พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อธิคมนิทาน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 ธ.ค. 2564
หมายเลข  41820
อ่าน  803

[เล่มที่ 75] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑

อธิคมนิทาน

ว่าด้วยเรื่องสุเทธดาบส 69

ว่าด้วยที่จงกรมมีโทษ ๕ อย่าง 75

ว่าด้วยที่จงกรมอันไม่มีโทษ 76

ความสุขของสมณะ ๘ อย่าง 76

ว่าด้วยวิสสุกรรม นิรมิตอาศรมบท ฯ 77

ว่าด้วยผ้าสาฏกมีโทษ ๙ อย่าง 79

ผ้าคากรองมีอานิสงส์ ๑๒ อย่าง 79

โคนต้นไม้มีคุณ ๑๐ อย่าง 83

ว่าด้วยการทําทางและได้รับพยากรณ์ 84

ว่าด้วยพุทธการกธรรม ๑๐ 96

โกณฑัญญกถาที่ ๒ 110

มังคลกถาที่ ๓ 111

สุมนกถาที่ ๔ 119

เรวตกถาที่ ๕ 119

โสภิตกถาที่ ๖ 120

อโนมทัสสีกถาที่ ๗ 121

ปทุมกถาที่ ๘ 122

นารทกถาที่ ๙ 123

ปทุมกถาที่ ๑๐ 123

สุเมธกถาที่ ๑๑ 124

สุชาตกถาที่ ๑๒ 125

ปิยทัสสีกถาที่ ๑๓ 126

อัตถทัสสีกถาที่ ๑๔ 127

ธรรมทัสสีกถาที่ ๑๕ 128

สิตธัตถกถาที่ ๑๖ 128

ติสสกถาที่ ๑๗ 29

ปุสสกถาที่ ๑๘ 130

วิปัสสีกถาที่ ๑๙ 131

สิขีกถาที่ ๒๐ 132

เวสสภูกถาที่ ๒๑ 132

กกุสันธกถาที่ ๒๒ 133

โกนาคมนากถาที่ ๒๓ 134

กัสสปกถาที่ ๒๔ 135

ว่าด้วยธรรมสโนธาน ๘ ประการ 136

ว่าด้วยทานที่เป็นปรมัตถบารมีเป็นต้น 138

ว่าด้วยเทศนานิทาน 146

อีกอย่างหนึ่งพระอภิธรรมมีนิทาน ๓ 147


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 75]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 69

อธิคมนิทาน

ว่าด้วยเรื่องสุเมธดาบส

ได้ยินว่า ในที่สุดแห่งสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปถอยไปแต่ภัทรกัปนี้มีพระนคร ชื่อว่าอมรวดี พราหมณ์ชื่อว่า สุเมธะ เป็นผู้เกิดดีแล้วทั้งสองฝ่ายคือเป็นผู้ถือกําเนิดบริสุทธิ์ดีแล้วจากมารดาและบิดา เป็นผู้อันใครๆ ไม่ดูหมิ่นไม่รังเกียจ ด้วยการกล่าวถึงชาติตระกูล จนถึง ๗ ชั่วตระกูล เป็นผู้มีรูปงามน่าดู นํามาซึ่งความเลื่อมใส ประกอบด้วยวรรณะและทรวดทรงงดงาม อาศัยอยู่ในพระนครอมรวดีนั้น. พราหมณ์สุเมธะนั้นมิได้ทําการงานอื่น นอกจากเรียนศิลปะของพราหมณ์เท่านั้น. ในเวลาที่เขายังเป็นเด็กนั่นแหละ. มารดาบิดาได้ทํากาละเสียแล้ว. ครั้งนั้น อํามาตย์ชื่อว่า ราสิวัฒกะ ได้นําบัญชีทรัพย์สินมาเปิดห้องอันเต็มไปด้วยทองคํา เงิน แก้ว มณี และแก้วมุกดาเป็นต้น แล้วบอกทรัพย์จนถึงชั่ว ๗ ตระกูลว่า ดูก่อนกุมาร ทรัพย์เป็นของมีอยู่แห่งมารดาของท่านมีประมาณเท่านี้ ทรัพย์อันเป็นของมีอยู่แห่งบิดา ปู่ ย่า ของท่านมีประมาณเท่านี้ เป็นต้นแล้วกล่าวว่า ท่านจงใช้สอยทรัพย์นั้น ดังนี้.

สุเมธบัณฑิต คิดว่า ปิยชนทั้งหลายของเรามีบิดาและปู่เป็นต้นรวบรวมทรัพย์นี้ไว้แล้วพากันไปปรโลก มิได้ถือเอาแม้กหาปณะหนึ่งไป ส่วนเราจะทําเหตุที่ให้ถือเอาไปได้จึงจะสมควร ดังนี้ จึงกราบทูลแด่พระราชาแล้วให้ตีกลองประกาศในพระนคร ให้ทานแก่มหาชนแล้ว บวชเป็นดาบส. บัณฑิตพึงกล่าวกถาว่าด้วยสุเมธดาบสไว้ที่นี้.

จริงอยู่ เรื่องสุเมธดาบสนี้ ท่านกล่าวไว้ในพุทธวงศ์ (ทีปังกรกถาที่หนึ่ง) ว่า

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 70

ในสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป มีพระนคร ชื่อว่าอมรวดีเป็นนครน่าชม น่ารื่นรมย์ประกอบด้วยข้าวน้ำสมบูรณ์ ไม่ว่างเว้นจากเสียง ๑๐ ประการ คือ เสียงช้าง เสียงม้า เสียงกลอง เสียงสังข์ เสียงรถ เสียงพิณ เสียงตะโพน เสียงกังสดาล เสียงบัณเฑาะว์เสียงเรียกมาบริโภคข้าวน้ำว่า พวกท่านจงกิน จงดื่มเถิด เมืองนั้นถึงพร้อมด้วยคุณลักษณะทั้งปวง เข้าถึงความใคร่ พอใจทุกอย่าง สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการขวักไขว่ไปด้วยชนต่างๆ เป็นเมืองที่สําเร็จแล้วดังเทพนครเป็นที่อยู่ของผู้มีบุญทั้งหลายเราเป็นพราหมณ์ นามว่า สุเมธ ในนครอมรวดี สั่งสมทรัพย์ไว้หลายโกฏิ มีสมบัติมากมาย เป็นผู้คงแก่เรียน เป็นผู้ทรงมนต์เป็นผู้ถึงฝังแห่งไตรเพท เป็นผู้สําเร็จวิชาทายลักษณะ และคัมภีร์อิติหาสอันสมบูรณ์ในครั้งนั้น เรานั่งอยู่ในที่ลับได้คิดอย่างนี้ว่า

ขึ้นชื่อว่าการเกิดในภพใหม่เป็นทุกข์ การแตกทําลายของร่างกายก็เป็นทุกข์ การตายด้วยความหลงก็เป็นทุกข์ การถูกชราย่ํายีก็เป็นทุกข์.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 71

ก็ในกาลนั้น เรามีความเกิดเป็นธรรมดา มีความชราเป็นธรรมดา มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา จักแสวงหาพระนิพพานอันไม่แก่ไม่ตาย อันเป็นแดนเกษม ไฉนหนอเราพึงเป็นผู้ไม่มีความอาลัยในชีวิต ไม่ต้องการ พึงละกายเปือยเน่านี้ อันเต็มไปด้วยซากศพต่างๆ ไป ทางนั้นอันใครๆ ไม่พึงอาจดําเนินไปได้เพราะไม่มีเหตุหรือ ทางนั้นเพื่อความหลุดพ้นจากภพ.

เมื่อมีความเจริญ ความเสื่อมก็จําต้องปรารถนา เปรียบเหมือนเมื่อมีความทุกข์ แม้ชื่อว่าความสุขก็ย่อมมี ฉะนั้น.

เมื่อไฟ ๓ กองมีอยู่ นิพพาน (ความดับไฟ) ก็จําต้องปรารถนา เปรียบเหมือนเมื่อมีความร้อน ชื่อว่าความเย็นก็ย่อมมีฉะนั้น.

ความเกิดมีอยู่ ก็จําต้องปรารถนาความไม่เกิด เปรียบเหมือนเมื่อมีความชั่วแม้ความดีก็ย่อมมี ฉะนั้น.

เมื่อสระน้ำอมฤตอันเป็นสถานที่ชําระกิเลสมีอยู่ แต่บุคคลนั้นไม่แสวงหา

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 72

สระนั้น นั่นมิใช่เป็นความผิดของสระอมฤตนั้น เปรียบเหมือนบุรุษตกหลุมคูถ เห็นสระมีน้ำเต็มแล้วไม่ไปหาสระ จะไปโทษสระนั้นไม่ได้ ฉะนั้น.

บุคคลผู้ถูกกิเลสกลุ้มรุมแล้ว เมื่อหนทางอันปลอดภัยมีอยู่ แต่ไม่แสวงหาทางนั้น นั่นมิใช่ความผิดของทางนั้น เปรียบเหมือนบุรุษถูกข้าศึกล้อมไว้เมื่อทางสําหรับจะหนีไปมีอยู่ แต่ไม่หนีไปจะโทษทางนั้นไม่ได้ ฉะนั้น.

บุคคลมีทุกข์ ถูกพยาธิคือกิเลสเบียดเบียนรอบด้าน ไม่แสวงหาอาจารย์ นั่นมิใช่ความผิดของอาจารย์ เปรียบเหมือนบุรุษผู้ป่วยไข้ เมื่อหมอมีอยู่ แต่ไม่ให้รักษาเยียวยา จะโทษหมอนั้นไม่ได้ ฉะนั้น.

เราพึงเป็นผู้ไม่อาลัย ไม่ต้องการ พึงละทิ้งกายอันเปือยเน่า อันสะสมซึ่งซากศพต่างๆ นี้ไปเถิด เปรียบเหมือนบุรุษแก้ห่อซากศพผูกไว้ที่คออันน่ารังเกียจไป ก็จะพึงมีความสุข มีเสรี มีอํานาจ ตามลําพังตนเอง ฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 73

เราจักทิ้งกายนี้ อันเต็มด้วยซากศพต่างๆ ไป ดุจถ่ายอุจจาระไว้ในส้วม เปรียบเหมือนบุรุษและสตรีถ่ายมูตรคูถไว้ในที่ถ่ายแล้วไป ไม่อาลัย ไม่ต้องการ ฉะนั้น.

เราจักละกายนี้ซึ่งมี ๙ ช่อง มีปฏิกูลไหลออกเป็นนิตย์ไป ดุจเจ้าของเรือทิ้งเรือเก่าคร่ําคร่า เปรียบเหมือนเจ้าของเรือทิ้งเรือที่ทรุดโทรม หักพัง ที่รั่วไป ไม่อาลัย ไม่ต้องการ ฉะนั้น.

เราจักละกายนี้ อันเป็นดังมหาโจรไป เพราะกลัวแต่การทําลายตระกูล เปรียบเหมือนบุรุษเดินมากับพวกโจรแล้วทิ้งพวกโจรไป เพราะเห็นภัยคือการทําลายสิ่งของฉะนั้นเถิด.

ครั้นเราคิดอย่างนี้แล้ว จึงให้ทรัพย์หลายร้อยโกฏิแก่ชนทั้งหลาย ทั้งที่มีที่พึ่งและไม่มีที่พึ่งแล้วเข้าไปสู่หิมวันต์ ในที่ไม่ไกลหิมวันต์มีภูเขา ชื่อว่า ธารมิกบรรพต เราสร้างอาศรมไว้ดีแล้ว บรรณศาลาก็มุงบังไว้ดีแล้ว เราสร้างที่จงกรมปราศจากโทษ ๕ ประการ ประกอบด้วยคุณ ๘ ประการอันเป็นที่นํามาซึ่งกําลังแห่งอภิญญา เราละ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 74

ผ้าสาฎกอันประกอบด้วยโทษ ๑๒ ประการในที่นั้นนุ่ง ห่ม ผ้าคากรองอันประกอบด้วยคุณ ๑๒ ประการ เราละบรรณศาลาอันเกลื่อนกล่นด้วยโทษ ๘ ประการ เข้าอาศัยโคนไม้อันประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการ เราละข้าวเปลือกที่เขาหว่านปลูกไว้ ถือเอาผลไม้ที่หล่นตามแต่จะได้ ซึ่งประกอบด้วยคุณเป็นอเนกประการ เราได้ตั้งความเพียรในการนั่ง การยืน และการจงกรมภายในสัปดาห์ก็บรรลุถึงกําลังแห่งการอภิญญา ดังนี้.

บรรดาคาถาเหล่านั้น พระบาลีว่า อสฺสโม สุกโต มยฺหํ ปณฺณสาลา สุมาปิตา (แปลว่า เราสร้างอาศรมไว้ดีแล้ว บรรณศาลาเราก็มุงบังไว้ดีแล้ว) นี้ความว่า สุเมธบัณฑิตผู้ออกไป ด้วยคิดว่า เราจักบวช ดังนี้ ท่านกล่าวไว้เหมือนอาศรม บรรณศาลา และที่จงกรมนั้น ท่านสร้างด้วยมือของตนเอง. แต่ในพระบาลีนั้น พึงทราบเนื้อความดังนี้ว่า

ก็พระมหาสัตว์หยั่งลงสู่หิมวันต์แล้ว คิดว่าวันนี้เราจักเข้าไปสู่บรรพตชื่อว่า ธรรมิก ดังนี้. ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทวดาทรงทอดพระเนตรเห็นสุเมธบัณฑิตผู้ออกไปด้วยคิดว่า เราจักบวช ดังนี้จึงตรัสเรียกวิสสุกรรมเทพบุตรมาตรัสสั่งว่า สุเมธบัณฑิตนี้ออกไปแล้วด้วยคิดว่า เราจักบวช ดังนี้ ดูก่อนพ่อ พ่อจงไปสร้างที่สําหรับอยู่แก่พระมหาสัตว์เถิด วิสสุกรรมเทพบุตรนั้น รับคําของท้าวเธอแล้วก็ไปนิรมิตอาศรมบทอันน่ารื่นรมย์ บรรณศาลาอันคุ้มครองดีแล้ว และที่จงกรมอันเป็นที่พอใจ.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 75

ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหมายเอาอาศรมบทนั้นอันสําเร็จด้วยบุญญานุภาพของตน ในกาลนั้น จึงตรัสว่า

ดูก่อนสารีบุตร อาศรมเราสร้างไว้ดีแล้ว บรรณศาลาเราก็สร้างไว้ดีแล้ว ใกล้ธรรมิกบรรพตนั้น เราสร้างที่จงกรมซึ่งเว้นจากโทษ ๑๕ อย่าง ไว้ที่อาศรมบทนั้น.

บรรดาคําเหล่านั้น คําว่า สุกโต มยฺหํ แปลว่า เราสร้างไว้ดีแล้ว. คําว่า ปณฺณสาลา สุมาปิตา ความว่า แม้ศาลาที่มุงด้วยใบไม้ก็ได้ชื่อว่า เป็นศาลาอันเราสร้างดีแล้ว

ว่าด้วยที่จงกรมมีโทษ ๕ อย่าง

คําว่า ปฺจโทสวิวชฺชิตํ (เว้นจากโทษ ๕ อย่าง) ความว่า ขึ้นชื่อว่า โทษแห่งที่จงกรมเหล่านั้นมี ๕ อย่าง คือ

๑. เป็นที่แข็งและขรุขระ (ถทฺธวิสมตา)

๒. มีต้นไม้ภายใน (อนฺโตรุกฺขตา)

๓. เป็นที่ปกปิดด้วยชัฏ (คหนจฺฉนฺนตา)

๔. ที่แคบเกินไป (อติสมฺพาธนตา)

๕. ที่กว้างเกินไป (อติสาลตา).

จริงอยู่ ที่จงกรมที่มีภูมิภาคแข็งขรุขระ เท้าทั้งสองของผู้จงกรมย่อมเจ็บ เท้าย่อมบวม จิตย่อมไม่ได้เอกัคคตา กรรมฐานย่อมวิบัติ. แต่ในพื้นที่อ่อนสม่ําเสมอกัน โยคีอาศัยที่อาศัยอยู่อันผาสุกแล้ว ก็ทํากรรมฐานให้สมบูรณ์ได้ เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบที่จงกรม เพราะเป็นภูมิภาคแข็งและขรุขระว่าเป็นโทษที่หนึ่ง. เมื่อต้นไม้มีอยู่ภายในที่จงกรม หรือมีอยู่ในท่ามกลาง หรือ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 76

ในที่สุดแห่งที่จงกรม ผู้จงกรมอาศัยความประมาทแล้ว ย่อมกระทบกับหน้าผากหรือศีรษะเพราะฉะนั้น ความที่ที่จงกรมมีต้นไม้ภายใน พึงทราบว่าเป็นโทษที่สอง. เมื่อจงกรมในที่จงกรมอันรกด้วยชัฏมีหญ้าและเครือไม้เถาเป็นต้น ย่อมเหยียบสัตว์มีงูเป็นต้น ในเวลามืดให้ตาย หรือถูกสัตว์มีงูเป็นต้นขบกัดเอา เพราะฉะนั้น ความที่ที่จงกรมปกคลุมด้วยชัฏ พึงทราบว่าเป็นโทษที่สาม. เมื่อเดินจงกรมในที่จงกรมแคบเกินไป โดยกว้างหนึ่งศอก หรือครึ่งศอก เล็บก็ดี นิ้วเท้าก็ดี ย่อมแตก เพราะลื่นไปในที่จํากัด เพราะฉะนั้น ความที่ที่จงกรมแคบเกินไป พึงทราบว่าเป็นโทษที่สี่. เมื่อจงกรมในที่จงกรมกว้างเกินไปจิตย่อมพล่าน ย่อมไม่ได้เอกัคคตา เพราะฉะนั้น ความที่ที่จงกรมกว้างเกินไป พึงทราบว่าเป็นโทษที่ ห้า.

ว่าด้วยที่จงกรมอันไม่มีโทษ

ก็ที่จงกรมขนาดเล็ก (อนุจงฺกมํ) โดยส่วนกว้างหนึ่งศอกหนึ่งคืบ ที่ข้างทั้งสองประมาณหนึ่งศอก ด้านยาวประมาณ ๖๐ ศอก มีพื้นอ่อนเกลี่ยทรายไว้เรียบเหมาะสม เพราะฉะนั้น ที่นั้นเช่นนั้น ได้เป็นเหมือนที่จงกรมของพระมหามหินทเถระผู้ยังความเลื่อมใสให้เกิดแก่ชาวเกาะในเจติยคีรี ด้วยเหตุนั้นสุเมธบัณฑิต จึงกล่าวว่า เราสร้างที่งกรมเว้นโทษ ๕ อย่าง ที่อาศรมบทนั้นดังนี้.

ความสุขของสมณะ ๘ อย่าง

คําว่า อฏฺคุณสมูเปตํ (ประกอบด้วยคุณ ๘ ประการ) ได้แก่ ประกอบด้วยความสุขของสมณะ ๘ อย่างธรรมดาว่าความสุขของสมณะมี๘ คือ

๑. ความไม่หวงแหนวัตถุทั้งหลายมีทรัพย์และข้าวเปลือกเป็นต้น

๒. ความเป็นผู้แสวงหาบิณฑบาตปราศจากโทษ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 77

๓. ความเป็นผู้ฉันบิณฑบาตอันสงบ

๔. เมื่อราชกุลบีบคั้นชาวแว่นแคว้นยึดทรัพย์ที่มีสาระ หรือทาสชายหญิงและกหาปณะเป็นต้นอยู่ ความเป็นผู้ไม่ต้องเศร้าหมองเพราะการบีบคั้นชาวแว่นแคว้น

๕. ความไม่มีฉันทราคะในเครื่องใช้ทั้งหลาย

๖. ความปราศจากภัยในการถูกโจรปล้น

๗. ความไม่คลุกคลีด้วยพระราชา และมหาอํามาตย์ของพระราชา

๘. ความไม่กระทบกระทั่งในทิศทั้ง ๔.

คํานี้มีอธิบายว่า ชนผู้อยู่ในอาศรมนั้น อาจเพื่อประสบความสุขของสมณะ ๘ อย่างเหล่านั้น ฉันใด เราสร้างอาศรมนั้นประกอบด้วยคุณ ๘ ประการฉันนั้น. คําว่า อภิฺาพลมาหรึ (นํามาซึ่งกําลังแห่งอภิญญา) ความว่าเราอยู่ในอาศรมบทนั้นกระทํากสิณบริกรรม เริ่มวิปัสสนาโดยความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เพื่อต้องการให้อภิญญาทั้งหลายและสมาบัติทั้งหลายเกิดขึ้น แล้วนําวิปัสสนาพละอันมีกําลังมา อธิบายว่า ข้าพเจ้าอยู่ในที่นั้น ย่อมอาจเพื่อนํากําลังนั้นมาได้ฉันใด ข้าพเจ้าสร้างอาศรมอันสมควรแก่วิปัสสนาพละนั้น เพื่อต้องการอภิญญานั้น ฉันนั้น.

