พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ปฐมปาราชิกวรรณนา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 ธ.ค. 2564
หมายเลข  41781
อ่าน  1,518

[เล่มที่ 1] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 690

ปฐมปาราชิกวรรณนา

เรื่องพระสุทินน์ หน้า 690

อรรถาธิบายชื่อบ้านและชื่อบุตรเศรษฐี หน้า 690

สุทินน์กลันทบุตรไปเพื่อฟังธรรม หน้า 691

สุทินน์กลันทบุตรได้ฟังธรรมแล้วคิดจะบวช หน้า 692

สุทินน์กลันทบุตรทูลขอบรรพชา ฯ หน้า 694

มารดาบิดาไม่อนุญาตให้สุทินน์บวช หน้า 695

สหายไปห้ามไม่ให้สุทินน์บวชไม่สำเร็จ หน้า 698

มารดาบิดาอนุญาตให้สุทินน์บุตรชายบวช หน้า 699

พระพุทธเจ้ารับสั่งภิกษุบวชให้สุทินน์กลันทบุตร หน้า 700

ญาติของท่านสุทินน์ที่เมืองไพศาลีมีสมบัติมาก หน้า 701

ญาตินำภัตตาหารไปถวายท่านสุทินน์ ๖๐ ถาด หน้า 702

อธิบายเรื่องขนมบูดเน่า หน้า 703

พระสุทินน์ออกบวชได้ ๘ ปี นางทาสีจำอวัยวะบางส่วนได้ หน้า 705

พวกบรรพชิตไม่นั่งฉันในที่ไม่สมควร ฯ หน้า 706

บิดาติเตียนพระสุทินน์ว่าฉันขนมบูด หน้า 706

บิดามอบทรัพย์เพื่อให้พระสุทินน์สึก หน้า 708

บิดาสั่งภรรยาเก่าให้ประเล้าประโลม หน้า 711

มารดาขอร้องให้พระสุทินน์เพาะพืชพันธุ์ไว้ หน้า 713

สตรีมีระดูหยุดก็ตั้งครรภ์ หน้า 714

เหตุที่ให้สตรีตั้งครรภ์มี ๗ อย่าง หน้า 716

เทพเจ้าประกาศความชั่วของพระสุทินน์ หน้า 718

บุตรชายของท่านพระสุทินน์มีชื่อว่าพีชกะ หน้า 719

มารดาและพีชกทารกบวชได้สำเร็จพระอรหัต หน้า 720

ท่านพระสุทินน์เดือดร้อนใจ ฯ หน้า 720

พวกภิกษุสหายถามท่านพระสุทินน์ถึงความซูบผอม หน้า 722

พวกภิกษุสหายเห็นด้วยว่ากรรมนั้นให้เกิดความรำคาญ หน้า 723

อรรถาธิบายชื่อพระนิพพาน ๙ บท หน้า 725

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องพระสุทินน์เสพเมถุน ฯ หน้า 727

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตำหนิพระสุทินน์ หน้า 728

พระสุทินน์เป็นคนแรกในการเสพเมถุนธรรม หน้า 732

ผู้ไม่ตั้งอยู่ในสังวรเป็นผู้มักมากในปัจจัย ๔ หน้า 733

ผู้ตั้งอยู่ในสังวรไม่เป็นผู้มักมากในปัจจัย ๔ หน้า 734

ผู้ตั้งอยู่ในสังวรเป็นผู้ไม่สั่งสมกิเลสทั้งปวง หน้า 735

ประโยชน์แห่งการบัญญัติสิกขาบท ๑๐ อย่าง หน้า 737

อธิบายประโยชน์การบัญญัติสิกขาบท ๑๐ อย่าง หน้า 737

พระสัทธรรม ๓ อย่าง หน้า 740

ทรงบัญญัติปฐมปาราชิกสิกขาบท หน้า 741

อนุบัญญัติปฐมปาราชิกเรื่องที่หนึ่ง

เรื่องลิงตัวเมีย หน้า 743

ลิงตัวเมียแสดงของลับแก่ภิกษุอาคันตุกะ หน้า 744

สิกขาบททั้งหมดมีโทษ ๒ อย่าง หน้า 745

อนุบัญญัติปฐมปาราชิกเรื่องที่สอง

เรื่องภิกษุชาววัชชีบุตร หน้า 747

เรื่องทรงห้ามมิให้ภิกษุชาววัชชีบุตรบรรพชา ฯ หน้า 749

วินัย ๔ อย่าง หน้า 751

อรรถาธิบายวินัย ๔ อย่าง หน้า 751

วิธีสอบสวนสูตรและสุตตานุโลมเป็นต้น หน้า 753

พระวินัยธรประกอบด้วยลักษณะ ๓ อย่าง หน้า 757

อรรถาธิบายลักษณะ ๓ ของพระวินัยธร หน้า 757

ลำดับอาจารย์ตั้งแต่พระอุบาลีเถระเป็นต้นมา หน้า 759

พระวินัยธรจะวินิจฉัยอธิกรณ์ควรตรวจดูฐานะ ๖ อย่าง หน้า 760

อรรถาธิบายฐานะ ๖ อย่าง หน้า 760

วิธีวินิจฉัยอธิกรณ์ หน้า 761

ภิกษุผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์กรรมฐานย่อมไม่เจริญ หน้า 763

อรรถาธิบายสิกขาบทวิภังค์ปฐมปาราชิก หน้า 765

อรรถาธิบายความหมายแห่งภิกษุศัพท์เป็นต้น หน้า 767

วิธีอุปสมบทมี ๘ อย่าง หน้า 771

อรรถาธิบายอุปสัมปทา ๘ อย่าง หน้า 771

อรรถาธิบายอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา หน้า 776

อรรถาธิบายบทว่าสิกขาและสาชีพ หน้า 778

อรรถาธิบายวิธีลาสิกขา หน้า 779

ภิกษุตะโกนบอกลาสิกขาก็ได้ หน้า 789

การบอกลาสิกขาระบุพระนามที่เป็นไวพจน์พระพุทธเจ้า หน้า 792

วิธีลาสิกขาระบุคำไวพจน์พระธรรม หน้า 793

วิธีลาสิกขาระบุคำไวพจน์พระสงฆ์ หน้า 795

อรรถาธิบายวิธีบอกลาสิกขาทั่วไป หน้า 796

ลาสิกขากับคนวิกลจริตเป็นต้นไม่เป็นอันบอกลา หน้า 808

อรรถาธิบายความหมายเมถุนธรรม หน้า 812

สตรีมีนิมิตได้ฐาน ๕ ปุริสนิมิตได้ฐาน ๖ หน้า 814

ภิกษุเมื่อจะพรรณนาเมถุนกถาควรระลึก ฯ หน้า 815

อนุบัญญัติวาร

กำหนดสัตว์ที่เป็นวัตถุแห่งปาราชิกเป็นต้น หน้า 816

อรรถาธิบายประเภทสัตว์ต่างๆ หน้า 816

ปาราชิกศัพท์เป็นไปในสิกขาบทเป็นต้น หน้า 817

อรรถาธิบายความในพระคาถา หน้า 819

มรรคที่เป็นวัตถุแห่งปาราชิกรวม ๓๐ หน้า 820

ภิกษุถูกผู้อื่นข่มขืนแล้วยินดีเป็นปาราชิก หน้า 821

กถาว่าด้วยจตุกกะ ๒๖๙ ที่เหลือ หน้า 824

มรรคของมนุษย์ผู้หญิงมี ๒๗ จตุกกะ หน้า 825

เรื่องพระวินัยธร ๒ รูป หน้า 826

เรื่องอันเตวาสิกถามปัญหาวินัยพระเถระ หน้า 826

กถาว่าด้วยองคชาตมีเครื่องลาดและไม่มี หน้า 831

เรื่องพระราชาและโจรผู้เป็นข้าศึก ฯ หน้า 833

ข้าศึกสังหารภิกษุเซ่นไหว้เทวดา ฯ หน้า 834

เรื่องภิกษุเสพเมถุนธรรมทางมรรค ฯ หน้า 835

ภิกษุเสพเมถุนธรรมในทวารของภิกษุ ฯ หน้า 835

ภิกษุผู้ถูกปฏิบัติผิดไม่รู้ ไม่ยินดี ฯ หน้า 836

ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุบ้าและมีจิตฟุ้งซ่าน หน้า 837

สมุฏฐานที่เกิดแห่งอาบัติมี ๖ อย่าง หน้า 839

อธิบายสิกขาบทที่เป็นสจิตตกะและอจิตตกะ หน้า 839

อธิบายสิกขาบทที่เป็นกายกรรมเป็นต้น หน้า 840

วินีตวัตถุปฐมปาราชิก

อุทานคาถา หน้า 842

เรื่องนันทมาณพเสพเมถุนธรรม ฯ หน้า 844

เรื่องเพศชายกลับเป็นเพศหญิง หน้า 846

ต้องอาบัติเพราะนอนร่วมกับภิกษุผู้มีเพศกลับ หน้า 847

วิธีปฏิบัติกับภิกษุณีผู้มีเพศกลับ หน้า 848

วิธีปฏิบัติในเครื่องบริขารต่างๆ หน้า 849

ขาดประเคนเพราะเหตุ ๗ อย่าง หน้า 850

เรื่องสตรีรักสวาทพระภิกษุสุนทร หน้า 853

ภิกษุเสพเมถุนธรรมทางปากศพ หน้า 853

ภิกษุเสพเมถุนธรรมในหญิงเปรตเป็นต้น หน้า 854

เรื่องภิกษุอรหันต์ชาวภัททิยนครจำวัดหลับ หน้า 856

เรื่องภิกษุเปิดประตูจำวัด หน้า 856

เรื่องภิกษุฝันได้เสพเมถุนธรรม หน้า 861

ประเภทธรรม หน้า 864


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 1]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 690

[เรื่องพระสุทินน์]

(๑) เบื้องหน้าแต่เวรัญชกัณฑ์นี้ไป คําว่า เตน โข ปน สมเยนเวสาลิยาอวิทูเร เป็นต้น มีเนื้อความกระจ่างโดยมาก. เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจะงดการพรรณนาตามลําดับบทเสีย จักพรรณนาแต่เฉพาะบทที่มีคําสมควรจะกล่าวเท่านั้น.

[อรรถาธิบายชื่อบ้านและชื่อบุตรเศรษฐี]

บ้านที่ได้ชื่อว่า กลันทคาม ก็ด้วยอํานาจแห่งกระแตทั้งหลาย ที่เรียกว่ากลันทกะ.

บทว่า กลนฺทปุตฺโต ความว่า (สุทินน์) เป็นบุตรของกลันเศรษฐีผู้มีทรัพย์ ๔๐ โกฏิซึ่งได้ชื่อด้วยอํานาจแห่งบ้าน ที่พระราชทานสมมติให้.ก็เพราะมนุษย์แม้เหล่าอื่น ที่มีชื่อว่ากลันทะ มีอยู่ในบ้านตําบลนั้น,ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า กลันทบุตรแล้วกล่าวย้ำไว้อีกว่า เศรษฐีบุตร.

บทว่า สมฺพหุเลหิ แปลว่า มากหลาย.

บทว่า สหายเกหิ ความว่า ชนผู้ชื่อว่าสหายเพราะอรรถว่าไปร่วมกัน คือเข้าถึงสุขและทุกข์ด้วยกัน. สหายนั่นเอง ชื่อว่า สหายกา. (สุทินน์กลันทบุตรได้ไปเมืองไพศาลี) กับด้วยสหายเหล่านั้น.

บทว่า สทฺธึแปลว่า เป็นพวกเดียวกัน


(๑) ต่อจากนี้ไป ถ้าเป็นประโยคสนามหลวง เป็นสํานวนแปลของเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน อุฎฺายี ป.ธ. ๙) วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นส่วนมาก

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 691

สองบทว่า เกนจิเทวกรณีเยน ความว่าด้วยกิจบางอย่างมีประกอบการซื้อขายสินค้า การให้กู้ยืม และการทวงหนี้เป็นต้น. อาจารย์บางพวก กล่าวว่าด้วยกิจคือการเล่นกีฬาอันเป็นนักขัตฤกษ์ในเดือนกัตติกมาส (คือเดือน ๑๒) ดังนี้บ้าง.จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จไปถึงนครไพศาลีในชุณหปักข์ (ข้างขึ้น) แห่งเดือนกัตติมาส. อนึ่ง ในนครไพศาลีนี้มีการเล่นกีฬาอันเป็นนักขัตฤกษ์ประจําเดือนกัตติกมาสอย่างโอฬาร, สุทินน์กลันทบุตรนั้น พึงทราบว่าไป (ยังนครไพศาลี) เพื่อเล่นกีฬานักขัตฤกษ์นั้น.

[สุทินน์กลันทบุตรไปเพื่อฟังธรรม]

บทว่า อทฺทสา โข ความว่า สุทินน์กลันทบุตรนั้น ได้เห็นอย่างไร ได้เห็นอย่างนี้คือ ได้ยินว่า สุทินน์นั้น ได้เห็นมหาชนผู้บริโภคอาหารเช้าเสร็จแล้ว ห่มผ้าขาว มีมือถือดอกไม้ของหอม และเครื่องลูบไล้ ออกจากพระนครไป เพื่อเฝ้าพระพุทธเจ้า และเพื่อฟังธรรม จึงถามว่า พวกท่านจะไปที่ไหนกัน

มหาชน ตอบว่าจะไปเพื่อเฝ้าพระพุทธเจ้า และเพื่อฟังธรรม

สุทินน์ กล่าวว่าถ้าเช่นนั้น แม้ข้าพเจ้าก็จะไป แล้วไปได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้อันบริษัททั้ง ๔ แวดล้อมแล้ว ทรงแสดงธรรมอยู่ ด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะดังเสียงพรหม เพราะเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีเถระจึงได้กล่าวไว้ว่า สุทินน์กลันทบุตรได้แลเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้อันบริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมแล้ว ประทับนั่งแสดงธรรมอยู่

บทว่า ทิสฺวานสฺส ตัดบทเป็น ทิสฺวาน อสฺส แปลว่า เพราะได้เห็น (ความรําพึงนี้ได้มี) แก่เขา

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 692

บทว่า เอตทโหสิ ความว่า ความรําพึงนี้ ได้มีแก่สุทินน์ ผู้เป็นภัพกุลบุตร (กุลบุตรผู้ควรตรัสรู้) ผู้อันปุพเพกตปุญญตาตักเตือนอยู่

ถามว่า ความรําพึงนี้ ได้มีแล้วอย่างไร

แก้ว่า ได้มีว่า ไฉนหนอ เราจะพึงได้ฟังธรรมบ้าง

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยนฺนูน นั้นเป็นบทแสดงถึงความรําพึง

ได้ยินว่า สุทินน์นั้น ได้เกิดความรําพึงขึ้นอย่างนี้ว่า บริษัทนี้มีจิตดิ่งลงเป็นหนึ่ง ฟังธรรมใดอยู่, โอหนอ! แม้เราก็พึงฟังธรรมนั้น

หากจะมีอาจารย์ผู้โจทก์ท้วงว่า ในคําว่าครั้งนั้นแล สุทินน์กลันทบุตรเข้าไปโดยทางบริษัทนั้น นี้ เพราะเหตุไร ท่านพระอุบาลีเถระ จึงไม่กล่าวไว้ว่า เข้าไปเฝ้าโดยทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ แต่กลับกล่าวว่าเข้าไปโดยทางที่บริษัทนั้นอยู่

เฉลยว่า จริงอยู่ บริษัทหมู่ใหญ่ มีเหล่าชนผู้หรูหรา นั่งห้อมล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่แล้ว, สุทินน์กลันทบุตรนี้ มาภายหลังเขา ไม่สามารถจะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าในบริษัทนั้นได้, แต่ก็สามารถจะเข้าไปนั่งในที่แห่งหนึ่งใกล้บริษัทได้, เพราะฉะนั้น สุทินน์กลันทบุตรนั้น ก็เข้าไปหาบริษัทนั้นนั่นแล. เพราะเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีเถระ จึงได้กล่าวว่า ครั้งนั้นแลสุทินน์กลันทบุตรเข้าไปโดยทางที่บริษัทนั้นอยู่ (๑)

[สุทินน์กลันทบุตรได้ฟังธรรมแล้วคิดจะบวช]

หลายบทว่า เอกมนฺตํ นิสินฺนสฺส โข สุทินฺนสฺส กลนฺทปุตฺตสฺส เอตทโหสิ ความว่า ความรําพึงนี้ หาได้มีแก่สุทินน์กลันทบุตรผู้สักว่านั่งแล้วเท่านั้นไม่, โดยที่แท้ ก็ความรําพึงนั้น ได้มีแก่สุทินน์กลันทบุตร


(๑) วิ. มหา. ๑/๑๙

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 693

นั้น ผู้นั่งแล้ว ณ ที่สมควรข้างหนึ่งนั่นแล เพราะได้ฟังธรรมกถาหน่อยหนึ่งซึ่งประกอบด้วยไตรสิกขา ของพระผู้มีพระภาคเจ้า, เพราะเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีเถระจึงกล่าวไว้ว่า ความรําพึงนี้ ได้มีแก่สุทินน์กลันทบุตรผู้นั่งอยู่แล้ว ณ ที่สมควรข้างหนึ่งแล.

ถามว่า ความรําพึงนี้ ได้มีแล้วอย่างไร?

แก้ว่า ได้มีว่า ด้วยอาการใดๆ แล (เราจึงจะรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว) ดังนี้เป็นต้น.

ในคําว่า ยถา เป็นต้นนั้น มีการกล่าวโดยสังเขปดังต่อไปนี้:- เราแลจะรู้ถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วด้วยอาการใดๆ , ความรําพึงอย่างนี้ ย่อมมีแก่เราผู้ใคร่ครวญอยู่ด้วยอาการนั้นๆ , พรหมจรรย์คือไตรสิกขา ชื่อว่าอันบุคคล (ผู้อยู่ครองเรือน) จะพึงประพฤติให้บริบูรณ์โดยส่วนเดียว เพราะจะต้องทํามิให้ขาดเป็นท่อน แม้ตลอดวันหนึ่ง แล้วพึงให้ลุถึงจริมกจิต (๑) (คือจิตที่เคลื่อนจากภพ) และชื่อว่าอันบุคคล (ผู้ยังอยู่ครองเรือน) จะพึงประพฤติให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว เพราะจะต้องทํามิให้เศร้าหมอง ด้วยมลทินคือกิเลสแม้ตลอดวันหนึ่ง แล้วพึงให้ลุถึง จริมกจิต (๒) (คือจิตที่เคลื่อนจากภพ)

บทว่า สงฺขลิขิตํ ความว่า จะพึงปฏิบัติให้เป็นดุจสังข์ที่ขัดเกลาแล้วคือให้มีส่วนเปรียบด้วยสังข์ที่ชําระล้างแล้ว.

หลายบทว่า อิทํ น สุกรํ อคารํ อชฺณาวสตา ความว่า อันบุคคลผู้ยังอยู่ในท่ามกลางแห่งเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์นี้ให้บริบูรณ์โดยส่วนเดียว ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่ขัดเกลาแล้ว เป็นของทําไม่ได้


(๑-๒) จริมกจิต หมายถึง จุติจิต คือจิตเคลื่อนจากภพ หมายถึงจนดับชีวิต. ในฎีกาสารัตถทีปนี๒/๔.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 694

ง่าย ไฉนหนอ! เราจะพึงปลงผมและหนวด ครองคือนุ่งห่มผ้ากาสาวะ เพราะเป็นของย้อมแล้วด้วยรสแห่งน้ำฝาด อันเป็นของสมควรแก่บรรพชิต ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ แล้วออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.

ก็เพราะกสิกรรมและพาณิชยกรรมเป็นต้น ที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เรือน ท่านเรียกว่าอคาริยะ ในบทว่าอนคาริยํ นี้. และกสิกรรมพาณิชยกรรมเป็นต้นนั้น ย่อมไม่มีในบรรพชา เพราะเหตุนั้น บรรพชาบัณฑิตพึงรู้ว่าอนคาริยา. ซึ่งการบรรพชาที่ไม่มีเรือนนั้น.

บทว่า ปพฺพเชยฺยํ แปลว่า พึงเข้าถึง.

[สุทินน์กลันทบุตรทูลขอบรรพชากะพระผู้มีพระภาคเจ้า]

หลายบทว่า อจิรวุฏฺิตาย ปริสาย เยน ภควา เตนุปสงฺกมิความว่า สุทินน์ เมื่อบริษัทยังไม่ลุกไป ก็ยังไม่ได้ทูลขอบรรพชากะพระผู้มี-พระภาคเจ้า. เพราะเหตุไร? เพราะในบริษัทนั้น ญาติสาโลหิต มิตรและอํามาตย์ของสุทินน์นั้น มีอยู่มาก, พวกญาติเป็นต้นเหล่านั้น จะพึงพูดว่าท่านเป็นบุตรน้อยคนเดียวของมารดาบิดา, ท่านไม่ได้เพื่อจะบวช ดังนี้แล้วพึงจับแม้ที่แขนฉุดออกไป, ในเวลานั้น สุทินน์ คิดว่า อันตราย จักมีแก่บรรพชา จึงลุกขึ้นเดินไปได้หน่อยหนึ่ง พร้อมกับบริษัทนั่นเองแล้วหวนกลับมาอีก ด้วยการอ้างเลศแห่งสรีรกิจบางอย่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วทูลของบรรพชา. เพราะเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีเถระจึงกล่าวไว้ว่า ครั้งนั้นแล สุทินน์กลันทบุตร เมื่อบริษัทลุกไปแล้วไม่นานนักก็เข้าเฝ้า โดยทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่, ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่งอยู่ ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง. สุทินน์กลันทบุตร นั่งอยู่ ณ ที่สมควรข้างหนึ่งแล้วแลได้กราบทูลคํานี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 695

ด้วยอาการใดๆ ข้าพระพุทธเจ้า จึงจะรู้ถึงธรรมที่พระองค์ทรงแสดงแล้วอันบุคคลผู้ยังอยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์โดยส่วนเดียวให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่ขัดเกลาแล้ว เป็นของทําไม่ได้ง่าย, ข้าพระพุทธเจ้าปรารถนาจะปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสวะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต, ของพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดให้ข้าพระพุทธเจ้าบวชเถิดพระเจ้าข้า (๑)

ก็เพราะจําเดิมแต่ราหุลกุมารบรรพชามา พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ไม่ทรงบวชให้บุตรผู้ที่มารดาบิดาไม่อนุญาต. เพราะฉะนั้น จึงตรัสถามสุทินน์นั้นว่าดูก่อนสุทินน์! ก็เธออันมารดาบิดาอนุญาตให้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้วหรือ (๒)

เบื้องหน้าแต่พระพุทธดํารัสนี้ไป บัณฑิตพึงทราบเนื้อความไปตามแนวพระบาลีนั่นแล อย่างนี้ในบทว่า ตํ กรณียํ ตีเรตฺวา (๓) นี้. (สุทินน์กลันทบุตรนั้น) ให้กรณียกิจนั้นเสร็จลง ด้วยการทอดทิ้งธุระนั่นเอง. จริงอยู่น้ำใจของสุทินน์กลันทบุตร ผู้มีฉันทะแรงกล้าในการบรรพชา หาได้น้อมไปในธุระกิจทั้งหลายมีประกอบการซื้อขายสินค้า การให้กู้ยืมและทวงหนี้เป็นต้นหรือในการเล่นกีฬานักขัตฤกษ์ไม่.

[มารดาบิดาไม่อนุญาตให้สุทินน์บวช]

ก็ในบทว่า อมฺม ตาต นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :- สุทินน์กลันทบุตรเรียกมารดาว่าอมฺม แม่ (และ) เรียกบิดาว่า ตาต พ่อ.

สองบทว่า ตฺวํ โขสิ ตัดบทเป็น ตฺวํ โข อสิ แปลว่า (ลูกสุทินน์) เจ้าเท่านั้นแล เป็น ... .


๑ - ๒ - ๓. วิ. มหา. ๑/๒๐.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 696

บทว่า เอกปุตฺตโก ความว่า เป็นบุตรคนเดียวแท้ๆ คือพี่ชายหรือน้องชายคนอื่นของเจ้าไม่มี.

อนึ่ง ในบทว่า เอกปุตฺตโก นี้ เมื่อมารดาบิดาควรจะกล่าวว่าเอกปุตฺโต แต่กล่าวว่า เอกปุตฺตโกก็ด้วยอํานาจความเอ็นดู.

บทว่า ปิโย แปลว่า ผู้ให้เกิดปีติ.บทว่า มนาโป แปลว่า ผู้เจริญใจ.

บทว่า สุเขธิโต แปลว่า ผู้รุ่งเรืองมาด้วยความสุข. อธิบายว่าผู้เจริญมาด้วยความสุข.

บทว่า สุขปริหโฏ ความว่า ผู้อันเหล่าชนประคบประหงมมาด้วยความสุขคือตั้งแต่เวลาเกิดมาแล้ว ก็มีพี่เลี้ยงนางนมทั้งหลายผลัดเปลี่ยนตักกันอุ้มทรงไว้ เล่นอยู่ด้วยสิ่งของเครื่องเล่นในเวลายังเป็นเด็กเล็กๆ มีม้าและรถเป็นต้น อันพี่เลี้ยงเป็นต้นให้บริโภคโภชนาหารที่มีรสอร่อยดี ชื่อว่าผู้อันเหล่าชนประคบประหงมมาด้วยความสุข.

หลายบทว่า น ตฺวํ ตาต สุทินฺน กิฺจิ ทุกฺขสฺส ชานาสิความว่า แนะลูกสุทินน์ เจ้าย่อมไม่รู้ส่วนเลี้ยวแห่งทุกข์อะไรๆ แม้เพียงเล็กน้อยเลย. อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า เจ้าย่อมไม่ได้เสวยอะไรๆ ด้วยความทุกข์คําว่า ทุกฺขสฺส เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถตติยาวิภัตติ. ก็ความรู้เป็นไปในอรรถคือความเสวย.

อีกอย่างหนึ่งอธิบายว่า เจ้าย่อมระลึกถึงทุกข์อะไรๆ ไม่ได้ . คําว่าทุกฺขสฺส นี้เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ลงในอรรถทุติยาวิภัตติ. ก็ความรู้เป็นไปในอรรถคือความระลึก.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 697

แม้ในวิกัปปทั้งสอง พึงเห็นการลบวิภัตติที่เสมอกันแห่งบทเบื้องต้นด้วยบทเบื้องปลายเสีย. คําถามที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดนั้น ผู้ศึกษาควรทราบตามแนวคัมภีร์ศัพทศาสตร์.

หลายบทว่า มรเณนปิ มยนฺเต อกามกา วินา ภวิสฺสามความว่า แม้ถ้าเมื่อเราทั้งสอง ยังมีชีวิตอยู่ เจ้าจะพึงตายไซร้, แม้ด้วยความตายของเจ้านั้น เราทั้งสอง ก็ไม่ต้องการ คือไม่ปรารถนา ชื่อว่าจักไม่ยอมเว้น (ให้เจ้าตาย) ตามความพอใจของตน, อธิบายว่า เราทั้งสองจักประสบความพลัดพรากเจ้าไม่ได้.

หลายบทว่า กึ ปน มยํ ตํ ความว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็เหตุอะไรเล่า จักเป็นเหตุให้เราทั้งสองอนุญาตให้เจ้าผู้ยังมีชีวิตอยู่ (ออกบวชเป็นบรรพชิต) .

อีกอย่างหนึ่ง ในบทว่า กึ ปน มยํ ตํ นี้ พึงเห็นใจความอย่างนี้ว่า ก็เพราะเหตุไรเล่า เราทั้งสอง จึงจักยอมอนุญาตให้เจ้าผู้ยังมีชีวิตอยู่.

บทว่า ตตฺเถว ความว่า (สุทินน์กลันทบุตรนั้น นอนลง) ในสถานที่ที่เขายืนอยู่ซึ่งมารดาบิดาไม่อนุญาตให้เขาบวชนั้นนั่นเอง

บทว่า อนนฺตรหิตาย ความว่า บนฟื้นที่อันมิได้ลาดด้วยเครื่องปูลาดอะไรๆ

บทว่า ปริจาเรหิ ความว่า เจ้าจงให้พวกนักขับร้องนักเต้นรําและนักฟ้อนเป็นต้น บํารุงบําเรอเฉพาะตนแล้ว จงให้อินทรีย์ (คือร่างกายทุกส่วน) เที่ยวไป คือให้สัญจรไปตามสบายร่วมกับสหายทั้งหลาย ในหมู่นักขับร้องเป็นต้นเหล่านั้น อธิบายว่า เจ้าจงนํานักขับร้องเป็นต้น เข้ามาทางนี้และทางนี้เถิด

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 698

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปริจาเรหิ ความว่า เจ้าจงให้พวกนักขับร้องนักเต้นรําและนักฟ้อนเป็นต้น บํารุงบําเรอเฉพาะตนแล้ว จงเล่น คือจงเข้าไปสมาคม ได้แก่จงรื่นรมย์ร่วมกับสหายทั้งหลายเถิด, มีคําอธิบายไว้ว่า จงเล่นกีฬาเถิด ดังนี้บ้าง.

สองบทว่า กาเม ปริภุฺชนฺโต ความว่า เจ้าจงบริโภคโภคทรัพย์ทั้งหลายร่วมกับบุตรและภรรยาของตนเถิด.

สองบทว่า ปุฺานิ กโรนฺโต ความว่า เจ้าจงปรารภพระพุทธพระธรรม และ พระสงฆ์แล้ว บําเพ็ญกุศลธรรมทั้งหลายอันเป็นเครื่องชําระทางสุคติให้บริสุทธิ์ด้วยดี มีการเพิ่มให้ทานเป็นต้นเถิด.

สองบทว่า ตุณฺหี อโหสิ ความว่า สุทินน์กลันทบุตร เพื่อตัดความเกี่ยวข้องด้วยการพูดวาจา จึงได้งดการสนทนาปราศรัยเสีย.

[สหายไปห้ามไม่ให้สุทินน์บวชไม่สําเร็จ]

คราวนั้น มารดาบิดาของสุทินน์ พูด (เล้าโลม) ถึง ๓ ครั้ง เมื่อไม่ได้แม้เพียงคําตอบ จึงสั่งให้เรียกพวกสหาย (ของเขา) มาแล้วสั่งว่า สุทิ-นน์ผู้เป็นสหายของพวกเธอนั้น มีความประสงค์จะบวช พวกเธอจงช่วยห้ามเขาด้วย. แม้สหายเหล่านั้นเข้าไปหาเขาแล้วก็ได้พูด (อ้อนวอน) ถึง ๓ ครั้งแต่สุทินน์ก็ได้นิ่งเงียบแม้ต่อ (หน้า) สหายเหล่านั้น. เพราะเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีเถระ จึงได้กล่าวไว้ว่า อถโข สุทินฺนนฺส กลฺนทปุตฺตสฺส สหายกา ฯเปฯ ตุณฺหี อโหสิ (๑)

[สหายไปขออนุญาตมารดาบิดาให้สุทินน์บวช]

ครั้งนั้น พวกสหายของสุทินน์นั้น ได้มีความรําพึงดังนี้ว่า หากว่าสุทินน์เมื่อไม่ได้บวช จักตาย, จักไม่มีคุณอะไร, แต่มารดาบิดา จักได้เห็นเขาผู้บวชแล้วเป็นครั้งคราว, ถึงพวกเราจักได้เห็น, อนึ่ง ขึ้นชื่อว่าการ


(๑) วิ.มหา. ๑/๒๓ - ๔.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 699

บวชนั่น เป็นภาระที่หนัก, ผู้บวชจะต้องถือบาตรเดินเที่ยวบิณฑบาตทุกวันๆ ,พรหมจรรย์ มีการนอนหนเดียว ฉันหนเดียวเป็นกิจที่ทําได้ยากอย่างยิ่ง, และสุทินน์นี้เป็นผู้ละเอียดอ่อน เป็นชาติชนชาวเมือง, เขา เมื่อไม่สามารถจะประพฤติพรหมจรรย์นั้นได้ ก็จักกลับมาที่เรือนนี้อีกที่เดียว, เอาเถิด พวกเรา จักขอให้มารดาบิดาของเขาอนุญาตให้บวช. สหายเหล่านั้น ก็ได้ทําเหมือนอย่างนั้นแล้ว.

[มารดาบิดาอนุญาตให้สุทินน์บุตรชายบวช]

ฝ่ายมารดาบิดา ก็ได้อนุญาตให้เขาบวช. เพราะเหตุนั้น ท่านพระอุ-บาลีเถระ จึงได้กล่าวไว้ว่าอถโข สุทินฺนสฺส กลนฺทปุตฺตสฺส สหายกาเยน สุทินฺนสฺส กลนฺทปุตฺตสฺส มาตาปิตโร ฯเปฯ อนุฺาโตสิ มาตาปิตูหิอคารสฺมา อนคาริยํ ปพฺพชฺชาย. (๑)

บทว่า หฏโ แปลว่าผู้ยินดีแล้ว

บทว่า อุทคฺโค แปลว่า ผู้มีกายและจิตฟูขึ้นด้วยอํานาจปีติ.

บทว่า กติปาหํ แปลว่า สิ้นวันเล็กน้อย.

สองบทว่า พลํ คาเหตฺวา ความว่า สุทินน์กลันทบุตรนั้นเมื่อบริโภคโภชนาหารที่สบาย และบริหารร่างกายด้วยกิจมีการอบและอาบน้ำเป็นต้นให้เกิดกําลังกายแล้ว ไหว้มารดาบิดา ลาเครือญาติผู้มีหน้าเต็มด้วยน้ำตาแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจนถึงประทับ ฯลฯ ได้กราบทูลคํานี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธเจ้าข้า! ขอองค์ได้โปรดให้ข้าพระพุทธเจ้าบวชเถิด พระพุทธเจ้าข้า (๒)


(๑) วิ. มหา. ๑/๒๔.

(๒) วิ. มหา ๑/๒๕

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 700

[พระพุทธเจ้ารับสั่งภิกษุบวชให้สุทินน์กลันทบุตร]

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ซึ่งยืนเฝ้าอยู่ในที่ใกล้มาว่า ดูก่อนภิกษุ! ถ้าเช่นนั้น เธอจงให้สุทินน์บรรพชาและอุปสมบทเถิด.

ภิกษุรูปนั้น ทูลรับแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ดีละ พระพุทธเจ้าข้า!แล้ว ได้สุทินน์กลันทบุตร ที่พระชินเจ้าทรงประทานเป็นสัทธิวิหาริก ให้บรรพชาและอุปสมบทแล้ว. เพราะเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีเถระ จึงกล่าวไว้ว่าสุทินน์กลันทบุตรได้รับบรรพชาอุปสมบทในสํานักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว (๑)

อนึ่ง ยกเว้นในอธิการว่าด้วยท่านสุทินน์ได้รับบรรพชาอุปสมบทนี้เสียการบรรพชาและอุปสมบท พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลาย ก็ได้กล่าวไว้แล้วในอรรถกถาทั้งปวง. ส่วนข้าพเจ้าจักกล่าว (บรรพชาและอุปสมบทนั้น) ในขันธกะด้วยอํานาจแห่งพระบาลีตามที่ตั้งไว้แล้วนั้นแล และหาใช่จักกล่าวแต่บรรพชาและอุปสมบทในขันธกะอย่างเดียวเท่านั้นไม่คําแม้อื่นใด ที่ควรกล่าวในขันธกะก็ดี ในคัมภีร์บริวารก็ดี อันพระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้แล้วในวิภังค์ข้าพเจ้าจักกล่าวคํานั้นไว้ในที่นั้นๆ แล ทั้งหมด. แท้จริง เมื่อข้าพเจ้ากล่าวตามที่อธิบายมาอย่างนี้ การพรรณนา ย่อมเป็นอันข้าพเจ้าทําแล้วโดยลําดับแห่งพระบาลีทีเดียว. เพราะเหตุนี้ นักศึกษาทั้งหลาย ผู้มีความต้องการด้วยการวินิจฉัยนั้นๆ ตรวจดูวินัยสังวรรณนานี้ โดยลําดับพระบาลีนั้นแลก็จักรู้การวินิจฉัยที่ยังเหลือได้ดี ฉะนี้แล.

บทว่า อจิรูปสมฺปนฺโน คือท่านสุทินน์นั้น เป็นผู้อุปสมบทแล้วไม่นาน มีคําอธิบายว่าโดยกาลไม่นานนัก แต่อุปสมบทมานั่นเอง.


(๑) วิ. มหา. ๑/๒๕.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 701

บทว่า เอวรูเป คือมีส่วนอย่างนี้ ได้แก่ มีชาติอย่างนี้.

บทว่า ธุตคุเณ ได้แก่คุณอันเป็นเครื่องกําจัดกิเลส.

สองบทว่า สมาทายวตฺตติ ความว่า (ท่านสุทินน์นั้น) สมาทานคือรับเอา ประพฤติ เที่ยวไป อยู่.

สองบทว่า อารฺิโก โหติ ความว่า ห้ามเสนาสนะแดนบ้านเสียแล้ว เป็นผู้ชอบอยู่ป่าเป็นวัตร ด้วยอํานาจสมาทานอารัญญิกธุดงค์.

บทว่า ปิณฺฑปาติโก ความว่า ห้ามภัต ๑๔ อย่าง ด้วยการห้ามอติเรกลาภเสียแล้ว เป็นผู้ชอบเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ด้วยอํานาจสมาทานบิณฑปาติยธุดงค์.

บทว่า ปํ สุกูลิโก ความว่า ห้ามคฤหบดีจีวรเสียแล้ว เป็นผู้ชอบทรงผ้าบังสกุลเป็นวัตร ด้วยอํานาจสมาทานปังสุกูลิกธุดงค์.

บทว่า สปทานจาริโก ความว่า ห้ามการเที่ยวโลเลเสียแล้ว เป็นผู้ชอบเที่ยวตามลําดับตรอกเป็นวัตรคือเข้าไปเพื่อภิกษาตามลําดับเรือน ด้วยอํานาจสมาทานสปทานจาริยธุดงค์.

บทว่า วชฺชิคามํ ความว่า (ท่านสุทินน์นั้นเข้าอาศัย) หมู่บ้านชาววัชชีหรือหมู่บ้านในแคว้นวัชชี.

[ญาติของท่านสุทินน์ที่เมืองไพศาลีมีสมบัติมาก]

ในคําเป็นต้นว่า อฑฺฒา มหทฺธนา มีวินิจฉัยดังนี้:- (ญาติทั้งหลายของเราในเมืองไพศาลี) ชื่อว่าเป็นผู้มั่งคั่ง เพราะมีเครื่องอุปโภคและอุปกรณ์แห่งเครื่องบริโภคมาก. มีคําอธิบายว่า จริงอยู่ เครื่องอุปโภค และอุปกรณ์แห่งเครื่องอุปโภค ของญาติเหล่านั้นๆ มีมากคือมีหนาแน่น ทั้งเป็นวัตถุมีสาระ.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 702

ชื่อว่า ผู้มีทรัพย์มาก เพราะมีทรัพย์ที่ฝังไว้มาก.

บทว่า มหาโภโค ชื่อว่าผู้มีโภคะมากเพราะมีโภคะคือวัตถุที่เป็นเสบียง (สําหรับจ่าย) ประจํามาก.

ชื่อว่า ผู้มีทองและเงินมาก เพราะนอกจากเครื่องอุปโภคอย่างอื่นก็ยังมีทองและเงินนั่นแหละมากมาย.

ชื่อว่า ผู้มีอุปกรณ์แห่งทรัพย์เครื่องปลื้มใจมากเพราะอุปกรณ์แห่งทรัพย์เครื่องปลื้มใจ อันเป็นเครื่องประดับ ซึ่งทําความปีติปราโมทย์ให้มีมากมาย. พึงทราบว่า เป็นผู้มีทรัพย์และข้าวเปลือกมากมาย เพราะทรัพย์และข้าวเปลือกอันแลกเปลี่ยนกันด้วยอํานาจการซื้อขาย มีจํานวนมาก.

สองบทว่า เสนาสนํ สํ สาเมตฺวา ความว่า เก็บงําเสนาสนะแล้วอธิบายว่าจัดตั้งเสนาสนะนั้นไว้อย่างเรียบร้อย โดยประการที่เสนาสนะจักไม่เสียหาย.

[ญาตินําภัตตาหารไปถวายท่านสุทินน์ ๖๐ ถาด]

สองบทว่า สฏฺิมตฺเต ถาลิปาเก ความว่า (ญาติทั้งหลายของท่านสุทินน์นําภัตตาหารไปถวายท่านสุทินน์) มีประมาณ ๖๐ หม้อโดยกําหนดแห่งการคํานวณ.

ก็บรรดาภัต ๖๐ หม้อนี้ เฉพาะหม้อหนึ่งๆ จุภัตพอแก่ภิกษุ ๑๐ รูปภัตแม้ทั้งหมดนั้น ภิกษุ ๖๐๐ รูปพอฉัน.

ในสองบทว่า ภตฺตาภิหารํ อภิสรึสุ นี้มีวิเคราะห์ดังนี้:-อาหารที่ชื่อว่า อภิหาร เพราะอรรถว่าอันบุคคลนําไปเฉพาะ. นําอะไรไป?นําภัตไป. อภิหาร คือภัตนั่นเอง ชื่อภัตตาภิหาร. ซึ่งภัตตาภิหารนั้น

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 703

บทว่า อภิหรึสุความว่า ญาติทั้งหลายนําภัตตาหารไปไว้เฉพาะหน้า.อธิบายว่า ถือเอาแล้ว ได้ไปยังสํานักของท่านพระสุทินน์นั้น.

ถามว่า ภัตนั้น มีประมาณเท่าไร?

แก้ว่า มี ๖๐ หม้อ. เพราะเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีเถระจึงกล่าวไว้ว่าญาติทั้งหลาย นําภัตตาหารมีประมาณ ๖๐ หม้อไปถวายท่านพระสุทินน์. (๑)

สองบทว่า ภิกฺขูนํ วิสฺสชฺเชตฺวา ความว่า ท่านพระสุทินน์นั้นมีความประสงค์จะเที่ยวจาริกไปลําดับตรอกด้วยตนเอง เพราะเป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรอย่างอุกฤษฏ์จึงได้สละ คือถวาย (ภัตตาหารมีประมาณ ๖๐ หม้อนั้น) เพื่อเป็นของฉันแก่ภิกษุทั้งหลาย. จริงอยู่ท่านผู้มีอายุนี้ ใฝ่ใจว่า ภิกษุทั้งหลายจักได้ลาภ และเราก็จักไม่ลําบากด้วยบิณฑบาตแล้วจึงมา เพื่อประโยชน์นั้นนั่นเอง. เพราะฉะนั้น ท่านพระสุทินน์นั้นเมื่อทํากิจที่สมควรแก่การมาของตน จึงได้สละแก่ภิกษุทั้งหลาย ส่วนตนเองก็เข้าไปบิณฑบาต. นางทาสีของพวกญาติ ชื่อญาติทาสี.

[อธิบายเรื่องขนมบูดเน่า]

บทว่า อาภิโทสิกํ ได้แก่ขนมกุมมาสที่เก็บไว้นาน คือล่วงไปได้คืนหนึ่งแล้ว เป็นของบูด.

ในบทว่า อาภิโทสิกํ นั้น มีใจความเฉพาะบทดังต่อไปนี้ :-ขนมกุมมาส ที่ชื่อว่าอภิโทสะเพราะอรรถว่า ถูกโทษคือความบูดครอบงํา. อภิโทสะนั่นเอง ชื่ออาภิโทสิกะ. อีกอย่างหนึ่ง สัญญา คืออาภิโทสิกะนี้ เป็นสัญญาคือชื่อแห่งขนมกุมมาส ที่ล่วงไปได้คืนหนึ่งแล้ว. ซึ่งขนมกุมมาส ชื่ออาภิ-โทสิกะนั้น.


(๑) วิ. มหา. ๑/๒๖.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 704

บทว่า กุมฺมาสํ ได้แก่ ขนมกุมมาส ที่เขาทําด้วยข้าวเหนียว.

สองบทว่า ฉฑฺเฑตุกามา โหติ ความว่า ขนมกุมมาสนั้นเป็นของไม่ควรบริโภค โดยที่สุดแม้พวกทาสและกรรมกร กระทั่งถึงฝูงโค เพราะฉะนั้นนางทาสีจึงมีความมุ่งหมายจะเทขนมกุมมาสนั้นทิ้งเสียภายนอก ดุจเทหยากเยื่อทิ้ง ฉะนั้น

บทว่า สเจ ตํ ตัดบทเป็น สเจ เอตํ แปลว่า ถ้าของนั่น.

พระสุทินน์ เรียกทาสีของญาติว่า แนะน้องหญิง ด้วยอํานาจอริยโวหาร.

บทว่า ฉฑฺฑนียธมฺมํ แปลว่า มีอันจะต้องทิ้งเป็นสภาพ. มีคําอธิบายไว้ว่า แนะน้องหญิง ถ้าของนั่น มีอันจะต้องทิ้งในภายนอกเป็นธรรมดาคือเป็นของที่เขาสละความหวงแหนแล้วไซร้ เธอจงเกลี่ยลงในบาตรของเรานี้เถิด.

ถามว่า ก็บรรพชิตย่อมได้ เพื่อจะพูดอย่างนี้หรือ? ไม่เป็นวิญญัติ (การออกปากขอ) หรือปยุตตวาจา (วาจาพูดขอเกี่ยวด้วยปัจจัย) หรือ?

แก้ว่า ไม่เป็น (ทั้งสองอย่าง)

ถามว่า เพราะเหตุไร จึงไม่เป็น?

แก้ว่า เพราะเป็นของที่เขาสละความหวงแหนแล้ว.

จริงอยู่ จะพูดว่า ท่านจงให้ คือจงนําสิ่งของซึ่งมีอันจะต้องทิ้งเป็นธรรมดา คือเป็นของที่เขาสละความหวงแหนแล้ว ที่พวกเจ้าของไม่มีความเสียดายทั้งหมด มาเกลี่ยลงในบาตรนี้เถิด ดังนี้ก็ควร. จริงอย่างนั้น แม้ท่านพระรัฐบาล ผู้ประพฤติอริยวงศ์อย่างดีเลิศ ก็ได้พูดว่า เธอจงเกลี่ยขนมกุมมาสซึ่งมีอันจะต้องทิ้งเป็นธรรมดาลงในบาตรของเรานี้เถิด. เพราะฉะนั้น ของสิ่งใดมีอันจะต้องเป็นธรรมดาเห็นปานนี้ก็ดี ของสิ่งอื่นมีรากไม้ผลไม้และเภสัชใน

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 705

ป่าเป็นต้น อันไม่มีใครหวงแหนก็ดีภิกษุควรให้นําสิ่งของนั้นทั้งหมด มาแล้วฉันได้ตามสบาย ไม่ควรจะรังเกียจ.

[พระสุทินน์ออกบวชได้ ๘ ปี นางทาสีจําอวัยวะบางส่วนได้]

บทว่า หตฺถานํ ความว่า นางทาสีของญาติ ได้ถือเอาเค้ามือทั้งสองของพระสุทินน์ผู้น้อมบาตรเข้าไปเพื่อรับภิกษา ตั้งแต่ข้อมือไป.

บทว่า ปาทานํ ความว่า นางทาสีของญาติได้ถือเอาเค้าเท้าทั้งสองจําเดิมแต่ชายผ้านุ่งไป.

บทว่า สรสฺส ความว่า เมื่อพระสุทินน์เปล่งวาจาว่าแนะน้องหญิงถ้าของนั้น ดังนี้เป็นต้น นางทาสีของญาติก็จําสุ้มเสียง (ของท่าน) ได้.

สองบทว่า นิมิตฺตํ อคฺคเหสิความว่า นางทาสีของญาติได้ถือเอาคือจําได้ หมายความว่า กําหนดอาการที่ตนเคยสังเกตได้ในคราวที่ท่านยังเป็นคฤหัสถ์.

จริงอยู่ พระสุทินน์บวชในพรรษาที่ ๑๒ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ในพรรษาที่ ๒๐ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าได้เข้าไปบิณฑบาตยังตระกูลญาติตนเองมีพรรษาได้ ๘ ตั้งแต่บวชมา. เพราะเหตุนั้น นางทาสีของญาติคนนั้น เห็นท่านแล้วจึงจําไม่ได้ แต่ถือเอาเค้า (นิมิต) ได้ด้วยประการฉะนี้.

หลายบทว่า สุทินฺนสฺส มาตรํ เอตทโวจความว่า นางทาสีของญาติ ไม่อาจจะพูดคําเป็นต้นว่า ท่านเจ้าขา! ท่านหรือหนอคือพระสุทินน์ผู้เป็นนายของดิฉัน ดังนี้ กับบุตรชายผู้เป็นนาย (ของตน) ซึ่งเข้าบวชแล้วด้วยความเคารพยิ่ง จึงรีบกลับเข้าไปในเรือน แล้วได้แจ้งข่าวนี้กะมารดาของพระสุทินน์.

ศัพท์ว่า ยคฺเฆ เป็นนิบาต ลงในอรรถแห่งคําบอกเล่า

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 706

ศัพท์ว่า เช ที่มีอยู่ในบทว่า สเจ เช สจฺจํ นี้ เป็นนิบาตลงในอรรถแห่งคําร้องเรียก. ความจริง ชนทั้งหลายในประเทศนั้นย่อมร้องเรียกหญิงสาวใช้ ด้วยภาษาอย่างนั้น. เพราะเหตุนั้น ในคําว่า สเจ เช สจฺจํนี้ พึงทราบใจความอย่างนี้ว่า แม่ทาสีผู้เจริญ! ถ้าเจ้าพูดจริงไซร้.

[พวกบรรพชิตไม่นั่งฉันในที่ไม่สมควรเหมือนคนขอทาน]

สองบทว่า อฺตรํ กุฑฺฑมูลํ ความว่า ได้ยินว่า ในประเทศนั้นในเรือนของเหล่าชนผู้เป็นทานบดี มีหอฉันไว้, และในหอฉันนี้เขาก็จัดปูอาสนะไว้ทั้งได้จัดตั้งน้ำฉันและน้ำส้มไว้พร้อม. บรรพชิตทั้งหลาย ครั้นเที่ยวไปบิณฑบาตแล้ว (กลับมา) นั่งฉันที่หอฉันนั้น ถ้าปรารถนาจะรับเอาภัตตาหารที่มีอยู่ ก็รับเอาของที่ยังมีอยู่ แม้ของเหล่าชนผู้เป็นทานบดีไป.เพราะฉะนั้น แม้สถานที่นั้น ควรทราบว่า ได้แก่พะไลฝาเรือนแห่งใดแห่งหนึ่งใกล้หอฉันนี้ แห่งตระกูลใดตระกูลหนึ่ง. จริงอยู่ บรรพชิตทั้งหลาย ย่อมไม่นั่งฉันในสถานที่ไม่สมควร เหมือนพวกมนุษย์กําพร้าฉะนั้นแล.

ศัพท์ว่า อตฺถิ ที่มีอยู่ในบทว่า อตฺถินาม ตาต นี้เป็นนิบาตลงในอรรถว่า มีอยู่, และศัพท์ว่า นาม (ที่มีอยู่ในบทนั้น) ก็เป็นนิบาตลงในอรรถแห่งคําถาม และในอรรถแห่งความดูหมิ่น.

[บิดาติเตียนพระสุทินน์ว่าฉันขนมบูดเหมือนดื่นน้ำอมฤต]

จริงอยู่ ท่านกล่าวคําอธิบายนี้ไว้ว่า (บิดาพูดกับพระสุทินน์ผู้เป็นบุตรชายว่า) พ่อสุทินน์! ทรัพย์ของเรา ก็มีอยู่มิใช่หรือ? พวกเราซึ่งมีเจ้าเป็นบุตรชาย ผู้มานั่งฉันขนมกุมมาสที่เก็บไว้ค้างคืนอยู่ในที่เช่นนี้ จะพึงถูกประชาชนเขาตําหนิว่า เป็นผู้ไม่มีทรัพย์มิใช่หรือ

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 707

อนึ่ง พ่อสุทินน์ พ่อแม่ก็ยังมีชีวิตอยู่มิใช่หรือ? พ่อแม่ซึ่งมีเจ้าเป็นบุตรชาย ผู้มานั่งฉันขนมกุมมาสที่เก็บไว้ค้างคืนอยู่ในที่เช่นนี้ จะถูกประชาชนเขาตําหนิว่า ตายแล้วมิใช่หรือ?

อนึ่ง พ่อสุทินน์ ! พ่อสําคัญว่า สมณคุณที่เจ้าได้เพราะอาศัยศาสนามีอยู่ในภายในจิตใจของเจ้าผู้ซึ่งแม้เจริญเติบโตมาด้วยรสแห่งอาหารที่ดี ยังไม่มีความรังเกียจฉันขนมกุมมาสที่เก็บไว้ค้างคืน ซึ่งเป็นของน่าสะอิดสะเอียนนี้เหมือนดื่มน้ำอมฤตฉะนั้น.

