พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

บาลีนิทเทส

  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 356

บาลีนิทเทสวาร

[๑๗] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า ผัสสะมีในสมัยนั้น.

[๑๘] เวทนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เวทนา มีในสมัยนั้น.

[๑๙] สัญญา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การจํา กิริยาที่จํา ความจํา อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัญญามีในสมัยนั้น.

[๒๐] เจตนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การคิด กิริยาที่คิด ความคิด อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เจตนามีในสมัยนั้น.

[๒๑] จิต มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ (๑) มโน มนายตนะ มนินทรีย์วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตมีในสมัยนั้น.


(๑) ธรรมชาติที่ผ่องใส

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 357

[๒๒] วิตก มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดําริ ความที่จิตแนบอยู่ในอารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ สัมมาสังกัปปะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิตกมีในสมัยนั้น.

[๒๓] วิจาร มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา ความที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งอารมณ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าวิจารมีในสมัยนั้น.

[๒๔] ปีติ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความอิ่มใจ ความปราโมทย์ ความยินดียิ่ง ความบันเทิง ความร่าเริง ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความตื่นแต้น ความที่จิตชื่นชมยินดี ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า ปีติมีในสมัยนั้น.

[๒๕] สุข มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัสในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สุขมีในสมัยนั้น.

[๒๖] เอกัคคตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดํารงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เอกัคคตามีในสมัยนั้น.

[๒๗] สัทธินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 358

ศรัทธา กิริยาที่เชื่อ ความปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง ศรัทธาอินทรีย์คือศรัทธา สัทธาพละ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัทธินทรีย์มีในสมัยนั้น.

[๒๘] วิริยินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ อินทรีย์คือวิริยะ วิริยพละ สัมมาวายามะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิริยินทรีย์ในสมัยนั้น.

[๒๙] สตินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจําความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ อินทรีย์คือสติ สติพละ สัมมาสติในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สตินทรีย์มีในสมัยนั้น.

[๓๐] สมาธินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดํารงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบอินทรีย์คือสมาธิ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าสมาธินทรีย์มีในสมัยนั้น.

[๓๑] ปัญญินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกําหนดหมาย ความเข้าไปกําหนด ความเข้าไปกําหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 359

ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทําลายกิเลส ปัญญาเครื่องนําทาง ความเห็นแจ้งความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญาอินทรีย์คือปัญญา ปัญญาพละปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือ ปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ปัญญินทรีย์มีในสมัยนั้น.

[๓๒] มนินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ อินทรีย์ คือมโนวิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า มนินทรีย์มีในสมัยนั้น.

[๓๓] โสมนัสสินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัสในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า โสมนัสสินทรีย์มีในสมัยนั้น.

[๓๔] ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

อายุ ความดํารงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิตินทรีย์คือชีวิตของนามธรรมนั้นๆ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ชีวิตินทรีย์มีในสมัยนั้น.

[๓๕] สัมมาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรมความกําหนดหมาย ความเข้าไปกําหนด ความเข้าไปกําหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 360

ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทําลายกิเลส ปัญญาเครื่องนําทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม ความเห็นชอบ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิมีในสมัยนั้น.

[๓๖] สัมมาสังกัปปะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดําริ ความที่จิตแนบอยู่ในอารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ ความดําริชอบ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาสังกัปปะมีในสมัยนั้น.

[๓๗] สัมมาวายามะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ ความพยายามชอบ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาวายามะมีในสมัยนั้น.

[๓๘] สัมมาสติ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจํา ความไม่เลื่อนลอย ควานไม่ลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ ความระลึกชอบในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาสติมีในสมัยนั้น.

[๓๙] สัมมาสมาธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 361

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดํารงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบสมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งมั่นชอบ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าสัมมาสมาธิมีในสมัยนั้น.

[๔๐] สัทธาพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ศรัทธา กิริยาที่เชื่อ กิริยาที่ปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง ศรัทธาสัทธินทรีย์ กําลังคือศรัทธา ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัทธาพละ มีในสมัยนั้น.

[๔๑] วิริยพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระวิริยะวิริยินทรีย์กําลังคือวิริยะ สัมมาวายามะในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิริยพละ มีในสมัยนั้น.

[๔๒] สติพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจํา ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ กําลังสติ สัมมาสติ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สติพละมีในสมัยนั้น.

[๔๓] สมาธิพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดํารงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 362

สมาธินทรีย์กําลังคือสมาธิสัมมาสมาธิในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมาธิพละมีในสมัยนั้น.

[๔๔] ปัญญาพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกําหนดหมาย ความเข้าไปกําหนด ความเข้าไปกําหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทําลายกิเลส ปัญญาเครื่องนําทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ กําลังคือปัญญา ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ปัญญาพละ มีในสมัยนั้น.

[๔๕] หิริพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

กิริยาที่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าละอาย กิริยาที่ละอายต่อการประกอบอกุศลบาปกรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าหิริพละมีในสมัยนั้น.

[๔๖] โอตัปปพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

กิริยาที่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัว กิริยาเกรงกลัวต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลายในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าโอตัปปพละมีในสมัยนั้น.

[๔๗] อโลภะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ความไม่โลภ การไม่กําหนัด กิริยาที่ไม่กําหนัด ความไม่กําหนัด ความไม่เพ่งเล็ง กุศลมูลคืออโลภะ ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า อโลภะมีในสมัยนั้น

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 363

[๔๘] อโทสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ความไม่คิดประทุษร้าย ความไม่พยาบาท ความไม่คิดเบียดเบียน กุศลมูลคืออโทสะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อโทสะมีในสมัยนั้น.

[๔๙] อโมหะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัยความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกําหนดหมาย ความเข้าไปกําหนด ความเข้าไปกําหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทําลายกิเลส ปัญญาเครื่องนําทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิกุศลมูลคือ อโมหะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อโมหะมีในสมัยนั้น.

[๕๐] อนภิชฌา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ความไม่โลภ การไม่กําหนัด กิริยาที่ไม่กําหนัด ความไม่กําหนัด ความไม่เพ่งเล็ง กุศลมูลคืออโลภะ ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า อนภิชฌามีในสมัยนั้น.

[๕๑] อัพยาปาทะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ความไม่คิดประทุษร้าย ความไม่พยาบาท ความไม่คิดเบียดเบียน กุศลมูลคืออโทสะ ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า อัพยาปาทะ มีในสมัยนั้น.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 364

[๕๒] สัมมาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกําหนดหมาย ความเข้าไปกําหนด ความเข้าไปกําหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทําลายกิเลส ปัญญาเครื่องนําทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม ความเห็นชอบ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิมีในสมัยนั้น.

[๕๓] หิริมีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

กิริยาที่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าละอาย กิริยาที่ละอายต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าหิริมีในสมัยนั้น.

[๕๔] โอตตัปปะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

กิริยาที่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัว กิริยาที่เกรงกลัวต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าโอตตัปปะมีในสมัยนั้น.

[๕๕] กายปัสสัทธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การสงบ การสงบระงับ กิริยาที่สงบ กิริยาที่สงบระงับ ความสงบระงับแห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า กายปัสสัทธิมีในสมัยนั้น.

[๕๖] จิตตปัสสัทธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 365

การสงบ การสงบระงับ กิริยาที่สงบ กิริยาที่สงบระงับ ความสงบระงับแห่งวิญญาณขันธ์ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตตปัสสัทธิมีในสมัยนั้น.

[๕๗] กายลหุตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความเบา ความรวดเร็ว ความไม่เชื่องช้า ความไม่กระด้าง แห่งเวทนาขันธ์สัญญาขันธ์สังขารขันธ์ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่ากายลหุตามีในสมัยนั้น.

[๕๘] จิตตลหุตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความเบา ความรวดเร็ว ความไม่เชื่องช้า ความไม่กระด้าง แห่งวิญญาณขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตตลหุตามีในสมัยนั้น.

[๕๙] กายมุทุตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความอ่อน ภาวะที่อ่อน ความไม่กักขฬะ ความไม่แข็ง แห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์สังขารขันธ์ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่ากายมุทุตามีในสมัยนั้น.

[๖๐] จิตตมุทุตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความอ่อน ภาวะที่อ่อน ความไม่กักขฬะ ความไม่แข็ง แห่งวิญญาณขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าจิตตมุทุตามีในสมัยนั้น.

[๖๑] กายกัมมัญญตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

กิริยาที่ควรแก่การงาน ความควรแก่การงาน ภาวะที่ควรแก่การงานแห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่ากายกัมมัญญตา มีในสมัยนั้น.

[๖๒] จิตตกัมมัญญตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 366

กิริยาที่ควรแก่การงาน ความควรแก่การงาน ภาวะที่ควรแก่การงานแห่งวิญญาณขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตตกัมมัญญตามีในสมัยนั้น.

[๖๓] กายปาคุญญตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

กิริยาที่คล่องแคล่ว ความคล่องแคล่ว ภาวะที่คล่องแคล่วแห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า กายปาคุญญตามีในสมัยนั้น.

[๖๔] จิตตปาคุญญตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

กิริยาที่คล่องแคล่ว ความคล่องแคล่ว ภาวะที่คล่องแคล่ว แห่งวิญญาณขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตตปาคุญญตา มีในสมัยนั้น.

[๖๕] กายุชุกตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความตรง กิริยาที่ตรงความไม่คด ความไม่โค้ง ความไม่งอ แห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า กายุชุกตามีในสมัยนั้น.

[๖๖] จิตตุชุกตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความตรง กิริยาที่ตรง ความไม่คด ความไม่โค้ง ความไม่งอ แห่งวิญญาณขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตตุชุกตา มีในสมัยนั้น.

[๖๗] สติ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจํา ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า สติมีในสมัยนั้น.

[๖๘] สัมปชัญญะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 367

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกําหนดหมาย ความเข้าไปกําหนด ความเข้าไปกําหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทําลายกิเลส ปัญญาเครื่องนําทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมปชัญญะ มีในสมัยนั้น.

[๖๔] สมถะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดํารงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบสมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมถะมีในสมัยนั้น.

[๗๐] วิปัสสนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกําหนดหมาย ความเข้าไปกําหนด ความเข้าไปกําหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทําลายกิเลส ปัญญาเครื่องนําทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิปัสสนา มีในสมัยนั้น.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 368

[๗๑] ปัคคาหะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ปัคคาหะ มีในสมัยนั้น.