ว่าด้วยวิสสุกรรมเทพบุตรนิรมิตอาศรมบทเป็นต้น

ในบาทแห่งคาถาว่า สาฏกํ ปชหึ ตตฺถ นวโทสมุปาคตํ (เราละผ้าสาฎกอันประกอบด้วยโทษ ๙ อย่างในที่นั้น) แห่งคาถาว่า สาฏกํ ปชหึตตฺถฯ เปฯ ทฺวาทสคุณมุปาคตํ ดังนี้ พึงทราบอนุปุพพิกถา ดังต่อไปนี้.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 78

ได้ยินว่า เมื่อวิสสุกรรมเทพบุตรนิรมิตสิ่งทั้งปวงที่เป็นเครื่องใช้สอยของพวกบรรพชิตอย่างนี้ คือ นิรมิตอาศรมอันประดับด้วยกุฎีที่เร้นที่จงกรมเป็นต้น อันดารดาษไปด้วยต้นไม้มีดอกและผล อันเป็นที่รื่นรมย์ใจ มีสระน้ำใสสะอาด ปราศจากพาลมฤคและเสียงสกุณชาติที่น่ากลัว สมควรแก่ความสงบสงัด จัดแจงแผ่นกระดานสําหรับยึดในที่สุดทั้งสองของจงกรมอันประดับแล้ว นิรมิตแผ่นศิลามีพื้นเสมอกัน มีสีดังถั่วเขียวไว้ในท่ามกลางแห่งที่จงกรมเพื่อประโยชน์แก่การนั่ง นิรมิตบริขารของดาบสมีชฎา มณฑล ผ้าคากรองไม้สามขา และเต้าน้ำเป็นต้นไว้ภายในบรรณศาลา นิรมิตหม้อน้ำสําหรับดื่มสังข์ตักน้ำดื่ม และขันตักน้ำไว้ในมณฑป นิรมิตกระเบื้องถ่านเพลิง และฟืนเป็นต้นไว้ในโรงไฟ แล้วจารึกอักษรไว้ที่ฝาบรรณศาลาว่า ใครๆ ผู้ต้องการบวช จงถือเอาบริขารเหล่านี้บวชเถิด ดังนี้ แล้วไปสู่เทวโลกตามเดิม.

สุเมธบัณฑิต เลือกหาที่อันเป็นผาสุกอันสมควรแก่ที่อยู่ของตนตามแนวแห่งซอกเขาที่ชายป่าหิมวันต์ เห็นอาศรมบทอันวิสสุกรรมเทพบุตรนิรมิตไว้ซึ่งท้าวสักกะประทานให้ อันเป็นที่น่ารื่นรมย์ที่คุ้งแม่น้ำ แล้วจึงไปในที่สุดแห่งที่จงกรมไม่เห็นรอยเท้า จึงคิดว่า บรรพชิตผู้อยู่ประจําไปแสวงหาภิกษาในหมู่บ้านใกล้ๆ จักเป็นผู้มีร่างกายเหน็ดเหนื่อยแล้วกลับมาเข้าไปสู่บรรณศาลาดังนี้ เราคอยสักหน่อยหนึ่ง เห็นว่าชักช้ามาก จึงเปิดประตูบรรณศาลา ด้วยคิดว่า เราจักรู้ แล้วเข้าไปภายในแลดูข้างนี้ข้างโน้นแล้ว อ่านอักษรทั้งหลายที่ฝาใหญ่แล้วคิดว่า บริขารเหล่านี้สมควรแก่เรา เราจักถือเอาบริขารเหล่านั้นบวชดังนี้ จึงละคู่ผ้าสาฎกที่ตนนุ่งและห่มเสีย ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สาฏกํ ปชหึ ตตฺถ เป็นต้น (เราละผ้าสาฎกอันประกอบด้วยโทษ ๙ อย่างในที่นั้น) อธิบายว่า ดูก่อนสารีบุตร เราเข้าไปด้วยอาการอย่างนี้

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 79

แล้วละผ้าสาฎกอันประกอบด้วยโทษ ๙ อย่างที่บรรณศาลานั้น ท่านแสดงไว้ว่าสุเมธบัณฑิตนั้น เมื่อละผ้าสาฎกได้เห็นโทษ ๙ อย่างจึงละ.

ว่าด้วยผ้าสาฎกมีโทษ ๙ อย่าง

จริงอยู่ โทษ ๙ อย่าง ย่อมปรากฏแก่บรรพชิตผู้บวชเป็นดาบส คือ ๑. ผ้านั้นมีค่ามาก ๒. ผ้าที่มีผู้อื่นหวงแหน ๓. ผ้าที่ใช้แล้วเปื้อนง่าย เพราะเปื้อนแล้วต้องซักต้องย้อม ๔. ผ้าคร่ําคร่าแล้วด้วยการใช้ เพราะว่าเมื่อขาดแล้วต้องชุนต้องปะ ๕. ผ้าใหม่ที่หาได้ยากเพราะต้องแสวงหา ๖. ผ้าที่ไม่สมควรแก่การบวชเป็นฤาษี ๗. ผ้าที่มีทั่วไปแก่เหล่าข้าศึก เพราะต้องคุ้มครองรักษา ๘. ผ้าที่เป็นเครื่องประดับของผู้ใช้สอย ๙. ผ้าที่มีผู้ต้องการมากเป็นของใช้ประจําตัวสําหรับเที่ยวไป.

ผ้าคากรองมีอานิสงส์ ๑๒ อย่าง

คําว่า วากจิรํ นิวาเสสึ (นุ่งห่มผ้าคากรอง) ความว่า ดูก่อนสารีบุตร ในกาลนั้น เราเห็นโทษ ๙ อย่างเหล่านั้น จึงละผ้าสาฎกแล้วนุ่งผ้าคากรอง คือถือเอาผ้าคากรองที่บุคคลฉีกหญ้ามุงกระต่ายเป็นริ้วๆ แล้วทอ เพื่อสําหรับนุ่งห่ม. คําว่า ทฺวาทสคุณมุปาคตํ (ประกอบด้วยคุณ ๑๒ ประการ) ความว่าประกอบด้วยอานิสงส์ ๑๒ ประการ. จริงอยู่ ผ้าคากรองมีอานิสงส์ ๑๒ อย่างคือ

เป็นผ้ามีค่าน้อยดี เป็นของควร นี้เป็นอานิสงส์ข้อแรกก่อน สามารถเพื่อทําได้ด้วยมือของตน นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๒ ใช้แล้วค่อยๆ เปื้อน แม้ซักก็ไม่ชักช้า นี้

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 80

เป็นอานิสงส์ที่ ๓ แม้เก่าเพราะการใช้สอย ก็ไม่ต้องเย็บ นี้เป็นอานิสงส์ที่ ๕ เมื่อแสวงหาอีกก็ทําได้ง่าย นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๕ สมควรแก่การบวชเป็นดาบส นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๖ พวกข้าศึกไม่ใช้ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๗ ไม่ใช่เป็นเครื่องประดับของผู้ใช้นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๘ เป็นของเบาในเวลาครอง นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๙ เป็นของผู้มีความปรารถนาน้อยในจีวรเป็นปัจจัย นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๑๐ ความไม่มีโทษของผู้ทรงธรรม เพราะเกิดแต่เปลือกไม้ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๑๑ แม้เมื่อผ้าคากรองพินาศไปก็ไม่อาลัย นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๑๒.

บทคาถาว่า อฏโทสสมากิณฺณํ ปชหํ ปณฺณสาลกํ แห่งคาถาว่า

อฏโทสสมากิณฺณํ ปชหึ ปณฺณสาลกํ

อุปาคมึ รุกฺขมูลํ คุเณหิ ทสหุปาคตํ ดังนี้

ถามว่า สุเมธบัณฑิต ละผ้านั้นได้อย่างไร?

ตอบว่า นัยว่า สุเมธบัณฑิตนั้น เมื่อจะเปลื้องผ้าสาฎกทั้งคู่นั้น ถือเอาผ้าคากรองที่ย้อมแล้ว เช่นกับพวงดอกอังกาบ ซึ่งพาดอยู่ที่ราวจีวร นุ่งแล้วก็ห่มผ้าคากรองมีสีเหมือนสีทองคําอีกผืนหนึ่งทับผ้านุ่งนั้น แล้วทําหนังเสือเหลืองมีกีบเท้าเช่นกับสัณฐานดอกบุนนาค ให้เป็นผ้าอยู่บนบ่าข้างหนึ่ง แล้วสวมใส่มณฑลชฎา สอดหมุดแข็งกับมวยผม เพื่อต้องการทําให้ไม่หวั่นไหว

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 81

แล้วตั้งเต้าน้ำมีสีดังแก้วประพาฬไว้ในสาแหรกเช่นกับข่ายแก้วมุกดา แล้วถือเอาไม้คานอันคดในที่สามแห่ง แล้วคล้องเต้าน้ำไว้ที่ปลายไม้คานข้างหนึ่ง คล้องไม้ขอกระเช้าและไม้สามขาเป็นต้นไว้ที่ปลายไม้คานข้างหนึ่ง แล้วหาบเครื่องบริขารขึ้นบ่า ถือไม้เท้าคนแก่ด้วยมือข้างขวา ออกจากบรรณศาลา จงกรมไปมาในที่จงกรมใหญ่ยาวประมาณ ๖๐ ศอก แลดูเพศของตนแล้วเกิดความอุตสาหะขึ้นว่า มโนรถของเราถึงที่สุดแล้ว บรรพชาของเรางามหนอ ก็ชื่อว่าบรรพชานี้ วีรบุรุษทั้งปวงมีพระพุทธเจ้าและปัจเจกพุทธะสรรเสริญแล้วชมเชยแล้ว เครื่องผูกของคฤหัสถ์เราละได้แล้ว เราออกบวชแล้ว เราได้บรรพชาอันสูงสุดแล้ว เราจักทําสมณธรรม เราจักได้ความสุขในมรรคและผลดังนี้ ยกหาบบริขารลงแล้ว นั่งลงที่แผ่นศิลามีสีดังถั่วเขียว ณ ท่ามกลางที่จงกรม เหมือนรูปปฏิมาทองคํา ยังส่วนแห่งวันให้ล่วงไปแล้วเข้าไปสู่บรรณศาลาในเวลาเย็น นอนแล้วที่เครื่องลาดทําด้วยไม้ข้างเตียงฟาก ให้สรีระรับอากาศแล้วตื่นในเวลาใกล้รุ่ง รําพึงถึงการมาของตนว่า เรานั้นเห็นโทษในฆราวาส จึงละยศอันยิ่งใหญ่มีโภคะนับไม่ได้ เข้าไปสู่ป่า เป็นผู้แสวงหาเนกขัมมะบวชแล้ว จําเดิมแต่นี้ไป เราไม่ควรประมาท เพราะว่า แมลงคือมิจฉาวิตก ย่อมกัดกินผู้ละความสงบสงัด (ปวิเวก) เที่ยวไปอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ บัดนี้ เราควรพอกพูนความสงบสงัด ด้วยว่า เราเห็นปลิโพธ (ความกังวล) ของฆราวาสจึงออกมา ก็บรรณศาลานี้ เป็นที่ยังใจให้เอิบอาบมีภาคพื้นสิ่งแวดล้อมอันตกแต่งแล้ว มีสีเหมือนผลมะตูมสุก ทั้งฝาเล่า ก็ขาวสะอาดดังแผ่นเงิน หลังคา บรรณศาลามีสีดังเท้านกพิราบ เตียงฟากน้อยก็มีสีดังเครื่องลาดอันวิจิตร เราถึงฐานะอันเป็นเครื่องอยู่มีนิวาสอันผาสุก การถึงพร้อมด้วยเคหะของเราย่อมไม่ปรากฏ เหมือนความเป็นภูมิประเทศอันยิ่งกว่า

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 82

บรรณศาลานี้ ดังนี้ แล้วตรวจดูซึ่งโทษทั้งหลาย ได้เห็นโทษในบรรณศาลา ๘ อย่าง คือ

ต้องแสวงหาทัพสัมภาระ (เครื่องทําเรือน) ทั้งหลายด้วยเครื่องประกอบมากมารวมกันแล้วกระทํา นี้เป็นโทษที่หนึ่ง. ต้องดูแลทัพสัมภาระมีหญ้าใบไม้และดินเหนียวที่ตกไปเหล่านั้นเป็นนิตย์ เพื่อให้ทัพสัมภาระเหล่านั้นดํารงอยู่ได้นาน เป็นโทษที่สอง. ขึ้นชื่อว่า เสนาสนะย่อมถึงความเก่าแก่ เมื่อต้องลุกขึ้นซ่อมแซมในกาลอันไม่เหมาะสม ความเป็นเอกัคคตาแห่งจิตก็ย่อมไม่มี ฉะนั้น ความที่ต้องลุกขึ้นซ่อมแซม จึงเป็นโทษที่สาม. ความที่กายบอบบางต้องทํางานโดยกระทบกับความเย็นและร้อน เป็นโทษที่สี่. บุคคลผู้เข้าไปสู่เรือนแล้วสามารถจะทําความชั่วอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ฉะนั้น ความที่เรือนเป็นเครื่องปกปิด จึงเป็นโทษที่ห้า. ความยึดถือว่า เรือนของเราดังนี้เป็นโทษที่หก. ขึ้นชื่อว่าความมีเรือนอยู่นั้น ก็ย่อมมีผู้อยู่เป็นเพื่อน ดังนั้นข้อนี้จึงเป็นโทษที่เจ็ด. ความที่ต้องเป็นของสาธารณะมากมาย เพราะเป็นของทั่วไปแก่เล็น เลือด จิ้งจก ตุกแกเป็นต้น เป็นโทษที่แปด.

พระมหาสัตว์เห็นโทษ ๘ อย่างเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้ จึงละบรรณศาลา ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

เราละบรรณศาลาอันเกลื่อนกล่นด้วยโทษ ๘ อย่าง เข้าสู่โคนไม้อันประกอบด้วยคุณ ๑๐ อย่าง ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เราครั้นปฏิเสธเครื่องมุง (บรรณศาลา) แล้วเข้าไปสู่โคนไม้ อันประกอบด้วยคุณ ๑๐ อย่าง ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 83

โคนต้นไม้มีคุณ ๑๐ อย่าง

ที่โคนต้นไม้นั้น มีคุณ ๑๐ อย่างเหล่านี้ คือ ความเป็นผู้มิต้องริเริ่ม (ไม่ต้องสร้างเหมือนเรือน) เป็นคุณข้อที่หนึ่ง. ที่โคนต้นไม้นั้น เป็นสักว่าเข้าไปอยู่เท่านั้น ไม่ต้องปฏิบัติดูแล นี้เป็นคุณข้อที่สอง. ที่นั้นเป็นที่ให้ประโยชน์บ้าง ไม่ให้ประโยชน์บ้าง ก็นับว่าเป็นที่ผาสุกสําหรับบริโภคนั่นแหละ ความที่ไม่บํารุงรักษาเป็นคุณข้อที่สาม. โคนไม้นั้นย่อมไม่ปกปิดความติเตียน เพราะว่าเมื่อบุคคลทําความชั่วที่โคนไม้นั้น ย่อมละอาย ฉะนั้น ความที่ไม่ปกปิดความติเตียน จึงเป็นคุณข้อที่สี่. ย่อมไม่ให้กายซบเซา ดุจอยู่กลางแจ้งฉะนั้น การที่กายไม่ซบเซา จึงเป็นคุณข้อที่ห้า. ความไม่เป็นเหตุแห่งการผูกพันเป็นคุณข้อที่หก. การห้ามความอาลัยในเรือน เป็นคุณข้อที่เจ็ด. ไม่มีการให้ออกไป ด้วยคําว่า เราจักดูแลรักษาที่นั้น ท่านจงออกไป เหมือนในบ้านทั่วไปเป็นอันมาก เป็นคุณข้อที่แปด. ความได้ปีติของผู้อยู่ เป็นคุณข้อที่เก้า. ความเป็นผู้ไม่ห่วงใยในที่ที่ตนไปแล้วๆ เพราะความที่เสนาสนะคือโคนต้นไม้เป็นของหาได้ง่าย เป็นคุณข้อที่สิบ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เราครั้นเห็นคุณ ๑๐ เหล่านั้นแล้ว จึงเข้าไปสู่โคนไม้ ดังนี้.

พระมหาสัตว์กําหนดเหตุทั้งหลายเหล่านั้นมีประมาณเท่านี้แล้ว ในวันรุ่งขึ้น จึงเข้าไปสู่บ้านเพื่อภิกษา. ครั้งนั้น พวกมนุษย์ในบ้านที่พระมหาสัตว์ไปถึงนั้น ได้ถวายภิกษาด้วยความอุตสาหะใหญ่. พระมหาสัตว์ ทําภัตกิจเสร็จแล้วกลับมาสู่อาศรมนั่งแล้ว คิดว่า มิได้บวชด้วยความคิดว่า เราจักไม่ได้อาหาร ขึ้นชื่อว่า อาหารที่ดีนั่น ย่อมยังความเมาในการถือตนและเมาในความเป็นบุรุษให้เจริญ ก็ความสิ้นทุกข์ที่มีอาหารเป็นมูล หามีไม่ ไฉนหนอเราพึงละอาหารอันเกิดแต่ธัญชาติที่เขาหว่านและปลูก โดยเด็ดขาด แล้วถือ

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 84

เอาผลตามแต่จะหาได้ อันถึงพร้อมด้วยคุณมิใช่น้อย เพราะฉะนั้น เราจึงละอาหารอันเกิดแต่ธัญชาติที่เขาหว่านและปลูกแล้ว บริโภคผลไม้ ตามที่หาได้ดังนี้ จําเดิมแต่กาลนั้น พระมหาสัตว์ก็ทําอย่างนั้น แล้วสืบต่ออยู่ พยายามอยู่ภายใน ๗ วันก็ยังสมาบัติแปด และอภิญญาห้าให้เกิดขึ้นแล้ว.

ว่าด้วยการทําทางและได้รับพยากรณ์

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

เราละธัญชาติที่หว่านแล้วปลูกแล้วโดยไม่เหลือ ถือเอาผลไม้ที่ตกตามแต่หาได้ซึ่งถึงพร้อมด้วยคุณมิใช่น้อย เราตั้งความเพียรในการนั่ง การยืน การจงกรมในที่นั้น ในภายในสัปดาห์ เราก็บรรลุกําลังแห่งอภิญญา เมื่อเราถึงความสําเร็จเป็นผู้ชํานาญแล้วในพระศาสนาอย่างนี้ พระชินเจ้าพระนามว่า ทีปังกร ผู้เป็นนายกของโลกก็ทรงอุบัติขึ้น เรามัวยินดีในฌาน จึงมิได้เห็นนิมิต ๔ คือ เมื่อพระองค์ทรงอุบัติ ทรงประสูติ ตรัสรู้ และแสดงธรรมพวกมนุษย์ผู้มีจิตยินดี นิมนต์พระตถาคตให้เสด็จไปในเขตแดนประเทศชายแดนแล้วพากันแผ้วถางทางเป็นที่เสด็จมาของพระตถาคต สมัยนั้น เราครองผ้าคากรองของตนออกจากอาศรม เหาะไปในท้องฟ้า

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 85

ในกาลนั้น เราเห็นชนมีโสมนัส ยินดีร่าเริงบันเทิงใจ จึงลงจากฟ้า ถามพวกมนุษย์ในขณะนั้นว่า มหาชนผู้มีโสมนัส มีความยินดีร่าเริงแล้วย่อมแผ้วทางทางทําถนนเพื่อใคร พวกมหาชนเหล่านั้นถูกเราถามแล้ว จึงบอกแก่เราว่า พระชินพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ทีปังกร ไม่มีผู้ยิ่งกว่า เป็นนายกของโลกทรงอุบัติขึ้นในโลก มหาชนย่อมแผ้วถางทางทําถนนเชื่อมต่อกันไปเพื่อพระองค์นั้น เพราะฟังพระนามว่า พุทฺโธ ดังนี้ ปีติก็เกิดขึ้นแก่เราในทันทีทันใดนั้น เมื่อเราจะกล่าวว่า พุทฺโธ พุทฺโธ ดังนี้ จึงประกาศถึงความโสมนัส มีความยินดีแล้ว ก็มีจิตสลดยืนคิดอยู่ในที่นั้นว่า เราจักปลูกพืชทั้งหลายไว้ในที่นี้ ขอขณะ (เวลา) อย่าได้ล่วงเราไปเสียเลย ถ้าว่าพวกท่านแผ้วถางทางเพื่อพระพุทธเจ้าไซร้ ขอพวกท่านจงให้ช่องว่าง (ทาง) ส่วนหนึ่งแก่เราเถิด แม้เราก็จักแผ้วถางทางทําถนน พวกเขาได้ให้ช่องว่างทางส่วนหนึ่งแก่เราเพื่อชําระทําถนนในครั้งนั้น เราคิดอยู่ว่า พุทฺโธ

