง จิต ๓๐ ดวง ถ้วนย่อมเกิดขึ้นได้. แต่เมื่อนับจิตที่ไม่ซ้ำซ้อน ย่อมได้จิต ๑๐ ดวง คือ ๖ ดวงในจักขุทวาร อีก ๔ ดวงมีโสตวิญญาณเป็นต้น. กถาว่าด้วยการอุปมาด้วย ผลมะม่วงและกถาว่าด้วยนิยาม ๕ มีเหมือนเดิมนั่นแหละ. ข้ออุปมาด้วยยนต์หีบอ้อย ท่านกล่าวว่า “เอาอุปมาในที่นี้ไม่ได้.”

ในการกระทำกรรมด้วยกุศลจิตที่เป็นสสังขาริก เป็นทุเหตุกะสหรคตด้วยโสมนัสก็ดี ในการกระทำกรรมด้วยจิตที่เป็นอสังขาริกและสสังขาริกเป็นทุเหตุกะสหรคตด้วยอุเบกขาก็ดี ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. วาระว่า “ทุเหตุกปฏิสนธิมีได้ด้วยทุเหตุกกรรม” ท่านกล่าวไว้แล้วด้วยคำมีประมาณเพียงเท่านี้.

ส่วนวาระว่า “อเหตุกปฏิสนธิย่อมมีได้” พึงทราบอย่างนี้. แม้เมื่อกระทำกรรมด้วยกุศลจิตที่เป็นญาณวิปปยุต ๔ ดวง ครั้นถือปฏิสนธิด้วยมโนวิญญาณธาตุ ที่เป็นอเหตุกกุศลวิบากที่สหรคตด้วยอุเบกขา บัณฑิตไม่พึงกล่าวว่าปฏิสนธิเป็นเช่นกับกรรม. ตั้งแต่นี้ไปพึงทราบความเกิดขึ้นแห่งจิตในอิฏฐารมณ์บ้าง ในอิฏฐมัชฌัตตารมณ์บ้าง ที่กล่าวไว้แล้วโดยนัยที่เคยกล่าวมาแล้วนั่นแหละ. ก็ในวาทะของพระเถระนี้ กลุ่มชวนะ (๑) ย่อมเสพอารมณ์. พึงทราบถ้อยคำที่เหลือทั้งหมดมีอาทิว่า "อะไรกำหนดชวนะนี้ให้เป็นกุศลหรืออกุศล" โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในที่นั้น (๒) นั่นแหละ. อธิบายวิบากจิต ๑๒ ดวง กับอธิบายวิบากจิต ๑๐ ดวง และอเหตุกจิต ๘ ดวง ในวาทะของพระมหาทัตตเถระผู้อยู่ในโมรวาปีวิหาร จบแล้วด้วยคำมีประมาณเท่านี้.


(๑) ฏีกาว่า กลุ่มชวนะ (ปิณฺฑชวนํ) คือ ชวนะทั้งฝ่ายกุศล อกุศล และกิริยา ที่ท่านรวมกล่าวในตทารัมมณะหนึ่ง

(๒) ในวาทะของพระจูฬนาคเถระ หน้า ๗๗

 
  ข้อความที่ 103  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 103

วิบากจิต ๑๐ ดวงในวาทะพระมหาธรรมรักขิตเถระ

    บัดนี้ เป็นเรื่องว่าด้วยวิบากจิต ๑๐ ดวง ในวาทะของพระธรรมรักขิตเถระต่อไป. ในวาทะนั้น ปัญหาในเมืองสาเกต และการแสดงส่วนข้างมากเป็นไปตามปกตินั่นแหละ ส่วนการแสดงนี้แตกต่างกันคือ