[๗๒] อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดํารงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิตความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบสมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อวิกเขปะมีในสมัยนั้น (๑) หรือว่า นามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น. สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ปทภาชนีย์ จบ

ปฐมภาณวาร จบ


(๑) คําว่า หรือว่า นามธรรม ฯลฯ ธรรมเป็นกุศล. ฉบับบาลีไทยและพม่าไม่มีข้อ ของกรมเป็นข้อ ๗๓ ข้อในบาลีกับแปลจึงไม่ตรงกันหลายข้อ.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 369

อรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์

บัดนี้ ทรงประสงค์จะจําแนกบทวาระว่าด้วยธัมมุทเทส (หัวข้อธรรม) ๕๖ ที่ยกขึ้นสู่พระบาลีเหล่านั้นทั้งหมด จึงทรงเริ่มนิทเทสวารโดยนัยมีอาทิว่า กตโม ตสฺมึ สมเย ผสฺโส โหติ (ผัสสะย่อมมีในสมัยนั้น เป็นไฉน) ดังนี้ ควรทราบเนื้อความนี้แห่งคําถามในนิทเทสนั้นก่อนแล้วพึงทราบใจความในคําถามทั้งหมดโดยนัยมีอาทิว่า กามาวจรมหากุศลจิตสหรคตด้วยโสมนัสเป็นอสังขาริกเกิดขึ้นในสมัยใด ผัสสะใดก็ย่อมมีในสมัยนั้นดังนี้ จึงตรัสว่า ผัสสะมีในสมัยนั้นเป็นไฉน? ดังนี้.

คําว่า ผัสสะใดย่อมมีในสมัยนั้น ความว่า ผัสสะอันใดที่เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งธรรมที่สัมผัส (กระทบ) ในสมัยนั้น คําว่า ผัสสะนี้นั้นชื่อว่าเป็นบทสภาวธรรมเพราะแสดงสภาวะของผัสสะ. คําว่า ผุสนา ได้แก่อาการที่ถูกต้อง คําว่า สมฺผุสนา คืออาการที่กระทบพร้อมกันนั่นแหละทรงเพิ่มบทอุปสรรคแล้วตรัสว่า สมฺผุสนา. คําว่า สมฺผุสิตตฺตํ ได้แก่ภาวะที่ถูกกระทบกันแล้ว. ก็ในนิทเทสวารนี้ มีคําประกอบความดังต่อไปนี้ว่า

ผัสสะอันใดด้วยการถูกต้องย่อมมีในสมัยนั้น ผุสนา (กิริยาที่กระทบ) อันใดย่อมมีในสมัยนั้น สมฺผุสนา (อาการที่กระทบพร้อมกัน) อันใดย่อมมีในสมัยนั้น สมฺผุสิตตฺตํ (ภาวะที่ถูกกระทบพร้อมกัน) อันใดย่อมมีในสมัยนั้น อีกอย่างหนึ่ง ผัสสะอันใดย่อมมีด้วยสามารถแห่งธรรมที่กระทบกัน โดยปริยายอื่นท่านเรียกว่า ผุสนา สัมผุสนา สัมผุสิตัตตา สภาวะนี้ชื่อว่า ผัสสะย่อมมีในสมัยนั้นดังนี้. ในนิทเทสทั้งหลายแม้แห่งธรรมมีเวทนา

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 370

เป็นต้น พึงทราบโยชนาเฉพาะบทโดยนัยนี้ ส่วนข้อวินิจฉัยในการจําแนกบทที่ทั่วไปในบททั้งหมดในนิทเทสวาร ดังต่อไปนี้

    พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงจําแนกกามาวจรมหากุศลจิตดวงที่หนึ่งแล้ว เมื่อจะทรงจําแนกออกไป จึงวางบทธรรมไว้เกิน ๕๐ บทด้วยอํานาจแห่งมาติกาแล้ว จึงทรงยกขึ้นทีละบทจําแนกอีก บทธรรมเหล่านั้น เมื่อถึงการจําแนกย่อมถึงการจําแนกด้วยเหตุ ๓ ประการ บทธรรมเหล่านั้นเมื่อแตกต่างกันก็ย่อมแตกต่างกันด้วยเหตุ ๔ ประการ. ก็ในนิทเทสวารนี้ การแสดงโดยประการอื่น ย่อมได้ฐานะ ๒ ประการได้อย่างไร จริงอยู่ บทเหล่านั้นย่อมถึงการจําแนกด้วยเหตุ ๓ ประการเหล่านั้น คือด้วยอํานาจพยัญชนะ ๑ ด้วยอํานาจอุปสรรค ๑ ด้วยอํานาจอรรถะ ๑.

    บรรดาเหตุ ๓ ประการเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบถึงการจําแนกด้วยสามารถแห่งพยัญชนะอย่างนี้ว่าความโกรธ (โกโธ) กิริยาที่โกรธ (กุชฺฌนา) ความเป็นผู้โกรธ (กุชฺฌิตตฺตํ) ความประทุษร้าย (โทโส) กิริยาที่ประทุษร้าย (ทุสฺสนา) ความเป็นผู้ประทุษร้าย (ทุสฺสิตฺตํ) จริงอยู่ ในเหตุเหล่านี้ความโกรธอย่างเดียวเท่านั้นถึงการจําแนกอย่างนี้ด้วยอํานาจแห่งพยัญชนะ.

    ส่วนการจําแนกด้วยสามารถแห่งอุปสรรคพึงทราบอย่างนี้ว่า จาโร (การเที่ยวไป) วิจาโร (การพิจารณา) อนุวิจาโร (การตามพิจารณา) อุปวิจาโร (การเข้าไปพิจารณา) พึงทราบถึงการจําแนกด้วยอํานาจแห่งอรรถะอย่างนี้ว่า ปณฺฑิจฺจํ (ความเป็นบัณฑิต) โกสลฺลํ (ความเป็นคนฉลาด) เนปุฺํ (ความเฉลียวฉลาด) เวภพฺยา (ความเป็นผู้รู้แจ้ง) จินฺตา (ความคิด) อุปปริกฺขา (ความใคร่ครวญ) บรรดาการจําแนกบทธรรมเหล่า

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 371

นั้น การจําแนกแม้ทั้ง ๓ เหล่านั้นย่อมได้ในนิทเทสแห่งบทผัสสะก่อน จริงอยู่คําว่า ผสฺโส ผุสนา ได้แก่การจําแนกด้วยพยัญชนะคําว่า สมผุสนา ได้แก่การจําแนกด้วยอุปสรรค. คําว่า สมฺผุสิตตฺตํ ได้แก่การจําแนกด้วยอรรถะ. พึงทราบการจําแนกในนิทเทสบททั้งปวงโดยนัยนี้.

    ส่วนธรรมทั้งหลายแม้เมื่อมีบทต่างกัน ชื่อว่า ย่อมต่างกันด้วยเหตุประการเหล่านั้น คือ ความต่างกันโดยชื่อ ความต่างกันโดยลักษณะความต่างกันโดยกิจ (หน้าที่) ความต่างกันโดยการปฏิเสธ บรรดาความต่างกันเหล่านั้น พึงทราบความต่างกันโดยชื่ออย่างนี้ในที่นี้ว่า ความพยาบาทมีในสมัยนั้นเป็นไฉน? ความประทุษร้าย กิริยาที่ประทุษร้ายอันใดมีในสมัยนั้นดังนี้ ธรรมเหล่านี้แม้ทั้ง ๒ คือ ความพยาบาท หรือโทสะก็คือความโกรธนั่นเอง แต่ถึงความต่างกันโดยชื่อ อนึ่ง ธรรมแม้ ๕ อย่างชื่อว่า ขันธ์ เพราะอรรถว่า เป็นกอง ธรรมหนึ่งเท่านั้นก็เรียกว่า ขันธ์ ก็ขันธ์ ๕ ย่อมมีความต่างกันโดยลักษณะนี้ คือ ในบรรดาขันธ์ ๕ เหล่านี้ รูปมีความย่อยยับไปเป็นลักษณะเวทนามีการเสวยอารมณ์เป็นลักษณะ สัญญามีการจําอารมณ์เป็นลักษณะ เจตนามีการกระตุ้นเตือนสัมปยุตตธรรมเป็นลักษณะ วิญญาณมีการรู้อารมณ์เป็นลักษณะ ว่าโดยความต่างกันแห่งกิจ ความเพียรอย่างเดียวเท่านั้นมาแล้วในฐานะทั้ง ๔ อย่างนี้ว่า สัมมัปปธาน ๔ คือ ภิกษุในศาสนานี้ ทําฉันทะให้เกิด ประคองจิตไว้ทําความเพียร ฯลฯ เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังมิเกิดมิให้เกิดขึ้น พึงทราบความต่างกันด้วยสามารถความต่างกันด้วยกิจ ด้วยประการฉะนี้. ก็พึงทราบความต่างกันด้วยความต่างกันโดยการปฏิเสธ ในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า อธรรม ๔ ประการคือ ความเป็นผู้หนักในความโกรธมิใช่เป็นผู้หนักในสัทธรรม ๑ ความเป็นผู้หนักในความลบหลู่

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 372

มิใช่หนักในสัทธรรม ๑ ความเป็นผู้หนักในลาภมิใช่หนักในสัทธรรม ๑ ความเป็นผู้หนักในสักการะมิใช่หนักในสัทธรรม ๑ ดังนี้.

    ก็ความต่างกัน ๔ อย่างเหล่านั้น ย่อมได้ในผัสสะเท่านั้นก็หาไม่ ย่อมได้ในธรรมแม้ทั้งหมดอันเป็นหมวด ๕ มีผัสสะเป็นต้น จริงอยู่ คําว่า ผสฺโส เป็นชื่อของผัสสะ ฯลฯ คําว่า จิตฺตํ เป็นชื่อของจิต (นี้เรียกว่าต่างกันโดยชื่อ) ก็ผัสสะมีการถูกต้องเป็นลักษณะ เวทนามีการเสวยอารมณ์เป็นลักษณะ สัญญามีการจําอารมณ์เป็นลักษณะ เจตนามีการกระตุ้นเตือนสัมปยุตตธรรมเป็นลักษณะ วิญญาณมีการริอารมณ์เป็นลักษณะ (นี้เรียกว่าต่างกันโดย ลักษณะ) อนึ่ง ผัสสะมีการถูกต้องเป็นกิจเท่านั้น เวทนามีการเสวยอารมณ์เป็นกิจ สัญญามีการจําอารมณ์เป็นกิจ เจตนามีการกระตุ้นเตือนเป็นกิจ วิญญาณมีการรู้อารมณ์เป็นกิจ พึงทราบความต่างกัน แห่งกิจอย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.

    ความต่างกันในการปฏิเสธในธรรมหมวด ๕ แห่งผัสสะไม่มี. แต่ในนิทเทสแห่งธรรมมีอโลภะเป็นต้น พึงทราบความต่างกันด้วยสามารถแห่งความปฏิเสธอย่างนี้ว่า บุคคลย่อมโลภโดยนัยเป็นต้นว่า ความไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ความเป็นผู้ไม่โลภ พึงทราบความต่างกันแม้ทั้ง ๔ อย่าง ด้วยสามารถแห่งบทที่มีอยู่ในนิทเทสบททั้งหมดด้วยประการฉะนี้.

