พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

วิโมกข์ ๓ พรหมวิหาร ๔

  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 521

วิโมกข์ ๓

[๑๘๙] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ เป็นผู้ได้ฌานมีรูปภายในเป็นอารมณ์ เห็นรูปทั้งหลาย สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะมีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรมสัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอก สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะมีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ผูกใจอยู่ในวรรณกสิณว่างาม สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

แม้วิโมกข์ ๓ นี้ ก็แจกอย่างละ ๑๖

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 522

พรหมวิหารฌาน ๔

[๑๙๐] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่สหรคตด้วยเมตตา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยเมตตา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ เพราะคลายปีติได้อีกด้วย ฯลฯ บรรลุตติยฌานนั้น ที่สหรคตด้วยเมตตา อยู่ในสมัยใดผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่สหรคตด้วยเมตตา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 523

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยเมตตา ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร กับปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยเมตตา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ เพราะคลายปีติได้อีกด้วย ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานนั้น ที่สหรคตด้วยเมตตา อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่สหรคตด้วยกรุณา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 524

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานนั้น ที่สหรคตด้วยกรุณา อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่สหรคตด้วยมุทิตา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานนั้นที่สหรคตด้วยมุทิตาอยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยอุเบกขา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

พรหมวิหารฌาน ๔ แจกอย่างละ ๑๖

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 525

อรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์

อธิบายวิโมกข์ ๓

ธรรมดาว่า รูปาวจรกุศลนี้ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอํานาจอภิภายตนะ เพราะครอบงําอายตนะคือ อารมณ์อย่างเดียวเท่านั้นก็หามิได้ โดยที่แท้ รูปตายนะนี้ย่อมเกิดขึ้นด้วยอํานาจแห่งวิโมกข์ด้วย เพราะฉะนั้น บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงนัยแม้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มคําว่า กตเม ธมฺมา กุสลา ดังนี้อีก.

ถามว่า ก็ธรรมคือ วิโมกข์นี้ บัณฑิตพึงทราบได้อย่างไร ตอบว่า พึงทราบได้ ด้วยอรรถว่าหลุดพ้น. อะไรเล่า ชื่อว่า อรรถว่าหลุดพ้นนี้. ก็อรรถว่าหลุดพ้นนี้ เป็นการหลุดพ้นอย่างดีจากปัจจนีกธรรมทั้งหลาย และเป็นการหลุดพ้นอย่างดีด้วยอํานาจแห่งความยินดียิ่งในอารมณ์ มีอธิบายว่า ธรรมคือวิโมกข์นี้ ย่อมเป็นไปในอารมณ์ โดยความไม่เกี่ยวข้องกับปัจจนีกธรรมและความยินดียิ่งในอารมณ์ เพราะความไม่ยึดถือ เหมือนทารกปล่อยอวัยวะน้อยใหญ่ นอนบนตักของบิดา ฉะนั้น.

ก็เพื่อทรงแสดงรูปาวจรกุศลที่ถึงความเป็นวิโมกข์ด้วยลักษณะอย่างนี้จึงทรงเริ่มนัยนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รูปี (มีรูป) มีวิเคราะห์ว่า ที่ชื่อว่า รูปี เพราะอรรถว่า รูปของบุคคลนั้นมีอยู่ คือรูปฌานที่ให้เกิดขึ้นในโกฏฐาสมีผมเป็นต้นในภายใน. จริงอยู่ พระโยคาวจรเมื่อทําบริกรรมนีลกสิณในภายในย่อมกระทําที่ผม หรือที่น้ำดี หรือที่ดวงตา เมื่อจะกระทําปีตกสิณ ย่อมทํามันข้น หรือที่ผิวหนัง หรือที่ฝ่ามือฝ่าเท้า หรือที่ตาสีเหลือง เมื่อจะทําบริกรรมโลหิตกสิณ ก็ย่อมทําที่เนื้อ หรือที่เลือด หรือที่ลิ้น หรือที่ฝ่ามือฝ่าเท้าหรือที่สีแดงแห่งลูกตา เมื่อจะทําบริกรรมโอทาตกสิณ ก็ย่อมทําที่กระดูก

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 526

หรือที่ฟัน หรือที่เล็บ หรือที่สีของลูกตา. คําว่ารูปีนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาบุคคลคนหนึ่ง ในบรรดาบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยฌานที่เกิดขึ้นเพราะทําบริกรรมด้วยอาการอย่างนี้.