    กรรมที่เป็นติเหตุกะ ย่อมให้วิบากเป็นติเหตุกจิตบ้าง ให้วิบากเป็นทุเหตุกจิตบ้าง ให้วิบากเป็นอเหตุกจิตบ้าง. กรรมที่เป็นทุเหตุกะ ย่อมไม่ให้วิบากเป็นติเหตุกจิตเท่านั้น แต่ให้วิบากจิตนอกนี้ได้. ด้วยกรรมที่เป็นติเหตุกะ ปฏิสนธิย่อมเป็นติเหตุกจิตเท่านั้น ไม่เป็นทุเหตุกจิตหรืออเหตุกจิต. ด้วยกรรมที่เป็นทุเหตุกะ ปฏิสนธิย่อมเป็นทุเหตุกจิตและอเหตุกจิต ไม่เป็นติเหตุกจิต. กรรมที่เป็นอสังขาริก ย่อมให้วิบากที่เป็นอสังขาริกเท่านั้น ไม่ให้วิบากเป็นสสังขาริก. แม้กรรมที่เป็นสสังขาริก ก็ให้วิบากที่เป็นสสังขาริกเท่านั้น ไม่ให้วิบากเป็นอสังขาริก. เวทนาพึงเปลี่ยนไปด้วยอารมณ์ ชวนจิตก็ย่อมเสพอารมณ์แล่นไปเป็นกลุ่มชวนะนั่นแหละ บัณฑิตพึงกล่าวอธิบายจิตทั้งหลายตั้งแต่ต้นต่อไป.

    ในข้อนั้น พึงทราบกถาดังต่อไปนี้

    บุคคลหนึ่ง ทำกรรมด้วยกุศลจิตดวงที่หนึ่ง เขาย่อมถือปฏิสนธิด้วยวิบากจิตดวงที่หนึ่งเท่านั้น. ปฏิสนธิจิตนี้เป็นเช่นกับกรรมที่กระทำ. เมื่อบุคคลนั้นเจริญวัยแล้ว เมื่ออิฏฐารมณ์มาสู่คลองในจักขุทวาร โมฆวาระ ๓ ย่อมมีโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ลำดับนั้น เมื่อเวลาสิ้นสุดลงแห่งชวนจิตที่สหรคตด้วยโสมนัส ๑๓ ดวงตามที่กล่าวในหนหลังนั่นแหละ ดวงใดดวงหนึ่งของบุคคลนั้นเสพแล้ว วิบากจิตดวงที่หนึ่งเท่านั้นย่อมเป็นตทารมณะ. วิบากจิตนั้นได้ชื่อ ๒ อย่าง คือ มูลภวังค์ และตทารัมมณะ ด้วยอาการอย่างนี้ จิตทั้งหลายของเขา

 
  ข้อความที่ 104  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 104

ย่อมเข้าถึงการนับได้ ๔ ดวง คือ วิบากจิต ๓ ดวง (ตามลำดับวิถีจิต) มีจักขุวิญญาณเป็นต้น และตทารัมมณะดวงนี้. ในอิฏฐมัชฌัตตารมณ์ ในเวลาสิ้นสุดลงแห่งชวนจิตที่สหรคตด้วยอุเบกขา ๑๒ ดวง โดยนัยที่กล่าว ในหนหลังนั่นเอง ดวงใดดวงหนึ่งเสพแล้ว จิตที่เป็นติเหตุกะอสังขริกที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็ตั้งอยู่ในความเป็นตทารัมมณะ. วิบากจิตนั้นได้ชื่อ ๒ อย่าง คือ อาคันตุกภวังค์ และตทารัมมณะ จิตของเขาจึงนับได้ ๒ อย่าง คือ อุเบกขาสหรคตสันติรณจิต และตทารัมมณะดวงนี้. วิบากจิต ๒ ดวงนี้กับวิบากจิต ๔ ดวงก่อน จึงรวมเป็นวิบากจิต ๖ ดวง ด้วยประการฉะนี้ แม้ในโสตทวารเป็นต้นก็ได้วิบากจิตทวารละ ๖ ดวง. ด้วยประการฉะนี้ เมื่อกระทำกรรมด้วยเจตนาดวงหนึ่ง วิบากจิต ๓๐ ดวงถ้วนย่อมเกิดขึ้นในทวาร ๕. ว่าด้วยการนับจิต (ถือเอา) ที่ยังมิได้นับ ย่อมได้วิบากจิต ๑๐ ดวง คือ ในจักขุทวาร ๖ ดวง ในโสตวิญญาณเป็นต้น ๔ ดวง. ข้อเปรียบเทียบด้วยผลมะม่วงและนิยามกถาคงเป็นไปตามเดิมนั่นแหละ.