    ส่วนการแสดงโดยปริยายอื่นอีก ย่อมได้ ๒ ฐานะอย่างนี้คือ ปทัตถูติ (บทสดุดี) ทัฬหีกรรม (บทที่ย้ำความ) จริงอยู่ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคําว่า ผัสสะเพียงครั้งเดียว ประดุจการกดปลายไม้เท้าลง บทเดียวยังไม่ชื่อว่าการประดับแล้วตกแต่งแล้วซึ่งบทสัมผัส เมื่อตรัสบ่อยๆ ว่า ผัสสะ ผุสนา สัมผุสนา สัมผุสิตัตตัง ด้วยสามารถแห่งพยัญชนะ ด้วยสามารถแห่งอุปสรรคด้วยสามารถอรรถ บทนั้นชื่อว่า ประดับแล้วตกแต่งแล้วซึ่งบทผัสสะ เปรียบ

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 373

เหมือนพี่เลี้ยงอาบน้ำให้พระราชกุมารแล้วเอาผ้าที่ชอบใจห่มแล้ว เอาดอกไม้ทั้งหลายประดับแล้ว หยอดยาตาแล้วต่อจากนั้นก็เอามโนศิลา (สีแดง) เจิมหน้าผากเพียงจุดเดียวเท่านั้น เพียงเท่านี้ยังไม่ชื่อว่า มีรอยเจิมที่สวยงาม แต่เมื่อพี่เลี้ยงเอาสีทั้งหลายมาเจิมล้อม จึงชื่อว่า มีรอยเจิมที่สวยงาม ความอุปมาเป็นเครื่องเปรียบเทียบนี้ พึงเห็นฉันนั้นเถิด. นี้ชื่อว่า ปทัตถูติบท. ก็การกล่าวบ่อยๆ นั่นแหละ. ด้วยสามารถแห่งพยัญชนะ อรรถะ และอุปสรรค ชื่อว่า ทัพหีกรรม บทเปรียบเหมือนเมื่อกล่าวว่า อาวุโสก็ดี ภันเตก็ดี ยักษ์ก็ดี งูก็ดี ไม่ชื่อว่ากล่าวย้ำความ แต่เมื่อกล่าวว่า อาวุโส อาวุโส ภันเต ภันเต ยักษ์ยักษ์ งู งู ดังนี้ จึงชื่อว่า กล่าวย้ำความ ฉันใด เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบทว่า ผัสสะก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นดุจการกดปลายไม้เท้า ไม่ชื่อว่าเป็นการย้ำความ แต่เมื่อตรัสบ่อยๆ ว่าผัสสะ ผุสนา สัมผุสนา สัมผุสิตัตตัง ด้วยสามารถแห่งพยัญชนะ อุปสรรคและอรรถนั่นแหละ จึงชื่อเป็นการตรัสย้ำความ การแสดงโดยปริยายอื่นย่อมได้ฐานะ ๒ ด้วยประการฉะนี้. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในบททั้งหมด ในนิทเทสแห่งบทที่มีอยู่ด้วยสามารถแห่งผัสสะแม้นี้เถิด.

คําว่า อยํ ตสมึ สมเย ผสฺโส โหติ ความว่า กามาวจรมหากุศลจิตดวงที่หนึ่งย่อมเกิดขึ้นในสมัยใด ชื่อว่า ผัสสะนี้ย่อมมีในสมัยนั้นการพรรณนานิทเทสบทแห่งผัสสะเพียงเท่านี้ก่อน.

อธิบายเวทนานิทเทสเป็นต้น

ก็ต่อจากนี้ไป ข้าพเจ้าพรรณนาซึ่งเหตุสักความต่างกันในนิทเทสอื่นๆ แห่งบทมีเวทนาเป็นต้น คําที่เหลือพึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในนิทเทสแห่งผัสสะนี้แหละ.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 374

    ในคําว่า ยํ ตสฺมึ สมเย นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มคํามีอาทิว่า เวทนาในสมัยนั้นเป็นไฉน ดังนี้ แม้ก็จริงถึงอย่างนั้นก็ตรัสคําว่า ยํ ไว้ด้วยอํานาจแห่งบทสาตะะ (ความยินดี) เวทนาตรัสเรียกว่า ตัชชา ในคําว่า ตชฺชามโนวิฺาณธาตุสมฺผสฺสชํ นี้ เพราะเหมาะสม สมควรแก่ความสุขอันเป็นที่ยินดีนั้น จริงอยู่ ตัชชาศัพท์นี้มีอรรถว่า เหมาะสมก็มี เหมือนอย่างที่ตรัสว่าตชฺชํ สารูปํ กถํ มนฺเตติ (ชนพูดถ้อยคําพอเหมาะพอสมควร) ดังนี้.

    อีกอย่างหนึ่ง ธรรมที่ชื่อว่า ตัชชา เพราะเกิดแต่ธรรมมีรูปารมณ์เป็นต้นเหล่านั้น และเกิดแต่ปัจจัยแห่งความสุขนี้ก็มี. มโนวิญญาณนั่นแหละชื่อว่า ธาตุ ด้วยอรรถว่าไม่ใช่สัตว์ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า มโนวิญญาณธาตุ. ธรรมใดเกิดแต่สัมผัส หรือเกิดในสัมผัส เพราะเหตุนั้น ธรรมนั้น จึงชื่อว่า สัมผัสสชะ. ชื่อว่า เจตสิกเพราะอาศัยจิต. ชื่อว่า สาตะ เพราะอรรถว่าชอบใจ. คํานี้มีอธิบายว่า เจตสิกที่เกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่ชื่อ ตัชชา โดยความหมายดังที่กล่าวแล้วเป็นความยินดีในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า เวทนาในสมัยนั้นดังนี้. พึงทราบการประกอบกับบททั้งปวงด้วยประการฉะนี้.

    บัดนี้ ในคําว่า เจตสิกํ สุขํ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปฏิเสธสุขทางกายด้วยบทแห่งเจตสิก ทรงปฏิเสธทุกข์ทางใจด้วยบทแห่งสุข. บทว่า เจโตสมฺผสฺสชํ ได้แก่จิตเกิดในสัมผัส. หลายบทว่า สาตํ สุขํ เวทยิตํ ได้แก่ เสวยอารมณ์ที่น่าชอบใจมิใช่อารมณ์ที่ไม่ชอบใจ เสวยอารมณ์ที่เป็นสุขมิใช่อารมณ์ที่เป็นทุกข์. ส่วนสามบทข้างหน้าตรัสไว้ด้วยอิตถีลิงค์. ก็เนื้อความในบททั้ง ๓ นี้มีเพียงเท่านี้ว่า เวทนาที่ชอบใจมิใช่เวทนาที่ไม่ชอบใจ เวทนาที่เป็นสุขมิใช่เวทนาที่เป็นทุกข์.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 375

    ในนิทเทสแห่งสัญญา คําว่า ตชฺชามโนวิฺาณธาตุสมฺผสฺสชา ได้แก่ สัญญาเกิดในสัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุอันสมควรแก่กุศลสัญญานั้น. คําว่า สัญญา เป็นชื่อสภาวะ. คําว่า สฺชานนา ได้แก่ อาการที่จําได้. คําว่า สฺชานิตตฺตํ ได้แก่ภาวะที่จําได้. แม้ในนิทเทสแห่งเจตนาก็พึงทราบโดยนัยนี้.

    ในนิทเทสแห่งจิต ที่ชื่อว่าจิต เพราะความที่จิตเป็นธรรมชาติวิจิตรชื่อว่า มโน เพราะกําหนดรู้อารมณ์. มโนนั่นแหละชื่อว่า มานัส จริงอยู่ในคาถาว่า อนฺตลิกฺขจโร ปาโส ยฺวายํ จรติ มานโส เตน ตํพาธยิสฺสามิ น เม สมณ มโนรมา (บ่วงใดมีใจไปได้ในอากาศ กําลังเที่ยวไป ข้าพระองค์จักคล้องพระองค์ไว้ด้วยบ่วงนั้น สมณะท่านไม่พ้นเรา) นี้ตรัสเรียกธรรมคือราคะที่สัมปยุตด้วยใจว่า มานัส. พระอรหัต ก็ตรัสว่า มานัสดังในพระคาถานี้ว่า

    กถฺหิ ภควา ตุยฺหํ สาวโก สาสเน รโต

    อปตฺตมานโส เสโข กาลํ กยิรา ชเนสุตา.

    ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ปรากฏในหมู่ชน สาวกของพระองค์ยินดีในพระศาสนา ยังไม่บรรลุพระอรหัตเป็นพระเสขบุคคล เพราะเหตุไรเล่า จึงทํากาละเสีย.

    แต่ในนิทเทสนี้ มโนนั่นเองชื่อว่า มานัส เพราะท่านทําบทให้เจริญด้วยพยัญชนะ. คําว่า หทัย อธิบายว่า อก ท่านเรียกว่า หทัย ในคํานี้ว่าเราจักขว้างจิตของท่านไป หรือจักผ่าหทัยของท่านเสีย. จิตเรียกว่า หทัยในประโยคนี้ว่า หทยา หทยํ มฺเ อฺาย ตจฺฉติ (บุตรช่างทํารถ

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 376

ย่อมถากไม้เหมือนจะรู้ใจด้วยใจ) หทัยวัตถุเรียกว่า หทัย ในคํานี้ว่า วกฺกํ หทยํ (ม้าม หัวใจ) แต่ในนิทเทสนี้ จิตเท่านั้นเรียกว่า หทัย เพราะอรรถว่าอยู่ภายใน. จิตนั้นแหละชื่อว่า ปัณฑระ เพราะอรรถว่า บริสุทธิ์. คําว่า ปัณฑระ นี้ หมายเอาภวังคจิต เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายจิตนี้ประภัสสร แต่จิตนั้นแลเศร้าหมองแล้วด้วยอุปกิเลสที่จรมา ดังนี้ อนึ่งแม้กุศลก็ตรัสเรียกว่า ปัณฑระเหมือนกัน เพราะออกจากจิตนั้น เหมือนแม่น้ำคงคาไหลมาจากแม่น้ำคงคา และแม่น้ำโคธาวรีไหลมาจากแม่น้ำโคธวรีฉะนั้น.

    ส่วนศัพท์มโน ในที่นี้ว่า มโน มนายตนํ ดังนี้ เพื่อแสดงมโนนั่นเองว่าเป็นอายตนะ. ด้วยคําว่า มโน มนายตนํ นั้น จึงแสดงบทว่ามโนนั้น. มโนนี้ชื่อว่า มนายตนะ เพราะเป็นอายตนะแห่งใจนั่นแหละ เหมือนคําว่า เทวายตนํ นี้หามิได้ โดยที่แท้อายตนะ คือ มโนนั่นแหละ ชื่อว่ามนายตนะ ในคําว่า มนายตนะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ชื่อว่า อายตนะ เพราะอรรถว่าเป็นที่อาศัยอยู่ เพราะอรรถว่าเป็นบ่อเกิด เพราะอรรถว่าเป็นที่ประชุม เพราะอรรถว่าเป็นถิ่นเกิด เพราะอรรถว่าเป็นการณะ.