ก็หฤหบดีนั้น เพราะถูกความทุกข์บีบคั้น เมื่อไม่สามารถจะพูดแต่งใจความนั่นให้บริบูรณ์ได้ จึงได้กล่าวคําเพียงเท่านี้ว่า มีอยู่หรือพ่อสุทินน์ !ที่พ่อจักฉันขนมกุมมาสที่เก็บไว้ค้างคืน?

ส่วนในคําว่า อตฺถินาม ตาต เป็นต้นนี้อาจารย์ผู้คิดอักษรทั้งหลาย ย่อมกล่าวลักษณะนี้ไว้ดังนี้คือ :- เมื่อมีอัตถิศัพท์อยู่ในที่ใกล้ (คืออยู่บทข้างหน้า) บัณฑิตทั้งหลายจึงได้แต่คําอนาคตกาลนั่นไว้ดังนี้ว่า ปริภุฺ-ชิสฺสสิ ด้วยอํานาจเนื้อความที่ไม่น่าเชื่อและไม่อาจเป็นได้.

ใจความแห่งคําอนาคตกาลนั้น มีดังนี้คือ:-ข้อว่า อตฺถินามฯเปฯ ปริภุฺชิสฺสสิ มีความหมายว่า พ่อไม่เชื่อ ทั้งไม่พอใจซึ่งการฉันนี้แม้ที่เห็นประจักษ์อยู่

สองบทว่า ตตายํ อาภิโทสิโก ความว่าขนมกุมมาสที่เก็บไว้ค้างคืนนี้ รูปได้มาแต่เรือนของคุณโยมนั้น. ปาฐะว่า ตโตยํ บ้าง. อาจารย์บางพวกสวดกันว่า ตทายํ บ้าง. คํานั้นไม่งาม.

หลายบทว่า เยน สกปิตุ นิเวสนํ ความว่า นิเวศน์แห่งบิดาของตนคือแห่งบิดาของอาตมา มีอยู่โดยสถานที่ใด พระเถระเป็นผู้ว่าง่าย จึงได้ไป (ยังนิเวศน์นั้น) เพราะความรักในบิดานั่นเอง.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 708

บทว่า อธิวาเสสิ ความว่า พระเถระถึงจะเป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตรอย่างเคร่งครัดก็ตาม แต่ก็ยังใฝ่ใจว่า ถ้าเราจักไม่รับแม้ภัตตาหารครั้งเดียวไซร้, พวกญาติเหล่านั้น ก็จักเสียใจอย่างยิ่ง จึงได้รับคําอาราธนาเพื่ออนุเคราะห์พวกญาติ.

บทว่า โอปุฺฉาเปตฺวาแปลว่า สั่งให้ไล้ทา.

บทว่า ติโรกรณียํ เป็นสัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถตติยาวิภัตติ, ความว่าแวดวง (กองทรัพย์นั้น) ไว้ด้วยกําแพงม่าน อีกอย่างหนึ่ง ชนทั้งหลายย่อมทํารั้วกันไว้ภายนอก ด้วยกําแพงม่านนั่น เหตุนั้น กําแพงม่านนั้น จึงชื่อว่าติโรกรณียะ. ความก็ว่า จัดวงล้อมกําแพงม่านนั้นไว้โดยรอบ.

ในสองบทว่า เอกํ หิรฺสฺส นี้ กหาปณะ ควรทราบว่า เงิน.

ชายไม่สูงนัก ไม่เตี้ยนัก ขนาดปานกลาง พึงทราบว่า บุรุษ

บทว่า เตน หิความว่า เพราะเหตุที่ลูกสุทินน์จักมาในวันนี้.

ศัพท์ว่า หิ เป็นนิบาต ลงในอรรถสักว่าทําบทให้เต็ม.

อีกนัยหนึ่ง ศัพท์ว่า เตน แม้นี้เป็นนิบาตลงในอรรถแห่งคําเชื้อเชิญนั่งเอง.

ในบทว่า ปุพฺพณฺหสมยํ นี้ ท่านมิได้กล่าวคําเผดียงกาลไว้ในพระบาลี แม้ก็จริง, ถึงกระนั้น ก็ควรทราบอธิบายว่า เมื่อเขาเผดียงกาลแล้วนั่นแล พระเถระก็ได้ไป.

[บิดามอบทรัพย์เพื่อให้พระสุทินน์สึก]

โยมบิดาของท่านสุทินน์ ชี้บอกกองทรัพย์ทั้ง ๒ กองว่า พ่อสุทินน์นี้ทรัพย์มารดาของพ่อเป็นต้น

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 709

บทว่า มาตุได้แก่ แห่งหญิงผู้ให้เกิด.

บทว่า มตฺติกํ ได้แก่ทรัพย์ที่มีมาแต่ฝ่ายมารดา. อธิบายว่า ทรัพย์ส่วนนี้คุณย่าได้มอบให้มารดาของเจ้าผู้มาสู่เรือนนี้.

โยมบิดากล่าวตําหนิ (ทรัพย์เป็นสินเดิมฝ่ายหญิง) ด้วยคําว่าอิตฺถิกาย อิตฺถีธนํ ทรัพย์ชื่อว่าอันฝ่ายหญิงได้มา เพื่อประโยชน์แก่เครื่องจุณณ์สําหรับอาบน้ำเป็นต้น อันเป็นเครื่องใช้สอยของหญิงนั่นเอง มีประมาณเท่าไร, เจ้าจงตรวจดูปริมาณทรัพย์ฝ่ายหญิงแม้นั้นก่อน.

อีกอย่างหนึ่ง มีคําอธิบายว่า พ่อสุทินน์ ! นี้ทรัพย์มารดาของพ่อ,ก็แลทรัพย์นั้นเป็นสินเดิมฝ่ายมารดา พ่อมิได้ให้ไว้ คือ เป็นของมารดาของเจ้าเท่านั้น.

ในบทว่า อตฺถิกาย อิตฺถีธนํ นี้ พึงทราบใจความอย่างนี้ว่าก็ทรัพย์นี้นั้นรวบรวมมาได้ด้วยกสิกรรม (และ) พาณิชยกรรมก็หามิได้ อีกอย่างหนึ่งแล ทรัพย์อันฝ่ายหญิงพึงได้มา ชื่อว่าอิตถีธนํ (ทรัพย์ฝ่ายหญิง) ,คือว่า ทรัพย์ฝ่ายหญิงส่วนใด อันฝ่ายหญิงผู้ไปสู่ตระกูลสามีจากตระกูลญาติพึงได้มาเพื่อประโยชน์แก่เครื่องจุณณ์สําหรับอาบน้ำเป็นต้น, ทรัพย์ส่วนนั้นก็มีประมาณเท่านั้นก่อน.

หลายบทว่า อฺํ เปตฺติกํ อฺํ ปิตามหํ ความว่า ก็ทรัพย์ส่วนใดอันเป็นสินเดิมของบิดาและปู่ทั้งหลายของพ่อ, ทรัพย์ส่วนนั้นก็เป็นส่วนอื่นต่างหาก, ที่เขาฝังไว้ และที่ประกอบการค้าขาย ก็มีอยู่มากมายนัก.

อนึ่ง บทว่า ปิตามหํ ที่มีอยู่ในสองบทว่า เปตฺติกํ ปิตามหํ นี้ควรทราบว่าทํากรลบปัจจัยแห่งตัทธิตเสีย. อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะว่า เปตามหํดังนี้ก็มี.

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 710

หลายบทว่า ลพฺภา ตาต สุทินฺน หีนายาวตฺตฺวาความว่าพ่อสุทินน์! พ่อควรละเพศบรรพชิตอันสูงส่ง ซึ่งเป็นธงชัยแห่งพระอริยเจ้าเสียแล้วกลับมาเพื่อความเป็นคฤหัสถ์อันเป็นเพศที่ต่ําทรามจะพึงได้ใช้สอย คือจะได้เพื่อบริโภค โภคสมบัติ. พ่อกลัวต่อราชอาญา จึงบวชก็หามิได้ ทั้งถูกเจ้าหนี้ทวงก็หามิได้แล.

ก็คําว่า ตาต ที่มีอยู่ในบทว่า ตาต น อุสฺสหามิ นี้ พระสุทินน์พูด (กับบิดา) เพราะความรักอาศัยเรือน หาใช่พูดเพราะเดชแห่งสมณะไม่.

บทว่า น อุสฺสหามิแปลว่า รูปไม่อาจ.

บทว่า น วิสหามิ แปลว่า รูปไม่พร้อม คือไม่สามารถ.ก็คําว่า วเทยฺยาม โข ตํ คหปติ นี้พระสุทินน์พูด (กับบิดา) เพราะเดชแห่งสมณะ.

บทว่า นาติกฑฺเฒยฺยาสิ ความว่า ความรักอันใดของคุณโยมที่ตั้งอยู่แล้วในรูป , คุณโยม ไม่ควรตัดรอนความรักอันนั้นออก ด้วยอํานาจความโกรธ. มีคําอธิบายว่า ถ้าว่าคุณโยมไม่พึงโกรธไซร้.

ลําดับนั้น ท่านเศรษฐี มีจิตเบิกบานด้วยนึกในใจว่า บุตรชายเหมือนมีความประสงค์จะทําการสงเคราะห์เรากระมัง จึงได้พูดว่า พูดเถิด พ่อสุทินน์!

ศัพท์ว่า เตนหิ เป็นนิบาต มีรูปคล้ายวิภัตติ ลงในอรรถแห่งคําเชื้อเชิญ.

บทว่า ตโตนิทานํ พึงทราบการอาเทศ ตํ ปฐมาวิภัตติ อย่างนี้คือตํ นิทานํ ตํ เหตุกํ (มีทรัพย์นั้นเป็นต้นเรื่อง, มีทรัพย์นั้นเป็นเหตุ) เป็นโต.และในสมาสบทนั้นไม่มีการลบโตปัจจัย.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 711

ภัยมีราชภัยเป็นต้น ที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า พระราชาทั้งหลายจะไม่พึงทรงริบโภคสมบัติของเราหรืออย่างไร ชื่อว่าภัยก็ดี. อธิบายว่าจิตสะดุ้ง.

กายสั่นเทา (ก็ดี) กายสะทกสะท้าน (ก็ดี) เนื้อหัวใจป่วนปัน (ก็ดี) ของบุคคลผู้ถูกพระราชาหรือโจรลงกรรมกรณ์ ด้วยสั่งบังคับว่า เองจงให้ทรัพย์ดังนี้ ชื่อว่า ฉัมภิตัตตะ (ความหวาดเสียว).

ขนชูชัน คือมีปลายงอนขึ้นข้างบน ในเมื่อมีภัยเกิดขึ้น ชื่อว่าโลมหังสะ (ขนพองสยองเกล้า.

การรักษาอย่างกวดขัน ทั้งภายในและภายนอก ทั้งกลางคืนและกลางวันชื่อว่า อารักขา (การเฝ้ารักษา).

[บิดาสั่งภรรยาเก่าให้ประเล้าประโลมพระสทินน์สึก]

สองบทว่า เตนหิ วธุ ความว่า เศรษฐีคฤหบดี ครั้นแสดงทรัพย์แล้วก็ไม่สามารถจะประเล้าประโลมบุตรชาย เพื่อให้สึกด้วยตนเองได้ จึงสําคัญว่า บัดนี้เครื่องผูกพวกผู้ชาย เช่นกับมาตุคามเป็นไม่มี จึงได้เรียกปุราณทุติยิการภรรยา ของพระสุทินน์นั้นมาสั่งว่า เตนหิ วธุ เป็นต้น.

บทว่า ปุราณทุติยิกํ ได้แก่ หญิงคนที่สองซึ่งเป็นคนดั้งเดิม คือหญิงคนที่สองในกาลก่อน คือในคราวที่ยังเป็นคฤหัสถ์. อธิบายว่า ได้แก่ภรรยาผู้เคยเป็นหญิงผู้ร่วมในการเสพสุขที่อาศัยเรือนมาแล้ว.

บทว่า เตนหิ ความว่า เพราะเหตุที่ไม่มีเครื่องผูก (อย่างอื่น) เช่นกับมาตุคาม.

สองบทว่า ปาเทสุ คเหตฺวาความว่า ภรรยาเก่าได้จับเท้าทั้งสอง (ของท่านสุทินน์). บทว่า ปาเทสุเป็นสัตว์มีวิภัตติ ลงในอรรถทุติยาวิภัตติ.อีกอย่างหนึ่ง ความว่า ภรรยาเก่าได้จับพระสุทินน์นั้นที่เท้าทั้งสอง.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 712

ถามว่า เพราะเหตุไร ภรรยาเก่า จึงได้กล่าวกะพระสุทินน์ อย่างนี้ว่าข้าแต่ลูกนาย นางเทพอัปสร (ผู้เป็นเหตุให้ท่านประพฤติพรหมจรรย์) เหล่านั้น ชื่อเช่นไร (๑) แก้ว่า เพราะได้ยินว่า ในกาลครั้งนั้น หมู่ชนผู้ไม่รู้จักคุณแห่งบรรพชาครั้นเห็นขัตติยกุมารบ้าง พราหมณกุมารบ้าง เศรษฐีบุตรบ้าง มากมาย ซึ่งพากันละมหาสมบัติแล้วออกบวช จึงสนทนากันขึ้นว่า เพราะเหตุไรขัตติยะกุมารเป็นต้นเหล่านั้นจึงออกบวช คราวนั้น ชนเหล่าอื่นก็พูดกันว่าขัตติยกุมารเป็นต้นเหล่านั้นออกบวช เพราะเหตุแห่งนางเทพอัปสรทั้งหลายผู้เป็นเทพนาฏกา. ถ้อยคํานั้นเป็นอันชนเหล่านั้นได้ให้แผ่กระจายไปแล้ว.ภรรยาเก่าของท่านสุทินน์นี้ ได้ถือเอาถ้อยคํานั้น จึงได้กล่าวอย่างนั้น.

พระเถระ เมื่อจะคัดค้านถ้อยคําของภรรยาเก่านั้น จึงได้กล่าวว่าน โข อหํ ภคินิเป็นต้น แปลว่า น้องหญิง ฉันไม่ได้ประพฤติพรหมจรรย์เพราะเหตุแห่งนางเทพอัปสรเลย๒.

บทว่า สมุทาจรติความว่า ย่อมเรียก คือย่อมกล่าว

หลายบทว่า ตตฺเถว มุจฺฉิตา ปปตา ความว่า ภรรยาเก่าเห็นท่านสุทินน์นั้นเรียกตนด้วยวาทะน้องหญิง จึงคิดอยู่ในใจว่า บัดนี้ท่านสุทินน์นี้ไม่ต้องการเรา, ได้สําคัญเราผู้เป็นภรรยาจริงๆ เหมือนเด็กหญิงผู้นอนอยู่ในท้องมารดาเดียวกันกับตน ก็เกิดความโศกเป็นกําลัง แล้วสลบล้มลงฟุบอยู่ในที่ตรงนั้นนั่นเอง.

หลายบทว่า มา โน วิเหยิตฺถความว่า ท่านสุทินน์กล่าวกะโยมบิดาว่าคุณโยม อย่าชี้บอกทรัพย์และส่งมาคุคามมาเบียดเบียนรูปเลย,จริงอยู่วาจานั่นทําความลําบากให้แก่พวกบรรพชิต.


(๑-๒) วิ. มหา. ๑/๓๐.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 713

[มารดาขอร้องให้พระสุทินน์เพาะพืชพันธุ์ไว้]

มารดาของท่านสุทินน์ ได้เชื้อเชิญท่านสุทินน์ไว้ในความอภิรมย์ด้วยความว่า ถ้าเช่นนั้น ดังนี้ ที่มีอยู่ในบทนี้ว่า พ่อสุทินน์! ถ้าเช่นนั้น พ่อจงให้พืชพันธุ์ไว้บ้าง คือมารดาได้พูดว่า ถ้าพ่อยังยินดีจะประพฤติพรหมจรรย์ไซร้. ขอพ่อจงประพฤติ นั่ง ปรินิพพานอยู่บนอากาศเถิด, แต่ว่า พ่อจงให้บุตรชายคนหนึ่งผู้จะเป็นพืชพันธุ์สําหรับดํารงสกุลของเราไว้.

หลายบทว่า มา โน อปุตฺตกํ สาปเตยฺยํ สิจฺฉวโย อติหราเปสุํความว่า มารดาของท่านสุทินน์พูดว่า เพราะเหตุที่พวกเราอยู่ในรัชสมัยแห่งเจ้าลิจฉวีผู้เป็นคณราชย์, โดยกาลล่วงลับไปแห่งบิดาของพ่อ เจ้าลิจฉวีเหล่านั้นจะสั่งให้ริบทรัพย์มฤดกนี้ คือทรัพย์สมบัติของพวกเรา ซึ่งมีมากมายอย่างนี้อันหาบุตรมิได้คือที่เว้นจากบุตร ผู้จะรักษาทรัพย์ของตระกูลไว้ นําไปสู่ภายในพระราชวังของพระองค์เสีย, ฉะนั้น, เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น อย่าได้สั่งให้ริบคือจงอย่าสั่งให้ริบทรัพย์สมบัตินั้นไปเลย.

ถามว่า เพราะเหตุไร ท่านสุทินน์จึงได้กล่าวอย่างนี้ว่าคุณโยมแม่!เฉพาะเรื่องนี้แล รูปอาจทําได้?

แก้ว่าได้ยินว่า ท่านสุทินน์นั้น คิดว่า เราเท่านั้นจักเป็นเจ้าของทรัพย์มฤดกของมารดาเป็นต้นเหล่านั้น, คนอื่นย่อมไม่มี, มารดาเป็นต้นแม้เหล่านั้น ก็จักตามผูกพันเราเป็นนิตย์ เพื่อต้องการให้รักษาทรัพย์มฤดก,เพราะเหตุนี้ ครั้นได้บุตรชายแล้วก็จักงดเว้น (การตามผูกพันเรา) , ต่อแต่นั้น เราก็จักได้บําเพ็ญสมณธรรมตามสบาย, เมื่อ (ท่าน) เล็งเห็นนัยนี้อยู่จึงได้กล่าวอย่างนั้น.

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 714

[สตรีมีระดูหยุดก็ตั้งครรภ์]

คําว่า ปุปฺผํ นี้เป็นชื่อแห่งโลหิตที่เกิดขึ้นในเวลาที่มาตุคามมีระดู.จริงอยู่ ในเวลาที่มาตุคามมีระดู ต่อมมีสีแดงตั้งขึ้นในสถานที่ๆ ตั้งครรภ์ (ในมดลูก) แล้วเจริญขึ้นถึง ๗ วันก็สลายไป. โลหิตก็ไหลออกจากต่อมเลือดที่สลายไปแล้วนั้น. คําว่า ปุปฺผํ นั้นเป็นชื่อแห่งโลหิตนั้น.

อนึ่ง โลหิตนั้นเป็นของมีกําลัง ยังไหลออกอยู่มากเพียงใด, คือย่อมไหลออกพร้อมกับโทษ (มลทินแห่งโลหิต) นั้นเอง, ก็เมื่อโทษ (มลทินแห่งโลหิต) ไหลออกแล้ว ปฏิสนธิ (ของสัตว์ผู้เกิดในครรภ์) ที่บิดาให้ไว้แล้วในวัตถุ (รังไข่) ที่บริสุทธิ์ ก็ตั้งขึ้นได้โดยเร็วพลัน.

สองบทว่า ปุปฺผํ สา อุปฺปชฺชติ ความว่า ต่อมเลือดเกิดขึ้นแก่ภรรยาเก่าของท่านสุทินน์นั้นแล้ว. พึงทราบการลบบทสังโยค พร้อมกับการลบ อ อักษร (๑) เสีย.

หลายบทว่า ปุราณทุติยกาย พาหายํ คเหตฺวา ความว่า ท่านพระสุทินน์จับภรรยาเก่านั้นที่แขนทั้งสองนั้น.สองบทว่า อปฺปฺตฺเต สิกฺขาปเท ความว่า เพราะปฐมปาราชิกสิกขาบทยังมิได้ทรงตั้งไว้.

[พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติปฐมปาราชิกเมื่อ ๒๐ พระพรรษา]

ได้ยินว่า ในปฐมโพธิกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ภิกษุทั้งหลายได้ประคองพระหฤทัยให้ทรงยินดีแล้วตลอด ๒๐ ปี มีได้ทําอัชฌาจาร (ความประพฤติล่วงละเมิด) เห็นปานนี้ (ให้เกิดขึ้นเลย). พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง


(๑) บทว่า ปุปฺผํ สา นี้ ตัดบทเป็น ปุปฺผํ อสฺสา ลบ อ อักษรตัวต้น และลบ สฺที่เป็นตัวสกดเสีย จึงสนธิกันเข้าเป็น ปปฺผํ สา.

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 715

หมายเอาอัชฌาจารนั้นนั่นเอง จึงตรัสพระสูตรนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !สมัยหนึ่ง พวกภิกษุได้ประคองจิตของเราให้ยินดีแล้วหนอ.

คราวนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อไม่ทรงเล็งเห็นอัชฌาจาร (ความประพฤติล่วงละเมิดเช่นนั้นของภิกษุทั้งหลาย) จึงมิได้ทรงบัญญัติปาราชิกหรือสังฆาทิเสส แต่ได้ทรงบัญญัติกองอาบัติเล็กน้อย ที่เหลือไว้เพียง ๕ กองเท่านั้นในเพราะเรื่องนั้นๆ เพราะเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีเถระ จึงได้กล่าวไว้ว่าเพราะสิกขาบท ยังมิได้ทรงบัญญัติไว้.

บทว่า อนาทีนวทสฺโส ความว่า ท่านสุทินน์ เมื่อไม่เล็งเห็นข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงบัญญัติสิกขาบทชี้โทษไว้ในบัดนี้ จึงเป็นผู้มีความสําคัญ (ในการเสพเมถุนธรรมนั้น) ว่าไม่มีโทษ. จริงอยู่ ถ้าท่านพระสุทินน์นี้พึงรู้ว่า สิ่งนี้ไม่ควรทํา หรือว่า สิ่งที่ทํานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อมูลเฉท ดังนี้ไซร้,กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา แม้จะถึงความสิ้นชีวิตไป อันมีกรรมนั้นเป็นเหตุก็จะไม่พึงทํา, แต่ท่านเมื่อไม่เล็งเห็นโทษในการเสพเมถุนธรรมนี้จึงได้เป็นผู้มีความสําคัญว่าไม่มีโทษ. เพราะเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีเถระจึงได้กล่าวไว้ว่า เป็นผู้มีความเห็นว่าไม่มีโทษ.

บทว่า ปุราณทุติยิกาย นี้เป็นสัตตมีวิภัตติ.

บทว่า อภิวิฺาเปสิ คือให้เป็นไปแล้ว.

จริงอยู่ แม้การให้เป็นไป ท่านเรียกว่า วิฺาปนา เพราะยังกายวิญญัติให้เคลื่อนไหว. ก็ท่านพระสุทินน์นี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ได้ทําการยังกายวัญญัติให้เคลื่อนไหวถึง ๓ ครั้ง เพื่อความตกลงใจจะให้ตั้งครรภ์.

หลายบทว่า สา เตน คพฺภํ คณฺหิความว่า แม้ภรรยาเก่าของท่านพระสุทินน์นั้น ก็ตั้งครรภ์เพราะอัชฌาจารนั้นนั่นเอง หาได้ตั้งครรภ์โดยประการอื่นไม่.

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 716

[เหตุที่ให้สตรีตั้งครรภ์มี ๗ อย่าง]

ถามว่า ก็การตั้งครรภ์ ย่อมมีได้ แม้โดยประการอย่างอื่นหรือ?

แก้ว่า ย่อมมีได้.

ถามว่า ย่อมมีได้อย่างไร?

แก้ว่าย่อมมีได้ (เพราะเหตุ ๗ อย่างคือ) เพราะการเคล้าคลึงกาย ๑เพราะการจับผ้า (นุ่งห่ม) ๑ เพราะการดื่มน้ำอสุจิ๑ เพราะการลูบคลําสะดือ (ของสตรี) ๑ เพราะการจ้องดู (รูป) ๑ เพราะเสียง ๑ เพราะกลิ่น ๑.

จริงอยู่สตรีทั้งหลาย บางพวกเป็นผู้มีความกําหนัดยินดีด้วยฉันทราคะในเวลาที่ตนมีระดู แม้เมื่อยินดีการที่บุรุษจับมือจับช้องผม และการลูบคลําอวัยวะน้อยใหญ่ (ของตน) ย่อมตั้งครรภได้. การตั้งครรภ์ย่อมมีได้เพราะการเคล้าคลึงกาย ด้วยอาการอย่างนี้.

อนึ่ง นางภิกษุณีผู้เป็นภรรยาเก่าของพระอุทายีเถระเอาปากอมน้ำอสุจินั้นไว้ส่วนหนึ่ง ใส่อีกส่วนหนึ่งเข้าในองค์ชาตรวมกับผ้านั่นเอง. นางก็ตั้งครรภ์ได้เพราะเหตุนี้ (๑) การตั้งครรภ์ย่อมมีได้ เพราะการจับผ้า (นุ่งห่ม) ด้วยอาการอย่างนี้.

แม่เนื้อ ผู้เป็นมารดาของมิคสิงคดาบส ได้มายังสถานที่ถ่ายปัสสาวะของดาบส ในเวลาที่ตนมีระดู แล้วได้ดื่มน้ำปัสสาวะ ซึ่งมีน้ำสมภพเจือปนอยู่.แม้เนื้อนั้น ก็ตั้งครรภ์ แล้วออกลูกเป็นมิคลิงคดาบส เพราะเหตุที่ตนดื่มน้ำปัสสาวะนั้น (๒) การตั้งครรภ์ย่อมมีได้เพราะการดื่มน้ำอสุจิ ด้วยอาการอย่างนี้.

อนึ่ง ท้าวสักกะทรงทราบข้อที่มารดาของพระสามดาบสโพธิสัตว์เสียจักษุมีพระประสงค์จะประทานบุตร (แก่ท่านทั้งสองนั้น) จึงทรงรับสั่ง


(๑) วิ. มหา. ๒/๒๓.

(๒) ชาตกัฏฐกถา. ๘/๑. ๗/๓๙๖.

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 717

กะทุกุลกบัณทิต (ผู้เป็นบิดาของพระสามดาบสโพธิสัตว์นั้น) ว่า เมถุนธรรมควรแก่ท่านทั้งสองหรือ?

ทุกุลกบัณฑิต ทูลว่าอาตมภาพทั้งสอง บวชเป็นฤษีแล้ว ไม่มีความต้องการ ด้วยเมถุนธรรมนั่น.

ท้าวสักกะ ทรงรับสั่งว่าถ้าเช่นนั้น ในเวลาที่นางปาริกาตาปสินีนี้มีระดู ท่านพึงเอานิ้วมือลูบคลําสะดือ (ของนาง) เถิด.

ทุกุลกบัณฑิตนั้น ได้ทําเหมือนอย่างนั้นแล้ว. นางปาริกาตาปสินีนั้นก็ตั้งครรภ์ แล้วคลอดทารกชื่อสามดาบส เพราะเหตุที่ลูบคลําสะดือนั้น (๑) การตั้งครรภ์ ย่อมมีได้เพราะการลูบคลําสะดือ ด้วยอาการอย่างนี้. โดยนัยนี้นั่นแล ควรทราบเรื่องมัณฑัพยมาณพ (๒) และเรื่องพระเจ้าจัณฑปัชโชต.

ถามว่า การตั้งครรภ์ ย่อมมีได้เพราะการจ้องดู (รูป) อย่างไร?

แก้ว่า สตรีบางพวกในโลกนี้ ในเวลาที่ตนมีระดู เมื่อไม่ได้การเคล้าคลึงกับชาย จึงเข้าไปในเรือน จ้องดูชาย ด้วยอํานาจความกําหนัดพอใจ (แล้วก็ตั้งครรภ์) เหมือนนางสนมชาววัง ฉะนั้น. นางย่อมตั้งครรภ์เพราะการจ้องดูชายนั้น. การตั้งครรภ์ ย่อมมีได้เพราะการจ้องดูรูป ด้วยอาการอย่างนี้.

อนึ่ง บรรดานกตระกรุมทั้งหลาย (นกยาง) ชื่อว่านกตระกรุมตัวผู้ย่อมไม่มี. นางนกตระกรุมเหล่านั้น ในเวลาที่ตนมีระดู ครั้นได้ฟังเสียงเมฆ (คําราม) แล้ว ย่อมตั้งครรภ์ ถึงแม่ไก่ทั้งหลายจะมากตัวก็ตาม ในกาลบางครั้งครั้นได้ฟังเสียงไก่ผู้ตัวเดียว (ขัน) ก็ย่อมตั้งครรภ์ได้. ถึงแม่โคทั้งหลายครั้นได้ฟังเสียงโคอุสภะ (โคตัวผู้) แล้วก็ย่อมตั้งครรภ์เหมือนอย่างนั้น.การตั้งครรภ์ย่อมมีได้เพราะเสียง ด้วยอาการอย่างนี้


(๑) นัยชาตกัฏฐกถา. ๙/๑๒๓ - ๔.

(๒) ชาตกัฏฐกถา. ๗/๕ - ๖.

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 718

อนึ่ง แม่โคทั้งหลายนั่นเอง ในกาลบางครั้ง ย่อมตั้งครรภ์ได้เพราะกลิ่นของโคตัวผู้. การตั้งครรภ์ ย่อมมีได้เพราะกลิ่น ด้วยอาการอย่างนี้.

ส่วนในเรื่องนี้ ภรรยาเก่าของท่านพระสุทินน์นี้ ย่อมตั้งครรภ์เพราะอัชฌาจารดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหมายเอาตรัสไว้ว่า

มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน ๑ มารดาที่ระดู ๑ สัตว์ผู้เกิดในครรภ์ปรากฏ ๑. เพราะความประชุมพร้อมแห่งปัจจัย ๓ ประการอย่างนี้ความก้าวลงแห่งสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ จึงมีได้.

[เทพเจ้าประกาศความชั่วของพระสุทินน์]

หลายบทว่า ภุมฺมา เทวา สทฺทมนุสฺสาเวสุํ ความว่า ชื่อว่าความลับของชนผู้กระทํากรรมชั่ว ย่อมไม่มีในโลก (๒) จริงอยู่ ตนของชนผู้กระทําความชั่วนั้น ย่อมรู้ความชั่ว (ที่ตนทํา) นั้น ก่อนกว่าคนอื่นทั้งหมด,ต่อจากนั้น อารักขเทพเข้าทั้งหลายย่อมรู้, ภายหลังต่อมาเทพเจ้าแม้เหล่าอื่นผู้รู้จิตของบุคคลอื่น ก็ย่อมรู้, เพราะเหตุนั้น ภุมมเทพเจ้าทั้งหลาย ผู้อาศัยอยู่ในไพรสณฑ์ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นผู้รู้จิตของบุคคลอื่น พบเห็นอัชฌาจารนั้นของท่านพระสุทินน์นั้น ก็ได้กระจายเสียงให้บันลือลั่นไป คือได้เปล่งเสียงออกโดยอาการที่เทพเจ้าแม้เหล่าอื่นจะได้ยิน.

ถามว่า ได้ยินว่าอย่างไร?

แก้ว่าได้ยินดังนี้ ท่านผู้เจริญ! โอ ภิกษุสงฆ์ไม่มีเสนียด หาโทษมิได้ (แต่) พระสุทินน์กลันทบุตร ก่อเสนียดขึ้นแล้ว ก่อโทษขึ้นแล้ว.ใจความแห่งคําว่า ไม่มีเสนียด เป็นต้นนั้น บัณฑิตพึงทราบ โดยนัยดังที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในเวรัญชกัณฑ์นั่นแล


(๑) ม. มู. ๑๒/๒๔๗.ปปัญจสูทนี. ๒/๔๑๗ - ๘.

(๒) ขุ. ชา. ๒๗/๑๓๑. ชาตกัฎฐ ๔/๒๔๘.๓. วิ.มหา. ๑/๓๒.

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 719

อนึ่ง ในคําว่า ภุมฺมานํ เทวานํ สทฺทํ สุตฺวาจาตุมฺมหาราชิการ นี้พึงทราบลําดับดังนี้ว่า อากาสัฏฐเทพเจ้าทั้งหลายได้สดับเสียงเหล่าภุมมเทพเจ้าแล้ว, เทพเจ้าชั้นจาตุมหาราชทั้งหลายได้สดับเสียงเหล่าอากาสัฏฐเทพเจ้าแล้วดังนี้เป็นต้น.

บทว่า พฺรหฺมกายิกา ความว่า พรหมแม้ทั้งหมดยกเว้นเหล่าอสัญญีสัตว์และเหล่ารูปาวจรสัตว์เสีย พึงทราบว่า ได้สดับแล้วและครั้นได้สดับแล้ว ก็ได้กระจายเสียงให้บันลือลั่นแล้ว.

หลายบทว่า อิติห เตน ขเณน ความว่า ชั่วขณะเดียวแห่งอัชฌาจารของท่านพระสุทินน์นั้น ด้วยอาการอย่างนี้.สองบทว่า เตน มุหุตฺเตน ความว่า ชั่วครู่เดียวแห่งอัชฌาจารนั่นเอง.

สองบทว่า ยาว พฺรหมฺโลกา ความว่า (เสียงได้กระฉ่อนขึ้นไปแล้ว) จนถึงพรหมโลกขั้นอกนิฏฐะ.

บทว่า อพฺภุคฺคฺฉิ แปลว่า ได้กระฉ่อนขึ้นไปแล้วคือได้ตั้งขึ้นแล้ว. ความก็ว่า ได้มีเสียงระเบ็งเซ้งแซ่เป็นอันเดียวกันแล้ว.

[บุตรชายของท่านพระสุทินน์มีชื่อว่าพีชกะ]

สองบทว่า ปุตฺตํ วิชายิ ความว่า ภรรยาเก่าของท่านพระสุทินน์ได้ให้ปัจฉิมภวิกสัตว์ผู้เช่นกับพิมพ์ทองเกิดแล้ว.

หลายบทว่า พีชโกติ นามํ อกํ สุ ความว่า พวกสหายของท่านพระสุทินน์ไม่ยอมให้ตั้งชื่อเป็นอย่างอื่น คือได้พากันตั้งชื่อว่า "พีชกะ" (เจ้าพืชก์) โดยลงความเห็นกันว่า "ทารกนั้นจงมีชื่อว่า "เจ้าพืชก์" เท่านั้น,

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 720

เพราะเหตุแห่งคําที่ย่าได้กล่าวขอไว้ว่า "พ่อจงให้พืชพันธุ์ไว้บ้าง" ดังนี้ปรากฏชัดแล้ว. พวกสหาย ก็ได้ตั้งชื่อให้แก่มารดาบิดาแห่งพีชกทารกนั้น ด้วยอํานาจชื่อบุตรชายเหมือนกัน.

คําว่า เต อปเรน สมเยน นี้ท่านกล่าวหมายเอาเจ้าพืชก์และมารดาของเจ้าพืชก์.

[มารดาและพีชกทารกบวชแล้วได้สําเร็จพระอรหัต]

ได้ยินว่า ในเวลาที่พีชกะมีอายุได้ ๗ - ๘ ขวบ มารดาของเธอได้บวชในสํานักนางภิกษุณี และพีชกทารกนั้น ก็ได้บวชอยู่ในสํานักของภิกษุ ได้อาศัยเพื่อนพรหมจารีผู้เป็นกัลยาณมิตร ก็ได้ดํารงอยู่ในพระอรหัตแล้ว. เพราะเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีเถระ จึงได้กล่าวว่า เขาทั้งสองได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ได้ทําให้แจ้งซึ่งพระอรหัตแล้ว. (๑) บรรพชาของมารดาและบุตร ได้มีผลแล้วด้วยประการฉะนี้.

[ท่านพระสุทินน์เดือดร้อนใจเพราะประพฤติชั่วหยาบ]

ส่วนบิดาของพีชกทารกนั้น ถูกความวิปฏิสารครอบงําอยู่ เพราะเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีเถระ จึงได้กล่าวคําว่า "อถโข อายสฺมโต สุทินฺนสฺสอหุเทว กุกฺกุจฺจํ"ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหุเทว แปลว่าได้มีแล้วนั้นเทียว.ทะ อักษรทําการเชื่อมบท. ความว่าได้มีแล้วนั่นเทียว.

ความตามเดือดร้อนในภายหลังอันมีอัชฌาจารเป็นเหตุ ชื่อว่าความรําคาญ. แม้คําว่า วิปฏิสาโร ก็เป็นชื่อแห่งความตามเดือดร้อนในภายหลังนั้นนั่นเอง.


(๑) วิ. มหา. ๑/๓๓.

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 721

จริงอยู่ ความตามเดือดร้อนในภายหลังนั้น ท่านเรียกว่า กุกกุจจะ (ความรําคาญ) โดยความเป็นกิริยาที่บัณฑิตพึงเกลียด เพราะความเป็นกรรมอันผู้รู้ทั้งหลายไม่พึงทํา, ท่านเรียกว่า วิปฏิสาร (ความเดือดร้อน) โดยเป็นความระลึกผิดรูปไป เพราะอาศัยอัชฌาจารนั้น เพราะไม่สามารถจะห้ามอัชฌาจารที่ตนทําแล้วได้.

หลายบทว่าอลาภา วต เม ความว่า ไม่ใช่ลาภของเราหนอ.มีอธิบายว่าขึ้นชื่อว่าความไม่ได้คุณทั้งหลาย มีฌานเป็นต้นเหล่านั้น ไม่ใช่ลาภของเรา ทั้งไม่ใช่ลาภของผู้อื่น.

หลายบทว่า น วต เม ลาภา ความว่าคุณคือบรรพชา สรณคมน์และการสมาทานสิกขาแม้เหล่าใด ที่เราได้เฉพาะแล้ว, คุณคือบรรพชาเป็นต้นแม้เหล่านั้น ชื่อว่าไม่ใช่ลาภของเราเลย เพราะมีอัชฌาจารเศร้าหมอง.หลายบทว่า ทุลฺลทฺธํ วต เม ความว่า พระศาสนานี้ แม้ที่เราได้แล้วก็ชื่อว่าเราได้ชั่ว.

หลายบทว่า น วต เม สุลทฺธํ ความว่า พระศาสนานี้ เราได้ไม่ดีเหมือนอย่างกุลบุตรอื่นเขาได้กันหนอ. เพราะเหตุไร? เพราะเหตุเราบวชในพระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้วอย่างนี้ยังไม่สามารถจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ได้จนตลอดชีวิตแล.

บทว่า พฺรหมฺจริยํ ได้แก่ มรรคพรหมจรรย์ที่ท่านสงเคราะห์ด้วยไตรสิกขา.

สองบทว่ากิโส อโหสิความว่า ท่านพระสุทินน์นั้น เมื่อไม่สามารถจะเคี้ยวกินหรือฉันอาหาร จึงได้เป็นผู้ซูบผอม คือมีเนื้อและโลหิตน้อย.

บทว่าอุปฺปณฺฑุปฺปณฺฑุกชาโต ได้แก่ความเป็นผู้มีผิวเหลืองๆ เกิดขึ้น คือเป็นผู้มีส่วนเปรียบดุจใบไม้เหลือง.

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 722

บทว่า ธมนิสณฺตคตฺโต ได้แก่ ผู้มีตัวสะพรั่งด้วยแถวเส้นเอ็นนั่นเอง เพราะความเป็นผู้มีเนื้อและโลหิตสิ้นไป.

บทว่า อนฺโตมโน ได้แก้ผู้มีความคิดตั้งอยู่ภายในนั่นเอง (ผู้มีเรื่องในใจ) ด้วยอํานาจความระทมถึง. อนึ่ง สัตวโลกแม้ทั้งหมด ชื่อว่าเป็นผู้มีใจอยู่ในภายในนั่นเอง (คิดอยู่แต่ในใจ) ด้วยอํานาจความเป็นไป อาศัยหทัยวัตถุ.

บทว่า ลีนมโน ได้แก่ผู้ทอดทิ้งธุระคือผู้ไม่มีความขวนขวายในอุเทศ ปริปุจฉา กรรมฐาน อธิศีลอธิจิต อธิปัญญาและการบําเพ็ญวัตรและระเบียบวัตร. ชื่อว่า ผู้มีใจหดหู่ เพราะอรรถว่า ใจของผู้นั้นหดหู่ คืองอกลับด้วยอํานาจความเกียจคร้านโดยแท้ทีเดียว.

บทว่า ทุกฺขีได้แก่ ผู้มีทุกข์ เพราะทุกข์ทางใจ.

บทว่า ทุมฺมโน ได้แก่ผู้มีใจอันโทษประทุษร้ายแล้ว หรือผู้มีใจผิดรูป เพราะความเป็นผู้ถูกโทมนัสครอบงํา.

บทว่า ปชฺฌายีความว่า ท่านพระสุทินน์ คิดถึงความชั่วที่ตนทําแล้วนั้นๆ ด้วยอํานาจความเดือดร้อน (ซบเซา) ดุจลาตัวที่เขาคัดออกจากภาระแล้ว (ซบเซาอยู่) ฉะนั้น.

[พวกภิกษุสหายถามท่านพระสุทินน์ถึงความซูบผอม]

สองบทว่า สหายกา ภิกฺขูความว่า ภิกษุทั้งหลาย ผู้ถามถึงความผาสุก ที่เป็นผู้คุ้นเคยของท่านพระสุทินน์ เห็นพระสุทินน์นั้น ผู้เป็นแล้วอย่างนั้น ซึ่งปล่อยให้วันคืนผ่านไปอยู่ ด้วยธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าคือการคลุกคลีอยู่ด้วยหมู่ จึงได้กล่าวคํานี้กะท่านพระสุทินน์นั้น.

บทว่า ปินินฺทฺริโย ความว่า ผู้มีอินทรีย์มีจักษุเป็นต้นเต็มเปียมเพราะโอกาสซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งประสาทสมบูรณ์.

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 723

ศัพท์ว่า ทานิ ที่มีอยู่ในคําว่า โสทานิ ตฺวํ นี้ เป็นนิบาต.ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า โส ปน ตฺวํ ที่แปลว่าก็คุณนั้น (ดูซูบผอม).

หลายบทว่า กจฺจิโน ตฺวํ คือ กจฺจิ นุ ตฺวํ ที่แปลว่าคุณ (จะไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์) หรือหนอ?

บทว่า อนภิรโต แปลว่าผู้มีความกระสัน, อธิบายว่าผู้ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์.

เพราะเหตุนั้น ท่านพระสุทินน์ เมื่อจะคัดค้าน ความไม่ยินดีนั้นนั่นแล จึงกล่าวว่าอาวุโสทั้งหลาย! ความจริง ไม่ใช่ว่าผมจะไม่ยินดี (ประพฤติพรหมจรรย์). อธิบายว่าก็ผมยินดีทีเดียวในการเจริญกุศลธรรมอันยิ่ง.

หลายบทว่า อตฺถิเม ปาปกมฺมํ กตํ ความว่า บาปกรรมอย่างหนึ่งที่ผมทําไว้ มีอยู่ คือผมได้รับอยู่ ได้แก่มีปรากฏแก่ผมอยู่เป็นนิตยกาล ดุจมีอยู่เฉพาะหน้าฉะนั้น.

ถัดจากนั้น ท่านพระสุทินน์เมื่อจะประกาศ (เปิดเผย) บาปกรรมที่ตนทําแล้วนั้น (แก่เหล่าภิกษุสหาย) จึงได้กล่าวคําเป็นต้นว่า ปุราณทุตยิกายดังนี้.

[พวกภิกษุสหายเห็นด้วยว่ากรรมนั้นให้เกิดความรําคาญได้]

หลายบทว่า อลํ หิ เต อาวุโส สุทนฺน กุกฺกุจฺจาย ความว่าอาวุโส สุทินน์! บาปกรรมนั่นของคุณ พอที่ คือสามารถจะให้คุณรําคาญได้.มีคําอธิบายว่า เป็นของสามารถจะให้เกิดความรําคาญได้.

ในคําว่า ยํ ตฺวํ เป็นต้น พึงทราบการเชื่อมความดังนี้ว่า คุณจักไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ เพราะความชั่วใด, ความชั่วนั้นของคุณพอที่จะให้คุณรําคาญได้.

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 724

ต่อจากนั้น เหล่าภิกษุสหาย เมื่อจะพร่ําสอนพระสุทินน์นั้น จึงได้กล่าวคําเป็นต้นว่า นนุ อาวุโส ภควตา ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น ศัพท์ว่า นนุ เป็นนิบาต ลงในอรรถอนุมัติและตําหนิ.

บทว่า อเนกปริยาเยน แปลว่า โดยเหตุมิใช่อย่างเดียว.

บทว่าวิราคาย แปลว่า เพื่อคายความกําหนัด.

สองบทว่า โน สราคาย ความว่าไม่ใช่เพื่อความกําหนัดด้วยราคะ.อธิบายว่าจริงอยู่ ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงแล้ว เพื่อประโยชน์แห่งการคายความกําหนัดนั่นว่า สัตว์ทั้งหลายได้สดับธรรมของเรานี้แล้วจักคายความกําหนัด คือจักไม่ยินดีในภพและโภคสมบัติทั้งปวง. ในบททั้งปวงก็มีนัยนั่น.

ก็คําว่า วิสํ โยคาติ กิเลเสหิ วิสํยุชฺชนตฺถาย นี้ ที่มีอยู่ใน

บทว่าวิสํ โยคายเป็นต้นนี้เป็นเพียงการกล่าวโดยนัยทางอ้อม.

บทว่า วิสํ โยคาย ความว่า เพื่อปราศจากความประกอบด้วยกิเลสทั้งหลาย.

สองบทว่า โน สํ โยคายความว่า ไม่ใช่เพื่อความประกอบ (ด้วยกิเลสทั้งหลาย) .

บทว่า อนุปาทานาย ความว่า เพื่อความไม่ถือมั่น.

สองบทว่า โน สอุปาทานายความว่าไม่ใช่เพื่อความยึดมั่น.

หลายบทว่า ตตฺถ นาม ตฺวํ ความว่า เมื่อธรรมชื่อนั้น (อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว เพื่อคายความกําหนัด) คุณ (ยังจักคิดเพื่อความกําหนัดอีกหรือ)

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 725

สองบทว่า สราคาย เจเตสฺสสิ ความว่าคุณยังจักคิดคือยังจักดําริ เพื่อเมถุนธรรม อันเป็นไปอยู่ พร้อมด้วยความกําหนัดหรือ? อธิบายว่าคุณจักยังพยายามเพื่อต้องการเมถุนธรรมนั่นหรือ? ในบททั้งปวง ก็มีนัยนั้น.

[อรรถาธิบายชื่อพระนิพพาน ๙ บท]

บททั้ง ๙ มีราควิราคะเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาพระนิพพานซึ่งเป็นโลกุตรธรรมที่ปราศจากวัฏฏะนั่นแล ตรัสไว้ซ้ำอีก. เพราะเหตุนั้น แม้เมื่อพระองค์ตรัสว่าราควิราคาย ก็ดีมหนิมฺมทนาย ก็ดีบัณฑิตพึงเห็นใจความอย่างนี้เท่านั้นว่า "เพื่อประโยชน์แก่พระนิพพาน".

จริงอยู่ พระนิพพาน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า "ธรรมเป็นที่สํารอกราคะ" เพราะเหตุว่าราคะมาถึง คือปรารภ สืบต่ออาศัยพระนิพพานนั้นแล้ว ย่อมปราศไป คือไม่มี.

อนึ่ง พระนิพพาน ทรงเรียกว่าธรรมเป็นที่สร่างเมา เพราะเหตุว่าความเมาทั้งหลาย มีความเมาด้วยอํานาจมานะและความเมาในบุรุษเป็นต้นมาถึงพระนิพพานนั้นแล้ว ย่อมเป็นอันสร่างไปไม่เป็นความเมา คือสาบสูญไป.

อนึ่ง พระนิพพาน ทรงเรียกว่าธรรมเป็นที่คลายความกระหายเพราะเหตุว่า ความกระหายในกามแม้ทั้งปวง มาถึงพระนิพพานนั้นแล้วย่อมถึงความคลายไป คือความพลัดตกไป.

อนึ่ง พระนิพพาน ทรงเรียกว่าธรรมเป็นที่เพิกถอนอาลัยเพราะเหตุว่า อาลัยคือเบญจกามคุณ มาถึงพระนิพพานแล้วย่อมถึงความเพิกถอนไป.เพราะเหตุว่า วัฏฏะมี ๓ ภูมิ มาถึงพระนิพพานนั้นแล้วย่อมขาดเด็ดไป.

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 726

อนึ่ง พระนิพพาน ทรงเรียกว่าธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา, ธรรมเป็นที่บําราศราคะธรรมเป็นที่ดับ เพราะเหตุว่า ตัณหา มาถึงพระนิพพานนั้นแล้วย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบําราศไป และย่อมดับไปโดยประการทั้งปวง.

อนึ่ง พระนิพพานนั่น ทรงเรียกว่า นิพพาน เพราะเหตุว่าออกไปคือเล่นออกหลุดพ้น จากตัณหา ซึ่งได้โวหารว่า วานะเพราะผูกคือล่ามได้แก่เย็บเชื่อมกําเนิด ๔ คติ ๕ วิญญาณฐิติ ๗ สัตตาวาส ๙ ไว้ เพื่อความมีความเป็นสืบๆ ไป ฉะนี้แล.

หลายบทว่า กามานํ ปหานํ อกฺขาตํ มีความว่า การละวัตถุกามและกิเลสกามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้แล้วมิใช่หรือ?

สองบทว่า กามสฺานํ ปริฺา มีความว่า การกําหนดรู้ความหมายในกามแม้ทั้งหมด มี ๓ อย่างด้วยอํานาจญาตปริญญา (กําหนดรู้ด้วยการรู้) ตีรณปริญญา (กําหนดรู้ด้วยการพิจารณา) และปหานปริญญา (กําหนดรู้ด้วยการเสียสละ) พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วมิใช่หรือ?บทว่ากามวิตกฺกานํ มีความว่า ความเพิกถอนวิตกทั้งหลายที่แอบอิงกาม พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสแล้วมิใช่หรือ?

บทว่า กามปริฬาหานํ มีความว่าความสงบราบแห่งความร้อนรุ่มซึ่งเกิดขึ้น ด้วยอํานาจความกําหนัดที่ประกอบด้วยเบญจกามคุณ ได้แก่ความกลัดกลุ้มภายใน พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสแล้วมิใช่หรือ?

โลกุตรมรรค เครื่องทําความสิ้นกิเลสแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้แล้วในสถาน ๕ เหล่านี้. แต่มรรคที่เจือกันทั้งโลกิยะและโลกุตระ บัณฑิต

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 727

พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้แล้วใน ๓ สถานแรกแห่งสถานทั้งหมด.

คําว่า เนตํ อาวุโส เป็นต้น มีความว่าดูก่อนผู้มีอายุ! กรรมลามกนั้นของท่าน ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสแห่งชนทั้งหลายผู้ยังไม่เลื่อมใส คือเพื่อประโยชน์แก่ความเลื่อมใสของชนทั้งหลายผู้เห็นปานนั้นหรือ?

บทว่า อถเขฺวตํ ตัดบทเป็น อถโข เอตํ.

บาลีว่า อถ เขตํ ก็มี.

บทว่า อฺถตฺตาย มีความว่า (กรรมลามกนั่นของท่าน) ย่อมเป็นไป เพื่อความเป็นโดยประการอื่น จากความเลื่อมใส คือเพื่อความเดือดร้อน. อธิบายว่าย่อมทําความเดือดร้อนแก่ชนทั้งหลาย ผู้มีศรัทธาอันยังมิได้มาด้วยมรรคว่า เราทั้งหลายเลื่อมใสในพระธรรมวินัย ชื่อแม้เช่นนี้ ซึ่งมีพวกภิกษุผู้ปฏิบัติเลวทราม.

ฝ่ายความเลื่อมใส ของชนทั้งหลายผู้มีศรัทธามาแล้วด้วยมรรค เป็นของไม่หวั่นไหวด้วยเรื่องเช่นนี้ หรือด้วยเรื่องที่ร้ายแรงยิ่งกว่านี้เหมือนภูเขาสิเนรุ ไม่หวั่นไหวด้วยลมฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น ภิกษุสหายเหล่านั้น จึงกล่าวว่า เพื่อความเป็นโดยประการอื่นแห่งชนบางพวก.

[ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องพระสุทินน์เสพเมถุนธรรม]

ข้อว่า ภควโต เอตมตฺถํ อาโรเจสุํ มีความว่า ภิกษุสหายเหล่านั้น ได้กราบทูลคือได้แจ้งเนื้อความนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ก็แลเมื่อกราบทูล หาได้กราบทูล เพื่อปรารถนาจะให้ตนเป็นที่โปรดปรานไม่, หาได้ทูลเพื่อมุ่งจะทําความยุยงไม่, หาได้ทูล เพื่อต้องการประจานโทษ ของท่านผู้มีอายุนั้นไม่, หาได้ทูลเพื่อบอกโทษที่น่าตําหนิไม่, หมายใจอยู่ว่า พระผู้มี-

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 728

พระภาคเจ้า ทรงสดับเนื้อความนี้แล้วจักไม่ให้พระสุทินน์นี้ คงอยู่ในพระศาสนา จักให้ฉุดคร่าเธอออกไปเสียจึงได้ทูลก็หาไม่, อันที่จริงได้ทูลด้วยทําในใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงทราบความเสียหายนี้ซึ่งเกิดขึ้นในพระศาสนาแล้ว จักทรงบัญญัติสิกขาบท จักทรงตั้งเขตแดน คืออาชญาไว้.

[พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตําหนิพระสุทินน์]

พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า เอตสฺมึ นิทาเน เอตสฺมึ ปกรเณ นี้ต่อไปนี้:-ความละเมิดอัชฌาจารของพระสุทินน์ พึงทราบว่า ท่านกล่าวว่าเป็นนิทานและเป็นปกรณ์ เพราะเป็นเหตุแห่งการบัญญัติสิกขาบท. จริงอยู่เหตุท่านเรียกว่า นิทานและปกรณ์เพราะเป็นที่มอบให้ซึ่งผลของตน คือยังผลให้บ่าไป เหมือนแสดงว่า เชิญถือเอาผลนั้นเถิด และเพราะเหตุที่เริ่มกระทํา คือปรารภเพื่อจะทําผลนั้น หรือว่าแต่งผลนั้นทีเดียว.

หลายบทว่า วิครหิ พุทฺโธ ภควา มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติ คือทรงตําหนิ (พระสุทินน์) นั้น เหมือนอย่างบุคคลผู้เลิศเมื่อจะแสดงคุณและโทษ ของชนทั้งหลายผู้สมควรแก่คุณและโทษ ก็ติและชม ฉะนั้น.

จริงอยู่ เพราะทรงเห็นบุคคลผู้ทําการล่วงละเมิดศีล ความคิดย่อมไม่เกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ผู้นี้เป็นคนมีชื่อเสียง มียศโดยชาติหรือโดยโคตร หรือโดยความเป็นบุตรของคนมีสกุล หรือโดยคัณฐะ (การร้อยกรอง) หรือโดยธุดงควัตร, เราสมควรที่จะรักษาบุคคลเช่นนี้ไว้ เพราะทรงเห็นบุคคลผู้มีคุณมีศีลเป็นที่รักจิตที่คิดจะปิดบังคุณของเขา จะได้เกิดขึ้นหามิได้เลย,อันที่จริง พระองค์ย่อมทรงติบุคคลซึ่งควรติเท่านั้น ย่อมทรงชมบุคคลซึ่งควรชมเท่านั้น, และพระสุทินน์นี้เป็นผู้สมควรติ, เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงดํารงอยู่ในลักษณะของท่านผู้คงที่ มีพระหฤทัยไม่ลําเอียงได้ทรงติพระสุทินน์นั้น ด้วยพระพุทธดํารัสว่าอนนุจฉวิยํ เป็นอาทิ

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 729

[อรรถาธิบายกรรมที่ไม่ควรแก่สมณะเป็นต้น]

ในคําว่า อนนุจฺฉวิยํ เป็นต้นนั้น มีการพรรณนาเนื้อความดังต่อไปนี้:- ดูก่อนโมฆบุรุษ! ผู้เป็นมนุษย์เปล่า กรรมที่เธอทําแล้วไม่สมควรแก่ธรรมอันทําความเป็นสมณะ หรือแก่มรรคผลนิพพานและศาสนาคือไม่เป็นไปตาม ได้แก่ไม่คล้อยไปตามผิดคือเงาได้แก่ความเป็นธรรมดีแห่งธรรมเหล่านั้น, โดยที่แท้เป็นกรรมเหินห่างจากธรรมเหล่านั้นทีเดียว, ก็เพราะความเป็นของไม่สมควรนั่นเอง กรรมนั้นจึงชื่อว่าเป็นของไม่เหมาะเจาะ คือไม่อนุโลมแก่ธรรมเหล่านั้น, โดยที่แท้ เป็นของแย้งกัน คือตั้งอยู่ในความเป็นข้าศึกกัน, เพราะความเป็นของไม่เหมาะเจาะนั่นแล กรรมนั้นจึงจัดเป็นกรรมไม่สมรูป คือเป็นกรรมเข้ารูปกัน คล้ายกัน ถูกส่วนกันหามิได้, โดยที่แท้เป็นของไม่คล้ายกัน ก็ไม่ถูกส่วยกันทีเดียว, ก็เพราะความเป็นของไม่สมรูปกันนั่นแล กรรมนั่นจึงจัดว่าไม่ใช่กรรมของสมณะ, คือไม่เป็นกรรมของพวกสมณะ, เพราะข้อที่ไม่เป็นของสําหรับสมณะ กรรมนั้นจึงจัดเป็นอกัปปิยะจริงอยู่ กรรมใดไม่ใช่กรรมของสมณะ, กรรมนั้น ย่อมไม่สมควรแก่สมณะเหล่านั้น, เพราะข้อที่กรรมเป็นอกัปปิยะกรรมนั้นจึงจัดว่าไม่ควรทํา, แท้จริงกรรมใดไม่สมควรแก่เหล่าสมณะ, สมณะทั้งหลาย ย่อมไม่ทํากรรมนั้น. แต่กรรมนี้นั้น อันเธอทําแล้ว, ดูก่อนโมฆบุรุษ! เพราะเหตุนั้น กรรมอันไม่สมควรไม่เหมาะเจาะ ไม่สมรูป ไม่ใช่กิจของสมณะ เป็นอกัปปิยะ ไม่ควรทําชื่อว่าอันเธอทําแล้ว.

ข้อว่า กถํ หิ นาม มีความว่า เพราะเหตุชื่ออะไรเล่า? มีคําอธิบายว่า ท่านเล็งเห็นเหตุชื่ออะไรเล่า?

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 730

ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงความไม่มีเหตุ จึงตรัสคําว่า นนุ มยา โมฆปุริส เป็นต้นข้างหน้า. คําทั้งหมดนี้เนื้อความดังกล่าวแล้วนั่นแล.

กรรมลามก ที่พระสุทินน์นั้นทําแล้ว เมื่อให้ผล ย่อมเป็นกรรมมีวิบากเป็นทุกข์อย่างยิ่ง, เพราะเหตุนั้น บัดนี้ เมื่อจะทรงว่ากล่าวพระสุทินน์ด้วยพระหฤทัยประกอบด้วยความเอ็นดู ดุจมารดาบิดาผู้มีความเอ็นดูว่ากล่าวบุตร ผู้ทําความผิดแล้ว ฉะนั้น จึงตรัสคําว่า วรนฺเต โมฆปุริส เป็นอาทิเพื่อแสดงวิบากนั้นแก่พระสุทินน์นั้น.

ในคําว่า วรนฺเต โมฆปุริส เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้:- พิษของงูนั้น ย่อมแล่นเร็ว คือไว เหตุนั้น งูนั้น จึงชื่อว่าอาสีวิสะ (มีพิษแล่นเร็ว) พิษของงูนั้น กล้า คือร้ายแรง เหตุนั้น งูนั้น จึงชื่อว่า โฆรวิสะ (มีพิษกล้า) . แห่งอสรพิษ ที่มีพิษแล่นเร็ว มีพิษกล้านั้น. พึงเชื่อมบทนี้ว่าปกฺขิตฺตํ ด้วยบทว่า วรํ นี้. องคชาต อันเธอสอดเข้าไปในปากแห่งงูมีพิษแล่นเร็วเช่นนี้ประเสริฐกว่า. อธิบายว่า หากองคชาตพึงเป็นของอันเธอสอดเข้าไปไซร้, พึงเป็นของประเสริฐกว่า คือความดี ความงาม ความชอบจะพึงมี.

บทว่า กณฺหสปฺปสฺส แปลว่า งูเห่าหม้อ.

บทว่า องฺคารกาสุยา แปลว่า ในหลุมที่เต็มด้วยถ่านเพลิง หรือในกองถ่านเพลิง.

บทว่า อาทิตฺตายแปลว่า อันไฟติดทั่วแล้ว คือมีความสว่างเปลวไฟจับทั่วแล้ว.

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 731

บทว่า สมฺปชฺชลิตาย แปลว่า รุ่งโรจน์คือปล่อยเปลวไฟขึ้นโดยรอบด้าน.

บทว่า สฺโชติภูตาย แปลว่า มีแสงสว่าง. มีคําอธิบายว่า มีความเกิดขึ้นแห่งแสงสว่างเป็นอันเดียวกันจากเปลวไฟ ที่ลุกโพลงขึ้นโดยรอบด้าน.

ในคําว่า ตํ กิสฺส เหตุ นี้หากจะมีผู้ถาม ถามว่าคําที่เรากล่าวว่ายังประเสริฐกว่า เป็นเหตุแห่งอะไร คือเพราะเหตุไหน?

แก้ว่า เพราะพึงประสบความตายอธิบายว่าผู้ใดพึงสอดองค์กําเนิดเข้าไปในปากงูเป็นต้นนั้น, ผู้นั้นพึงประสบความตาย.

หลายบทว่า อิโตนิทานฺจโข ฯเปฯ อุปปชฺเชยฺย มีความว่าบุคคลผู้ทําการสอดองค์กําเนิด เข้าในองค์กําเนิดของมาตุคามนั้น พึงเข้าถึงนรกซึ่งมีการทํานี้เหตุ.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงถึงข้อที่กรรมเป็นของมีโทษมากอย่างนั้น แล้วจึงทรงตําหนิพระสุทินน์นั้น หาได้ทรงตําหนิมุ่งให้พระสุทินน์นั้นประสบความทุกข์ไม่.

หลายบทว่า ตตฺถ นาม ตฺวํ ความว่า เมื่อกรรมอันนั้น คือเห็นปานนั้น แม้เป็นของมีโทษมากอย่างนี้ เธอ (ยังชื่อว่าได้ต้องอสัทธรรมอันเป็นเรื่องของชาวบ้าน เป็นมรรยาทของคนชั้นต่ํา) .

ศัพท์ว่า ยํ ซึ่งมีอยู่ในคําว่ายํ ตฺวํ นี้ เป็นนิบาตลงในอรรถแห่งความดูถูก. บทว่า ตฺวํ เป็นไวพจน์แห่ง ตํ ศัพท์. ท่านกล่าวอธิบายไว้แม้ด้วยบททั้งสองว่า ได้แก่ ความดูถูก คือความดูหมิ่นอย่างใดอย่างหนึ่ง.

บทว่า อสทฺธมฺมํ ได้แก่ธรรมของอสัตบุรุษ คือคนชั้นต่ํา อธิบายว่าอันคนชั้นต่ําเหล่านั้น พึงเสพ.

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 732

บทว่า คามธมฺมํ ได้แก่ เรื่องของชาวบ้าน มีคําอธิบายว่า เป็นธรรมของพวกชนชาวบ้าน.

บทว่า วสลธมฺมํ ความว่า เป็นมรรยาทของเหล่าชนผู้เป็นคนชั้นต่ําเพราะอรรถว่า หลั่งออกคือปล่อยออก ซึ่งบาปธรรม ได้แก่ของพวกบุรุษเลวทราม. อีกอย่างหนึ่งธรรมเป็นเหตุไหลออกแห่งกิเลส ชื่อว่า วสลธรรม

บทว่า ทุฏฺุลฺลํ ได้แก่เป็นของชั่ว และเป็นของหยาบ ซึ่งถูกกิเลสประทุษร้าย, มีคําอธิบายว่า เป็นของไม่สุขุม คือไม่ละเอียด.

บทว่า โอทกนฺติกํ ความว่า เมถุนธรรม ชื่อว่ามีน้ำเป็นที่สุดเพราะอรรถว่า กิจเนื่องด้วยน้ำเป็นที่สุด คือ เป็นอวสานแห่งเมถุนธรรมนั้น.ซึ่งเมถุนธรรมอันมีน้ำเป็นที่สุดนั้น.

บทว่า รหสฺสํ ได้แก่เป็นกรรมลับ คือเกิดขึ้นในโอกาสอันปิดบัง.จริงอยู่ธรรมนี้ใครๆ ไม่อาจจะทําให้เปิดเผยคือไม่อาจจะทําในวิสัยที่บุคคลเหล่าอื่นจะเห็นได้ เพราะเป็นกรรมน่าเกลียด. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า เป็นกรรมลับ.

บทว่า ทฺวยทฺวยสมปตฺตึ แปลว่าอันชนสองคนๆ พึงประพฤติรวมกัน บาลีว่า ทฺวยํ ทฺวยํ สมาปตฺตึก็มีอาจารย์บางพวกสวดกันว่าทยทยสมาปตฺตึ ดังนี้บ้าง. คํานั้น ไม่ดีพึงประกอบบทว่า สมาปสฺสิสฺสสินั้น เข้าด้วยนามศัพท์ที่ท่านกล่าวไว้ในบทว่า ตตฺถ นาม ตฺวํ นี้ว่าสมาปสฺสิสฺสสิ นาม (เธอยังชื่อว่าได้ต้องอสัทธรรม)

[พระสุทินน์เป็นคนแรกในการเสพเมถุนธรรม]

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมุ่งหมายเอาพระศาสนา ตรัสว่าดูก่อนโมฆบุรุษ! ท่านเป็นตัวอย่าง เป็นหัวหน้าแห่งอกุศลธรรมทั้งหลายมากแล

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 733

มีคําอธิบายว่า ท่านนับว่าเป็นตัวอย่างแห่งบุคคลทั้งหลาย หรืออกุศลธรรมทั้งหลายเป็นอันมากในพระศาสนานี้ เพราะทําก่อนบุคคลทั้งปวง นับว่าเป็นหัวหน้า คือเป็นผู้ให้ประตูได้แก่ซื้ออุบายเพราะเป็นผู้ดําเนินหนทางนั้นก่อนบุคคลทั้งปวด.

จริงอยู่ ในคําว่า พหุนฺนํ โข เป็นต้นนี้มีความประสงค์ดังนี้ว่าบุคคลเป็นอันมาก ได้เลิศนี้แล้ว สําเหนียกตามกิริยาของท่าน จักกระทําอกุศลธรรมมีประการต่างๆ มีเสพเถุนธรรมกับนางลิงเป็นต้น.

บทว่า อเนกปริยาเยน คือโดยเหตุมากมาย ซึ่งตรัสแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า อนนุจฺฉวิกํ นี้.

[ผู้ไม่ตั้งอยู่ในสังวรเป็นผู้มักมากในปัจจัย ๔]

หลายบทว่า ทุพฺภรตาย ฯเปฯ โกสชฺชสฺส อวณฺณํ ภาสิตฺวามีความว่า ตรัสโทษ คือข้อที่น่าตําหนิได้แก่ข้อที่น่าติเตียนแห่งอสังวรซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความเสียหาย มีความเป็นผู้เลี้ยงยากเป็นต้น.

จริงอยู่ตนของบุคคลผู้ตั้งอยู่ในความไม่สํารวม ย่อมถึงความเป็นสภาพที่เลี้ยงยากและบํารุงยาก, เพราะเหตุนั้น อสังวร ท่านจึงเรียกว่าความเป็นผู้เลี้ยงยาก และความเป็นผู้บํารุงยาก.

อนึ่ง ตนของบุคคลผู้ตั้งอยู่ในความไม่สํารวม ย่อมถึงความเป็นผู้มักมากในปัจจัย ๔ และได้ปัจจัยทั้งหลาย แม้มีประมาณเท่าเขาสิเนรุแล้ว ก็ยังถึงความเป็นผู้ไม่สันโดษ, เพราะเหตุนั้น อสังวรท่านจึงเรียกว่า ความเป็นผู้มักมาก และความเป็นผู้ไม่สันโดษ.

อนึ่ง ตนของบุคคลผู้ตั้งอยู่ในความไม่สํารวม ย่อมเป็นไปเพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่และเพื่อความหมักหมมด้วยกิเลส ทั้งย่อมเป็นสภาพเป็นไป

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 734

ตามความเกียจคร้าน คือเป็นไปเพื่อยังวัตถุเป็นที่ตั้งแห่งความเกียจคร้านแปดอย่างให้บริบูรณ์ (๑) เพราะเหตุนั้น อสังวร ท่านจึงเรียกว่า ความคลุกคลีและความเกียจคร้าน

[ผู้ตั้งอยู่ในสังวรไม่เป็นผู้มักมากในปัจจัย ๔]

หลายบทว่า สุภรตาย ฯเปฯ วิริยารมฺภสฺส วณฺณํ ภาสิตฺวา มีความว่า ทรงสรรเสริญคุณแห่งสังวรอันเป็นที่ตั้งแห่งคุณทั้งหลาย มีความเป็นผู้เลี้ยงง่ายเป็นต้น.

จริงอยู่ ตนของบุคคลผู้ละอสังวร แล้วตั้งอยู่ในสังวร ย่อมเป็นสภาพที่เลี้ยงง่ายบํารุงง่าย ย่อมถึงความเป็นผู้มักน้อย คือหมดความทะยานอยากในปัจจัย ๔ และย่อมเป็นไปเพื่อความสันโดษ ๓ อย่าง ด้วยอํานาจแห่งยถาลาภสันโดษ ยถาพลสันโดษ และยถาสารุปสันโดษ ในปัจจัยอย่างหนึ่งๆ เพราะเหตุนั้น สังวร ท่านจึงเรียกว่าความเป็นผู้เลี้ยงง่าย ความเป็นผู้บํารุงง่าย ความมักน้อย และความสันโดษ.

อนึ่ง ตนของบุคคลผู้ละอสังวร ตั้งอยู่ในสังวร ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้ขัดเกลากิเลส และความเป็นผู้กําจัดกิเลสออก, เพราะเหตุนั้น สังวรท่านจึงเรียกว่า ความขัดเกลา และความกําจัด.

อนึ่ง ตนของบุคคลผู้ละอสังวร แล้วตั้งอยู่ในสังวร ไม่เข้าไปใกล้กายทุจริต และวจีทุจริต ซึ่งไม่ชวนให้เกิดความเลื่อมใส คือไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส ไม่สงบ ไม่เรียบร้อยแห่งกายและวาจาและไม่เข้าไปใกล้อกุศลวิตก ๓ ซึ่งไม่ชวนจิตให้เกิดความผ่องใส คือ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความผ่องใสแห่งจิต ไม่สงบ ไม่เรียบร้อย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริบูรณ์แห่ง


(๑) องฺ อฏฺก. ๒๓/๓๔๓

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 735

กายสุจริต วจีสุจริต และกุศลวิตก ๓ ซึ่งผิดแผกจากนั้นนั่นแล ที่ชวนให้เกิดความเลื่อมใส คือเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส สงบ เรียบร้อย, เพราะเหตุนั้น สังวร ท่านจึงเรียกว่า ความเป็นอาการให้เกิดความเลื่อมใส.

[ผู้ตั้งอยู่ในสังวรเป็นผู้ไม่สั่งสมกิเลสทั้งปวง]

อนึ่ง ตนของบุคคลผู้ละอสังวร ตั้งอยู่ในสังวร ย่อมเป็นไปเพื่อปราศจากวัฏฏะ อันเกิดแต่ความไม่สั่งสมกิเลสทั้งปวง และเพื่อความบริบูรณ์แห่งวัตถุเป็นที่ตั้งแห่งวิริยารัมภะ ๘ อย่าง (๑) เพราะเหตุนั้น สังวร ท่านจึงเรียกว่า "ความไม่สั่งสมและการปรารถนาความเพียร" ฉะนี้แล.

ข้อว่า ภิกฺขูนํ ตทนุจฺฉวิกํ ตทนุโลมิกํ ความว่า ทรงทําพระธรรมเทศนานอกท้องเรื่อง ซึ่งพ้นจากบาลี ไม่เนื่องด้วยสุตตันตะที่ปฏิสังยุตด้วยสังวรปหานะอันสมควรและเหมาะแก่สิกขาบท ที่จักทรงบัญญัติในบัดนี้ทั้งที่สมควรและเหมาะแก่สังวรที่ตรัสด้วยธรรมทั้งหลายมีความเป็นผู้เลี้ยงง่ายเป็นต้น แก่ภิกษุทั้งหลายผู้ประชุมกันแล้วในสถานที่นั้น.

ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เปรียบเทียบผู้แต่งระเบียบดอกไม้ห้าสีเปรียบผู้จัดพวงแก้ว เมื่อจะทรงคุกคามบุคคลทั้งหลายผู้พอใจนักในอสังวรประสงค์จะคัดค้าน ด้วยวัฏภัยซึ่งมีในสัมปรายภพ จะทรงแสดงโทษมีประการมากมายจะทรงยังบุคคลผู้ใคร่ต่อการศึกษาอยู่ในสังวร บางพวกให้ประดิษฐานอยู่ในพระอรหันต์, บางพวกให้ตั้งอยู่ใน อนาคามิผล สกทาคามิผลและโสดาปัตติผล, จะทรงยังบุคคลทั้งหลายแม้ผู้ปราศจากอุปนิสัยให้ประดิษฐานในทางสวรรค์ จึงทรงทําธรรมเทศนา มีขนาดแห่งทีฆนิกายบ้าง มีขนาดแห่งมัชฌิมนิกายบ้าง ในสถานทั้งหลายเช่นนี้. พระอุบาลีเถระ หมายเอาธรรม-


(๑) องฺ. อฏฺจก. ๒๓/๓๔๕.

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 736

เทศนานั้น จึงกล่าวคํานี้ว่า ทรงทําธรรมมีกถา ซึ่งสมควรแก่สิกขาบทและสังวรนั้น ซึ่งเหมาะแก่สิกขาบทและสังวรนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย.

บทว่า เตน หิ มีความว่า เพราะอัชฌาจารนั้น ของภิกษุสุทินน์อันเป็นตัวเหตุ.

ในบทว่า สิกฺขาปทํ นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- ที่ชื่อว่า สิกขาเพราะอรรถว่า เป็นคุณชาตอันบุคคลพึงศึกษา. ที่ชื่อว่า บท เพราะอรรถว่าเป็นทางเป็นเครื่องอันบุคคลพึงถึง. ทางเป็นเครื่องอันบุคคลพึงถึงแห่งสิกขาชื่อว่า สิกขาบท. ความว่าอุบายแห่งความได้สิกขา.

อีกอย่างหนึ่ง มีคําอธิบายว่า เป็นต้นเค้า คือเป็นที่อาศัยเป็นพํานักแห่งสิกขา. คําว่า สิกขาบท นั่น เป็นชื่อแห่งความสํารวมจากเมถุนโดยเว้นจากเมถุน. จริงอยู่ เมถุนสังวร ท่านประสงค์เอาว่า สิกขาบท ในที่นี้เพราะความเป็นทางแห่งธรรม คือ ศีล วิปัสสนา ฌานและมรรคกล่าวคือสิกขาอื่นจากเมถุนสังวรนั้น ด้วยอํานาจแห่งเนื้อความดังกล่าวแล้ว.ก็แลเนื้อความนี้ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในวิภังค์แห่งสิกขาบท. อีกอย่างหนึ่ง แม้คําที่แสดงเนื้อความนั้น พึงทราบว่า "เป็นสิกขาบท" จริงอยู่ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ได้ตรัสคํานี้ว่า บรรดาหมวดเหล่านั้น หมวดนามหมวดบท หมวดภาษา หมวดพยัญชนะ อันใด, อันนั้นชื่อว่า สิกขาบท.อีกประการหนึ่ง เมื่อท่านกล่าวว่า "อนภิชฌา เป็นธรรมบท" เนื้อความย่อมมีว่า "อนภิชฌา เป็นส่วนธรรมอันหนึ่ง" ข้อนี้ฉันใด , แม้ในที่นี้ก็ฉันนั้น เมื่อท่านกล่าวว่า "สิกขาบท" จะพึงทราบเนื้อความว่า "ส่วนแห่งสิกขาคือประเทศอันหนึ่งแห่งสิกขา" ดังนี้ ก็ได้.

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 737

[ประโยชน์แห่งการบัญญัติสิกขาบท ๑๐ อย่าง]

หลายบทว่า ทส อตฺถวเส ปฏิจฺจ มีความว่าจักอาศัยคือมุ่งหมายปรารภอํานาจแห่งเหตุ คือประโยชน์เกื้อกูลพิเศษ ๑๐ อย่าง ที่จะพึงได้เพราะเหตุบัญญัติสิกขาบท. มีคําอธิบายว่า เล็งเห็นความสําเร็จประโยชน์พิเศษ ๑๐อย่าง. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จะแสดงอํานาจประโยชน์ ๑๐ อย่างนั้นจึงตรัสคําว่า สงฺฆสุฏฺุตาย เป็นต้น. [อธิบายประโยชน์การบัญญัติสิกขาบท ๑๐ อย่าง] บรรดาอํานาจประโยชน์สิบอย่างนั้น ที่ชื่อว่า ความเห็นชอบของสงฆ์ได้แก่ข้อที่สงฆ์ยอมรับว่าดี. คือข้อที่สงฆ์รับพระดํารัสว่า "ดีละ พระเจ้าข้า!"เหมือนในอนาคตสถานที่ว่า "ดีละ สมมติเทพเจ้า!" จริงอยู่ภิกษุใดยอมรับพระดํารัสของพระตถาคตเจ้า, การยอมรับพระดํารัสนั้น ของภิกษุนั้นย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุขตลอดกาลนาน. เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงเปิดเผยเนื้อความนี้ว่า เราจักแสดงโทษในความไม่ยอมรับ และอานิสงส์ในความยอมรับ คือไม่กดขี่โดยพลการ จักบัญญัติ (สิกขาบท) เพื่อให้สงฆ์ยอมรับคําของเราว่า ดีละ พระเจ้าข้า! ดังนี้ จึงตรัสคําว่า "เพื่อความเห็นชอบแห่งสงฆ์"

บทว่า สงฺฆผาสุตาย คือเพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์, อธิบายว่า เพื่อประโยชน์แก่ความอยู่เป็นสุข ด้วยความเป็นอยู่ร่วมกัน.

หลายบทว่า ทุมฺมงฺกูนํ ปุคฺคลานํ นิคฺคหาย ความว่า บุคคลผู้ทุศีล ชื่อว่าบุคคลผู้เก้อยาก, ภิกษุเหล่าใด แม้อันภิกษุทั้งหลายจะให้ถึงความเป็นผู้เก้อ ย่อมถึงได้โดยยาก, กําลังกระทําการละเมิด หรือกระทําแล้ว ย่อมไม่ละอาย, เพื่อประโยชน์แก่อันข่มภิกษุเหล่านั้น.

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 738

จริงอยู่ ภิกษุเหล่านั้น เมื่อสิกขาบทไม่มี จักเบียดเบียนสงฆ์ด้วยถ้อยคําว่า เรื่องอะไรที่พวกท่านเห็นมาแล้ว เรื่องอะไรที่พวกท่านได้ฟังมาแล้ว สิ่งอะไรที่พวกข้าพเจ้าทําแล้ว พวกท่านยกอาบัติไหนในเพราะวัตถุอะไรขึ้นข่มพวกข้าพเจ้า, ก็เมื่อสิกขาบทมีอยู่ สงฆ์จักอ้างสิกขาบทแล้ว ข่มภิกษุพวกนั้น โดยธรรม โดยวินัยโดยสัตถุศาสนา . เพราะเหตุนั้น พระผู้มี-พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เพื่อข่มเหล่าบุคคลผู้เก้อยาก.

หลายบทว่า เปสลานํ ภิกฺขูนํ ผาสุวิหาราย คือเพื่อประโยชน์แก่ความอยู่ผาสุกของภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก. จริงอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีศีลเป็นที่รักไม่รู้สิ่งที่ควรทําและไม่ควรทํา สิ่งที่มีโทษและไม่มีโทษ ขีดคั่น เขตแดนพยายามอยู่ เพื่อความบริบูรณ์แห่งไตรสิกขา เมื่อมีความสงสัย ย่อมลําบากย่อมรําคาญ, แต่ครั้นรู้สิ่งที่ควรทําและไม่ควรทํา สิ่งที่มีโทษและไม่มีโทษขีดคั่นเขตแดนแล้ว พยายามอยู่เพื่อความบริบูรณ์แห่งไตรสิกขา ย่อมไม่ลําบากย่อมไม่รําคาญ. เพราะเหตุนั้น การบัญญัติสิกขาบท จึงเป็นไปเพื่อความอยู่ผาสุกของพวกภิกษุนั้น.

อีกอย่างหนึ่งความข่มบุคคลผู้เก้ออยากทั้งหลายนั้นนั่นแล เป็นความอยู่ผาสุกแห่งภิกษุนั้น. ด้วยว่า อุโบสถ ย่อมดํารงอยู่ไม่ได้ ปวารณาย่อมดํารงอยู่ไม่ได้ สังฆกรรมทั้งหลายย่อมเป็นไปไม่ได้ความสามัคคี ย่อมมีไม่ได้เพราะอาศัยเหล่าบุคคลผู้ทุศีล. ภิกษุทั้งหลายมีอารมณ์เป็นหนึ่งไม่ได้ ย่อมไม่สามารถประกอบตามซึ่งอุเทศ ปริปุจฉา, และกรรมฐานเป็นต้น. ก็เมื่อเหล่าบุคคลผู้ทุศีลถูกข่มเสียแล้ว อุปัทวะแม้ทั้งหมดนี้หามีไม่, เมื่อนั้นพวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักย่อมอยู่เป็นผาสุก.

ในคําว่า "เพื่อความเป็นอยู่เป็นผาสุกของภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รัก" นี้บัณฑิตพึงทราบอธิบายโดย ๒ นัยด้วยประการฉะนี้

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 739

คําว่า "เพื่อป้องกันอาสวะทั้งหลาย อันเป็นไปในปัจจุบัน" อธิบายว่าทุกข์พิเศษมีการประหารด้วยฝ่ามือ ประหารด้วยท่อนไม้ ตัดมือตัดเท้า ความเสียชื่อเสียงความเสื่อมยศและความเดือดร้อน เป็นต้น อันบุคคลผู้ตั้งอยู่ในความไม่สังวร จะพึงถึงในอัตภาพนี้นั้นเทียว ชื่อว่า อาสวะอันเป็นไปในปัจจุบัน.เพื่อป้องกัน คือปิดกั้นทางมาแห่งอาสวะอันไปในปัจจุบันเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.

คําว่า "เพื่อกําจัดอาสวะทั้งหลายอันเป็นไปในสัมปรายภพ" มีความว่า ทุกข์พิเศษมีบาปกรรมที่ตนกระทําแล้วเป็นมูล อันบุคคลผู้ตั้งอยู่ในความไม่สังวร จะพึงถึงในนรกเป็นต้นในสัมปรายภพ ชื่อว่าอาสวะอันเป็นไปในสัมปรายภพ, เพื่อประโยชน์แก่การกําจัด มีคําอธิบายว่า เพื่อประโยชน์แก่การระงับ คือเพื่อประโยชน์แก่การเข้าไปสงบอาสวะอันเป็นไปในสัมปรายภพเหล่านี้.

ข้อว่า อปฺปสนฺนานํ วา ปสาทาย มีความว่า เมื่อมีสิกขาบทบัญญัติ มนุษย์ผู้บัณฑิตทั้งหลาย แม้ไม่เลื่อมใส ได้ทราบสิกขาบทบัญญัติหรือได้เห็นภิกษุทั้งหลายปฏิบัติสิกขาบทตามที่ทรงบัญญัติ ย่อมถึงความเลื่อมใสว่า ธรรมเหล่าใดหนอ เป็นที่ตั้งความกําหนัด ความขัดเคือง และความลุ่มหลงของมหาชนในโลก, สมณศากยบุตรเหล่านี้ ย่อมอยู่เหินห่างเว้นจากธรรมเหล่านั้น , พวกเธอทํากรรมที่ทําได้ยากหนอ ทํากิจที่หนักหนอ ดังนี้เหมือนพราหมณ์ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิรู้ไตรเทพ ได้เห็นคัมภีร์พระวินัยปิฎกแล้วเลื่อมใส ฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่าอปฺปสนฺนานํวา ปสาทาย.

ข้อว่า ปสนฺนานํ วา ภิยฺโยภาวาย มีความว่า กุลบุตรทั้งหลายแม้เลื่อมใสในพระศาสนา ได้ทราบสิกขาบทบัญญัติ หรือได้เห็นภิกษุทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 740

ปฏิบัติสิกขาบทตามที่ทรงบัญญัติไว้ ย่อมเลื่อมใสยิ่งๆ ขึ้นไปว่าโอ! พระผู้เป็นเจ้าเหล่าใด คอยเฝ้ารักษาวินัยสังวร ซึ่งมีอาหารครั้งเดียวตลอดชีวิตเป็นความประพฤติประเสริฐ, พระผู้เป็นเจ้าเหล่านั้น เป็นผู้มีปกติทํากรรมที่ทําได้ยาก. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปสนฺนานํ วา ภิยฺโยภาวาย.

[พระสัทธรรม ๓ อย่าง]

ข้อว่า สทฺธมฺมฏฺิติยา มีความว่า สัทธรรมมี ๓ อย่างคือปริยัติ-สัทธรรม ๑ ปฏิปัตติสัทธรรม ๑ อธิคมสัทธรรม ๑. บรรดาสัทธรรม ๓อย่างนั้น ที่ชื่อว่าปริยัติสัทธรรม ได้แก่พุทธพจน์แม้ทั้งสิ้นรวมด้วยพระไตรปิฎก. ที่ชื่อว่าปฏิปัตติสัทธรรม ได้แก่ธรรมนี้คือธุดงคคุณ ๑๓ ขันธกวัตร ๑๔มหาวัตร ๘๒ ศีล สมาธิ และวิปัสสนา. ที่ชื่อว่าอธิคมสัทธรรม ได้แก่ธรรมนี้คือ อริยมรรค ๔ สามัญผล ๔ นิพพาน ๑. เมื่อมีสิกขาบทบัญญัติ ภิกษุทั้งหลาย ย่อมเรียนสิกขาบทและวิภังค์แห่งสิกขาบทนั้น และพุทธวจนะอื่นเพื่อส่องความแห่งสิกขาบทและวิภังค์นั้น และเมื่อปฏิบัติสิกขาตามที่ทรงบัญญัติไว้ ย่อมบรรลุโลกุตรธรรม ที่ตนจะพึงบําเพ็ญข้อปฏิบัติแล้วบรรลุได้ด้วยความปฏิบัติ, เพราะเหตุนั้น สัทธรรมแม้ทั้งสิ้นนั้น จึงชื่อว่า เป็นสภาพมีความตั้งอยู่ยั่งยืน ด้วยสิกขาบทบัญญัติ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สทฺธมฺมฏฺิติยา.

ข้อว่า วินยนุคฺคหาย มีความว่าจริงอยู่ เมื่อมีสิกขาบทบัญญัติวินัยทั้ง ๔ อย่าง คือ สังวรวินัย ๑ ปหานวินัย ๑ สมถวินัย ๑ บัญญัติวินัย ๑ ย่อมเป็นอันทรงอนุเคราะห์ คืออุปถัมภ์สนับสนุนไว้เป็นอันดี. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า วินยานุคฺคหาย ก็บทเหล่านั้นทั้ง

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 741

หมดแล พึงประกอบกับคํานี้ว่า เราจักบัญญัติสิกขาบท. ประกอบบทต้นและบทสุดท้ายในบรรดาบทเหล่านั้น ดังนี้ว่า เราจักบัญญัติสิกขาบท เพื่อความเห็นชอบของสงฆ์ ฯลฯ เราจักบัญญัติสิกขาบท เพื่อความอนุเคราะห์วินัย.อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทําสังขลิกน้อยอย่างนี้ว่า "ความเห็นชอบแห่งสงฆ์อันใดอันนั้นเป็นความสําราญแห่งสงฆ์ ความสําราญแห่งสงฆ์อันใดอันนั้น เพื่อข่มบุคคลทั้งหลายผู้เก้อยาก " และโยชนา ๑๐ ครั้ง มีบทอันหนึ่งๆ เป็นเค้าอย่างนี้ว่าความเห็นชอบแห่งสงฆ์อันใดอันนั้นคือความสําราญแห่งสงฆ์ ความเห็นชอบแห่งสงฆ์อันใดอันนั้น เพื่อข่มบุคคลทั้งหลายผู้เก้อยากดังนี้ แล้วตรัสคําใดไว้ในคัมภีร์บริวารว่า

ในปกรณ์ว่าด้วยอํานาจประโยชน์ มีผลร้อยหนึ่ง มีเหตุร้อยหนึ่ง มีภาษาสําหรับกล่าวสองร้อย และมีญาณสี่ร้อย (๑)

คํานั้นทั้งหมด พึงทราบในบทว่า สงฺฆสุฏุตาย เป็นต้นนี้. แต่คํานั้นแหละจักมีแจ้งในคัมภีร์บริวารนั่นเอง เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่พรรณนาในที่นี้.

[ทรงบัญญัติปฐมปาราชิกสิกขาบท]

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงอานิสงส์แห่งการบัญญัติสิกขาบทไว้อย่างนั้นแล้ว เมื่อจะทรงชี้แจงกิจที่ภิกษุทั้งหลายควรทําในสิกขาบทนั้น จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็แล พวกเธอพึงแสดงสิกขาบทนี้ขึ้นอย่างนี้.

พระองค์ตรัสอธิบายไว้อย่างไร?

ตรัสอธิบายไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็แล พวกเธอพึงแสดงพึงเล่าเรียน พึงทรงจํา และพึงบอกแก่บุคคลเหล่าอื่น ซึ่งสิกขาบทนี้ คือที่


(๑) วิ. บรวาร. ๘/๓๕๗.

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 742

มีอานิสงส์อันเราแสดงแล้วอย่างนี้ในปาฏิโมกขุทเทสอย่างนี้. จริงอยู่จ ศัพท์ในคําว่า เอวฺจ ปน นี้ มีการนําเนื้อความเกินมาเป็นอรรถ เพราะฉะนั้นเนื้อความนี้ ย่อมเป็นอันท่านนํามาแล้ว.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงคําที่พระองค์ตรัสไว้ว่าสิกขาบทนี้จึงตรัสว่า อนึ่ง ภิกษุใด พึงเสพเมถุนธรรม, ภิกษุนี้ ย่อมเป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้. เมื่อพระองค์ทรงบัญญัติปฐมปาราชิก. ให้มั่นเข้า ด้วยอํานาจมูลเฉทอย่างนั้นแล้ว เรื่องลิงตัวเมียแม้อื่นอีกก็เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์แก่อนุบัญญัติ. เพื่อแสดงเรื่องลิงตัวเมียที่เกิดขึ้นนั้น พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายจึงได้กล่าวคํานี้ไว้ว่าก็สิกขาบทนี้ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้ว แก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้. อธิบายความแห่งคํานั้นว่า สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วอย่างนี้ แก่ภิกษุทั้งหลาย และเรื่องอื่นนี้ ก็ได้เกิดขึ้นแล้ว

จบกถาว่าด้วยปฐมบัญญัติ

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 743

อนุบัญญัติปฐมปาราชิกเรื่องที่หนึ่ง

[เรื่องลิงตัวเมีย]

บัดนี้ เพื่อแสดงเรื่องอื่นที่เกิดขึ้น พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายจึงได้กล่าวคําเป็นต้นว่า เตน โข ปน สมเยน. ในคําว่า เตน โข ปนสมเยน เป็นต้นนั้น มีการพรรณนาบทที่ยังไม่กระจ่างดังต่อไปนี้

สองบทว่า มกฺกฏึ อามิเสน ความว่า จําพวกสัตว์ดิรัจฉานเป็นอันมาก มีเนื้อ นกยูง ไก่ และลิงเป็นต้น ไม่มีความคิดระแวงรังเกียจเพราะอนุภาพแห่งคุณมีขันติและเมตตาเป็นต้น ของภิกษุทั้งหลาย ในป่ามหาวัน ย่อมเที่ยวไปใน ณ ที่เรือนบําเพ็ญเพียร มีคําอธิบายว่า ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เอาอามิส มีข้าวต้น ข้าวสวย และของเคี้ยวเป็นต้นล่อ คือสงเคราะห์นางลิงตัวหนึ่ง ในบรรดาสัตว์ดิรัจฉานเป็นต้นเหล่านี้.

บทว่า ตสฺสา เป็นสัตตมีวิภัตติ

บทว่า ปฏิเสวติ ความว่า ย่อมเป็นผู้เสพโดยมาก วัตตมานาวิภัตติย่อมลงในอรรถว่า ปจุร คือมาก.

สองบทว่า โส ภิกขุ ได้แก่ ภิกษุผู้เสพเมถุนธรรมนั้น

สองบทว่า เสนาสนจาริกํ อาหิณฺฑนฺตา ความว่า ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้น มาเฝ้าพระพุทธเจ้าได้อาคันตุกภัตแต่เช้าตรู่ทําภัตกิจเสร็จแล้วชักชวนกันว่า พวกเราจักดูสถานที่อยู่ของภิกษุทั้งหลาย แล้วก็เที่ยวไป เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลาย จึงกล่าวว่า เสนาสนจาริกํอาหิณฺฑนฺตา.

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 744

[ลิงตัวเมียแสดงของลับแก่ภิกษุอาคันตุกะ]

หลายบทว่า เยน เต ภิกฺขู เตนุปสงฺกมิ มีความว่า ธรรมดาสัตว์ดิรัจฉานทั้งหลาย ครั้นได้ทําความคุ้นเคยกับภิกษุรูปหนึ่งแล้ว ก็ยังความคิดเช่นนั้นนั่นเอง ให้เกิดขึ้น แก้ในภิกษุเหล่าอื่นด้วย เพราะฉะนั้น ลิงตัวเมียนั้น จึงได้เข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น จนถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว ก็ได้แสดงวิการนั้นแม้แก่ภิกษุเหล่านั้น เหมือนกับแสดงแก่ภิกษุที่ตนคุ้นเคย ฉะนั้น

บทว่า เฉปฺปํ แปลว่า หาง

บทว่า โอทฺทิสิ (๑) แปลว่า วางไว้ตรงหน้า

สองบทว่า นิมิตฺตมฺปิ อกาสิ ความว่า ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นย่อมรู้ความต้องการเมถุน ด้วยความกําหนดอย่างใด ด้วยกิริยาอย่างใด ลิงตัวเมียนั้น ก็ได้ทํานิมิตนั้น ด้วยความกําหนดและกิริยานั้นๆ

สองบทว่า โส ภิกฺขุ ความว่า นี้เป็นวิหาร (ที่อยู่) ขอภิกษุใด (ภิกษุนั้น ย่อมเสพเมถุนธรรมในลิงตัวเมียนี้ ไม่ต้องสงสัยแล) สองบทว่า เอกมนฺตํ นิลียึสุ ความว่า ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นได้แอบซ่อนอยู่ ณ โอกาสแห่งหนึ่ง

สองบทว่า สจฺจํ อาวุโส ความว่า ภิกษุรูปนั้น เพราะถูกพวกภิกษุอาคันตุกะเห็นกรรมที่เธอทํานั้นอย่างประจักษ์ตาทักท้วงขึ้น เหมือนจับโจรได้พร้อมกับของกลางฉะนั้น เมื่อไม่สามารถจะพูดคําเป็นต้นว่า ผมทํากรรมชั่วอะไรหรือ จึงพูดรับว่า จริง ขอรับ

หลายบทว่า นนุ อาวุโส ตเถว ตํ โหติ ความว่า คุณ แม้ในเพราะสัตว์เดียรัจฉานตัวเมีย สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นเหมือนในหญิงมนุษย์


(๑) บาลี โอฑฺฑิ ได้แอ่นตะโพก.

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 745

มิใช่หรือ (คุณ เมื่อภิกษุสุทินน์เสพเมถุนธรรมในหญิงมนุษย์ สิกขาบทย่อมมีฉันใด เมื่อคุณเสพเมถุนธรรมแม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย สิกขาบทนั้นก็ย่อมเป็นเหมือนกันฉันนั้น มิใช่หรือ) จริงอยู่ การมองดูก็ดี จับต้องก็ดีลูกคลําก็ดี แตะต้องก็ดี กระทบก็ดี แม้ซึ่งสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย เป็นความชั่วหยาบเหมือนกัน ในหญิงมนุษย์และสัตว์ดิรัจฉานตัวเมียนี้ จะมีความแปลกกันอะไร ท่านได้อ้างเลศในฐานที่มิใช่เลศแล

หลายบทว่า อนฺตมโส ติรจฺฉานคตายปิ ปาราชิโก โหติอสํวาโส ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงทําสิกขาบทให้มั่นขึ้นอีกว่าภิกษุเสพเมถุนธรรม แม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ก็เป็นปาราชิกเหมือนกัน

[สิกขาบททั้งหมด มีโทษ ๒ อย่าง]

จริงอยู่ สิกขาบทมี ๒ อย่าง คือ โลกวัชชะ (มีโทษทางโลก) ๑ ปัณณัตติวัชชะ มีโทษทางพระบัญญัติ) ๑

บรรดาโทษ ๒ อย่างนั้น สิกขาบทใด ในฝ่ายสจิตตกะ มีจิตเป็นอกุศลล้วนๆ สิกขาบทนั้นชื่อว่า เป็นโลกวัชชะ ที่เหลือเป็นปัณณัตติวัชชะ

บรรดาโทษ ๒ อย่างนั้น อนุบัญญัติในสิกขาบทที่เป็นโลกวัชชะ เมื่อเกิดขึ้น กั้น ปิดประตู ตัดกระแส ทําให้ตึงขึ้นกว่าเดิม ย่อมเกิดขึ้น ส่วนอนุบัญญัตินี้ว่า เว้นไว้แต่สําคัญว่าได้บรรลุ (๑) เว้นไว้แต่ฝัน (๒) พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพราะไม่มีการล่วงละเมิด และเพราะเป็นอัพโพหาริก ในสิกขาบทที่เป็นปัณณัตติวัชชะ เมื่อภิกษุยังไม่ได้ทําการล่วงละเมิด อนุบัญญัติ เมื่อเกิดขึ้นทําให้เพลาลง ปลดเปลื้องออก เปิดประตูให้ ทําไม่ให้เป็นอาบัติต่อๆ


(๑) วิ มหา. ๑/๑๗๒.

(๒) วิ.มหา. ๑/๒๒๔

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 746

ไป ย่อมเกิดขึ้น เหมือนอนุบัญญัติในคณโภชนสิกขาบทและปรัมปรโภชนสิกขาบท ฉะนั้น ส่วนอนุบัญญัติเห็นปานนี้ว่า โดยที่สุด (บอก) แม้แก่หญิงแพศยาอันจะพึงอยู่ร่วมชั่วขณะ (๑) ชื่อว่ามีคติเหมือนพระบัญญัติทีเดียวเพราะเกิดขึ้นในเมื่อภิกษุทําการล่วงละเมิดแล้ว ก็เพราะปฐมสิกขาบทนี้เป็นโลกวัชชะ ไม่ใช่เป็นปัณณัตติวัชชะ ; เพราะฉะนั้น อนุบัญญัตินี้ ก็กั้นปิดประตู ตัดกระแส ได้แก่ทําให้ตึงขึ้นกว่าเดิมอีก ย่อมเกิดขึ้น

ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประมวลเรื่องแม้ทั้งสองมา แล้วบัญญัติปฐมปาราชิก ทําให้ตึงขึ้นกว่าเดิม ด้วยอํานาจมูลเฉทอย่างนั้น เรื่องภิกษุชาววัชชีบุตรแม้อื่นอีกก็เกิดขึ้น เพื่อประโยชน์แก่อนุบัญญัติ เพื่อแสดงความเกิดขึ้นแห่งเรื่องภิกษุวัชชีบุตรนั้น พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลาย จึงได้กล่าวคํานี้ว่า ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้ อธิบายความแห่งคํานั้นว่า สิกขาบทนี้ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วอย่างนี้ แก่ภิกษุทั้งหลาย และเรื่องแม้อื่นนี้ ก็ได้เกิดขึ้น

จบมักกฏีวัตถุกถา


(๑) วิ. มหา. ๑/๓๐๒

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 747

อนุบัญญัติปฐมปาราชิกเรื่องที่สอง

[เรื่องภิกษุชาววัชชีบุตร]

บัดนี้ เพื่อแสดงเรื่องแม้อื่นที่เกิดขึ้นแล้ว พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลาย จึงได้กล่าวคําเป็นต้นว่า เตน โข ปน สมเยน ในคําว่าเตน โย ปน สมเยน เป็นต้นแม้นั้น มีการพรรณนาบทที่ยังไม่กระจ่างดังต่อไปนี้

บทว่า เวสาลิกา ได้แก่ ผู้มีปกติอยู่เมืองไพศาลี

บทว่า วชฺชิปุตฺตกา ได้แก่ ผู้เป็นบุตรของตระกูลในเมื่องไพศาลีในแคว้นวัชชี

ได้ยินว่า อุปัทวะ โทษ ความเสนียดจัญไร ที่ได้เกิดขึ้นในพระศาสนาทั้งหมดนั้น ได้เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยภิกษุชาววัชชีบุตร จริงอย่างนั้นแม้พระเทวทัต ให้พวกภิกษุชาววัชชีบุตรเป็นฝักฝ่ายแล้ว จึงทําลายสงฆ์ก็พวกภิกษุชาววัชชีบุตรนั่นแล ได้แสดงสัตถุศาสนานอกธรรมนอกวินัย ในเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานได้ ๑๐๐ ปี บรรดาภิกษุชาววัชชีบุตรเหล่านั้นนั่นแล แม้ภิกษุเหล่านี้ บางพวกถึงเมื่อทรงบัญญัติสิกขาบทแล้วอย่างนี้ก็ได้สรงน้ำตามความต้องการ ฯลฯ ได้เสพเมถุนธรรมตามความต้องการด้วยประการฉะนี้

ในบทว่า าติพฺยสเนนปิ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ คําว่า "ความพินาศ ความย่อยยับ ความกระจาย ความทําลาย ความฉิบหาย ทั้งหมดนี้มีความหมายอย่างเดียวกัน ความย่อยยับแห่งเหล่าญาติ ชื่อว่า ญาติพยสนะอันความย่อยยับแห่งญาตินั้น (ถูกต้องแล้ว) อธิบายว่า "อันความพินาศแห่ง

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 748

ญาติซึ่งมีการลงราชอาญา ถูกโรคเบียดเบียน ความตายและความพลัดพรากเป็นเครื่องหมาย (ถูกต้องแล้ว) " แม้ในบทที่ ๒ ก็นัยนี้ ส่วนในบทที่ ๓โรคที่ทําความไม่มีโรคให้พินาศไปนั่นเอง ชื่อว่า โรคพยสนะ จริงอยู่โรคนั้นย่อมทําความไม่มีโรคให้ย่อยยับไป คือกระจายไป ได้แก่ ให้พินาศไป เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า พยสนะ ความย่อยยับคือโรค ชื่อว่า โรคพยสนะ อันความย่อยยับโรคนั้น (ถูกต้องแล้ว)

บทว่า ผุฏา คือท่วมทับ ได้แก่ครอบงํา อธิบายว่า ผู้ประกอบพร้อมแล้ว

หลายบทว่า น มยํ ภนฺเต อานนฺท พุทธครหิโน มีความว่าท่านพระอานนท์เจ้าข้า พวกกระผมมิได้ติเตียนพระพุทธเจ้า คือมิได้กล่าวโทษพระพุทธเจ้า มิได้ติเตียนพระธรรม มิได้ติเตียนพระสงฆ์

สองบทว่า อตฺตครหิโน มยํ ความว่า พวกกระผม ติเตียนตนเองเท่านั้น คือกล่าวโทษของตน

บทว่า อลกฺขิกา แปลว่า ผู้หมดสิริ

บทว่า อปฺปปุฺา แปลว่ ผู้บุญน้อย

หลายบทว่า วิปสฺสกา กุสลานํ ธมฺมานํ มีความว่า พวกกระผมจะพึงเป็นผู้เห็นแจ้งซึ่งกุศลธรรมทั้งหลาย ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจําแนกไว้แล้วในอารมณ์ ๓๘ ประการ อธิกายว่า ออกจากอารมณ์นั้นๆ แล้ว จะเห็นแจ้งธรรมเหล่านั้นทีเดียว

บทว่า ปุพฺพรตฺตาปรรตฺตํ ความว่า เบื้องต้นแห่งราตรี ชื่อบุรพราตรี เบื้องปลายแห่งราตรี ชื่อ อปรราตรี มีความอธิบายว่า ปฐมยามและปัจฉิมยาม.

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 749

บทว่า โพธิปกฺขิกานํ คือมีอยู่ในฝ่ายแห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้อธิบายว่า เป็นอุปการะแก่อรหัตตมรรคญาณ.

