พิจารณาว่าเป็นแต่เพียงสภาพธรรมที่ไม่ใช่เรานี้ เป็นวิจารเจตสิก หรือเป็นปัญญาเจตสิก

 
pdharma
วันที่  23 ม.ค. 2565
หมายเลข  41962
อ่าน  345

"เมื่อได้ยินชื่อธรรมอะไร ก็พิจารณาว่าเป็นแต่เพียงสภาพธรรมที่ไม่ใช่เรา" การพิจารณาแบบนี้เป็นวิจารเจตสิก (เกิดร่วมวิตกเจตสิก) หรือเป็น ปัญญาเจตสิก ครับ
ขอขอบพระคุณ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 24 ม.ค. 2565

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

วิจาร (วิจารเจตสิก) เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นเจตสิกที่ประคองตามวิตักกเจตสิกไม่ว่าวิตักกกเจตสิกจะตรึกอย่างไร วิจารเจตสิกก็ประคองตามอย่างนั้น วิจารเจตสิกเกิดกับจิต ๖๖ ดวง คือ กามาวจรจิต ๔๔ ดวง ปฐมฌานจิต ๑๑ ดวง และทุติยฌานจิต ๑๑ ดวง เว้นทวิปัญจวิญญาน ๑๐ ดวง ตติยฌาน จตุตถฌาน ปัญจมฌาน

จิตใดมีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย จิตนั้นต้องมีวิจารเจตสิกเกิดร่วมด้วย เว้นจิต ๑๑ ดวงที่มีวิจารเจตสิก โดยไม่มีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย คือ ทุติยฌานจิต ๑๑ ดวง

ปัญญาทำหน้าที่รู้ตามความเป็นจริง ปัญญามีหลายขั้น ขั้นฟัง ขั้นคิดพิจารณา ดังนั้น การคิดพิจารณาถูกตามควาเมป็นจริงว่าเป็นแต่เพียงธรรมที่ไม่ใช่เรา เป็นหน้าที่ของปัญญา ไม่ใช่หน้าที่ของวิจารเจตสิก ครับ ซึ่งได้กล่าวแล้วในหน้าที่ของวิจารเจตสิก ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 24 ม.ค. 2565

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 24 ม.ค. 2565

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เข้าใจธรรม ตามกำลังปัญญาของตนเอง เบื้องต้น เมื่อเริ่มฟังเริ่มศึกษา ก็จะพอจะเข้าใจว่า ถ้าไม่มีนามธรรม กล่าวคือ จิตกับเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย พิจารณาไม่ได้อย่างแน่นอน ที่พิจารณาได้ ก็เป็นกิจหน้าที่ของสภาพธรรมที่เป็นนามธรรม นั่นเอง แม้ ในขณะที่ฟังพระธรรม ไม่ได้มีเฉพาะได้ยินเท่านั้น ยังมีการพิจารณาไตร่ตรองในคำที่ได้ยินได้ฟังด้วยความละเอียดรอบคอบ ด้วย ซึ่งก็คือ ธรรมนั่นเองที่เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ ไม่พ้นจากจิตและเจตสิก ที่เกิดขึ้นเป็นไป แต่ละหนึ่ง เป็นธรรมแต่ละหนึ่ง ทำกิจหน้าที่ต่างๆ กัน ตามกิจหน้าที่ของตน ซึ่งทั้งหมดนั้น เป็นธรรม ไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตน ครับ

ขอเชิญคลิกฟังคำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ เพิ่มเติมได้ที่หัวข้อด้านล่างนี้ ครับ

ศึกษาพระธรรมเพื่อเข้าใจอะไร


...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