    จริงอย่างนั้น สถานที่อยู่ในโลก เรียกว่า อายตนะ ดุจในประโยคมีอาทิว่า ที่อยู่ของพระอิศวร (อิสฺสรายตนํ) ที่อยู่ของวาสุเทพ (วาสุเทวายตนํ) บ่อเกิดเรียกว่า อายตนะ ดุจในประโยคมีอาทิว่า บ่อเกิดแห่งทอง (สุวณฺณายตนํ) บ่อเกิดแห่งรัตนะ (รตนายตนํ) แต่ในศาสนา สถานที่ประชุมเรียกว่า อายตนะ ดุจในประโยคมีอาทิว่า เมื่อสถานที่ประชุมอันเป็นที่รื่นเริงมีอยู่ นกทั้งหลายย่อมพากันเสพที่นั้น. ถิ่นเกิดเรียกว่า อายตนะ ดุจในประโยคมีอาทิว่า ทักขิณาบถ เป็นถิ่นเกิดของโคทั้งหลาย. การณะเรียกว่า

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 377

อายตนะ ดุจในประโยคมีอาทิว่า เธอย่อมถึงความสามารถในธรรมที่ควรทําให้แจ้ง...ในที่นี้นั้นๆ นั่นแหละได้ ในเมื่อมีสติ. ก็ในที่นี้ ย่อมควรแม้ทั้ง ๓ อรรถะ คือ ชื่อว่า อายตนะ เพราะอรรถว่าเป็นถิ่นเกิด เพราะอรรถว่าเป็นสถานที่ประชุม และเพราะอรรถว่าเป็นการณะ (เหตุ) .

    จริงอยู่ ธรรมมีผัสสะเป็นต้น ย่อมเกิดพร้อมกันในมนะนี้ เพราะเหตุนั้น มนะนี้จึงชื่อว่า ความเกิดแห่งอายตนะ แม้เพราะอรรถว่าเป็นถิ่นเกิด. รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะในภายนอก ย่อมประชุมลงในมนะนี้ เพราะเหตุนั้นมนะนี้จึงชื่อว่า อายตนะ แม้อรรถว่าเป็นสถานที่ประชุม. ก็มนะนี้พึงทราบว่าเป็นอายตนะ เพราะอรรถว่าเป็นปัจจัยของผัสสะเป็นต้น มีสหชาตปัจจัยเป็นต้นบ้าง ด้วยอรรถว่าเป็นเหตุ เพราะเป็นการณะบ้าง มนินทรีย์มีอรรถตามที่กล่าวมาแล้วนั่นแหละ.

    ธรรมชาติที่ชื่อว่า วิญญาณ เพราะย่อมรู้แจ้งขันธ์ คือวิญญาณนั่นแหละเรียกว่า วิญญาณขันธ์ พึงทราบเนื้อความแห่งวิญญาณขันธ์นั้น ด้วยอํานาจความเป็นกองเป็นต้น.

    จริงอยู่ ขันธ์พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยความเป็นกอง ในพระบาลีนี้ว่า น้ำในมหาสมุทร ย่อมนับว่าเป็นกองน้ำใหญ่แท้ ดังนี้. ขันธ์ตรัสไว้โดยอรรถว่า คุณ ดังในประโยคมีอาทิว่า คุณคือศีล คุณคือสมาธิดังนี้. ขันธ์ตรัสไว้โดยอรรถว่าเป็นเพียงบัญญัติ ดังในประโยคนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นแล้วแลซึ่งท่อนไม้ใหญ่ดังนี้. แต่ในวิญญาณขันธ์นี้ ตรัสขันธ์ด้วยรุฬหีศัพท์ (คือตามที่เข้าใจกัน) เพราะว่า ส่วนแห่งวิญญาณขันธ์ เรียกว่าวิญญาณดวงหนึ่ง เพราะอรรถว่าเป็นกอง เพราะฉะนั้น วิญญาณแม้ดวงเดียว

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 378

ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งแห่งวิญญาณขันธ์ ท่านก็เรียกว่า วิญญาณขันธ์ ตามที่รู้กัน เหมือนคนตัดส่วนหนึ่งแห่งต้นไม้ ท่านก็เรียกว่า ตัดต้นไม้ฉะนั้น.

    คําว่า ตชฺชมโนวิฺาณธาตุ ได้แก่มโนวิญญาณธาตุอันสมควรแก่ธรรม มีผัสสะเป็นต้น เหล่านั้น. จริงอยู่ ในบทนี้จิตดวงเดียวเท่านั้น ท่านกล่าวชื่อไว้ ๓ อย่าง คือ ชื่อว่า มโน เพราะอรรถว่ากําหนดอารมณ์ ชื่อว่าวิญญาณ เพราะอรรถว่ารู้แจ้ง ชื่อว่าธาตุ เพราะอรรถว่าเป็นสภาวะ หรือเพราะอรรถว่ามิใช่สัตว์.

    ในหมวด ๕ แห่งผัสสะนี้ ตามที่กล่าวมาแล้ว จะกล่าวผัสสะก่อนเพราะเป็นผัสสะเท่านั้น มิใช่ผัสสะที่เกิดด้วยสัมผัสสะที่เป็นตัชชามโนวิญญาณธาตุ และเพราะจิตเป็นตัชชามโนวิญญาณธาตุเท่านั้น เพราะฉะนั้น พระองค์จึงไม่ทรงยกบัญญัติที่เป็นตัชชามโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชา ใน ๒ บทนี้ แต่ก็ใช้ในบทวิตกเป็นต้นได้บ้าง ที่ไม่ยกขึ้นใช้ในนิทเทสนี้ เพราะมิได้กําหนดไว้.

    อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงจําแนกธรรมหมวด ๕ แห่งผัสสะเหล่านี้จําแนกเป็นแต่ละแผนกแล้วทรงยกขึ้นสู่บัญญัติ ชื่อว่า กระทําสิ่งที่ทําได้โดยยาก เมื่อบุคคลใส่น้ำต่างๆ น้ำมันต่างๆ ลงในภาชนะหนึ่งแล้วกวนตลอดวัน การมองดูสี หรือการสูดกลิ่น หรือการลิ้มรสก็อาจรู้ความต่างกันได้ เพราะความต่างกันแห่งสี กลิ่น และรส แม้จะเป็นถึงอย่างนั้น เขาก็กล่าวกันว่า การกระทํานั้นเป็นการกระทําได้ยาก. แต่พระสัมมาสัมพุทธะเมื่อทรงจําแนกธรรมคือจิตและเจตสิกอันไม่ใช่รูปเหล่านี้ ที่เป็นไปในอารมณ์หนึ่งกระทําให้เป็นแผนกๆ แล้วทรงยกขึ้นสู่บัญญัติ ชื่อว่า ทรงกระทําได้ยากอย่างยิ่ง. ด้วยเหตุนั้น พระนาคเสนเถระจึงถวายพระพรพระยามิลินทร์ว่ามหาบพิตร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทําสิ่งที่ทําได้โดยยาก.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 379

    พระยามิลินทร์ : ท่านพระนาคเสน พระผู้มีพระภาคเจ้าทําอะไร ซึ่งทําได้โดยยาก

    พระนาคเสน : มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบอกการกําหนดธรรมคือจิตและเจตสิกอันไม่ใช่รูปเหล่านี้ ที่เป็นไปในอารมณ์เดียวกันว่า นี้เป็นผัสสะ นี้เป็นเวทนา นี้เป็นสัญญา นี้เป็นเจตนา นี้เป็นจิต.

    พระยามิลินทร์ : ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ฟัง.

    พระนาคเสน : มหาบพิตร อุปมาเหมือนคนบางคนข้ามสมุทรด้วยเรือ แล้วใช้อุ้งมือวักน้ำชิมดู ก็พึงทราบหรือหนอว่า นี้น้ำแม่น้ำคงคา นี้น้ำแม่น้ำยมุนา นี้น้ำแม่น้ำอจิรวดี นี้น้ำแม่น้ำสรภู นี้น้ำแม่น้ำมหี.

    พระยามิลินทร์ : ข้าแต่ท่านนาคเสน รู้ได้ยาก.

    พระนาคเสน : มหาบพิตร การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกการกําหนดธรรมคือจิตและเจตสิก ซึ่งไม่ใช่รูปเป็นไปในอารมณ์เดียวกันว่า นี้เป็นผัสสะ ฯลฯ นี้เป็นจิต ชื่อว่า ทรงทําสิ่งที่ทําได้ยากกว่านั้นมาก.

อธิบายวิตกนิทเทสเป็นต้น

    ในนิทเทสแห่งวิตกธรรม ที่ชื่อว่า ตักกะ เพราะตรึก. บัณฑิตพึงทราบความเป็นไปแห่งธรรมที่ชื่อว่า ตักกะนั้น ด้วยสามารถแห่งการตรึกอย่างนี้ว่า ท่านตรึกถึงอะไร? ท่านตรึกถึงหม้อ ตรึกถึงเกวียน ตรึกถึงโยชน์ ตรึกถึงครึ่งโยชน์หรือ นี้เป็นบทแสดงสภาวะของการตรึก. ธรรมที่ชื่อว่า วิตก เพราะอํานาจแห่งการตรึกพิเศษ คําว่า วิตกนี้เป็นชื่อของความตรึกที่มีกําลังมากกว่า. ชื่อว่า สังกัปปะ เพราะการกําหนดอย่างดี. เอกัคคจิต ชื่อว่าอัปปนา เพราะแนบแน่นในอารมณ์. บทที่สองทรงเพิ่มขึ้นด้วยอํานาจอุปสรรคอีกอย่างหนึ่ง อัปปนาที่มีกําลังกว่า ชื่อว่า พยัปปนา. ธรรมชาติที่ชื่อว่า การ

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 380

ยกจิตขึ้น เพราะยกจิต คือตั้งจิตไว้ในอารมณ์. ธรรมที่ชื่อว่า สัมมาสังกัปปะ เพราะเป็นสังกัปปะ (ความดําริ) ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญถึงความเป็นกุศล เพราะเป็นความดําริตามความเป็นจริง และเป็นความดํารินําสัตว์ออกจากวัฏฏะ.

ในนิทเทสแห่งวิจาร ธรรมที่ชื่อว่า จาระ เพราะเที่ยวไปในอารมณ์บทนี้เป็นบทแสดงสภาวะของจาระนั้น ที่ชื่อว่า วิจาร เพราะเที่ยวไปพิเศษชื่อว่า อนุวิจาร เพราะเที่ยวตามไป ชื่อว่า อุปวิจาร เพราะเที่ยวไปใกล้. บทเหล่านั้นท่านเพิ่มมาด้วยอํานาจอุปสรรค. ธรรมที่ชื่อว่า ความสืบต่อจิต เพราะการตั้งจิตสืบต่อไว้ในอารมณ์ ดุจการพาดลูกศรที่สายธนู. ธรรมที่ชื่อว่าการเข้าไปเพ่ง เพราะตั้งอยู่ ดุจการเพ่งอารมณ์.