    บทว่า พหิทฺธานิ รูปานิ ปสฺสติ (เห็นรูปทั้งหลายในภายนอก) ได้แก่ ย่อมเห็นรูปมีนีลกสิณเป็นต้นแม้ในภายนอก ด้วยฌานจักษุ (ด้วยจักษุคือฌาน) ด้วยคําว่า ย่อมเห็นในรูปในภายนอก นี้ ทรงแสดงการได้ฌานในกสิณวัตถุทั้งในภายในทั้งในภายนอก.

    บทว่า อชฺฌตฺตํ อรูปสฺี (ไม่มีบริกรรมสัญญาในรูปภายใน) ความว่า ไม่มีความสําคัญในรูปภายใน อธิบายว่า บุคคลนั้นไม่มีรูปาวจรฌานที่ให้เกิดขึ้นในโกฏฐาสทั้งหลายมีผมเป็นต้นของตน ด้วยคําว่า ไม่มีบริกรรมสัญญาในรูปภายใน นี้ ทรงแสดงถึงความที่พระโยคาวจรได้ฌานในอารมณ์ภายนอก เพราะทําบริกรรมในวัตถุภายนอก. ด้วยบทว่า สุภํ (งาม) นี้ทรงแสดงฌานทั้งหลายในวรรณกสิณมีสีเขียวเป็นต้นที่บริสุทธิ์ดีแล้ว. บรรดาฌานที่เป็นไปในวรรณกสิณเหล่านั้น ความผูกใจว่า งาม ไม่มีในอัปปนาในภายใน แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น พระโยคาวจรใดทําสุภกสิณที่บริสุทธิ์ดีแล้วให้เป็นอารมณ์อยู่ พระโยคาวจรนั้นผูกใจอยู่ในวรรณกสิณว่า งาม สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้วเข้าถึงปฐมฌานอยู่ ทุติยฌานเป็นต้นก็เหมือนกัน เพราะฉะนั้น พระองค์จึงทรงทําเทศนาไว้อย่างนี้ แต่ในปฏิสัมภิทามรรค ท่านกล่าวว่า สภาวธรรม ที่ชื่อว่า วิโมกข์ เพราะอรรถว่าเป็นผู้น้อมไปในคําว่า งาม ดังนี้ เป็นอย่างไร? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้มีจิตสหรคต (ประกอบ) ด้วยเมตตาแผ่ไปสู่ทิศหนึ่ง ฯลฯ อยู่ สัตว์ทั้งหลายย่อมเป็นผู้ไม่ปฏิกูล เพราะเจริญเมตตา ภิกษุมีจิตสหรคตด้วยกรุณา. . .มุทิตา

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 527

... อุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศหนึ่ง ฯลฯ อยู่ สัตว์ทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้ไม่ปฏิกูลเพราะเจริญอุเบกขา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคําว่า ชื่อว่า วิโมกข์ เพราะอรรถว่า เป็นผู้น้อมไปในอารมณ์ว่า งาม ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้ แต่ในพระอภิธรรมนี้ พระองค์ทรงปฏิเสธนัยนั้น เพราะความที่พรหมวิหารมาแล้วในพระบาลีข้างหน้านั่นแหละ ทรงตรัสอนุญาตสุภวิโมกข์ไว้ด้วยอํานาจนีลกสิณที่ดี ปีตกสิณที่ดี โลหิตกสิณที่ดี โอทาตกสิณที่ดี นีลกสิณที่บริสุทธิ์ ปีตกสิณที่บริสุทธิ์ โลหิตกสิณที่บริสุทธิ์ โอทาตกสิณที่บริสุทธิ์เท่านั้น ด้วยประการฉะนี้ คําว่า กสิณ หรือคําว่า อภิภายตนะ หรือคําว่า วิโมกข์ ก็คือ รูปาวจรฌาน นั่นเอง. จริงอยู่ รูปาวจรฌานนั้น ตรัสว่า ชื่อว่า กสิณ เพราะอรรถว่าทั่วไปแก่อารมณ์ ชื่อว่า อภิภายตนะ เพราะอรรถว่า ครอบงําอารมณ์ ชื่อว่า วิโมกข์ เพราะอรรถว่า น้อมใจไปในอารมณ์ และเพราะอรรถว่าหลุดพ้นจากธรรมอันเป็นข้าศึกทั้งหลาย บรรดาเทศนากสิณ อภิภายตนะ และวิโมกข์เหล่านั้น เทศนากสิณ พึงทราบว่า ตรัสไว้ด้วยอํานาจพระอภิธรรมส่วนเทศนา ๒ อย่างนอกจากนี้ ตรัสไว้ด้วยอํานาจการเทศนาในพระสูตร. นี้เป็นการพรรณนาบทตามลําดับในวิโมกข์นี้ แต่ว่า วิโมกข์แต่ละข้อ พึงทราบนวกนัย ๗๕ หมวด โดยทําเป็นข้อละ ๒๕ ดุจปฐวีกสิณแล.