บทว่า ภาวนานุโยคํ แปลว่า ความประกอบเนื่องๆ ในการเจริญ (โพธิปักขิยธรรม).

สองบทว่า อนุยุตฺตา วิหเรยฺยาม ความว่า พวกกระผมละคิหิปลิโพธและอาวาสปลิโพธแล้ว จะพึงเป็นผู้ประกอบขวนขวาย ไม่มีกิจอื่นอยู่ในเสนาสนะอันสงัด.

บทว่า เอวมาวุโส ความว่า พระเถระ เมื่อไม่ทราบอัธยาศัยของเธอเหล่านั้น ได้ฟังการคําราม อย่างมาก (คําอ้อนวอน) นี้ ของภิกษุเหล่านั้นแล้ว จึงสําคัญอยู่ว่า "ถ้าเธอเหล่านี้ จักเป็นผู้เช่นนี้ไซร้ ก็เป็นการดี"แล้วรับคําว่าได้ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย

[เรื่องทรงห้ามมิให้ภิกษุชาววัชชีบุตรบรรพชาอุปสมบท]

แม้สองบทว่า อฏฺานํ อนาวกาโส นี้ เป็นอันตรัสห้ามเหตุ.จริงอยู่ เหตุ ท่านเรียกว่า "ฐานะ และโอกาส" เพราะเป็นที่ตั้งแห่งผล โดยความที่ผลนั้นเป็นไปเนื่องด้วยเหตุนั้น และเพราะเหตุนั้น ก็เป็นโอกาสแห่งผลนั้น โดยความที่เหตุนั้นเป็นไปเนื่องด้วยผลนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงห้ามเหตุนั้น จึงตรัสว่าอฏฺานเมตํ อานนฺท อนวกาโส เป็นต้นความว่า ฐานะหรือโอกาสนี้ไม่มี.

สองบทว่า ยํ ตถาคโต ความว่า พระตถาคตจะพึงถอนปาราชิกสิกขาบทที่บัญญัติแล้วแก่สาวกทั้งหลาย เพระเหตุแห่งพวกวัชชีหรือพวกภิกษุชาววัชชีบุตร ด้วยเหตุใด เหตุนั้น ไม่มี. ความจริงถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 750

จะพึงประทานอุปสมบทแก่ภิกษุชาววัชชีบุตรเหล่านี้ ผู้ทูลขออยู่ว่า ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงได้อุปสมบท ดังนี้ไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น พระองค์ก็จะพึงถอนปาราชิกสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ว่า "ย่อมเป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้." แต่เพราะเหตุที่พระองค์ ไม่ทรงถอนสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้แล้วนั้นฉะนั้นจึงตรัสว่า "นั่น ไม่ใช่ฐานะ" เป็นต้น.

หลายบทว่า โส อาคโต น อุปสมฺปาเทตพฺโพ ความว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีความอนุเคราะห์เทียว ทรงทราบว่า ถ้าภิกษุนั้นมาแล้วอย่างนี้ พึงได้รับอุปสมบทไซร้, เธอพึงเป็นผู้ไม่มีความเคารพในศาสนา,แต่เธอตั้งอยู่ในภูมิของสามเณรแล้ว จักเป็นผู้มีความเคารพ และจักทําประโยชน์ตนได้ จึงตรัสว่า "เธอมาแล้วไม่ควรให้อุปสมบท."

หลายบทว่า โส อาคโต อุปสมฺปาเทตพฺโพ ความว่า พระผู้มี-พระภาคเจ้าทรงทราบแล้วว่า ภิกษุนั้นมาแล้วอย่างนี้ ยังดํารงอยู่ในภาวะเป็นภิกษุจักเป็นผู้มีความเคารพในศาสนา เพราะความที่เธอมีศีลยังไม่วิบัติ, เธอเมื่อยังมีอุปนิสัยอยู่ จักบรรลุประโยชน์สูงสุด ต่อกาลไม่นานนักแล จึงตรัสว่า"เธอนั้นมาแล้ว ควรให้อุปสมบท"

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงภิกษุชาววัชชีบุตร ผู้ไม่ควรให้อุปสมบท และผู้ควรให้อุปสมบท ในบรรดาเหล่าภิกษุชาววัชชีบุตรผู้เสพเมถุนธรรม มาแล้วอย่างนี้ มีพระประสงค์จะประมวลเรื่องทั้ง ๓ มา แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทให้บริบูรณ์ จึงตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็แลพวกเธอพึงแสดงสิกขาบทนี้ขึ้นอย่างนี้ " แล้วได้ทรงบัญญัติสิกขาบทให้บริบูรณ์อย่างนี้ว่า:- โย ปน ภิกฺขุ ฯ เปฯ อสํวาโส แปลว่า

 
  ข้อความที่ 62  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 751

อนึ่ง ภิกษุใด ถึงพร้อมด้วยสิกขาและสาชีพของภิกษุทั้งหลายแล้วไม่กล่าวคืนสิกขา ไม่ได้ทําให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพลพึงเสพเมถุนธรรม โดยที่สุดแม้ในดิรัจฉานตัวเมีย ภิกษุนี้เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้ (๑)

[วินัย ๔ อย่าง]

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงจําแนกเนื้อความแห่งสิกขาบทนั้น จึงตรัสคําเป็นต้นว่า "โย ปนาติ โย ยาทิโส"

ก็พระวินัยธร ผู้ปรารถนาความเป็นผู้ฉลาดในสิกขาบท วิภังค์แห่งสิกขาบทนั้น และวินิจฉัยทั้งสิ้น ควรทราบวินัย ๔ อย่าง.

จริงอยู่พระธรรมสังคาหกมหาเถระทั้งหลายผู้มีฤทธิ์มากในปางก่อน ได้นําวินัย ๔ อย่างออกเปิดเผยแล้ว.

วินัย ๔ อย่างเป็นไฉน? วินัย ๔ อย่างคือ สูตร สุตตานุโลมอาจริยวาท อัตตโนมติ ซึ่งพระนาคเสนเถระหมายเอากล่าวไว้ (ในมิลินทปัญหา) ว่า มหาบพิตร! เนื้อความอันกุลบุตรพึงรับรองด้วยบทดั้งเดิมแลด้วยรส ด้วยความเป็นวงศ์แห่งอาจารย์ ด้วยความอธิบาย (๒)

[อรรถาธิบายวินัย ๔ อย่าง]

จริงอยู่ บรรดาคําเหล่านี้ คําว่า อาหัจจบท ท่านประสงค์เอาสูตร. คําว่า "รส" ท่านประสงค์เอาสุตตานุโลม. คําว่า "อาจริยวงศ์" ท่านประสงค์เอาอาจริยวาท. คําว่า "อธิบาย" ท่านประสงค์เอาอัตโนมัติ.


(๑) วิ. มหา. ๑/๔๒.

(๒) นัยมิลินทปัญหา ๒๐๓.

 
  ข้อความที่ 63  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 752

บรรดาวินัย ๔ อย่างนั้น ที่ชื่อว่า สูตรได้แก่บาลีในวินัยปิฎกทั้งมวล.ที่ชื่อว่า สุตตานุโลม ได้แก่มหาประเทศ ๔ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า:-

(๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สิ่งใดเรามิได้ห้ามไว้ว่า "สิ่งนี้ไม่ควร" ถ้าสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่เป็นอกัปปิยะ ขัดกันกับสิ่งที่เป็นกัปปิยะ, สิ่งนั้น ไม่ควรแก่ท่านทั้งหลาย

(๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สิ่งใด เรามิได้ห้ามไว้ว่า "สิ่งนี้ไม่ควร" ถ้าสิ่งนั้นเข้ากันกับสิ่งที่เป็นกัปปิยะ ขัดกันกับสิ่งที่เป็นอกัปปิยะ, สิ่งนั้นควรแก่ท่านทั้งหลาย

(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สิ่งใดเรามิได้อนุญาตไว้ว่า "สิ่งนี้ควร" หากสิ่งนั้นเข้ากันกับสิ่งที่เป็นอกัปปิยะ ขัดกันกับสิ่งที่เป็นกัปปิยะ, สิ่งนั้น ไม่ควรแก่ท่านทั้งหลาย

(๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สิ่งใดเรามิได้อนุญาตไว้ว่า "สิ่งนี้ควร" หากสิ่งนั้นเข้ากันกับสิ่งที่เป็นกัปปิยะขัดกันกับสิ่งที่เป็นอกัปปิยะ, สิ่งนั้น ควรแก่ท่านทั้งหลาย (๑)

ที่ชื่อว่า อาจริยวาท ได้แก่แบบอรรถกถา ซึ่งยังวินิจฉัยท้องเรื่องให้เป็นไป นอกจากบาลี ซึ่งพระอรหันต์๕๐๐ องค์ผู้เป็นธรรมสังคหกะตั้งไว้.

ที่ชื่อว่า อัตโนมัติได้แก่คําที่พ้นจากสูตร สุตตานุโลม และอาจริยวาท กล่าวตามอาการที่ปรากฏด้วยอนุมาน คือ ด้วยความตามรู้แห่งตน ด้วยการถือเอานัยด้วยการถือเอาใจความ. อีกนัยหนึ่ง เถรวาทแม้ทั้งหมด ที่มาในอรรถกถาแห่งพระสูตร พระอภิธรรม และพระวินัย ชื่อว่า อัตตโนมัติ.


(๑) วิ. มหา ๕/๓๒๑

 
  ข้อความที่ 64  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 753

[วิธีสอบสวนสูตรและสุตตานุโลมเป็นต้น]

แต่กุลบุตร ผู้อ้างอัตโนมัตินั้นกล่าวไม่ควรจะยึดถือให้แน่นแฟ้นกล่าว ควรกําหนดเหตุเทียบเคียงบาลีกับเนื้อความ และเนื้อความกับบาลีแล้วจึงกล่าว. อัตโนมัติ ควรสอบสวนดูในอาจริยวาท ถ้าลงกันและสมกันในอาจริยวาทนั้นไซร้, จึงควรถือเอาถ้าไม่ลงกัน ไม่สมกัน ไม่ควรถือเอา.จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่า อัตโนมัตินี้ ยังเป็นของทรามกําลังกว่าทุกอย่าง. อาจริยวาทมีกําลังกว่าอัตโนมัติ. แม้อาจริยวาทก็ควรสอบสวนดู ในสุตตานุโลม เมื่อลงกัน สมกันแท้ในสุตตานุโลมนั้น จึงควรถือเอา, ฝ่ายที่ไม่ลงกัน ไม่สมกันไม่ควรถือเอา. เพราะว่า สุตตานุโลม เป็นของมีกําลังกว่าอาจริยวาท. แม้สุตตานุโลม ก็ควรสอบสวนดูในสูตรเมื่อลงกันสมกันแท้ ในสูตรนั้น จึงควรถือเอา, ฝ่ายที่ไม่ลงกัน ไม่สมกัน ไม่ควรถือเอา. เพราะว่าสูตรเท่านั้นเป็นของมีกําลังกว่าสุตตานุโลม. จริงอยู่ สูตรเป็นของอันใครๆ แต่งเทียมไม่ได้ เป็นเหมือนสงฆ์ผู้ทํา เป็นเหมือนกาลที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายยังทรงพระชนม์อยู่. เพราะฉะนั้น เมื่อใดภิกษุสองรูป สากัจฉากัน, สกวาทีอ้างสูตรกล่าว, ปรวาทีอ้างสุตตานุโลมกล่าว เมื่อนั้น ทั้งสองรูปนั้น ไม่ควรทําการเพิดเพ้ยหรือติเตียนกันและกัน ควรสอบสวนสุตตานุโลมในสูตรถ้าลงกันสมกัน ควรถือเอา, ถ้าไม่ลงกัน ไม่สมกัน ไม่ควรถือเอา, ควรตั้งอยู่ในสูตรเท่านั้น.

ถ้าสกวาทีนี้อ้างสูตรกล่าว, ปรวาทีอ้างอาจริยวาทกล่าวไซร้, แม้ทั้งสองรูปนั้น ก็ไม่ควรทําการเพิดเพ้ย หรือติเตียนกันและกัน ควรสอบสวนอาจริยวาทในสูตร ถ้าลงกัน สมกัน ควรถือเอา. เมื่ออาจริยวาท ไม่ลงกันและไม่สมกัน ทั้งเป็นข้อที่น่าตําหนิก็ไม่ควรถือเอา, ควรตั้งอยู่ในสูตรเท่านั้น.

 
  ข้อความที่ 65  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 754

ถ้าสกวาทีนี้ อ้างสูตรกล่าว, ปรวาทีอ้างอัตโนมัติกล่าวไซร้, แม้ทั้งสองรูปนั้น ก็ไม่ควรทําการเพิดเพ้ย หรือติเตียนกันและกัน ควรสอบสวนอัตโนมัติในสูตรถ้าลงกันสมกัน ควรถือเอา, ถ้าไม่ลงกัน ไม่สมกันไม่ควรถือเอา :-ควรตั้งอยู่ในสูตรเท่านั้น.

ถ้าสกวาทีนี้ อ้างสุตตานุโลมกล่าว, ปรวาทีอ้างสูตรกล่าวไซร้,ควรสอบสวนสูตรในสุตตานุโลม ถ้าลงกันสมกัน ปรากฏมาในบาลีขึ้นสู่สังคีติทั้ง ๓ ครั้ง จึงควรถือเอา, ถ้าไม่ปรากฏเหมือนอย่างนั้น ไม่ลงกัน ไม่สมกันเป็นพาหิรกสูตร สิโลกโศลก หรือสูตรที่น่าตําหนิอื่นๆ ซึ่งมาจากบรรดาสูตรทั้งหลาย มีคุฬหเวสสันตรคุฬหวินัย และคุฬหเวทัลละเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ควรถือเอา; ควรตั้งอยู่ในสุตตานุโลมเท่านั้น.

ถ้าสกวาทีนี้อ้างสุตตานุโลมกล่าว, ปรวาที อ้างอาจริยวาทกล่าวไซร้,ควรสอบสวนอาจริยวาท ในสุตตานุโลม, ถ้าลงกัน สมกัน ควรถือเอา, ถ้าไม่ลงกัน ไม่สมกัน ไม่ควรถือเอา; ควรตั้งอยู่ในสุตตานุโลมเท่านั้น.

ถ้าสกวาทีนี้ อ้างสุตตานุโลมกล่าว, ปรวาที อ้างอัตโนมัติกล่าวไซร้,ควรสอบสวนอัตโนมัติ ในสุตตานุโลม ถ้าลงกัน สมกัน ควรถือเอา,

ถ้าไม่ลงกัน ไม่สมกัน ไม่ควรถือเอา ; ควรตั้งอยู่ในสุตตานุโลมเท่านั้น.ก็ถ้าสกวาทีนี้อ้างอาจริยวาทกล่าว, ปรวาทีอ้างสูตรกล่าวไซร้, ควรสอบสวนสูตรในอาจริยวาท ถ้าลงกันสมกัน ควรถือเอา. สูตรที่น่าตําหนินอกนี้ ไม่ควรถือเอา, ควรตั้งอยู่ในอาจริยวาทเท่านั้น.

ถ้าสกวาทีนี้ อ้างอาจริยวาทกล่าว, ปรวาทีอ้างสุตตานุโลมกล่าวไซร้,ควรสอบสวนสุตตานุโลมในอาจริยวาท เมื่อลงกัน สมกันแท้ จึงควรถือเอา.นอกนี้ไม่ควรถือเอา, ควรตั้งอยู่ในอาจริยวาทเท่านั้น.

 
  ข้อความที่ 66  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 755

ถ้าสกวาทีนี้อ้างอาจริยวาทกล่าว, ปรวาทีอ้างอัตโนมัติกล่าวไซร้,ควรสอบสวนอัตโนมัติในอาจริยวาท ถ้าลงกัน สมกัน ควรถือเอา, ถ้าไม่ลงกัน ไม่สมกัน ไม่ควรถือเอา, ควรตั้งอยู่ในอาจริยวาทเท่านั้น. การถือเอา (มติ) ของตนนั่นแล ควรทําให้มีกําลัง (ให้มีหลักฐาน)

อนึ่ง ถ้าสกวาทีนี้ อ้างอัตโนมัติกล่าว, ปรวาทีอ้างสูตรกล่าวไซร้,ควรสอบสวนสูตรในอัตโนมัติ, ถ้าลงกัน สมกัน ควรถือเอา. สูตรที่น่าตําหนินอกนี้ไม่ควรถือเอา, ควรตั้งอยู่ในอัตโนมัติเท่านั้น.

ถ้าสกวาทีนี้ อ้างอัตโนมัติกล่าว, ปรวาทีอ้างสุตตานุโลมกล่าวไซร้ควรสอบสวนสุตตานุโลนในอัตโนมัติ เมื่อลงกัน สมกันแท้ ควรถือเอา.นอกนี้ไม่ควรถือเอา, ควรตั้งอยู่ในอัตโนมัติเท่านั้น.

ถ้าสกวาทีนี้อ้างอัตโนมัติกล่าว, ปรวาทีอ้างอาจริยวาทกล่าวไซร้,ควรสอบสวนอาจริยวาทในอัตโนมัติถ้าลงกัน สมกัน ควรถือเอา. อาจริยวาทที่น่าตําหนินอกนี้ ไม่ควรถือเอา, ควรตั้งอยู่ในอัตโนมัติเท่านั้น. การถือเอา (มติ) ของตนนั่นแล ควรทําให้มีกําลัง (ให้มีหลักฐาน) . อนึ่งไม่ควรทําการเพิดเพ้ย หรือตําหนิในที่ทั้งปวง ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง ถ้าสกวาทีนี้ กล่าวอ้างว่า เป็นกัปปิยะ ปรวาทีกล่าวอ้างว่าเป็นอกัปปิยะ ควรสอบสวนสิ่งนั้นๆ ในสูตรและสุตตานุโลม ถ้าสิ่งนั้นเป็นกัปปิยะ, ควรตั้งอยู่ในสิ่งที่เป็นกัปปิยะ ถ้าสิ่งนั้น เป็นอกัปปิยะ, ก็ควรตั้งอยู่ในสิ่งที่เป็นอกัปปิยะ.

ถ้าสกวาทีนี้ ชี้แจงเหตุและคําวินิจฉัยมากมายจากสูตรเป็นเครื่องสาธกสิ่งที่เป็นกัปปิยะ แก่ฝ่ายปรวาทีนั้นไซร้, ปรวาทีไม่พบเหตุ, ก็ควรตั้งอยู่ในสิ่งที่เป็นกัปปิยะ.

 
  ข้อความที่ 67  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 756

ถ้าปรวาที ชี้แจงเหตุและคําวินิจฉัยมากมายจากสูตรเป็นเครื่องสาธกสิ่งที่เป็นอกัปปิยะแก่ฝ่ายสกวาทีนั้นไซร้, สกวาทีนั้น ไม่ควรถือมั่นตั้งอยู่ว่าการถือเอามติของตน (ถูกฝ่ายเดียว) ควรยอมรับว่า ดีละแล้วตั้งอยู่ในสิ่งที่เป็นอกัปปิยะเท่านั้น. ถ้าว่า เงาแห่งเหตุแม้ของทั้งสองฝ่ายย่อมปรากฏชัดไซร้, ข้อที่ทั้งสองฝ่ายคัดค้านนั่นแล เป็นการดี, แต่ควรตั้งอยู่ในสิ่งที่เป็นอกัปปิยะ. ความจริงครั้นมาถึงวินัยแล้ว อันภิกษุบริษัท ควรอาศัยการวิจารณ์ถึงสิ่งที่ควรและไม่ควรป้องกันไว้ควรทําการยึดถือให้มั่นคง ควรตัดกระแสเสีย, ควรตั้งอยู่ในความเป็นผู้หนักนั่นแล.

อนึ่ง ถ้าสกวาทีนี้กล่าวอ้างว่า เป็นอกัปปิยะ, ปรวาทีกล่าวอ้างว่าเป็นกัปปิยะ, ควรสอบสวนสิ่งนั้นๆ ในสูตรและสุตตานุโลม ถ้าสิ่งนั้นเป็นกัปปิยะ, ควรตั้งอยู่ในสิ่งที่เป็นกัปปิยะ, ถ้าสิ่งนั้นเป็นอกัปปิยะ, ควรตั้งอยู่ในสิ่งที่เป็นอกัปปิยะ.

ถ้าสกวาทีนี้ชี้แจงถึงสิ่งที่เป็นอกัปปิยะ ด้วยสูตรคําวินิจฉัยและเหตุมากมายไซร้, ปรวาทีไม่ได้พบเหตุ, ควรตั้งอยู่ในสิ่งที่เป็นอกัปปิยะ.

ถ้าปรวาที ชี้แจงถึงสิ่งที่เป็นกัปปิยะ ด้วยสูตรคําวินิจฉัยและเหตุมากมายไซร้, สกวาทีนี้มิได้พบเหตุ, ควรตั้งอยู่ในสิ่งที่เป็นกัปปิยะ. ถ้าว่าเงาแห่งเหตุ แม้ของทั้งสองฝ่ายย่อมปรากฏชัดไซร้, ไม่ควรสละการถือเอา (มติ) ของตน. เหมือนอย่างว่า ในสิ่งที่เป็นกัปปิยะและอกัปปิยะและในสิ่งที่เป็นอกัปปิยะและกัปปิยะ ท่านกล่าววินิจฉัยนี้ไว้แล้ว ฉันใด, ในวาทะว่าเป็นอนาบัติและอาบัติก็ดี ในวาทะว่าเป็นอาบัติและอนาบัติก็ดี ในวาทะว่าเป็นลหุกาบัติและครุกาบัติก็ดี ในวาทะว่าเป็นครุกาบัติและลหุกาบัติก็ดี ก็ควรทราบวินิจฉัย ฉันนั้น.

 
  ข้อความที่ 68  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 757

จริงอยู่ ในวาทะที่ว่าเป็นอนาบัติและอาบัติเป็นต้นนี้มีความต่างกันในเพราะเหตุสักว่าชื่อเท่านั้น, ในนัยแห่งการประกอบความหามีความต่างกันไม่, เพราะฉะนั้น การประกอบความ ท่านจึงไม่ทําให้พิสดาร. เมื่อเกิดคําวินิจฉัยถึงสิ่งที่เป็นกัปปิยะและอกัปปิยะเป็นต้นอย่างนี้แล้วฝ่ายใด ได้พบเหตุมากมายในสูตร สุตตานุโลม อาจริยวาท และอัตโนมัติ, ควรตั้งอยู่ในวาทะของฝ่ายนั้น. อนึ่ง ทั้งสองฝ่าย เมื่อไม่ได้พบเหตุและคําวินิจฉัยโดยประการทั้งปวง ไม่ควรละทิ้งสูตร ควรตั้งอยู่ในสูตรเท่านั้น ฉะนี้แล. พระวินัยธรผู้ปรารถนาความเป็นผู้ฉลาดในสิกขาบท วิภังค์แห่งสิกขาบทนั้น และวินัยวินิจฉัยทั้งสิ้น ควรทราบวินัย ๔ อย่างนี้ดังพรรณนามาฉะนี้.

[พระวินัยธรประกอบด้วยลักษณะ ๓ อย่าง]

ก็แล บุคคลผู้ทรงวินัย แม้ครั้นทราบวินัย ๔ อย่างนี้แล้วก็ควรเป็นผู้ประกอบด้วยลักษณะ ๓. จริงอยู่ลักษณะแห่งพระวินัยธร ๓ อย่างควรปรารถนา. ลักษณะ ๓ อย่าง เป็นไฉน? ลักษณะ ๓ อย่าง คือ:- คําว่า ก็สูตรของพระวินัยธรนั้น เป็นพุทธพจน์ที่มาถูกต้องคล่องแคล่วดีวินิจฉัยดี โดยสูตร โดยพยัญชนะ (๑) นี้เป็นลักษณะอันหนึ่ง. คําว่า ก็พระวินัยธรนั้น เป็นผู้มั่นคงไม่ง่อนแง่นในวินัยแล นี้เป็นลักษณะที่สอง. คําว่าก็ลําดับอาจารย์แล เป็นลําดับที่พระวินัยธรนั้นจําได้ถูกต้อง ทําให้ขึ้นใจไว้ดีใคร่ครวญถูกต้องดีแล้ว (๒) นี้เป็นลักษณะที่สาม.

[อรรถาธิบายลักษณะ ๓ ของพระวินัยธร]

ในคําว่า สุตฺตฺจ เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :-วินัยปิฎกทั้งสิ้นชื่อว่าสูตร, สูตรนั้นของพระวินัยธรนั้น เป็นพุทธพจน์ที่มาถูกต้อง คือมาด้วยดี


(๑) - (๒) นย. วิ. ปริวาร. ๘/๓๒๙.

 
  ข้อความที่ 69  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 758

บทว่า สุปฺปวตฺติตํ ได้แก่ เป็นไปด้วยดี คือชํานาญ คล่องปาก.

หลายบทว่า สุวินิจฺฉิตํ อนุพฺยฺชนโส ได้แก่ ที่วินิจฉัยเรียบร้อย คือที่ตนตัดความสงสัย เรียนเอาไว้โดยบาลีปริปุจฉาและอรรถกถา.

หลายบทว่า วินเยโข ปน ิโต โหติ ความว่า พระวินัยธรนั้นเป็นผู้ตั้งมั่นในพระวินัย ด้วยความเป็นลัชชีภิกษุ. จริงอยู่ อลัชชีภิกษุแม้เป็นพหูสูต เพราะค่าที่ตนเป็นผู้หนักในลาภ ก็แกล้งกล่าวให้ผิดแบบแผนแสดงสัตถุศาสนานอกธรรมนอกวินัย ย่อมทําอุปัทวะมากมายในพระศาสนาคือก่อให้เกิดสังฆเภทบ้าง สังฆราชีบ้าง. ฝ่ายภิกษุลัชชี เป็นผู้มักรังเกียจใคร่การศึกษา แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต ก็ไม่แกล้งกล่าวให้ผิดแบบแผน ย่อมแสดงเฉพาะธรรม เฉพาะวินัยเท่านั้น คือทําสัตถุศาสนาให้เป็นที่เคารพตั้งอยู่.จริงอย่างนั้น พระมหาเถระทั้งหลายในปางก่อน เปล่งวาจา ๓ ครั้งว่า ในอนาคตกาล ภิกษุลัชชี จักรักษาไว้, ภิกษุลัชชีจักรักษาไว้ ดังนี้เป็นต้น.ก็ภิกษุรูปใด เป็นลัชชีดังกล่าวมาแล้วนั้น ภิกษุรูปนั้น เมื่อไม่ละไม่ฝ่าฝืนวินัยเป็นผู้ตั้งมั่น คือมั่นคงอยู่ในวินัย ด้วยความเป็นลัชชีภิกษุ ฉะนี้แล.

บทว่า อสํ หิโรความว่า บุคคลใด ถูกผู้อื่นถามด้วยบาลีโดยเบื้องต่ําหรือเบื้องสูง ด้วยลําดับบทหรืออรรถกถา ย่อมทุรนทุราย กระสับกระส่ายไม่อาจตั้งมั่นอยู่ได้ย่อมคล้อยตามคําที่ผู้อื่นกล่าว ทิ้งวาทะของตนเสีย ถือเอาวาทะของผู้อื่น ผู้นั้น ชื่อว่าผู้ง่อนแง่น. ฝ่ายบุคคลใด ถูกผู้อื่นถามด้วยบทเบื้องต่ําและสูง หรือด้วยลําดับบทในบาลีก็ดี ในอรรกถาก็ดี ย่อมไม่ทุรนทุราย ไม่กระสับกระส่าย เปรียบเหมือนเอาแหนบจับขนทีละเส้นๆ ฉะนั้นชี้แจงกะเขาว่าข้าพเจ้ากล่าวอย่างนี้, อาจารย์ทั้งหลายของข้าพเจ้า ก็กล่าวอย่างนี้. อนึ่งบาลีและวินิจฉัยบาลี ตั้งอยู่ในบุคคลใด ไม่ถึงความเลื่อมสิ้น

 
  ข้อความที่ 70  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 759

หมดเปลืองไป เหมือนน้ำมันราชสีห์ที่ใส่ไว้ในภาชนะทองคํา ไม่ถึงความสิ้นไปฉะนั้น, บุคคลนี้ ท่านเรียกว่า ผู้ไม่ง่อนแง่น.

หลายบทว่าอาจริยปรมฺปรา โข ปนสฺส สุคฺคหิตา โหติความว่า ลําดับแห่งพระเถระ คือลําดับวงศ์เป็นลําดับที่พระวินัยธรนั้นจําได้อย่างถูกต้อง.

บทว่า สุมนสิกตา ได้แก่ทําให้ขึ้นใจอย่างดี แต่พอนึก ก็ปรากฏได้คล้ายประทีปที่ลุกโชน ฉะนั้น.บทว่า สูปธาริตาได้แก่ใคร่ครวญโดยดีคือใคร่ครวญโดยความสืบเนื่องกันแห่งเบื้องต้นและเบื้องปลาย โดยผลและโดยเหตุ.

[ลําดับอาจารย์ตั้งแต่พระอุบาลีเถระเป็นต้นมา]

บุคคลละมติของตนแล้วเป็นผู้กล่าวความบริสุทธิ์แห่งอาจารย์ คือนําลําดับอาจารย์ได้แก่ระเบียบแห่งพระเถระทั้งหมดอย่างนี้คือพระอาจารย์ของข้าพเจ้าเรียนเอาในสํานักของอาจารย์ชื่อโน้น, อาจารย์นั้นเรียนเอาในสํานักอาจารย์ชื่อโน้น, ไปตั้งไว้จนให้ถึงคําว่า "พระอุบาลีเถระ เรียนเอาในสํานักของพระพุทธเจ้า."

พระอาจารย์รูปต่อๆ มาได้นําแม้จากพระอุบาลีเถระนั้นมาคือได้นําลําดับแห่งพระอาจารย์ ได้แก่ระเบียบแห่งพระเถระทั้งหมดจนให้ถึงพระอาจารย์ของตน แล้วตั้งไว้อย่างนี้ว่า "พระอุบาลีเถระเล่าเรียนมาในสํานักของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า, พระทาสนกเถระเล่าเรียนมาในสํานักของพระอุบาลีเถระผู้เป็นอุปัชฌายะของตน, พระสิคควเถระ เล่าเรียนมาในสํานักของพระโสณกเถระ ผู้เป็นอุปัชฌายะของตน, พระโมคคลีบุตรติสสเถระ เล่าเรียนมาใน

 
  ข้อความที่ 71  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 760

สํานักของพระสิคควเถระ และพระจัณฑวัชชีเถระ ผู้เป็นอุปัชฌายะของตน."แท้จริง ลําดับแห่งพระอาจารย์ อันพระวินัยธรเรียนเอาแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นอันเธอจําได้อย่างถูกต้อง แต่เมื่อไม่สามารถจะเรียนเอาอย่างนั้น ก็ควรเรียนเอาเพียง ๒ - ๓ ลําดับก็พอ. จริงอยู่โดยนัยอย่างหลังที่สุด ควรทราบเหมือนอย่างพระอาจารย์และอาจารย์ของอาจารย์ กล่าวบาลีและปริปุจฉา ฉะนั้น.

[พระวินัยธรจะวินิจฉัยอธิกรณ์ควรตรวจดูฐานะ ๖ อย่างก่อน]

ก็แล พระวินัยธรผู้ประกอบพร้อมด้วยลักษณะ ๓ อย่างนี้แล้วเมื่อสงฆ์ประชุมกันเพื่อวินิจฉัยเรื่อง และเรื่องที่หยั่งลงแล้ว ทั้งโจทก์แลจําเลยก็ให้การแล้วเมื่อจะพูดไม่ควรด่วนตัดสินทีเดียว ควรตรวจดูฐานะทั้ง ๖ เสียก่อน.

ฐานะ ๖ อย่าง เป็นไฉน? ฐานะ ๖ อย่างนั้นคือ:-ควรตรวจดูเรื่อง ๑ ตรวจดูมาติกา ๑ ตรวจดูบทภาชนีย์ ๑ ตรวจดูติกปริจเฉท ๑ตรวจดูอันตราบัติ๑ ตรวจดูอนาบัติ ๑.

[อรรถาธิบายฐานะ ๖ อย่าง]

จริงอยู่ พระวินัยธรแม้เมื่อตรวจดูเรื่อง ย่อมเห็นอาบัติบางอย่างอย่างนี้คือ ภิกษุผู้มีจีวรหายควรเอาหญ้าหรือใบไม้ปกปิดจึงมา, แต่ไม่ควรเปลือยกายมาเลย, ภิกษุใดพึงเปลือยกายมา, ภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏ (๑) พระวินัยธรนั้น ครั้นนําสูตรนั้นมาอ้างแล้ว จักระงับอธิกรณ์นั้นได้.

เธอแม้เมื่อตรวจดูมาติกา ย่อมเห็นบรรดาอาบัติ๕ กองกองใดกองหนึ่ง โดยนัยมีอาทิว่า "เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะสัมปชานมุสาวาท" (๒) เธอครั้นนําสูตรนั้นมาอ้างแล้วจักระงับอธิกรณ์นั้นได้.

เธอ แม้เมื่อตรวจดูบทภาชนีย์ ย่อมเห็นบรรดาอาบัติ ๗ กอง กองใดกองหนึ่ง โดยนัยมีอาทิว่า "ภิกษุเสพเมถุนธรรมในสรีระที่สัตว์ยังมิได้กัดกิน


(๑) วิ. มหา. ๒/๓๘.

(๒) วิ. มหา. ๒/๑๕๔.

 
  ข้อความที่ 72  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 761

ต้องอาบัติปาราชิก, (๑) เสพเมถุนธรรมในสรีระที่สัตว์กัดกินแล้วโดยมาก ต้องอาบัติถุลลัจจัย. (๒) เธอครั้นนําสูตรจากบทภาชนีย์มาอ้างแล้วจักระงับอธิกรณ์นั้นได้.

เธอ แม้เมื่อตรวจดูติกปริจเฉท ย่อมเห็นการกําหนดติกสังฆาทิเสสบ้าง ติกปาจิตตีย์บ้าง ติกทุกกฏบ้าง อาบัติอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง. เธอ ครั้นนําสูตรมาจากบาลีติกปริจเฉทนั้นมาอ้างแล้ว จักระงับอธิกรณ์นั้นได้.

เธอ แม้เมื่อตรวจดูอันตราบัติ จะเห็นอันตราบัติ ซึ่งมีอยู่ในระหว่างแห่งสิกขาบทอย่างนี้ คือ ภิกษุ ยักคิ้ว ต้องอาบัติทุกกฏ. เธอ ครั้นนําสูตรนั้นมาอ้างแล้ว จักระงับอธิกรณ์นั้นได้.

เธอ แม้เมื่อตรวจดูอนาบัติ จะเห็นอนาบัติที่ท่านแสดงไว้แล้วในสิกขาบทนั้นๆ อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ! ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่ยินดี ไม่มีไถยจิต ไม่มีความประสงค์จะให้ตายไม่มีความประสงค์จะอวด ไม่มีความความประสงค์จะปล่อย ไม่แกล้งไม่รู้ เพราะไม่มีสติ. เธอ ครั้นนําสูตรนั้นมาอ้างแล้วจักระงับอธิกรณ์นั้นได้.

จริงอยู่ ภิกษุใดเป็นผู้ฉลาดในวินัย ๔ อย่าง สมบูรณ์ด้วยลักษณะ ๓ได้ตรวจดูฐานะ ๖ อย่างนี้แล้ว จักระงับอธิกรณ์ได้. การวินิจฉัย (อธิกรณ์) ของภิกษุนั้นใครๆ ให้เป็นไปทัดเทียมไม่ได้ ย่อมเป็นเช่นกับวินิจฉัยที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งวินิจฉัยเสียเอง.

[วิธีวินิจฉัยอธิกรณ์]

ถ้าภิกษุบางรูป ผู้ทําการล่วงละเมิดสิกขาบทแล้วเข้าไปหาภิกษุผู้ฉลาดในการวินิจฉัยนั้น อย่างนั้นแล้ว พึงถามถึงข้อรังเกียจสงสัยของตนไซร้, ภิกษุ


(๑) - (๒) วิ. มหา. ๑/๖๘ - ๘.

 
  ข้อความที่ 73  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 762

ผู้ฉลาดในการวินิจฉัยนั้น ควรกําหนดให้ดี ถ้าเป็นอนาบัติ, ก็ควรบอกว่าเป็นอนาบัติ แต่ถ้าเป็นอาบัติ, ก็ควรบอกว่า เป็นอาบัติถ้าอาบัตินั้นเป็นเทศนาคามินี, ก็ควรบอกว่า เป็นเทศนาคามินี ถ้าเป็นวุฏฐานคามินี,ก็ควรบอกว่า เป็นวุฏฐานคามินีถ้าฉายาปาราชิกปรากฏ แก่ภิกษุผู้ฉลาดในการวินิจฉัยนั้นไซร้,ไม่ควรบอกว่า เป็นอาบัติปาราชิก. เพราะเหตุไร?เพราะเหตุว่า การล่วงละเมิดเมถุนธรรม และการล่วงละเมิดอุตตริมนุษยธรรมเป็นของหยาบคาย. ส่วนการละเมิดอทินนาทานและมนุสสวิคคหะเป็นของสุขุมมีจิตเปลี่ยนแปลงเร็ว, ภิกษุย่อมต้องวีติกกมะทั้งสองนั้นด้วยอาการสุขุมทีเดียว (และ) ย่อมรักษาไว้ด้วยอาการสุขุม (เหมือนกัน) . เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้ถูกถามความรังเกียจสงสัย ซึ่งมีความละเมิดนั้นเป็นที่ตั้งโดยพิเศษไม่ควรพูดว่า ต้องอาบัติ ถ้าอาจารย์เธอยังมีชีวิตอยู่ไซร้, หลังจากนั้น ภิกษุผู้ฉลาดในการวินิจฉัยนั้น ควรส่งภิกษุนั้นไปว่า เธอจงถามอาจารย์ของข้าพเจ้าดูเถิด.ถ้าเธอกลับมาอีกบอกว่า อาจารย์ของท่าน ค้นดูจากพระสูตร พระวินัยแล้วบอกผมว่า เป็นสเตกิจฉา (ยังพอแก้ไขได้) , ในกาลนั้น ภิกษุผู้ฉลาดในการวินิจฉัยนั้น ควรพูดกะเธอว่า ดีละๆ , เธอจงทําอย่างที่อาจารย์พูด. ก็ถ้าอาจารย์ของเธอไม่มีไซร้, แต่พระเถระผู้เล่าเรียนร่วมกัน มีตัวอยู่, พึงส่งเธอไปยังสํานักของพระเถระนั้น ด้วยสั่งว่า พระเถระผู้เล่าเรียนร่วมกับข้าพเจ้าเป็นคณปาโมกข์ มีตัวอยู่, เธอจงไปถามท่านดูเถิด. แม้เมื่อพระเถระนั้นวินิจฉัยว่า เป็นสเตกิจฉา ก็ควรบอกกะเธอว่า ดีละ, เธอจงทําตามคําของพระเถระนั้นให้ดีทีเดียว. ถ้าแม้พระเถระผู้เล่าเรียนร่วมกัน ของเธอไม่มีไซร้,มีแต่ภิกษุผู้เป็นอันเตวาสิก ซึ่งเป็นบัณฑิต, พึงส่งเธอไปยังสํานักของภิกษุ

 
  ข้อความที่ 74  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 763

ผู้เป็นอันเตวาสิกนั้น ด้วยสั่งว่า เธอจงไปถามภิกษุหนุ่มรูปโน้นดูเถิด. แม้เมื่อภิกษุผู้เป็นอันเตวาสิกนั้น วินิจฉัย เป็นสเตกิจฉา ก็ควรพูดกะเธอว่า ดีละ,เธอจงทําตามคําของภิกษุนั้นให้ดี. ถ้าฉายาปาราชิกนั่นแล ปรากฏแม้แก่ภิกษุหนุ่มไซร้, แม้อันภิกษุหนุ่มนั้น ก็ไม่ควรบอกภิกษุผู้ต้องอาบัติว่า เธอเป็นปาราชิก.

[ภิกษุผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์กรรมฐานย่อมไม่เจริญ]

จริงอยู่ ความบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า เป็นของได้ด้วยยาก, การบรรพชาและการอุปสมบท เป็นของได้ด้วยยากยิ่งกว่านั้น. แต่พระวินัยธรควรพูดอย่างนี้ว่า เธอ จงปัดกวาดโอกาสที่เงียบสงัด แล้วนั่งพักกลางวันชําระศีล ให้บริสุทธิ์ จงมนสิการอาการ ๓๒ ดูก่อน. ถ้าศีลของภิกษุนั้นไม่ด่างพร้อยไซร้, กรรมฐาน ย่อมสืบ, สังขารทั้งหลาย ก็เป็นของปรากฏชัดขึ้น, จิตก็เป็นเอกัคคตา ดุจได้บรรลุอุปจาระและอัปปนาสมาธิ ฉะนั้น,ถึงวันจะล่วงเลยไปแล้วก็ตาม เธอก็ไม่ทราบ. ในเวลาวันล่วงเลยไป เธอมาสู่ที่อุปัฏฐากแล้วควรพูดอย่างนี้ว่า ความเป็นไปแห่งจิตของเธอ เป็นเช่นไร?ก็เมื่อเธอบอกความเป็นไปแห่งจิตแล้ว ควรพูดกะเธอว่า ขึ้นเชื่อว่าบรรพชามีความบริสุทธิ์แห่งจิตเป็นประโยชน์, เธออย่าประมาท บําเพ็ญสมณธรรมเถิด.ส่วนภิกษุใด มีศีลขาด, กรรมฐานของภิกษุนั้น ย่อมไม่สืบต่อ, จิตย่อมปันป่วน คือถูกไฟคือความเดือดร้อนแผดเผาอยู่ ดุจถูกทิ่มแทงด้วยปฏัก ฉะนั้น,ภิกษุนั้น ย่อมลุกขึ้นในขณะนั้นทีเดียว เหมือนนั่งอยู่บนก้อนหินที่ร้อน ฉะนั้น.เธอมาแล้วถามว่าความเป็นไปแห่งจิตของท่าน เป็นอย่างไร" เมื่อเธอบอกความเป็นไปแห่งจิตแล้ว ควรพูดว่าขึ้นชื่อว่าความลับของผู้กระทํากรรม

 
  ข้อความที่ 75  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 764

ชั่ว ย่อมไม่มีในโลก (๑) แท้จริง บุคคลผู้กระทําความชั่วย่อมรู้ด้วยตนเองก่อนคนอื่นทั้งหมด, ต่อจากนั้น อารักขเทพดาทั้งหลาย สมณพราหมณ์และเทพเจ้าเหล่าอื่น ผู้รู้จิตของบุคคลอื่น ย่อมรู้ (ความชั่ว) ของเธอ, บัดนี้เธอนั่นแล จงแสวงหาความสวัสดีแก่เธอเองเถิด.

กถาว่าด้วยวินัย ๔ อย่างและกถาว่าด้วยลักษณะเป็นต้นของพระวินัยธร จบ.


(๑) ขุ. ชา. ๒๗/ ๑๓๑. ชาตกัฏฐกถา. ๔/๒๔๘

 
  ข้อความที่ 76  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 765

อรรถาธิบายสิกขาบทวิภังค์ปฐมปาราชิก

บัดนี้ ข้าพเจ้าจักพรรณนาเนื้อความวิภังค์แห่งสิกขาบทต่อไป. ในคําว่า โย ปนาติ โย ยาทิโส เป็นต้น ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

สองบทว่า โย ปน เป็นบทที่ควรจําแนก. บทเป็นต้นว่า โย ยาทิโสเป็นบทจําแนกแห่งบทว่า โย ปน นั้น. ก็ในสองบทว่า โย ปน นี้ศัพท์ว่าปน สักว่าเป็นนิบาต, บทว่า โย เป็นบทบอกเนื้อความ, และบทว่า โยนั้น แสดงบุคคลโดยไม่กะตัว; เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงอรรถแห่งบทว่า โย นั้น จึงตรัสเฉพาะ โย ศัพท์ ซึ่งแสดงบุคคลโดยไม่กะตัว. เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในบทว่า โย ปนนี้อย่างนี้.

บทว่า โย ปน มีคําอธิบายว่า โยโกจิ แปลว่า ผู้ใดผู้หนึ่ง.ก็บุคคลที่ชื่อว่า ผู้ใดผู้หนึ่งนั้น ย่อมปรากฏด้วยอาการอันหนึ่ง ในเพศ ความประกอบ ชาติ ชื่อ โคตร ศีล ธรรมเครื่องอยู่ โคจร และวัย แน่แท้;เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงประกาศประเภทนั้น เพื่อให้รู้จักบุคคลนั้น โดยอาการอย่างนั้น จึงตรัสคําว่า ยาทิโส เป็นต้น. ในคําว่ายาทิโส เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :-

บทว่า ยาทิโส มีความว่า ว่าด้วยอํานาจเพศจะเป็นบุคคลเช่นใดหรือเช่นนั้นก็ตามที คือจะเป็นคนสูงหรือคนเตี้ย คนดําหรือคนขาว หรือคนมีผิวเหลืองคนผอมหรือคนอ้วนก็ตามที.

 
  ข้อความที่ 77  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 766

บทว่า ยถายุตฺโต มีความว่า ว่าด้วยอํานาจความประกอบจะเป็นคนประกอบด้วยการงานเช่นใดเช่นหนึ่งก็ตามที คือจะเป็นคนประกอบด้วยนวกรรม หรือจะประกอบด้วยอุเทศ หรือจะประกอบด้วยธุระในที่อยู่ก็ตามที.

บทว่า ยถาชจฺโจ มีความว่า ว่าด้วยอํานาจชาติ จะเป็นคนมีชาติอย่างใดหรือเป็นคนมีชาตินั้นก็ตามที คือจะเป็นกษัตริย์ หรือเป็นพราหมณ์หรือเป็นแพศย์ เป็นศูทรก็ตามที.

บทว่า ยถานาโม มีความว่า ว่าด้วยอํานาจชื่อ จะเป็นคนมีชื่ออย่างใด หรือมีชื่ออย่างนั้นก็ตามทีคือชื่อว่า พุทธรักขิต หรือชื่อธรรมรักขิตหรือชื่อสังฆรักขิตก็ตามที.

บทว่า ยถาโคตฺโต มีความว่าว่าด้วยอํานาจโคตรจะเป็นผู้มีโคตรอย่างใดหรือมีโคตรอย่างนั้น หรือว่าด้วยโคตรเช่นใดเช่นหนึ่งก็ตามทีคือจะเป็นกัจจานโคตร หรือวาเสฏฐโคตร หรือโกสิยโคตรก็ตามที.

บทว่ายถาสีโล มีความว่า ในปกติทั้งหลาย จะเป็นผู้มีอย่างใดเป็นปกติหรือว่าเป็นผู้มีอย่างนั้นเป็นปกติก็ตามที คือว่าจะเป็นผู้มีนวกรรมเป็นปกติ หรือมีอุเทศเป็นปกติ หรือมีธุระในที่อยู่เป็นปกติ ก็ตามที.

บทว่ายถาวิหารี มีความว่า แม้ในธรรมเครื่องอยู่ทั้งหลาย จะเป็นผู้มีอย่างใดเป็นเครื่องอยู่ หรือว่าเป็นผู้มีอย่างนั้นเป็นเครื่องอยู่ก็ตามที คือว่าจะเป็นผู้มีนวกรรมเป็นเครื่องอยู่ หรือมีอุเทศเป็นเครื่องอยู่ หรือว่ามีธุระในที่อยู่ เป็นเครื่องอยู่ก็ตามที.

บทว่า ยถาโคจโร มีความว่า ถึงในโคจรทั้งหลายเล่า จะเป็นผู้มีอย่างใดเป็นโคจรหรือว่ามีอย่างนั้นเป็นโจรก็ตามทีคือว่าจะเป็นผู้มีนวกรรมเป็นโคจรหรือมีอุเทศเป็นโคจร หรือมีธุระในที่อยู่เป็นโคจรก็ตามที.

 
  ข้อความที่ 78  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 767

ส่วนในบทว่า เถโร วา เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- จะเป็นผู้ใดหรือว่าเป็นผู้นั้น ในบรรดาผู้เจริญโดยวัยเป็นต้นก็ตามที, คืออธิบายว่า จะเป็นพระเถระ เพราะมีพรรษาครบสิบ หรือว่าเป็นผู้ใหม่ เพราะมีพรรษาหย่อนห้าหรือว่าจะเป็นผู้ปานกลาง เพราะมีพรรษาเกินกว่าห้าก็ตามที.โดยที่แท้บุคคลนั้นทั้งหมด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสในอรรถนี้ว่า โย ปน.

[อรรถาธิบายความหมายแห่งภิกษุศัพท์เป็นต้น]

ในภิกขุนิเทศ มีวินิจฉัยดังนี้:-ผู้ใดย่อมขอเหตุนั้น ผู้นั้น ชื่อว่าผู้ขอ. อธิบายว่าจะได้ก็ตาม ไม่ได้ก็ตาม ย่อมขอด้วยวิธีขออย่างประเสริฐ.ชื่อว่าผู้อาศัยการเที่ยวขอ เพราะเป็นผู้อาศัยการเที่ยวขอ ที่พระพุทธเจ้าเป็นต้นทรงอาศัยแล้ว. จริงอยู่ บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งละกองโภคะน้อยหรือมากออกจากเรือนบวชไม่มีเรือน, บุคคลผู้นั้น ชื่อว่าอาศัยการเที่ยวขอ เพราะละการเลี้ยงชีวิตโดยกสิกรรม และโครักขกรรมเป็นต้นเสีย ยอมรับถือเพศนั่นเอง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุ.

อีกอย่างหนึ่ง แม้ฉันภัตในหาบอยู่ ในท่ามกลางวิหาร ก็ชื่อว่าอาศัยการเที่ยวขอ เพราะมีความเป็นอยู่เนื่องด้วยผู้อื่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุ.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าอาศัยการเที่ยวขอเพราะเป็นผู้เกิดอุตสาหะในบรรพชา อาศัยโภชนะคือคําข้าวอันหาได้ด้วยกําลังปลีแข้ง เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ภิกษุ.

ผู้ใดย่อมทรงผืนผ้าที่ถูกทําลายแล้ว เพราะทําค่าผัสสะและสีให้เสียไปเหตุนั้น ผู้นั้น ชื่อว่าผู้ทรงผืนผ้าที่ถูกทําลายแล้ว. บรรดาการทําค่าให้เสียไปเป็นต้นนั้น พึงทราบการทําค่าให้เสียไป เพราะตัดด้วยศัสตรา. จริงอยู่ผืนผ้าแม้มีราคาตั้งพัน ที่เขาเอามีดตัดให้เป็นชิ้นน้อยชิ้นใหญ่แล้ว ย่อมมีราคา

 
  ข้อความที่ 79  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 768

เสียไป คือมีค่าไม่ถึงแม้ครึ่งหนึ่งจากราคาเดิม. พึงทราบการทําผัสสะให้เสียไปเพราะเย็บด้วยด้าย. แท้จริง ผืนผ้าแม้ที่มีสัมผัสเป็นสุขที่ถูกเย็บด้วยด้ายแล้วย่อมมีผัสสะเสียไป คือถึงความเป็นผู้ที่มีผัสสะแข็งหยาบ. พึงทราบการทําสีให้เสียไป เพราะหม่นหมองด้วยสนิมเข็มเป็นต้น. แท้จริง ผืนผ้าแม้ที่บริสุทธิ์ดีตั้งแต่ทําการด้วยเข็มไปแล้ว ย่อมมีสีเสียไป คือย่อมละสีเดิมไป เพราะสนิทเข็ม และเพราะน้ำที่เป็นมลทินอันเกิดจากเหงื่อมือและเพราะการย้อมและทํากัปปะในที่สุด. ผู้ใดชื่อว่า ผู้ทรงผืนผ้าที่ถูกทําลายแล้วเพราะทรงผืนผ้าที่ถูกทําลายด้วยอาการ ๓ อย่างดังอธิบายมาแล้วนั้น เหตุนั้น ผู้นั้นชื่อว่า ภิกษุ.

อีกอย่างหนึ่งผู้ใด ชื่อว่า ผู้ทรงผืนผ้าที่ถูกทําลายแล้ว เพราะสักว่าทรงผ้ากะสาวะทั้งหลาย ซึ่งไม่เหมือนกับผ้าของคฤหัสถ์ เหตุนั้น ผู้นั้น ชื่อว่าภิกษุ.

บทว่า สมฺาย ความว่า โดยบัญญัติ คือโดยโวหาร. จริงอยู่บุคคลบางคนย่อมปรากฏว่า เป็นภิกษุโดยสมัญญาเท่านั้น. จริงอย่างนั้นในกิจนิมนต์เป็นต้น มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อนับจํานวนภิกษุอยู่ นับเอากระทั่งพวกสามเณรเข้าด้วยแล้ว พูดว่า ภิกษุจํานวนร้อยรูป, ภิกษุจํานวนพันรูป.