ในนิทเทสแห่งปีติ บทว่า ปีติ เป็นบทแสดงสภาวะ ภาวะแห่งบุคคลผู้ปราโมทย์แล้ว ชื่อว่า ปาโมชชะ อาการแห่งการบันเทิง ชื่อว่า อาโมทนา อาการที่รื่นเริง ชื่อว่า ปโมทนา. การรวมกันแห่งยาหรือน้ำมัน หรือน้ำร้อนและน้ำเย็นเข้าด้วยกัน ท่านเรียกว่า โมทนา ฉันใด แม้ปีตินี้ก็ฉันนั้น ชื่อว่า โมทนา เพราะรวมธรรมทั้งหลายเข้าด้วยกัน แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประดับคําโมทนาด้วยอุปสรรคแล้ว ตรัสว่า อาโมทนา และปโมทนา ธรรมที่ชื่อว่า หาสะ เพราะร่าเริง คําว่า หาสะ นี้เป็นชื่อของอาการที่ร่าเริงยินดี. ธรรมที่ชื่อว่า วิตตะ เพราะปลื้มใจ คําว่า วิตตะ นี้ เป็นชื่อของทรัพย์ก็ความปลื้มใจนี้ ชื่อว่า วิตติ เพราะเป็นปัจจัยให้เกิดโสมนัส เพราะคล้ายกับความปลื้มใจเหมือนอย่างว่า คนมีทรัพย์อาศัยทรัพย์เกิดโสมนัส ฉันใด คนมีปีติก็อาศัยปีติเกิดโสมนัสขึ้น ฉันนั้น ดังนั้นจึงเรียก ปีติ ว่า วิตติ คําว่า วิตตินี้ เป็นชื่อของปีติดํารงอยู่ด้วยความยินดี. ก็บุคคลผู้มีปีติตรัสเรียกว่าอุทคฺคะ เพราะพุ่งขึ้น

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 381

แห่งกายและจิต คือพุ่งขึ้นสูงแห่งกายและจิต. ภาวะแห่งคนที่มีกายและใจสูงขึ้นเรียกว่า โอทัคคะ ความเป็นผู้มีใจเป็นของตน ชื่อว่า อัตตมนา จริงอยู่ใจของบุคคลผู้ไม่ยินดี (โกรธ) ไม่ชื่อว่า เป็นใจของคน เพราะเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์. อนึ่ง บุคคลยินดีแล้ว ก็ชื่อว่า มีใจเป็นของตน เพราะเป็นเหตุให้เกิดสุข. ด้วยเหตุตามที่กล่าวมานี้ ความเป็นผู้มีใจเป็นของตน จึงชื่อว่าอัตตมนา คือมีใจเป็นของตน. อธิบายว่า ความที่บุคคลเป็นผู้มีใจเป็นของตนก็เพราะความดีใจนั้นมิใช่ของใครอื่น เพราะความเป็นผู้มีใจเป็นของตนเอง คือสภาพนั้น เป็นของจิตนั่นเอง อนึ่ง เพราะความผู้มีใจเป็นของตนนั้น มิใช่เป็นธรรมอื่น คือมิใช่เป็นเจตสิกธรรม ฉะนั้น จึงตรัสว่า ความเป็นผู้มีใจเป็นของตน คือ จิต.

ในนิทเทสแห่งจิตตัสเสกัคคตา ธรรมชาติที่ชื่อว่า ฐิติ เพราะตั้งมั่นในอารมณ์อันไม่หวั่นไหว. สองบทข้างหน้าท่านเพิ่มบทอุปสรรคเข้ามา. อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า สัณฐิติ เพราะประมวลสัมปยุตตธรรมทั้งหลายมาตั้งไว้ด้วยอารมณ์. ที่ชื่อว่า อวัฏฐิติเพราะหยั่งลงสู่อารมณ์ คือเข้าไปแล้วตั้งอยู่. จริงอยู่ ธรรมทั้ง ๔ คือ ศรัทธา สติ สมาธิ ปัญญา ย่อมหยั่งลง คือย่อมปรากฏในฝ่ายกุศล. ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ ธรรมคือศรัทธา พระองค์จึงตรัสว่า โอกัปปนา (การทําใจให้เชื่อมั่น) ตรัสเรียกสติว่า อปิลาปนตา (ความเป็นผู้มีใจไม่ฟันเฟือน) ตรัสเรียกสมาธิว่า อวัฏฐิติ (ความที่ใจตั้งมั่น) ตรัสเรียกปัญญาว่า ปริโยคาหนา (การส่องดู)

ส่วนในฝ่ายอกุศล ธรรม ๓ อย่างคือ ตัณหา ทิฏฐิ และอวิชชา ย่อมหยั่งลงสู่อารมณ์ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ ธรรมเหล่านั้น พระองค์จึงตรัสว่าเป็นโอฆะ แต่ในฝ่ายอกุศลนี้ เอกัคคตาแห่งจิตไม่เป็นสภาพมีกําลัง เปรียบ

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 382

    เหมือนบุคคลเอาน้ำรดในที่มีฝุ่น สถานที่ก็เกลี้ยงฝุ่น ฝุ่นย่อมระงับไปเวลาเล็กน้อย เมื่อฝุ่นแห้ง ฝุ่นก็ตั้งขึ้นเป็นปกติอีก ฉะนั้น. แต่ในฝ่ายกุศล เอกัคคตาแห่งจิตมีกําลังมาก เปรียบเหมือนบุคคลเอาหม้อน้ำลาดนําลงในที่นั้นคลุกเคล้าด้วยจอบ กระทําการทุบขยํา ขัดสีไล้ทาให้ปรากฏเหมือนในเงากระจก แม้จะก้าวเลยไปร้อยปีก็เป็นของวิจิตรเหมือนเวลาครู่หนึ่ง ฉะนั้น.

    ธรรมที่ชื่อว่า อวิสาหาระ เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อความฟุ้งซ่านที่เป็นไปด้วยอํานาจอุทธัจจะและวิจิกิจฉา. จิตที่ดําเนินไปด้วยอํานาจแห่งอุทธัจจะและวิจิกิจฉา ชื่อว่าย่อมฟุ้งซ่าน แต่ความฟุ้งซ่านนี้เช่นอย่างนั้นไม่มี เพราะเหตุนั้นสภาพธรรมนั้นจึงชื่อว่า อวิกเขปะ. จิตที่ชื่อว่า ฟุ้งซ่านไปด้วยอํานาจแห่งอุทธัจจะและวิจิกิจฉาเท่านั้น คือ อุทธัจจะและวิจิกิจฉา ย่อมนําไปทางนี้และทางโน้นได้ แต่อวิกเขปะนี้เป็นภาวะของใจที่ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอาการอย่างนั้นเพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ความเป็นผู้มีใจไม่ฟุ้งซ่าน (อวิสาหฎมานสตา) .

    คําว่า สมถะ ได้แก่สมถะ ๓ อย่าง คือ จิตตสมถะ อธิกรณสมถะ และสัพพสังขารสมถะ

    บรรดาสมถะทั้ง ๓ นั้น เอกัคคตาแห่งจิต (ความที่จิตแน่วแน่) ในสมาบัติ ๘ ชื่อว่า จิตตสมถะ จริงอยู่ เพราะอาศัยจิตตสมถะนั้น ความดิ้นรนแห่งจิต ความหวั่นไหวแห่งจิตย่อมสงบ คือ เข้าไประงับไว้ เพราะฉะนั้นสมถะนั้นจึงตรัสเรียกว่า จิตตสมถะ. สมถะ ๗ อย่างมีสัมมุขาวินัยเป็นต้น ชื่อว่าอธิกรณสมถะ เพราะอาศัยอธิกรณสมถะนั้น อธิกรณ์เหล่านั้นย่อมสงบ คือย่อมระงับไว้ เพราะฉะนั้น สมถะนั้น จึงตรัสเรียกว่า อธิกรณสมถะ. อนึ่งเพราะสังขารทั้งหมด อาศัยพระนิพพานย่อมเข้าไปสงบระงับ ฉะนั้น พระนิพพานนั้น พระองค์จึงตรัสเรียกว่า สัพพสังขารสมถะ. ในอรรถะนี้ ทรง

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 383

ประสงค์เอาจิตตสมถะ จิตตสมถะนั้นชื่อว่า สมาธินทรีย์ เพราะทําความเป็นใหญ่กว่าธรรมอื่นในลักษณะแห่งสมาธิ. ที่ชื่อว่า สมาธิพละ เพราะความไม่หวั่นไหวไปในเพราะอุทธัจจะ สมาธิตามความเป็นจริง ชื่อว่า สัมมาสมาธิ สมาธิฝ่ายกุศล ชื่อว่า นิยยานิกสมาธิ (สมาธิที่นําออก)

ในนิทเทสแห่งสัทธินทรีย์ ธรรมที่ชื่อว่า ศรัทธา เพราะการเชื่อพุทธคุณเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ศรัทธา เพราะเชื่อ คือดําเนินไปสู่รัตนะมีพระพุทธรัตนะเป็นต้น. อาการแห่งการเชื่อ ชื่อว่า สัททหนา. ที่ชื่อว่าโอกัปปนา (น้อมใจเชื่อ) เพราะหยั่งลงเหมือนการทําลายแล้วแทรกเข้าไปในพุทธคุณเป็นต้น. ที่ชื่อว่า อภิปสาทะ (เลื่อมใสยิ่ง) เพราะเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายเลื่อมใสอย่างยิ่งในพุทธคุณเป็นต้น หรือว่าตัวเองย่อมเลื่อมใสยิ่ง.บัดนี้ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงปรารภปริยายอื่นด้วยบทสมาส (ความย่อ) แห่งสัทธินทรีย์เป็นอาทิ จึงทรงถือเอาบทว่า อาทิมาทําการจําแนกบทข้อนี้เป็นเรื่องธรรมดาในพระอภิธรรม ฉะนั้น พระองค์จึงตรัสคําว่า ศรัทธาอีก. อีกอย่างหนึ่ง อินทรีย์แห่งหญิง ชื่อว่า อิตถินทรีย์ ฉันใด สัทธินทรีย์นี้ฉันนั้นหามิได้. ก็อินทรีย์นี้คือศรัทธาเท่านั้น จึงชื่อว่า สัทธินทรีย์ด้วยอาการอย่างนี้ จึงตรัสศรัทธาอีกเพื่อจะให้รู้ถึงภาวะที่กระทําให้ยิ่งกว่ามีอยู่. ในทํานองเดียวกันนี้ พึงทราบการประกอบคําสําหรับบทว่า อาทิ ในนิทเทสแห่งบททั้งปวงอีก. ธรรมชาติที่ชื่อว่า สัทธินทรีย์เพราะทําความเป็นใหญ่ในลักษณะแห่งอธิโมกข์ (น้อมใจเชื่อ) ที่ชื่อว่าสัทธาพละ. เพราความไม่หวั่นไหวในเพราะความไม่มีศรัทธา.