วิโมกข์ขกถาจบ

อธิบายพรหมวิหารฌาน

บัดนี้ เพื่อแสดงรูปาวจรกุศลเป็นไปด้วยอํานาจพรหมวิหารมีเมตตาฌานเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มคําเป็นต้นว่า กตเม ธมฺมา กุสลา ดังนี้อีก. พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า กตเม ธมฺมา กุสลา เป็นต้นนั้นต่อไป.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 528

    คําว่า เมตฺตาสหคตํ (สหรคตด้วยเมตตา) ได้แก่ประกอบด้วยเมตตาแม้ในคําว่า สหรคตด้วยกรุณาเป็นต้นข้างหน้าก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็พระโยคาวจรนั้นปฏิบัติแล้วโดยวิธีใดจึงเข้าถึงฌานอันสหรคตด้วยเมตตาเป็นต้นอยู่ วิธีการเจริญเมตตาเป็นต้นนั้น ข้าพเจ้าให้พิสดารไว้ในวิสุทธิมรรคแล้ว ส่วนเนื้อความพระบาลีที่เหลือ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในปฐวีกสินนั่นแหละ.ก็แต่ว่าในปฐวีกสิณได้ธรรมหมวด ๙ รวม ๒๕ หมวดเท่านั้น ในพรหมวิหารนี้ได้ธรรมหมวด ๗ รวม ๒๕ หมวดด้วยสามารถแห่งพระบาลี มีคําว่า ติกฌาน (ฌานหมวด ๓) และจตุกฌาน (ฌานหมวด ๔) เป็นต้น ในพรหมวิหาร ๓ ข้างต้น แต่ละหมวดได้ ๒๕ หมวด ด้วยอํานาจแห่งฌานที่ ๔ ในอุเบกขาแต่ในฌานที่สหรคตด้วยกรุณาและมุทิตา ย่อมมีเยวาปนกธรรมแม้เหล่านี้คือกรุณาและมุทิตา กับธรรม ๔ มีฉันทะเป็นต้น.

    อนึ่ง ความเป็นทุกขาปฏิปทาเป็นต้นในพรหมวิหารนี้ พึงทราบการข่มพยาบาทด้วยเมตตาก่อน พึงทราบการข่มวิหิงสาด้วยกรุณา พึงทราบการข่มอรติด้วยมุทิตา พึงทราบการข่มราคปฏิฆะด้วยอุเบกขา มีอยู่ด้วยประการฉะนี้. ส่วนเนื้อความที่แปลกกันมีว่า ความเป็นปริตตารมณ์ย่อมไม่มีด้วยอํานาจแห่งสัตว์จํานวนมากเป็นอารมณ์ ส่วนความเป็นอัปปมาณารมณ์ย่อมมีด้วยอํานาจมีสัตว์มากเป็นอารมณ์ ดังนี้ คือที่เหลือเป็นเช่นเดียวกันทั้งหมด.

    บัณฑิตครั้นทราบพรหมวิหารเหล่านี้อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพรหมอันสูงสุดตรัสแล้วด้วยอาการอย่างนี้ก่อนแล้วพึงทราบแม้ปกิณณกกถา ในพรหมวิหารฌานเหล่านี้ให้ยิ่งขึ้นไป.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 529