บทว่า ปฏิฺาย คือโดยความปฏิญญาของตนเอง. จริงอยู่ บุคคลบางคน ย่อมปรากฏว่า เป็นภิกษุ แม้โดยความปฏิญญา. พึงทราบความปฏิญญาว่า เป็นภิกษุ นั้น เกิดมีได้ดังในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่าถามว่าในที่นี้ เป็นใคร? ตอบว่า คุณ! ข้าพเจ้าเอง เป็นภิกษุ. ก็ควรปฏิญญานี้เป็นความปฏิญญาที่ชอบธรรม ซึ่งพระอานนทเถระได้กล่าวไว้แล้ว. อนึ่งโดยส่วนแห่งราตรี แม้พวกภิกษุผู้ทุศีล เดินสวนทางมา เมื่อถูกถามว่า ใน

 
  ข้อความที่ 80  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 769

ที่นี้เป็นใคร? ก็ตอบว่า พวกข้าพเจ้า เป็นภิกษุดังนี้ เพื่อประโยชน์แก่ปฏิญญาที่ไม่ชอบธรรม ไม่เป็นความจริง.

บทว่า เอหิภิกฺขุ ความว่าผู้ถึงความเป็นภิกษุคืออุปสมบทด้วยเอหิภิกขุด้วยเพียรพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า อย่างนี้ว่า เธอ จงมาเป็นภิกษุเถิด ชื่อว่าภิกษุ. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทอดพระเนตรเห็นบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย เพื่อเป็นเอหิภิกษุ จึงทรงเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวา ซึ่งมีสีดุจทอง ออกจากระหว่างบังสุกุลจีวรอันมีสีแดง เปล่งพระสุรเสียงกังวานดังเสียงพรหม ตรัสเรียกว่า เธอ จงมาเป็นภิกษุเถิด, จงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทําที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด. พร้อมกับพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นนั่นเอง เพศคฤหัสถ์ (ของผู้เพ่งอุปสมบทนั้น) อันตรธานไป,บรรพชาและอุปสมบทก็สําเร็จ, ผู้นั้นเป็นผู้ปลงผมนุ่งห่มผ้ากาสาวะ คือนุ่ง (ผ้าอันตรวาสก) ผืนหนึ่ง ห่ม (ผ้าอุตราสงค์) ผืนหนึ่ง พาด (ผ้าสังฆาฏิ) ไว้บนจะงอยบ่าผื่นหนึ่ง มีบาตรดินที่มีเหมือนดอกอุบลเขียวคล้องไว้ที่บ่าข้างซ้าย. ภิกษุนั้นท่านกําหนดเฉพาะด้วยบริขาร ๘ ที่สวมสอดเข้าที่ร่างกายอันพระโบราณจารย์กล่าวไว้อย่างนี้ว่า

บริขารเหล่านี้คือไตรจีวร บาตรมีดน้อย เข็ม และผ้ารัดประคดเอวเป็น ๘ทั้งผ้ากรองน้ำย่อมควรแก่ภิกษุผู้ประกอบความเพียร

เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอิริยาบถ เหมือนพระเถระตั้งร้อยพรรษา มีพระพุทธเจ้าเป็นพระอาจารย์ มีพระพุทธเจ้าเป็นพระอุปัชฌายะ ยืนถวายบังคมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ทีเดียว.

 
  ข้อความที่ 81  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 770

จริงอยู่ ครั้งปฐมโพธิกาล พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงให้กุลบุตรอุปสมบท ด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทานั่นแล ในกาลชั่วระยะหนึ่ง. และภิกษุผู้อุปสมบท ด้วยวิธีอย่างนี้มีจํานวน ๑,๓๔๑ รูป. คืออย่างไร? คือมีจํานวนดังนี้:- พระปัญจวัคคิยเถระ ๕ ยสกุลบุตร ๑ สหายผู้เป็นบริวารของท่าน๕๔ ภัททวัคคีย์ ๓๐ ปุราณชฏิล ๑,๐๐๐ ปริพาชกรวมกับพระอัครสาวกทั้งสอง ๒๕๐ พระอังคุลิมาลเถระ ๑ (รวมเป็น ๑,๓๔๑ รูป) สมจริงดังคําที่พระอรรถกถาจารย์ กล่าวไว้ในอรรถกถาว่า

ภิกษุ ๑,๓๐๐ รูป และเหล่าอื่นอีก๔๐รูป ทั้งพระเถระผู้มีปัญญาอีก ๑ รูป,ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด ท่านกล่าวว่า เป็นเอหิภิกขุ.

ภิกษุเหล่านั้น เป็นเอหิภิกขุ จําพวกเดียวก็หามิได้, แม้เหล่าอื่นก็ยังมีอีกมาก. คืออย่างไร? คือมีจํานวนเป็นต้นอย่างนี้ว่า เสลพราหมณ์ทั้งบริวารมีจํานวน ๓๐๐ พระมหากัปปินทั้งบริวารมีจํานวน ๑,๐๐๐ กุลบุตรชาวเมืองกบิลพัสดุ์มีจํานวน ๑๐,๐๐๐ พวกปารายนิกพราหมณ์ (พราหมณ์ผู้แสวงหาที่พึ่งในภพข้างหน้า) มีจํานวน ๑๖,๐๐๐ (รวม ๒๗,๓๐๐ รูป) แต่ภิกษุเหล่านั้นพระอรรถกถาจารย์มิได้กล่าวไว้เพราะท่านพระอุบาลีเถระ มิได้แสดงไว้ในบาลีพระวินัยปิฎก. ภิกษุเหล่านี้ พระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ก็เพราะท่านพระอุบาลีเถระแสดงไว้ในบาลีพระวินัยปิฎกนั้นแล้ว. (พระอรรถกถาจารย์กล่าวคําไว้ในอรรถกถา) ว่า

ภิกษุทั้งหมดแม้เหล่านี้ คือ ๒๗,๐๐๐รูป และ ๓๐๐ รูป ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดท่านกล่าวว่า เป็นเอหิภิกขุ.

 
  ข้อความที่ 82  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 771

[วิธีอุปสมบทมี ๘ อย่าง]

หลายบทว่า ตีหิ สรณคมเนหิอุปสมฺปนฺโน มีความว่าผู้อุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์ ซึ่งลั่นวาจากล่าว ๓ ครั้งโดยนัยเป็นต้นว่า พุทฺธํสรณํ คจฺฉามิ. จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่า อุปสัมปทา นี้มี ๘ อย่าง คือ เอหิภิกขุอุปสัมปทา ๑ สรณคมนอุปสัมปทา ๑ โอวาทปฏิคคหณอุปสัมปทา ๑ ปัญหาพยากรณอุปสัมปทา ๑ ครุธัมมปฏิคคหณอุปสัมปทา ๑ ทูเตนอุปสัมปทา ๑ อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทา ๑ ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา ๑

[อรรถาธิบายอุปสัมปทา ๘ อย่าง]

ในอุปสัมปทา ๘ อย่างนั้น เอหิภิกขุอุปสัมปทา และสรณคมนอุปสัมปทา ข้าพเจ้าได้กล่าวเสร็จแล้วแล.

ที่ชื่อว่าโอวาทปฏิคคหณอุปสัมปทา ได้แก่อุปสัมปทาที่ทรงอนุญาตแก่พระมหากัสสปเถระ ด้วยการรับโอาวาทนี้ว่า เพราะเหตุนั้นแล กัสสป เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเข้าไปตั้งความละอายและความเกรงไว้ในภิกษุทั้งที่เป็นผู้เฒ่า ทั้งที่เป็นผู้ใหม่ทั้งที่เป็นผู้ปานกลาง อย่างแรงกล้า, เธอพึงศึกษาอย่างนี้แหละกัสสป เพราะเหตุนั้นแลกัสสป เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่าเราจักฟังธรรมอันใดอันหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยกุศล, เราเงี่ยหูลงฟังธรรมนั้นทั้งหมด ทําในใจให้สําเร็จประโยชน์ รวบรวมไว้ทั้งหมดด้วยใจ, เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล กัสสป! เพราะเหตุนั้นแลกัสสป เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ก็สติที่เป็นไปในกายของเรา ซึ่งประกอบด้วยความรําคาญ จักไม่ละเราเสีย, เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล กัสสป (๑)


(๑) สํ. นิทาน. ๑๖/๒๖๐. บาลีเดิมเป็น กายคตาสติ น วิชหิสฺสติไม่มี มํ ศัพท์.

 
  ข้อความที่ 83  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 772

ที่ชื่อว่า ปัญหาพยากรณอุปสัมปทา ได้แก่อุปสัมปทาที่ทรงอนุญาตแก่โสปากสามเณร. ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสถามปัญหาเนื่องด้วยอสุภ ๑๐ กะโสปากสามเณร ผู้จงกรมตามเสด็จอยู่ในบุพพารามว่าโสปากะ!ธรรมเหล่านี้คือ อุทธุมาตกสัญญาก็ดี รูปสัญญาก็ดี มีอรรถต่างๆ กัน มีพยัญชนะต่างๆ กัน หรือมีอรรถอันเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น?โสปากสามเณรนั้น ทูลแก้ปัญหาเหล่านั้นได้. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประทานสาธุการแก่เธอ แล้วตรัสถามว่า เธอได้กี่พรรษาละ โสปากะ? สามเณรทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า! หม่อมฉันได้ ๗ พรรษา.

พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระหฤทัยอันโสปากสามเณรให้ยินดีว่า โสปากะเธอแก้ปัญหาทัดเทียมกับสัพพัญุตญาณของเรา แล้วจึงทรงอนุญาตให้อุปสมบท. นี้ชื่อว่า ปัญหาพยากรณอุปสัมปทา.

ที่ชื่อว่า ครุธัมปฏิคคหณอุปสัมปทา (๑) ได้แก่อุปสัมปทาที่ทรงอนุญาตแก่พระนางมหาปชาบดี ด้วยการรับครุธรรม ๘.

ที่ชื่อว่า ทูเตน อุปสัมปทา (๒) ได้แก่อุปสัมปทาที่ทรงอนุญาตแก่นางอัฒกาสีคณิกา.

ที่ชื่อว่า อัฏฐวาจิกา อุปสัมปทา (๓) ได้แก่อุปสัมปทาของนางภิกษุณีด้วยกรรม ๒ พวกนี้ คือ ญัตติจตุตถกรรม ฝ่ายภิกษุณีสงฆ์ ญัตติจตุตถกรรมฝ่ายภิกษุสงฆ์.

ที่ชื่อว่า ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา (๔) ได้แก่อุปสัมปทาของภิกษุทั้งหลายในทุกวันนี้.


(๑) วิ. จุลฺล. ๗/๓๒๓ - ๙.

(๒) วิ. จุลฺล. ๗/๓๖๕ - ๗.

(๓) วิ. จุลฺล ๗/๓๕๔ - ๓๕๙

(๔) วิ. มหา. ๔/๑๙๑.

 
  ข้อความที่ 84  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 773

มีคําว่ากล่าวอธิบายว่า ผู้ที่อุปสมบทแล้วในบรรดาอุปสัมปทา ๘ อย่างเหล่านี้ ด้วยอุปสัมปทานี้ที่ทรงอนุญาตแล้วอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตซึ่งบรรพชา อุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์เหล่านี้ (๑)

บทว่า เจริญ ได้แก่ไม่ทราม. จริงอยู่ เสขบุคคลทั้งหลายมีกัลยาณปุถุชนเป็นต้น จนถึงเป็นพระอรหันต์ย่อมถึงความนับว่า ภิกษุผู้เจริญเพราะประกอบด้วยศีล สมาธิ ปัญญาวิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะอันเจริญ.

บทว่า สาโร มีความว่า เสขกัลยาณปุถุชนนั้น พึงทราบว่า ภิกษุผู้มีสาระ เพราะประกอบด้วยสาระทั้งหลาย มีศีลสาระเป็นต้นเหล่านั้นนั่นเองเปรียบเหมือนผ้าสีเขียว เพราะประกอบด้วยสีเขียวฉะนั้น. อีกอย่างหนึ่งพระขีณาสพเท่านั้น พึงทราบว่า เป็นผู้มีสาระ เพราะเป็นผู้ปราศจากกระพี้คือกิเลส.

บทว่า เสกฺโข มีความว่า พระอริยบุคคล ๗ จําพวก กับทั้งกัลยาณปุถุชน ย่อมศึกษาสิกขาบท ๓ เพราะเหตุนั้น จึงจัดเป็นเสกขบุคคล. ในเสกบุคคลเหล่านั้น คนใดคนหนึ่งพึงทราบว่า เป็นภิกขุเสกขะ. ที่ชื่อว่าอเสกขบุคคลเพราะไม่ต้องศึกษา. พระขีณาสพ ท่านเรียกว่าอเสกขบุคคลเพราะล่วงเสกขธรรมเสีย ตั้งอยู่ในผลเลิศ ไม่มีสิกขาที่จะต้องศึกษาให้ยิ่งกว่านั้น.

สองบทว่า สมคฺเคน สงฺเฆน มีความว่า ด้วยสงฆ์ชื่อว่า เข้าถึงความเป็นผู้พร้อมเพรียงกันในกรรมอันหนึ่ง เพราะภิกษุผู้เข้ากรรม ในกรรมที่จะพึงด้วยสงฆ์ปัญจวรรค โดยปริยายอย่างต่ําที่สุด ได้มาครบจํานวนเพราะได้นําฉันทะของพวกภิกษุผู้ควรฉันทะมาแล้ว และเพราะพวกภิกษุผู้อยู่พร้อมหน้ากันไม่คัดค้าน.


(๑) วิ. มหา. ๔/๔๒.

 
  ข้อความที่ 85  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 774

บทว่า ตฺติจตุตฺเถน มีความว่า อันจะพึงทําด้วยอนุสาวนา ๓ ครั้งญัตติ ๑ ครั้ง.

บทว่า กมฺเมน คือวินัยกรรมอันชอบธรรม.

บทว่า อกุปฺเปน ความว่า เข้าถึงความเป็นกรรมอันใครๆ พึงให้กําเริบไม่ได้ คืออันใครๆ พึงคัดค้านไม่ได้ เพราะถึงพร้อมด้วยวัตถุสมบัติญัตติสมบัติ อนุสาวนาสมบัติ สีมาสมบัติ และปริสสมบัติ.

บทว่า านารเหน คือควรแก่เหตุ ได้แก่ควรแก่สัตถุศาสนา.

ชื่อว่า อุปสัมบัน คือมาถึง อธิบายว่า บรรลุภาวะอันสูงสุด. อันความเป็นภิกษุเป็นภาวะอันสูง. จริงอยู่ บุคคลนั้น ท่านเรียกว่าอุปสัมบันเพราะมาถึงความเป็นภิกษุนั้น ด้วยกรรมตามที่กล่าวแล้ว.

ก็ในอธิการนี้ มาแต่ญัตติจตุตถกรรมอย่างเดียวเท่านั้น. แต่ในที่นี้ควรนําสังฆกรรมทั้ง ๔ มากล่าวไว้โดยพิสดาร. คํานั้นทั้งหมดท่านกล่าวแล้วในอรรถกถาทั้งหลาย. และสังฆกรรมเหล่านั้นคือ อปโลกนกรรม ญัตติกรรมญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม บัณฑิตพึงเรียงไว้ตามลําดับ แล้วซักบาลีมากล่าวโดยพิสดาร จากคัมภีร์ขันธกะและกัมมวิภังค์ในที่สุดแห่งคัมภีร์บริวาร.ข้าพเจ้าจักพรรณนาสังฆกรรมเหล่านั้นในกัมมวิภังค์ ในที่สุดแห่งคัมภีร์บริวารนั่นแล. เพราะว่า เมื่อมีการพรรณนาอย่างนั้น ปฐมปาราชิกวรรณนา จักไม่เป็นการหนักไป. และการพรรณนาพระบาลีตามที่ตั้งไว้ก็จักเป็นวรรณนาที่รู้กันได้ง่าย ทั้งฐานะเหล่านั้น จักเป็นของไม่สูญเสีย. เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจะทําการพรรณนาไปตามบทเท่านั้น.

บทว่า ตตฺร มีความว่า บรรดาภิกษุทั้งหลาย ซึ่งกล่าวโดยนัยมีคําว่าผู้ขอ เป็นต้นเหล่านั้น.

 
  ข้อความที่ 86  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 775

สองบทว่ายฺวายํ ภิกฺขุตัดบทเป็น โยอยํ ภิกฺขุ แปลว่าภิกษุนี้ใด.

ข้อว่า สมคฺเคน สงฺเฆน ฯเป ฯ อุปสมฺปนฺโน มีความว่าบรรดาอุปสัมปทา ๘ ผู้อุปสมบทแล้วด้วยญัตติจตุตถกรรมเท่านั้น.

ข้อว่า อยํ อิมสฺมึ อตฺเถ อธิปฺเปโต ภิกฺขุมีความว่า ภิกษุนี้ประสงค์เอาว่า ภิกษุในอรรถว่า เสพเมถุนธรรมแล้วย่อมเป็นผู้พ่ายแพ้ นี้.

ส่วนภิกขุศัพท์นอกนี้มีว่า ภิกฺขโก เป็นต้น ตรัสด้วยอํานาจการขยายความ. และในคําว่า ภิกฺขโก เป็นต้นนั้น ศัพท์มีอาทิว่า ผู้ขอ ตรัสด้วยอํานาจภาษา. สองบทนี้ว่า เป็นภิกษุโดยสมัญญา เป็น ภิกษุโดยความปฏิญญา ตรัสด้วยอํานาจการร้องเรียก.

บทว่า เอหิภิกฺขุ ตรัสด้วยอํานาจวิธีอุปสมบทที่กุลบุตรได้แล้ว โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นอุปัชฌายะ. สรณคมนภิกฺขุตรัสด้วยอํานาจผู้อุปสมบทแล้วในเมื่อกรรมวาจา ยังไม่เกิดขึ้น. ศัพท์เป็นต้นว่า ผู้เจริญ พึงทราบว่า ตรัสด้วยอํานาจคุณ.

พระผู้มีพระภาคเจ้า มิได้ทรงจําแนกบทนี้ว่า ภิกฺขุนํ ไว้ในบัดนี้เลยเพราะไม่มีใจความที่แปลกเมื่อจะทรงแสดงสิกขาและสาชีพ เพราะเป็นเหตุให้ภิกษุถึงพร้อมแล้วจึงเป็นผู้ชื่อว่าถึงพร้อมด้วยสิกขาและสาชีพของภิกษุทั้งหลาย จึงตรัสว่า สิกฺขา เป็นต้น. ในคําว่า สิกฺขา เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้:-

ที่ชื่อว่า สิกฺขา เพราะอรรถว่า อันกุลบุตรพึงศึกษา.

บทว่า ติสฺโส เป็นสังขยากําหนดการคํานวณ.

 
  ข้อความที่ 87  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 776

บทว่า อธิสีลสิกฺขา มีอรรถวิเคราะห์ว่า ศีลยิ่งคือสูงสุด เหตุนั้นจึงชื่อว่า อธิศีล. อธิศีลนั้นด้วย เป็นสิกขา เพราะอันกุลบุตรพึงศึกษาด้วยเหตุนั้น จึงชื่อว่า อธิศีลสิกขา. ในอธิจิตสิกขาและอธิปัญญาสิกขาก็นัยนั้น.

[อรรถาธิบายอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา]

ถามว่า ก็ในอธิการนี้ ศีลเป็นไฉน? จิตเป็นไฉน?อธิจิต เป็นไฉน? ปัญญาเป็นไฉน? อธิปัญญา เป็นไฉน?

ข้าพเจ้าจะกล่าวเฉลยต่อไป :-ศีล มีองค์๕ และองค์๑๐ ชื่อว่าศีลเท่านั้นก่อน. จริงอยู่ ศีลนั้น เมื่อพระพุทธเจ้า อุบัติขึ้นแล้วก็ตาม ยังมิได้อุบัติขึ้นก็ตาม เป็นไปอยู่ในโลก. เมื่อพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้ว พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ดีพระสาวกทั้งหลายก็ดี ย่อมชักชวนมหาชนให้สมาทานในศีลนั้น. เมื่อพระพุทธเจ้ายังมิได้อุบัติขึ้น พระปัจเจกพุทธเจ้า สมณพรหมณ์พวกกรรมวาทีประพฤติชอบธรรม พระเจ้าจักรพรรดิมหาราช และพระมหาโพธิสัตว์ ย่อมชักชวนมหาชนให้สมาทาน (ในศีลนั้น). พวกสมณพราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตก็สมาทาน (ศีลนั้น) แม้ด้วยตนเอง. สมณพราหมณ์เป็นต้นเหล่านั้น ครั้นบําเพ็ญกุศลธรรมนั้นให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเสวยสมบัติในหมู่ทวยเทพและในหมู่มนุษย์.

ส่วนปาฏิโมกขสังวรศีล ท่านเรียกว่าอธิศีล. จริงอยู่ปาฏิโมกขสังวรศีลนั้น เป็นศีลที่ยิ่งและสูงสุดกว่าบรรดาโลกิยศีลทั้งหมดดุจพระอาทิตย์ยิ่งกว่าแสงสว่างทั้งหลาย ดุจภูเขาสิเนรุสูงกว่าบรรพตทั้งหลายฉะนั้น ย่อมเป็นไปได้เฉพาะในพุทธุปบาทกาลเท่านั้น นอกพุทธุปบาทกาลหาเป็นไปไม่. ด้วยว่าสัตว์อื่นไม่สามารถยกบัญญัตินั้นขึ้นตั้งไว้ได้. ก็พระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้นทรงตัดกระแสทางแห่งความประพฤติเสียหายทางกายทวารและวจีทวารได้เด็ด-

 
  ข้อความที่ 88  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 777

ขาด โดยประการทั้งปวงแล้ว จึงทรงบัญญัติศีลสังวรนั้นไว้ อันสมควรแก่ความล่วงละเมิดนั้นๆ .

อนึ่ง ศีลที่สัมปยุตด้วยมรรคและผลเท่านั้น ชื่อว่าศีลที่ยิ่งแม้กว่าปาฏิโมกขสังวร. แต่ศีลที่สัมปยุตด้วยมรรคและผลนั้น ท่านมิได้ประสงค์เอาในอธิการนี้. เพราะว่าภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีลนั้น หาเสพเมถุนธรรมไม่. กามาวจรกุศลจิต ๘ ดวงและสมาบัติจิต ๘ ดวงฝ่ายโลกีย์ร่วมเข้าเป็นอันเดียวกันพึงทราบว่า จิตเท่านั้น. และในกาลที่พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นหรือไม่อุบัติขึ้นจิตนั้นก็เป็นไปอยู่ การชักชวนและการสมาทาน ก็พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในศีลนั่นแล

ส่วนสมาบัติจิต ๘ ดวง ที่เป็นบาทแห่งวิปัสสนา ท่านเรียกว่า อธิจิต.จริงอยู่ อัฏฐสมาบัติจิตนั้น เป็นจิตที่ยิ่งและสูงสุดกว่าโลกิยจิตทั้งหมด ดุจอธิศีลยิ่งกว่าบรรดาศีลทั้งหลาย ฉะนั้น และมีอยู่เฉพาะในพุทธุปบาทกาลเท่านั้นนอกพุทธุปบาทกาล หามีไม่. อีกอย่างหนึ่ง. จิตที่สัมปยุตด้วยมรรคและผลนั่นแล เป็นจิตที่ยิ่งแม้กว่าอัฏฐสมาบัตินั้น. แต่จิตที่สัมปยุตด้วยมรรคและผลนั้น ท่านมิได้ประสงค์เอาในอธิการนี้. เพราะว่า ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยจิตนั้นหาเสพเมถุนธรรมไม่.

อนึ่ง กัมมัสสกตาญาณ (ญาณรู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตน) ซึ่งเป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า ผลทานที่ให้แล้วมีอยู่ ผลบูชาที่บูชาแล้วมีอยู่ ชื่อว่าปัญญา.จริงอยู่ ปัญญานั้น เมื่อพระพุทธเจ้า อุบัติขึ้นแล้วก็ตาม มิได้อุบัติขึ้นก็ตามเป็นไปอยู่ในโลก. เมื่อพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้ว พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ดีพระสาวกทั้งหลายก็ดี ย่อมชักชวนมหาชนให้สมาทาน ในปัญญานั้น. เมื่อพระพุทธเจ้ายังมิได้อุบัติขึ้น พระปัจเจกพุทธเจ้า สมณพราหมณ์ พวกกรรม-

 
  ข้อความที่ 89  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 778

วาทีประพฤติชอบธรรม พระเจ้าจักรพรรดิมหาราช และพระมหาโพธิสัตว์ย่อมชักชวนมหาชนให้สมาทาน (ในปัญญานั้น). สัตว์ทั้งหลาย ผู้เป็นบัณฑิตก็สมาทาน แม้ด้วยตนเอง. จริงอย่างนั้น อังกุรเทพบุตรได้ถวายมหาทานสิ้นหมื่นปี. เวลามพราหมณ์ พระเวสสันดร และมนุษย์บัณฑิตเหล่าอื่นมากมายก็ได้ถวายมหาทานแล้ว. เวลาพราหมณ์เป็นต้นเหล่านั้น ครั้นบําเพ็ญกุศลธรรมนั้นให้บริบูรณ์แล้ว ก็ได้เสวยสมบัติในหมู่ทวยเทพและในหมู่มนุษย์.

ส่วนวิปัสสนาญาณ ที่เป็นเครื่องกําหนดอาการคือไตรลักษณ์ ท่านเรียกว่า อธิปัญญา. จริงอยู่อธิปัญญานั้น เป็นปัญญาที่ยิ่งและสูงสุดกว่าบรรดาโลกิยปัญญาทั้งหมดดุจอธิศีลและอธิจิต ยิ่งและสูงสุดกว่าบรรดาศีลและจิตทั้งหลาย ฉะนั้น นอกพุทธุปบาทกาลหาเป็นไปในโลกไม่. ก็ปัญญาที่สัมปยุตด้วยมรรคและผลนั่นแล เป็นปัญญาที่ยิ่งแม้กว่าวิปัสสนาญาณนั้น. แต่ปัญญาที่สัมปยุตด้วยมรรคและผลนั้น ท่านมิได้ประสงค์เอาในอธิการนี้. เพราะว่าภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญานั้น หาเสพเมถุนธรรมไม่ฉะนั้นแล.

บทว่า ตตฺรคือบรรดาสิกขาทั้ง ๓ เหล่านั้น.

หลายบทว่า ยา อยํ อธิสีลสฺขา ได้แก่ อธิสีลสิกขานี้ใด กล่าวคือปาฏิโมกขศีล.

[อรรถาธิบายบทว่าสิกขาและสาชีพ]

สองบทว่า เอตํ สาชีวนฺนาม มีความว่า สิกขาบทนั้นแม้ทั้งปวงที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตั้งไว้ในพระวินัย นี่เรียกว่า สาชีพ เพราะเหตุว่าเป็นที่เป็นอยู่ร่วมกัน คือเป็นอยู่อย่างเดียวกัน เป็นอยู่ถูกส่วนกัน ประพฤติถูกส่วนกัน แห่งภิกษุทั้งหลายผู้ต่างกันโดยชนิด มีประเทศชาติและโคตรต่างๆ กันเป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 90  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 779

สองบทว่า ตสฺมึ สิกฺขติ มีความว่า ภิกษุทําสิกขาบทนั้นให้เป็นที่พํานักแห่งจิตแล้ว สําเหนียกพิจารณาด้วยจิตว่า เราศึกษาสมควรแก่สิกขาบทหรือไม่หนอ? ก็ภิกษุนี้ จะชื่อว่าศึกษาอยู่ในสิกขาบท กล่าวคือสาชีพนั้นอย่างเดียวเท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในสิกขา ก็ชื่อว่าศึกษาด้วย.

ส่วนสองบทว่า ตสฺมึ สิกฺขติพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอํานาจบทที่เรียงเป็นลําดับกันว่า เอตํ สาชีวนฺนาม นี้. บทว่า ตสฺมึสิกฺขตินั้น พระองค์ตรัสอย่างนั้น ก็จริงแล, แต่ทว่า เนื้อความในบทว่า ตสฺมึสิกฺขติ นี้ พึงเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อยังสิกขาให้บริบูรณ์ชื่อว่า ศึกษาอยู่ในสิกขานั้น และเมื่อไม่ล่วงละเมิด ชื่อว่าศึกษาอยู่ในสิกขาบทนั้น. ถึงบทว่าเตน วุจฺจติสาชีวสมาปนฺโน นี้ก็ตรัสด้วยอํานาจแห่งบทว่าสาชีพ ซึ่งเป็นลําดับเหมือนกัน. ภิกษุนั้นแม้ถึงพร้อมซึ่งสิกขา เพราะเหตุใด, เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพึงทราบโดยความประสงค์ว่า ถึงพร้อมด้วยสิกขา บ้าง. ด้วยว่า เมื่อมีความประสงค์อย่างนั้น บทภาชนะแห่งบทว่า สิกฺขาสาขีวสมาปนฺโน นี้ เป็นอันสมบูรณ์.

[อรรถาธิบายวิธีลาสิกขา]

หลายบทว่า สิกฺขํ อปจฺจกฺขาย ทุพฺพลฺยํ อนาวิกตฺวา มีความว่าไม่บอกคืนสิกขาด้วยไม่ประกาศความเป็นผู้ทุรพลด้วย. แม้เมื่อทําให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพลแล้ว สิกขา ยังไม่เป็นอันบอกลาเลย, แต่เมื่อบอกลาสิกขาแล้ว ความเป็นผู้ทุรพล ย่อมเป็นอันทําให้แจ้งด้วย, เพราะเหตุนั้น ด้วยบทว่า ทุพฺพลฺยํ อนาวิกตฺวา นี้จึงไม่ได้เนื้อความพิเศษอะไรๆ. ก็เหมือนอย่างว่า ด้วยคําว่า สองคืน ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า พึงสําเร็จการนอนร่วม สองสามคืน ดังนี้บัณฑิตก็ไม่ได้เนื้อความพิเศษอะไรๆ. คําว่า

 
  ข้อความที่ 91  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 780

สองคืนนี้ พระองค์ตรัสโดยความเป็นคําสละสลวยด้วยพยัญชนะ โดยความเป็นคําติดพระโอษฐ์ด้วยอํานาจโลกโวหารอย่างเดียวข้อนี้ฉันใด, แม้คําว่า ไม่ได้ทําให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพล นี้ก็ฉันนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยความเป็นคํากล่าวสะดวก โดยความเป็นคําสละสลวยด้วยพยัญชนะ โดยความเป็นคําติดพระโอษฐ์.

อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงแสดงธรรมพร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ, เพราะฉะนั้น จึงทรงยังอรรถให้ถึงพร้อมด้วยบทว่าไม่บอกคืนสิกขา นี้ ยังพยัญชนะให้ถึงพร้อมด้วยบท ไม่ทําให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพล นี้. จริงอยู่ บทใจความที่กล่าวเฉพาะบทเดียว ปราศจากบทแวดล้อมเสียแล้ว ย่อมไม่ไพเราะ เปรียบเหมือนพระราชาผู้ปราศจากบริวาร และบุรุษผู้ปราศจากผ้าและอลังการ ย่อมไม่งดงาม ฉะนั้น. แต่บทใจความนั้นย่อมไพเราะพร้อมด้วยบทเคียง อันเป็นบทห้อมล้อม พอเหมาะแก่ใจความ.

อีกประการหนึ่ง ความทําให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพลบางอย่าง ย่อมเป็นใจความแห่งการบอกลาสิกขา; เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหมายเอาความทําให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพลบางอย่าง ซึ่งเป็นใจความได้นั้น เมื่อจะทรงไขความบทว่าไม่บอกลาสิกขา จึงตรัสว่า ไม่ได้ทําให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพล.

ในคําว่าไม่บอกลาสิกขา ไม่ได้ทําให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพล นั้นหากจะพึงมีคําท้วงว่าการทําให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพลทั้งหมด ยังไม่เป็นการบอกลาสิกขา; เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าควรตรัสบทว่า ไม่ได้ทําให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพล ดังนี้เสียก่อน แล้วจึงตรัสบทว่าไม่บอกลาสิกขา เพื่อจํากัดใจความแห่งบทว่าไม่ทําให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพล นั้น.

 
  ข้อความที่ 92  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 781

เฉลยว่า ก็คํานั้น หาควรกล่าวไม่ เพราะเหตุไร? เพราะไม่มีลําดับแห่งเนื้อความ. จริงอยู่ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า สิกฺขาสาชีวสมาปนฺโน ดังนี้ เนื้อความ ย่อมเป็นอันพระองค์ตรัสแล้วตามลําดับ ในเมื่อตรัสว่า ตนถึงพร้อมซึ่งสิกขาใด, ไม่บอกลาสิกขานั้น หาใช่โดยประการอื่นไม่ เพราะเหตุนั้น คําว่า สิกฺขํ อปจฺจกฺขาย นี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสก่อน

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบเนื้อความในสองบทว่า ไม่บอกลาสิกขา, ไม่ทําให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพล นี้ ตามสมควรแก่ลําดับบ้าง

พึงทราบอย่างไร?

พึงทราบอย่างนี้ ในบทว่า ถึงพร้อมด้วยสิกขาและสาชีพ นี้ ภิกษุถึงพร้อมซึ่งสิกขาใด, ไม่บอกคืนสิกขานั้น และถึงพร้อมซึ่งสาชีพใด, ไม่ทําให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพลในสาชีพนั้น.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงความแปลกกันและความไม่แปลกกันแห่งการบอกลาสิกขา และความทําให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพล และลักษณะแห่งการบอกลาสิกขา จึงตรัสคําว่า อตฺถิ ภิกฺขเว เป็นอาทิ. ในคํานั้น ๒ บทว่า อตฺถิ ภิกฺขเว เป็นต้น เป็นบทมาติกา. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงจําแนกบทมาติกา ๒ นั้น จึงตรัสคําว่า กถฺจ ภิกฺขเว เป็นต้น.ในคําว่า กถฺจ เป็นต้นนั้น มีการพรรณนาบทที่ยังไม่ชัดเจนดังต่อไปนี้ :-

บทว่า กถํ ได้แก่ ด้วยอาการไร?

บทว่า ทุพฺพลฺยาวิกมฺมฺจ ได้แก่ ความทําให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพลด้วย.

บทว่า อิธ คือในศาสนานี้.

 
  ข้อความที่ 93  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 782

บทว่า อุกฺกณฺิโต ความว่า ผู้ถึงความเป็นผู้อยู่ยากในศาสนานี้เพราะความเบื่อหน่าย. อีกประการหนึ่ง มีคําอธิบายว่าผู้มีจิตฟุ้งซ่านไม่มีอารมณ์แน่วแน่ ชูคออยู่ด้วยคิดว่า เราจะไปวันนี้ เราจะไปพรุ่งนี้ เราจะไปจากนี้ เราจะไป ณ ที่นี้.

บทว่า อนภิรโต ได้แก่ ผู้ปราศจากความเพลินใจในศาสนา.

สองบทว่า สามฺาจวิตุกาโม ได้แก่ ผู้อยากจะหลีกออกไปจากความเป็นสมณะ.

บทว่า ภิกฺขุภาวํ คือ ด้วยความเป็นภิกษุ. บทว่า ภิกฺขุภาวํ นี้เป็นทุติยาวิภัตติ เป็นไปในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ. ส่วนลักษณะที่สมควรพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ด้วยตติยาวิภัตติทีเดียวในคําว่า พึงสะอิดสะเอียนด้วยซากศพ อันคล้องไว้ที่คอ ดังนี้เป็นต้น

บทว่า อฏฏิยมาโน มีความว่า ประพฤติตน เหมือนระอาคือถูกบีบคั้น ถึงความลําบาก. อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่าผู้อันความเป็นภิกษุนั้นรบกวนอยู่ บีบคั้นอยู่.

บทว่า หรายมาโน ได้แก่ กระดากอยู่.

บทว่า ชิคุจฺฉมาโน ได้แก่ผู้เกลียดชังความเป็นภิกษุนั้น เหมือนเกลียดของสกปรก ฉะนั้น.

บทว่า คิหิภาวํ ปฏยมาโน เป็นต้น มีใจความชัดเจนทีเดียว.

ศัพท์ว่า ยนฺนูน ในคําว่า ยนฺนูนาหํ พุทฺธํ ปจฺจกฺเขยฺยํ นี้เป็นนิบาตแสดงความรําพึง. มีคําอธิบายดังนี้ว่า หากเราพึงบอกคืนพระพุทธเจ้าเสีย, การบอกคืนพระพุทธเจ้านี้ พึงเป็นความดีของเราหนอ.

สองบทว่า วทติวิฺาเปติ มีความว่า ภิกษุมีความกระสันนั้นสั่นวาจากล่าวเนื้อความนี้ด้วยพยัญชนะเหล่านี้ หรือเหล่าอื่น และยังบุคคลซึ่งตนบอกให้รู้แจ้งคือให้เข้าใจ.

 
  ข้อความที่ 94  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 783

ปิ อักษรในบทว่า เอวมฺปินี้มีอันประมวลเนื้อความข้างบนมาเป็นอรรถ. การทําให้แจ้งทําความเป็นผู้ทุรพล และสิกขาไม่เป็นอันบอกลาย่อมมีแม้ด้วยประการอย่างนี้, การทําให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพลและสิกขาไม่เป็นอันบอกลาแม้ด้วยประการอื่น ก็ยังมีอีก.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงความทําให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพล และการไม่บอกลาสิกขาแม้ด้วยประการอย่างอื่นนั้น จึงตรัสคําว่าอถวา ปน เป็นอาทิ. คํานั้นทั้งหมด โดยเนื้อความชัดเจนทีเดียว. แต่พึงทราบวินิจฉัยโดยบทดังนี้:- ตั้งแต่ต้นไป ๑๔ บทเหล่านี้ คือ:-

พุทฺธํ ปจฺจกฺเขยฺยํ ข้าพเจ้าพึงบอกคืน พระพุทธเจ้า

ธมฺมํ ปจฺจกฺเขยฺยํ ข้าพเจ้าพึงบอกคืน พระธรรม

สงฺฆํ ปจฺจกฺเขยฺยํ ข้าพเจ้าพึงบอกคืน พระสงฆ์

สิกฺขํ ปจฺจกฺเขยฺยํ ข้าพเจ้าพึงบอกคืน สิกขา

วินยํ ปจฺจกฺเขยฺยํ ข้าพเจ้าพึงบอกคืน วินัย

ปาฏิโมกฺขํ ปจฺจกฺเขยฺยํ ข้าพเจ้าพึงบอกคืน ปาฏิโมกข์

อุทฺเทสํ ปจฺจกฺเขยฺยํ ข้าพเจ้าพึงบอกคืน อุทเทส

อุปชฺฌายํ ปจฺจกฺเขยฺยํ ข้าพเจ้าพึงบอกคืน พระอุปัชฌายะ

อาจริยํ ปจฺจกฺเขยฺยํ ข้าพเจ้าพึงบอกคืน พระอาจารย์

สทฺธิวิหาริกํ ปจฺจกฺเขยฺยํ ข้าพเจ้าพึงบอกคืน พระสัทธิวิหาริก

อนฺเตวาสิกํ ปจฺจกฺเขยฺยํ ข้าพเจ้าพึงบอกคืน พระอันเตวาสิก

สมานูปชฺฌายกํ ปจฺจกฺเขยฺยํ ข้าพเจ้าพึงบอกคืน พระผู้ร่วมอุปัชฌายะ

สมานาจริยกํ ปจฺจกฺเขยฺยํ ข้าพเจ้าพึงบอกคืน พระผู้ร่วมอาจารย์

สพฺรหฺมจารึ ปจฺจกฺเขยฺยํ ข้าพเจ้าพึงบอกคืน พระเพื่อนพรหมจรรย์

 
  ข้อความที่ 95  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 784

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสในวาระว่าด้วยทําให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพลนี้ ด้วยอาการคือ การบอกลา.

๘ บทเหล่านี้ คือ:-

คิหี อสฺสํ ข้าพเจ้าพึงเป็นคฤหัสถ์

อุปาสโก อสฺส ข้าพเจ้าพึงเป็นอุบาสก

อารามิโก อสฺส ข้าพเจ้าพึงเป็นอารามิกะ

สามเณโร อสฺส ข้าพเจ้าพึงเป็นสามเณร

ติตฺถิโย อสฺส ข้าพเจ้าพึงเป็นเดียรถีย์

ติตฺถิยสาวโก อสฺส ข้าพเจ้าพึงเป็นสาวกเดียรถีย์

อสฺสมโณ อสฺส ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่สมณะ

อสกฺยปุตฺติโย อสฺส ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอาการคือกําหนดภาวะ ด้วยบทว่า อสฺสํ นี้ แห่งบรรดาบททั้งหลายมีบทว่า คิหี อสฺสํ เป็นต้น.

๒๒ บทที่ประกอบด้วยบทว่า ยนฺนูนาหํ นี้ พระองค์ตรัสแล้ว ดังพรรณนามาฉะนี้. เหมือนอย่างว่า ๒๒ บท ที่ประกอบด้วยบทว่า ยนฺนูนาทินี้ พระองค์ตรัสแล้วฉันใด ๒๒ บท ที่ประกอบด้วยบทหนึ่งๆ ในบรรดาบทเหล่านี้คือ:-

 
  ข้อความที่ 96  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 785

ยทิ ปนาหํ พุทฺธํ ปจฺจกฺเขยฺยํ ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระพุทธเจ้า ฯลฯ (๑)

อถาหํ พุทฺธํ ปจฺจกฺเขยฺยํ หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระพุทธเจ้า ฯลฯ

หนฺทาหํ พุทฺธํ ปจฺจกฺเขยฺยํ ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระพุทธเจ้า ฯลฯ

โหติ เม พุทฺธํ ปจฺจกฺเขยฺยํ ข้าพเจ้ามีความดําริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระพุทธเจ้า ฯลฯ

พระองค์ก็ตรัสแล้วฉันนั้น, รวมทั้งหมด จึงเป็น ๑๑๐ บาท ด้วยประการฉะนี้

ต่อจากบทว่า โหติ เม เป็นต้นนั้นไป มี ๑๗ บท มีอาทิว่า มาตรํสรามิ ข้าพเจ้าระลึกถึงมารดา ซึ่งเป็นไปโดยนัยแสดงวัตถุที่ตนควรระลึกถึง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เขตฺตํ ได้แก่ ไร่ข้าวสาลีเป็นต้น.

บทว่า วตฺถุ ได้แก่ สถานที่เกิดขึ้นแห่งหญ้า ใบไว้ ผักดอง และผลไม้น้อยใหญ่

บทว่า สิปฺปํ ได้แก่ ศิลปะของช่างหม้อและช่างหูกเป็นต้น.

ต่อจาก ๑๗ บทนั้นไป มี ๙ บท มีอาทิว่า มาตา เม อตฺถิ,สา มยา โปเสตพฺพา มารดาของข้าพเจ้ามีอยู่, มารดานั้น ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดู ซึ่งเป็นไปด้วยอํานาจแสดงความเป็นผู้กังวล และมีความเกี่ยวข้อง.


(๑) ที่เปยยาลไว้ทั้ง ๔ แห่งนั้น ให้เติมเหมือนในบาลีวินัยปิฏก มหาวิภังค์๑/๔๔ - ๔๕ ดังนี้คือ :- ยทิ ปนาหํ พุทฺธํ ปจฺจกฺเขยยํ, ยทิ ปนาหํ ธมฺมํ ปจฺจกฺเขยยํ จนถึง ยทิ ปนาหํอสกฺยปิตฺติโยอสฺสํ (๒๒ บท) อถาหํ พุทฺธํ ปจฺจกฺเขยฺยํ, อถาหํ ธมฺมํ ปจฺจกฺเขยฺยํ จนถึงอถาหํ อสกฺยปุตฺติโย อสฺสสํ (๒๒ บท) หนฺทาหํ พุทฺธํ ปจจกฺเขยฺยํ, หนฺทาหํ ธมฺมํปจฺจกฺเขยฺยํ จนถึง หนฺทาหํ อสกฺยปุตฺยิโย อสฺสํ (๒๒ บท) โหติ เม พุทฺธํ ปจฺจกฺเขจฺยํ,โหติเม ธมฺมํ ปจฺจกฺเขยฺยํ จนถึงโหติ เม อสกฺยปตฺติโยอสฺสํ (๒๒ บท).

 
  ข้อความที่ 97  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 786

ต่อจาก ๙ บทนั้นไป มี ๑๖ บท มีอาทิว่า มาตา เม อตฺถิ,สา มํ โปเสสฺสติ มารดาของข้าพเจ้ามีอยู่, มารดานั้นจักเลี้ยงดูข้าพเจ้าซึ่งเป็นไปด้วยอํานาจแสดงถึงบุคคลผู้เป็นที่อาศัย และผู้เป็นที่พํานัก.

ต่อจาก ๑๖ บทนั้นไป มี ๘ บท มีอาทิว่า ทุกฺกรํ พรหมจรรย์เป็นภาวะที่ทําได้ยาก ซึ่งเป็นไปด้วยการแสดงถึงความที่พรหมจรรย์ มีการฉันหนเดียวและนอนหนเดียวเป็นภาวะที่ทําได้ยาก.

บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า ทุกฺกรํ ภิกษุกระสันนั้น ย่อมแสดงความที่พรหมจรรย์ทําได้ยาก เพราะทํากิจวัตรทั้งหลาย มีการฉันหนเดียวเป็นต้น.

ด้วยบทว่า น สุกรํ ย่อมค้านความที่พรหมจรรย์เป็นภาวะที่ทําได้ง่าย.ในสองคําว่า ทุจฺจรํ น สุจรํ นี้ พึงทราบนัยอย่างนั้น.

ด้วยบทว่า น อุสฺสหามิ ย่อมแสดงความที่ตนไม่มีความอุตสาหะคือ ข้อที่ตนไม่มีความสามารถ ในการทํากิจวัตรมีการฉันหนเดียวเป็นต้นนั้น.

ด้วยบทว่า น วิสหามิ ย่อมแสดงถึงข้อที่ตนไม่มีความอดทน (ในเพราะทํากิจวัตรมีการฉันหนเดียวเป็นต้นนั้น) .

ด้วยบทว่า น รมามิ ย่อมแสดงความไม่มีแห่งความยินดี.

ด้วยบทว่า นาภิรมานิ ย่อมแสดงความไม่มีแห่งความเพลินใจ.

ก็ ๕๐ บทเหล่านี้ และ ๑๑๐ บทเบื้องต้น จึงรวมเป็น ๑๖๐ บทพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ในวาระว่าด้วยทําให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพลโดยนัยดังกล่าวมาแล้วนั้น. คําว่า กถฺจ ภิกฺขเว เป็นต้นทั้งหมด แม้ในวาระว่าด้วยการบอกลาสิกขา โดยเนื้อความชัดเจนแล้วทีเดียว แต่ควรทราบวินิจฉัยโดยบทดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 98  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 787

๑๔ บท ที่เป็นไปกับด้วยความสัมพันธ์คําบอกลาสิกขาเหล่านี้ คือ :-

พุทฺธํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระพุทธเจ้า

ธมฺมํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระธรรม

สงฺฆํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์

สิกฺขํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนสิกขา

วินยํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนวินัย

ปาฏิโมกฺขํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนปาฏิโมกข์

อุทฺเทสํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนอุเทศ

อุปชฺฌายํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระอุปัชฌายะ

อาจริยํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระอาจารย์

สทฺธิวิหาริกํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระสัทธิวิหาริก

อนฺเตวาสิกํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระอันเตวาสิก

สมานูปชฺฌายกํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระผู้ร่วมอุปัชฌายะสมานาจริยกํ " ข้าพเจ้าบอกคืนพระผู้ร่วมอาจารย์

สพฺรหฺมจารึ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระเพื่อนพรหมจรรย์

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว แม้ในวาระว่าด้วยการบอกลาสิกขานี้.

อนึ่ง คําว่า วทติ วิฺาเปติ ในทุกๆ บท มีเนื้อความดังต่อไปนี้ :-

ภิกษุผู้กระสันนั้น ลั่นวาจากล่าว และยังบุคคลซึ่งตนบอกให้รู้แจ้งคือ ประกาศให้ได้ยิน ได้แก่ให้เข้าใจ ด้วยการลั่นวาจานั้นนั่นเองว่า ภิกษุนี้มีความประสงค์จะละศาสนา จะพ้นจากศาสนาจะละความเป็นภิกษุ จึงเปล่งถ้อยคํานี้.

 
  ข้อความที่ 99  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 788

ก็ถ้าภิกษุนี้ มีความประสงค์จะกล่าวว่า พุทฺธํ ปจฺจกฺขามิ แต่ทําบทกลับกันเสียแล้ว พึงกล่าวว่า ปจฺจกฺขามิ พุทฺธํ หรือพึงกล่าวเนื้อความนั้นด้วยบรรดาภาษาของชนชาวมิลักขะภาษาใดภาษาหนึ่ง, หรือมีความประสงค์จะกล่าวว่า พุทฺธํ ปจฺจกฺขามิ แต่พึงกล่าวโดยข้ามลําดับว่า ธมฺมํ ปจฺจกฺขามิหรือว่า สพฺรหฺม ปจฺจกฺขามิ ข้อนี้เปรียบเหมือนในวิภังค์แห่งอุตตริ-มนุษยธรรม คือ ภิกษุผู้มีความประสงค์จะกล่าวว่า ปมํ ฌานํ สมาปชฺชามิข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน แต่กล่าวเสียว่า ทุติยํ ฌานํ สมาปชฺชามิ ข้าพเจ้าข้าพเจ้าทุติยฌาน ดังนี้ แม้ฉันใด, ถ้าภิกษุผู้กระสันนั้นจะบอกแก่ผู้ใด, ผู้นั้นย่อมรับรู้คําพูดแม้มีประมาณเท่านี้ว่า ภิกษุนี้มีความประสงค์จะละความเป็นภิกษุจึงได้กล่าวเนื้อความนี้, ขึ้นชื่อว่า การกล่าวผิดพลาด ย่อมไม่มี, การกล่าวเช่นนั้น ก็หยั่งลงสู่เขตทีเดียว, สิกขาก็ย่อมเป็นอันบอกลาแล้ว ฉันนั้น. ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้เคลื่อนจากศาสนาทีเดียว เหมือนสัตว์ผู้เคลื่อนจากความเป็นท้าวสักกะ หรือจากความเป็นพรหม ฉะนั้น.

อนึ่ง ถ้าภิกษุกล่าวด้วยคํากําหนดอดีตกาล และอนาคตกาลว่า พุทฺธํปจฺจกฺขึ ก็ดี พุทฺธํ ปจฺจกฺขิสฺสามิ ก็ดี พุทฺธํ ปจฺจกฺเขยฺยํ ก็ดีส่งทูตไปก็ดี ส่งข่าวสาสน์ไปก็ดี สลัก (เขียน) อักษรไว้ก็ดี บอกใจความนั้นด้วยหัวแม่มือ ก็ดี สิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกลา. ส่วนการอวดอุตตริมนุษยธรรมย่อมถึงที่สุดแม้ด้วยหัวแม่มือ. การบอกลาสิกขา ย่อมถึงที่สุด ก็ต่อเมื่อภิกษุผู้ลั่นวาจา ซึ่งสัมปยุตด้วยจิตในสํานักของสัตว์เป็นชาติมนุษย์เท่านั้น.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุ เมื่อลั่นวาจาประกาศให้คนอื่นรู้ ถ้าเจาะจงบอกเฉพาะบุคคลคนหนึ่งว่า บุคคลนี้เท่านั้นจงรู้ และบุคคลนั้นนั่นเอง รู้ความประสงค์ของเธอนั้นไซร้, สิกขาย่อมเป็นอันบอกลา. ถ้าบุคคลนั้นไม่รู้, แต่

 
  ข้อความที่ 100  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 789

คนอื่นซึ่งยืนอยู่ในที่ใกล้รู้, สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกลา. ถ้าว่า ภิกษุนั้นเจาะจงบอกเฉพาะแม้บุคคลสองคนในที่ที่คนสองคนยืนอยู่ว่า ข้าพเจ้าบอกแก่คนสองคนนี้ ดังนี้, บรรดาคนทั้งสองนั้น เมื่อคนหนึ่งรู้ก็ตาม รู้ทั้งสองคนก็ตาม สิกขา ย่อมเป็นอันบอกลา. การบอกลาสิกขาแม้ในบุคคลมากมายบัณฑิตก็ควรทราบดังอธิบายมาแล้วนั้น.