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 86

พุทฺโธ ดังนี้ ชําระทางอยู่ในกาลนั้น เมื่อทางถนนของเรายังไม่สําเร็จ พระชินมหามุนีทีปังกร พร้อมด้วยพระขีณาสพประมาณสี่แสน ผู้มีอภิญญา ๖ ผู้คงที่ปราศจากมลทินก็เสด็จดําเนินมาสู่หนทาง การต้อนรับก็กําลังเป็นไป กลองดนตรีทั้งหลายเป็นอันมากก็กึกก้องขึ้น เหล่ามนุษย์และเทพยดาทั้งหลาย ต่างก็พากันยินดีปรีดา ได้ยังสาธุการให้เป็นไปแล้ว พวกเทวดาก็มองดูพวกมนุษย์ แม้พวกมนุษย์ก็มองเห็นเทวดาทั้งหลาย พวกเทวดาและมนุษย์แม้ทั้งสองต่างก็ยกมือประณมเดินตามพระตถาคต พวกเทวดาก็ประโคมดนตรีทิพย์ พวกมนุษย์ก็ประโคมดนตรีของมนุษย์ เทวดาและมนุษย์แม้ทั้งสองพวกต่างก็ประโคมดนตรีตามเสด็จพระตถาคต พวกเทวดาไปทางอากาศโปรยดอกมณฑารพ ดอกปทุม ดอกปาริฉัตตกะอันเป็นทิพย์ ไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่ ทั้งได้โปรยจุรณจันทน์ และของหอมอันประเสริฐ อันเป็นทิพย์ ลงสู่ทิศน้อยใหญ่ทั้งสิ้น พวกมนุษย์ซึ่งเดินตามพื้นดินต่างก็ชูดอกจําปา

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 87

ดอกสน ดอกประดู่ ดอกกระทิง ดอกบุนนาค และดอกการะเกดทั่วทิศานุทิศ ส่วนเราสยายผมออก และเปลื้องผ้าคากรองและหนังเสือลาดไว้บนเปือกตมแล้ว นอนคว่ําลง (โดยตั้งใจว่า) ขอพระพุทธเจ้าจงทรงเหยียบเรา อย่าได้ทรงเหยียบโคลนตมเลย การที่พระองค์ทางดําเนินไปเช่นนั้น จักเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา เมื่อเรานอนที่พื้นดินแล้ว ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เราเมื่อปรารถนาอยู่ วันนี้จักฆ่ากิเลสทั้งหลายได้ การที่กระทําให้แจ้งซึ่งธรรม ด้วยเพศอันบุคคลอื่นไม่รู้จักในที่นี้ จะมีประโยชน์อะไร? เราบรรลุสัพพัญุตญาณแล้วจักเป็นพระพุทธเจ้าในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ความที่เราเป็นบุรุษ แสดงความสามารถข้ามไปคนเดียว จะมีประโยชน์อะไร? เราบรรลุสัพพัญุตญาณแล้ว จักยังมนุษยโลกทั้งเทวโลกให้ข้ามไปพร้อมกัน ความที่เราเป็นบุรุษ มีบุญญาธิการส่องถึงความสามารถคนเดียวนี้ จะมีประโยชน์อะไร? เราบรรลุสัพพัญุตญาณแล้ว จักยังประชุมชนอัน

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 88

มากให้ข้ามตาม เราตัดกระแสสงสารแล้วกําจัดภพทั้งสามขึ้นสู่ธรรมนาวาแล้ว จักยังมนุษย์พร้อมทั้งเทวโลกให้ข้ามไปพร้อมกัน พระทีปังกรพุทธเจ้า ผู้รู้แจ้งโลก ผู้สมควรรับเครื่องสักการะที่เขานํามาบูชา ประทับยืนบนศีรษะเรา ได้ตรัสคํานี้ว่า

พวกเธอจงดูดาบสนี้ ผู้เป็นชฏิล มีตบะกล้าในกัปที่นับไม่ถ้วน แต่กัปนี้ไปจักเป็นพระพุทธเจ้าในโลก เธอจักเป็นพระตถาคตเสด็จออกจากนครกบิลพัสดุ์อันน่ารื่นรมย์ จักทรงตั้งความเพียรกระทําทุกรกิริยา จักประทับนั่งที่โคนไม้อชปาลนิโครธ ทรงรับข้าวมธุปายาสในที่นั้นแล้ว จักเข้าไปยังแม่น้ำเนรัญชรา เสวยข้าวปายาสที่ริมฝังแม่น้ำเนรัญชรา แล้วจักเสด็จไปโคนต้นโพธิ์ โดยทางอันประเสริฐที่เขาตกแต่งไว้แล้ว ต่อจากนั้นก็กระทําประทักษิณโพธิมณฑลอันยอดเยี่ยม แล้วจักตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธะผู้มียศใหญ่ ที่โคนอัสสัตถพฤกษ์ พระมารดาของผู้เป็นชนนีของดาบสนี้ จักมีนามว่า มายา พระบิดา มีนามว่า สุทโธทนะ ดาบสนี้จักเป็น

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 89

โคตมโคตร (เหล่ากอของพระโคดม) คือพระพุทธเจ้า พระโกลิตะ และพระอุปติสสะ ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่นแล้ว จักเป็นคู่อัครสาวก ภิกษุผู้อุปัฏฐากชื่อว่า อานนท์ จักบํารุงพระชินะนั้น นางเขมาและนางอุบลวรรณา ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มาจิตสงบตั้งมั่นแล้วจักเป็นคู่อัครสาวิกา ต้นไม้ที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เรียกว่าอัสสัตถพฤกษ์ดังนี้.

พวกมนุษย์ และเทวดาฟังพระดํารัสของพระมเหสีเจ้า ผู้ไม่มีใครเสมอว่า ดาบสนี้จักเป็นพุทธางกูร (คือเป็นหน่อเนื้อแห่งพระพุทธเจ้า) ก็พากันยินดีเบิกบานใจทั่วเสียงเกิดจากความปรีดาปราโมทย์อันยิ่งก็บันลือลั่น พวกมนุษย์และเหล่าเทวดาทั้งหมื่นโลกธาตุก็ปรบมือร่าเริง ประนมมือนมัสการตั้งความปรารถนาว่า แม้ถ้าพวกเราจักพลาดจากศาสนาของโลกนาถนั้น ในอนาคตกาล พวกเราก็จักพบกับดาบสนี้เปรียบเหมือนมนุษย์ทั้งหลาย ผู้ข้ามแม่น้ำใหญ่พลาดท่าที่ตั้งอยู่เฉพาะหน้า ก็ถือเอาท่า

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 90

ล่างข้ามมหานทีได้ฉันใด พวกเราทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าพ้นจากพระชินะพระองค์นี้ ในอนาคตกาลก็จักพบดาบสนี้พระทีปังกรพุทธเจ้าผู้รู้แจ้งโลก ผู้สมควรรับเครื่องสักการะอันมนุษย์และเทวดานํามาบูชาแล้ว ทรงประกาศกรรมของเราแล้วก็ทรงยกพระบาทเบื้องขวาขึ้นเสด็จดําเนินไป เหล่าชินบุตรเหล่าใดอยู่ในที่นั้น ทั้งหมดต่างก็กระทําประทักษิณเรา พวกมนุษย์ นาค และคนธรรพ์ต่างก็อภิวาทแล้วก็หลีกไป เมื่อพระโลกนาถพร้อมทั้งหมู่ภิกษุสงฆ์ ก้าวล่วงการมองดูของเราแล้ว เรามีจิตยินดีร่าเริงแล้วลุกขึ้นจากอาสนะในกาลนั้น เรามีความสุขด้วยความสุข มีความบันเทิงด้วยความปราโมทย์ บริบูรณ์แล้วด้วยปีติ แล้วคู้บัลลังก์ในกาลนั้น เราครั้นนั่งคู้บัลลังก์ในกาลนั้นแล้ว ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า

เราเป็นผู้ชํานาญในฌาน ถึงอภิญญาบารมีแล้ว ฤาษีทั้งหลายในหมื่นโลกธาตุไม่เสมอเรา เราไม่มีใครเสมอในอิทธิธรรมได้ความสุขเช่นนี้ เมื่อเราคู้บัลลังก์อยู่ เหล่าเทพเจ้าในหมื่นโลกธาตุต่างก็เปล่งเสียง

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 91

บันลือลั่นไปว่า "ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่" นิมิตทั้งหลายเหล่าใดของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายในปางก่อนมาปรากฏแก่เรา ผู้นั่งคู้บัลลังก์อันประเสริฐ นิมิตเหล่านั้นย่อมปรากฏในวันนี้ ความเย็นปราศไป และความร้อนย่อมสงบระงับไปในกาลก่อนอันใด นิมิตเหล่านั้นปรากฏอยู่แก่เราในวันนี้ว่า ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ หมื่นโลกธาตุปราศจากเสียงสับสนวุ่นวายปรากฏแก่เราในวันนี้ว่า ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ พายุใหญ่ย่อมไม่พัด แม่น้ำทั้งหลายย่อมไม่ไหลไปในกาลก่อนอันใด นิมิตเหล่านั้นย่อมปรากฏแก่เราในวันนี้ว่า ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ ดอกไม้ทั้งหลายที่เกิดบนบก ที่เกิดในน้ำทั้งหมดต่างก็เบ่งบานในกาลก่อนนั้น ดอกไม้เหล่านั้นก็เบ่งบานแล้ว ในวันนี้เป็นนิมิตว่า ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ เครือเถาหรือต้นไม้เหล่านั้นทั้งหมดก็ผลิผลในวันนี้เป็นนิมิตว่า ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ รัตนะทั้งหลายที่ตั้งอยู่ที่อากาศก็ดี ที่พื้นดิน

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 92

ก็ดี ย่อมส่องแสงโชติช่วงในครั้งนั้น รัตนะทั้งหลายแม้เหล่านั้นก็ส่องแสงโชติช่วง ในวันนี้เป็นนิมิตว่า ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ ดนตรีทั้งหลายอันเป็นของมนุษย์ และเป็นทิพย์ ต่างก็บันลือลั่นในกาลนั้น ดนตรีแม้เหล่านั้นก็บันลือลั่นในวันนี้ เป็นนิมิตว่า ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ ดอกไม้อันวิจิตรตกจากฟากฟ้าในครั้งนั้น ดอกไม้แม้เหล่านั้น ก็กําลังตกในวันนี้เป็นนิมิตว่า ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ มหาสมุทรคะนองหมื่นโลกธาตุย่อมหวั่นไหวในครั้งนั้น นิมิตแม้ทั้งสองเหล่านั้น ก็บันลือลั่นในวันนี้ว่า ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ ไฟในนรกทั้งหมื่นโลกธาตุย่อมดับในขณะนั้น ไฟเหล่านั้นก็ดับแล้วในวันนี้เป็นนิมิตว่า ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ พระอาทิตย์ปราศจากมลทิน ดวงดาราทั้งปวงปรากฏในครั้งนั้น นิมิตแม้เหล่านั้นก็ปรากฏในวันนี้ว่า ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ น้ำพุ่งขึ้นจากแผ่นดินโดยที่ฝนมิได้ตก ในครั้งนั้น แม้น้ำนั้นก็พุ่งขึ้นจากแผ่นดินในวันนี้เป็นนิมิตว่า ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ กลุ่มดาวนักษัตรทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 93

ประกอบด้วยดวงจันทร์ อันเป็นวิสาขปุรณมีฤกษ์ ย่อมรุ่งโรจน์ในมณฑลแห่งท้องฟ้าเป็นนิมิตว่า ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่เหล่าสัตว์ที่อาศัยโพรงและอาศัยตามซอกเขาย่อมออกจากที่อยู่ของตน สัตว์เหล่านั้นก็ออกจากที่อยู่ของตนแม้ในวันนี้ เป็นนิมิตว่า ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ สัตว์ทั้งหลายไม่มีความริษยากัน มีความยินดี ในครั้งนั้นสัตว์เหล่านั้นทั้งหมดก็ยินดีแล้ว แม้ในกาลนี้เป็นนิมิตว่า ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ โรคทั้งหลายย่อมสงบระงับ ความกระหายย่อมพินาศไปในครั้งนั้น สิ่งเหล่านั้นย่อมปรากฏแม้ในวันนี้ เป็นนิมิตว่า ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ ราคะย่อมเบาบาง โทสะและโมหะย่อมพินาศในกาลนั้น กิเลสเหล่านั้นแม้ทั้งหมดปราศจากไปแล้ว แม้ในวันนี้เป็นนิมิตว่า ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ ภัยไม่มีในครั้งนั้น แม้ในวันนี้ ภัยนั้นก็ไม่ปรากฏ เพราะนิมิตนั้นๆ พวกข้าพเจ้าจึงทราบว่า ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ ธุลีย่อมไม่ฟุ้งขึ้นเบื้องบนในเวลานั้น ธุลีนั้นย่อมไม่ปรากฏแม้ในวันนี้ เพราะนิมิตินั้น

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 94

พวกข้าพเจ้าจึงทราบว่า ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ กลิ่นที่ไม่น่าปรารถนาย่อมหลีกไป กลิ่นอันเป็นทิพย์ย่อมฟุ้งไปในครั้งนั้น กลิ่นหอมอันเป็นทิพย์นั้น ย่อมฟุ้งไปแม้ในวันนี้ เพราะนิมิตนั้น ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ เหล่าเทพทั้งหมดเว้นอรูปพรหม เทพทั้งหมดเหล่านั้นทั้งหมดย่อมปรากฏแม้ในวันนี้ เพราะนิมิตนั้น ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ ชื่อว่า นรกทั้งหลายทั้งหมดย่อมปรากฏในครั้งนั้น นรกเหล่านั้นทั้งหมดย่อมปรากฏแม้ในวันนี้ เพราะมิมิตนั้น ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ ฝาเรือนบานหน้าต่าง และศิลาย่อมไม่เป็นเครื่องกั้นสายตาในครั้งนั้น ทัพสัมภาระเหล่านั้นเป็นดุจอากาศแม้ในวันนี้ เพราะนิมิตนั้น ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ จุติและอุปบัติไม่มีในขณะนั้น จุติและอุปบัติย่อมไม่ปรากฏในวันนี้ เพราะนิมิตนั้น ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ นิมิตทั้งหลายเหล่านี้ ย่อมปรากฏแก่สัตว์ทั้งหลายเพื่อประโยชน์แก่การตรัสรู้ ขอท่านจงประคองความเพียรไว้ให้มั่น อย่าถอยกลับ จงก้าวไปข้างหน้า แม้พวกเราก็

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 95

ย่อมรู้แจ้งซึ่งนิมิตนั้นว่า ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่.

เรา (สุเมธบัณฑิต) สดับพระดํารัสของพระพุทธเจ้าและเหล่าเทวดาหมื่นโลกธาตุทั้งสองแล้ว มีความโสมนัสยินดีร่าเริงบันเทิงใจแล้ว ได้มีความคิดในกาลครั้งนั้นอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีถ้อยคําไม่เป็นสอง พระชินะทั้งหลาย พระวาจาไม่เป็นโมฆะ ถ้อยคําอันไม่เป็นจริงไม่มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เราจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ ก้อนดินบุคคลขว้างไปในท้องฟ้าย่อมตกลงสู่พื้นดินแน่แท้ ฉันใด พระดํารัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดเป็นพระดํารัสเที่ยงแท้แน่นอนฉันนั้นเหมือนกัน ความตายย่อมเป็นของแท้แก่สรรพสัตว์ทั้งหลายแม้ฉันใด พระดํารัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดก็มีพระดํารัสเที่ยงแท้ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อราตรีสิ้นไปแล้วพระอาทิตย์ต้องขึ้นไปแน่ ฉันใด พระดํารัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดก็เป็นพระดํารัสจริงแท้แน่นอนฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อสีหะออกจากที่นอนแล้วย่อมบันลือแน่แท้ ฉันใด พระดํารัส

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 96

ของพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ก็เป็นพระดํารัสจริงแท้แน่นอน ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ทั้งหลายแบกของหนักไปถึงที่ประสงค์แล้วย่อมวางลงแน่ ฉันใด พระดํารัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ก็เป็นพระดํารัสเที่ยงแท้แน่นอน ฉันนั้นเหมือนกัน.

ว่าด้วยพุทธการกธรรม ๑๐

เอาเถอะเราจักเลือกเฟ้นธรรมทั้งหลายอันกระทําซึ่งความเป็นพระพุทธเจ้า ทางโน้นและทางนี้ ทั้งเบื้องบนเบื้องต่ําทั่วทั้งสิบทิศตลอดถึงธรรมธาตุ เมื่อเราเลือกเฟ้นอยู่ในกาลนั้น ได้เห็นทานบารมีอันเป็นพุทธการกธรรมข้อที่ ๑ ซึ่งเป็นทางใหญ่ อันพระมเหสีเจ้าทั้งหลายในกาลก่อน ทรงเลือกเฟ้นแล้วจึงสอนตนว่า เธอจงบําเพ็ญทานบารมี อันเป็นพุทธการกธรรมข้อที่ ๑ นี้ สมาทานทําไว้ให้มั่นก่อน ถ้าเธอปรารถนาบรรลุพระโพธิญาณ เปรียบเหมือนหม้อน้ำที่ใครๆ คนหนึ่งคว่ําปากลง น้ำก็ออกจากหม้อมิได้เหลือ มิได้รักษาน้ำไว้ในหม้อนั้น แม้ฉันใดท่านเห็นยาจกทั้งหลายแล้ว ชั้นต่ําก็ตาม

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 97

ชั้นกลางก็ตาม ชั้นสูงก็ตาม จงให้ทานโดยไม่เหลือ เหมือนหม้อน้ำที่เขาคว่ําปากลงฉันนั้นเหมือนกัน.

จริงอยู่ พุทธการกธรรมจะมีเท่านี้ก็หามิได้ เราจักเลือกเฟ้นธรรมอันบ่มโพธิญาณแม้อื่นๆ เมื่อเราเลือกเฟ้นอยู่ในครั้งนั้น ได้เห็นสีลบารมีอันเป็นพุทธการกธรรมข้อที่ ๒ อันพระมเหสีเจ้าทั้งหลาย ในกาลก่อนปฏิบัติแล้วส้องเสพแล้ว จึงสอนตนว่า เจ้าจงบําเพ็ญสีลบารมีอันเป็นพุทธการกธรรมข้อที่ ๒ นี้ สมาทานทําให้มั่นก่อน ถ้าเธอปรารถนาบรรลุโพธิญาณ สัตว์จามรีมีขนหางติดอยู่ในที่ใดๆ ย่อมยอมตายในที่นั้นๆ ย่อมไม่ให้ขนหางเสียไป แม้ฉันใด เธอจงบําเพ็ญศีลทั้งหลายในภูมิ ๔ จงรักษาศีลทุกเมื่อ เหมือนจามรีรักษาขนหาง ฉันนั้นเหมือนกัน.

อันพุทธการกธรรมจักมีเท่านี้ก็หาไม่ เราเลือกเฟ้นธรรมทั้งหลายอันบ่มโพธิญาณแม้อื่นๆ เมื่อเราเลือกเฟ้นอยู่ในกาลนั้นได้เห็นเนกขัมมบารมีอันเป็นพุทธการกธรรมข้อที่ ๓ อันพระมเหสีทั้งหลายในกาลก่อน

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 98

ทรงปฏิบัติแล้ว ส้องเสพแล้ว จึงสอนตนว่า ท่านจงบําเพ็ญเนกขัมมบารมีอันเป็นพุทธการกธรรมข้อที่ ๓ นี้ สมาทานกระทําให้มั่นก่อน ถ้าเธอปรารถนาบรรลุโพธิญาณบุรุษผู้ติดอยู่ในเรือนจํา มีความทุกข์สิ้นกาลนาน เขาไม่มีความยินดีในเรือนจํานั้นแสวงหาการพ้นไปเท่านั้น ฉันใด เธอก็เหมือนกันนั่นแหละ จงดูภพทั้งหมดเหมือนเรือนจํา จงมุ่งหน้าต่อเนกขัมมะเพื่อความหลุดพ้นเถิด.

อันพุทธการกธรรมทั้งหลายจักมีเพียงเท่านี้ก็หาไม่ เราจักเลือกเฟ้นธรรมทั้งหลายอันบ่มโพธิญาณแม้อื่นๆ เมื่อเราเลือกเฟ้นอยู่ในครั้งนั้น ได้เห็นปัญญาบารมีอันเป็นพุทธการกธรรมข้อที่ ๔ อันพระมเหสีเจ้าทั้งหลายในกาลก่อนปฏิบัติแล้ว ส้องเสพแล้ว จึงสอนตนว่า ท่านจงบําเพ็ญปัญญาบารมีอันเป็นพุทธการกธรรมข้อที่ ๔ นี้สมาทานทําให้มั่นก่อน ถ้าเธอปรารถนาบรรลุโพธิญาณ ภิกษุผู้ขอบิณฑะในตระกูลต่ํา ปานกลาง ชั้นสูง ไม่เว้นตระกูลทั้งหลาย ย่อมได้อาหารพอยังอัตภาพให้

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 99

เป็นไปอย่างนี้ แม้ฉันใด เธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงสอบถามชนผู้รู้ตลอดกาลบําเพ็ญปัญญาบารมีแล้ว จักบรรลุสัมโพธิญาณ.