    เมื่อกรรมอันกุศลจิตดวงที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ แม้กระทำแล้ว วิบากจิตก็มีประมาณเท่านี้ และย่อมมี ด้วยประการฉะนี้. แม้ในกรรมที่อุเบกขาสหคตจิต ๔ ดวง กระทำแล้ว ก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็ในวาทะนี้ พึงแสดงอิฏฐมัชฌัตตารมณ์ก่อน ภายหลังจึงเปลี่ยนเวทนาด้วยอิฏฐารมณ์. ในข้อนั้น ข้อเปรียบเทียบด้วยผลมะม่วงและนิยามกถาเป็นไปตามเดิมเหมือนกัน แต่ไม่ได้ข้อเปรียบเทียบว่าด้วยข้อหีบอ้อย บัณฑิตพึงกล่าวอเหตุกจิต ๘ ดวงทั้งหมดให้พิสดารตั้งแต่นี้ว่า "ก็เมื่อทำกรรมด้วยกุศลจิตที่เป็นญาณวิปปยุตจิต ๔ ดวง ดวงใดดวงหนึ่ง" ดังนี้.

    ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ วิบากจิต ๑๐ ดวง กับอเหตุกจิต ๘ ดวงในวาทะของพระมหาธรรมรักขิตเถระ จบแล้วด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 105  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 105

    ถามว่า วาทะของพระเถระทั้ง ๓ เหล่านี้ ของรูปไหนควรถือเอา.

    ตอบว่า ไม่ควรถือเอาของท่านรูปไหนโดยส่วนเดียว แต่ควรถือเอาวาทะของท่านทั้งหมดที่ถูกต้อง.

    ด้วยว่า ในวาทะของพระเถระรูปแรกท่านประสงค์จัดประเภทจิตที่เป็นสังขาร (มีการชักจูง) และอสังขาร (ไม่มีการชักจูง) โดยความต่างกันแห่งปัจจัย ด้วยเหตุนั้น ในวาทะพระเถระรูปที่หนึ่งนี้ ท่านจึงกล่าวถึงทางแห่งวิบาก ๑๖ ดวง ด้วยสามารถแห่งพระเสกขะและปุถุชน โดยถือเอาวิบากที่เป็นสสังขารซึ่งเกิดขึ้นด้วยปัจจัยที่ทุรพล ของกุศลที่เป็นอสังขาร และวิบากที่เป็นอสังขารซึ่งเกิดขึ้นด้วยปัจจัยที่มีกำลัง ของกุศลที่เป็นสสังขาร แล้วละกิริยาชวนะทั้งหลายแม้ที่ได้อยู่ แล้วกำหนดตทารัมมณะด้วยกุศลชวนะทั้งหลาย และกำหนดเวทนาด้วยอารมณ์ ก็ในวาทะของพระเถระรูปที่หนึ่งนี้ ท่านแสดงตทารัมมณะอันใดอันเป็นอเหตุกวิบากเท่านั้น ในที่สุดแห่งอกุศลชวนจิต ตทารัมมณะนั้นท่านไม่แสดงไว้ในวาทะนอกนี้เลย เพราะฉะนั้น ในวาทของพระเถระรูปที่หนึ่งนั้น ตทารัมมณะที่เป็นอเหตุกวิบากนั้น และตทารัมมณะที่เป็นสเหตุกวิบากที่กล่าวไว้ในวาทะนอกนี้นั้น วาทะทั้งหมดนี้ย่อมได้ในอธิการแม้นี้เหมือนกัน.

    ข้อนั้น มีนัยดังต่อไปนี้

    ก็ในกาลใด อกุศลจิตเสพอารมณ์ในระหว่างๆ (สลับวิถีกัน) แห่งกุศลชวนจิตทั้งหลาย ในกาลนั้น ตทารัมมณะเป็นสเหตุกะก็พึงรับอารมณ์ ในที่สุดแห่งอกุศลชวนจิต เหมือนกับรับอารมณ์เนืองๆ ในที่สุดแห่งกุศลชวนจิตนั่นแหละ ในกาลใดอกุศลจิตเกิดติดต่อกันไปไม่ขาดสาย ในกาลนั้น อเหตุกวิบากจึงควรเป็นตทารัมมณะ พึงถือเอาข้อที่ถูกในวาทะของพระเถระรูปที่หนึ่งอย่างนี้ก่อน.