[ภิกษุตะโกนบอกลาสิกขาก็ได้]

อนึ่ง ถ้าว่าภิกษุผู้ถูกความไม่เพลินใจบีบคั้น ระแวงสงสัยภิกษุทั้งหลายผู้คุ้นเคยกันกล่าวว่า พุทฺธํ ปจฺจกฺขามิ ตะโกนเสียงดังด้วยหวังว่า ใครๆ จงรู้, ถ้าว่า มีคนทํางานอยู่ในป่า หรือบุรุษคนอื่นผู้รู้ลัทธิศาสนา ยืนอยู่ในที่ไม่ไกล ได้ยินเสียงของภิกษุนั้น ก็เข้าใจว่า สมณะผู้กระสันรูปนี้ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์เคลื่อนจากศาสนาแล้ว ดังนี้, สิกขาย่อมเป็นอันบอกลาแท้.แต่ว่าในขณะนั้นนั่นเอง การบอกลาสิกขาไม่ก่อนไม่หลัง เป็นข้อที่รู้ได้ยาก.เหมือนเหล่ามนุษย์ในโลก โดยปกติธรรมดา ฟังคําพูดแล้ว ย่อมรู้ได้ฉันใด,ถ้าว่าคนที่ทํางานอยู่ในป่าเป็นต้นนั้น ย่อมรู้ได้โดยสมัยที่คิดนึกอยู่ไซร้, สิกขาก็ย่อมเป็นอันบอกลาแล้วฉันนั้น. ถ้าในกาลภายหลังเขาสงสัยอยู่ว่า ภิกษุรูปนี้พูดอะไร คิดนานๆ จึงเข้าใจ, สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกลา. จริงอยู่ การบอกลาสิกขานี้ด้วย อภูตาโรจนสิกขาบท ทุฏุลวาจสิกขาบท อัตตกามสิกขาบททุฏฐโทสสิกขาบท และภูตาโรจนสิกขาบททั้งหลาย ที่จะกล่าวต่อไปด้วย มีกําหนดความอย่างเดียวกัน ย่อมถึงที่สุด ในเมื่อผู้ฟังรู้ใจความได้ โดยสมัยที่นึกคิดนั่นเอง. เมื่อคนฟังสงสัยอยู่ว่า ภิกษุรูปนี้ พูดอะไร คิดนานๆ จึงเข้าใจความได้, สิกขาบททั้ง ๕ นั้น ยังไม่ถึงที่สุด. เหมือนอย่างว่าวินิจฉัย

 
  ข้อความที่ 101  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 790

นี้ท่านกล่าวไว้ในบทว่า พุทฺธํ ปจฺจกฺขามิ ฉันใด, ในทุกๆ บท ก็ควรทราบวินิจฉัย ฉันนั้น. ก็เพราะสิกขาย่อมเป็นอันภิกษุบอกลาในกาลใด, ในกาลนั้น แม้ภิกษุไม่กล่าวคําเป็นต้นว่า ยนฺนูนาหํ พุทฺธํ ปจฺจกฺเขยฺยํความเป็นผู้ทุรพล ก็ย่อมเป็นอันทําให้แจ้งแล้ว; เหตุฉะนั้น ในที่สุดแห่งบทแม้ทั้งหมด พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ความทําให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพล และสิกขาเป็นอันบอกลา ย่อมมีแม้ด้วยอาการอย่างนี้.

ถัดจาก ๑๔ บทนั้นไป ในบทว่า คิหีติ มํ ธาเรหิ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:-ถ้าว่าภิกษุผู้กระสันนั้นกล่าวว่า

คิหี ภวิสฺสามิ ข้าพเจ้าจักเป็นคฤหัสถ์ ดังนี้ก็ดี

คิหี โมมิ ข้าพเจ้าจะเป็นคฤหัสถ์ ดังนี้ก็ดี

คิหี ชาโตมฺหิ ข้าพเจ้าเกิดเป็นคฤหัสถ์แล้ว ดังนี้ก็ดี

คิหิมฺหิ ข้าพเจ้าย่อมเป็นคฤหัสถ์ ดังนี้ก็ดี

สิกขา ย่อมเป็นอันไม่บอกลา ก็ถ้ากล่าวว่า

อชฺช ปฏาย คิหีติ มํ ตั้งแต่วันนี้ไป ขอท่านจงทรงจําข้าพเจ้าธาเรหิ ว่าเป็นคฤหัสถ์ ดังนี้ก็ดี

อชฺช ปฏาย คิหีติ มํ ตั้งแต่วันนี้ไป ขอท่านจงรู้ ข้าพเจ้าว่าชานาหิ เป็นคฤหัสถ์ ดังนี้ก็ดี

อชฺช ปฏาย คิหีติมํ ตั้งแต่วันนี้ไป ขอท่านจงจําหมายสฺชานาหิ ข้าพเจ้าว่าเป็นคฤหัสถ์ ดังนี้ก็ดี

อชฺช ปฏาย คิหีติมํ ตั้งแต่วันนี้ไป ขอท่านจงใฝ่ใจ ข้าพเจ้ามนสิกโรหิ ว่าเป็นคฤหัสถ์ ดังนี้ก็ดี หรือกล่าวโดย

 
  ข้อความที่ 102  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 791

โวหารของชาวอริยกะ หรือโวหารของชาวมิลักขะก็ดี เมื่อเธอกล่าวเนื้อความนั้นอย่างนี้แล้ว ถ้าผู้ที่ตนบอกเข้าใจ, สิกขาก็ย่อมเป็นอันบอกลา

ใน ๗ บท มีว่า อุปาสโก เป็นต้นแม้ที่เหลือ ก็นัยนั่น. ก็ ๘ บทเหล่านี้ และ ๑๔ บทเบื้องต้น จึงรวมเป็น ๒๒ บท ฉะนี้แล. ถัดจาก ๘ บทนั้นไป ท่านกล่าวประมวล ๑๔ บทเบื้องต้นนั่นแลเข้าด้วย ๔ บทเหล่านั้น คืออลมฺเม, กินฺนุเม, ม มมตฺโถ, สุมุตฺตาหํ , จึงเป็น ๕๖ บท.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อลํ แปลว่า ช่างเถิด, อธิบายว่าพอละ.

บทว่า กินฺนุเม ความว่า กิจอะไรของข้าพเจ้า? คือกิจอะไรที่ข้าพเจ้าควรทํา? อธิบายว่า กิจอะไร ที่ข้าพเจ้าจะพึงทําให้สําเร็จ?

บทว่า น มมตฺโถ ความว่า ข้าพเจ้าไม่มีความต้องการ.

บทว่า สุมุตฺตาหํ ตัดเป็น สุมุตฺโต อหํ แปลว่า ข้าพเจ้าพ้นดีแล้ว (จากพระพุทธเจ้า) .

คําที่เหลือใน ๕๖ บทนี้ มีนัยดังกล่าวมาแล้วทีเดียว. ก็ ๕๖ บทเหล่านี้ และ ๒๒ บทข้างต้น จึงรวมเป็น ๗๘ บท ท่านกล่าวไว้โดยสรุปเท่านั้น ด้วยประการอย่างนี้. ก็เพราะการบอกลาสิกขาย่อมมีได้แม้ด้วยคําเป็นไวพจน์แห่งบทอันเป็นเขตเหล่านั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสคําว่า ยานิ วาปนฺนิปิ เป็นต้น

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยานิ วาปนฺานิปิ ความว่ายกเว้นบทซึ่งมาในบาลีว่า พุทฺธํ เป็นต้นเสียแล้ว คําไวพจน์เหล่าอื่นใดเล่า ยังมีอยู่อีก.

 
  ข้อความที่ 103  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 792

บทว่า พุทฺธเววจนานิ วา ได้แก่ พระนามโดยปริยายแห่งพระพุทธเจ้า ฯลฯ หรือนามโดยปริยายแห่งผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร.

บรรดาพระนามที่เป็นไวพจน์แห่งพระพุทธเจ้าเป็นต้นเหล่านั้น พระนามตั้งพันมาแล้วในวรรณปัฏฐาน (๑) พระนามร้อยหนึ่งมาแล้วในอุบาลีคาถา (๒) และพระนามอย่างอื่นที่ได้อยู่โดยพระคุณ พึงทราบว่า เป็นไวพจน์แห่งพระพุทธเจ้า. ชื่อแห่งพระธรรมแม้ทั้งหมด พึงทราบว่า เป็นไวพจน์แห่งพระธรรม.ในไวพจน์แห่งพระสงฆ์เป็นต้นทั้งหมด ก็นัยนั่น.

[การบอกลาสิกขาระบุพระนามที่เป็นไวพจน์ของพระพุทธเจ้า]

ก็ในพระนามที่เป็นไวพจน์แห่งพระพุทธเจ้าเป็นต้นนี้ มีโยชนาดังต่อไปนี้:-

การบอกลาด้วยคําว่า พุทฺธํ ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่เป็นการบอกลาด้วยไวพจน์ตามที่กล่าวเลย. การบอกลาเป็นต้นอย่างนี้ คือ:-

สมฺมาสมฺพุทฺธํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง.

อนนฺตพุทฺธึ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระพุทธเจ้า ผู้มีความตรัสรู้ไม่มีที่สุด.

อโนมพุทฺธึ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระพุทธเจ้าผู้มีตรัสรู้ไม่ต่ําทราม.

โพธึปฺปฺาณํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระพุทธเจ้าผู้มีความตรัสรู้เป็นเครื่องปรากฏ


(๑) วรรณปัฏฐาน เป็นคัมภีร์แสดงพุทธคุณฝ่ายมหาสังฆิก พวกมหายาน.

(๒) อุบาลีวาทสูตรม.ม. ๑๓/๑๗ - ๘.

 
  ข้อความที่ 104  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 793

ธีรํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระพุทธเจ้าผู้มีปัญญาเป็นเครื่องทรงจํา.

วิคตโมหํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากโมหะ.

ปภินฺนขีลํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพาเจ้าบอกคืนพระพุทธเจ้า ผู้ทรงทําลายตะปูใจ.

วิชิตวิชยํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระพุทธเจ้า ผู้ทรงชํานะวิเศษ.

จัดเป็นการบอกลาสิกขาด้วยคําไวพจน์แห่งพระพุทธเจ้า.

[วิธีลาสิกขาระบุคําไวพจน์พระธรรม]

การบอกลาด้วยคําว่า ธมฺมํ ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่เป็นการบอกลาด้วยไวพจน์ตามที่กล่าวเลย.

ชื่อแม้แห่งพระธรรมขันธ์ๆ หนึ่ง ในบรรดาแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ (เหล่านี้) คือ:-

สฺวากฺขาตํ ธมฺมํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระธรรมที่พระ-ผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว.

สนฺทิฎิกํ ธมฺมํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระธรรมอันผู้ได้บรรลุพึงเห็นเอง.

อกาลิกํ ธมฺมํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระธรรมอันไม่ประกอบด้วยกาล.

 
  ข้อความที่ 105  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 794

เอหิปสฺสิกํ ธมฺมํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระธรรมที่ควรเรียกให้มาดู.

โอปนยิกํ ธมฺมํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระธรรมอันควรน้อมเข้ามาใส่ใจ.

ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺพํ วิฺูหิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระธรรมอัน

ธมฺมํ ปจฺจกฺขามิ วิฺูหิ วิญูชนพึงรู้เฉพาะตน.

อสงฺขตํ ธมฺมํ วิฺูหิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระธรรมอันปัจจัยมิได้ปรุงแต่ง.

วิราคํ ธมฺมํ วิฺูหิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระธรรมอันปราศจากราคะ.

นิโรธํ ธมฺมํ วิฺูหิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระธรรมอันดับสนิท.

อมตํ ธมฺมํ วิฺูหิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระธรรมอันเป็นอมตะ.

ทีฆนิกายํ วิฺูหิ ข้าพเจ้าบอกคืนทีฆนิกาย.

พฺรหฺมชาลํ วิฺูหิ ข้าพเจ้าบอกคืนพรหมชาลสูตร

มชฺฌิมนิกายํ วิฺูหิ ข้าพเจ้าบอกคืนมัชฌิมนิกาย.

มูลปริยายํ วิฺูหิ ข้าพเจ้าบอกคืนมูลปริยายสูตร.

สํยุตฺตนิกายํ วิฺูหิ ข้าพเจ้าบอกคืนสังยุตนิกาย.

องฺคุตฺตรนิกายํ วิฺูหิ ข้าพเจ้าบอกคืนอังคุตตรนิกาย.

ชาตกนิกายํ วิฺูหิ ข้าพเจ้าบอกคืนชาดกนิกาย.

 
  ข้อความที่ 106  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 795

อภิธมฺมํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระอภิธรรม

กุสลํ ธมฺมํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนกุศลธรรม

อกุสลํ ธมฺมํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนอกุศลธรรม

อพฺยากตํ ธมฺมํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนอัพยากตธรรม

สติปฏานํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนสติปัฏฐาน

สมฺมปฺปธานํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนสัมมัปธาน

อิทฺธิปาทํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนอิทธิบาท

อินฺทฺริยํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนอินทรีย์

พลํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพละ

โพชฺฌงฺคํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนโพชฌงค์

มคฺคํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนมรรค

ผลํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนผล

นิพฺพานํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระนิพพาน

จัดเป็นไวพจน์แห่งพระธรรมทีเดียว.

การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคําไวพจน์แห่งพระธรรมดังพรรณนามาฉะนี้.

[วิธีลาสิกขาระบุคําไวพจน์พระสงฆ์]

การบอกลาด้วยคําว่า สงฺฆํ ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่การบอกลาด้วยคําไวพจน์. การบอกลาสิกขาย่อมมีได้ด้วยคําไวพจน์แห่งพระสงฆ์อย่างนี้คือ:-

สุปฏิปนฺนํ สงฺฆํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์ผู้ปฏิ-บัติดี

อุชุปฏิปนฺนํ สงฺฆํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติตรง

 
  ข้อความที่ 107  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 796

ายปฏิปนฺนํ สงฺฆํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์ผู้ปฏิ-บัติเป็นธรรม

สามีจิปฏิปนฺนํ สงฺฆํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกค้นพระสงฆ์ผู้ปฏิ-บัติสมควร

จตุปฺปริสยุคํ สงฺฆํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์คู่บุรุษสี่

อฏฺปุริสปุคฺคลํ สงฺฆํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์คือบุรุษบุคคลแปด

อาหุเนยฺยํ สงฺฆํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์ผู้ควรคํานับ

ปาหุเนยฺยํ สงฺฆํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์ผู้ควรของต้อนรับ

ทกฺขิเณยฺยํ สงฺฆํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์ผู้ควรของทําบุญ

อฺชลิกรณียํ สงฺฆํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์ผู้ควรทําอัญชลี

อนุตฺตรํ ปุฺฺเขตฺตํ สงฺฆํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์ผู้เป็นนาบุญ (ของโลก) ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า

[อรรถาธิบายวิธีลาสิกขาทั่วไป]

การบอกลาด้วยคําว่า สิกฺขํ ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่เป็นการบอกลาด้วยคําไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคําไวพจน์แห่งสิกขาอย่างนี้คือ:-

 
  ข้อความที่ 108  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 797

ภิกฺขุสิกฺขํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนสิกขาของภิกษุ

ภิกฺขุนีสิกฺข ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนสิกขาของภิกษุณี

อธิสีลสิกฺขํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนอธิสีลสิกขา

อธิจิตฺตสิกฺขํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนอธิจิตสิกขา

อธิปฺาสิกฺขํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนอธิปัญญาสิกขา.

การบอกลาด้วยคําว่า วินยํ ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่เป็นการบอกลาด้วยคําไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคําไวพจน์แห่งวินัย มีอาทิอย่างนี้คือ:-

ภิกฺขุวินยํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนวินัยของภิกษุ

ภิกฺขุนีวินยํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนวินัยของนางภิกษุณี

ปมํ ปาราชิกกํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนปฐมปาราชิก

ทุติยํ ปาราชิกกํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนทุติยปาราชิก

ตติยํ ปาราชิกกํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนตติยปาราชิก

จตุตฺถํ ปาราชิกกํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนจตุตถปาราชิก

สงฺฆาทิเสสํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนสังฆาทิเสส

ถุลฺลจฺจยํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนถุลลัจจัย

ปาจิตฺติยํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนปาจิตติยะ

ปาฏิเทสนียํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนปาฏิเทสนียะ

ทุกฺกฏํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนทุกกฏ

ทุพฺภาสิตํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนทุพภาษิต.

การบอกลาด้วยคําว่า ปาฏิโมกฺขํ ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่เป็นการบอกลาด้วยคําไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคําไวพจน์แห่งปาฏิโมกข์อย่างนี้คือ:-

 
  ข้อความที่ 109  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 798

ภิกขุปาฏิโมกฺขํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนภิกขุปาฏิโมกข์

ภิกขุนีปาฏิโมกฺขํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนภิกขุนีปาฏิโมกข์.

การบอกลาด้วยคําว่า อุทฺเทสํ ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่เป็นการบอกลาด้วยคําไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคําไวพจน์แห่งอุเทศ มีอาทิอย่างนี้คือ:-

ภิกขุปาฏิโมกฺขุทฺเทสํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนปาฏิโมก-ขุทเทส

ปมํ ปาฏิโมกฺขุทฺเทสํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนปาฏิโมกขุทเทสที่ ๑

ทุติยํ ปาฏิโมกฺขุทฺเทสํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนปาฏิโมกขุทเทสที่ ๒

ตติยํ ปาฏิโมกฺขุทฺเทสํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนปาฏิโมกขุทเทสที่ ๓

จตุตฺถํ ปาฏิโมกฺขุทฺเทสํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนปาฏิโมกขุทเทสที่ ๔

ปฺจมํ ปาฏิโมกฺขุทฺเทสํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนปาฏิโมกขุทเทสที่ ๕

สมฺมาสมฺพุทฺธุทฺเทสํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนอุเทศแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

อนนฺตพุทฺธิอุทฺเทสํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนอุเทศแห่งพระอนันตพุทธิเจ้า

 
  ข้อความที่ 110  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 799

อโนมพุทฺธิอุทฺเทสํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนอุเทศแห่งพระอโนมพุทธิเจ้า

โพธิปฺปฺาณุทฺเทสํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนอุเทศแห่งพระโพธิปัญญาณเจ้า

ธีรุทฺเทสํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนอุเทศแห่งพระธีรเจ้า

วิคตโมหุทฺเทสํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนอุเทศแห่งพระวิคตโมหเจ้า

ปภินฺนขีลุทฺเทสํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนอุเทศแห่งพระปภินนขีลเจ้า

วิชิตวิชยุทฺเทสํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนอุเทศแห่งพระวิชิตวิชัยเจ้า.

การบอกลาด้วยคําว่า อหุปชฺฌายํ ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่เป็นการบอกลาคําไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคําไวพจน์แห่งอุปัชฌายะอย่างนี้คือ :-

ภิกษุใด ให้ข้าพเจ้าบรรพชา ภิกษุใด ให้ข้าพเจ้าอุปสมบท ข้าพเจ้าบรรพชาแล้ว เพราะมีภิกษุใดเป็นประธาน ข้าพเจ้าอุปสมบทแล้ว เพราะมี

ภิกษุใดเป็นประธาน บรรพชาของข้าพเจ้ามีภิกษุใดเป็นประธาน อุปสมบทของข้าพเจ้ามีภิกษุใดเป็นประธาน ข้าพเจ้าบอกคืนภิกษุนั้น.

การบอกลาด้วยคําว่า อาจริยํ ปจฺจกฺขามฺ ไม่ใช่เป็นการบอกลาด้วยคําไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคําไวพจน์แห่งอาจารย์อย่างนี้คือ:-

 
  ข้อความที่ 111  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 800

ภิกษุใดให้ข้าพเจ้าบรรพชา ภิกษุใดสวดประกาศข้าพเจ้า ข้าพเจ้าอาศัยภิกษุใดอยู่ ข้าพเจ้าให้ภิกษุใดแสดงอุเทศให้ ข้าพเจ้าสอบถามอุเทศกะภิกษุใด ภิกษุใดแสดงอุเทศแก่ข้าพเจ้า ภิกษุใดอนุญาตให้ข้าพเจ้าถามอุเทศข้าพเจ้าบอกคืนภิกษุนั้น.

การบอกลาด้วยคําว่า สทฺธิวิหาริกํ ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่เป็นการบอกลาด้วยคําไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคําไวพจน์แห่งสัทธิวิหาริกอย่างนี้ คือ:-

ข้าพเจ้าให้สามเณรใดบรรพชา ข้าพเจ้าให้ภิกษุใดอุปสมบท สามเณรใดบรรพชาแล้ว เพราะมีข้าพเจ้าเป็นประธาน ภิกษุใดอุปสมบทแล้ว เพราะมีข้าพเจ้าเป็นประธาน บรรพชาของสามเณรใด มีข้าพเจ้าเป็นประธาน อุปสมบทของภิกษุใด มีข้าพเจ้าเป็นประธาน ข้าพเจ้าบอกคืนสามเณรและภิกษุนั้น.

การบอกลาด้วยคําว่า อนฺเตวาสิกํ ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่เป็นการบอกลาด้วยคําไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคําไวพจน์แห่งอันเตวาสิกอย่างนี้คือ:-

ข้าพเจ้าให้สามเณรใดบรรพชา ข้าพเจ้าสวดประกาศให้ภิกษุใด ภิกษุใดอาศัยข้าพเจ้าอยู่ ภิกษุใดให้ข้าพเจ้าแสดงอุเทศให้ ภิกษุใดสอบถามอุเทศกะข้าพเจ้า ข้าพเจ้าแสดงอุเทศแก่ภิกษุใด ข้าพเจ้าอนุญาตให้ภิกษุใดสอบถามอุเทศ ข้าพเจ้าบอกคืนภิกษุนั้น.

การบอกลาด้วยคําว่า สมานูปชฺฌายกํ ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่เป็นการบอกลาด้วยคําไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคําไวพจน์แห่งพระผู้ร่วมอุปัชฌายะอย่างนี้ คือ:-

 
  ข้อความที่ 112  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 801

อุปัชฌายะของข้าพาเจ้าให้สามเณรใดบรรพชาแล้วให้ภิกษุใดอุปสมบทแล้ว สามเณรใดบรรพชาแล้วในสํานักของอุปัชฌายะนั้น ภิกษุใดอุปสมบทแล้วในสํานักของอุปัชฌายะนั้น บรรพชาของสามเณรใดมีอุปัชฌายะนั้นเป็นประธาน อุปสมบทของภิกษุใด มีอุปัชฌายะนั้นเป็นประธาน ข้าพเจ้าบอกคืนภิกษุนั้น.

การบอกลาด้วยคําว่า สมานาจริยกํ ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่เป็นการบอกลาด้วยคําไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคําไวพจน์แห่งพระผู้ร่วมอาจารย์อย่างนี้ คือ:-

อาจารย์ของข้าพเจ้าให้สามเณรใดบรรพชา สวดประกาศให้ภิกษุใดภิกษุใดอาศัยอาจารย์นั้นอยู่ ภิกษุใดให้อาจารย์นั้นแสดงอุเทศให้สอบถามอุเทศอาจารย์ของข้าพเจ้า แสดงอุเทศแก่ภิกษุใด อนุญาตให้ภิกษุใดสอบถามอุเทศข้าพเจ้าบอกคืนภิกษุนั้น.

การบอกลาด้วยคําว่า สพฺรหฺมจารึ ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่เป็นการบอกลาด้วยคําไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคําไวพจน์แห่งพระเพื่อนพรหมจรรย์อย่างนี้ คือ :-

ข้าพเจ้า ศึกษาอธิศีล ศึกษาอธิจิต ศึกษาอธิปัญญา ร่วมกับภิกษุใดข้าพเจ้าบอกคืนพระเพื่อนพรหมจรรย์นั้น.

การบอกลาด้วยคําว่า คีหีติ มํ ธาเรหิ ไม่ใช่เป็นการบอกลาด้วยคําไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคําไวพจน์แห่งคฤหัสถ์อย่างนี้ คือ:-

อาคาริโกติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจําข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นผู้ครองเรือน

กสโกติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจําข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นชาวนา

 
  ข้อความที่ 113  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 802

วาณิโชติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจําข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นพ่อค้า

โครกฺโขติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจําข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นผู้เลี้ยงโค

โอคลฺลโกติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจําข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นคนกําพร้า

โมลิพทฺโธติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจําข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นผู้ไว้ผมจุก

กามคุณิโกติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจําข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นผู้รักกามคุณ

การบอกลาด้วยคําว่า อุปาสโกติ มํ ธาเรหิ ไม่ใช่เป็นการบอกลาด้วยคําไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคําไวพจน์แห่งอุบาสกอย่างนี้คือ :-

เทฺววาจิโก อุปสโกติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจําข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นอุบาสกผู้มีวาจา ๒

เตวาจิโกติ อุปสโกติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจําข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นอุบาสกผู้มีวาจา ๓

พุทฺธํ สรณคมนิโก อุปสโกติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจําข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นอุบาสกผู้เข้าถึงพระ-

พุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่งธมฺมํ สรณคมนิโก อุปสโกติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจําข้าพเจ้าไว้ว่า

เป็นอุบาสกผู้ถึงพระธรรมว่าเป็นที่พึง

 
  ข้อความที่ 114  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 803

สงฺฆํ สรณคมนิโก อุปสโกติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจําข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่ง,

ปฺจสิกฺขาปทิโก อุปาสโกติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจําข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นอุบาสกผู้รักษาสิกขาบท ๕

ทสสิกฺขาปทิโกอุปาสโกติ มํ ธาราหิ ท่านจงทรงจําข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นอุบาสกผู้รักษาสิกขาบท ๑๐.

การบอกลาด้วยคําว่า อารามิโกติ มํ ธาเรหิ ไม่ใช่เป็นการบอกลาด้วยคําไวพจน์. การบอกลาสิกขาย่อมมีได้ด้วยคําไวพจน์แห่งอารามิกะ (ผู้รักษาวัดหรือผู้รักษาสวน) อย่างนี้คือ :-

กปฺปิยการโกติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจําข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นกัปปิยการก,

เวยฺยาวจฺจกโรติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจําข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นไวยาวัจกร,

อปหริตการโกติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจําข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นผู้ทิ้งของสดเขียว, (ผู้ดายหญ้า)

ยาคุภาชโกติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจําข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นผู้แจกข้าวต้ม,

 
  ข้อความที่ 115  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 804

ผลภาชโกติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจําข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นผู้แจกผลไว้,

ขชฺชกภาชโกติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจําข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นผู้แจกของขบเคี้ยว,

การบอกลาด้วยคําว่า สามเณโรติมํ ธาเรหิ ไม่ใช่เป็นการบอกลาด้วยคําไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยไวพจน์แห่งสามเณรอย่างนี้คือ:-

กุมารโกติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจําข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นสามเณรน้อย,

เจฏโกติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจําข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นสามเณรเล็ก,

เปฏโกติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจําข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นสามเณรปานกลาง,

โมณิคลฺโลติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจําข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นสามเณรโค่ง,

สมณุทฺเทโสติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจําข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นสมณุทเทศ, (คือสามเณรมีอายุมากหรือเถร)

การบอกลาด้วยคําว่า ติตฺถิโยติ มํ ธาเรห ไม่ใช่เป็นการบอกลาด้วยคําไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคําไวพจน์แห่งเดียรถีย์อย่างนี้คือ:-

 
  ข้อความที่ 116  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 805

นิคฺคณฺโติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจําข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นนิครณฐ์,

อาชีวโกติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจําข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นเป็นอาชีวก,

ตาปิโสติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจําข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นดาบส,

ปริพฺพาชโกติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจําข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นปริพาชก,

ปณฺฑรงฺโคติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจําข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นตาปะขาว,

การบอกลาด้วยคําว่า ติตฺถิยสาวโกติ มํ ธาเรหิ ไม่ใช่เป็นการบอกลาด้วยคําไวพจน์. การบอกลาสิขา ย่อมมีได้ด้วยคําไวพจน์แห่งสาวกเดียรถีย์อย่างนี้ คือ :-

นิคฺคณฺสาวโกติมํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจําข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นสาวกของนิครณฐ์

อาชีวกตาปสปริพฺพาชกปณฺฑ รงฺคสาวโกติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจําข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น สาวกของอาชีวกดาบสปริพาชกและตาปะขาว

การบอกลาด้วยคําว่า อสฺสมโณติมํ ธาเรหิ ไม่ใช่เป็นการบอกลาด้วยคําไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคําไวพจน์แห่งผู้มิใช่สมณะอย่างนี้ คือ :-

 
  ข้อความที่ 117  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 806

ทุสฺสีโลติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจําข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นผู้ทุศีล,

ปาปธมฺโมติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจําข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นผู้มีธรรมลามก,

อสุจิสงฺกสฺสรรสมาจาโรติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจําข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นผู้ไม่สะอาดและมีสมาจารที่ตามระลึกด้วยความรังเกียจ,

ปฏิจฺฉนฺน กมฺมนฺโตติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจําข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นผู้มีงานปกปิด,

อสฺสมโณ สมณปฏิฺโติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจําข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นผู้มิใช่สมณะ แต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ,

อพฺรหฺมจารี พฺรหฺมจาริปฏิฺโติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจําข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นผู้ประพฤติไม่ประเสริฐ ก็ปฏิญญาว่า เป็นผู้ประพฤติ-ประเสริฐ,

อนฺโตปูตีติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจําข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นผู้บูดเน่าภายใน,

อวสฺสุโตติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจําข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นผู้อันราคะให้ชุ่มแล้ว,

กสมฺพุชาโตติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจําข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นผู้ดุจขยะมูลฝอย

 
  ข้อความที่ 118  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 807

โกณฺโฑติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจําข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นคนชั่ว,

การบอกลาด้วยคําว่า อสกฺยปุตฺติโยติ มํ ธาเรหิ ไม่ใช่เป็นการบอกลาด้วยคําไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคําไวพจน์แห่งผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร มีอาทิอย่างนี้ คือ :-

น สมฺมาสมฺพุทฺธปุตฺโตติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจําข้าพเจ้าไว้ว่า ไม่เป็น บุตรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า,

น อนนฺตพุทฺธิปุตฺโตติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจําข้าพเจ้าไว้ว่า ไม่เป็น บุตรของพระอนันตพุทธิเจ้า,

น อโนมพุทฺธิปุตฺโตติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจําข้าพาเจ้าไว้ว่า ไม่เป็นบุตรของพระอโนมพุทธิเจ้า

น โพธิปฺปฺาณปุตฺโตติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจําข้าพเจ้าไว้ว่า ไม่เป็นบุตรของโพธิปัญญาเจ้า,

น ธีรปุตฺโตติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจําข้าพเจ้าไว้ว่า ไม่เป็นบุตรของพระธีรเจ้า,

น วิคตโมหปุตฺโตติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจําข้าพเจ้าไว้ว่า ไม่เป็นบุตรของพระวิคตโมหเจ้า,

น ปภินฺนขีลปุตฺโตติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจําข้าพเจ้าไว้ว่า ไม่เป็นบุตรของพระปภินนขีลเจ้า,

น วิชิตวิชยปุตฺโตติ มํ ธาเรหิท่านจงทรงจําข้าพเจ้าไว้ว่า ไม่เป็นบุตรของพระวิชิตวิชัยเจ้า,

 
  ข้อความที่ 119  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 808

หลายบทว่า เตหิอากาเรหิเตหิลิงฺเคหิเตหินิมิตฺเตหิ ความว่า (ภิกษุย่อมกล่าวให้ผู้อื่นรู้) ด้วยคําไวพจน์แห่งพระรัตนตรัย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้นเหล่านั้น คือ ที่ตรัสไว้โดยนัยมีอาทิว่า คําไวพจน์แห่งพระพุทธเจ้าก็ดี. จริงอยู่ คําไวพจน์ทั้งหลาย ท่านเรียกว่า อาการเพราะเป็นเหตุแห่งการบอกลาสิกขา, เรียกว่า เพศ เพราะแสดงทรวดทรงแห่งพระพุทธเจ้าเป็นต้น หรือเพราะความเหมาะสมแก่การบอกลาสิกขานั่นเอง,เรียกว่า นิมิต เพราะเป็นเหตุให้รู้การบอกลาสิกขา เหมือนจุดดําทั้งหลายมีมูลแมลงวันเป็นต้น (ไฝ) ของพวกมนุษย์ฉะนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกําหนดแน่นอนลงไปว่า เอวํ โข ภิกฺขเวดังนี้เป็นต้น เพราะเหตุแห่งการบอกลาสิกขาอย่างอื่น นอกจากเหตุที่กล่าวแล้วนี้ไม่มี. จริงอยู่ ในคําว่า เอวํ โข นี้ มีอธิบายดังนี้ว่า ความในให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพล และการบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล เหตุอื่นนอกจากนี้ หามีไม่.

[ลาสิกขากับคนวิกลจริตเป็นต้น ไม่เป็นอันบอกลา]

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงลักษณะแห่งการบอกลาสิกขาอย่างนี้แล้ว เพื่อความไม่เลอะเลือนในการไม่บอกลา เพื่อแสดงความวิบัติแห่งลักษณะการบอกลาสิกขานั้นนั่นเอง ด้วยอํานาจแห่งบุคคลเป็นต้น จึงตรัสคําว่ากถฺจ ภิกฺขเว อปจฺจกฺขาตา ดังนี้เป็นต้น. ในคําว่า อปจฺจกฺขาตาเป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :-

คําว่า เยหิ อากาเรหิ เป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นเอง.

 
  ข้อความที่ 120  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 809

บทว่า อุมฺมตฺตโก ได้แก่ ภิกษุบ้าเพราะถูกยักษ์เข้าสิง หรือบ้าเพราะดีกําเริบ คือ ภิกษุมีสัญญาวิปริตรูปใดรูปหนึ่ง. ภิกษุบ้านั้น ถ้าบอกลา (สิกขา) ไซร้, สิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกลา.

บทว่า อุมฺมตฺตกสฺส ได้แก่ ภิกษุบ้าเช่นนั้นเหมือนกัน. จริงอยู่ถ้าปกตัตตภิกษุ บอกลาสิกขาในสํานักของภิกษุบ้าเช่นนั้นไซร้, ภิกษุบ้าไม่เข้าใจ, สิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกลา

ภิกษุบ้าเพราะถูกยักษ์เข้าสิง ท่านเรียกว่า ภิกษุผู้มีจิตฟุ้งซ่าน. อนึ่งคําว่า ภิกษุบ้าเพราะถูกยักษ์เข้าสิง หรือภิกษุบ้าเพราะดีกําเริบ ท่านกล่าวไว้แล้วในบทต้น โดยความเป็นภิกษุบ้าเสมอกัน. ความแปลกกันแห่งภิกษุบ้าแม้ทั้งสองจักมีแจ้งในอนาปัตติวาร. ภิกษุผู้มีจิตฟุ้งซ่านอย่างนั้น บอกลา (สิกขา) สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกลาเลย. สิกขาแม้อันปกตัตตภิกษุบอกลาแล้วในสํานักของภิกษุบ้าเพราะถูกยักษ์เข้าสิงนั้น เมื่อภิกษุบ้านั้นไม่เข้าใจ ก็ไม่เป็นอันบอกลา.

บทว่า เวทนฏโฏ ได้แก่ ภิกษุอันทุกขเวทนาที่มีกําลังถูกต้องแล้วคือ ผู้ถูกความสยบครอบงําแล้ว. สิกขาที่ภิกษุผู้ถูกเวทนาเบียดเบียนบ่นเพ้ออยู่นั้น แม้บอกลาแล้ว ก็ย่อมไม่เป็นอันบอกลา. สิกขา แม้อันภิกษุบอกลาแล้วในสํานักของภิกษุผู้ถูกเวทนาครอบงํานั้น เมื่อภิกษุผู้ถูกเวทนาครอบงํานั้นไม่เข้าใจ ก็ไม่เป็นอันบอกลา.

สองบทว่า เทวตาย สนฺติเก ความว่า สิกขาที่ภิกษุบอกลาแล้วในสํานักของเทวดาเริ่มต้นแต่ภุมเทวดาไปจนถึงอกนิฏฐเทวดา ย่อมไม่เป็นอันบอกลา.

 
  ข้อความที่ 121  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 810

บทว่า ติรจฺฉานคตสฺส ความว่า สิกขาที่ภิกษุบอกลาแล้วในสํานักของนาคมาณพก็ดี สุบรรณมาณพก็ดี หรือในสํานักของเทวดาเหล่ากินนรช้างและลิงเป็นต้นพวกใดพวกหนึ่งก็ดี ย่อมไม่เป็นอันบอกลาเลย.

สิกขา ที่ภิกษุบอกลาในสํานักของบรรดาภิกษุบ้าเป็นต้นเหล่านั้น ย่อมไม่เป็นอันบอกลาแท้ เพราะ (ภิกษุบ้าเป็นต้นนั้น) ไม่เข้าใจ. ที่บอกลาในสํานักของเทวดา ก็ย่อมไม่เป็นอันบอกลา (เหมือนกัน) เพราะ (เทวดา) เข้าใจเร็วเกินไป. ชื่อว่าเทวดาพวกที่มีปฏิสนธิเป็นไตรเหตุ มีปัญญามากย่อมรู้อะไรเร็วเกินไป. ก็ขึ้นชื่อว่าจิตนี้ ย่อมเป็นธรรมชาติเป็นไปเร็ว; เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงใฝ่พระทัยว่า ความพินาศของบุคคล (ภิกษุ) ผู้มีจิตกลับกลอก อย่าได้มีเร็วนัก เพราะอํานาจจิตนั่นเลย จึงทรงห้ามการลาสิกขาในสํานักของเทวดาไว้. ส่วนในหมู่มนุษย์ ไม่มีกําหนดไว้, สิกขาที่ภิกษุบอกลาในสํานักของคนใดคนหนึ่ง ผู้เป็นสภาคกัน (คือบุรุษ) ก็ตามผู้เป็นวิสภาคกัน (คือมาตุคาม) ก็ตาม เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตามซึ่งเข้าใจ (ผู้รู้เดียงสา) ย่อมเป็นอันบอกลาแล้วแท้. ถ้าว่าคนนั้น ไม่เข้าใจไซร้, สิกขา ก็ย่อมไม่เป็นอันบอกลาเลย.

พระผู้มีพระภาคเจ้า จะทรงแสดงใจความนั่น จึงตรัสคําว่า อริยเกนเป็นต้น. ในคําว่า อริยเกน เป็นต้นนั้น มีวินิจฉันดังนี้ :-

โวหารของชาวอริยะ ซึ่งอริยกะได้แก่ ภาษาของชาวมคธ. โวหารที่ไม่ใช่ของชาวอริยะอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อมีลักขกะ ได้แก่ โวหารของชาวอันธทมิฬ (คนดํา) เป็นต้น.

หลายบทว่า โส เจ น ปฏิวิชานาติ ความว่า (ถ้าชนชาวมิลักขะนั้น) ไม่เข้าใจว่า ภิกษุนั่น พูดเนื้อความชื่อนี้ เพราะความที่ตนไม่รู้ในภาษาอื่นหรือเพราะความที่ตนไม่ฉลาดในพุทธสมัยสิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกลา.

 
  ข้อความที่ 122  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 811

บทว่า ทวาย (๑) ความว่า ภิกษุผู้มีความประสงค์จะพูดอย่างหนึ่งโดยเร็ว แต่พูดไปโดยเร็วว่า ข้าพเจ้าบอกคืนพระพุทธเจ้า ดังนี้ (ชื่อว่า ภิกษุบอกคืนสิกขา โดยกล่าวเล่นหรือกล่าวเร็ว).

บทว่า รวาย แปลว่า โดยการพูดพลาด.

หากจะมีผู้ถาม ถามว่า ภิกษุคิดว่า เพราะจักพูดอย่างหนึ่ง ดังนี้ แต่พูดไปอีกอย่างหนึ่ง คือพูดว่า เราบอกคืนพระพุทธเจ้า (๒) ดังนี้ คําพูดที่พูดนี้กับคําพูดที่มีอยู่ก่อน๓มีความแปลกกันอย่างไร?

แก้ว่า แม้ผู้ฉลาดพูดคําก่อนพลาดไปเป็นคําอื่น ก็ด้วยอํานาจความเร็วแต่บุคคลผู้พลั้งพลาดตั้งใจว่า เราจักพูดอย่างหนึ่งพลาดไปพูดอย่างหนึ่งนี้ก็เพราะความที่ตนเป็นคนทึบ เป็นคนหลงงมงาย.

สองบทว่า อสฺสาเวตุกาโม สาเวติ ความว่า ภิกษุบอก สอบถามเล่าเรียน ทําการสาธยาย พรรณนาบาลีแห่งสิกขาบทนี้ ภิกษุนี้เรียกว่าผู้ไม่ประสงค์จะประกาศ แต่ประกาศให้ได้ยิน.

หลายบทว่า สาเวตุกาโม น สาเวติ ความว่า ภิกษุทําให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพลแล้วบอกคืนสิกขา แต่ไม่ลั่นวาจา ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ประสงค์จะประกาศ แต่ไม่ประกาศให้ได้ยิน.

สองบทว่า อวิฺุสฺส สาเวติ ความว่า ประกาศแก่คนชราผู้เป็นเช่นกันด้วยรูปปั้นหรือผู้มีปัญญาทึบ ซึ่งไม่ฉลาดในลัทธิ (ศาสนา) หรือพวกเด็กชาวบ้าน ผู้ยังไม่บรรลุเดียงสา.


(๑) ฎีกาสารัตถทีปนี้. ๒/๑๒๕. แก้ไว้ว่า ทวาติสหสา แปลว่า บทว่า ทวะแปลว่า โดยเร็ว.

(๒) อฺํ ภณิสสฺสามีติอฺํ ภณนฺโต พุทฺธํ ปจฺจกฺขามีติภณติสารัตถทีปนี.๒/๑๒๕๓.ปุริเมน ภณเนน สทฺธึอิมสฺส ภณนสฺส โกวิเสโสติปุจฺฉโกเจ ปจฺฉติ. อตฺถโยชนา๑/๒๕๓

 
  ข้อความที่ 123  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 812

สองบทว่า วิฺุสฺส น สาเวติความว่า ไม่ประกาศแก่ผู้ฉลาดซึ่งสามารถจะเข้าใจได้.

หลายบทว่า สพฺพโส วา ปน ความว่า สิกขา ย่อมเป็นอันบอกลาแล้ว โดยปริยายใด ในบรรดาคําว่า พุทฺธํ ปจฺจจฺขามิ เป็นต้น แต่เธอหาได้ทําแม้ปริยายอย่างหนึ่งจากปริยายนั้น คือลั่นวาจาประกาศให้ได้ยินไม่.พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงกําหนดลักษณะแห่งการไม่บอกลาไว้ ด้วยคําว่าเอวํ โข เป็นต้น. จริงอยู่ในคําว่า เอขํ โข เป็นต้นนี้ มีอธิบายดังนี้ว่าสิกขาย่อมเป็นอันภิกษุไม่บอกลา ด้วยอาการอย่างนี้แล หามีได้ด้วยเหตุอย่างอื่นไม่.

[อรรถาธิบายความหมายแห่งเมถุนธรรม]

บัดนี้ เพื่อทรงแสดงใจความแห่งบทว่า เมถุนํ ธมฺมํ ปฏิเสเวยฺยเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสคําว่า เมถุนธมฺโม นาม เป็นต้น.ในคําว่า เมถุนธมฺโม นาม เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :-

คําว่า เมถุนธมฺโม นาม นี้ เป็นบทอุเทศแห่งเมถุนแห่งธรรมที่ควรอธิบาย.

ธรรมของพวกอสัตบุรุษทั้งหลาย คือคนต่ําช้า ชื่อว่า อสัทธรรม.ธรรมเป็นที่เสพของพวกชาวบ้านชื่อว่า คามธรรม. ธรรมของพวกคนถ่อยชื่อวสลธรรม. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมชื่อว่าถ่อยเองนั่นแล เพราะเป็นที่ไหลออกแห่งกิเลส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วสลธรรม.

บทว่า ทุฏฺุลฺลํ มีความว่า ชื่อว่าเป็นธรรมชั่ว เพราะเป็นธรรมอันกิเลสทั้งหลายประทุษร้ายแล้ว และชื่อว่าเป็นธรรมหยาบ เพราะเป็นธรรมไม่ละเอียด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าธรรมชั่วหยาบ.

 
  ข้อความที่ 124  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 813

อนึ่ง ตั้งแต่นี้ไปพึงเปลี่ยนสองบทว่า โยโส นี้ ทําให้เป็น ยนฺตํประกอบใน ๓ บทว่า ยนฺตํ ทุฏุลฺลํ ยนฺตํ โอทกนฺติกํ ยนฺตํ รหสฺสํ.ก็แล พึงทราบโยชนาใน ๓ บทนี้ อย่างนี้ว่า

การเห็นก็ดี การจับก็ดี การลูบคลําก็ดี การถูกต้องก็ดี การเบียดสีก็ดีซึ่งเป็นบริวารของกรรมนั้น จัดเป็นกรรมชั่วหยาบ แม้เพราะเหตุนั้น กรรมนั้นจึงจัดเป็นกรรมชั่วหยาบ กรรมชั่วหยาบนั้น ชื่อว่าเมถุนธรรม น้ำอันบุคคลย่อมถือเอา เพื่อความสะอาดในที่สุดแห่งกรรมนั้น เหตุนั้น กรรมนั้น จึงชื่อว่ามีน้ำเป็นที่สุด กรรมมีน้ำเป็นที่สุดนั่นแล ชื่อว่าโอทกันติกะ กรรมมีน้ำเป็นที่สุดนั้นชื่อว่า เมถุนธรรม กรรมนั้นชื่อว่าเป็นกรรมลับ เพราะความเป็นกรรมที่ต้องทําในที่ลับ คือ ในโอกาสอันปิดบัง กรรมนั้น ชื่อว่า เมถุนธรรม.

กรรมนั้น ชื่ออันคนเป็นคู่ๆ พึงถึงร่วมกัน เพราะความเป็นกรรมอันบุคคลพึงร่วมเป็นคู่ๆ กัน. ในบทว่า ทฺวยทฺวยสมาปตฺติ นั้นพึงทราบโยชนาว่า กรรมอันคนเป็นคู่ๆ พึงถึงรวมกันนั้น ชื่อว่า เมถุนธรรม.

ก็แล ในอธิการนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จะทรงชักธรรมทั้งปวง มีอสัทธรรมเป็นต้นนั้นมารวมในที่เดียวกัน จึงตรัสว่า นี้ ชื่อว่า เมถุนธรรม.

ถามว่า เพราะเหตุไร อสัทธรรม จึงเรียกว่า เมถุนธรรม?

แก้ว่า อสัทธรรมนั้น เป็นของคนคู่ผู้กําหนัดแล้ว ผู้กําหนัดจัดแล้วผู้อันราคะชุ่มใจแล้วคือผู้อันราคะกลุ้มรุมแล้ว ได้แก่เป็นธรรมของคนคู่ผู้ปานกัน เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า เมถุนธรรม.

บทว่า ปฏิเสวตินาม นี้ เป็นบทมาติกา เพื่อแสดงอาการซึ่งเป็นเหตุอันพระองค์ตรัสเรียกบุคคลว่า พึงเสพเฉพาะในบทว่า ปฏิเสเวยฺย นี้

 
  ข้อความที่ 125  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 814

ในบทว่า โย นิมิตฺเตน นิมิตฺตํ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ :-

ภิกษุใดให้นิมิตของตนเข้าไปทางนิมิตของหญิง คือให้องคชาตของตนเข้าไปทางองคชาตของหญิง ในโอกาสอันชุ่ม ซึ่งลมถูกต้องไม่ได้ โดยประมาณอย่างต่ําที่สุด แม้เพียงเมล็ดงาหนึ่ง ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมเสพเฉพาะ ด้วยอาการเพียงเท่านี้ เธอย่อมถึงความทําลายแห่งศีล คือเป็นปาราชิก.

[สตรีนิมิตได้ฐาน ๕ ปุริสนิมิตได้ฐาน ๖]

ก็บรรดานิมิตของสตรีและบุรุษนี้ ในนิมิตของสตรี ได้ฐาน ๕ คือข้างทั้ง ๔ และท่ามกลาง. ในนิมิตของบุรุษได้ฐาน ๖ คือ ข้างทั้ง ๔ ตรงกลางปลาย. เพราะเหตุนั้น ในนิมิตของสตรี แม้สอดองคชาตเข้าไปทางใต้ ย่อมเป็นปาราชิก สอสดเข้าไปจากข้างบนก็ดี สอดเข้าไปทางข้างทั้งสองก็ดี สอดเข้าไปตรงกลาง พ้นฐานทั้ง ๔ ก็ดี ย่อมเป็นปาราชิก (ทั้งนั้น). ส่วนนิมิตแห่งบุรุษ แม้ภิกษุสอดเข้าไปให้ถูกทางส่วนล่าง ย่อมเป็นปาราชิก สอดเข้าไปให้ถูกทางส่วนบนก็ดี สอดเข้าไปให้ถูกทางข้างทั้งสองก็ดี สอดเข้าไปให้ถูกเฉพาะตรงกลาง เหมือนให้นิ้วมือที่งอเข้าแล้ว จดเข้าด้วยหลังข้อกลางก็ดี สอดเข้าไปให้ถูกส่วนปลายก็ดี ย่อมเป็นปาราชิก (ทั้งนั้น).

บรรดานิมิตของสตรีและบุรุษนั้น แม้เมื่อภิกษุสอดองคชาตเข้าไปให้เหมือนกับคันชั่ง ได้ฐาน ๕ คือ ข้างทั้ง ๔ และตรงกลาง. แม้เมื่อสอดให้งอเข้าไป ก็ได้ฐาน ๕ คือ ข้างทั้ง ๔ ส่วนปลายและตรงกลาง. ฐานแม้ทั้งหมดในนิมิตของบุรุษมี ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

ภิกษุสอดหัวติ่ง (๑) หรือปมหนัง ซึ่งมีกายประสาทยังดี ที่เกิดอยู่ในนิมิต (ของตน) เข้าไป (ในนิมิตของสตรี) เป็นอาบัติปาราชิก. สอดติ่งหนัง


(๑) จมฺมขีลนฺตินิมิตฺเต อุฏิตจมฺมเมว. อุณฺณิคณฺโฑติปิวทนฺติ. สารัตถทีปนี.๒/๑๒๙หมายถึงหัวที่เป็นติ่ง หรือตุ่มพอก ซึ่งเกิดอยู่ที่องคชาต.

 
  ข้อความที่ 126  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 815

ที่ตายแล้ว หรือปมหนังที่แห้ง ที่มีกายประสาทเสียแล้วเข้าไป (ในนิมิตของสตรี) เป็นอาบัติทุกกฏ. แม้เมื่อสอดขน หรือปลายนิ้วมือและนิ้วหัวแม่มือเข้าไป (ในนิมิตของสตรี) ด้วยความยินดีในเมถุน เป็นทุกกฏเหมือนกัน.

[ภิกษุเมื่อจะพรรณนาเมถุนกกถาควรระลึกถึงพระพุทธคุณ]

ก็ขึ้นชื่อว่า เมถุนกถานี้ ก็คือกถาที่ชั่วหยาบ อันเป็นกถาของพวกอสัตบุรุษ เพราะฉะนั้น ภิกษุเมื่อจะกล่าวถึงฐานะนั่นก็ดี ฐานะอื่นก็ดี หรือฐานะเช่นนี้ในพระวินัย ก็ควรให้ปฏิกูลมนสิการ สมณสัญญา และหิริโอตตัปปะตั้งขึ้นเฉพาะหน้า แล้วให้ความเคารพเกิดขึ้นในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รําพึงถึงพระกรุณาของพระโลกนาถ ผู้มีพระกรุณาหาผู้เสมอมิได้ แล้วกล่าวเถิด. ควรรําพึงถึงพระกรุณาคุณของพระโลกนาถอย่างนี้ว่า อันที่จริง พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น แม้มีพระมนัสหมุนกลับแล้วจากกามทั้งหลาย โดยประการทั้งปวงทรงอาศัยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย เพื่อความเอ็นดูเหล่าสัตว์ เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก ได้ตรัสกถาเช่นนี้ไว้ เพื่อต้องการบัญญัติสิกขาบท พระศาสดา มีพระกรุณาคุณจริงหนอ! ดังนี้แล้ว พึงกล่าวเถิด.