อันพุทธการกธรรมจักมีเพียงเท่านี้ก็หาไม่ เราจักเลือกเฟ้นธรรมทั้งหลายบ่มโพธิญาณแม้อื่นๆ เมื่อเราเลือกเฟ้นในครั้งนั้น ได้เห็นวิริยบารมีอันเป็นพุทธการกธรรมข้อที่ ๕ อันพระมเหสีเจ้าทั้งหลายในกาลก่อนปฏิบัติแล้ว ซ่องเสพแล้ว จึงสอนตนว่า ท่านจงบําเพ็ญวิริยบารมีอันเป็นพุทธการกธรรมข้อที่ ๕ นี้ สมาทานทําให้มั่นก่อน ถ้าท่านปรารถนาบรรลุโพธิญาณสีหมิคราชมีความเพียรไม่ท้อถอย มีใจประคับประคองแล้วในการนั่ง การยืน การเดินทุกเมื่อ แม้ฉันใด ถึงท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงบําเพ็ญวิริยบารมีประคองความเพียรไว้ให้มั่น แล้วจักบรรลุสัมโพธิญาณ.

อันพุทธการกธรรมจักมีเท่านั้นก็หามิได้ เราจักเลือกเฟ้นธรรมทั้งหลายบ่มโพธิญาณแม้อื่นๆ เมื่อเราเลือกเฟ้นธรรม

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 100

ในครั้งนั้น ได้เห็นขันติบารมีอันเป็นพุทธการกธรรมข้อที่ ๖ อันพระมเหสีทั้งหลายในกาลก่อนปฏิบัติแล้ว ส้องเสพแล้ว จึงสอนตนว่า เธอจงสมาทานพุทธการกธรรมข้อที่ ๖ นี้ ทําให้มั่นก่อน เธอมีใจไม่เป็นสองในขันติบารมีนั้น จักบรรลุสัมโพธิญาณ ธรรมดาว่า แผ่นดินย่อมทนสิ่งที่สะอาดบ้าง สิ่งที่ไม่สะอาดบ้างทั้งหมดที่เขาทิ้งไป ย่อมไม่ทําความยินดียินร้าย แม้ฉันใด ถึงท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน ต้องอดทนต่อการนับถือ และความดูหมิ่นของชนทั้งปวง ท่านบําเพ็ญขันติบารมีแล้ว จักบรรลุสัมโพธิญาณ.

อันพุทธการกธรรมทั้งหลายมิได้มีเพียงเท่านี้ เราจักเลือกเฟ้นธรรมแม้อื่นๆ บ่มโพธิญาณเมื่อเราเลือกเฟ้น ในครั้งนั้นได้เห็นสัจจบารมีอันเป็นพุทธการกธรรม ข้อที่๗ อันพระมเหสีทั้งหลายในปางก่อนปฏิบัติแล้ว ส้องเสพแล้ว จึงสอนตนว่า ท่านจงสมาทานพุทธการกธรรมข้อที่ ๗ นี้ทําให้มั่นก่อน ท่านมีวาจาไม่เป็นสองในสัจจบารมีนั้น จักบรรลุสัมโพธิญาณ

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 101

ธรรมดาว่า ดาวประกายพรึก เป็นดาวประจําวิถี ในโลกนี้และเทวโลก ย่อมไม่ก้าวล่วงวิถีในสมัยฤดูร้อน หรือฤดูฝนแม้ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกันอย่าก้าวล่วงวิถีในสัจจะทั้งหลาย ท่านบําเพ็ญสัจจบารมีแล้ว จักบรรลุสัมโพธิญาณ.

อันพุทธการกธรรมทั้งหลายจักไม่มีเพียงเท่านี้ จักเลือกธรรมแม้อื่นๆ บ่มโพธิญาณ เมื่อเราเลือกเฟ้นในครั้งนั้นได้เห็นอธิษฐานบารมี อันเป็นพุทธการกธรรมข้อที่ ๘ อันพระมเหสีทั้งหลายในปางก่อนปฏิบัติแล้วส้องเสพแล้ว จึงสอนตนว่า ท่านจงสมาทานทําพุทธการกธรรมข้อที่ ๘ นี้ให้มั่นก่อน ท่านเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอธิฐานบารมีแล้ว จักบรรลุสัมโพธิญาณ ภูเขาศิลาล้วน ไม่หวั่นไหวตั้งมั่นดีแล้ว ไม่หวั่นไหวด้วยลมที่แรงกล้าย่อมดํารงอยู่ในที่ของตนเท่านั้น แม้ฉันใดเธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน ตั้งมั่นในอธิษฐานบารมีในกาลทั้งปวง เธอบําเพ็ญอธิษฐานบารมีแล้ว จักบรรลุสัมโพธิญาณ.

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 102

อันพุทธการกธรรมทั้งหลายจักไม่มีเท่านี้แน่ เราจักเลือกเฟ้นธรรมแม้อื่นๆ บ่มโพธิญาณ เมื่อเราเลือกเฟ้นในครั้งนั้นได้เห็นเมตตาบารมีอันเป็นพุทธการกธรรมข้อที่ ๙ อันพระมเหสีทั้งหลายในกาลก่อนปฏิบัติแล้ว ส้องเสพแล้ว จึงสอนตนว่าเธอจงเป็นผู้ไม่มีใครเสมอด้วยเมตตา สมาทานพุทธการกธรรมข้อที่ ๙ นี้ ให้มั่นก่อนถ้าท่านปรารถนาบรรลุโพธิญาณ ธรรมดาว่าน้ำย่อมแผ่ความเย็นไปสม่ําเสมอ และย่อมชําระล้างมลทิน คือ ธุลีในชนทั้งหลายทั้งคนดีและคนชั่ว แม้ฉันใด เธอก็จงเป็นฉันนั้นนั่นแหละ พึงเจริญเมตตาบารมีเจริญเมตตาไปสม่ําเสมอในชน ผู้ทําประโยชน์และผู้ไม่ทําประโยชน์แล้ว ท่านจักบรรลุสัมโพธิญาณ.

อันพุทธการกธรรมทั้งหลายจักไม่มีเพียงเท่านี้แน่ เราจักเลือกเฟ้นธรรมแม้อื่นๆ บ่มโพธิญาณ เมื่อเราเลือกเฟ้นในครั้งนั้น ได้เห็นอุเบกขาบารมีอันเป็นพุทธการกธรรมข้อที่ ๑๐ อันพระมเหสีเจ้าทั้งหลายในกาลก่อนปฏิบัติแล้ว ส้องเสพ

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 103

แล้ว จึงสอนตนว่า เธอเป็นผู้คงที่มั่นคงสมาทานพุทธการกธรรมข้อที่ ๑๐ นี้ให้มั่นก่อนแล้ว จักบรรลุสัมโพธิญาณ ธรรมดาแผ่นดินเว้นจากความยินดียินร้ายเหล่านั้นทั้งสอง ย่อมวางเฉยสิ่งอันไม่สะอาดและสิ่งสะอาดที่บุคคลโยนไปแล้ว แม้ฉันใด เธอก็จงเป็นฉันนั้นนั่นแหละ บําเพ็ญอุเบกขาบารมี เป็นผู้คงที่ในสุขและทุกข์ในกาลทุกเมื่อแล้ว จักบรรลุสัมโพธิญาณ.

ธรรมทั้งหลายอันบ่มโพธิญาณในโลกมีประมาณเท่านี้แหละ ไม่เกินจากนี้ ท่านจงตั้งมั่นอยู่ในธรรมเหล่านั้นเถิด เมื่อเราพิจารณาธรรมทั้งหลาย ที่เป็นสภาวะ รสะและลักษณะเหล่านี้อยู่ ด้วยเดชแห่งธรรมเหล่านั้น แผ่นดินหมื่นโลกธาตุก็หวั่นไหวแผ่นดินหวั่นไหวอยู่ ส่งเสียงดังเหมือนเครื่องยนตร์หีบอ้อยที่เขาบีบแล้ว แผ่นดินย่อมสั่นสะเทือนเหมือนจักรยนต์น้ำมันฉะนั้น.

มหาสมุทรทั้งหลายก็ตีฟองนองเนือง ทั้งจอมเขาที่มหาสมุทรนั้นก็โอนอ่อนน้อมลงแล้ว เสียงดังหึ่งๆ ก็ดังก้องไปแล้วที่เขา

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 104

สิเนรุราช บริษัททั้งหลายอยู่ในที่อังคาสพระพุทธเจ้าหวั่นไหวอยู่ หมดสติล้มลง ณ พื้นดินในที่นั้น หม้อน้ำหลายพัน ตุ่มน้ำหลายร้อย กระทบกันและกันแตกละเอียดไปในที่นั้น มหาชนทั้งหลายต่างก็สะดุ้งตกใจกลัวหมุนไป มีใจหวาดหวั่น มาประชุมกันเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าทีปังกร ทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีพระผู้จักษุ ความดีหรือความชั่วจักมีแก่โลกอย่างไร โลกทั้งหมดถูกรบกวนแล้ว ขอพระองค์จงทรงบรรเทาอันตรายนั้นด้วยเถิด ครั้งนั้น พระมหามุนีทีปังกรพุทธเจ้าทรงยังมหาชนเหล่านั้นให้ทราบแล้วว่า ท่านทั้งหลายจงวางใจเถิด อย่ากลัวเลยในการหวั่นไหวแห่งแผ่นดินนี้ เราได้พยากรณ์ดาบสใดในวันนี้ว่า เขาจักเป็นพระพุทธเจ้าในโลก ดาบสนี้พิจารณาธรรมอันพระชินเจ้าส้องเสพแล้วในกาลก่อน เมื่อดาบสนั้นพิจารณาธรรมอันเป็นพุทธภูมิโดยไม่เหลือด้วยเหตุนั้น แผ่นดินหมื่นโลกธาตุในมนุษย์และเทวดานี้ จึงหวั่นไหวแล้วเพราะสดับฟังพระดํารัสของพระพุทธเจ้า ใจของพวกเขาก็สงบทันที มนุษย์และเทวดาทั้งหมดจึงเข้า

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 105

ไปหาเราแล้วอภิวาทอีกครั้งหนึ่ง เราสมาทานพุทธคุณกระทําใจให้มั่นแล้ว นมัสการพระทีปังกรพุทธเจ้า แล้วลุกขึ้นจากอาสนะในขณะนั้น เมื่อเราลุกจากอาสนะ เทวดาและมนุษย์ทั้งสองพวกต่างก็โปรยปรายดอกไม้ทั้งทิพย์ ทั้งเป็นของมนุษย์ เหล่าเทวดาและมนุษย์ทั้งสองพวกต่างก็ให้เราทราบถึงความสวัสดีว่า ความปรารถนาที่ท่านปรารถนาแล้วเป็นเรื่องใหญ่ ท่านจักได้โพธิญาณนั้นตามความปรารถนา ขอเสนียดจัญไรทั้งปวงจงพินาศไป ความโศก โรคจงสูญสิ้นไป อันตรายจงอย่ามีแก่ท่าน ขอท่านจงตรัสรู้โพธิญาณอันยอดเยี่ยมพลันเถิด ต้นไม้ดอกย่อมเบ่งบานในสมัย (ฤดู) ที่มาถึงแล้ว แม้ฉันใด ข้าแต่มหาวีระ ขอท่านจงเบิกบานด้วยพุทธญาณฉันนั้นเถิด พระสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทรงบําเพ็ญบารมี ๑๐ ฉันใด ขอมหาวีรเจ้าจงบําเพ็ญบารมี ๑๐ ฉันนั้นเถิด พระสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ตรัสรู้ ณ โพธิมณฑล ฉันใด ขอมหาวีรเจ้า จงตรัสรู้โพธิญาณของพระชินะ

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 106

ฉันนั้นเถิด พระสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทรงประกาศพระธรรมจักร ฉันใด ขอมหาวีรเจ้า จงประกาศธรรมจักร ฉันนั้นเถิด พระจันทร์ในวันปุรณมีบริสุทธิ์ ย่อมไพโรจน์ ฉันใด ขอท่านจงมีใจเต็มแล้ว ยังหมื่นโลกธาตุให้ไพโรจน์ ฉันนั้นเหมือนกัน พระอาทิตย์พ้นจากราหูแล้ว ย่อมโชติช่วงมีแสงอันกล้า ฉันใด ขอท่านจงปลดเปลื้องโลกโชติช่วงด้วยสิริ ฉันนั้นเหมือนกัน แม่น้ำสายใดสายหนึ่ง ย่อมไหลลงสู่มหาสมุทรฉันใด ขอชาวโลกทั้งเทวโลกจงไหลลงสู่สํานักของท่าน ฉันนั้นเถิด.

เรานั้นอันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายชมเชยสรรเสริญแล้ว สมาทานธรรมทั้ง ๑๐ เมื่อจะบําเพ็ญธรรมเหล่านั้นให้บริบูรณ์ จึงเข้าไปสู่ป่าใหญ่ (ป่าหิมพานต์) ในกาลนั้นแล.

จบสุเมธกถา

ชาวรัมมนครเหล่านั้น อังคาสพระโลกนายกพร้อมทั้งหมู่สงฆ์ ในกาลนั้นแล้วพากันเข้าถึงพระศาสดาพระนามว่า ทีปังกร

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 107

พระองค์นั้นเป็นสรณะแล้ว พระตถาคตเจ้าพระนามว่า ทีปังกร ทําชนบางเหล่าให้ตั้งอยู่ในสรณาคมน์ บางเหล่าให้ตั้งอยู่ในศีล ๕ บางเหล่าตั้งอยู่ในศีล ๑๐ อันประเสริฐ ให้สามัญผล ๔ อันเป็นผลสูงสุดแก่ชนบางพวก ให้ธรรมอันไม่มีธรรมอื่นเสมอ คือปฏิสัมภิทา ๔ แก่ชนบางพวก พระนราสภทรงประทานสมาบัติอันประเสริฐ ๘ แก่ชนบางเหล่า ประทานวิชชา ๓ และอภิญญา ๖ แก่ชนบางเหล่า พระมหามุนีพระนามว่า ทีปังกรพุทธเจ้า ตรัสโอวาทประชุมชนด้วยความเพียร ได้ยังคําสั่งสอนของพระองค์ผู้เป็นโลกนาถให้แพร่หลายแล้วด้วยความพากเพียร พระพุทธเจ้าทีปังกร ทรงมีลักษณะมีพระหนุใหญ่ และลําพระศองามสมลักษณะ ยังประชุมชนให้ข้ามพ้นทุคติพระมหามุนีทรงเห็นชนผู้ควรตรัสรู้ในหนทางแม้ตั้งแสนโยชน์ ก็เสด็จไปยังชนนั้นให้ตรัสรู้โดยพลัน.

ศาสนาของพระทีปังกรนั้น ในการตรัสรู้ครั้งแรกของหมู่สัตว์ ได้มีประมาณถึงร้อยโกฏิ ในครั้งที่สองมีประมาณเก้าสิบโกฏิ

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 108

ในครั้งที่สาม พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมที่ดาวดึงส์พิภพ ได้มีการตรัสรู้ของเทพยดาถึงเก้าหมื่นโกฏิ.

ในศาสนาของพระทีปังกรนั้น ได้มีการประชุมใหญ่สามครั้ง ครั้งแรกมีพระสาวกมาประชุมประมาณแสนโกฏิ ครั้งที่สองเมื่อพระชินเจ้าทรงเข้านิโรธสมาบัติที่นารทกูฏะ มีพระขีณาสพผู้ปราศจากมลทินมาประชุมร้อยโกฏิ ครั้งที่สาม เมื่อพระมหาวีระประทับอยู่ ณ ภูเขาสุทัสสนะ ได้ประชุมทําปวารณากรรมด้วยภิกษุสงฆ์ประมาณเก้าหมื่นโกฏิ.

ในสมัยนั้น เราบวชเป็นชฏิล มีตบะกล้า บรรลุอภิญญา ๕ เที่ยวไปในอากาศธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์ถึงสองแสนโกฏิส่วนตรัสรู้ทีละพัน หรือสองพันมีประมาณมากมาย ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกร ในครั้งนั้น บริสุทธิ์ปราศจากมลทินแพร่หลาย เจริญรุ่งเรืองเป็นประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก พระขีณาสพประมาณ ๔ แสนบรรลุอภิญญา ๖ มีฤทธิ์มาก ย่อมแวดล้อมพระพุทธเจ้าทีปังกรผู้ทรงรู้แจ้งโลกทุกเวลา.

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 109

สมัยนั้น ใครๆ ซึ่งยังเป็นพระเสขะยังไม่ถึงที่สุดพรหมจรรย์ ย่อมละความเป็นมนุษย์ (ตาย) ไป เขาผู้นั้นย่อมถูกติเตียนปาพจน์ คือ พระธรรมวินัยของพระองค์นั้นอันพระขีณาสพปราศจากมลทิน เป็นพระอรหันต์ผู้คงที่ประกาศดีแล้ว ย่อมงามในโลกทั้งเทวโลก.

นครที่พระองค์ทรงอุบัติ ชื่อว่า รัมมวดี กษัตริย์นามว่า สุเทพ เป็นพระชนกพระนางสุเมธาเทวี เป็นพระชนนีของพระศาสดาพระนามว่า ทีปังกร พระสุมังคละและพระติสสะได้เป็นคู่อัครสาวก อุปัฏฐากของพระศาสดาทีปังกร ชื่อว่า พระสาคตะพระเถรีชื่อว่า นันทา พระเถรีชื่อว่า สุนันทาได้เป็นคู่อัครสาวิกา ต้นไม้ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เรียกว่า ปิปผลิ (ไม้เลียบ) .

พระมหามุนีทีปังกร มีพระวรกายสูง ๘๐ ศอก งามดุจไม้ประจําทวีป ชื่อว่าพระยารัง ซึ่งบานสะพรั่ง รัศมีของพระองค์แผ่ซ่านไปโดยรอบ ๑๐ โยชน์ มีพระชนมายุแสนปี พระองค์ดํารงอยู่ ยังประชุมชน

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 110

มากให้ข้ามพ้นสงสาร ทรงยังพระสัทธรรมให้โชติช่วงแล้ว ให้มหาชนข้ามพ้นสาครไปแล้วตลอดพระชนม์ชีพ พระองค์พร้อมทั้งพระสาวก ได้ประกาศพระธรรมวินัยให้รุ่งโรจน์แล้ว ก็เสด็จดับขันธปรินิพพานเหมือนกองไปที่ลุกโพลงขึ้นแล้วก็ดับไปพระฤทธิ์ พระยศ และจักรรัตนะที่ฝ่าพระยุคลบาททั้งหมดก็อันตรธานไปพร้อมกัน เพราะสังขารทั้งปวง เป็นของว่างเปล่า มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดาแน่แท้.

จบทีปังกรกถา

โกณฑัญญกถาที่ ๒

ก็ในกาลส่วนอื่นอีก เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า ทีปังกรเสด็จดับขันธปรินิพพานล่วงแล้วหนึ่งอสงไขย พระศาสดาพระนามว่า โกณฑัญญะก็ได้เสด็จอุบัติขึ้น แม้ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ก็ได้มีสาวกสันนิบาต (ประชุมพระสาวก) ๓ ครั้ง การประชุมครั้งแรก มีพระสาวกมาประชุมประมาณแสนโกฏิ ครั้งที่สอง มีพระสาวกมาประชุมประมาณพันโกฏิ ครั้งที่สาม มีพระสาวกมาประชุมเก้าสิบโกฏิ.

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 111

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ พระนามว่า วิชิตาวี ได้ถวายมหาทานแก่หมู่ภิกษุมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขมีประมาณนับได้แสนโกฏิ พระศาสดาได้พยากรณ์พระโพธิสัตว์ว่า จักเป็นพระพุทธเจ้าแล้วแสดงธรรม. พระโพธิสัตว์นั้น ทรงสดับธรรมกถาของพระศาสดาแล้ว ทรงมอบราชสมบัติออกผนวช (บวช) ทรงศึกษาพระไตรปิฎก ทรงให้สมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ ให้เกิดขึ้น มีฌานไม่เสื่อมแล้วทรงอุบัติขึ้นในพรหมโลก.

ก็พระนครของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า พระนามว่า โกณฑัญญะ นั้นชื่อว่า รัมมวดี พระมหากษัตริย์ พระนามว่า สุนันทะ เป็นพระราชบิดา พระนางเทวีพระนามว่า สุชาดา เป็นพระมารดา พระภัททเถระและสุภัททเถระเป็นอัครสาวก พระเถระนามว่าอนุทธะเป็นพุทธุปัฏฐาก พระติสสาเถรี และพระอุปติสสาเถรีเป็นคู่อัครสาวิกา มีไม้ที่ตรัสรู้ชื่อว่า สาลกัลยาณี พระสรีระของพระมหามุนีนั้นสูง ๘๘ ศอก พระองค์มีพระชนมายุแสนปี.