    จริงอยู่ บรรดาพรหมวิหารคือ เมตตากรุณามุทิตาอุเบกขาเหล่านั้นว่าโดยอรรถ ธรรมที่ชื่อว่า เมตตา เพราะอรรถว่า ย่อมรักใคร่ คือว่าย่อมเสน่หา. อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า เมตตา เพราะอรรถว่า ธรรมนี้มีในมิตรหรือว่า ย่อมเป็นไปเพื่อมิตร. ธรรมที่ชื่อว่า กรุณา เพราะอรรถว่า ย่อมกระทําหทัยของสาธุชนทั้งหลายให้หวั่นไหว ในเพราะคนอื่นมีทุกข์. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า กรุณา เพราะอรรถว่า ย่อมบําบัด หรือย่อมเบียดเบียน คือย่อมยังทุกข์ของผู้อื่นให้พินาศ. อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า กรุณา เพราะอรรถว่าย่อมทําให้กระจายไปให้ออกไปด้วยการแผ่ไปในสัตว์ผู้เป็นทุกข์. ธรรมที่ชื่อว่า มุทิตา เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องบันเทิงของผู้พรั่งพร้อมด้วยมุทิตานั้นหรือย่อมยินดีเอง. หรือว่า เป็นเพียงความยินดีเท่านั้น. ธรรมที่ชื่อว่า อุเบกขา เพราะอรรถว่า ย่อมแลดูด้วยการละความพยาบาทมีอาทิว่า ขอสัตว์ทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่มีเวรเถิด ดังนี้ และด้วยความเข้าถึงความเป็นกลาง.

    อนึ่ง ในพรหมวิหารเหล่านี้ ว่าโดยลักษณะเป็นต้น พึงทราบว่า เมตตา มีความเป็นไปแห่งอาการที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลเป็นลักษณะ มีการน้อมเข้าไปซึ่งประโยชน์เป็นกิจ มีการกําจัดความอาฆาตเป็นปัจจุปัฏฐาน มีการดูแต่สิ่งที่น่าพอใจของสัตว์เป็นปทัฏฐาน เมตตานี้มีการสงบพยาบาทเป็นสมบัติ มีการเกิดขึ้นแห่งเสน่หาเป็นวิบัติ.

    กรุณา มีการเป็นไปแห่งอาการช่วยบําบัดทุกข์เป็นลักษณะ มีการกําจัดทุกข์ผู้อื่นเป็นรส มีความไม่เบียดเบียนเป็นปัจจุปัฏฐาน มีการเห็นสัตว์ผู้ถูกทุกข์ครอบงําแล้ว เป็นผู้ไม่มีพึ่งเป็นปทัฏฐาน กรุณานี้ มีความสงบจากความเบียดเบียนเป็นสมบัติ มีความเกิดขึ้นแห่งความโศกเป็นวิบัติ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 530

    มุทิตา มีการบันเทิงใจเป็นลักษณะ มีความไม่ริษยาในความดีเป็นรส มีความกําจัดอรติเป็นปัจจุปัฏฐาน มีการเห็นสมบัติของสัตว์ทั้งหลายเป็นปทัฏฐาน มุทิตานี้มีการสงบอรติเป็นสมบัติ มีการเกิดขึ้นแห่งความร่าเริงเป็นวิบัติ.

    อุเบกขา มีการเป็นไปโดยอาการเป็นกลางในสัตว์ทั้งหลายเป็นลักษณะ มีความเห็นสัตว์ทั้งหลายโดยความเสมอกันเป็นรส มีการเข้าไปสงบความโกรธและความรักเป็นปัจจุปัฏฐาน มีความเห็นสัตว์มีกรรมเป็นของตน อย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆ ตน สัตว์เหล่านั้นจักมีความสุข หรือจักพ้นจากทุกข์ หรือจักไม่เสื่อมจากสมบัติตามความพอใจของใครดังนี้เป็นปทัฏฐาน อุเบกขานั้น มีความสงบความโกรธและความรักเป็นสมบัติ มีความเกิดขึ้นแห่งอัญญาณูเบกขาซึ่งอาศัยเรือนเป็นวิบัติ.