อีกประการหนึ่ง ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า จะไม่พึงตรัสกถาเช่นนี้โดยประการทั้งปวงไซร้ ใครเล่าจะพึงรู้ได้ว่า ในฐานะประมาณเท่านี้ เป็นปาราชิก ในฐานะประมาณเท่านี้ เป็นถุลลัจจัย ในฐานะประมาณเท่านี้ เป็นทุกกฏ. เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้ว่าความ สดับอยู่ก็ดี กล่าวอยู่ก็ดี (ซึ่งเมถุนกถานั้น) หาควรเปิดปากนั่งหัวเราะแยกฟันกันอยู่ไม่ ใคร่ครวญว่า ถึงฐานะเช่นนี้ แม้พระสัมมาพุทธเจ้าก็ได้ตรัสแล้ว ดังนี้ เป็นผู้ไม่กลัวเพราะเหตุเช่นนั้น ถึงพร้อมด้วยหิริและโอตตัปปะ มีส่วนเปรียบดังพระศาสดา แล้วพึงกล่าวเถิดฉะนี้แล.

จบมูลบัญญัติสิกขาบท

 
  ข้อความที่ 127  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 816

อนุปัญญัติวาร

[กําหนดสัตว์ที่เป็นวัตถุแห่งปาราชิกเป็นต้น]

ในวาระแห่งอนุบัญญัติ มีวินิจฉัยดังนี้ :-

บทว่า อนฺตมโส แปลว่า โดยกําหนดอย่างต่ําที่สุดทั้งหมด.

บทว่า ติรจฺฉานคตายปิ ความว่า ในประชาสัตว์ผู้ในแล้ว (คือ

ผู้เกิดแล้ว) ในเหล่าสัตว์ดิรัจฉาน ด้วยอํานาจปฏิสนธิ.

สองบทว่า ปเคว มนุสฺสิตฺถิยา ความว่า (ภิกษุเสพเมถุนธรรม) ในหญิงผู้เป็นชาติมนุษย์ก่อนกว่า. ก็สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ซึ่งเป็นวัตถุแห่งปาราชิกนั่นแล ควรถือเอาว่า สัตว์ดิรัจฉาน ในปฐมปาราชิกนี้ ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวเมียทั้งหมด (สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ไม่ใช่วัตถุแห่งปาราชิกทั้งหมด).ในคําว่า สัตว์ดิรัจฉาน นั้น มีกําหนด (ประเภทสัตว์) ดังนี้

บรรดาพวกสัตว์ไม่มีเท้า ได้แก่ งูและปลา, และบรรดาพวกสัตว์มีสองเท้าได้แก่ แม่ไก่, บรรดาพวกสัตว์มีสี่เท้า ได้แก่แมวตัวเมีย, สัตว์ดิรัจฉานตัวเมียเหล่านี้เป็นวัตถุแห่งปาราชิก.

[อรรถาธิบายประเภทสัตว์ต่างๆ]

บรรดาสัตว์มีงูเป็นต้นนั้น ทีฆชาติต่างโดยประเภท มีงูเหลือมและงูขว้างค้อนเป็นต้นแม้ทั้งหมด ท่านสงเคราะห์เข้าด้วย อหิศัพท์. เพราะฉะนั้นบรรดาทีฆชาติทั้งหลาย ทีฆชาติที่ภิกษุอาจสอดองคชาตเข้าไปในบรรดามรรค

 
  ข้อความที่ 128  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 817

ทั้ง ๓ มรรคใดมรรคหนึ่ง ประมาณเท่าเมล็ดงา เป็นวัตถุแห่งปาราชิก, ที่เหลือพึงทราบว่า เป็นวัตถุแห่งทุกกฏ. สัตว์ที่เกิดในนา ต่างโดยประเภทมี ปลาเต่า และกบเป็นต้นแม้ทั้งหมด ท่านสงเคราะห์เข้าด้วย มัจฉะ ศัพท์. ในสัตว์ที่เกิดในน้ำแม้นั้น พึงทราบว่า เป็นวัตถุแห่งปาราชิก และเป็นวัตถุแห่งทุกกฏ โดยนัยดังกล่าวไว้แล้วในทีฆชาตินั่นเอง. ส่วนความแปลกกัน มีดังต่อไปนี้ :-

ขึ้นชื่อว่ากับเป็นสัตว์มีปากแข็ง, กบเหล่านั้น มีสัณฐานปากกว้างแต่มีช่องปากแคบ; ในสัณฐานปากนั้น จึงไม่เพียงพอที่จะสอดองคชาตเข้าไปได้, แต่สัณฐานปาก ย่อมถึงความนับว่าแผล, เพราะฉะนั้น พึงทราบมุขสัณฐานนั้นว่า เป็นวัตถุแห่งถุลลัจจัย.

ปักษีชาติ ต่างโดยประเภทมี กาก์และลูกนกสาลิกาเป็นต้นแม้ทั้งหมดท่านสงเคราะห์เข้าด้วย กุกกุฏี ศัพท์. ในปักษีชาติแม้นั้น พึงทราบว่า เป็นวัตถุแห่งปาราชิกและวัตถุแห่งทุกกฏ โดยนัยดังที่กล่าวแล้วนั่นแล.

จตุปทชาติ (สัตว์มีสี่เท้า) ต่างโดยประเภทที่กระแต (๑) พังพอน และเหี้ยเป็นต้นแม้ทั้งหมด ท่านสงเคราะห์เข้าด้วย มัชชารีศัพท์. ในจตุปทชาติแม้นั้นก็พึงทราบว่า เป็นวัตถุแห่งปาราชิก และเป็นวัตถุแห่งทุกกฏ โดยนัยดังที่กล่าวแล้วนั่นแล.

[ปาราชิกศัพท์เป็นไปในสิกขาบทเป็นต้น]

บทว่า ปาราชิโก แปลว่า พ่ายแพ้แล้ว คือ ถึงแล้วซึ่งความพ่ายแพ้.จริงอยู่ ปาราชิก ศัพท์นี้ ย่อมเป็นไปทั้งในสิกขาบท อาบัติและบุคคล. ใน๓ อย่างนั้น ปาราชิกศัพท์ ที่เป็นไปในสิกขาบท พึงทราบ (ในที่มา) อย่างนี้ว่า


(๑) บางท่านว่า สุนัขต้นไม้, มีชุกทางอินเดียภาคเหนือ.

 
  ข้อความที่ 129  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 818

ดูก่อนอานนท์! มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส มีตถาคตจะพึงถอนปาราชิกสิกขาบทที่ได้บัญญัติไว้แล้ว เพื่อสาวกทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งพวกภิกษุชาววัชชีหรือพวกวัชชีบุตรเลย (๑)

ที่เป็นไปในอาบัติพึงทราบ (ในที่มา) อย่างนี้ว่า ภิกษุ! เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว (๒) ที่เป็นไปในบุคคล พึงทราบ (ในที่มา) อย่างนี้ว่า พวกเรามิได้เป็นปาราชิก, ผู้ใดลัก, ผู้นั้น เป็นปาราชิก. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่าปาราชิกศัพท์นี้ ยังเป็นไปในธรรมได้อีก เช่นในที่มามีคําว่า (ภิกษุ) ตามกําจัด (ภิกษุ) ด้วยธรรมมีโทษถึงปาราชิก ดังนี้เป็นต้น (๓)

แต่เพราะเหตุที่ในอาบัติและสิกขาบททั้ง ๒ นั้น ในที่บางแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระประสงค์อาบัติว่าธรรม บางแห่งก็ทรงพระประสงค์สิกขาบททีเดียว เพราะฉะนั้น จึงไม่ควรจะกล่าวธรรมนั้นไว้อีกแผนกหนึ่ง.

บรรดาสิกขาบท อาบัติและบุคคลนั้น, สิกขาบท พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ปาราชิก เพราะเหตุที่ยังบุคคลผู้ละเมิดให้พ่าย, ส่วนอาบัติตรัสว่าปาราชิก เพราะเหตุที่ยังบุคคลผู้ต้องให้พ่าย, บุคคลตรัสว่า เป็นการปาราชิกเพราะเหตุที่เป็นผู้พ่าย คือ ถึงความแพ้. จริงอยู่ แม้ในคัมภีร์บริวาร พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็หมายเฉพาะเนื้อความนี้ ตรัสว่า

อาบัติใด เราเรียกว่าปาราชิก, ท่านจงฟังอาบัตินั้นตามที่กล่าว, บุคคลผู้ต้องปาราชิก ย่อมเป็นผู้เคลื่อน ผิด ตกไปและเหินห่างจากสัทธรรมแล, แม้ธรรมเป็นที่อยู่ร่วมกันในบุคคลนั้น ย่อมไม่มี, ด้วยเหตุนั้น อาบัตินั้น เราจึงเรียกอย่างนั้น (๔)


(๑) วิ. มหา. ๑/๔๑.

(๒) วิ. มหา. ๑/๖๒.

(๓) วิ มหา. ๑/๓๗๖.

(๔) วิ ปริวาร. ๘/๓๖๘.

 
  ข้อความที่ 130  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 819

[อรรถาธิบายความในพระคาถา]

ก็ในปริวารคาถานี้ มีเนื้อความดังต่อไปนี้ :- บุคคลผู้ละเมิดสิกขาบทนั้น และต้องอาบัตินั้น ย่อมเป็นผู้เคลื่อน (จากสัทธรรม) , คําทั้งปวงอันบัณฑิตพึงประกอบอย่างนี้.

สองบทว่า เตน วุจฺจติ มีความว่า บุคคล ย่อมเป็นผู้ไม่ใช่สมณะไม่ใช่เหล่ากอแห่งศากยบุตร พลัดตกไป ขาดไป คือพ่ายแพ้จากศาสนา ด้วยเหตุใด, ด้วยเหตุนั้น บุคคลนั้น เราจึงกล่าว. ถามว่า กล่าวว่าอย่างไร?แก้ว่า กล่าวว่าเป็นผู้พ่าย.

ภิกษุทั้งหลาย ย่อมอยู่ร่วมกันในธรรมนี้ เหตุนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าสังวาส. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สํวาโส นาม ดังนี้แล้ว จึงตรัสคําเป็นต้นว่า เอกกมฺมํ ก็เพื่อแสดงสังวาสนั้น.

ในคําว่า เอกกมฺมํ เป็นต้นนั้น มีคําอธิบายพร้อมทั้งโยชนา ดังต่อไปนี้ :- สังฆกรรมทั้ง ๔ อย่าง ชื่อว่า กรรมอันเดียวกัน เพราะความเป็นกรรมที่ภิกษุทั้งหลายผู้ปกตัตตะ กําหนดด้วยสีมา จึงพึงทําร่วมกัน. อนึ่งปาฏิโมกขุทเทสทั้ง ๕ อย่าง ชื่อว่าอุเทศเดียวกัน เพราะความเป็นอุเทศที่จะพึงสวดด้วยกัน. ส่วนสิกขาบทที่ทรงบัญญัติแล้ว ชื่อว่า สมสิกขาตา เพราะความเป็นสิกขาที่ลัชชีบุคคลแม้ทั้งปวงจะศึกษาเท่ากัน. ลัชชีบุคคลแม้ทั้งปวงย่อมอยู่ร่วมกันในกรรมเป็นต้นเหล่านี้, บุคคลแม้ผู้เดียวจะปรากฏในภายนอกจากกรรมเป็นต้นนั้นหามิได้; เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงรวมเอาสิ่งเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ตรัสว่า นี้ชื่อว่า สังวาส ในพระบาลีนี้. ก็แลสังวาสเอาประการดังกล่าวแล้วนั้น ไม่มีกับบุคคลนั้น; เพระเหตุนั้น บุคคลผู้พ่ายพระองค์จึงตรัสว่า ผู้หาสังวาสมิได้ ฉะนี้แล.

 
  ข้อความที่ 131  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 820

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจําแนกสิกขาบทที่ทรงอุเทศอย่างนั้นตามลําดับบทแล้ว บัดนี้ จึงทรงแสดงสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งมีนิมิตเป็นวัตถุแห่งปาราชิก โดยนัยมีคําว่า หญิง ๓ จําพวก เป็นต้น แล้วตรัสวัตถุ ๓ โดยนัยมีคําว่า มรรค ๓ แห่งหญิงมนุษย์ เป็นอาทิ เพื่อแสดงนิมิต ที่เป็นวัตถุแห่งปาราชิก เพราะเหตุที่นิมิตหญิงอย่างเดียวเท่านั้น จึงเป็นวัตถุแห่งปาราชิกหามิได้ นิมิตหญิงมนุษย์เท่านั้น จึงเป็นวัตถุหามิได้ ทั้งนิมิตแม้แห่งหญิงทั้งหลายซึ่งตกแต่งด้วยทองและเงินเป็นต้น จึงเป็นวัตถุแท้หามิได้ ในคําว่า นิมิตฺเตนนิมิตฺตํ องฺคชาเตน องฺคชาตํ ซึ่งพระองค์ทรงตั้งบทมาติกานี้ว่า ปฏิเสวตินาม เพื่อแสดงอาการเป็นเหตุตรัสว่า พึงเสพเฉพาะ ในบทว่า ปฏิเสเวยฺยนี้ ตรัสไว้แล้ว.

ในคําว่า หญิง ๓ จําพวก เป็นอาทินั้น มีสัตว์ ๑๒ พวก ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งนิมิต อันเป็นวัตถุแห่งปาราชิก คือ สตรี ๓ จําพวก อุภโตพยัญชนก ๓ จําพวก บัณเฑาะก์๓ จําพวก บุรุษ ๓ จําพวก. ในสัตว์ ๑๒จําพวกนั้น สตรีและบุรุษปรากฏชัดแล้ว. ชนิดของบัณเฑาะก์และอุภโตพยัญชนก จักมีปรากฏในวรรณนาแห่งบรรพชาขันธกะ. ส่วนในคําว่า ผู้เสพเมถุนธรรมเฉพาะมรรค ๓ แห่งหญิงมนุษย์ นี้ พึงทราบใจความว่า ในมรรค๓ แห่งหญิงมนุษย์. พึงทราบอย่างนี้ทุกๆ บท.

[มรรคที่เป็นวัตถุแห่งปาราชิกรรม ๓๐]

ก็มรรคเหล่านั้นทั้งหมดทีเดียว มี ๓๐ ถ้วน คือของหญิงมนุษย์มี ๓มรรค ของหญิงอมนุษย์มี ๓ มรรค ของสัตว์ดิรัจฉานตัวเมียมี ๓ มรรครวมเป็น ๙, ของมนุษย์อุภโตพยัญชนกเป็นต้นมี ๙ ของมนุษย์บัณเฑาะก์เป็นต้นมี ๖ เพราะแบ่งเป็นพวกละ ๒ มรรคๆ , ของมนุษย์ผู้ชายเป็นต้นมี ๖

 
  ข้อความที่ 132  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 821

เหมือน. ภิกษุเมื่อเสพเมถุนธรรมสอดองคชาติของตนเข้าไปในบรรดามรรคที่รู้กันว่าเป็นนิมิตเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง แม้เพียงเมล็ดงาเดียว ย่อมต้องปาราชิก. แต่เพราะเมื่อจะต้อง ย่อมต้องด้วยเสวนจิตเท่านั้น เว้นจากเสวนจิตนั้นหาต้องไม่ ; เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงลักษณะนั้น จึงตรัสพระดํารัสว่า ภิกฺขุสฺส เสวนจิตฺตํ อุปฏฺิเต ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภิกฺขุสฺส ได้แก่ ภิกษุผู้เสพเมถุน. ในคําว่า เสวนจิตฺตํ อุปฏฺิเต นี้ เป็นปฐมาวิภัตติ ลงในอรรถสัตตมีวิภัตติ.อธิบายว่า เมื่อเสวนจิตปรากฏแล้ว.

หลายบทว่า วจฺจมคฺคํ องฺคชาตํ ปเวเสนฺตสฺส ความว่า เมื่อภิกษุสอดองคชาต คือ ปุริสนิมิตของตนเข้าไปทางมรรคที่อุจจาระออกไปนั้นแม้เพียงเมล็ดงาเดียว.

สองบทว่า อาปตฺติ ปาราชิกสฺส ความว่า อาบัติปาราชิกย่อมมีแก่ภิกษุนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อาปตฺติ แปลว่า ย่อมมีการต้อง.

บทว่า ปาราชิกกสฺส ได้แก่ ธรรมคือปาราชิก. ในทุกๆ บท ก็นัยนี้นั้นแล.

[ภิกษุถูกผู้อื่นข่มขืนแล้วยินดีเป็นปาราชิก]

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงอาบัติของภิกษุผู้สอด (องคชาตของตน) เข้าไปด้วยเสวนจิตอย่างเดียวอย่างนั้นแล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงรักษาเหล่ากุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา เป็นผู้ปฏิบัติชอบ ไม่ยินดีแม้ในเมื่อมีการสอด (องคชาต) เข้าไป (ในองคชาตของตน) ด้วยความพยายามของผู้อื่น เพราะ

 
  ข้อความที่ 133  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 822

เหตุที่ ชื่อว่าการสอด (องคชาต) เข้าไปนั้น ไม่ใช่จะมีได้ด้วยความพยายามของตนอย่างเดียวเท่านั้น ย่อมมีได้แม้ด้วยความพยายามของผู้อื่น และเมื่อภิกษุยินดีในการสอด (องคชาต) เข้าไปด้วยความพยายามของผู้อื่นแม้นั้นก็เป็นอาบัติ, คือเมื่อภิกษุมีความพร้อมเพรียงด้วยปฏิเสวนจิตก็เป็นอาบัติ นอกนี้ไม่เป็นอาบัติ จึงตรัสพระดํารัสว่า ภิกฺขุปจฺจตฺถิกา มนุสฺสิตฺถึ เป็นต้น.

ในคําว่า ปจฺจตฺถิกา เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- เหล่าชนผู้ชื่อว่าเป็นข้าศึก เพราะอรรถว่าต้องการ คือ ปรารถนาเป็นปฏิปักษ์. ข้าศึกทั้งหลาย คือ พวกภิกษุ ชื่อว่า ภิกฺขุปจฺจตฺถิกา (ภิกษุผู้เป็นข้าศึก) . คําว่าภิกขุปัจจัตถิกานั่น เป็นชื่อของพวกภิกษุผู้ก่อเวร ซึ่งเป็นวิสภาคกัน.

หลายบทว่า มนุสฺสิตฺถึ ภิกฺขุโน สนฺติเก อเนตฺวา ความว่าพวกภิกษุผู้มีความริษยาปรารถนาจะทําให้ภิกษุนั้นฉิบหาย เอาอามิสหลอกล่อหรือพูดด้วยอํานาจมิตรสันถวะว่า ท่านจงทํากิจนี้ของพวกเราเถิด แล้วพาเอาหญิงมนุษย์บางคนมายังโอกาส ซึ่งเป็นที่อยู่ของภิกษุนั้น ในเวลาราตรี.

หลายบทว่า วจฺจมคฺเคน องฺคชาตํ อภินีสีเทนฺติ ความว่าจับภิกษุรูปนั้นที่อวัยวะมี มือ เท้า และศีรษะเป็นต้นอย่างมั่น คือให้ดิ้นรนไม่ได้ แล้วให้นั่งคร่อม คือให้ประกอบองคชาตของภิกษุรูปนั้น ด้วยวัจจมรรคของหญิง.

ในคําว่า โส เจ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- ถ้าภิกษุรูปนี้นั้นยินดีคือยอมรับการสอสดองคชาตของตนเข้าไปร่วมในแห่งวัจจมรรค (ของหญิง) คือเธอให้เสวนจิตปรากฏขึ้นในขณะนั้น ยินดี คือยอมรับการเข้าไปแล้ว, ในเวลาที่เข้าไปแล้ว เธอก็ให้เสวนจิตปรากฏขึ้นทั้งยินดี คือยอมรับการหยุดอยู่,ในเวลาที่องคชาตถึงที่ เธอก็ให้เสวนจิตปรากฏขึ้นในเวลาที่หลั่งน้ำสุกกะ ทั้ง

 
  ข้อความที่ 134  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 823

ยินดี คือยอมรับการถอนออก, ในเวลาที่ชักออก เธอก็ให้ปฏิเสวนจิตปรากฏขึ้น; ภิกษุเมื่อยินดีในฐานะ ๔ อย่าง ดังอธิบายมาแล้วนี้ ย่อมไม่ได้เพื่อจะพูด (แก้ตัว) ว่า อันสมณะผู้ก่อเวรทั้งหลาย ทํากรรมนี้แก่เราแล้ว, ย่อมต้องอาบัติปาราชิกทีเดียว. เหมือนอย่างว่า ภิกษุเมื่อยินดีฐานะทั้ง ๔ เหล่านี้ ย่อมต้องอาบัติ ฉันใด, เธอไม่ยินดีฐานะข้อหนึ่งซึ่งเป็นข้อแรก แต่ยินดี ๓ ฐานะอยู่ก็ดี ไม่ยินดี ๒ ฐานะ แต่ยินดี ๒ ฐานะอยู่ก็ดี ไม่ยินดี ๓ ฐานะ แต่ยินดีฐานะเดียวอยู่ก็ดี ย่อมต้องอาบัติเหมือนกัน ฉันนั้น.

ส่วนภิกษุ เมื่อไม่ยินดีโดยประการทั้งปวง สําคัญขององคชาตเหมือนเข้าไปยังปากอสรพิษ หรือเข้าไปที่หลุมถ่านเพลิง หาต้องอาบัติไม่. เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ภิกษุไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่เป็นอาบัติ (๑)

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงรักษาบุคคล ผู้เจริญวิปัสสนาเห็นปานนี้ๆ ไม่มีความห่วงใยในกายและชีวิต เล็งเห็นอายตนะทั้งปวง ดุจถูกไฟ ๑๑ อย่าง ให้ลุกโชนทั่วแล้ว ทั้งเล็งเห็นเบญจกามคุณ เป็นเหมือนเพชฌฆาตผู้เงื้อดาบขึ้นแล้ว ฉะนั้น และเมื่อจะทรงทําการกําจัดมโนรถแห่งพวกที่เป็นข้าศึกของบุคคลผู้ไม่ยินดีนั้น จึงทรงนําจตุกกะมีอาทิว่า ภิกษุผู้ไม่ยินดีการเข้าไป (๒) นี้มาตั้งไว้ ฉะนี้แล.

จบกถาว่าด้วยจตุกกะแรก


(๑) - (๒) วิ. มหา. ๑/๔๕.

 
  ข้อความที่ 135  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 824

กถาว่าด้วยจตุกกะ ๒๖๙ ที่เหลือ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงปฐมจตุกกะอย่างนั้นแล้ว บัดนี้เมื่อจะทรงแสดงจตุกกะแม้อย่างอื่น ด้วยอํานาจมรรคทั้ง ๓ เหล่านั้น เพราะเหตุที่ภิกษุผู้เป็นข้าศึกนําหญิงมาแล้ว ให้นั่งทับโดยทางวัจจมรรคอย่างเดียวเท่านั้นหามิได้ โดยที่แท้ ให้นั่งทับโดยทางปัสสาวมรรคบ้าง โดยทางปากบ้าง,และแม้เมื่อภิกษุผู้เป็นข้าศึกนําหญิงมา บางพวกนําหญิงผู้ตื่นอยู่มา บางพวกนําหญิงผู้หลับมา บางพวกนําหญิงเมามา บางพวกนําหญิงผู้เป็นบ้ามา บางพวกนําหญิงผู้ประมาทมา, อธิบายว่า นําหญิงผู้ส่งใจไปในอารมณ์อื่น คือผู้ฟุ้งซ่านมา, บางพวกนําหญิงผู้ตายแล้วที่สัตว์ยังมิได้กัดกินมา, อธิบายว่า นําหญิงผู้ตายซึ่งมีนิมิต อันสัตว์ทั้งหลายมีสุนัขจิ้งจอกเป็นต้นยังมิได้กัดกินมา,บางพวกนําหญิงผู้ตายแล้วที่สัตว์ยังมิได้กัดกินโดยมากมา; หญิงตายที่ชื่อว่าสัตว์ยังมิได้กัดกินโดยมาก คือที่วัจจมรรคก็ดี ปัสสาวมรรคก็ดี ปากก็ดี อันเป็นนิมิต มีโอกาสที่สัตว์ยังมิได้กัดกินมากกว่า; บางพวกนําหญิงผู้ตายที่สัตว์กัดกินแล้วโดยมากมา; หญิงตายที่ชื่อว่าสัตว์กัดกินแล้วโดยมาก คืออวัยวะที่นิมิตมีวัจจมรรคเป็นต้นถูกสัตว์กัดกินเป็นส่วนมาก ที่ยังมิได้กัดกินมีน้อย; และจะนํามาแต่หญิงมนุษย์อย่างเดียวเท่านั้นหามิได้ โดยที่แท้ นําหญิงอมนุษย์บ้างสัตว์ดิรัจฉานตัวเมียบ้างมา; ทั้งจะนํามาเฉพาะหญิงมีประการดังกล่าวแล้วอย่างเดียวหามิได้; นําอุภโตพยัญชนกบ้าง บัณเฑาะก์บ้าง ผู้ชายบ้างมา;จึงตรัสคําเป็นต้นว่า ภิกษุผู้เป็นข้าศึกนําหญิงมนุษย์ผู้ตื่นอยู่มา (๑)


(๑) วิ. มหา. ๑/๕๗.

 
  ข้อความที่ 136  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 825

[มรรคของมนุษย์ผู้หญิงมี ๒๗ จตุกกะ]

ในคําว่า ชาครนฺตึ เป็นต้นนั้น เพื่อความไม่งมงายในพระบาลีบัณฑิตพึงทราบจตุกกะดังที่กล่าวแล้ว โดยการคํานวณ ดังที่จะกล่าวต่อไปนี้ :-

ด้วยอํานาจมรรคทั้ง ๓ ของมนุษย์ผู้หญิงมี ๒๗ จตุกกะ คือสุทธิ-จตุกกะ (จตุกกะว่าด้วยมรรคล้วนๆ) ๓, ชาครันตีจตุกกะ (จตุกกะว่าด้วยหญิงผู้ตื่นอยู่) ๓, สุตตจตุกกะ (จตุกกะว่าด้วยหญิงผู้หลับ) ๓, มัตตจตุกกะ (จตุกกะว่าด้วยหญิงผู้เมา) ๓, อุมมัตตจตุกกะ (จตุกกะว่าด้วยหญิงบ้า) ๓,ปมัตตจตุกกะ (จตุกกะว่าด้วยหญิงผู้ประมาท) ๓, มตอักขยิตจตุกกะ (จตุกกะว่าด้วยหญิงตายที่สัตว์ยังมิได้กัดกิน) ๓, เยภุยเยนอักขยิตจตุกกะ (จตุกกะว่าด้วยนิมิตที่สัตว์ยังมิได้กัดกินโดยมาก) ๓, เยภุยเยนขยิตจตุกกะ (จตุกกะว่าด้วยนิมิตที่สัตว์กัดกินโดยมาก) ๓.

ด้วยอํานาจมรรคทั้ง ๓ ของอมนุษย์ผู้หญิง ก็มี ๒๗ จตุกกะเหมือนกัน, ของสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ก็มี ๒๗ จตุกกะเหมือนกัน; ในอิตถีวาระ มี ๘๑จตุกกะ ด้วยประการฉะนี้. และในอุภโตพยัญชนกาวาระ ก็มี ๘๑ จตุกกะเหมือนในอิตถีวาระ.

ส่วนในปัณฑกปุริสวาระ ด้วยอํานาจมรรคทั้ง ๒ จึงมีจตุกกะพวกละ๕๔ จตุกกะ รวมแม้ทั้งหมด มี ๒๗๐ จตุกกะ ด้วยประการฉะนี้. จตุกกะเหล่านั้น มีเนื้อความชัดเจนทีเดียว.

ก็ทุกๆ วาระ บรรดาฐานะเหล่านี้ ในฐานะนี้ว่า หญิงตายที่สัตว์ยังมิได้กัดกินโดยมาก และที่สัตว์กัดกินแล้วโดยมาก มีวินิจฉัยดังนี้ :-

 
  ข้อความที่ 137  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 826

[เรื่องพระวินัยธร ๒ รูป]

ได้ยินว่า ที่เกาะตัมพปัณณิทวีป มีพระวินัยธร ๒ รูป เป็นพระเถระร่วมอาจารย์เดียวกัน คือ พระอุปติสสเถระ ๑ พระปุสสเทวเถระ ๑. พระเถระทั้งสองรูปนั้น ในคราวมีมหาภัย ได้บริหารรักษาพระวินัยปิฎกไว้. บรรดาพระเถระทั้ง ๒ รูปนั้น พระอุปติสสเถระเป็นผู้ฉลาดกว่า, แม้ท่านอุปติสสเถระนั้น ได้มีอันเตวาสิกอยู่ ๒ รูป คือ พระมหาปทุมเถระ ๑ พระมหาสุมเถระ ๑,บรรดาพระเถระ ๒ รูปนั้น พระมหาสุมเถระ ได้สดับพระวินัยปิฎก ๙ ครั้งพระมหาปทุมเถระ ได้สดับถึง ๑๘ ครั้ง คือ ได้สดับร่วมกับท่านมหาสุมเถระนั้น ๙ ครั้งและได้สดับเฉพาะรูปเดียวต่างหากอีก ๙ ครั้ง, บรรดาท่านทั้ง ๒รูปนั้น พระมหาปทุมเถระนี้แหละ เป็นผู้ฉลาดกว่า. บรรดาท่านทั้ง ๒ รูปนั้นพระมหาสุมเถระ ครั้นสดับพระวินัยปิฎกถึง ๙ ครั้งแล้ว ก็ละทิ้งอาจารย์ ได้ไปยังแม่น้ำคงคาฟากโน้น.

คราวนั้น พระมหาปทุมเถระ กล่าวว่า พระวินัยธรผู้ละทิ้งอาจารย์ซึ่งยังมีชีวิตทีเดียว สําคัญข้อที่ตนพึงพักอยู่ในที่อื่น นี้เป็นผู้กล้าจริงหนอ!เมื่ออาจารย์ยังมีชีวิต เธอถึงเรียนเอาพระวินัยปิฎก และอรรถกถาหลายครั้งแล้วก็ตาม ก็ไม่ควรสลัดทิ้งเสีย ควรฟังเป็นนิตยกาล ควรสาธยายทุกกึ่งปี. ในกาลแห่งภิกษุทั้งหลาย ผู้หนักในพระวินัยอย่างนั้น วันหนึ่ง พระอุปติสสเถระนั่งพรรณนาบาลีประเทศนี้ในปฐมปาราชิกสิกขาบท แก่เหล่าอันเตวาสิก ๕๐๐รูป ซึ่งมีพระมหาปทุมเถระเป็นประมุขอยู่.

[เรื่องอันเตวาสิกถามปัญหาวินัยพระเถระ]

พวกอันเตวาสิก ถามพระอุปติสสเถระนั้นว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ในเพราะซากศพที่สัตว์ยังมิได้กัดกินโดยมาก เป็นปาราชิก. ในเพราะซากศพ

 
  ข้อความที่ 138  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 827

ที่สัตว์กัดกินโดยมาก เป็นถุลลัจจัย, ในเพราะซากศพที่สัตว์กัดกินกึ่งหนึ่งพึงเป็นอาบัติอะไร?

พระเถระ กล่าวว่า อาวุโส! ธรรมดาว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เมื่อจะทรงบัญญัติปาราชิก หาทรงบัญญัติให้มีส่วนเหลือไว้ไม่ ทรงรวบเอาเขตปาราชิกทั้งหมดไม่ให้มีส่วนเหลือเลย ทรงตัดช่องทางแล้วบัญญัติปาราชิกในวัตถุแห่งปาราชิกทีเดียว, จริงอยู่ สิกขาบทนี้ เป็นโลกวัชชะ ไม่ใช่เป็นปัณณัตติวัชชะ ; เพราะเหตุนั้น ถ้าว่า ในเพราะซากศพที่สัตว์กัดกินกึ่งหนึ่งพึงเป็นปาราชิกไซร้, พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็พึงทรงบัญญัติปาราชิกไว้, แต่ในเพราะซากศพที่สัตว์กัดกินกึ่งหนึ่งนี้ ฉายาปาราชิก ย่อมไม่ปรากฏ ปรากฏเฉพาะแต่ถุลลัจจัยเท่านั้น.

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงบัญญัติปาราชิกไว้ในเพราะสรีระที่ตายแล้ว ก็ทรงตั้งปาราชิกไว้ในเพราะซากศพที่สัตว์ยังมิได้กัดกินโดยมาก, ต่อจากซากศพที่สัตว์ยังมิได้กัดกินโดยมากนั้นไป ทรงบัญญัติถุลลัจจัยเพื่อแสดงว่า ไม่มีปาราชิก จึงทรงตั้งถุลลัจจัยไว้ในเพราะซากศพที่สัตว์กัดกินแล้วโดยมาก, ถัดจากซากศพที่สัตว์กัดกินแล้วโดยมากนั้นไป พึงทราบว่าเพื่อแสดงว่า ไม่มีถุลลัจจัย.

ก็ขึ้นชื่อว่า ซากศพที่สัตว์กัดกินและยังมิได้กัดกินนั้น ควรเข้าใจเฉพาะในสรีระที่ตายแล้วเท่านั้น ไม่ควรเข้าใจในสรีระที่ยังเป็นอยู่. เพราะว่าในสรีระที่ยังเป็นอยู่ เมื่อเนื้อหรือเอ็น แม้มีประมาณเท่าหลังเล็บยังมีอยู่ ย่อมเป็นปาราชิกทีเดียว. แม้หากว่า นิมิตถูกสัตว์กัดกินแล้วโดยประการทั้งปวงผิวหนังไม่มี, แต่สัณฐานนิมิต ยังปรากฏอยู่, สําเร็จการสอด (องคชาต) เข้าไป, เป็นปาราชิกเหมือนกัน. ก็เมื่อสัปเหร่อตัดที่นิมิตทั้งหมดออกไม่ให้มี

 
  ข้อความที่ 139  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 828

สัณฐานนิมิตเหลือเลย ถากเถือชําแหละออกโดยรอบ ย่อมเป็นถุลลัจจัย ด้วยอํานาจสังเขปว่าเป็นแผล. เมื่อภิกษุพยายามที่ชิ้นเนื้อ ซึ่งตกไปจากนิมิตนั้นเป็นทุกกฏ.

ส่วนในสรีระที่ตายแล้ว หากว่าสรีระทั้งหมด ถูกสัตว์กัดกินแล้วบ้าง,ยังมิได้กัดกินบ้าง, แต่มรรคทั้ง ๓ สัตว์ยังมิได้กัดกิน, เมื่อภิกษุพยายามในมรรคทั้ง ๓ นั้น ย่อมเป็นปาราชิก. ในเพราะสรีระที่สัตว์ยังมิได้กัดกินโดยมากเป็นปาราชิกทีเดียว. ในเพราะสรีระที่สัตว์กัดกินกึ่งหนึ่งและที่กัดกินแล้วโดยมาก เป็นถุลลัจจัย. เมื่อภิกษุสอดองคชาตเข้าไปที่ตา จมูก ช่องหู หัวไส้และฝักองคชาต หรือที่บาดแผลซึ่งถูกฟันด้วยศัสตราเป็นต้น ในสรีระที่ยังเป็นอยู่ของมนุษย์ทั้งหลาย ด้วยความกําหนัดในเมถุน แม้เพียงเมล็ดงาเดียวก็เป็นถุลลัจจัยเหมือนกัน. เมื่อสอดเข้าไปในอวัยวะทั้งหลายมีรักแร้ เป็นต้นในสรีระที่เหลือ เป็นทุกกฏ. เมื่อสอดเข้าไปในซากศพที่สรีระยังสดอยู่ในเขตแห่งปาราชิก เป็นปาราชิก, ในเขตแห่งถุลลัจจัย เป็นถุลลัจจัย, ในเขตแห่งทุกกฏเป็นทุกกฏ. แต่ในกาลใด สรีระเป็นของขึ้นพอง สุกปลั่ง มีแมลงวันหัวเขียวไต่ตอม มีหมู่หนอนคราคร่ํา ใครๆ ไม่อาจแม้จะเข้าไปใกล้ได้ เพราะเป็นซากศพที่มีหนองไหลออกทั่วไปจากปากแผลทั้ง ๙ แห่ง, ในกาลนั้น วัตถุแห่งปาราชิกและวัตถุแห่งถุลลัจจัย ย่อมละไป, เมื่อภิกษุพยายามในสรีระเช่นนั้นแห่งใดแห่งหนึ่ง เป็นทุกกฏอย่างเดียว. เมื่อพยายามในจมูกของสัตว์ดิรัจฉานทั้งหลาย (ที่ตายแล้ว) มีช้าง ม้าโคแพะอูฐ และกระบือเป็นต้น เป็นถุลลัจจัย.เมื่อพยายามในหัวไส้และฝัก องคชาตเป็นถุลลัจจัยเหมือนกัน. เมื่อพยายามในตา หู และบาดแผลของสัตว์ดิรัจฉานแม้ทั้งหมด (ที่ตายแล้ว) เป็นทุกกฏ,แม้ในสรีระที่เหลือนี้ ก็เป็นทุกกฏเหมือนกัน. เมื่อพยายามในสรีระที่ยังสดของ

 
  ข้อความที่ 140  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 829

สัตว์ดิรัจฉานที่ตายแล้ว ในเขตแห่งปาราชิก เป็นปาราชิก, ในเขตแห่งถุลลัจจัย เป็นถุลลัจจัย, ในเขตแห่งทุกกฏ เป็นทุกกฏ. เมื่อพยายามในซากศพที่สุกปลั่ง เป็นทุกกฏ ในที่ทุกแห่งโดยนัยดังกล่าวแล้วในเบื้องต้นนั่นเอง. ภิกษุเมื่อไม่ได้สอดหัวไส้และฝักองคชาตของบุรุษผู้ยังเป็นอยู่เข้าไป ด้วยความกําหนัดในอันเคล้าคลึงกายหรือด้วยความกําหนัดในเมถุน แต่ทํานิมิตถูกต้องที่นิมิต เป็นทุกกฏ. เมื่อไม่ได้สอด (องคชาตของตน) เข้าไปในนิมิตของหญิงด้วยความกําหนัดในเมถุน แต่ทํานิมิตกับนิมิตถูกต้องกัน เป็นถุลลัจจัย.

ส่วนในมหาอรรถกถา ท่านกล่าวว่า ภิกษุถูกต้องนิมิตของหญิงด้วยปาก ด้วยความกําหนัดในเมถุน เป็นถุลลัจจัย. เพราะความไม่แปลกกันแห่งเรื่องที่เกิดขึ้นนี้ว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ จับแม่โคทั้งหลายกําลังข้ามแม่น้ำอจิรวดีที่เขาบ้าง ที่หูบ้าง ที่คอบ้าง ที่หางบ้าง ขึ้นขี่หลังบ้าง มีจิตกําหนัดถูกต้ององคชาตโคบ้าง (๑) ดังนี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัส ในจัมมขันธกะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อนึ่ง องคชาตอันภิกษุมีจิตกําหนัด ไม่พึงถูกต้อง, ภิกษุใดพึงถูกต้อง, ภิกษุนั้นต้องอาบัติถุลลัจจัย. บัณฑิตควรเทียบเคียงคํานั้นแม้ทั้งหมดดูแล้ว ถือเอาโดยอาการที่ไม่ผิดเถิด.

ก็คํานั้น ไม่ผิดอย่างไร? ไม่ผิดอย่างนี้ คือ :- ได้ยินว่า ในคําที่ท่านกล่าวไว้ในมหาอรรถกถาก่อนว่า ถูกต้องด้วยปาก ด้วยความกําหนัดในเมถุน ปากคือนิมิต ท่านประสงค์ว่า ปาก. ก็เนื้อความนี้แล บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นความประสงค์ในมหาอรรถกถานั้น แม้เพราะท่านกล่าวว่า ด้วยความกําหนัดในเมถุน. จริงอยู่ ความพยายามในเมถุน ด้วยปากธรรมดาในนิมิตของหญิงหามีไม่. บัณฑิตพึงทราบสันนิษฐานว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า


(๑) วิ. มหา. ๕/๒๓ - ๒๔

 
  ข้อความที่ 141  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 830

ทรงหมายเอาภิกษุฉัพพัคคีย์ผู้ขี่หลัง (แม่โค) แล้วถูกต้ององคชาตโค ด้วยองคชาต (ของตน) ด้วยความกําหนัดในเมถุน จึงตรัสถุลลัจจัยไว้แม้ในขันธกะ.อันที่จริงเมื่อถูกต้องโดยประสงค์อย่างอื่น เป็นทุกกฏ.

ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวไว้ว่า แม้ในขันธกะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาการถูกต้องด้วยปากธรรมดา จึงตรัสว่า เป็นถุลลัจจัย เพราะความเป็นกรรมที่หยาบ, แม้ในอรรถกถา ท่านก็ถือพระสูตรที่ตรัสหมายถึงกรรมหยาบนั้นแล จึงกล่าวว่า ภิกษุถูกต้องด้วยปากธรรมดา ด้วยความกําหนัดในเมถุน เป็นถุลลัจจัย ดังนี้. เพราะเหตุนั้น ในคําวินิจฉัยทั้งสองควรกําหนดให้ดีแล้วเชื่อถือแต่คําวินิจฉัยที่ถูกต้องกว่า.

แต่นักปราชญ์ทั้งหลายผู้รู้พระวินัย ย่อมสรรเสริญคําวินิจฉัยข้อแรก.ก็เมื่อภิกษุผู้ถูกต้องนิมิตของหญิง ด้วยปากธรรมดาก็ดี ด้วยปากคือนิมิตก็ดีด้วยความกําหนัดในอันเคล้าคลึงกาย เป็นสังฆาทิเสส. เมื่อถูกต้องปัสสาวมรรคของสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ด้วยปากคือนิมิตเป็นถุลลัจจัย โดยนัยดังที่กล่าวแล้วนั่นแล เมื่อถูกต้องด้วยความกําหนัดในอันเคล้าคลึงกาย เป็นทุกกฏ ฉะนี้แล.

จบกถาว่าด้วยจตุกกะ ๒๖๙ จตุกกะที่เหลือ

 
  ข้อความที่ 142  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 831

กถาว่าด้วยองคชาตมีเครื่องลาดและไม่มี

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงนํา ๒๗๐ จตุกกะมาแล้ว เพื่อรักษาภิกษุผู้ปฏิบัติ ด้วยประการอย่างนี้ บัดนี้ ได้ทอดพระเนตรเห็นว่า บาปภิกษุเหล่าใดในอนาคต จักแกล้งอ้างเลศว่า อุปาทินนกะ (คือกายินทรีย์ที่มีชีวิต) อะไรๆ อันอุปมทินนกะ (คือกายินทรีย์ที่มีชีวิต) จะถูกต้ององคชาตที่ลาดแล้วนี้ หามีไม่, ในการที่ไม่ถูกต้องนี้จะมีโทษอย่างไรเล่า?, บาปภิกษุเหล่านั้นจักไม่มีที่พึ่งในศาสนาอย่างนี้ ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแยกแสดง บรรดาจตุกกะ๒๗๐ จตุกกะเหล่านั้น แต่ละจตุกกะ โดยความต่างแห่งองคชาตที่ลาดแล้วเป็นต้น ๔ อย่าง จึงตรัสคําว่า พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงมาในสํานักของภิกษุ แล้วให้นั่งทับองคชาตด้วยวัจจมรรค ปัสสาวมรรค มุขมรรคของหญิงที่มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น ในสองบทเป็นต้นว่า สนฺถตาย อสนฺถตตสฺสพึงทราบโยชนาโดยนัยนี้ว่า ให้นั่งทับองคชาตของภิกษุที่ไม่มีเครื่องลาด ด้วยวัจจมรรค ปัสสาวมรรค มุขมรรค ของหญิงที่มีเครื่องลาด. บรรดามรรคทั้ง ๓ มรรคใดมรรคหนึ่งของหญิง ที่ชื่อว่ามีเครื่องลาด ในบรรดามรรคที่มีเครื่องลาดและไม่มีเครื่องลาดเหล่านั้น ได้แก่มรรคที่เขาเอาผ้าหรือใบไม้เปลือกปอหรือหนัง หรือแผ่นดีบุกและสังกะสีเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง พันหรือสอดเข้าไปสวมไว้ในภายใน. องคชาตของชาย ที่ชื่อว่ามีเครื่องลาดนั้นได้แก่ องคชาตที่เขาเอาบรรดาวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง มีผ้าเป็นต้นเหล่านั้นนั่นเองมาสวมไว้.

 
  ข้อความที่ 143  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 832

ในมรรคทั้ง ๓ เหล่านั้น อนุปาทินนกะ (คือกายินทรีย์ที่ไม่มีใจครอง) กับอุปาทินนกะ (คือกายินทรีย์ที่มีใจครอง) จะกระทบกันก็ตาม อุปาทินนกะกับอนุปาทินนกะจะกระทบกันก็ตาม อนุปาทินนกะกับอนุปาทินนกะจะกระทบกันเองก็ตาม อุปาทินนกะกับอุปาทินนกะจะกระทบกันเองก็ตาม ถ้าองคชาตเข้าไปตลอดประเทศที่พระอาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า เมื่อองคชาตเข้าไปแล้วเป็นปาราชิก ดังนี้ไซร้ เมื่อภิกษุยินดีในทุกๆ มรรค ในเขตแห่งปาราชิกเป็นปาราชิก ในเขตแห่งถุลลัจจัย เป็นถุลลัจจัย ในเขตแห่งทุกกฏ เป็นทุกกฏทีเดียว.

ถ้านิมิตหญิงเขาสวมปลอกกันไว้ เมื่อภิกษุกระทบปลอก มีทุกกฏ.ถ้านิมิตของชายเขาสวมปลอกกันไว้ เมื่อภิกษุสอดปลอกเข้าไปเป็นทุกกฏ. ถ้านิมิตทั้งสองเขาสวมปลอกกันไว้ เมื่อภิกษุกระทบปลอกกับปลอก เป็นทุกกฏ.ถ้าเขาเอาบรรดาวัตถุมีปล้องไม้ไผ่และไม้อ้อเป็นต้นไรๆ สวมไว้ในนิมิตของหญิง แม้หากภิกษุสอด (องค์กําเนิด) เข้าไปถูกส่วนภายใต้แห่งวัตถุที่สวมไว้นั้น เพียงเท่าเมล็ดงาเดียว เป็นปาราชิก หากสอดเข้าไปถูกส่วนเบื้องบนก็ดีถูกข้างๆ หนึ่ง บรรดาข้างทั้งสองก็ดี เป็นปาราชิก เมื่อสอดเข้าไปไม่ให้ถูกข้างทั้ง ๔ แม้หากถูกพื้นภายในแห่งไม้ไผ่และไม้อ้อเป็นต้นนั้น ก็เป็นปาราชิก.ก็ถ้าว่าสอดเข้าไปไม่ให้ถูกที่ข้างหรือที่พื้น ให้เชิดไปในอากาศอย่างเดียวแล้วชักออก เป็นทุกกฏ ถูกต้องปลอกในภายนอก เป็นทุกกฏเหมือนกัน. บัณฑิตพึงทราบลักษณะในทุกๆ มรรคมีวัจจมรรคเป็นต้น เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ในนิมิตหญิงฉะนั้นแล.

จบสันถตะจตุกกะปเภทกถา

 
  ข้อความที่ 144  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 833

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสประเภทแห่งสันถตจตุกกะอย่างนั้นแล้วบัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงประเภทนั้น (ซ้ำอีก) เพราะเหตุที่พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึกหาใช่จะนําชนมีมนุษย์ผู้หญิงเป็นต้นมาในสํานักของภิกษุอย่างเดียวไม่ โดยที่แท้ยังนําแม้ภิกษุมาในสํานักของมนุษย์ผู้หญิงเป็นต้นเหล่านั้น จึงทราบนําจตุกกะเหล่านั้นทั้งหมดมาแสดงซ้ำอีก โดยนัยมีอาทิว่า พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึกนําภิกษุมาในสํานักของมนุษย์ผู้หญิง ดังนี้. ในจตุกกะเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยโดยนัยดังที่กล่าวมาแล้วนั่นเทียวแล.

จบการพรรณนาความต่างแห่งจตุกกะ ด้วยอํานาจภิกษุผู้เป็นข้าศึก

เรื่องพระราชาและโจรผู้เป็นข้าศึกต่อภิกษุเป็นต้น

ก็เพราะพวกภิกษุผู้เป็นข้าศึกย่อมกระทําอย่างที่กล่าวมาแล้วอย่างนี้นั่นแล แม้อิสรชนมีพระราชาผู้เป็นข้าศึกเป็นต้น ก็ทรงกระทํา เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงประเภทนั้น จึงตรัสคําว่า ราชปจฺจตฺถิกาเป็นต้น.

ในคําว่า ราชปจฺจตฺถิกา เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- ข้าศึกทั้งหลาย คือ พระราชา ชื่อว่าราชปัจจัตถิกา (พระราชาผู้เป็นข้าศึก) ก็พระราชาเหล่านั้น ทรงนํามาเองบ้าง ให้คนเหล่าอื่นนํามาบ้าง (ซึ่งมนุษย์ผู้หญิงเป็นต้น) พึงทราบว่า ทรงนํามาทั้งนั้น. ข้าศึกทั้งหลาย คือโจร ชื่อว่า โจรปัจจัตถิกา (โจรผู้เป็นข้าศึก).

 
  ข้อความที่ 145  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 834

ชนชาวเมืองและบุรุษผู้ทําการหลอกลวง ซึ่งขวนขวายในการเล่นเนื่องด้วยเมถุนก็ดี นักเลงหญิงและนักเลงสุราเป็นต้นก็ดี ชื่อว่า นักเลง. ข้าศึกทั้งหลาย คือ นักเลงชื่อว่า ธุตตปัจจัตถิกา (นักเลงผู้เป็นข้าศึก).

หทัย ท่านเรียกว่า คันธ (๑) พวกข้าศึกที่ชื่อว่า อุปปลคันธะ เพราะอรรถว่า ชําแหละหทัยนั้น. ข้าศึกทั้งหลาย คือ ผู้ตัดหัวใจ ชื่อว่า อุปปลคันธปัจจัตถิกา.

[ข้าศึกสังหารภิกษุเซ่นไหว้เทวดาเพื่อสําเร็จการงาน]

ได้ยินว่า ข้าศึกผู้ตัดหัวใจเหล่านั้น หาได้เป็นอยู่ด้วยกสิกรรม และพาณิชยกรรมเป็นต้นไม่ พากันทําโจรกรรมมีการปล้นคนเดินทางเป็นต้นเลี้ยงบุตรและภรรยา. เขาเหล่านั้น เมื่อต้องการความสําเร็จแห่งการงานได้เซ่นไหว้ต่อเหล่าเทวดาไว้ จึงได้ชําแหละหทัยของพวกมนุษย์ไป เพื่อบวงสรวงแก่เทวดาเหล่านั้น. ก็พวกมนุษย์ เป็นผู้หาได้ยากตลอดกาลทุกเมื่อ ส่วนพวกภิกษุผู้พํานักอยู่ในป่า ย่อมหาได้ง่าย. เหล่านั้นจับเอาภิกษุผู้มีศีลแล้ว ได้สํานึกอยู่ว่า ชื่อว่าการฆ่าผู้มีศีล ย่อมเป็นของหนัก เพื่อจะทําลายศีลของภิกษุนั้น ให้พินาศไป จึงนํามนุษย์ผู้หญิงเป็นต้นมา หรือนําภิกษุนั้นไปในสํานักของมนุษย์ผู้หญิงเป็นต้นนั้น.

ในเรื่องว่าด้วยพระราชาผู้เป็นข้าศึกเป็นต้นนี้ มีความแปลกกันเท่านี้.เรื่องที่เหลือพึงทราบโดยนัยดังที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. และพึงทราบจตุกกะทั้งหลายในวาระแม้ทั้ง ๔ เหล่านี้ โดยนัยดังที่กล่าวแล้วในภิกขุปัจจัตถิกาวาระนั่นเอง. แต่ในพระบาลี พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วโดยย่อ.

จบกถาว่าด้วยประเภทแห่งจตุกกะ โดยอาการทั้งปวง.


(๑) ปฐมปาราชิกวณฺณนา หน้า ๓๒๑ ว่าอุปฺปลนฺติวุจฺจติหทยํ หทัยเรียกว่าอุบล.

 
  ข้อความที่ 146  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 835

เรื่องภิกษุเสพเมถุนธรรมทางมรรคและมิใช่มรรค

บัดนี้ เพื่อความไม่งมงายในคําที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า เมื่อภิกษุเสพเมถุนธรรมในมรรคทั้ง ๓ ของมนุษย์ผู้เป็นหญิง เป็นต้น พระอุบาลี-เถระจึงกล่าวคําว่า มคฺเคน มคฺคํ เป็นอาทิ.

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า มคฺเคน มคฺคํ ความว่า ภิกษุสอดองคชาตของตนเข้าไปทางบรรดามรรคทั้ง ๓ ของหญิง มรรคใดมรรคหนึ่ง.อีกอย่างหนึ่ง บรรดามรรคทั้ง ๒ ที่ระคนกัน ภิกษุสอดวัจจมรรคเข้าไปทางปัสสาวมรรค หรือสอดปัสสาวมรรคเข้าไปทางวัจจมรรค.