จบโกณฑัญญกถา

มังคลกถาที่ ๓

ในสมัยอื่นอีก เมื่อพระโกณฑัญญพุทธเจ้าปรินิพพานล่วงไปแล้วประมาณหนึ่งอสงไขย ในกัปเดียวนั้นเอง มีพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้น ๔ พระองค์คือ พระมังคลพุทธเจ้า พระสุมนพุทธเจ้า พระเรวตพุทธเจ้า และพระโสภิตพุทธเจ้า. ก็ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า มังคละ มีสาวกมหาสันนิบาต ๓ ครั้ง ในมหาสันนิบาต ครั้งที่หนึ่ง มีภิกษุมาประชุม

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 112

ประมาณแสนโกฏิ ในครั้งที่สองประมาณพันโกฏิ ในครั้งที่สามประมาณ เก้าสิบโกฏิ.

ได้ยินว่า อานันทกุมาร เป็นพระภาดาต่างพระมารดากับพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น พร้อมทั้งบริษัท ๙๐ โกฏิ ได้เสด็จไปสู่สํานักของพระศาสดาเพื่อทรงสดับธรรม. พระศาสดาตรัสอนุปุพพิกถาแก่เธอ เธอพร้อมด้วยบริษัทบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา พระศาสดาทรงตรวจดูบุรพจริยาของกุลบุตรเหล่านั้น ทรงเห็นอุปนิสัยของการได้บาตรและจีวรอันสําเร็จด้วยฤทธิ์ จึงทรงเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวา ตรัสว่า " พวกเธอจงเป็นภิกษุ " ดังนี้ ขณะนั้นนั่นแหละ กุลบุตรทั้งปวงก็ทรงบาตรและจีวรอันสําเร็จด้วยฤทธิ์ เป็นเหมือนพระเถระมีพรรษา ๖๐ ถึงพร้อมด้วยกิริยามารยาทมาแวดล้อมถวายบังคมพระศาสดา. ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ ก็มีสาวกสันนิบาตสามครั้ง.

ก็รัศมีสรีระของพระพุทธเจ้าทั้งหลายอื่นๆ มีประมาณ ๘๐ ศอก โดยรอบเป็นประมาณ แต่ว่า รัศมีสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า มังคละนั้นหาเหมือนพระพุทธเจ้าอื่นๆ ไม่ คือ มีพระรัศมีแผ่ออกไปสู่แสนโลกธาตุตั้งอยู่ตลอดกาลเป็นนิตย์ ต้นไม้ภูเขา มหาสมุทรเป็นต้น โดยที่สุดมีหม้อข้าวเป็นต้น ได้เป็นเหมือนหุ้มไว้ด้วยแผ่นทองคํา ฉะนั้น ก็พระชนมายุของพระองค์มีประมาณเก้าหมื่นปี ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ พระจันทร์ พระอาทิตย์เป็นต้น ไม่อาจเพื่อเปล่งรัศมีของตนได้ การกําหนดกลางคืนและกลางวันไม่ปรากฏ สัตว์ทั้งหลายเที่ยวไปด้วยแสงสว่างของพระพุทธเจ้าเป็นนิตย์ดุจกลางวันด้วยแสงอาทิตย์ สัตว์โลกกําหนดกลางคืนและกลางวันได้ ด้วยดอกไม้บานว่าเป็นเวลาเย็น กําหนดเสียงนกร้องเป็นเวลาเช้า.

ถามว่า ก็อานุภาพนี้ของพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นไม่มีหรือ

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 113

ตอบว่า มิใช่ไม่มี จริงอยู่ พระพุทธเจ้าแม้เหล่านั้น เมื่อจํานงอยู่ก็พึงแผ่พระรัศมีไปสู่หมื่นโลกธาตุ หรือยิ่งกว่านั้นก็ได้ แต่ว่า พระรัศมีสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า มังคละ แผ่ไปสู่หมื่นโลกธาตุตั้งอยู่เป็นนิตย์ทีเดียว ด้วยอํานาจการตั้งความปรารถนาไว้ในบุรพชาติ เหมือนพระรัศมีวาหนึ่งของพระพุทธเจ้าอื่นๆ .

ได้ยินว่า พระมังคลพุทธเจ้านั้น ในขณะที่บําเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ ดํารงอัตภาพเช่นเดียวกับพระเวสสันดร พร้อมทั้งบุตรและภรรยาอยู่ที่ภูเขาเช่นกับภูเขาวงกฏ ครั้งนั้น มียักษ์ตนหนึ่งชื่อว่า ขรทาฐิกะ ทราบว่าพระมหาบุรุษมีพระทัยในการจําแนกทาน จึงแปลงเพศเป็นพราหมณ์เข้าไปแล้วทูลขอทารกทั้งสองพระองค์ พระมหาสัตว์พระมหาสัตว์ทรงยินดีร่าเริงแล้วด้วยทรงพระดําริว่า เราจักให้ลูกน้อยแก่พราหมณ์ ดังนี้ แล้วพระราชทานทารกทั้งสอง อันสามารถยังแผ่นดินหวั่นไหวจดน้ำรองแผ่นดิน ยักษ์ยืนพิงแผ่นกระดานที่พิงไว้ในที่สุดแห่งที่จงกรม เมื่อพระมหาสัตว์มองดูอยู่นั่นแหละเคี้ยวกินทารกทั้งสองพระองค์ เหมือนเคี้ยวกินกองรากไม้ มหาบุรุษแลดูยักษ์ เมื่อยักษ์นี้สักว่าอ้าปากเท่านั้น ธารโลหิตก็หลั่งออกดุจเปลวไฟ พระมหาบุรุษนั้นแม้เห็นปากของยักษ์นั้น ก็มิได้เสียพระทัย แม้เพียงปลายผมให้เกิดขึ้น ทรงพระดําริว่า สุทินฺนํ วต เม ทานํ (ทานเราให้ดีแล้ว) แล้วยังปีติโสมนัสอันใหญ่ให้เกิดแก่พระองค์.

พระมหาบุรุษนั้น ทรงตั้งความปรารถนาว่า ด้วยวิบากเป็นเครื่องไหลออกแห่งบุญของเรานี้ ในอนาคตกาล ขอรัศมีทั้งหลายจงออกจากสรีระโดยทํานองนี้ ดังนี้ เมื่อพระองค์อาศัยเหตุนั้นตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว รัศมีทั้งหลายจึงออกจากพระสรีระแผ่ไปสู่ที่มีประมาณเท่านี้

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 114

บุรพจริยาอีกอย่างหนึ่งของพระมังคลพุทธเจ้า ได้ยินว่า พระมังคลพุทธเจ้านั้น ในเวลาที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์ เห็นเจดีย์พระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ได้คิดว่า เราควรสละชีวิตบูชาพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ จึงพันสรีระทั้งสิ้นดุจพันประทีปคบเพลิง แล้วเอาเนยใสใส่ถาดทองคําสูงประมาณหนึ่งศอก มีราคาแสนกหาปณะจนเต็มแล้ว จุดประทีปพันไส้ในถาดนั้นให้โพลงแล้วทูนถาดนั้นด้วยศีรษะ ยังสรีระทั้งสิ้นให้โพลงแล้วกระทําประทักษิณพระเจดีย์ตลอดราตรีทั้งสิ้น เมื่อพระโพธิสัตว์อยู่อย่างนี้จนอรุณขึ้น แม้สักว่าขุมขนเส้นหนึ่งก็ไม่ไหม้ ได้เป็นเหมือนเวลาเข้าไปสู่กอปทุม ฉะนั้น จริงอยู่ชื่อว่า ธรรมนั้นย่อมรักษาตนไว้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า

ธรรมแล ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมธรรม อันบุคคลประพฤติดีแล้วย่อมนําสุขมาให้ นี้เป็นอานิสงส์ในธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้ว ผู้มีปกติประพฤติธรรมย่อมไม่ไปสู่ทุคติ.

ด้วยวิบากเป็นเครื่องไหลออกแห่งกรรมแม้นี้ รัศมีพระวรกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า มังคละนั้น จึงแผ่ซ่านไปสู่หมื่นโลกธาตุตั้งอยู่แล้ว. ในครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเราทั้งหลายเป็นพราหมณ์นามว่า สุรุจิ คิดว่า เราจะทูลนิมนต์พระศาสดาดังนี้ จึงเข้าไปเฝ้า ได้สดับมธุรธรรมกถาแล้วทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงรับภิกษาของข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า พราหมณ์ เธอต้องการภิกษุเท่าไร. พราหมณ์สุรุจิทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้เป็นบริวาร

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 115

ของพระองค์มีประมาณเท่าไร. ครั้งนั้น เป็นสาวกสันนิบาตครั้งแรกของพระศาสดา เพราะฉะนั้น พระองค์จึงตรัสว่า ประมาณแสนโกฏิ พราหมณ์จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์พร้อมด้วยหมู่ภิกษุทั้งหมดจงรับภิกษาของข้าพระองค์ พระศาสดาทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพแล้ว.

พราหมณ์ครั้นทูลนิมนต์เพื่อรับภัตในวันรุ่งขึ้นแล้ว เมื่อเดินกลับบ้านได้คิดว่า เราสามารถจะถวายวัตถุทั้งหลายมีข้าวยาคู ภัตและผ้าเป็นต้นแก่ภิกษุมีประมาณเท่านี้ได้ แต่ว่า ที่สําหรับนั่งจักทําอย่างไร ดังนี้. ความคิดของพราหมณ์นั้นได้ยังความเร่าร้อนเกิดขึ้นแก่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ของท้าวสักกเทวราชซึ่งตั้งอยู่ไกลถึงแปดหมื่นสี่พันโยชน์ (๘๔,๐๐๐ โยชน์) ท้าวสักกะทรงตรวจดูอยู่ด้วยทิพยจักษุว่า ใครหนอประสงค์จะให้เราเคลื่อนจากอาสนะนี้. ทรงเห็นแล้วซึ่งมหาบุรุษ จึงทรงทราบว่า สุรุจิพราหมณ์นิมนต์หมู่ภิกษุมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ได้คิดถึงการจัดที่นั่งถวาย แม้เราก็ควรจะไปยังที่นั้นเพื่อถือเอาส่วนบุญ ดังนี้ แล้วนิรนิตเพศเป็นช่างไม้ถือมีดและขวานยืนปรากฏข้างหน้ามหาบุรุษ ถามว่า มีใครจะจ้างทํากิจการอะไรบ้างไหม? มหาบุรุษเห็นนายช่างไม้นั้น จึงถามว่า ท่านทําอะไรได้บ้าง. ช่างไม้นั้นตอบว่า ขึ้นชื่อว่าศิลปะที่ข้าพเจ้าไม่รู้มิได้มี ใครจะให้ข้าพเจ้าทําเรือนหรือมณฑป หรือสิ่งใดข้าพเจ้าทําได้ทั้งนั้น มหาบุรุษกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น เรามีงานอยู่. ช่างไม้ถามว่านาย ท่านมีงานอะไรหรือ? มหาบุรุษตอบว่า เรานิมนต์ภิกษุแสนโกฏิให้มาฉันภัตตาหารในวันพรุ่งนี้ไว้แล้ว ท่านจงช่วยทํามณฑปสําหรับเป็นที่นั่งให้ภิกษุเหล่านั้น. ช่างไม้กล่าวว่า ถ้าท่านอาจให้ค่าจ้างแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าก็กระทํามหาบุรุษกล่าวว่า เราจักให้ท่าน ช่างไม้รับคําว่า ดีละ ข้าพเจ้าจักกระทําแล้วไปแลดูประเทศหนึ่ง ประเทศนั้นมีประมาณ ๑๒ หรือ ๑๓ โยชน์ มี

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 116

พื้นเรียบดุจมณฑลกสิณ. พระอินทร์ช่างไม้ คิดว่า ขอมณฑปสําเร็จด้วยแก้ว ๗ ประการ จงตั้งขึ้นในที่มีประมาณเท่านี้ ดังนี้ แล้วแลดูอยู่ ทันทีนั้นเอง มณฑปก็ทําลายแผ่นดินผุดขึ้น มณฑปนั้น ที่เสาทั้งหลายสําเร็จด้วยทอง มีบัวเสาสําเร็จด้วยเงิน บรรดาเสาที่สําเร็จด้วยเงินมีบัวเสาสําเร็จด้วยทอง บรรดาเสาที่สําเร็จด้วยแก้ว มณีมีบัวเสาสําเร็จด้วยแก้วประพาฬ บรรดาเสาแก้วประพาฬมีบัวเสาสําเร็จด้วยแก้วมณี บรรดาเสาสําเร็จด้วยรัตนะ ๗ ประการ มีบัวเสาสําเร็จด้วยรัตนะ ๗ ประการ แต่นั้นก็ตรวจดูอธิษฐานว่า ขอข่ายกระดิ่งจงห้อยในระหว่างที่สุดแห่งมณฑป ดังนี้ พร้อมกับการแลดูนั่นแหละ ข่ายกระดิ่งก็ห้อยย้อยแล้ว กระดิ่งใดถูกลมอ่อนๆ พัด กระดิ่งนั้นก็เปล่งเสียงไพเราะดุจเสียงไพเราะของดนตรีมีเครื่อง ๕ ทีเดียว เวลานั้นได้เป็นเหมือนกาลเวลาบรรเลงทิพยสังคีต แล้วอธิษฐานว่า ขอพวงดอกไม้หอมและพวงมาลัยทั้งหลายจงห้อยภายในระหว่าง พวงเหล่านั้น ก็ห้อยย้อยแล้ว ต่อจากนั้น พระอินทร์ซึ่งเป็นช่างไม้ก็อธิษฐานว่า ขออาสนะทั้งหลายและที่นั่งสําหรับภิกษุแสนโกฏิจงทําลายแผ่นดินผุดขึ้น ในทันทีทันใดนั้น สิ่งเหล่านั้นก็ปรากฏขึ้น ต่อจากนั้นก็อธิษฐานว่า ขอตุ่มน้ำทั้งหลายจงตั้งขึ้นมุมละหนึ่งตุ่ม แม้ตุ่มน้ำทั้งหลายก็ตั้งขึ้น ท้าวสักกะเนรมิตสรรพสิ่งเห็นปานนี้ แล้วจึงไปสู่สํานักของพราหมณ์แล้วเรียนว่า ท่านพราหมณ์จงมาตรวจดูมณฑปของท่านแล้ว โปรดให้ค่าจ้างแก่ข้าพเจ้า ดังนี้.

มหาบุรุษไปตรวจดูมณฑปแล้ว เมื่อแลดูอยู่นั่นแหละ ปีติ ๕ อย่างก็ถูกต้องสรีระแผ่ซ่านไปไม่มีระหว่างคั่น ลําดับนั้น พระมหาบุรุษครั้นตรวจดูมณฑปแล้ว ได้มีความคิดว่า มณฑปนี้มิใช่มนุษย์ทํา แต่อาศัยอัชฌาสัยและคุณของเรา จึงทําพิภพของท้าวสักกะร้อนแน่แท้ เพราะฉะนั้น มณฑปนี้

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 117

จักเป็นมณฑปอันท้าวสักกะสร้างให้ ก็การที่เราจักถวายทานเพียงวันเดียวในมณฑปเห็นปานนี้ไม่ควรเลย เราจักถวายทานสัก ๗ วัน ดังนี้.

ก็การให้ทานด้วยวัตถุอันเป็นภายนอกแม้มีประมาณเพียงไร ก็ไม่สามารถจะยังใจของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายให้เบิกบาน แต่ว่า ความเบิกบานใจของพระโพธิสัตว์จะมี ก็เพราะการบริจาคในกาล ได้ตัดศีรษะอันตกแต่งแล้วควักลูกตาทั้งสองที่หยอดยาแล้ว ควักเนื้อหทัยแล้วให้ไป ในสีวิราชชาดกพรรณนาไว้ว่า เมื่อพระโพธิสัตว์แม้ของเราทั้งหลายสละทรัพย์ทุกๆ วัน วันละประมาณ ๕ แสนกหาปณะให้ทานอยู่ในพระนครที่ประตูเมืองทั้ง ๔ การบริจาคทานนั้นก็ไม่ยังใจให้เบิกบานได้ แต่ว่า เมื่อใด ท้าวสักกเทวราชปลอมเป็นพราหมณ์มาขอพระเนตรทั้งคู่ของพระองค์ เมื่อพระองค์ทรงควักพระเนตรให้อยู่นั่นแหละ ความเบิกบานพระทัยจึงเกิดขึ้น จิตของพระองค์มิได้เป็นอย่างอื่นสักเท่าปลายผม ชื่อว่า ความเบิกบานใจของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย เพราะอาศัยทานเห็นปานนี้ จึงไม่มี เพราะฉะนั้น พระมหาบุรุษแม้นั้น จึงคิดว่า เราควรจะถวายทานแก่ภิกษุแสนโกฏิ ๗ วัน ดังนี้ จึงนิมนต์หมู่ภิกษุมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขให้นั่งในมณฑปนั้น แล้วได้ถวายอาหารทานชื่อว่า ควบาน ๗ วัน. คําว่า ควบาน ท่านเรียกโภชนะที่เอาน้ำนมใส่ในหม้อใหญ่จนเต็มแล้วยกขึ้นตั้งบนเตาไฟ เมื่อน้ำนมข้นแล้วใส่ข้าวสารไปหน่อยหนึ่ง แล้วปรุงด้วยน้ำผึ้งจุรณะน้ำตาลกรวดและเนยใส.

ก็มนุษย์ทั้งหลายไม่สามารถจะอังคาสภิกษุได้ทั่วถึง เทวดาทั้งหลายจึงแทรกเข้าไปช่วยอังคาสแล้ว ที่มีประมาณ ๑๒ - ๑๓ โยชน์ ก็ไม่เพียงพอให้ภิกษุนั่ง แต่ว่าภิกษุทั้งหลายนั่งได้ด้วยอานุภาพของตน. ในวันสุดท้าย พระโพธิสัตว์ให้ล้างบาตรภิกษุทั้งหมดบรรจุเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 118

เพื่อต้องให้เป็นเภสัชแล้วถวายพร้อมกับไตรจีวร ผ้าจีวรที่ภิกษุนวกะในสงฆ์ได้มีราคาถึงแสนกหาปณะ.

พระศาสดาเมื่อจะกระทําอนุโมทนาทรงใคร่ครวญดูว่า บุรุษนี้ได้ให้ทานใหญ่เห็นปานนี้ จักเป็นอะไรหนอ ทรงเห็นว่า ในอนาคตกาล ในที่สุดแห่งสองอสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป จักเป็นพระพุทธเจ้า พระนามว่า โคตมะดังนี้ จึงตรัสเรียกมหาบุรุษมาแล้วทรงพยากรณ์ว่า ล่วงกาลประมาณเท่านี้แล้วเธอจักเป็นพระพุทธเจ้า พระนามว่า โคตมะ. มหาบุรุษสดับฟังพยากรณ์ว่าได้ยินว่า เราจักเป็นพระพุทธเจ้า ประโยชน์อะไรด้วยการครองเรือนของเราเล่าเราจักบวช ดังนี้ แล้วละสมบัติเห็นปานนั้น ดุจถ่มก้อนเขฬะแล้วบวชในสํานักพระศาสดา ก็ครั้นบวชแล้วก็เรียนพระพุทธวจนะ ยังอภิญญาทั้งหลายและสมาบัติทั้งหลายให้เกิดแล้ว ในเวลาสิ้นสุดอายุแล้วก็บังเกิดขึ้นในพรหมโลก.

ก็พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า มังคละ ได้มีชื่อว่าอุตตระ พระบิดาเป็นกษัตริย์พระนามว่า อุตตระ พระมารดา พระนามว่าอุตตรา พระสุเทวเถระและพระธรรมเสนเถระเป็นคู่พระอัครสาวก พระอุปัฏฐากชื่อว่า ปาลิตะ พระสีวลีเถรีและพระอโสกาเถรี เป็นคู่พระอัครสาวิกา ไม้กากะทิงเป็นต้นไม้ตรัสรู้ พระสรีระสูง ๘๘ ศอก ดํารงพระชนมายุอยู่ ๙ หมื่นปีก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้วหมื่นจักรวาลก็ได้มืดพร้อมกันหมด การร้องไห้รําพันใหญ่ได้มีแก่มนุษย์ทั้งหลายในจักรวาลทั้งหมดแล.

จบมังคลกกถา

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 119

สุมนกถาที่ ๔

เมื่อพระมังคลพุทธเจ้าปรินิพพานทําให้หมื่นโลกธาตุมืดอย่างนี้แล้วต่อจากนั้นมา พระศาสดาทรงพระนามว่า สุมนะก็ทรงอุบัติขึ้นสาวกสันนิบาตของพระพุทธเจ้าแม้นั้นก็มี ๓ ครั้ง สันนิบาตครั้งแรกมีภิกษุแสนโกฏิ ครั้งที่ ๒ มีภิกษุประมาณ ๙ หมื่นโกฏิ ครั้งที่ ๓ แปดหมื่นโกฏิ.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ เป็นนาคราช นามว่า อตุละ มีฤทธิ์มากมีอานุภาพมาก ได้ทราบว่า พระพุทธเจ้าทรงอุบัติแล้ว จึงพาหมู่ญาติออกจากนาคพิภพมาประโคมดนตรีทิพย์ บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้ามีภิกษุประมาณแสนโกฏิเป็นบริวาร ได้ถวายมหาทานแล้วถวายผ้าคู่หนึ่งแต่ละองค์ แล้วตั้งอยู่ในสรณะทั้งหลาย พระศาสดาสุมนะนั้นได้พยากรณ์พระโพธิสัตว์ว่า ในอนาคตกาลอตุลนาคราชนี้จักเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้. พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าสุมนะนั้น ชื่อว่า เมขลา พระบิดาเป็นพระราชา พระนามว่า สุทัตตะ พระมารดาพระนามว่า สิริมา พระสรณเถระ และพระภาวิตัตตเถระเป็นคู่อัครสาวก ภิกษุอุปัฏฐาก ชื่อว่าอุเทนเถระ พระโสนาเถรี และพระอุปโสนาเถรี เป็นคู่อัครสาวิกา ไม้กากะทิงเป็นไม้ตรัสรู้ มีพระสรีระกายสูง ๙๐ ศอก พระชนมายุของพระองค์ประมาณ ๙ หมื่นปีแล.