    ก็ความสุขในวิปัสสนา และภวสมบัติเป็นสาธารณประโยชน์ของพรหมวิหารเหล่านั้นแม้ทั้ง ๔ แต่ความกําจัดพยาบาทเป็นต้นเป็นประโยชน์เฉพาะองค์. จริงอยู่ ในอภิธรรมนี้ เมตตามีการกําจัดพยาบาทเป็นประโยชน์ พรหมวิหาร ๓ แม้นอกนี้ มีการกําจัดความเบียดเบียน ความไม่ยินดี และราคะเป็นประโยชน์. ข้อนี้ สมดังคําที่ท่านกล่าวไว้ว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เพราะธรรมชาติคือเมตตาเจโตวิมุตตินี้เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งความพยาบาท...ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เพราะธรรมชาติคือ กรุณาเจโตวิมุตตินี้ เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งความเบียดเบียน... ดูก่อนอาวุโสทั้งหลายเพราะธรรมชาติคือ มุทิตาเจโตวิมุตตินี้เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งอรติ...ดูก่อนอาวุโสทั้งหลายเพราะธรรมชาติคืออุเบกขาเจโตวิมุตตินี้ เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งราคะ ดังนี้

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 531

    ก็ในพรหมวิหารเหล่านั้น มีธรรมที่เป็นข้าศึกอย่างละ ๒ โดยอํานาจแห่งความเป็นข้าศึกใกล้และไกล จริงอยู่ เมตตาพรหมวิหารมีราคะเป็นเหตุใกล้ เพราะเห็นว่าเป็นคุณเท่ากัน เหมือนศัตรูของบุรุษผู้เที่ยวไปใกล้กัน. ราคะนั้นย่อมได้โอกาสได้ เพราะฉะนั้น พึงรักษาเมตตาให้ดีจากราคะนั้น พยาบาทเป็นข้าศึกไกล เพราะความเป็นสภาคะและวิสภาคะ เหมือนศัตรูของบุรุษซึ่งอาศัยอยู่ในที่รกชัฏมีภูเขาเป็นต้น เพราะฉะนั้น พระโยคาวจร พึงแผ่เมตตาออกไปโดยปราศจากความกลัวต่อพยาบาทนั้น ข้อที่ว่า บุคคลจักแผ่เมตตาและจักโกรธพร้อมกัน นั่นมิใช่เหตุที่มีได้.

    โทมนัสอาศัยเรือนที่ตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่น่าชอบใจเป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ประกอบด้วยโลกามิส โดยเป็นของอันตนไม่ได้เฉพาะ หรือหวนระลึกถึงรูปที่เคยได้เฉพาะในกาลก่อนอันล่วงไปแล้ว อันดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ย่อมเกิดโทมนัส โทมนัสเช่นนี้เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเรือน ดังนี้ เป็นข้าศึกใกล้ของกรุณาพรหมวิหาร เพราะเห็นความวิบัติเหมือนกัน ความเบียดเบียนเป็นข้าศึกไกล เพราะเป็นวิสภาคะต่อสภาคะ ข้อที่ว่า ชื่อว่า บุคคลจักทํากรุณา และจักเบียดเบียนสัตว์ด้วยการประหารด้วยฝ่ามือเป็นต้นพร้อมกัน ดังนี้ นั่นมิใช่เหตุที่เป็นไปได้.

    โสมนัสอาศัยเรือนที่ตรัสไว้โดยนัยว่า บุคคลเมื่อเล็งเห็นความได้เฉพาะซึ่งรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจเป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ อันประกอบด้วยโลกามิส โดยเป็นของอันตน

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 532

ได้เฉพาะ หรือหวนระลึกถึงรูปที่เคยได้เฉพาะแล้วในกาลก่อน อันล่วงไปแล้ว อันดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ย่อมเกิดโสมนัสโสมนัสเช่นนี้ เรียกว่า โสมนัสอาศัยเรือน ดังนี้ เป็นข้าศึกใกล้ของมุทิตาพรหมวิหาร เพราะเห็นว่าเป็นสมบัติเสมอกัน อรติเป็นข้าศึกไกลเพราะเป็นวิสภาคะต่อสภาคะ เพราะฉะนั้น พึงเจริญมุทิตาไปโดยปราศจากความกลัวต่อข้าศึกนั้น ข้อที่ว่า บุคคลจักเป็นผู้ชื่นชมยินดี และจักเบื่อหน่ายในเสนาสนะอันสงัดและในกุศลธรรมอันยิ่งพร้อมกัน ดังนี้ มิใช่ฐานะที่เป็นได้.