ในนิทเทสแห่งวิริยินทรีย์ คําว่า เจตสิโก นี้ท่านกล่าวเพื่อแสดงถึงความที่วิริยะเป็นเจตสิกโดยนิยม. จริงอยู่วิริยะนี้แม้จะกล่าวอยู่ว่าเป็นกายิกะ

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 384

คือเป็นไปทางกายเพราะเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้เดินจงกรมเป็นต้น ในสูตรทั้งหลายมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิริยะเป็นไปทางกายก็เป็นวิริยสัมโพชฌงค์ วิริยะที่เป็นไปทางใจก็เป็นวิริยสัมโพชฌงค์ วิริยะนี้ย่อมมาสู่อุทเทสด้วยประการฉะนี้ แต่ไม่เป็นไปทางกายเหมือนกายวิญญาณ ก็เพื่อแสดงว่าวิริยะนั้นเป็นไปทางใจอย่างเดียว จึงตรัสว่า เจตสิโก (เป็นเจตสิก). คําว่า วิริยารมฺโภได้แก่ การเริ่ม กล่าวคือความเพียร. ด้วยบทว่าวิริยารมฺโภ นี้ท่านปฏิเสธการเริ่มความเพียรที่เหลือนอกจากนี้. จริงอยู่อารัมภศัพท์นี้มาในอรรถะมิใช่น้อยคือ กรรม อาบัติ กิริยา วิริยะ หิงสา (ความเบียดเบียน) วิโกปนะ (การพราก)

จริงอยู่ กรรม มาในคําว่า อารัมภะ ดังในประโยคนี้ว่า

ยํ กิฺจิ ทุกฺขํ สมฺโภติ สพฺพํ อารมฺภปจฺจยา

อารมฺภานํ นิโรเธน นตฺถิทุกฺขสฺส สมฺภโว

ทุกข์ทั้งหมดอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมเกิดเพราะกรรมเป็นปัจจัย เพราะกรรมดับโดยไม่เหลือ ทุกข์ก็ย่อมไม่เกิดขึ้น.

อาบัติมาในคําว่า อารัมภะ ในประโยคนี้ว่า ภิกษุย่อมต้องอาบัติและเป็นผู้มีวิปฏิสาร. กิริยามีการปักหลักบูชายัญมาในคําว่า อารัมภะ ในประโยคนี้ว่า มหายัญ มีกิริยาใหญ่ แต่มหายัญเหล่านั้น หามีผลใหญ่ไม่. วิริยะมาในคําว่า อารัมภะในประโยคนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงเพียรจงพยายาม จงขวนขวายในพระพุทธศาสนา. ความเบียดเบียนมาในคําว่า อารัมภะ ในประโยคนี้ว่าชนทั้งหลายเบียดเบียนสัตว์อุทิศพระสมณโคดม. การพรากมีการตัดและการหักเป็นต้นมาในอารัมภะ ในประโยคนี้ว่า พระสมณโคดมเว้นขาดจากการพราก

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 385

พีชคามและภูตคาม. แต่ในนิทเทสนี้ท่านประสงค์เอาวิริยะเท่านั้น เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า วิริยารัมโภ อธิบายว่า อารัมภะคือความเพียร. จริงอยู่ วิริยะตรัสเรียกว่า อารัมภะด้วยอํานาจแห่งความริเริ่ม คําว่า อารมฺโภ นี้เป็นบทแสดงสภาวะของวิริยะ สภาวะที่ชื่อว่า นิกกมะ ด้วยอํานาจการออกไปจากการเกียจคร้าน. ที่ชื่อว่า ปรักกมะ ด้วยอํานาจการก้าวไปสู่ประโยชน์อย่างยิ่งข้างหน้า. ที่ชื่อว่า อุยยามะ ด้วยอํานาจความพยายามเข้าถึง. ที่ชื่อว่า วายามะด้วยอํานาจความพากเพียร. ที่ชื่อว่า อุตสาหะ ด้วยอํานาจแห่งความอดทน. ที่ชื่อว่า อุสโสฬหี ด้วยอํานาจแห่งความอุตสาหะยิ่ง. ที่ชื่อว่า ถามะ ด้วยอรรถะว่ามั่นคง ที่ชื่อว่า ธีติ เพราะทรงไว้ซึ่งการสืบต่อกุศล ด้วยสามารถแห่งการทรงไว้ซึ่งจิตและเจตสิกทั้งหลาย หรือการเป็นไปโดยไม่ขาดสาย.

    อีกนัยหนึ่ง ก็สภาวะนั้นชื่อว่า นิกกมะ เพราะบรรเทากามทั้งหลายชื่อว่า ปรักกมะ เพราะตัดเครื่องผูกพัน ชื่อว่า อุยยามะ เพราะการถอนโอฆะ ชื่อว่า วายามะ ด้วยอรรถะว่าการถึงฝัง ชื่อว่า อุตสาหะ ด้วยอรรถะว่าเป็นหัวหน้า ชื่อว่า อุสโสฬหี ด้วยอรรถว่าเป็นหัวหน้าใหญ่ ชื่อว่า ถามะ เพราะอรรถว่าถอดลิ่มสลัก ชื่อว่า ธีติ เพราะการทําได้ตามต้องการ.

    วิริยะนั้นก็คือ ความบากบั่นไม่ย่อท้อด้วยสามารถแห่งการไม่ย่อหย่อนในปวัตติกาลอย่างนี้ว่า. . .จะเหลืออยู่แต่หนังเอ็นกระดูกก็ตามดังนี้ อธิบายว่าความบากบั่นมั่นคง ความบากบั่นเด็ดเดี่ยว. ก็เพราะวิริยะนี้ไม่ทอดทิ้งฉันทะ ไม่ทอดทิ้งธุระ ไม่ให้ความเกียจคร้านได้โอกาส ไม่สละ นําความพอใจ ไม่ท้อถอยในฐานะเป็นเครื่องสร้างกุศลกรรม ฉะนั้น จึงตรัสว่าวิริยะไม่ทอดทิ้งฉันทะ ไม่ทอดทิ้งธุระ.

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 386

เหมือนอย่างว่า ในสถานที่มีโคลนตมตามธรรมชาติ เจ้าของโคกล่าวว่า พวกเธอจงเอาโคตัวที่นําธุระไปได้มา โคนั้นแม้จะคุกเข่ายันที่พื้นดินก็สู้นําไปไม่ยอมให้แอกตกที่พื้นดิน ฉันใด วิริยะก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่ทอดทิ้ง ย่อมประคองธุระไปในฐานะเป็นเครื่องสร้างกุศลกรรม ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า วิริยะเป็นธรรมประคับประคองธุระอย่างดี (ธุรสมฺปคฺคาโห) ธรรมที่ชื่อว่า วิริยินทรีย์ เพราะครองความเป็นใหญ่ในลักษณะแห่งการประคับประคอง. ที่ชื่อว่า วิริยพละ เพราะไม่หวั่นไหวในเพราะความเกียจคร้าน. ชื่อว่า สัมมาวายามะ เพราะความพยายามในกุศลอันนําออกจากสังสารวัฏฏ์ตามความเป็นจริง.

ในนิทเทสแห่งสตินทรีย์ ธรรมที่ชื่อว่า สติ ด้วยสามารถแห่งการระลึก. การระลึกนี้เป็นบทแสดงสภาวะของสติ. ชื่อว่า อนุสสติ ด้วยสามารถการตามระลึกเพราะการระลึกบ่อยๆ. ชื่อว่า ปฏิสสติ ด้วยอํานาจการระลึกเฉพาะโดยการระลึกดุจไปข้างหน้า. อีกอย่างหนึ่ง คําที่กล่าวแล้วนี้เป็นเพียงเพิ่มเติมด้วยอุปสรรค. อาการที่ระลึก ชื่อว่า สรณตา ก็เพราะคําว่า สรณตาเป็นชื่อแห่งการระลึกทั้ง ๓ ฉะนั้น เพื่อที่จะปฏิเสธคําที่เป็นชื่อทั้ง ๓ นั้น จึงกระทําสตศัพท์ (คือตรัสถึงสติ) อีก. ในที่นี้มีอธิบายว่า ภาวะที่ระลึกคือสติ. สติ ชื่อว่า ธารณตา เพราะทรงจําสิ่งที่ได้ฟังและได้เรียนมา. ภาวะที่ไม่เลอะเลือน ชื่อว่า อปิลาปนตา ด้วยอรรถว่าหยั่งลงคือการไหลเข้าไปในอารมณ์ เปรียบเหมือนกระโหลกน้ำเต้าเป็นต้น ลอยอยู่บนน้ำไม่จมน้ำ ฉันใด สติก็ฉันนั้น ตั้งอยู่ในอารมณ์ไม่จมลง เพราะสติย่อมไปตามอารมณ์ ฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า อภิลาปนตา (ความไม่เลอะเลือน) สติ ชื่อว่า อสัมมุสนตา (ความไม่หลงลืม) เพราะความไม่หลงลืมในการงานที่ทําและคําพูด

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 387

ที่ล่วงมานานได้. สติ ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะครองความเป็นใหญ่ในลักษณะแห่งการอุปการะ อินทรีย์คือ สติ เรียกว่า สตินทรีย์. สตินั่นเองเป็นอินทรีย์เรียกว่า สตินทรีย์. สติ ชื่อว่า สติพละ เพราะไม่หวั่นไหวในเพราะความประมาท. สติชื่อว่า สัมมาสติเพราะเป็นสติตามความเป็นจริง เป็นสตินําออกเป็นสติในกุศล.

ในนิทเทสแท่งปัญญินทรีย์ ธรรมที่ชื่อว่า ปัญญา เพราะอรรถว่าการประกาศให้รู้ คือ กระทําเนื้อความนั้นๆ ให้แจ่มแจ้ง. อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า ปัญญา เพราะย่อมรู้ธรรมทั้งหลายโดยประการต่างๆ มีความไม่เที่ยงเป็นต้นนั้นๆ. คํานี้เป็นบทแสดงสภาวะของปัญญานั้น. อาการที่รู้ทั่ว ชื่อว่าปชานนา. ปัญญา ชื่อว่า วิจัย เพราะค้นหาธรรมมีความไม่เที่ยงเป็นต้นคําว่า ปวิจัย นี้ท่านเพิ่มอุปสรรคเข้ามา. ปัญญา ชื่อว่า ธรรมวิจัยเพราะค้นหาธรรม คือ สัจจะ ๔ ธรรมที่ชื่อว่า สัลลักขณาด้วยอํานาจการกําหนดอนิจจลักษณะเป็นต้นได้. สัลลักขณานั่นแหละ ตรัสเรียกว่าอุปลักขณา ปัจจุปลักขณา โดยความต่างกันแห่งอุปสรรค. ความเป็นแห่งบัณฑิต ชื่อว่า ปัณฑิจจะ ความเป็นแห่งบุคคลผู้ฉลาด ชื่อว่า โกสัลละ. ความเป็นแห่งธรรมที่ละเอียด ชื่อว่า เนปุญญะ ความเป็นแห่งการทําให้แจ้งซึ่งความไม่เที่ยงเป็นต้นชื่อว่า เวภัพยา ปัญญาที่ชื่อว่า จินตา ด้วยสามารถแห่งการคิดความไม่เที่ยงเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า จินตา เพราะเกิดขึ้นแก่ผู้ใดย่อมยังบุคคลนั้นให้คิดอนิจจลักษณะเป็นต้น. ที่ชื่อว่า อุปปริกขา เพราะใคร่ครวญอนิจจลักษณะเป็นต้น. คําว่า ภูริ เป็นชื่อของแผ่นดิน. จริงอยู่ปัญญานี้เรียกว่า ภูรี ดุจแผ่นดิน เพราะอรรถว่าตั้งมั่นและกว้างขวาง เพราะเหตุนั้นจึงตรัสเรียกแผ่นดินว่า ภูริ. บุคคลชื่อว่า มีปัญญาดังแผ่นดิน เพราะ