จบสุมนกถา

เรวตกถาที่ ๕

ในกาลต่อจากพระสุมนพุทธเจ้านั้นมา พระศาสดา ทรงพระนามว่า เรวตะ ก็ทรงอุบัติขึ้น สาวกสันนิบาตของพระเรวพุทธเจ้านั้น ก็มี ๓ ครั้งในสันนิบาต ครั้งแรกนับจํานวนไม่ถ้วน ครั้งที่ ๒ มีภิกษุหนึ่งแสนโกฏิในครั้งที่ ๓ ก็เหมือนกัน.

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 120

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ เป็นพราหมณ์ นามว่า อติเทพ สดับฟังพระธรรมเทศนาแล้วตั้งอยู่ในสรณะทั้งหลาย ประนมอัญชลีไว้เหนือเศียรเกล้า กล่าวสรรเสริญการละกิเลสของพระศาสดาพระองค์นั้นแล้วได้บูชาด้วยผ้าห่ม พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้นั้นก็ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์ว่า จักเป็นพระพุทธเจ้าดังนี้.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า เรวตะ พระองค์นั้นมีพระนคร ชื่อว่า สุธัญญวดี พระบิดาเป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่าวิปุละ พระมารดาพระนามว่าวิปุลา พระวรุณเถระและพรหมเทวเถระเป็นคู่พระอัครสาวก พุทธุปัฏฐากชื่อว่า สัมภวะ พระภัททาเถรีและพระสุภัททาเถรี เป็นพระอัครสาวิกา ไม้กากะทิงเป็นไม้ตรัสรู้ พระองค์มีพระสรีระสูง ๘๐ ศอก มีพระชนมายุหกหมื่นพรรษาแล.

จบเรวตกถา

โสภิตกถาที่ ๖

ในกาลต่อจากพระเรวตพุทธเจ้านั้น พระศาสดาทรงพระนามว่า โสภิต ได้ทรงอุบัติขึ้น แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็มี ๓ ครั้ง สันนิบาตครั้งแรกมีภิกษุหนึ่งร้อยโกฏิ ครั้งที่๒ มีภิกษุ ๙๐ โกฏิ ครั้งที่ ๓ มีภิกษุ ๘๐ โกฏิ.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ เป็นพราหมณ์นามว่า อชิตะ สดับพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้วตั้งอยู่ในสรณะทั้งหลาย ได้ถวายมหาทานแก่หมู่ภิกษุมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แม้พระโสภิตพุทธเจ้าก็พยากรณ์พระโพธิสัตว์ว่า จักเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 121

ก็พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าโสภิตนั้น มีชื่อว่า สุธรรม พระบิดาเป็นพระราชา พระนามว่า สุธรรม พระมารดา พระนามว่า สุธรรมา พระอสมเถระ และพระสุเนตรเถระเป็นคู่พระอัครสาวก พุทธปัฏฐาก ชื่อว่าอโนมะ พระนกุลาเถรี และพระสุชาดาเถรี เป็นคู่พระอัครสาวิกา ไม้กากะทิงเป็นไม้ตรัสรู้ พระองค์มีพระสรีระสูง ๕๘ ศอก มีพระชนมายุเก้าหมื่นพรรษาแล.

จบโสภิตกถา

อโนมทัสสีกถาที่ ๗

ในกาลต่อจากพระโสภิตพุทธเจ้าล่วงไปหนึ่งอสงไขย ในกัปหนึ่ง มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น ๓ พระองค์ คือ พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า พระปทุมพุทธเจ้า พระนารทพุทธเจ้า ก็ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า อโนมทัสสี มีสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง ในครั้งแรกมีภิกษุ ๘ แสนครั้งที่ ๒ มีภิกษุ ๗ แสน ครั้งที่ ๓ มีภิกษุ ๖ แสนมาประชุมกัน.

ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ เป็นเสนาบดียักษ์ตนหนึ่ง มีฤทธิ์มากมีอานุภาพมาก เป็นใหญ่กว่ายักษ์หลายแสนโกฏิ เสนาบดียักษ์นั้นฟังว่า พระพุทธเจ้าทรงอุบัติแล้ว ได้มาถวายมหาทานแก่หมู่ภิกษุมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แม้พระศาสดาก็ได้พยากรณ์ยักษ์นั้นว่า ในอนาคตกาลจักเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้.

ก็พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น นามว่า จันทวดี พระบิดาเป็นพระราชา พระนามว่า ยสวา พระมารดา พระนามว่า ยโสธรา พระนิสภเถระและพระอโนมเถระเป็นคู่พระอัครสาวก พุทธุปัฏฐาก ชื่อว่าวรุณะ พระสุนทรีเถรีและพระสุมนาเถรี เป็นคู่อัครสาวิกา ต้นไม้รกฟ้าเป็นต้นไม้ตรัสรู้ พระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้าสูง ๕๘ ศอก มีพระชนมายุแสนปีแล.

จบอโนมทัสสีกถา

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 122

ปทุมกถาที่ ๘

ในกาลต่อจากพระอโนมทัสสีพุทธเจ้านั้น พระศาสดา พระนามว่า ปทุมะ ก็ทรงอุบัติขึ้น แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็มี ๓ ครั้ง ครั้งแรกมีภิกษุหนึ่งแสนโกฏิ ครั้งที่ ๒ มีภิกษุสามแสนรูป ครั้งที่ ๓ มีภิกษุผู้อาศัยอยู่ป่าชัฏมหาวันในป่าเปลี่ยวมาประชุมสองแสนรูป.

ครั้งนั้น เมื่อพระตถาคตประทับอยู่ในป่าชัฏนั้นนั่นแหละ พระโพธิสัตว์เป็นพญาสีหะ ได้เห็นพระศาสดาผู้เข้านิโรธสมาบัติแล้วมีจิตเลื่อมใสหมอบลงจบ (ไหว้) กระทําประทักษิณ มีปีติโสมนัสเกิดแล้ว บันลือสีหนาทสามครั้ง ไม่ละเว้นปีติ มีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ ไม่ออกไปหาอาหาร เพราะความสุขอันเกิดแต่ปีตินั่นแหละ ได้ทําการสละชีวิตเข้าไปยืนเฝ้าอยู่ ๗ วัน ครั้นล่วงไป ๗ วัน พระศาสดาทรงออกจากนิโรธแล้ว ทอดพระเนตรเห็นพญาสีหะแล้วทรงดําริว่า สีหะนี้ยังจิตให้เลื่อมใสแม้ในหมู่ภิกษุแล้วจักจบสงฆ์ ขอสงฆ์จงมา ดังนี้ ภิกษุทั้งหลายมาแล้วในขณะนั้นทีเดียว พญาสีหะก็ยังจิตให้เลื่อมใสในสงฆ์ พระศาสดาทรงตรวจดูภูมิธรรมอันมีในใจของพญาสีหะ จึงพยากรณ์ว่า ในอนาคตกาล พญาสีหะนี้จักเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้.

ก็พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น มีชื่อว่า จัมปกะ พระบิดาเป็นพระราชาพระนามว่า อสมะ แม้พระมารดาก็ทรงพระนามว่า อสมา พระสาลเถระและพระอุปสาลเถระเป็นคู่พระอัครสาวก พุทธุปัฏฐาก ชื่อว่า วรุณะ พระรามาเถรีและพระสุรามาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา ต้นไม้อ้อยช้างน้อย เป็นไม้ตรัสรู้ พระสรีระของพระองค์สูง ๕๘ ศอก มีพระชนมายุหนึ่งแสนพรรษาแล.

จบปทุมกถา

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 123

นารทกถาที่ ๙

ในกาลต่อจากพระปทุมพุทธเจ้านั้น พระศาสดา ทรงพระนามว่า นารทะ ก็ทรงอุบัติขึ้น แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็มี ๓ ครั้ง สันนิบาตครั้งแรกมีภิกษุหนึ่งแสนโกฏิ ครั้งที่ ๒ มีภิกษุเก้าหมื่นโกฏิ ครั้งที่ ๓ มีภิกษุแปดหมื่นโกฏิ.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์บวชเป็นฤาษีเป็นผู้ชํานาญในอภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ ได้ถวายมหาทานแก่หมู่ภิกษุ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขแล้วบูชาด้วยจันทน์แดง แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นก็ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า ในอนาคตกาล เขาจักเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้.

ก็พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ก็มีนามว่า ธัญญวดี พระบิดาเป็นกษัตริย์ พระนามว่า สุเทวะ พระมารดา พระนามว่าอโนมา พระภัททสาลเถระ และชิตมิตตเถระเป็นคู่พระอัครสาวก พุทธุปัฏฐากชื่อว่า พระวาสิฏฐะ พระอุตตราเถรีและผัคคนีเถรีเป็นคู่พระอัครสาวิกา ต้นไม้อ้อยช้างใหญ่เป็นไม้ตรัสรู้ พระสรีระสูง ๘๘ ศอก พระชนมายุเก้าหมื่นพระพรรษาแล.

จบนารทกถา

ปทุมุตตรกถาที่ ๑๐

ในกาลต่อจากพระนารทพุทธเจ้าพระองค์นั้นมา ล่วงไปหนึ่งอสงไขยนับถอยไปแต่กัปนี้ ในที่สุดแห่งแสนกัป ในกัปหนึ่ง มีพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ พระองค์เดียวเท่านั้น ทรงอุบัติขึ้น สาวกสันนิบาตแม้ของพระองค์ก็มี ๓ ครั้ง ในครั้งแรก มีภิกษุหนึ่งแสนโกฏิ ครั้งที่ ๒ มีภิกษุมาประชุมที่ภูเขาเวภารบรรพตเก้าหมื่นโกฏิครั้งที่ ๓ มีภิกษุแปดหมื่นโกฏิ.

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 124

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นผู้ปกครองมหารัฐ นามว่า ชฏิละ ได้ถวายทานพร้อมทั้งจีวรแก่หมู่ภิกษุมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขแม้พระปทุมุตตรพุทธเจ้าพระองค์นั้นก็ได้พยากรณ์พระโพธิสัตว์ว่า ในอนาคตกาลชฏิละนี้จักเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้ ก็ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระ ชื่อว่าผู้เป็นเดียรถีย์มิได้มี เทวดาและมนุษย์ทั้งปวงได้ถึงพระพุทธเจ้าเท่านั้นเป็นสรณะ พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้า นามว่า หังสวดีพระบิดาเป็นกษัตริย์พระนามว่า อานันทะ พระมารดา พระนามว่า สุชาดาพระเทวิลเถระและพระสุชาตเถระเป็นคู่พระอัครสาวก พระอุปัฏฐาก นามว่าสุมนะ พระอมิตตาเถรี และพระอสมาเถรี เป็นคู่พระอัครสาวิกา ไม้สาละเป็นไม้ตรัสรู้ พระสรีระสูง ๘๘ ศอก รัศมีพระวรกายแผ่ไป ๑๒ โยชน์พระชนมายุหนึ่งแสนพรรษาแล.

จบปทุมุตตรกถา

สุเมธกถาที่ ๑๑

ในกาลต่อจากพระปทุมุตตรพุทธเจ้าพระองค์นั้นล่วงไปสามหมื่นกัป ในกัปหนึ่งมีพระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้น ๒ พระองค์ คือ พระสุเมธพุทธเจ้าและพระสุชาตพุทธเจ้า สาวกสันนิบาตแม้ของพระสุเมธพุทธเจ้าก็มี ๓ ครั้ง ครั้งแรกที่พระนครสุทัศนะมีภิกษุขีณาสพหนึ่งร้อยโกฏิ ครั้งที่ ๒ เก้าสิบโกฏิ ครั้งที่๓ แปดสิบโกฏิ.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็นมาณพ นามว่า อุตตระ สละทรัพย์ที่ฝังเก็บไว้ถึง ๘๐ โกฏิ ถวายมหาทานแก่หมู่ภิกษุมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ฟัง-

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 125

ธรรม ตั้งอยู่ในสรณะทั้งหลายแล้วออกบวช พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นก็ได้พยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า ในอนาคตกาล เขาจักเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้.

พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สุเมธะ ชื่อว่า สุทัศนะพระบิดาเป็นพระราชา พระนามว่า สุทัตตะ พระมารดา พระนามว่าสุทัตตา พระสรณเถระและพระสัพพกามเถระเป็นพระอัครสาวก พระอุปัฏฐากนามว่า สาครเถระ พระรามาเถรี และพระสุรามาเถรีเป็นคู่พระอัครสาวิกา ไม้สะเดาใหญ่เป็นไม้ตรัสรู้ พระสรีระสูง ๘๘ ศอก พระชนมายุเก้าหมื่นพรรษาแล.

จบสุเมธกถา

สุชาตกถาที่ ๑๒

ในกาลต่อจากพระสุเมธพุทธเจ้าพระองค์นั้นมา พระศาสดาพระนามว่า สุชาตะก็ทรงอุบัติขึ้น แม้สาวกสันนิบาต ของพระองค์ก็มี ๓ ครั้ง ครั้งแรกมีภิกษุหกล้านรูป ครั้งที่ ๒ มีภิกษุห้าล้านรูป ครั้งที่ ๓ มีภิกษุสี่แสนรูป.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ทรงสดับว่าพระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าทรงฟังธรรมแล้วถวายราชสมบัติในทวีปทั้ง ๔ พร้อมด้วยรัตนะ ๗ ประการแก่หมู่ภิกษุมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แล้วทรงผนวชในสํานักของพระผู้มีพระภาพเจ้าพระองค์นั้น ชาวแว่นแคว้นทั้งสิ้นถือรายได้ของรัฐมาให้สําเร็จกิจกรรมของอาราม ถวายมหาทานเป็นนิตย์แก่หมู่ภิกษุมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นก็ทรงพยากรณ์พระเจ้าจักรพรรดินั้นแล้ว.

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 126

ก็พระนครของพระสุชาตพุทธเจ้า นามว่า สุมังคละ พระบิดาเป็นพระราชาพระนามว่า อุคคตะ พระมารดาพระนามว่า ปภาวดี พระสุทัสสนเถระและพระสุเทวเถระเป็นคู่พระอัครสาวก พระอุปัฏฐาก นามว่า นารทะพระนาคาเถรีและพระนาคสุมาลาเถรีเป็นคู่พระอัครสาวิกา มีต้นไผ่ใหญ่เป็นไม้ตรัสรู้ ได้ยินว่าต้นไผ่นั้นกลม ไม่เป็นโพรงลําต้นแข็ง งดงามด้วยกิ่งใหญ่ขึ้นไปเบื้องบน เหมือนกําหางนกยูง พระสรีระของพระองค์สูง ๕๐ ศอก พระชนมายุเก้าหมื่นพรรษาแล.

จบสุชาตกถา

ปิยทัสสีกถาที่ ๑๓

ในกาลต่อจากพระสุชาตพุทธเจ้าพระองค์นั้น ในที่สุดแห่ง ๑,๘๐๐ กัปในกัปหนึ่งมีพระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้น ๓ พระองค์คือ พระพุทธเจ้าปิยทัสสี พระพุทธเจ้าอัตถทัสสี พระพุทธเจ้าธรรมทัสสี แม้พระพุทธเจ้าพระนามว่า ปิยทัสสีพระองค์นั้นก็มีสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง ครั้งแรกมีภิกษุหนึ่งแสนโกฏิครั้งที่๒ มีภิกษุเก้าหมื่นโกฏิ ครั้งที่๓ มีภิกษุแปดหมื่นโกฏิ.ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็นมาณพนามว่า กัสสปะ ถึงฝังแห่งไตรเพท ได้สดับพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้วบริจาคทรัพย์หนึ่งแสนโกฏิสร้างสังฆาราม ดํารงอยู่ในสรณะและศีลทั้งหลาย ครั้งนั้นพระศาสดาได้ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า เมื่อล่วงไปหนึ่งพันแปดร้อยกัปแล้ว ผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าดังนี้.

อโนมนคร (๑) ได้มีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พระบิดาเป็นพระราชาพระนามว่า สุทินนะ (๒) พระมารดาพระนามว่าจันทา (๓) พระปาลิตเถระ


(๑) ขุ. อปทานเล่ม ๓๓ ว่าเป็น สุธัญญนคร

(๒) สุทัตตะ

(๓) สุจันทา

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 127

และพระสัพพทัสสีเถระเป็นคู่พระอัครสาวก พระอุปัฏฐากนามว่าโสภิต พระสุชาดาเถรีและพระธรรมทินนาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา ต้นประยงค์ (๑) เป็นไม้ตรัสรู้ พระสรีระของพระองค์สูง ๘๐ ศอก มีพระชนมายุเก้าหมื่นพรรษาแล.

จบปิยทัสสีกถา

อัตถทัสสีกถาที่ ๑๔

ในกาลต่อจากพระปิยทัสสีพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า อัตถทัสสี ก็ทรงอุบัติขึ้น แม้สาวกสันนิบาตของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ก็มี ๓ ครั้ง ครั้งแรกมีภิกษุเก้าล้านแปดแสน (๒) ครั้งที่ ๒ แปดล้าน แปดแสน ครั้งที่ ๓ ก็แปดล้านแปดแสนเหมือนกัน.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็นดาบสมีฤทธิ์มาก นามว่า สุสิมา ได้นําฉัตรดอกมณฑารพจากเทวโลกมาบูชาพระศาสดา แม้พระศาสดาก็ได้พยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นแล้ว.

พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นนามว่า โสภณ พระบิดาเป็นพระราชา พระนามว่า สาคระ พระมารดาพระนามว่า สุทัศนา พระสันตเถระและพระอุปสันตเถระเป็นคู่พระอัครสาวก พระอุปัฏฐากนามว่าอภัยพระธรรมาเถรี และพระสุธรรมาเถรีเป็นคู่พระอัครสาวิกา ไม้จําปาเป็นไม้ตรัสรู้ พระสรีระสูง ๘๐ ศอก รัศมีพระวรกายแผ่ไปโดยรอบโยชน์หนึ่งตลอดกาลเป็นนิตย์ พระชนมายุหนึ่งแสนพรรษาแล.

จบอัตถทัสสีกถา


(๑) พระไตรปิฎก ขุ. อปทาน เล่ม ๓๓ เป็นต้นกุ่ม.

(๒) บาลีประชุมครั้งที่หนึ่ง ๙๘,๐๐๐ รูป ครั้งที่สอง ๘๘,๐๐๐ รูป ครั้งที่สาม ๗๗,๐๐๐ รูป

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 128

ธรรมทัสสีกถาที่ ๑๕

ในกาลต่อจากพระอัตถทัสสีพุทธเจ้าพระองค์นั้น พระศาสดาพระนามว่า ธรรมทัสสี ก็ทรงอุบัติขึ้น แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็มี ๓ ครั้ง สันนิบาตครั้งแรก มีภิกษุหนึ่งร้อยโกฏิ (๑) ครั้งที่ ๒ มีภิกษุเจ็ดสิบโกฏิ (๒) ครั้งที่ ๓ มีภิกษุแปดสิบโกฏิ.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็นท้าวสักกเทวราช ได้ทรงทําการบูชาด้วยดอกไม้หอมอันเป็นทิพย์และดนตรีอันเป็นทิพย์ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นก็ได้พยากรณ์พระโพธิสัตว์แล้ว.

พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น นามว่า สรณะ พระบิดาเป็นพระราชาพระนามว่า สรณะ พระมารดาทรงพระนามว่า สุนันทา พระปทุมเถระและพระปุสสเทวเถระเป็นคูพระอัครสาวก พระอุปัฏฐากนามว่าสุเนตตะ พระเขมาเถรีและพระสัจจนามาเถรีเป็นคู่พระอัครสาวิกา ต้นมะพลับเป็นต้นไม้ตรัสรู้ ก็พระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สูง ๘๐ ศอก มีพระชนมายุหนึ่งแสนพรรษาแล.

จบธรรมทัสสีกถา

สิทธัตถกถาที่ ๑๖

ในกาลต่อจากพระธรรมทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นมา นับถอยหลังแต่กัปนี้ไป ๙๔ กัป ในกัปหนึ่งมีพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า สิทธัตถะ ทรงอุบัติขึ้น สาวกสันนิบาตแม้ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ก็มี ๓ ครั้ง ในสันนิบาตครั้งแรก มีภิกษุหนึ่งแสนโกฏิ (๓) ในครั้งที่ ๒มีภิกษุ ๙๐ โกฏิ ในครั้งที่ ๓ มีภิกษุ ๘๐ โกฏิ.