    อัญญาณุเบกขา ที่อาศัยเรือน ที่ตรัสโดยนัยเป็นต้น ว่า เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ อุเบกขาจึงเกิดขึ้นแก่ปุถุชนคนโง่เขลา ยังไม่ชนะกิเลส ยังไม่ชนะวิบาก ไม่เห็นโทษ ไม่ได้สดับ เป็นคนหนาแน่น อุเบกขาเช่นนี้นั้น ไม่ละเลยรูปไปได้ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า อุเบกขาอาศัยเรือน ดังนี้ เป็นข้าศึกใกล้ของอุเบกขาพรหมวิหาร เพราะเป็นธรรมเสมอกันด้วยอํานาจแห่งการไม่ใคร่ครวญถึงโทษและคุณ ราคะและปฏิฆะเป็นข้าศึกไกล เพราะเป็นวิสภาคะต่อสภาคะ เพราะฉะนั้น พึงแผ่อุเบกขาไปโดยปราศจากความกลัวแต่ข้าศึกนั้น ขึ้นชื่อว่า บุคคลจักแผ่อุเบกขาไป จักยินดี จักโกรธพร้อมๆ กันนั้น มิใช่เหตุที่มีได้.

    อนึ่ง ความพอใจใคร่เพื่อจะทํา (กตฺตุกมฺยตาฉนฺโท) เป็นเบื้องต้นการข่มนิวรณ์เป็นต้น เป็นท่ามกลาง อัปปนาเป็นปริโยสานของพรหมวิหารเหล่านั้นแม้ทั้งหมด สัตว์ตนหนึ่ง หรือมาก เป็นอารมณ์ของพรหมวิหารนั้นโดยบัญญัติธรรม อารมณ์บัญญัติธรรมนั้น เมื่อถึงอุปจาระหรืออัปปนาแล้วจึงขยายอารมณ์ได้

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 533

    ในอธิการว่าด้วยพรหมวิหารนั้น มีลําดับแห่งการขยายอารมณ์ ดังต่อไปนี้. พระโยคาวจรพึงกําหนดอาวาสหนึ่งก่อนทีเดียวแล้ว พึงเจริญเมตตาไปในสัตว์ทั้งหลายในอาวาสนี้นั้น โดยนัยว่า สตฺตา อเวรา โหนฺตุ ขอให้สัตว์ทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่มีเวรเถิด ดังนี้เป็นต้น เหมือนชาวนาผู้ฉลาดกําหนดสถานที่ตนพึงไถแล้วจึงไถ ฉะนั้น พระโยคาวจรพึงทําจิตให้อ่อนและควรแก่การงานในอาวาสนั้น แล้วพึงกําหนดอาวาส ๒ แห่ง จากนั้นก็กําหนดอาวาส ๓ แห่ง ๔ แห่ง ๕ แห่ง ๖ แห่ง ๗ แห่ง ๘ แห่ง ๙ แห่ง ตรอกหนึ่ง กึ่งหมู่บ้าน หนึ่งหมู่บ้าน ชนบทหนึ่ง รัฐหนึ่ง ทิศหนึ่ง จนกระทั่งจักรวาลหนึ่ง หรือยิ่งกว่านั้น แล้วเจริญเมตตาไปในสัตว์นั้นๆ กรุณาพรหมวิหารเป็นต้นก็เหมือนกัน นี้เป็นลําดับแห่งการขยายอารมณ์ในพรหมวิหาร ๔ ดังนี้.

    ในพรหมวิหาร ๔ เหล่านี้ อุเบกขาพรหมวิหารเป็นผลไหลออกของพรหมวิหาร ๓ ข้างต้น เหมือนรูปสมาบัติเป็นผลไหลออกของกสิณทั้งหลาย เนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นผลไหลออกของอรูปสมาธิ ผลสมาบัติเป็นผลไหลออกของวิปัสสนา นิโรธสมาบัติเป็นผลไหลออกของสมถะและวิปัสสนาฉะนั้น เหมือนอย่างว่า บุคคลสร้างบ้านยังไม่ได้ยกเสาทั้งหลายขึ้นตั้ง ยังมิได้ยกขื่อและอกไก่ ก็ไม่สามารถจะยกยอดเรือนและกลอนหลังคาตั้งไว้ในอากาศได้ฉันใด พระโยคาวจรเว้นตติยฌานที่เกิดขึ้นในเบื้องต้น ก็ไม่อาจเพื่อจะเจริญจตุตถฌานได้ฉันนั้น ก็แต่ว่า อุเบกขาพรหมวิหารนี้ ย่อมไม่เกิดขึ้นแม้แก่บุคคลผู้ยังตติยฌานให้เกิดขึ้นแล้วในกสิณทั้งหลาย เพราะเป็นอารมณ์มีส่วนไม่เสมอกัน.