 
  ข้อความที่ 106  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 106

    ก็ในวาทะของพระเถระรูปที่ ๒ ท่านประสงค์จัดประเภทจิตที่เป็นอสังขารและสสังขารของกุศล ด้วยเหตุนั้น ในวาทะที่ ๒ นี้ จึงกล่าวถึงวิบากจิต ๑๒ ดวง ด้วยอำนาจแห่งกลุ่มชวนะเท่านั้น ซึ่งสมควรแก่การเกิดขึ้นแก่พระเสกขะพระอเสกขะและปุถุชนแม้ทั้งหมด โดยถือเอาวิบากจิตที่เป็นอสังขาริกของกุศลจิตที่เป็นอสังขาริกอย่างเดียว และวิบากจิตที่เป็นสสังขาริกของกุศลจิตที่เป็นสสังขาริกอย่างเดียว ไม่กระทำการกำหนดตทารัมมณะโดยชวนจิต. แต่ในวาทะที่ ๒ นี้ เมื่อชวนจิตเป็นติเหตุกะสิ้นสุดลง ตทารัมมณะก็สมควรเป็นเหตุกวิบากจิต เมื่อชวนจิตเป็นทุเหตุกะสิ้นสุดลง ตทารัมมณะสมควรเป็นทุเหตุกวิบากจิต เมื่อชวนจิตอันเป็นอเหตุกะสิ้นสุดลง ตทารัมมณะสมควรเป็นอเหตุกวิบากจิต แต่ข้อนี้ท่านมิได้จำแนกไว้. ก็คำที่ควรถือเอาถูกต้องในวาทะที่ ๒ มีด้วยประการฉะนี้.

    แม้ในวาทะของพระเถระรูปที่ ๓ ท่านก็ประสงค์จัดประเภทสสังขาริกจิตและอสังขาริกจิตของกุศลนั่นแหละ เพราะคำที่กล่าวว่า กรรมที่เป็นติเหตุกะย่อมให้วิบากเป็นติเหตุกะบ้าง ให้วิบากเป็นทุเหตุกะบ้าง ให้วิบากเป็นอเหตุกะบ้างดังนี้ สัตว์ที่ถือปฏิสนธิด้วยจิตที่เป็นอสังขาริกติเหตุกะพึงมีตทารัมมณะแม้ที่เป็นอสังขาริกทุเหตุกะได้ แต่ท่านไม่แสดงตทารัมมณะนั้น แสดงแต่ตทารัมมณะที่เป็นเช่นเดียวกับติเหตุกจิตเท่านั้น ตทารัมมณะนั้นไม่สมกับลัทธิที่แสดงเหตุข้างมากที่มีมาในตอนต้น การที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ เพื่ออธิบายถึงแนวทางแห่งวิบากจิต ๑๐ ดวงเท่านั้น แต่ตทารัมมณะแม้นอกนี้ก็ยังได้นั่นแหละ ควรถือเอาข้อที่ถูกต้องแม้ในวาทะที่ ๓ อย่างนี้.

    อนึ่ง วาทะนี้แม้ทั้งหมดเป็นถ้อยคำว่าด้วยตทารัมมณะหมายเอาวิบากของกรรมอันให้เกิดปฏิสนธิเท่านั้น แต่เพราะพระบาลีว่า สเหตุกํ ภวงฺคํ อนนฺตรปจฺจเยน ปจฺจโย

 
  ข้อความที่ 107  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 107

(เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย แก่อเหตุกภวังค์) ดังนี้ ตทารัมมณจิตที่เป็นสเหตุกวิบากย่อมเกิดขึ้น แม้แก่ปฏิสนธิที่เป็นอเหตุกจิตด้วยกรรมต่างๆ กัน วิธีแห่งการเกิดขึ้นของตทารัมมณะนั้น จักแจ่มแจ้งในมหาปกรณ์แล.