(๑) บาลี ประชุมครั้งที่หนึ่ง พันโกฏิ.

(๒) ครั้งที่สอง ร้อยโกฏิ.

(๓) ร้อยโกฏิ.

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 129

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ เป็นดาบส นามว่า มังคละ มีเดชกล้าถึงพร้อมด้วยกําลังแห่งอภิญญา ได้นําผลหว้าใหญ่มาถวายพระตถาคตเจ้า. พระศาสดาทรงเสวยผลหว้านั้นแล้ว ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์ว่า ในที่สุดแห่งกัป ๙๔ จักเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้.

พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นมีนามว่า เวภาระ พระบิดาเป็นพระราชามีพระนามว่า เชยยเสนะ พระมารดา พระนามว่า สุผัสสา พระสัมพลเถระและพระสุมิตตเถระเป็นคู่พระอัครสาวก พระอุปัฏฐาก นามว่าเรวตะ พระสีวลาเถรีและพระสุรามาเถรีเป็นคู่พระอัครสาวิกา ต้นไม้กรรณิการ์เป็นไม้ตรัสรู้ พระสรีระของพระองค์สูง ๖๐ ศอก มีพระชนมายุหนึ่งแสนพรรษาแล.

จบสิทธัตถกถา

ติสสกถาที่ ๑๗

ในกาลต่อจากพระสิทธัตถสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นมาถอยไปแต่ภัทรกัปนี้ ๙๒ กัป ในกัปหนึ่ง มีพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ ทรงอุบัติขึ้น คือพระติสสสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระปุสสสัมนาสัมพุทธเจ้า สาวกสันนิบาตของพระติสสสัมมาสัมพุทธเจ้าก็มี ๓ ครั้ง ในสันติบาตครั้งแรก มีภิกษุ ๑๐๐ โกฏิ ในครั้งที่ ๒ มีภิกษุ ๙๐ โกฏิ ในครั้งที่ ๓ มีภิกษุ ๘๐ โกฏิ.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ เป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่า สุชาตะ มีพระราชสมบัติมาก มีพระยศใหญ่ ทรงผนวชเป็นฤาษี ถึงความเป็นผู้มีฤทธิ์มาก ทรงสดับว่า พระพุทธเจ้าทรงอุบัติแล้ว จึงถือเอาดอกมณฑารพ ดอกปทุม

 
  ข้อความที่ 62  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 130

และดอกปาริฉัตตกะอันเป็นทิพย์มาบูชาพระตถาคตเจ้าผู้เสด็จอยู่ในท่ามกลางบริษัทสี่ ดอกไม้นั้นได้เป็นเพดานดอกไม้ตั้งอยู่ในอากาศ แม้พระศาสดาพระองค์นั้นก็ได้พยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า นับแต่กัปนี้ไป ในกัปที่ ๙๒ ดาบสนี้จักเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้.

พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น มีนามว่า เขมะ พระราชบิดาทรงพระนามว่า ชนเสฏฐะ พระราชมารดา ทรงพระนามว่า ปทุมาพระเทวเถระ และพระอุทยเถระเป็นพระอัครสาวก พระอุปัฏฐาก นามว่าสุมังคละ พระปุสสาเถรี และพระสุทัตตาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา ต้นประดู่เป็นต้นไม้ตรัสรู้ มีพระสรีระสูง ๖๐ ศอก มีพระชนมายุหนึ่งแสนพรรษาแล.

จบติสสกถา

ปุสสกถาที่ ๑๘

ในกาลต่อจากพระติสสสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นมา พระศาสดาทรงพระนามว่า ปุสสะ ก็ทรงอุบัติขึ้น แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็มี ๓ ครั้ง ในครั้งแรก มีภิกษุ ๖ ล้าน ในครั้งที่ ๒ มีภิกษุ ๕ ล้าน ในครั้งที่๓ มีภิกษุ๓ ล้าน ๒ แสน.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ เป็นกษัตริย์ พระนามว่า วิชิตาวี ได้ทรงสละราชสมบัติอันใหญ่ ทรงผนวชในสํานักพระศาสดา เรียนจบพระไตรปิฎก ได้บอกธรรมกถาแก่มหาชน และบําเพ็ญศีลบารมี แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นก็ได้พยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า จักเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 63  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 131

พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นมีนามว่า กาสี พระราชบิดาทรงพระนามว่า ชัยเสนะ พระราชมารดาพระนามว่า สิริมา พระรักขิตเถระและพระธรรมเสนเถระเป็นคู่พระอัครสาวก พระอุปัฏฐาก นามว่า สภิยะพระจาลาเถรี และพระอุปจาลาเถรีเป็นคู่พระอัครสาวิกา ต้นมะขามป้อมเป็นต้นไม้ตรัสรู้ พระสรีระสูง ๕๘ ศอก พระชนมายุเก้าหมื่นปีแล.

จบปุสสกถา

วิปัสสีกถาที่ ๑๙

ในกาลต่อจากพระปุสสสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นมา นับแต่กัปนี้ถอยไปในกัปที่ ๙๑ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี ทรงอุบัติขึ้นสาวกสันนิบาตแม้ของพระองค์ก็มี ๓ ครั้ง ในสันนิบาตครั้งแรกมีภิกษุ ๖ ล้าน ๘ แสน ในครั้งที่ ๒ มีภิกษุ ๑ แสน ในครั้งที่ ๓ มีภิกษุ ๘ หมื่น.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ เป็นนาคราช นามว่า อตุละ มีฤทธิ์มากมีอานุภาพมาก ได้ถวายตั่งทองอันขจิตไปด้วยรัตนะ ๗ ประการ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า นับแต่กัปนี้ไป ในกัปที่ ๙๑ นาคราชนี้จักเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้.

พระนครของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นมีนามว่า พันธุมดี พระราชบิดาทรงพระนามว่า พันธุมา พระราชมารดาทรงพระนามว่า พันธุมดี พระขัณฑเถระและพระติสสเถระเป็นคู่พระอัครสาวก พระอุปัฏฐาก นามว่า อโสกะพระจันทาเถรีและพระจันทมิตตาเถรีเป็นคู่พระอัครสาวิกา ต้นแคฝอยเป็นต้นไม้ตรัสรู้ พระองค์มีพระสรีระสูง ๘๐ ศอก มีพระรัศมีแผ่ไป ๗ โยชน์โดยรอบมีพระชนมายุแปดหมื่นพรรษาแล.

จบวิปัสสีกกา

 
  ข้อความที่ 64  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 132

สิขีกถาที่ ๒๐

ในกาลต่อจากพระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นมา ถอยหลังแต่ภัทรกัปนี้ ในกัปที่ ๓๑ มีพระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้น ๒ พระองค์ คือ พระสิขีพุทธเจ้าและเวสสภูพุทธเจ้า สาวกสันนิบาตแม้ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า สิขี ก็มี ๓ ครั้ง ในสันนิบาตครั้งแรก มีภิกษุหนึ่งแสนรูป ในครั้งที่ ๒ มีภิกษุ ๘ หมื่นรูป ในครั้งที่ ๓ มีภิกษุ ๗ หมื่นรูป.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ เป็นพระราชา พระนามว่า อรินทมะได้ถวายทานพร้อมทั้งจีวรแก่หมู่ภิกษุมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ได้ถวายช้างแก้วประดับด้วยรัตนะ ๗ ประการ ได้ถวายกัปปิยภัณฑ์กระทําให้ประมาณเท่ากับพระยาช้าง แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นก็ได้ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า นับแต่กัปนี้ไป ในกัปที่ ๓๑ จักเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้.

ก็พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น มีนามว่า อรุณวดี พระราชบิดาทรงพระนามว่า อรุณ พระราชมารดา ทรงพระนามว่า ปภาวดี พระอภิภูเถระ และพระสัมภวเถระเป็นคู่พระอัครสาวก พระอุปัฏฐาก นามว่า เขมังกร พระสขิลาเถรีและพระปทุมาเถรีเป็นคู่พระอัครสาวิกา ไม้บุณฑริกา (กุ่มบก) เป็นไม้ตรัสรู้ พระสรีระสูง ๗๐ ศอก มีพระรัศมีแผ่ไป ๓ โยชน์โดยรอบ มีพระชนมายุ ๗ หมื่นพรรษาแล.

จบสิขีกถา

เวสสภูกถาที่ ๒๑

ในกาลต่อจากพระสิขีสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นมา พระศาสดาทรงพระนามว่า เวสสภู ก็ทรงอุบัติขึ้น สาวกสันนิบาตแม้ของพระองค์ก็มี ๓ ครั้ง

 
  ข้อความที่ 65  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 133

ในสันนิบาตครั้งแรก มีภิกษุ ๘ หมื่น ในครั้งที่ ๒ มีภิกษุ ๗ หมื่น ในครั้งที่ ๓ มีภิกษุ ๖ หมื่น.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ เป็นพระราชา ทรงพระนามว่า สุทัศนะ ได้ถวายมหาทานพร้อมทั้งจีวรแก่หมู่ภิกษุมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แล้วทรงผนวชในสํานักพระศาสดาเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอาจารคุณเป็นผู้นอบน้อมและมากด้วยปีติในพุทธรัตนะ พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้พระองค์นั้นก็ได้ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า นับแต่กัปนี้ไป ในกัปที่ ๓๑ จักเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้.

พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น นามว่า อโนมะ พระราชบิดา ทรงพระนามว่า สุปปตีตะ พระราชมารดา ทรงพระนามว่ายสวดี พระเสนเถระและพระอุตตรเถระเป็นคู่พระอัครสาวก พระอุปัฏฐากนามว่า อุปสันตะ พระรามาเถรี และพระสุปลาเถรีเป็นคู่พระอัครสาวิกาไม้สาละเป็นไม้ตรัสรู้ พระองค์มีพระสรีระสูง ๖๐ ศอก มีพระชนมายุหกหมื่นพรรษาแล.

จบเวสสภูกถา

กกุสันธกถาที่ ๒๒

ในกาลต่อจากพระเวสสภูสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นมา ในกัปหนึ่งมีพระพุทธเจ้า ๔ พระองค์ทรงอุบัติขึ้นคือ พระกกุสันธพุทธเจ้า พระโกนาคมนพุทธเจ้า พระกัสสปพุทธเจ้า และพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย สาวกสันนิบาตของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากุกสันธะ มีครั้งเดียวมีภิกษุมาประชุม ๔ หมื่น.

 
  ข้อความที่ 66  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 134

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ ทรงเป็นพระราชา พระนามว่า เขมะได้ถวายมหาทานพร้อมด้วยบาตรจีวร และยาหยอดตาทั้งหลาย ได้สดับธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้วทรงผนวช. พระศาสดาแม้พระองค์นั้นก็พยากรณ์พระโพธิสัตว์.

พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น มีนามว่า เขมะ บิดาเป็นพราหมณ์ นามว่าอัคคิทัตตะ มารดานามว่า พราหมณี พระวิธูรเถระและพระสัญชีวเถระเป็นพระอัครสาวก พระอุปัฏฐาก นามว่าวุฑฒิชะ พระสามาเถรีและพระสรัพภาเถรีเป็นคู่พระอัครสาวิกา ต้นซึกใหญ่เป็นไม้ตรัสรู้ พระสรีระสูง ๔๐ ศอก มีพระชนมายุสี่หมื่นพรรษาแล.

จบกกุสันธกถา

โกนาคมนกถาที่ ๒๓

ในกาลต่อจากพระกกุสันธสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นมา พระศาสดาทรงพระนามว่า โกนาคมนะ ก็ทรงอุบัติขึ้น สาวกสันนิบาตของพระองค์มี๑ ครั้ง ในสันนิบาตนั้น มีภิกษุ ๓ หมื่นรูป.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็นพระราชา ทรงพระนามว่า บรรพตทรงแวดล้อมด้วยหมู่อํามาตย์เสด็จไปสู่สํานักของพระศาสดา สดับธรรมเทศนาแล้วนิมนต์หมู่ภิกษุมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขถวายมหาทานแล้ว ถวายผ้าเมืองปัตตุณณะ (ผ้าไหม) ผ้าเมืองจีน ผ้าแพร ผ้ากัมพล และรองเท้าทองแล้วทรงผนวชในสํานักพระศาสดา พระศาสดาแม้พระองค์นั้นก็ได้ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์แล้ว.

 
  ข้อความที่ 67  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 135

พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นมีนามว่า โสภนะ พระบิดาเป็นพราหมณ์ นามว่า ยัญญทัตตะ พระมารดาเป็นนางพราหมณี นามว่าอุตตรา พระภิยโยสเถระและพระอุตตรเถระเป็นคู่พระอัครสาวก พระอุปัฏฐากนามว่า โสตถิชะ พระสมุททาเถรีและพระอุตตราเถรีเป็นคู่พระอัครสาวิกา ไม้อุทุมพรเป็นต้นไม้ตรัสรู้ พระสรีระสูง ๓๐ ศอก มีพระชนมายุ๓ หมื่นปีแล.

จบโกนาคมนกถา

กัสสปกถาที่ ๒๔

ในกาลต่อจากพระโกนาคมนพุทธเจ้าพระองค์นั้นมา มีพระศาสดาทรงพระนามว่า กัสสปะ ทรงอุบัติขึ้น สาวกสันนิบาตของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น มีครั้งเดียว มีภิกษุ ๒ หมื่นรูป.

ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์เป็นมาณพ นามว่า โชติบาล เป็นผู้จบไตรเพทมีชื่อเสียงปรากฏขจรไปทั้งทางพื้นดินและทางอากาศ ได้เป็นมิตรของช่างหม้อนามว่า ฆฏิการะ พระโพธิสัตว์นั้นได้เข้าไปเฝ้าพระศาสดา พร้อมกับช่างหม้อนั้นสดับกรรมกถา บวชแล้ว ปรารภความเพียรเรียนจบพระไตรปิฎก ชําระพระพุทธศาสนาหมดจดด้วยวัตรสมบัติ แม้พระศาสดาพระองค์นั้น ก็ได้พยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นแล้ว.

พระนครอันขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น นามว่า พาราณสีพระบิดาเป็นพราหมณ์ นามว่า พรหมทัต พระมารดาเป็นพราหมณีนามว่าธนวดี พระติสสเถระและภารัทวาชเถระเป็นคู่พระอัครสาวก พระอุปัฏฐาก

 
  ข้อความที่ 68  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 136

นามว่า สัพพมิตร พระอรุณาเถรีและพระอุรุเวลาเถรีเป็นคู่พระอัครสาวิกาต้นนิโครธเป็นต้นไม้ตรัสรู้ พระสรีระสูง ๒๐ ศอก มีพระชนมายุ ๒ หมื่นพรรษาแล.

จบกัสสปกถา

ส่วนในกาลต่อจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากัสสปะ นั้นมา เว้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นี้ของเราทั้งหลายแล้วจะเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นหาได้ไม่. ก็พระโพธิสัตว์ได้รับพยากรณ์จากสํานักพระพุทธเจ้า ๒๔ พระองค์มีพระทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้น พุทธการกธรรมมีทานบารมีเป็นต้นเหล่าใด ที่พระโพธิสัตว์ทรงประมวลธรรม ๘ ประการเหล่านี้ คือ

๑. มนุสฺสตฺตํ (ความเป็นมนุษย์)

๒. ลิงคสมฺปตฺติ (ถึงพร้อมด้วยเพศ)

๓. เหตุ (มีอุปนิสสัยแห่งพระอรหัต)

๔. สตฺถารทสฺสนํ (การได้เห็นพระศาสดา)

๕. ปพฺพชฺชา (การบรรพชา)

๖. คุณสมฺปตฺติ (ถึงพร้อมด้วยคุณ)

๗. อธิกาโร (มีความปรารถนาแรงกล้า)

๘. ฉนฺทตา (มีความพอใจ)

บุญญาภินีหารย่อมสําเร็จได้เพราะธรรมสโมธาน ๘ ประการแล้วทรงทําอภินีหารที่บาทมูลของพระพุทธเจ้าพระนามว่า ทีปังกร ทรงตั้งอุตสาหะว่า เอาละ เราจักค้นหาพุทธการกธรรมทุกด้าน ดังนี้ เห็นแล้วว่าในครั้งนั้น

 
  ข้อความที่ 69  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 137

เมื่อเลือกเฟ้นอยู่ เราได้เห็นทานบารมีก่อน จึงบําเพ็ญพุทธการกธรรมเหล่านั้นจนถึงความเป็นพระเวสสันดร.

อนึ่ง เมื่อ พระองค์ทรงบรรลุอานิสงส์ของพระโพธิสัตว์ผู้มีอภินิหารอันกระทําไว้แล้ว อานิสงส์เหล่านั้นท่านพรรณนาไว้ว่า

นรชนทั้งหลายผู้สมบูรณ์ด้วยองค์คุณทั้งปวงอย่างนี้ เป็นผู้เที่ยงเพื่อจะตรัสรู้ เมื่อยังท่องเที่ยวไปสู่สังสารวัฏฏ์สิ้นกาลนาน แม้ตั้งร้อยโกฏิกัปป์ก็ไม่ได้เกิดในอเวจีและในโลกันตรนรก ไม่เกิดเป็นนิชฌามตัณหิกเปรต ขุปปิปาสิกเปรต กาลกัญชิกเปรต แม้จะเกิดในทุคติก็ไม่เกิดเป็นสัตว์เล็กๆ เมื่อเกิดในมนุษย์ ย่อมไม่เกิดเป็นผู้บอดแต่กําเนิด ไม่เป็นคนหูหนวก ไม่เป็นคนใบ้ ไม่เป็นคนพิการ ไม่เกิดเป็นหญิง ไม่เป็นอุภโตพยัญชนะ ไม่เป็นบัณเฑาะก์ ย่อมไม่เป็นบุคคลผู้นับเนื่องแล้วจากอภัพบุคคลทั้งหลาย เป็นผู้พ้นแล้วจากอนันตริยธรรม เป็นนรผู้เพียงเพื่อจะตรัสรู้ มีโคจรบริสุทธิ์ในที่ทั้งปวง ไม่เสพมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นในการกระทําว่าเป็นกรรม แม้เมื่ออยู่ในสวรรค์ก็ไม่เกิดในอสัญญีภพ ชื่อว่า เหตุเกิดในสุทธาวาส

 
  ข้อความที่ 70  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 138

ทั้งหลายไม่มี เป็นผู้น้อมไปในเนกขัมมะเป็นสัตบุรุษ ไม่ติดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ย่อมเที่ยวไป เพื่อประพฤติประโยชน์แก่ชาวโลก ย่อมบําเพ็ญบารมีทั้งปวง ดังนี้

เมื่อพระโพธิสัตว์บรรลุอานิสงส์เหล่านั้นมาบําเพ็ญบารมีทั้งหลายอยู่ในกาลเสวยพระชาติเป็นอกิตติพราหมณ์ ในกาลเสวยพระชาติเป็นสังขพราหมณ์ ในกาลเสวยพระชาติเป็นพระเจ้าธนัญชัย ในกาลเสวยพระชาติเป็นพระเจ้ามหาสุทัศนะ ในกาลเสวยพระชาติเป็นมหาโควินทะ ในกาลเสวยพระชาติเป็นพระเจ้านิมิมหาราช ในกาลเสวยพระชาติเป็นพระจันทกุมาร ในกาลเสวยพระชาติเป็นวิสัยหเศรษฐี ในกาลเสวยพระชาติเป็นสสบัณฑิต ในกาลเสวยพระชาติเป็นพระเจ้าสีวิราช ในกาลเป็นพระเวสสันดร ดังนี้ ชื่อว่า ปริมาณอัตภาพที่บําเพ็ญทานบารมี มีคุณนับไม่ได้.

ว่าด้วยทานที่เป็นปรมัตถ์

อนึ่ง เมื่อพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นสสบัณฑิต ได้สละอัตภาพที่ท่านกล่าวไว้ในสสบัณฑิตชาดก อย่างนี้ว่า

เราเห็นพราหมณ์ผู้มาขอ จึงสละอัตภาพของตน ทานของเราไม่มีใครเสมอนั่นเป็นทานบารมีของเรา ดังนี้.

ชื่อว่าการบําเพ็ญทานเป็นปรมัตถบารมีโดยส่วนเดียว.

ว่าด้วยศีลบารมีที่เป็นปรมัตถ์

อนึ่ง ชื่อว่า ปริมาณอัตภาพที่บําเพ็ญศีลบารมีมีคุณที่นับไม่ได้ คือในกาลเสวยพระชาติเป็นพระเจ้าสีวิราช ในกาลเสวยพระชาติเป็นจัมเปยย-

 
  ข้อความที่ 71  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 139

นาคราช ในกาลเสวยพระชาติเป็นภูริทัตตนาคราช ในกาลเสวยพระชาติเป็นพญาฉัททันต์ ในกาลเสวยพระชาติเป็นราชบุตรของพระเจ้าทิศราช ในกาลเสวยพระชาติเป็นอลีนจิตตกุมาร.