    ก็ในพรหมวิหารเหล่านั้น หากจะมีคําถามว่า เพราะเหตุไร เมตตากรุณามุทิตาอุเบกขาจึงตรัสเรียกว่า พรหมวิหาร? เพราะเหตุไร พรหมวิหาร

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 534

จึงมี ๔ และลําดับของพรหมวิหารเหล่านั้นเป็นอย่างไร? เพราะเหตุไร ในวิภังค์ จึงตรัสเรียกว่า เป็นอัปปมัญญาเล่า?

    ตอบว่าความเป็นพรหมวิหารในธรรมมีเมตตาเป็นต้นเหล่านี้พึงทราบด้วยอรรถว่าประเสริฐ และความเป็นธรรมไม่มีโทษก่อน.

    จริงอยู่ ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่อันประเสริฐ เพราะเป็นความปฏิบัติโดยชอบในสัตว์ทั้งหลาย ก็พรหมทั้งหลายมีจิตปราศจากโทษอยู่ฉันใด พระโยคีทั้งหลายผู้ประกอบด้วยพรหมวิหารเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้เสมอกับพรหมอยู่ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกธรรมเหล่านั้นว่าพรหมวิหาร เพราะอรรถว่าประเสริฐและความเป็นธรรมปราศจากโทษ.

    ส่วนปัญหามีคําว่า เพราะเหตุไร จึงเป็น ๔ เป็นต้น มีคําวิสัชนาดังนี้ว่า

    พรหมวิหาร ชื่อว่ามี ๔ เพราะเป็นทางหมดจดเป็นต้น อนึ่ง ลําดับแห่งพรหมวิหารเหล่านั้นย่อมมี เพราะอาการมีประโยชน์เกื้อกูลเป็นต้น และพรหมวิหารเหล่านั้น ย่อมเป็นไปในอารมณ์ไม่มีประมาณ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าอัปปมัญญา ดังนี้.

    จริงอยู่ บรรดาพรหมวิหารเหล่านั้น เมตตาเป็นทางหมดจดของบุคคลผู้มากด้วยพยาบาท กรุณาเป็นทางหมดจดของบุคคลผู้มากด้วยวิหิงสา มุทิตาเป็นทางหมดจดของบุคคลผู้มากด้วยอรติ อุเบกขาเป็นทางหมดจดของบุคคลผู้มากด้วยราคะ.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 535

    อนึ่ง มนสิการในสัตว์ทั้งหลายของพรหมวิหารก็มี ๔ อย่างนั่นแหละ ด้วยอํานาจการน้อมเข้าไปซึ่งประโยชน์เกื้อกูล ๑ การนําออกซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ๑ การพลอยยินดีด้วยสมบัติผู้อื่น ๑ และการไม่ผูกใจ ๑.

    เหมือนอย่างว่า มารดามีลูก ๔ คน บรรดาลูก ๔ คนเป็นเด็กคนหนึ่งเป็นคนป่วยคนหนึ่ง เป็นหนุ่มสาวคนหนึ่งและกําลังประกอบกิจทั้งปวงคนหนึ่ง มารดาย่อมปรารถนาให้ลูกคนเล็กเจริญเติบโต มีความปรารถนากําจัดความป่วยไข้ของลูกที่ป่วย มีความปรารถนาให้ลูกผู้เป็นหนุ่มสาวดํารงอยู่ในสมบัติแห่งความเป็นหนุ่มสาวตลอดกาลนาน และไม่ได้ขวนขวายกิจการงานในการงานอะไรของลูกคนที่ประกอบการแล้ว ฉันใด แม้พระโยคาวจรผู้มีอัปปมัญญาเป็นเครื่องอยู่ก็ฉันนั้น พึงเจริญไปด้วยอํานาจแห่งอัปปมัญญามีเมตตาเป็นต้นในสัตว์ทั้งปวง เพราะฉะนั้น อัปปมัญญาจึงมี ๔ อย่าง เพราะอํานาจแห่งทางหมดจดเป็นต้นนี้.