    กถาว่าด้วยกามาวจรกุศลวิบากจิต จบ

รูปาวจรวิบาก

    [๔๑๗] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

    โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ฯสฯ อันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว นั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต

    ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 108  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 108

บรรลุปัญจมฌาน ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

    โยคาวจรบุคคลบรรลุปัญจมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ

    รูปาวจรวิบาก จบ

อรูปาวจรวิบาก

    [๔๑๘] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการซึ่งนานัตตสัญญา จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยอากาสานัญจายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

    โยคาวจรบุคคลเพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการซึ่งนานัตตสัญญา จึงบรรลุจตุตถฌานอันสหรคตด้วยอากาสานัญจายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ได้ ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้วนั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

 
  ข้อความที่ 109  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 109

    [๔๑๙] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานอันสหรคตด้วยวิญญาณัญจายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

    โยคาวจรบุคคลเพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวงจึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยวิญญาณัญจายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ได้ ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะอรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว นั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะมีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๒๐] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยอากิญจัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมเป็นกุศล

    โยคาวจรบุคคลเพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวงจึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยอากิญจัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ได้ ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะอรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว นั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะมีในสมัยนั้น ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 110  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 110

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    [๔๒๑] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

    โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะมีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

    โยคาวจรบุคคลเพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวงจึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ได้ ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะอรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว นั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะมีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

    อรูปาวจรวิบาก จบ

อรรถกถาแสดงรูปาวจรวิบากเป็นต้น

    บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์จะแสดงวิบากจิตที่เป็นรูปาวจรเป็นต้น จึงเริ่มตรัสว่า กตเม ธมฺเม อพฺยากตา (ธรรมอันเป็นอัพยากฤตเป็นไฉน) เป็นต้นอีก.

    พึงทราบวินิจฉัยในธรรมอันเป็นอัพยากฤตต่อไป

    กามาวจรวิบากย่อมให้ผลเหมือนกันบ้าง ไม่เหมือนกันบ้างกับกุศลจิตของตน เพราะฉะนั้น วิบากจิตของกุศลนั้น ท่านจึงมิได้จำแนกให้เป็นวิบาก

 
  ข้อความที่ 111  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 111

คล้อยตามกุศล. ส่วนรูปาวจรวิบาก และอรูปาวจรวิบาก ย่อมเป็นเช่นเดียวกับกุศลของตน เหมือนเงาทั้งหลายมีเงาช้าง ม้า และต้นไม้เป็นต้น ย่อมเป็นเช่นช้าง ม้า และต้นไม้เป็นต้นนั่นแหละ ดังนั้น ท่านจึงจำแนกทำให้คล้อยตามกุศล.

อนึ่ง กามาวจรกุศล ย่อมให้วิบากในกาลบางครั้งบางคราวก็ได้ ส่วนรูปาวจรกุศล และอรูปาวจรกุศลย่อมให้วิบากเฉพาะอัตภาพในภพที่สองทีเดียวโดยไม่มีอันตราย (๑) แม้เพราะเหตุนี้ ท่านจึงจำแนกให้เป็นเช่นกับกุศลนั่นแหละคำที่เหลือพึงทราบโดยนัยที่กล่าวในกุศลนั่นแล.

ส่วนความแตกต่างกันมีดังนี้.

พึงทราบประเภทมีปฏิปทาเป็นต้น และความเป็นหีนจิต ปณีตจิต และมัชฌิมจิต เพราะการมาแห่งฌานในรูปาวจรวิบาก และอรูปาวจรวิบากเหล่านี้. แต่วิบากเหล่านี้ไม่มีอธิบดีเลย เพราะไม่ทำธรรมมีฉันทะเป็นต้นดวงใดดวงหนึ่งให้เป็นธุระเกิดขึ้นแล.

รูปาวจรวิบากและอรูปาวจรวิบาก จบ


(๑) ฏีกาว่า โดยเว้นเหตุแห่งความเสื่อม