ก็เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นทําการบริจาคอัตภาพกล่าวไว้ในสังขปาลชาดกอย่างนี้ว่า

เราแม้ถูกยิงด้วยลูกศรทั้งหลาย แม้ถูกแทงด้วยหอกทั้งหลาย ก็ไม่โกรธบุตรนายบ้าน นั่นเป็นศีลบารมีของเรา ดังนี้

ชื่อว่า การบําเพ็ญศีลเป็นปรมัตถบารมี โดยส่วนเดียว.

ว่าด้วยเนกขัมมบารมีที่เป็นปรมัตถ์

อนึ่ง ชื่อว่าการปริมาณอัตภาพที่สละราชสมบัติใหญ่บําเพ็ญเนกขัมมบารมี มีคุณนับไม่ได้ คือ ในกาลที่เสวยพระชาติเป็นโสมนัสสกุมาร ในกาลเสวยพระชาติเป็นหัตถิปาลกุมาร ในกาลเสวยพระชาติเป็นอโยฆรบัณฑิต.

ก็เมื่อพระโพธิสัตว์สละราชสมบัติออกผนวช เพราะการสละที่ท่านกล่าวไว้ในจูฬสุตตโสมชาดก อย่างนี้ว่า

เราสละเราสมบัติใหญ่ที่อยู่ในพระหัตถ์ เหมือนสละก้อนเขฬะ เมื่อเราสละอยู่ไม่มีความเสียดายเลย นั่นเป็นเนกขัมมบารมีของเรา ดังนี้

ชื่อว่า การบําเพ็ญเนกขัมมะเป็นปรมัตถบารมี โดยส่วนเดียว.

 
  ข้อความที่ 72  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 140

ว่าด้วยปัญญาบารมีที่เป็นปรมัตถ์

อนึ่ง ชื่อว่า ปริมาณอัตภาพที่บําเพ็ญปัญญาบารมีที่มีคุณนับไม่ได้คือ ในกาลที่พระองค์เสวยพระชาติเป็นวิธูรบัณฑิต ในกาลที่เสวยพระชาติเป็นบัณฑิตนามว่ามหาโควินท์ ในกาลเสวยพระชาติเป็นกุททาลบัณฑิต ในกาลเสวยพระชาติเป็นอรกบัณฑิต ในกาลเสวยพระชาติเป็นโพธิปริพาชก ในกาลเสวยพระชาติเป็นมโหสธบัณฑิต.

ก็เมื่อพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นเสนกบัณฑิต ในสัตตุภัสตุชาดกแสดงอยู่ซึ่งงูพิษในถุง ที่กล่าวไว้อย่างนี้ว่า

เราใช้ปัญญาพิจารณาอยู่ จึงช่วยพราหมณ์ให้พ้นจากทุกข์ ปัญญาของเราไม่มีใครเสมอ นั่นเป็นปัญญาบารมีโดยของเราดังนี้ชื่อว่า การบําเพ็ญปัญญาเป็นปรมัตถบารมีโดยส่วนเดียว.

ว่าด้วยวิริยบารมีเป็นต้นที่เป็นปรมัตถ์

อนึ่ง ชื่อปริมาณอัตภาพที่บําเพ็ญแม้วิริยบารมีเป็นต้น เป็นคุณนับไม่ได้ก็เหมือนกัน. ก็เมื่อพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นมหาชนกผู้ข้ามมหาสมุทรที่กล่าวไว้ในมหาชนกชาดก อย่างนี้ว่า

มนุษย์ทั้งหลายมองไม่เห็นฝัง พากันตายไปในท่ามกลางมหาสมุทร จิตของเรามิได้เปลี่ยนเป็นอื่น นั่นเป็นวิริยบารมีของเรา ดังนี้

ชื่อว่า การบําเพ็ญวิริยะเป็นปรมัตถบารมี โดยส่วนเดียว.

 
  ข้อความที่ 73  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 141

เมื่อพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นขันติวาทีดาบส ทรงอดกลั้นอยู่ซึ่งทุกข์ใหญ่ ดุจไม่มีจิตใจ ที่กล่าวไว้ในขันติวาทิชาดก อย่างนี้ว่า

เมื่อพระเจ้ากาสิราช ใช้ขวานอันคมฟันเราผู้คล้ายกับไม่มีจิต เราก็ไม่โกรธ นั่นเป็นขันติบารมีของเรา ดังนี้

ชื่อว่า ความบําเพ็ญขันติเป็นปรมัตถบารมี โดยส่วนเดียว.

เมื่อพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระเจ้ามหาสุตตโสม ได้สละชีวิตรักษาความสัตย์ที่กล่าวไว้ในมหาสุตตโสมชาดก อย่างนี้ว่า

เราสละชีวิตของเราตามรักษาอยู่ซึ่งวาจาสัตย์ ให้ปล่อยกษัตริย์ ๑๐๑ พระองค์ นั่นเป็นสัจจบารมีของเรา ดังนี้

ชื่อว่า บําเพ็ญสัจจบารมีเป็นปรมัตถบารมี.

เมื่อพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระเตมีย์ ทรงสละแม้ชีวิตอธิษฐานวัตร กล่าวไว้ในมูคปักขชาดก (ชาดกว่าด้วยบุคคลผู้เป็นใบ้และพิการ) อย่างนี้ว่า

พระมารดาพระบิดามิใช่เป็นผู้น่าเกลียดชังของเรา อิสริยะใหญ่ก็มิได้เป็นที่เกลียดชังของเรา แต่พระสัพพัญุตญาณเป็นที่รักของเรา เพราะฉะนั้น การอธิษฐานจึงเป็นวัตรของเรา ดังนี้

ชื่อว่า อธิษฐานบารมีเป็นปรมัตถบารมี.

 
  ข้อความที่ 74  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 142

เมื่อพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าเอกราชผู้มิได้เห็นแม้แก่ชีวิตของพระองค์ ทรงเจริญเมตตา ที่กล่าวไว้ในเอกราชชาดก อย่างนี้ว่า

ใครๆ ย่อมไม่ดุร้ายกับเรา แม้เราก็ไม่กลัวใครๆ ในกาลนั้นเราได้กําลังเมตตาอุปถัมภ์แล้ว ย่อมยินดีในป่าใหญ่ ดังนี้

ชื่อว่า ได้บําเพ็ญเมตตาบารมีเป็นปรมัตถบารมี.

เมื่อพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นนักบวช ชื่อว่า โลมหังสะ ไม่ละความเป็นอุเบกขาในพวกเด็กชาวบ้านผู้ยังความทุกข์แสะความสุขให้เกิดขึ้นด้วยการถ่มน้ำลายรดเป็นต้น และด้วยการนําดอกไม้ของหอมมาให้เป็นต้นตามที่กล่าวไว้ในโลมหังสชาดก อย่างนี้ว่า

เรานอนในป่าช้า มีกระดูกศพเป็นหมอนหนุน พวกเด็กชาวบ้านเข้าไปแสดงรูปไม่น้อย ดังนี้

ชื่อว่าอุเบกขาบารมีเป็นปรมัตถบารมี. ความย่อในที่นี้มีเท่านี้ ส่วนเนื้อความพิสดารพึงถือในจริยาปิฎก.

พระโพธิสัตว์ ครั้นบําเพ็ญบารมีทั้งหลายอย่างนี้แล้ว ดํารงอยู่ในอัตภาพของพระเวสสันดร ได้สร้างบุญเป็นอันมากอันเป็นเหตุให้แผ่นดินใหญ่ไหว ตามที่กล่าวไว้อย่างนี้ว่า

แผ่นดินนี้ ไม่มีจิต ไม่ทราบถึงความสุขและทุกข์ แม้กระนั้นก็ยังไหวถึง ๗ ครั้ง เพราะกําลังทานของเรา.

 
  ข้อความที่ 75  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 143

เมื่อสิ้นพระชนมายุแล้วก็ทรงจุติจากโลกนี้ บังเกิดขึ้นในสวรรค์ชั้นดุสิตพระองค์ทรงยิ่งใหญ่กว่าเทวดาอื่นในดุสิตนั้น ด้วยฐานะ ๑๐ ประการ ทรงเสวยทิพยสมบัติตลอดพระชนมายุ ๕๗ โกฏิ ๖ ล้านปี โดยการนับปีของมนุษย์บัดนี้อีก ๗ วัน จักถึงการสิ้นอายุขัย เพราะฉะนั้น เมื่อเกิดบุพนิมิต ๕ เหล่านี้ คือ

๑. ผ้าทั้งหลายเศร้าหมอง

๒. ทิพยมาลาเหี่ยวแห้ง

๓. พระเสโทไหลออกจากพระกัจฉะ

๔. พระฉวีวรรณะในสรีระปราศจากไป

๕. ทรงเบื่อหน่ายทิพยอาสน์

เหล่าเทวดาเห็นนิมิตเหล่านั้น ก็พากันสลดใจกล่าวว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลายเอย สวรรค์จักว่างเปล่าหนอ ดังนี้ ครั้นทราบว่าพระมหาสัตว์บําเพ็ญบารมีเต็มแล้ว จึงคิดว่า บัดนี้ พระโพธิสัตว์นี้จะไม่ทรงอุบัติขึ้นเทวโลกอื่นๆ จึงทรงอุบัติในมนุษยโลกแล้วบรรลุเป็นพระพุทธเจ้า พวกมนุษย์จักพากันทําบุญเป็นอันมาก จุติแล้วๆ ก็จักยังเทวโลกให้บริบูรณ์ ดังนี้ จึงพากันกราบทูลเพื่อประโยชน์แก่ความเป็นพระพุทธเจ้าดังที่ตรัสไว้ อย่างนี้ว่า

ในกาลที่เราตถาคตเป็นเทพบุตรนามว่า สันดุสิต อยู่ในพวกเทพชั้นดุสิตเหล่าเทวดามีประมาณหนึ่งหมื่นพากันมาประนมอัญชลีวิงวอนเราว่า ข้าแต่พระมหาวีรเทพ กาลนี้ เป็นเวลาสมควรแล้ว ที่พระองค์จักทรงอุบัติในครรภ์พระมารดาตรัสรู้อมตบท โปรดชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 76  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 144

พระองค์จึงทรงตรวจดูมหาวิโลกนะ ๕ เหล่านี้คือ กาล ทวีป ประเทศ ตระกูล และกําหนดอายุพระพุทธมารดา ตกลงพระทัยแล้ว จึงเสด็จจุติจากดุสิตมาถือปฏิสนธิในศากยสกุล ได้รับการบํารุงบําเรอด้วยสมบัติมากมายในศากยสกุลนั้น ทรงถึงความเป็นหนุ่มสง่างามตามลําดับ ในระหว่างนี้พึงทราบความพิสดารบทแห่งพระสูตรทั้งหลายมีอาทิว่า ดูก่อนอานนท์ พระโพธิสัตว์มีสติสัมปชัญญะ จุติจากหมู่เทพชั้นดุสิตแล้วก้าวลงสู่พระครรภ์พระมารดา และพึงทราบด้วยสามารถแห่งอรรถกถาของบทพระสูตรเหล่านั้นเถิด.

พระโพธิสัตว์นั้น ทรงเสวยสิริราชสมบัติเช่นกับเทวโลกในปราสาททั้ง ๓ อันสมควรแก่ฤดูทั้ง ๓ ในสมัยที่เสด็จไปทรงเล่นกีฬาในพระอุทยานได้ทอดพระเนตรเห็นเทวทูต ๓ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย ตามลําดับ ทรงสลดพระทัยก็เสด็จกลับจากพระอุทยาน ได้ทรงเห็นบรรพชิตในครั้งที่ ๔ ได้ยังพอพระทัยในการบรรพชาให้เกิดขึ้นแล้วเสด็จไปพระอุทยาน ยังกาลเวลาล่วงไปในพระอุทยานนั้น ทรงประทับนั่งที่ฝังสระโบกขรณีมงคลเป็นผู้อันวิสสุกรรมเทพบุตรแปลงเพศเป็นช่างกัลบกมาประดับตกแต่งพระองค์ ทรงสดับข่าวว่าราหุลกุมารประสูติแล้ว ทรงทราบถึงความสิเนหาในบุตรมีความรุนแรง จึงทรงพระดําริว่า เราจักตัดมันเสียก่อนที่เครื่องผูกนี้จักเจริญ ดังนี้ จึงเสด็จเข้าไปสู่พระนครในเวลาเย็น ได้ทรงสดับพระคาถาอันพระธิดาของพระเจ้าอาพระนามว่า กิสาโคตมี ภาษิตว่า

นิพฺพุตา นูน สา มาตา นิพฺพุโต นูน โส ปิตา

นิพฺพุตา นูน สา นารี ยสฺสายํ อีทิโส ปติ

บุรุษเช่นนี้เป็นบุตรของมารดาใด มารดานั้นเป็นผู้ดับได้แล้วแน่ บุรุษเช่นนี้

 
  ข้อความที่ 77  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 145

เป็นบุตรของบิดาใด บิดานั้นเป็นผู้ดับได้แล้วแน่ บุรุษเช่นนี้เป็นสามีของภรรยาใด ภรรยานั้น เป็นผู้ดับได้แล้วแน่ ดังนี้

ทรงพระดําริว่า พระนางนี้ให้เราได้ฟังนิพพุตบท จึงเปลื้องสร้อยมุกดาหารมีค่าประมาณหนึ่งแสนจากพระศอส่งประทานแก่พระนางกิสาโคตมีนั้น แล้วเสด็จเข้าไปสู่ที่ประทับของพระองค์ ทรงประทับนั่งบนพระแท่นสิริไสยาสน์ทรงทอดพระเนตรเห็นประการอันแปลกของหญิงนักฟ้อนทั้งหลายเพราะอํานาจแห่งความหลับ มีพระทัยเบื่อหน่าย ปลุกนายฉันนะให้ตื่นขึ้นแล้ว ตรัสสั่งให้นําม้ากัณฐกะมา ทรงเสด็จขึ้นประทับม้ากัณฐกะ มีนายฉันนะเป็นสหายมีเหล่าเทพเจ้าหมื่นโลกธาตุแวดล้อมเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ โดยราตรีที่ยังเหลือนั้นนั่นแหละ ทรงเสด็จผ่านมหาอาณาจักรไป ๓ แว่นแคว้น ทรงผนวช ณ ริมฝังแม่น้ำอโนมา แล้วเสด็จไปตามลําดับถึงกรุงราชคฤห์ เสด็จเที่ยวไปเพื่อบิณฑะในกรุงราชคฤห์นั้น ประทับนั่งที่เงื้อมปัณฑวบรรพต ผู้อันพระราชามคธทูลเชิญให้ครองราชสมบัติ ทรงปฏิเสธราชสมบัตินั้น ทรงเป็นผู้มีปฏิญญาอันพระเจ้ามคธนั้นถือเอาแล้ว เพื่อให้พระองค์บรรลุพระสัพพัญุตญาณแล้วเสด็จมายังแว่นแคว้นของพระองค์ แล้วเสด็จเข้าไปหาอาฬารดาบสและอุททกดาบส ยังไม่ทรงพอพระทัยด้วยคุณวิเศษที่ได้บรรลุในสํานักของดาบสเหล่านั้นจึงทรงตั้งมหาปธาน (ความเพียรใหญ่) ถึง ๖ พรรษา ครั้นถึงวันเพ็ญเดือนหกเวลาเช้าทรงเสวยข้าวปายาสที่นางสุชาดาชาวเสนานิคมถวาย แล้วเสด็จไปลอยถาดทองในแม่น้ำเนรัญชรา ทรงปล่อยเวลาให้ล่วงไปสิ้นส่วนแห่งวันด้วยสมาบัติต่างๆ ณ ชัฏแห่งมหาวันใกล้ฝังแม่น้ำเนรัญชรา ในเวลาเย็นทรงรับหญ้ากํามือหนึ่งที่โสตถิยพราหมณ์ถวาย เป็นผู้มีคุณอันกาฬนาคราชสรรเสริญแล้ว

 
  ข้อความที่ 78  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 146

ทรงก้าวขึ้นสู่มณฑลแห่งต้นโพธิ์ ทรงลาดหญ้าทั้งหลายแล้วทรงทําปฏิญญาว่า เราจักไม่ทําลายบัลลังก์นี้ จนกว่าจิตของเราจักพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะความไม่ถือมั่น แล้วประทับนั่งโพธิบัลลังก์ มีพระพักตร์มุ่งคือทิศปาจีน เมื่อพระอาทิตย์ยังไม่อัสดงคตนั่นแหละ ก็ทรงกําจัดมารและเสนามารแล้ว ในปฐมยามทรงบรรลุบุพเพนิวาสญาณ ในมัชฌิมยามทรงบรรลุจุตูปปาตญาณ ในที่สุดแห่งปัจฉิมยาม ทรงแทงตลอดสัพพัญุตญาณอันประดับด้วยคุณของพระพุทธเจ้าทั้งปวงมีทศพลญาณและเวสารัชชญาณเป็นต้นนั้นแหละ ชื่อว่าทรงบรรลุสมุทร คือ นัยแห่งพระอภิธรรมนี้ พึงทราบอธิคมนิทานของพระอภิธรรมนั้น ด้วยประการฉะนี้.

จบอธิคมนิทาน

ว่าด้วยเทศนานิทาน

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรลุพระอภิธรรมด้วยประการฉะนี้แล้ว ทรงประทับนั่งโดยบัลลังก์เดียวล่วงไป ๑ สัปดาห์ ทรงเพ่งต้นโพธิ์ไม่กระพริบพระเนตรล่วงไป ๑ สัปดาห์ทรงเดินจงกรมล่วงไป ๑ สัปดาห์ ในสัปดาห์ที่ ๔ ทรงพิจารณาพระอภิธรรมที่ทรงบรรลุ ด้วยการตรัสรู้พระสยัมภูญาณ แล้วทรงให้สัปดาห์ทั้ง ๓ แม้อื่นอีกล่วงไปที่ควงไม้อชปาลนิโครธ ควงไม้มุจจลินท์และที่ควงไม้ราชายตนะ ในสัปดาห์ที่ ๘ ทรงกลับไปประทับนั่งที่ควงไม้อชปาลนิโครธ ทรงถึงความเป็นผู้ขวนขวายน้อย เพราะทรงพิจารณาถึงธรรมเป็นสภาวะลึกซึ้ง เมื่อจะทรงแสดงธรรมอันสหัมบดีพรหม ซึ่งมีมหาพรหมหนึ่งหมื่นเป็นบริวารมาทูลอาราธนาแล้ว จึงทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุทรงรับการเชื้อเชิญของมหาพรหมแล้วทรงตรวจดูว่า เราพึงแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ทรงทราบว่าอาฬารดาบสและอุททกดาบสทํากาละแล้ว จึงทรงระลึก

 
  ข้อความที่ 79  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 147

ถึงพระปัญจวัคคีย์ผู้มีอุปการะมาก เสด็จลุกจากอาสนะเสด็จดําเนินไปเมืองกาสีในระหว่างทางได้ทรงสนทนากับอุปกะอาชีวก ในวันอาสาฬหปุรณมีก็ทรงบรรลุถึงที่อยู่ภิกษุปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ทรงทําปัญจวัคคีย์ผู้ร้องเรียกพระองค์ ด้วยคําร้องเรียกอันไม่สมควรให้เชื่อฟังแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักรโปรดพระปัญจวัคคีย์มีพระอัญญาโกณฑัญญเถระเป็นประมุขและพวกพรหม ๑๘ โกฏิ ให้ดื่มอมตรสแล้ว พึงทราบเทศนานิทานจนถึงการประกาศพระธรรมจักรดังพรรณนามาฉะนี้. ความย่อมีเพียงเท่านี้ ชื่อว่าความพิสดารพึงทราบด้วยนาจแห่งอรรถกถาทั้งหลาย และพระสูตรทั้งหลายมีอริยปริเยสนสูตรและปัพพสูตรเป็นต้น พระอภิธรรมสมบูรณ์ด้วยอธิคมนิทานและเทศนานิทาน มีอยู่ดังพรรณนามาฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่งพระอภิธรรมมีนิทาน ๓

นิทานของพระอภิธรรมแม้อื่นอีกมี ๓ คือ

๑. ทูเรนิทาน (นิทานไกล)

๒. อวิทูเรนิทาน (นิทานไม่ไกล)

๓. สันติเกนิทาน (นิทานใกล้)

บรรดานิทานทั้ง ๓ นั้น พึงทราบทูเรนิทานเริ่มตั้งแต่บาทมูลของพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ทีปังกรจนถึงดุสิตบุรี พึงทราบอวิทูเรนิทานเริ่มตั้งแต่ดุสิตบุรีจนถึงโพธิมณฑล คําว่า สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ที่ควงไม้ปาริฉัตตกะในหมู่เทพยดาชั้นดาวดึงส์นั้นแล ได้ตรัสอภิธรรมแก่เทวดาทั้งหลายชั้นดาวดึงส์นี้ ชื่อว่าสันติเกนิทานของพระอภิธรรมนั้น.

จบ นิทานกถาเพียงเท่านี้