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 388

ประกอบด้วยปัญญาอันกว้างขวางไพบูลย์เสมอด้วยแผ่นดินนั้น. อีกอย่างหนึ่งคําว่า ภูริ นี้เป็นชื่อของปัญญา. ปัญญาชื่อว่า ภูริเพราะย่อมยินดีในอรรถะที่เป็นจริง. ปัญญาที่ชื่อว่า เมธา เพราะทําลายเบียดเบียนกิเลสเหมือนสายฟ้าผ่าภูเขาหิน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เมธา เพราะเรียนและทรงจําได้เร็วพลัน. ที่ชื่อว่า ปริณายิกา เพราะเกิดแก่ผู้ใดย่อมนําผู้นั้นไปในการปฏิบัติประโยชน์เกื้อกูล และในการแทงตลอดลักษณะตามความเป็นจริงในสัมปยุตธรรม. ปัญญาที่ชื่อว่า วิปัสสนา เพราะย่อมเห็นแจ้งธรรมทั้งหลายด้วยสามารถแห่งอนิจจลักษณะเป็นต้น. ที่ชื่อว่า สัมปชัญญะ เพราะย่อมรู้นิจจลักษณะเป็นต้นโดยประการต่างๆ โดยชอบ. ที่ชื่อว่า ปโตทะ (ปฏัก) เพราะแทงจิตที่คดโกงวิ่งไปผิดทางให้ขึ้นสู่ทาง เหมือนปฏักแทงม้าสินธพที่วิ่งไปผิดทางให้ไปถูกทาง. ปฏักคือปัญญานั่นแหละชื่อว่า ปัญญาคือปฏัก. ที่ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะครองความเป็นใหญ่ในลักษณะแห่งการเห็น. อินทรีย์คือปัญญา เรียกว่า ปัญญินทรีย์. ปัญญานั่นเองเป็นอินทรีย์ก็ชื่อว่า ปัญญินทรีย์. ที่ชื่อว่า ปัญญาพละ เพราะไม่หวั่นไหวในเพราะอวิชชา. ศาสตราคือปัญญานั่นแหละชื่อว่า ปัญญาสัตถะ เพราะอรรถว่าตัดกิเลส. ปราสาทคือปัญญานั่นแหละชื่อว่า ปัญญาปาสาทะ เพราะอรรถว่าสูงยิ่ง. แสงสว่างคือปัญญาเทียวชื่อว่า ปัญญาอาโลกะ เพราะอรรถว่าการส่องแสง. โอภาสคือปัญญาเทียวชื่อว่า ปัญญาโอภาสะ เพราะอรรถว่าสว่าง. ประทีปคือปัญญาชื่อว่า ปัญญาปัชโชตะ เพราะอรรถว่าโชติช่วง. จริงอยู่ บุคคลผู้มีปัญญานั่งแล้วโดยบัลลังก์เดียว หมื่นโลกธาตุก็แสงสว่างเป็นอันเดียวกัน มีโอภาสเป็นอันเดียวกันมีการโชติช่วงเป็นอันเดียวกัน ด้วยเหตุนั้นพระองค์จึงตรัสพระดํารัสนั้นไว้แล้ว.

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 389

    ก็บทปัญญาทั้ง ๓ เหล่านี้ แม้บทเดียวก็สําเร็จเนื้อความได้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรทั้งหลาย (ในอังคุตตรนิกายจตุกนิบาต) ตามอัธยาศัยของสัตว์ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แสงสว่างเหล่านั้นมี ๔ อย่างแสงสว่าง ๔ อย่างเป็นไฉน? คือแสงสว่างแห่งดวงจันทร์ แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์ แสงสว่างแห่งไฟ แสงสว่างแห่งปัญญา ดูก่อนภิกษุทั้งหลายแสงสว่าง ๔ เหล่านี้แล ภิกษุทั้งหลาย บรรดาแสงสว่าง ๔ เหล่านี้ แสงสว่างแห่งปัญญาเป็นเลิศ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โอภาส ๔ เหล่านี้ ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความโชติช่วง เหล่านั้นก็ฉันนั้น. แม้ในนิทเทสนี้พระองค์ก็ทรงทําเทศนาโดยสมควรแก่พระสูตรนั้นเหมือนกัน. เพราะว่า เนื้อความเมื่อทรงจําแนกโดยอาการมิใช่น้อย ย่อมชื่อว่าเป็นการจําแนกดีแล้ว. สัตว์ทั้งหลายพวกหนึ่งย่อมตรัสรู้ได้โดยประการอย่างหนึ่ง และพวกอื่นก็ตรัสรู้ได้โดยประการอื่น. ก็รัตนะคือ ปัญญา เรียกว่าปัญญารัตนะ ด้วยอรรถว่ากระทําความยินดี ด้วยอรรถว่าให้ความยินดี ด้วยอรรถว่าให้เกิดความยินดี ด้วยอรรถว่าปลื้มใจ ด้วยอรรถว่าปรากฏได้โดยยาก ด้วยอรรถว่าชั่ง (เปรียบ) ไม่ได้ ด้วยอรรถว่าเป็นเครื่องใช้ของสัตว์ผู้ไม่ต่ําทราม. ที่ชื่อว่า อโมหะเพราะเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายไม่ลุ่มหลง หรือว่า ตัวปัญญาเองย่อมไม่หลงในอารมณ์ หรือว่า สิ่งนี้นั้นเป็นเพียงไม่หลงใหลไปเท่านั้น. บทแห่งธรรมวิจยะมีเนื้อความตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ถามว่า เพราะเหตุไร จึงตรัสธรรมวิจยะนี้อีก. ตอบว่า เพื่อแสดงความที่อโมหะเป็นปฏิปักษ์ต่อโมหะ เพราะฉะนั้นจึงแสดงธรรมวิจยะนี้. อโมหะนั้นมิใช่เป็นธรรม นอกจากโมหะอย่างเดียวที่แท้เป็นปฏิปักษ์ต่อโมหะด้วย ชื่อว่า อโมหะ กล่าวคือธรรมวิจยะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาในที่นี้. ทิฏฐิที่เป็นจริง เป็นเครื่องนําออกจากภพ และเป็นกุศล ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ.

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 390

    ในนิทเทสแห่งชีวิตินทรีย์ พระบาลีว่า โย เตสํ อรูปีนํ ธมฺมานํ อายุ ความว่า สภาวธรรมที่ชื่อว่าอายุ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องต่อสัมปยุตตธรรมที่เป็นอรูปเหล่านั้น. จริงอยู่ เมื่ออายุนั้นมีอยู่ อรูปธรรมทั้งหลายย่อมมีต่อไป ดําเนินไป เป็นไปทั่ว เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า อายุ. บทว่าอายุนี้เป็นบทแสดงสภาวะของอายุนั้น ก็เพราะเมื่ออายุยังมีอยู่เท่านั้น อรูปธรรมเหล่านั้นจึงดํารงอยู่ ย่อมนําไป ย่อมให้นําไป ย่อมเคลื่อนไหว ย่อมเป็นไปย่อมรักษา ฉะนั้น จึงตรัสคําเป็นต้น ว่า ฐิติ. ส่วนความหมายถ้อยคําในบทนี้ดังนี้

    ที่ชื่อว่า ฐิติ เพราะเป็นเหตุให้ตั้งอยู่. ที่ชื่อว่า ยปนา เพราะนําไปชื่อว่า ยาปนา ก็เหมือนกัน แต่พระองค์ทรงทําบทก่อนให้สิ้นด้วยอํานาจแห่งสัตว์ผู้ตรัสรู้ด้วยอาการอย่างนั้น. ที่ชื่อว่า อิริยนา เพราะเป็นเหตุให้เคลื่อนไป. ที่ชื่อว่า วัตตนา เพราะเป็นเหตุให้เป็นไป. ที่ชื่อว่า ปาลนา เพราะรักษาไว้ ที่ชื่อว่า ชีวิต เพราะเป็นเหตุให้สัตว์เป็นอยู่. ที่ชื่อว่า ชีวิตินทรีย์เพราะครองความเป็นใหญ่ในลักษณะแห่งอนุบาล.

    ในนิเทสแห่งหิริพละ พระบาลีว่า ยํ ตสฺมึ สมเย ความว่าในสมัยนั้น... ด้วยธรรมใด. อีกอย่างหนึ่ง ท่านทําให้เป็นลิงควิปลาสแล้วพึงทราบเนื้อความว่า ในสมัยนั้น ธรรมใดดังนี้ ก็ได้. บทว่า หิริยิตพฺเพน เป็นตติยาวิภัตติ ใช้ในอรรถทุติยาวิภัตติ อธิบายว่า ย่อมละอายคือรังเกียจธรรมมีกายทุจริตเป็นต้น อันควรแก่การละอาย. บทว่า ปาปกานํ ได้แก่ลามก. บทว่า อกุสลานํ ธมฺมานํ ได้แก่ ธรรมที่เกิดแต่ความไม่ฉลาด. แม้คําว่า สมาปตฺติยา นี้ก็เป็นตติยาวิภัตติใช้ในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ. อธิบายว่า ย่อมละอายคือย่อมรังเกียจซึ่งการถึงพร้อม การได้เฉพาะ และการพรั่งพร้อมแห่ง (อกุศล) ธรรมเหล่านั้น.

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 391

    ในนิเทสแท่งโอตตัปปะ บทว่า โอตฺตปปิตพฺพยุตฺตเกน เป็นตติยาวิภัตติใช้ในอรรถแห่งเหตุ อธิบายว่า ย่อมหวั่นเกรงคือย่อมกลัวทุจริตมีกายทุจริตเป็นต้น ซึ่งควรแก่ความเกรงกลัวอันเป็นเหตุแห่งความควรเกรงกลัว และการเข้าถึงมีประการตามที่กล่าวแล้วอันเป็นเหตุแห่งความเกรงกลัว.

    ในนิเทสแห่งอโลภะ ธรรมที่ชื่อว่า อโลภะ เพราะความไม่ละโมบอีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อโลภะ เพราะย่อมไม่โลภ. บทว่า อโลภะ นี้เป็นบทแสดงสภาวะของความไม่โลภนั้น. อาการที่ไม่โลภ ชื่อว่า อลุพภนา (กิริยาที่ไม่โลภ) บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยโลภะ ชื่อว่า ผู้ละโมบ. บุคคลผู้ไม่ละโมบ ชื่อว่า อลุพภิตะ (ผู้ไม่ละโมบ) . ภาวะแห่งบุคคลผู้ไม่ละโมบชื่อว่า ภาวะแห่งความไม่ละโมบ. สภาวะที่ชื่อว่า อสาราคะ (ความไม่กําหนัด) เพราะไม่กําหนัดโดยเป็นปฏิปักษ์ต่อความกําหนัด. อาการที่ไม่กําหนัด ชื่อว่า อสารัชชนา (กิริยาที่ไม่กําหนัด) . ภาวะแห่งผู้ไม่กําหนัดแล้วชื่อว่า อสารัชชิตัตตะ (ความเป็นผู้ไม่กําหนัด) . สภาวะที่ชื่อว่าอนภิชฌา เพราะย่อมไม่เพ่งเล็ง. บทว่า อโลโภ กุสลมูลํ ได้แก่กุศลมูลคืออโลภะ จริงอยู่ อโลภะ ชื่อว่า กุศลมูล เพราะอรรถว่าเป็นมูลคือเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมทั้งหลายบ้าง ชื่อว่า กุศลมูล เพราะกุศลนั้นด้วยเป็นมูลด้วย ด้วยอรรถว่าเป็นปัจจัย ดังนี้บ้าง.