    ก็พระโยคาวจรผู้ใคร่จะเจริญอัปปมัญญาเหล่านั้นแม้ทั้ง ๔ พึงปฏิบัติในสัตว์ทั้งหลายด้วยอํานาจแห่งความเป็นไปด้วยอาการอันเป็นประโยชน์เกื้อกูลก่อน ด้วยว่า เมตตามีการเป็นไปแห่งอาการเกื้อกูลแก่สัตว์เป็นลักษณะ แต่นั้นก็พึงปฏิบัติในสัตว์ทั้งหลาย ด้วยอํานาจความเป็นไปแห่งอาการที่เห็น หรือได้ฟัง หรือกําหนดสัตว์ทั้งหลายผู้อันความทุกข์ครอบงําที่ตนปรารถนาจะเกื้อกูลด้วยประการฉะนี้แล้วช่วยนําทุกข์ออกไป ด้วยว่ากรุณา มีการเป็นไปแห่งอาการนําทุกข์ออกไปเป็นลักษณะ ลําดับนั้น ก็พึงปฏิบัติในสัตว์ทั้งหลาย ด้วยอํานาจความยินดีในสมบัติ เพราะเห็นสมบัติ (คือการถึงพร้อม) แห่งสัตว์ที่ตน

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 536

ปรารถนาเกื้อกูลแล้ว มีทุกข์ไปปราศแล้วเหล่านั้น ด้วยว่า มุทิตามีการบันเทิงใจต่อสมบัติผู้อื่นเป็นลักษณะ เบื้องหน้าแต่นั้น ก็พึงปฏิบัติในสัตว์ทั้งหลายโดยอาการแห่งความเป็นกลาง กล่าวคือ ความเป็นผู้วางเฉย เพราะความไม่มีกิจที่พึงทําอีก ด้วยว่า อุเบกขามีความเป็นไปแห่งอาการแห่งความเป็นกลางเป็นลักษณะ เพราะฉะนั้น จึงตรัสเมตตาไว้ก่อน ด้วยอํานาจแห่งความเป็นไปด้วยอาการมีการเกื้อกูลเป็นต้น ต่อจากนั้นก็พึงทราบว่า ลําดับนี้ คือ กรุณา มุทิตา และอุเบกขาโดยประการดังกล่าวมานี้.

    ก็อัปปมัญญาเหล่านี้ทั้งหมดย่อมเป็นไปในอารมณ์ไม่มีประมาณ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า จริงอยู่ สัตว์ไม่มีประมาณเป็นอารมณ์ของอัปปมัญญาเหล่านี้ และพึงเจริญเมตตาเป็นต้นไปในประเทศเท่านี้ต่อสัตว์หนึ่งดังนี้แล้ว ไม่ถือเอาประมาณอย่างนี้ แล้วให้เป็นไปด้วยอํานาจแห่งการแผ่ไปทั้งสิ้นนั่นแหละ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า อัปปมัญญา ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า

    พรหมวิหาร ชื่อว่ามี ๔ เพราะเป็นทางหมดจดเป็นต้น อนึ่ง ลําดับแห่งพรหมวิหารเหล่านั้นย่อมมี เพราะอาการมีประโยชน์เกื้อกูลเป็นต้น และพรหมวิหารเหล่านั้น ย่อมเป็นไปในอารมณ์ไม่มีประมาณเพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าอัปปมัญญาดังนี้

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 537

    ก็อัปปมัญญาเหล่านั้น แม้มีอารมณ์เป็นลักษณะอย่างเดียวกัน โดยความเป็นอารมณ์ไม่มีประมาณอย่างนี้ แต่อัปปมัญญา ๓ ข้างต้นย่อมเป็นไปในฌาน ๓ และฌาน ๔. เพราะเหตุไร เพราะฌานเหล่านั้นยังไม่ปราศจากโสมนัส. ก็เพราะเหตุไร อัปปมัญญา ๓ ข้างต้น จึงยังไม่ปราศจากโสมนัส เพราะอัปปมัญญา ๓ ข้างต้นเป็นธรรมสลัดพยาบาทเป็นต้น อันมีโทมนัสเป็นสมุฏฐานออกไป ส่วนอัปปมัญญาข้อสุดท้ายฌานเดียวที่ไม่มีโสมนัสเหลือ เพราะเหตุไร เพราะประกอบด้วยอุเบกขาเวทนา จริงอยู่ อุเบกขาในพรหมวิหารเป็นไปโดยอาการเป็นกลางในสัตว์ทั้งหลาย เว้นอุเบกขาเวทนา ย่อมเป็นไปไม่ได้เลย.

    พรหมวิหารกถาจบ