    ในนิเทสแห่งอโทสะ สภาวะที่ชื่อว่าอโทสะเพราะไม่ประทุษร้าย.อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อโทสะ เพราะย่อมไม่ประทุษร้ายบ้าง. บทว่า อโทสะนี้เป็นบทแสดงสภาวะของอโทสะนั้น. อาการที่ไม่ประทุษร้าย ชื่อว่าอทุสสนา (กิริยาที่ไม่ประทุษร้าย) ภาวะแห่งบุคคลผู้ไม่ประทุษร้ายแล้ว ชื่อว่า อทุสสิตัตตะ (ความไม่ประทุษร้าย) สภาวะชื่อว่า อัพยาบาท เพราะ

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 392

ไม่พยาบาทโดยเป็นปฏิปักษ์ต่อความพยาบาท. สภาวะที่ชื่อว่า อัพยาปัชฌะ (ความไม่เบียดเบียน) เพราะไม่เบียดเบียนโดยเป็นปฏิปักษ์ต่อความทุกข์อันเกิดแต่ความโกรธ. กุศลมูลคืออโทสะ ชื่อว่า อโทสะ เป็นรากเหง้าของกุศล กุศลมูลนั้นมีเนื้อความตามกล่าวแล้วนั่นแหละ.

    ในนิทเทสแห่งกายปัสสัทธิเป็นต้น ขันธ์๓ (เวทนา สัญญา สังขารขันธ์) พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาในคําว่า กาย นี้ เพราะฉะนั้นจึงตรัสว่า เวทนากฺขนฺธสฺส เป็นต้น. สภาวะที่ชื่อว่า ปัสสัทธิ เพราะเป็นเหตุให้ธรรมเหล่านั้นสงบ คือ ปราศจากความกระวนกระวายถึงความปลอดโปร่ง. บทที่ ๒ (ปฏิปฺปสฺสทฺธิ) ทรงเพิ่มอุปสรรค อาการที่สงบชื่อว่า ปัสสัมภนา (กิริยาที่สงบ) . บทที่ ๒ (ปฏิปปัสสัมภนา) ก็ทรงเพิ่มอุปสรรค. ภาวะแห่งขันธ์ ๓ ที่สงบเพราะพรั่งพร้อมด้วยปัสสัทธิ ชื่อว่าปฏิปัสสัมภิตัตตะ (ความเป็นผู้สงบระงับ) ความสงบระงับแห่งความกระวนกระวายของกิเลส ของขันธ์ ๓ ท่านกล่าวไว้แม้ด้วยบททั้งหมด. ความสงบระงับความกระวนกระวายของวิญญาณขันธ์ ท่านกล่าวไว้ด้วยนัยที่ ๒.

    อาการแห่งภาวะที่เบา ชื่อว่า ลหุตา. คําว่า ลหุปริณามตา ความว่าธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ลหุปริณามะ (การเปลี่ยนไปเร็ว) เพราะธรรมเหล่านั้นเปลี่ยนไปเร็ว. ภาวะแห่งลหุปริณามธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ลหุปริณามตา.อธิบายว่า สามารถเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลัน. คําว่า อทันธนตา เป็นคําปฏิเสธความหนักคือไม่ใช่ภาระหนัก. คําว่า อวิตฺถนตา ได้แก่ ความไม่กระด้าง เพราะความไม่มีภาระหนัก คือ กิเลสมีถีนะและมานะเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง ความไม่กระด้างแห่งภาระหนักแห่งกิเลสมีถีนะและมานะเป็นต้น

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 393

ชื่อว่า อวิตฺถนตา. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอาการคือความเบาแห่งขันธ์ทั้ง ๓ เหล่านั้นโดยนัยแรก ตรัสอาการคือความเบาแห่งวิญญาณขันธ์โดยนัยที่ ๒.

    ความอ่อน ชื่อว่า มุทุต คําว่า มทฺทวตา ความว่าความสนิธความเกลี้ยงเกลา ตรัสเรียกว่า มัททวะ ความเป็นมัททวะนั้น ชื่อว่า มัททวตา. ภาวะที่ไม่กักขฬะ ชื่อว่า อกักขฬตา. ภาวะที่ไม่กระด้าง ชื่อว่า อกถินตา. แม้ในนิทเทสนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสว่าอาการคือความอ่อนแห่งขันธ์ ๓ ไว้โดยนัยแรก และของวิญญาณขันธ์โดยนัยหลัง.

    ความสําเร็จแห่งกายงาน ชื่อว่า กัมมัญญตา ความควรแก่การงานคือ ความควรแก่การประกอบในการทํากุศล. สองบทที่เหลือท่านเพิ่มมาด้วยอํานาจพยัญชนะโดยแท้. จริงอยู่ แม้โดยบททั้ง ๒ พระองค์ก็ตรัสอาการคือความควรแก่การงานของขันธ์ทั้ง ๓ โดยนัยแรกและตรัสอาการคือความควรแก่การงานแห่งวิญญาณขันธ์โดยนัยหลัง.

    ภาวะแห่งความคล่องแคล่ว ชื่อว่า ปคุณตา คือ ความไม่ชักช้าความไม่ป่วยไข้. บทที่เหลือเป็นบทที่เพิ่มมาด้วยอํานาจพยัญชนะ. แม้ในนิทเทสนี้ ก็ตรัสความคล่องแคล่วไม่เป็นไข้นั่นแหละแห่งขันธ์ ๓ โดยนัยแรก ตรัสความคล่องแคล่วไม่ป่วยไข้แห่งวิญญาณขันธ์โดยนัยหลัง.

    ภาวะแห่งความซื่อตรง ชื่อว่า อุชุตา คือ ความเป็นไปโดยอาการอันตรง. ภาวะแห่งขันธ์ ๓ อันตรงและวิญญาณขันธ์อันตรง เรียกว่า อุชุกตา. ความปฏิเสธแห่งความคดเหมือนมูตรโค ชื่อว่า อชิมหตา (ความคล่องแคล่ว) .บทว่า อวงฺกตา ได้แก่ ปฏิเสธความโค้งเหมือนวงจันทร์. บทว่า อกุฏิลตาได้แก่ปฏิเสธความคดเหมือนปลายงอนไถ. จริงอยู่ บุคคลใดทําบาปแล้วกล่าวว่า เราไม่ได้กระทํา บุคคลนั้น ชื่อว่า เป็นผู้คดเหมือนมูตรโค (เยี่ยวโค)

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 394

เพราะความไปวกวน ผู้ใดกําลังทําบาปแล้วพูดว่า เราไม่กลัวบาปผู้นั้น ชื่อว่าคด เหมือนวงจันทร์ เพราะความคดมาก ผู้ใดกําลังทําบาป แต่กล่าวว่าใครไม่กลัวบาปเล่า ผู้นั้นชื่อว่า คด เหมือนงอนไถ เพราะไม่คดมาก.

    อีกอย่างหนึ่ง กรรมทวาร ๓ ของบุคคลใดไม่บริสุทธิ์ บุคคลนั้นชื่อเป็นผู้คดเหมือนน้ำมูตรโค. กรรมทวาร ๒ แม้อย่างใดอย่างหนึ่งมีอยู่แก่บุคคลใดไม่บริสุทธิ์บุคคลนั้น ชื่อว่า เป็นผู้คดเหมือนวงจันทร์. กรรมทวารหนึ่งอย่างใดอย่างหนึ่งของบุคคลใดไม่บริสุทธิ์ บุคคลนั้น ชื่อว่า เป็นผู้คดเหมือนปลายงอนไถ.

    ส่วนอาจารย์ผู้เรียนทีฆนิกาย กล่าวว่า ภิกษุบางรูปในวัยทั้งหมด ย่อมประพฤติอเนสนา ๒๑ และอโคจร ๖ ภิกษุนี้ชื่อว่า คดเหมือนน้ำมูตรโค.บางองค์ในปฐมวัยย่อมบําเพ็ญจตุปาริสุทธิศีล เป็นผู้ละอาย รังเกียจความชั่วใคร่การศึกษา ในมัชฌิมวัยและปัจฉิมวัยเป็นเช่นภิกษุองค์ก่อน ภิกษุนี้ชื่อว่าเป็นผู้คดเหมือนวงจันทร์. บางองค์ในปฐมวัยก็ดีมัชฌิมวัยก็ดีย่อมบําเพ็ญจตุปาริสุทธิศีล มีความละอาย มีความรังเกียจบาป ใคร่การศึกษา แต่ในปัจฉิมวัยเป็นเช่นภิกษุองค์ก่อน ภิกษุนี้ ชื่อว่า คดเหมือนปลายงอนไถ. ภาวะของบุคคลผู้คดอย่างนี้ด้วยอํานาจกิเลสนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ชิมหตา (ความคด) อวงฺกตา (ความโค้ง) อกุฏิลตา (ความงอ) พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความไม่คดเป็นต้น โดยปฏิเสธความคดเป็นต้นเหล่านั้นแล้วทรงแสดงโดยเป็นขันธาธิษฐาน จริงอยู่ ความไม่คดเป็นต้นนี้ ย่อมมีแก่ขันธ์ทั้งหลาย หามีแก่บุคคลไม่ ด้วยบทเหล่านั้น แม้ทั้งหมดอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอาการคือ ความตรงโดยนัยแรก ตรัสอาการคือ ความตรงแห่งวิญญาณขันธ์โดยนัยหลัง เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า พระองค์ทรงตรัส

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 395

อาการคือ ความตรงแห่งอรูปธรรมทั้งหลาย เพราะความไม่มีกิเลส. บัดนี้นิทเทสเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยสังเขปแห่งธรรม ชื่อว่า เยวาปนกะ นั่นแหละ ที่แสดงไว้ในธัมมุทเทสวาระ โดยอัปปนาวาระที่ตรัสว่า เย วา ปน นั้นดังนี้.

    จบกถาว่าด้วยนิทเทสวาร

    ด้วยคํามีประมาณเท่านี้ เป็นอันว่าจบวาระว่าด้วยการกําหนดธรรมประดับด้วยปริจเฉท ๘ ปริจเฉท คือ ในอุทเทสวาร ๔ ปริจเฉทมี ปุจฉา ๑ สมยนิทเทส ๑ ธัมมุทเทส ๑ อัปปนา ๑ และในนิทเทสวาร ๔ ปริจเฉทมีปุจฉา ๑ สมยนิทเทส ๑ ธัมมุทเทส ๑ อัปปนา ๑ ดังนี้แล.