สองบทว่า มคฺเคน อมคฺคํ ความว่า ครั้นสอดเข้าไปทางปัสสาวมรรคเป็นต้นแล้ว จึงชักออกมาทางบาดแผล โดยรอบแห่งมรรคนั้น.

สองบทว่า อมคฺเคน มคฺคํ ความว่า ครั้นสอดเข้าไปทางบาดแผลโดยรอบแล้ว จึงชักออกทางมรรค.

สองบทว่า อมคฺเคน อมคฺคํ บรรดาบาดแผลทั้ง ๒ ที่ระคนกันครั้นสอดเข้าไปทางบาดแผลที่หนึ่งแล้ว จึงชักออกทางบาดแผลที่สอง. ในการกําหนดว่าเป็นบาดแผล พึงทราบว่า เป็นถุลลัจจัย ในที่ทุกแห่งด้วยอํานาจอนุโลมตามพระสูตรนี้.

[ภิกษุเสพเมถุนธรรมในทวารของภิกษุหลับไม่พ้นอาบัติ]

บัดนี้ เพื่อความไม่งมงายในพระดํารัสที่จักตรัสไว้ข้างหน้าว่า เมื่อภิกษุไม่รู้ ไม่ยินดี ไม่เป็นอาบัติ พระอุบาลีเถระจึงกล่าวคําว่า ภิกฺขุ สุตฺตภิกฺขุมฺหิเป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 147  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 836

ในคําว่า ภิกฺขุ เป็นต้นนั้น มีอธิบายดังต่อไปนี้ :- ภิกษุรูปใดตื่นขึ้นแล้วยินดี ภิกษุรูปนั้น พูดว่า เธอรูปนี้ปฏิบัติผิดในข้าพเจ้าผู้หลับข้าพเจ้าไม่รู้สึกตัว ย่อมไม่พ้น (จากอาบัติ). ก็ในสองบทว่า อุโภ นาเสตพฺพานี้ ความว่า พระวินัยธรพึงให้นาสนะเสียแม้ทั้ง ๒ รูป ด้วยลิงคนาสนะ.

บรรดาผู้ประทุษร้ายและผู้ถูกประทุษร้ายทั้ง ๒ รูปนั้น ผู้ประทุษร้ายไม่มีการทําปฏิญญา แต่ผู้ถูกประทุษร้าย พระวินัยธรสอบถามแล้ว พึงให้นาสนะเสียด้วยคําปฏิญญา ถ้าเธอไม่ยินดีไม่ควรให้นาสนะ. แม้ในวาระสามเณร ก็นัยนี้.

[ภิกษุผู้ถูกปฏิบัติผิดไม่รู้ ไม่ยินดี ไม่เป็นอาบัติ]

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงอาบัติและอาบัตินั้นๆ ในวาระนั้นๆ อย่างนั้นแล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงอนาบัติอย่างเดียว จึงตรัสคําว่าอนาปตฺติ อชานนฺตสฺส เป็นต้น.

ในคําว่า อชานนฺตสฺส เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- ภิกษุรูปที่ชื่อว่า ผู้ไม่รู้สึกตัวนั้น ได้แก่ ผู้ที่หยั่งลงสู่ความหลับอย่างมาก ย่อมไม่รู้สึกแม้ความพยายามที่คนอื่นทําแล้ว ภิกษุเห็นปานนั้น ไม่เป็นอาบัติเหมือนภิกษุผู้ไปพักกลางวันในป่ามหาวัน ใกล้เมืองไพศาลีฉะนั้น. สมจริงดังคําที่พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวไว้ว่า ภิกษุกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าไม่รู้สึกตัว พระพุทธเจ้าข้า! พระองค์ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ! เมื่อภิกษุไม่รู้สึกตัว ไม่เป็นอาบัติ.

ภิกษุที่ชื่อว่าไม่ยินดีนั้น ได้แก่ ผู้ที่แม้รู้สึกตัวแล้ว ก็ไม่ยินดี, ภิกษุเห็นปานนั้น ไม่เป็นอาบัติ เหมือนภิกษุผู้รีบลุกขึ้นทันทีในป่ามหาวัน ใกล้เมืองไพศาลีนั้นนั่นเอง ฉะนั้น. สมจริงดังคําที่พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าว

 
  ข้อความที่ 148  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 837

ไว้ว่า ภิกษุกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าไม่ยินดี พระพุทธเจ้าข้า!, พระองค์ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ! เมื่อไม่ยินดี ไม่เป็นอาบัติ.

[ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุบ้าและมีจิตฟุ้งซ่าน]

ภิกษุเป็นบ้าเพราะดี (กําเริบ) ชื่อว่า เป็นบ้า. จริงอยู่ ดีมี ๒ อย่างคือ ดีที่มีฝัก ๑ ดีที่ไม่มีฝัก ๑. ดีที่ไม่มีฝัก ซึมซาบไปทั่วสรรพางค์ ดุจโลหิตฉะนั้น. เมื่อดีที่ไม่มีฝักนั้นกําเริบ พวกสัตว์ ย่อมมีสรีระสั่นเทาไปเพราะหิดเปือยและหิดตอเป็นต้น. หิดเปือยและหิดตอเป็นต้นเหล่านั้น จะหายได้เพราะการทายา. ส่วนดีที่มีฝักตั้งอยู่ในฝักของดี. เมื่อดีที่มีฝักนั้นกําเริบพวกสัตว์ย่อมเป็นบ้า.

ภิกษุผู้มีสัญญาวิปลาส (มีความจําคลาดเคลื่อน) ละทิ้งหิริและโอตตัปปะเสียแล้ว ย่อมเที่ยวประพฤติกรรมที่ไม่ควร. แม้ย่ํายีสิกขาบททั้งเบาและหนักอยู่ ก็ไม่รู้สึกตัว. ชื่อว่าเป็นผู้แก้ไขไม่ได้ แม้เพราะการเยียวยา;ภิกษุผู้เป็นบ้าเห็นปานนั้น ไม่เป็นอาบัติ.

ภิกษุชื่อว่า มีจิตฟุ้งซ่าน ได้แก่ ผู้ปล่อยจิต (ไปตามอารมณ์) ท่านเรียกว่า เป็นบ้าเพราะยักษ์เข้าสิง. ได้ยินว่า พวกยักษ์แสดงอารมณ์ทั้งหลายที่น่ากลัว หรือสอดมือเข้าทางปากแล้ว บีบคั้นหทัยรูป กระทําพวกสัตว์ให้มีความจําคลาดเคลื่อน. ภิกษุผู้มีจิตฟุ้งซ่านเห็นปานนั้นไม่เป็นอาบัติ.

ส่วนความแปลกกันแห่งภิกษุผู้เป็นบ้าสองพวกนั้น มีดังต่อไปนี้ :-ภิกษุเป็นบ้าเพราะดี (กําเริบ) จัดว่าเป็นบ้าตลอดกาลเป็นนิตย์ทีเดียว ไม่ได้สัญญาตามปกติ. ผู้เป็นบ้าเพราะยักษ์เข้าสิง ยังกลับได้สัญญาตามปกติในบางครั้งบางคราวบ้าง. แต่ในปฐมปาราชิกสิกขาบทนี้ ผู้เป็นบ้าเพราะดี (กําเริบ) ก็ดี ผู้เป็นบ้าเพราะยักษ์เข้าสิงก็ดี จะยกไว้, ภิกษุรูปใด หลงลืมสติโดย

 
  ข้อความที่ 149  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 838

ประการทั้งปวง วัตถุอะไรๆ จะเป็นไฟก็ตาม ทองก็ตาม คูถก็ตาม แก่นจันทน์ก็ตาม ก็ไม่รู้จัก ย่อมเที่ยวย่ําเหยียบเป็นเช่นเดียวกันหมด, ภิกษุบ้าเห็นปานนั้น ไม่เป็นอาบัติ แต่เมื่อกลับได้สัญญาขึ้นในบางครั้งบางคราว แล้วทําทั้งที่รู้เป็นอาบัติทีเดียว.

ภิกษุชื่อว่ากระสับกระส่ายเพราะเวทนานั้น ได้แก่ ผู้ที่ทุรนทุรายเพราะทุกขเวทนาเกินประมาณ ย่อมไม่รู้สึกอะไรๆ , ภิกษุเห็นปานนั้น ไม่เป็นอาบัติ.

ภิกษุชื่อว่า อาทิกัมมิกะนั้น ได้แก่ ผู้เป็นต้นเดิมในกรรมนั้นๆ.ส่วนในปฐมปาราชิกสิกขาบทนี้ พระสุทินนเถระ เป็นอาทิกัมมิกะ, พระเถระนั้น ไม่เป็นอาบัติ. ภิกษุทั้งหลายที่เหลือ มีสมณะผู้เสพเมถุนกับนางลิง และภิกษุชาววัชชีบุตรเป็นต้น เป็นอาบัติทีเดียว ฉะนั้นแล.

พรรณนาบทภาชนีย์จบ

 
  ข้อความที่ 150  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 839

สมุฏฐานที่เกิดแห่งอาบัติ มี ๖ อย่าง

อนึ่ง เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในสิกขาบทนี้ พึงทราบปกิณกะนี้ว่า

สมุฏฐาน ๑กิริยา ๑ สัญญา ๑ สจิตตกะ ๑ โลกวัชชะ ๑ กรรมและกุศลพร้อมด้วยเจตนา ๑.

ในปกิณกะเหล่านั้น ที่ชื่อว่าสมุฏฐานนั้น ได้แก่สมุฏฐานแห่ง

สิกขาบทมี ๖ ด้วยอํานาจประมวลทั้งหมด. สมุฏฐานเหล่านั้น จักมีแจ้งในคัมภีร์บริวาร. แต่เมื่อกล่าวโดยย่อแล้ว ขึ้นชื่อว่าสิกขาบทมีสมุฏฐาน ๖ ก็มีมีสมุฏฐาน ๔ ก็มี มีสมุฏฐาน ๓ ก็มี มีสมุฏฐานอย่างกฐินสิกขาบทก็มี มีสมุฏฐานอย่างเอฬกโลกสิกขาบทก็มี มีสมุฏฐานอย่างธุรนิกเขปสิกขาบทก็มี.

แม้ในสิกขาบทนั้นเล่า บางสิกขาบท เกิดเพราะทํา บางสิกขาบทเกิดเพราะไม่ทํา บางสิกขาบท เกิดเพราะทําและไม่ทํา บางสิกขาบท บางคราวเกิดเพราะทํา บางคราวเกิดเพราะไม่ทํา บางสิกขาบท บางคราวเกิดเพราะทํา บางคราวเกิดเพราะทั้งทําและไม่ทํา.

[อธิบายสิกขาบทที่เป็นสจิตตกะและอจิตตกะ]

แม้บรรดาสิกขาบทเหล่านั้น สิกขาบทที่เป็นสัญญาวิโมกข์ก็มี ที่เป็นโนสัญญาวิโมกข์ก็มี. ในสิกขาบทที่เป็นสัญญาวิโมกข์และโนสัญญาวิโมกข์เหล่านั้น สิกขาบทใด ได้องค์คือจิตด้วย. สิกขาบทนั้น เป็นสัญญาวิโมกข์,นอกนี้ เป็นโนสัญญาวิโมกข์. สิกขาบทที่เป็นอจิตตกะก็มี ที่เป็นสจิตตกะก็มีอีก. สิกขาบทใด ต้องพร้อมด้วยจิตเท่านั่น สิกขาบทนั้น เป็นจิตตกะ.สิกขาบทใด แม้เว้นจากจิตก็ต้อง, สิกขาบทนั้น เป็นอจิตตกะ. สิกขาบทนั้น

 
  ข้อความที่ 151  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 840

แม้ทั้งหมดเป็น ๒ อย่างคือ เป็นโลกวัชชะ ๑ เป็นปัณณัตติวัชชะ ๑ ลักษณะแห่งสิกขาบทที่เป็นโลกวัชชะและปัณณัตติวัชชะนั้น ได้กล่าวแล้ว.

[อธิบายสิกขาบทที่เป็นกายกรรมเป็น]

อนึ่ง เมื่อว่าแม้ด้วยอํานาจกรรม กุศลและเวทนาแล้ว บรรดาสิกขาบทเหล่านี้ สิกขาบทที่เป็นกายกรรมก็มี ที่เป็นวจีกรรมก็มี. ในกายกรรมและวจีกรรมเหล่านั้น สิกขาบทใด เป็นไปทางกายทวาร สิกขาบทนั้น พึงทราบว่า เป็นกายกรรม, สิกขาบทใด เป็นไปทางวจีทวาร สิกขาบทนั้นพึงทราบว่า เป็นวจีกรรม.

อนึ่ง สิกขาบทที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี.จริงอยู่ จิตที่ให้เกิดอาบัติมา ๓๒ ดวงเท่านั้น คือ กามาวจรกุศลจิต ๘ อกุศลจิต ๑๒ กามาวจรกิริยาจิต ๑๐ อภิญญาจิต ๒ โดยกุศลและกิริยา. ในจิตเหล่านั้น สิกขาบทใด ต้องด้วยกุศลจิต สิกขาบทนั้นเป็นกุศล, สิกขาบทใดต้องด้วยจิตนอกนี้ สิกขาบทนั้น เป็นฝ่ายนอกจากนี้.

อนึ่ง สิกขาบทมีเวทนา ๓ ก็มี มีเวทนา ๒ ก็มี มีเวทนาเดียวก็มี.ในสิกขาบทเหล่านั้น เมื่อต้องสิกขาบทใด เป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยบรรดาเวทนา๓ อย่างใดอย่างหนึ่ง จึงต้อง, สิกขาบทนั้น พึงทราบว่ามีเวทนา ๓. เมื่อภิกษุจะต้องสิกขาบทใด เป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยสุข หรือเป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยอุเบกขา จึงต้อง, สิกขาบทนั้น พึงทราบว่า มีเวทนา ๒. เมื่อภิกษุจะต้องสิกขาบทใด เป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยทุกขเวทนาเท่านั้น จึงต้อง สิกขาบทนั้น พึงทราบว่า มีเวทนาเดียว. ครั้นได้ทราบปกิณกะนี้ คือ

 
  ข้อความที่ 152  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 841

สมุฏฐาน ๑ กิริยา ๑ สัญญา ๑ สจิตตกะ ๑ โลกวัชชะ ๑ กรรมและกุศลพร้อมด้วยเวทนา ๑

อย่างนี้แล้ว พึงทราบว่า บรรดาปกิณกะมีสมุฏฐานเป็นต้นนั้น สิกขาบทนี้ว่าโดยสมุฏฐานมีสมุฏฐานเดียว, ว่าด้วยอํานาจองค์เกิดด้วยองค์ ๒ คือเกิดเพราะกายกับจิต, และสิกขาบทนี้เกิดเพราะทํา, จริงอยู่ เมื่อทําอยู่เท่านั้น จึงต้องอาบัตินั้น; เป็นสัญญาวิโมกข์ เพราะพ้นด้วยไม่มีกามสัญญา ซึ่งปฏิสังยุตด้วยเมถุน, จริงอยู่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่รู้สึกไม่ยินดี; เป็นสจิตตกะ เพราะภิกษุต้องอาบัตินั้น ด้วยจิตปฏิสังยุตด้วยเมถุนเท่านั้น เว้นจากจิตไม่ต้อง; เป็นโลกวัชชะ เพราะจะพึงต้องอาบัตินั้นด้วยอํานาจราคะกล้าเท่านั้น; เป็นกายกรรม เพราะเกิดทางกายทวารเท่านั้น, ส่วนจิตสักว่าเป็นองค์ในสิกขาบทนี้, จะจัดเป็นกรรม ด้วยอํานาจจิตนั้นไม่ได้;เป็นอกุศลจิต เพราะจะพึงต้องด้วยโลภจิต ; มีเวทนา ๒ เพราะว่า ภิกษุมีความพร้อมเพรียงด้วยสุข หรือมีความพร้อมเพรียงด้วยอุเบกขา จึงต้องอาบัตินั้น.

ก็แล ปกิณกะทั้งปวงมีสมุฏฐานเป็นต้นนี้ ย่อมสมในอาบัติ. แต่ในอรรถกถาทั้งปวง ท่านยกขึ้นแสดงด้วยหัวข้อสิกขาบท; เพราะฉะนั้น จึงต้องกล่าวอย่างนั้น ฉะนี้แล.

 
  ข้อความที่ 153  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 842

วินีตวัตถุปฐมปาราชิก

[อุทานคาถา]

ปุจฉาว่า คําประพันธ์เป็นพระคาถาว่า

เรื่องลิงตัวเมีย ๑ เรื่อง เรื่องภิกษุวัชชีบุตร ๑ เรื่อง เรื่องปลอมเป็นคฤหัสถ์ ๑เรื่อง เรื่องเปลือยกาย ๑ เรื่อง เรื่องปลอมเป็นเดียรถีย์ ๗ เรื่อง เรื่องเด็กหญิง ๑ เรื่องเรื่องภิกษุณีชื่ออุบลวรรณา ๑ เรื่อง เรื่องเพศกลับ ๒ เรื่อง เรื่องมารดา ๑ เรื่อง เรื่องธิดา ๑ เรื่อง เรื่องพี่น้องหญิง ๑ เรื่อง เรื่องภรรยา ๑ เรื่อง เรื่องภิกษุมีหลังอ่อน ๑ เรื่องเรื่องภิกษุมีองคชาตยาว ๑ เรื่อง เรื่องบาดแผล ๒ เรื่อง เรื่องรูปปั้น ๑ เรื่องตุกตาไม้ ๑ เรื่อง เรื่องภิกษุชื่อสุนทร ๑ เรื่องเรื่องสตรี ๕ เรื่อง เรื่องป่าช้า ๕ เรื่อง เรื่องกระดูก ๑ เรื่อง เรื่องนาคตัวเมีย ๑ เรื่องเรื่องนางยักษิณี ๑ เรื่อง เรื่องหญิงเปรต ๑เรื่อง เรื่องบัณเฑาะก์ ๑ เรื่อง เรื่องภิกษุมีอินทรีย์พิการ ๑ เรื่อง เรื่องจับต้อง ๑ เรื่องเรื่องพระอรหันต์ในเมืองภัททิยะหลับ ๑ เรื่องเรื่องภิกษุเมืองสาวัตถี ๔ เรื่อง เรื่องภิกษุ

 
  ข้อความที่ 154  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 843

ชาวมัลละเมืองไพศาลี ๓ เรื่อง เรื่องเปิดประตูนอน ๑ เรื่อง เรื่องภิกษุชาวเมืองภารุ-กัจฉะฝัน ๑ เรื่อง เรื่องอุบาสิกาชื่อว่าสุปัพพา๙ เรื่อง เรื่องอุบาสิกาชื่อว่า สัทธา ๙ เรื่องเรื่องนางภิกษุณี ๑ เรื่อง เรื่องนางสิกขมานา๑ เรื่อง เรื่องนางสามเณรี ๑ เรื่อง เรื่องหญิงแพศยา ๑ เรื่อง เรื่องบัณเฑาะก์ ๑ เรื่องเรื่องสตรีคฤหัสถ์ ๑ เรื่อง เรื่องให้ผลัดกัน๑ เรื่อง เรื่องภิกษุผู้เฒ่า ๑ เรื่อง เรื่องลูกเนื้อ ๑ เรื่อง, นี้เป็นอย่างไร? (๑)

วิสัชนาว่า พระคาถาเหล่านี้ ชื่ออุทานคาถาแห่งวินีตวัตถุ คือเรื่องนั้นๆ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวินิจฉัยด้วยพระองค์เอง ซึ่งพระธรรมสังคาหาเถระทั้งหลายได้ใฝ่ใจไว้ว่า พระวินัยธรทั้งหลายจักเรียนเอาเรื่องเหล่านั้นได้สะดวก จึงได้ตั้งไว้. ส่วนวัตถุคาถาพระอุบาลีเถระได้ใฝ่ใจไว้ว่า พระวินัยธรทั้งหลาย จักวินิจฉัยวินัยต่อไป (ในอนาคต) ด้วยลักษณะนี้ จึงได้ตั้งไว้ในเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่นั่นเอง. เพราะฉะนั้น พระวินัยธรควรกําหนดลักษณะที่ตรัสไว้ในวินีตวัตถุนี้ให้ดี แล้วจึงวินิจฉัยปฐมสิกขาบท.อนึ่ง ทุติยปาราชิกเป็นต้น ก็ควรวินิจฉัยด้วยลักษณะแห่งทุติยปาราชิกเป็นต้นที่ตรัสไว้แล้วในวินีตวัตถุทั้งหลาย, จริงอยู่ วินีตวัตถุทั้งหลาย ย่อมเป็นเรื่องสําหรับเทียบเคียง ของพระวินัยธรทั้งหลาย ดุจรูปที่เป็นหลักเทียบเคียงของพวกนักศิลปิน ฉะนั้น.


(๑) อุทานคาถานี้ ได้แปลไว้เต็มสมบูรณ์ ตามมหาวิภังค์ วินัยปิฎก ๑/๖๒ เพื่อเรืองปัญญาของผู้ใคร่ต่อการศึกษา.

 
  ข้อความที่ 155  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 844

บรรดาเรื่องเหล่านั้น สองเรื่องข้างต้น มีเนื้อความดังที่ตรัสไว้แล้วในอนุบัญญัตินั่นเอง.

ในเรื่องที่ ๓ มีวินิจฉัยดังนี้ :- บทว่า คิหิลิงฺเคน คือ เป็นผู้นุ่งห่มผ้าขาวอย่างคฤหัสถ์.

ในเรื่องที่ ๔ ไม่มีคําอะไรๆ ที่ควรกล่าวไว้.

ในผ้า ๗ ชนิด ถัดจากเรื่องที่ ๔ นั่นไป มีวินิจฉัยดังนี้ :-

ผ้าที่เขาร้อยหญ้าคาทํา ชื่อว่า ผ้าคากรอง. ผ้าเปลือกไม้ของพวกดาบสชื่อว่าผ้าเปลือกปอ. ผ้าที่เขาเย็บทําติดกันเป็นแผ่น มีสัณฐานดังแผ่นกระดานชื่อว่าผ้าทอเป็นแผ่น. ผ้ากัมพลที่เขาเอาเส้นผม (มนุษย์) ทําเป็นเส้นด้ายทอชื่อว่าผ้ากัมพลทําด้วยเส้นผม. ผ้ากัมพลที่เขาทอทําด้วยขนหางสัตว์จามรี ชื่อว่าผ้ากัมพลทําด้วยขนหางสัตว์. ผ้านุ่งที่เขาเอาขนปีกนกเค้าทํา ชื่อว่าผ้านุ่งทําด้วยขนปีกนกเค้า. หนังเสือและมฤคพร้อมทั้งขนและกีบเล็บ ชื่อว่าผ้าหนังเสือ.

ในเรื่องที่ ๑๒ มีวินิจฉัยดังนี้ :-

บทว่า สารตฺโต ได้แก่ ผู้มีความกําหนัดด้วยความกําหนัดในอันเคล้าคลึงกาย. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความกําหนัดนั้นแล้ว จึงตรัสว่าเป็นอาบัติสังฆาทิเสส.

[เรื่องนันทมาณพเสพเมถุนธรรมในนางอุบลวรรณาเถรี]

ในเรื่องที่ ๑๓ มีวินิจฉัยดังนี้ :- พระเถรีนั้น ชื่อว่าอุบลวรรณาเป็นธิดาของเศรษฐีในเมืองสาวัตถี สมบูรณ์ด้วยอภินิหารตั้งแสนกัลป. แม้โดยปกติ พระเถรีนั้น มีผิวกาย สีคล้ายดอกอุบลเขียว น่าดูยิ่งนัก. ก็พระเถรีนั้นย่อมรุ่งเรืองยิ่งนัก เพราะไม่มีความเร่าร้อนด้วยกิเลสในภายใน. นางได้ชื่อว่าอุบลวรรณา เพราะความที่นางมีผิวงดงามนั่นเอง.

 
  ข้อความที่ 156  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 845

บทว่า ปฏิพพฺธจิตฺโต ความว่า มาณพนั้น มีใจกําหนัดตั้งแต่เวลายังเป็นคฤหัสถ์. ได้ยินว่า นันทมาณพนั้น เป็นชายหนุ่ม ซึ่งเป็นญาติของพระเถรีนั้น.

ศัพท์ว่า อถโข เป็นนิบาต ลงในอรรถว่าลําดับฯ มีคําอธิบายว่าในลําดับแห่งพระเถรีนั่งบนเตียงนั่นแล. จริงอยู่ เวลากลางวัน เมื่อบุคคลมาจากภายนอกเปิดประตูแล้วนั่ง ความมืดจะมีขึ้น. อธิบายว่า มาณพนั้น ได้ทําอย่างนั้นตลอดเวลาที่ความมืดนั้นของพระเถรีนั้น ยังไม่หายไปนั่นเอง.

บทว่า ทูเสสิ แปลว่า ได้ข่มขืนแล้ว. ส่วนพระเถรีเป็นผู้หาโทษมิได้ เริ่มตั้งสมณสัญญาไม่ยินดี นั่งอยู่ ถูกความประสงค์อสัทธรรมสัมผัสดุจกองเพลิง เสาหินและตอไม้ตะเคียน ฉะนั้น. ฝ่ายนันทมาณพนั้น ครั้นให้ความพอใจของตนสําเร็จบริบูรณ์แล้วก็ไป.

เมื่อนันทมาณพ ละคลองแห่งการเห็นของพระเถรีนั้นเท่านั้น มหาปฐพีนี้ ถึงจะสามารถธารภูเขาสิเนรุไว้ได้ก็ตาม ก็เป็นเหมือนไม่อาจจะธารบุรุษชั่วช้านั้น ซึ่งมีซากกเลวระประมาณวาหนึ่งไว้ได้ จึงแยกช่องให้แล้ว.ขณะนั้นนั่นเอง เขาได้ถึงความเป็นเชื้อเพลิงแห่งเปลงไฟในอเวจีแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว จึงตรัสว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่อไม่ยินดีไม่เป็นอาบัติ ทรงหมายเอาพระเถรี ได้ตรัสพระคาถานี้ในธรรมบทว่า

เราเรียกบุคคลผู้ไม่ติดอยู่ในกามทั้งหลาย เหมือนน้ำไม่ติดอยู่ในใบบัวเหมือนเมล็ดพันธ์ผักกาดไม่ตั้งอยู่บนปลายเหล็กแหลม ฉะนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ (๑)


(๑) ขุ. ธ. ๒๕/๖๙.

 
  ข้อความที่ 157  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 846

[เรื่องเพศชายกลับเป็นเพศหญิง]

ในเรื่องที่ ๑๔ มีนิจฉัยดังนี้ :-

สองบทว่า อิตฺถีลิงฺคํ ปาตุภูตํ ความว่า เมื่อภิกษุนั้น หยั่งลงสู่ความหลับในเวลากลางคืน อวัยวะทั้งปวงมีหนวดและเคราเป็นต้น ซึ่งเป็นทรวดทรงของบุรุษหายไป ทรวดทรงของสตรีเกิดขึ้นแทนที่

หลายบทว่า ตฺเว อุปชฺฌํ ตํ อุปสมฺปทํ ความว่า เราอนุญาตอุปัชฌายะที่เธอเคยถือมาแล้วในกาลก่อนนั่นเอง (และ) การอุปสมบทที่สงฆ์ทําไว้ในกาลก่อนเช่นกัน อธิบายว่า ไม่ต้องถืออุปัชฌายะใหม่ ไม่ต้องให้อุปสมบทใหม่

สองบทว่า ตานิ วสฺสานิ ความว่า เราอนุญาตให้นับพรรษาจําเดิมแต่อุปสมบทเป็นภิกษุมานั้นนั่นแล อธิบายว่า ไม่ต้องทําการนับพรรษาตั้งแต่เพศกลับนี้ไปใหม่

สองบทว่า ภิกฺขุนีหิ สงฺกมิตุํ ความว่า ทั้งเราอนุญาตให้ภิกษุณีนั้นไปด้วยกัน คือ สมาคมกัน พร้อมเพรียงกันกับภิกษุณีทั้งหลาย มีคําอธิบายตรัสไว้ดังนี้ว่า บัดนี้ นางภิกษุณีนั้น ไม่ควรอยู่ในท่ามกลางภิกษุทั้งหลาย จงไปยังสํานักนางภิกษุณี แล้วอยู่ร่วมกับนางภิกษุณีเถิด

หลายบทว่า ตา อาปตฺติโย ภิกฺขูนํ ภิกฺขูนีหิ สาธารณา ความว่าอาบัติเหล่าใด เป็นเทสนาคามินีก็ตาม เป็นวุฏฐานคามินีก็ตาม ที่ทั่วไปแก่ภิกษุกับนางภิกษุทั้งหลาย

หลายบทว่า ตา อาปตฺติโย ภิกฺขุนีนํ สนฺติเกวุฏฺาตุํ ความว่า เราอนุญาตให้ทําวินัยกรรม ซึ่งเหล่าภิกษุณีพึงทําแล้วออกจากอาบัติเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ในสํานักของนางภิกษุณีทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 158  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 847

หลายบทว่า ตาหิอาปตฺตีหิ อนาปตฺติ ความว่า ส่วนอาบัติเหล่าใดมีสุกกวิสัฏฐิเป็นต้น ของพวกภิกษุ ซึ่งไม่ทั่วไปด้วยนางภิกษุณีทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติด้วยอาบัติเหล่านั้น คือ อาบัติเหล่านั้นเป็นอันเธอออกเสร็จแล้วแลเพราะเพศกลับ. ถึงแม้เพศเดิมกลับเกิดขึ้นอีก คงเป็นอนาบัติแก่เธอด้วยอาบัติเหล่านั้นเหมือนกัน วินิจฉัยบาลีในเรื่องที่ ๑๔ นี้ มีเท่านี้ก่อน.

ส่วนวินิจฉัยท้องเรื่องนอกจากบาลี มีดังต่อไปนี้:-

เริ่มแรกในสองเพศนี้ เพศชายเป็นอุดมเพศ เพศหญิง เป็นหีนเพศ เพราะเหตุนั้น เพศชาย จึงชื่อว่า อันตรธานไป เพราะอกุศลมีกําลังรุนแรง เพศหญิงปรากฏขึ้นแทน เพราะกุศลมีกําลังเพลาลง. ส่วนเพศหญิง จะอันตรธานไป ชื่อว่าอันตรธานไป เพราะอกุศลมีกําลังเพลาลง เพศชายปรากฏขึ้นแทน เพราะกุศลมีกําลังรุนแรง เพศทั้งสองอันตรธานไปเพราะอกุศล กลับได้คืนเพราะกุศล ด้วยประการฉะนี้

[ต้องอาบัติเพราะนอนร่วมกับภิกษุผู้มีเพศกลับ]

บรรดาเพศหญิงและเพศชายนั้น ถ้าภิกษุสองรูป ทําการสาธยายหรือสนทนาธรรมด้วยกัน จําวัดหลับไปในเรือนหลังเดียวกัน เพศหญิงปรากฏแก่ภิกษุรูปหนึ่ง เป็นอาบัติ เพราะนอนร่วมกัน แม้แก่เธอทั้งสอง. ถ้าภิกษุผู้มีเพศกลับนั้นตื่นขึ้น เห็นประการแปลกนั้นของตนแล้ว มีความทุกข์เสียใจ พึงบอกแก่ภิกษุอีกรูปหนึ่งในกลางคืนทีเดียว เธอจงเป็นผู้อันภิกษุนั้นควรปลอบว่า อย่าเสียใจไปเลย นี้เป็นโทษของวัฏฏะต่างหาก พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ได้ประทานช่องทางไว้แล้วว่า จะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตามที ธรรมอันธรรมดามิได้จํากัด ทางสวรรค์อันธรรมดามิได้ห้าม

 
  ข้อความที่ 159  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 848

[วิธีปฏิบัติกับภิกษุณีผู้มีเพศกลับ]

ก็แล ครั้นปลอบแล้ว ควรกล่าวอย่างนี้ว่า สมควรท่านจะไปยังสํานักนางภิกษุณี, ภิกษุณีบางเหล่า ซึ่งเป็นเพื่อนเคยเห็นกัน ของท่านมีอยู่หรือ?ถ้าเธอมีเหล่าภิกษุณีเช่นนั้น, พึงบอกว่า มี ถ้าไม่มีพึงบอกว่า ไม่มี แล้วพึงบอกภิกษุนั้นว่า ท่านโปรดสงเคราะห์ข้าพเจ้าเถิด, จงนําข้าพเจ้าไปยังสํานักนางภิกษุณีเดี๋ยวนี้แหละ. ภิกษุนั้น พึงพาเธอไปยังสํานักของนางภิกษุณีทั้งหลายซึ่งเป็นเพื่อนเคยเห็นกันของเธอ หรือเป็นเพื่อนเคยเห็นกันของตนก็ได้ เมื่อจะไป ไม่ควรไปรูปเดียว ควรถือเอาตะเกียงและไม้เท้า เปลื้องการตระเตรียมเสีย ไปร่วมกับภิกษุ ๔ - ๕ รูป ด้วยพูดว่า พวกเราจะไปยังสถานที่ชื่อโน้น.

ถ้าภายนอกบ้าน มีวัดอยู่ไกล ก็ไม่เป็นอาบัติในระหว่างทางเพราะคามันตราบัติ (อาบัติเพราะเดินทางข้ามระยะบ้านหนึ่ง) นทีปราบัติ (อาบัติเพราะข้ามฟาก) รัตติวิปปวาสาบัติ (อาบัติเพราะอยู่ปราศจากไตรจีวรราตรีหนึ่ง) และคณโอหียนาบัติ (อาบัติเพราะอยู่รูปเดียวไม่ครบคณะ). ครั้นไปถึงสํานักของนางภิกษุณีแล้ว พึงกล่าวกะนางภิกษุณีเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลายรู้จักภิกษุชื่อโน้นหรือ? ภิกษุณีทั้งหลาย ตอบว่า เจ้าค่ะ รู้จัก พระคุณเจ้าขา!.ภิกษุเหล่านั้นพึงกล่าวว่า ภิกษุรูปนั้น ปรากฏเป็นเพศหญิงขึ้น, ขอได้โปรดสงเคราะห์เธอเดี๋ยวนี้เถิด. ถ้านางภิกษุณีเหล่านั้น กล่าวว่า ดีละ พระคุณเจ้าข้า!บัดนี้ แม้พวกดิฉัน ก็จักสาธยาย จักสดับธรรม ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายจงไปเถิด ดังนี้แล้ว ทําความสงเคราะห์ และให้ร่าเริงยินดีทั้งเป็นลัชชินีผู้มีความสงเคราะห์ด้วย, เธอไม่ควร (๑) ละทิ้งนางภิกษุณีเหล่านั้นไปในสถานที่อื่นถ้าไปก็ไม่พ้นจากคามันตราบัติ นทีปราบัติ รัตติวิปปวาสาบัติและคณโอหียนาบัติ.


(๑) ตาโกเปตฺวาติตา ปริจฺจชิตฺวา. สารัตถทีปนี๒/๑๕๙.

 
  ข้อความที่ 160  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 849

อนึ่ง ถ้านางภิกษุณีเหล่านั้น เป็นลัชชินี แต่ไม่มีความสงเคราะห์,ย่อมได้เพื่อจะไปสถานที่อื่น. แม้ถ้าเป็นอลัชชินี (ทั้งหมดวัด) แต่ทําความสงเคราะห์ ย่อมได้เพื่อจะละทิ้งแม้นางภิกษุณีเหล่านั้นแล้วไปเสียในที่อื่น.อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ถ้าเป็นทั้งลัชชินี ทั้งมีความสงเคราะห์ แต่ไม่เป็นญาติ, และในบ้านใกล้ ภิกษุณีเหล่าอื่นที่เป็นญาติ มีอยู่ ทั้งเป็นผู้ประคับประคอง, ควรไปยังสํานักของภิกษุณีแม้เหล่านั้น ครั้นไปแล้ว ถ้าตนปฏิบัตินิสัย (ยังถือนิสัย) แม้ในคราวเป็นภิกษุ ก็ควรถือนิสัยในสํานักของนางภิกษุณีผู้สมควร. มาติกาก็ดี วินัยก็ดี ที่เรียนมาแล้ว ก็เป็นอันเรียนแล้วด้วยดีไม่มีเหตุที่จะต้องเรียนซ้ำอีก. ถ้าในคราวยังเป็นภิกษุ ภิกษุรูปนั้น เป็นผู้ปกครองบริษัท, กุลบุตรทั้งหลายผู้อุปสมบทแล้วในสํานักของภิกษุรูปนั้นนั่นแลก็เป็นอันอุปสมบทชอบแล้ว, แต่ต้องถือนิสัยในสํานักของอาจารย์รูปอื่น. แม้พวกอันเตวาสิกผู้อาศัยเธอนั้นอยู่ในกาลก่อน ก็ต้องถือนิสัยในสํานักของอาจารย์รูปอื่น. ถึงแม้สามเณรผู้มีอายุเต็มบริบูรณ์ ก็ต้องถืออุปัชฌายะ ในสํานักของภิกษุรูปอื่น.

[วิธีปฏิบัติในเครื่องบริขารต่างๆ]

อนึ่ง ไตรจีวรและบาตร ที่ภิกษุนั้นอธิษฐานไว้แล้วในคราวยังเป็นภิกษุ, ย่อมขาดอธิษฐานไป, ต้องอธิษฐานใหม่. ภิกษุณี ควรให้ใช้ผ้ารัดถันและผ้าอาบน้ำ. อติเรกจีวรก็ดี อติเรกบาตรก็ดี ที่ภิกษุนั้น ทําวินัยกรรมเก็บไว้แล้ว แม้ทั้งหมด ย่อมละวินัยกรรมไปต้องทําใหม่. แม้เภสัชมีน้ำมันน้ำผึ้งและน้ำอ้อย ที่เธอรับประเคนไว้เป็นต้น ย่อมขาดประเคนไป. ถ้าเพศเปลี่ยนกลับในวันที่ ๗ แต่วันที่รับประเคนไป, รับประเคนใหม่ ควรฉันได้

 
  ข้อความที่ 161  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 850

๗ วัน (๑) . ส่วนสิ่งใดเป็นของภิกษุรูปอื่น เธอรับประเคนไว้ในเวลาเป็นภิกษุ,สิ่งนั้นไม่ขาดประเคน. แม้สิ่งใดที่เป็นของทั่วไปแก่ภิกษุสองรูปยังมิได้แบ่งปันกัน ปกตัตตภิกษุ ย่อมรักษาสิ่งนั้นไว้. ส่วนสิ่งใด ได้แบ่งกันแล้วเป็นของเธอเอง, สิ่งนั้น ย่อมขาดประเคนไป. จริงอยู่ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ตรัสคํานี้ไว้ในคัมภีร์บริวารว่า

ภิกษุรับประเคนน้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อยหรือเนยใสเองแล้ว เก็บไว้เอง เมื่อยังไม่ล่วง๗ วัน เป็นอาบัติแก่เธอผู้ฉัน เพราะมีปัจจัย,ปัญหานี้ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว.

[ขาดประเคนเพราะเหตุ ๗ อย่าง]

จริงอยู่ พระพุทธพจน์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาเพศกลับ.ขึ้นชื่อว่า การรับประเคน ย่อมขาดไป เพราะเพศกลับ ๑ เพราะมรณภาพ ๑เพราะลาสิกขา ๑ เพราะหันไปเป็นคนเลว ๑ เพราะให้แก่อนุปสัมบัน ๑เพราะไม่เสียดายสละเสีย ๑ เพราะถูกชิงเอาไป ๑. เพราะฉะนั้น แม้ถ้ามีสิ่งของที่รับประเคนเก็บไว้ จะเป็นชิ้นสมอก็ตาม สิ่งทั้งหมดของเธอย่อมขาดประเคนไป. อนึ่ง สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เป็นของนางภิกษุณีนั้น เธอรับประเคนหรือยังมิได้รับประเคนก็ตาม ซึ่งเก็บไว้ในวิหารของภิกษุ, ภิกษุณีรูปนั้นแลเป็นใหญ่แห่งสิ่งของทั้งหมด ควรให้เธอขนเอาไปเสีย. ส่วนสิ่งใดเป็นของถาวรซึ่งเป็นส่วนตัวของเธอในวิหารของภิกษุนี้ จะเป็นเสนาสนะ หรือต้นไม่ที่ปลูกไว้ก็ตาม, เธอปรารถนาจะให้สิ่งของเหล่านั้นแก่บุคคลใด ก็พึงให้แก่บุคคลนั้น.


(๑) สตฺตาหํ ปริภุฺชิตุ วฏฺฏติ. สารัตถทีปนี. ๒/๑๖๐.

 
  ข้อความที่ 162  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 851

บรรดาสมมติ ๑๓ อย่าง สมมติที่เธอได้ในเวลาเป็นภิกษุ ย่อมระงับไปทั้งหมด. การถือเสนาสนะในวันเข้าพรรษาแรก ย่อมระงับไป. ถ้าเพศกลับในเมื่อเธอถือเสนาสนะในวันเข้าพรรษาหลังแล้ว และภิกษุสงฆ์ปรารถนาจะให้ลาภที่เกิดขึ้นแก่เธอควรอปโลกน์ให้. ถ้าเพศกลับเมื่อกําลังอยู่ปริวาสเพื่ออาบัติที่ปิดไว้ทั่วไปกับนางภิกษุณี, สงฆ์พึงให้ปักขมานัตทีเดียว. ถ้าเพศกลับกําลังประพฤติมานัต, ควรให้ปักขมานัตซ้ำอีก. ถ้าเพศกลับเมื่อประพฤติมานัตแล้ว, พวกภิกษุณีควรทําอัพภานกรรม. ถ้าเมื่ออกุศลวิบากหมดสิ้นแล้ว เพศกลับใหม่อีกในกาลแห่งปักขมานัต พึงให้มานัต ๖ ราตรีเท่านั้น. ถ้าประพฤติปักขมานัตเสร็จแล้ว เพศจึงกลับ, พวกภิกษุพึงทําอัพภานกรรมฉะนี้แล.

ในเรื่องเพศกลับของนางภิกษุณีในลําดับต่อไป พึงทราบวินิจฉัยทั้งปวงตามนัยที่กล่าวแล้วในเรื่องนี้นั่นแล. ส่วนเนื้อความที่แปลกกันมีดังต่อไปนี้ :-

แม้ถ้าในเวลาเป็นภิกษุณี มีสัญจริตอาบัติที่ต้องแล้วปิดไว้, ไม่มีการให้ปริวาส, พึงให้มานัต ๖ ราตรีทีเดียว. เพศกลับเมื่อกําลังประพฤติปักขมานัต, ไม่ต้องการด้วยปักขมานัตนั้น พึงให้มานัต ๖ ราตรีเหมือนกัน. ถ้าเพศกลับเมื่อประพฤติมานัตเสร็จแล้ว, ไม่ต้องให้มานัตซ้ำอีก ภิกษุทั้งหลายพึงอัพภาน. ถ้าเมื่อภิกษุทั้งหลายยังไม่ให้มานัต เพศกลับคือใหม่, พวกภิกษุณีพึงให้ปักขมานัตนั่นเอง. ถ้ากําลังประพฤติมานัต ๖ ราตรี เพศกลับคืนใหม่,พึงให้ปักขมานัตเหมือนกัน. แต่เมื่อประพฤติมานัตเสร็จแล้ว เพศกลับคืนตามเดิม พวกภิกษุณีพึงทําอัพภานกรรมให้. อนึ่ง แม้เมื่อนางภิกษุณีนั้น คงตั้งอยู่ในความเป็นภิกษุ ในเมื่อเพศกลับคืนตามเดิมแล้วอาบัติเหล่าใดที่ระงับไปแล้วในกาลก่อน, อาบัติเหล่านั้น เป็นอันระงับด้วยดีทีเดียวแล.

 
  ข้อความที่ 163  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 852

เรื่องทั้ง ๔ เรื่อง ต่อจากเพศกลับคืนนี้ไป มีอาทิว่า มาตุยา เมถุนํธมฺมํ ดังนี้ มีเนื้อความชัดเจนแล้วทั้งนั้น.

ในเรื่องภิกษุมีหลังอ่อน มีวินิจฉัยดังนี้ :- ได้ยินว่า ภิกษุรูปนั้นเคยเป็นนักระบํา. หลังของเธอได้ทําการฝึกหัดมาแล้ว เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในศิลปะ จึงได้เป็นอวัยวะที่อ่อน. เพราะฉะนั้น เธอจึงได้ย่อตัวลงทํากรรมอย่างนั้นแล้ว.

ในเรื่องภิกษุมีองคชาตยาว มีวินิจฉัยดังนี้ :- ภิกษุรูปนั้นมีองคชาตยาว; เพราะฉะนั้นท่านจึงเรียกว่า ลัมพี ผู้มีองค์กําเนิดยาว.

เรื่องบาดแผล ๒ เรื่อง ต่อจากเรื่องภิกษุมีองคชาตยาวนี้ไป มีเนื้อความชัดเจนแล้วทีเดียว.

ในเรื่องรูปปั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- รูปที่ทําด้วยจิตรกรรม ชื่อว่า เลปจิตร คือ รูปปั้น.

ในเรื่องตุกตาไม้ มีวินิจฉัยดังนี้ :- รูปที่ทําด้วยไม้ ชื่อว่า ตุกตาไม้. เหมือนอย่างว่า เมื่อภิกษุพยายามในรูปจิตรกรรมและรูปตุกตาไม้ทั้ง ๒นี้ เป็นทุกกฏฉันใด, เพื่อพยายามด้วยความกําหนัดในเมถุนที่นิมิตในรูปหญิงซึ่งเป็นอนุปาทินนกะ (รูปที่ไม่มีใจครอง) มีรูปฟัน รูปผ้าเปลือกไม้และรูปโลหะเป็นต้นแม้เหล่าอื่น อสุจิ จะเคลื่อนออกหรือไม่ก็ตาม เป็นทุกกฏทีเดียวฉันนั้น. ถึงเมื่อจะพยายามด้วยความกําหนัดในอันเคล้าคลึงกาย ก็เป็นทุกกฏเหมือนอย่างนั้นแล. แต่เมื่อพยายามด้วยความกําหนัดในอันปล่อย เมื่ออสุจิเคลื่อนออกเป็นสังฆาทิเสส, เมื่อไม่เคลื่อนออก เป็นถุลลัจจัย ฉะนี้แล.

 
  ข้อความที่ 164  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 853

[เรื่องสตรีรักสวาทพระภิกษุสุนทร]

ในเรื่องพระภิกษุชื่อสุนทร มีวินิจฉัยดังนี้ :- พระภิกษุรูปนี้ชื่อสุนทรเป็นเด็กหนุ่มของตระกูลในกรุงราชคฤห์ บวชด้วยศรัทธา เพราะความที่ท่านมีอัตภาพสวยงาม จึงได้นามว่า สุนทร. สตรีนางนั้น พบเห็นท่านกําลังเดินไปตามทางรถ ก็เกิดฉันทราคะขึ้นแล้วได้กระทําอาการที่แปลกนี้. ส่วนพระเถระเป็นพระอนาคามี; เพราะเหตุนั้น ท่านจึงไม่ยินดี. อันสภาพคือความไม่ยินดีนี้ ไม่ใช่วิสัยของปุถุชนเหล่าอื่น.

ใน ๔ เรื่อง ถัดจากเรื่องพระสุนทรนี้ไป มีวินิจฉัยดังนี้ :- ภิกษุเหล่านั้น เป็นผู้เซอะโง่เขลารับคําของมาตุคามแล้วทําตามอย่างนั้น ภายหลังจึงมีความรับเกียจขึ้น. ๓ เรื่อง มีเรื่องซากศพที่สัตว์ยังมิได้กัดกินเป็นต้น มีเนื้อความชัดเจนแล้วทั้งนั้น.

[ภิกษุเสพเมถุนธรรมทางปากศพเป็นปาราชิก]

ในเรื่องซากศพที่มีศีรษะขาด ๒ เรื่อง มีวินิจฉัยดังนี้:-

สองบทว่า วฏฺฏกเต มุเข คือ ในปากที่อ้า. ภิกษุเมื่อสอดองคชาตเข้าไป (ในปากที่อ้านั้น) ถ้าสอดเข้าไปในถูกข้างล่างก็ดี ข้างบนก็ดี ข้างทั้งสองก็ดี เป็นปาราชิก. ครั้นสอดเข้าไปไม่ถูกทั้ง ๔ ข้าง แต่ถูกเพดานข้างในเป็นปาราชิกเหมือนกัน. เมื่อไม่ถูกทั้ง ๔ ข้างและเพดาน สอดให้เชิดไปบนอากาศเท่านั้น และชักออก เป็นทุกกฏ. อนึ่ง ถ้าฟันปิดแนบสนิทดี ภายในปาก ไม่มีช่อง และฟันถูกเนื้อริมฝีปากภายนอกปิด เมื่อภิกษุสอดเข้าไปยังช่องที่เปียกชุ่ม ซึ่งลมไม่ถูกต้อง ในปากที่มีเนื้อริมฝีปากปิดไว้นั้น แม้ชั่วเมล็ดงาเดียวเป็นปาราชิกเหมือนกัน. แต่เมื่อพยายามเฉพาะที่ฟัน ซึ่งมีเนื้อริมฝีปากที่เขาเฉือนออกไปแล้ว เป็นถุลลัจจัย. แม้ฟันซี่ใด ที่ยื่นออกไปข้างนอก

 
  ข้อความที่ 165  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 854

ไม่อาจจะปิดริมฝีปากได้, เมื่อภิกษุพยายามที่ฟันนั้นก็ดี พยายามที่ลิ้นซึ่งยื่นออกไปข้างนอกก็ดี เป็นถุลลัจจัยเหมือนกัน. แม้ในสรีระที่ยังมีชีวิตอยู่ เมื่อพยายามที่ลิ้นซึ่งยื่นออกไปข้างนอก เป็นถุลลัจจัยเหมือนกับ. แต่ถ้าฟันที่ลิ้นซึ่งยื่นออกไปข้างนอกไว้มิดชิดแล้วจึงสอดเข้าไปในปาก เป็นปาราชิกเหมือนกัน.เมื่อสอดองคชาตเข้าไปบนคอทางส่วนล่างแม้แห่งซากศพที่มีศีรษะขาด ถูกเพดาน เป็นปาราชิกเหมือนกัน.

ในเรื่องกระดูก มีวินิจฉัยดังนี้ :- แม้เมื่อภิกษุกําลังเดินไปยังสุสาน เป็นทุกกฏ เมื่อรวบรวมกระดูกมาไว้ก็ดี กองไว้ก็ดี พยายามที่นิมิตด้วยความกําหนัดในเมถุนก็ดี พยายามด้วยความกําหนัดในอันเคล้าคลึงกายก็ดีอสุจิจะเคลื่อนออกหรือไม่ก็ตาม เป็นทุกกฏทั้งนั้น แต่เมื่อพยายามด้วยความกําหนัดในอันปล่อย เมื่อสุจิเคลื่อนออกเป็นสังฆาทิเสส เมื่อไม่เคลื่อนออกเป็นถุลลัจจัย.

ในเรื่องนาคตัวเมีย มีวินิจฉัยดังนี้ :- เมื่อภิกษุเสพเมถุนธรรม ในจําพวกสัตว์ทั้งปวง จะเป็นนางนาคมาณวิกา หรือบรรดานางกินรีเป็นต้นตนใดตนหนึ่งก็ตาม เป็นปาราชิก.

ในเรื่องนางยักษิณี มีวินิจฉัยดังนี้ :- เทวดาแม้ทั้งหมด ก็คือนางยักษิณีนั่นเอง.

[ภิกษุเสพเมถุนธรรมในหญิงเปรตเป็นต้นเป็นปาราชิก]

ในเรื่องหญิงเปรต มีวินิจฉัยดังนี้ :- เปรตทั้งหลายมีนิชฌามตัณหิกเปรตเป็นต้น ใครๆ ไม่สามารถแม้จะแตะต้องได้. แต่นางวิมานเปรตทั้งหลายมีอยู่ อกุศลกรรมของนางวิมานเปรตเหล่าใดให้ผลอยู่ในข้างกาฬปักข์ นางวิมานเปรตเหล่านั้นย่อมได้เสวยสมบัติ ในข้างชุณหปักข์ เหมือนเทวดา ฉะนั้น

 
  ข้อความที่ 166  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 855

ถ้าการเห็น การจับ การลูบคลํา การถูกต้อง และการกระทบ ของหญิงเปรตหรือของนางยักษิณีผู้เห็นปานนั้นปรากฏได้ เป็นปาราชิก. ถ้าแม้ไม่มีการเห็นแต่กิจนอกนี้ปรากฏ ก็เป็นปาราชิกเหมือนกัน.

อีกอย่างหนึ่ง การเห็นและการจับ ไม่ปรากฏ แต่เปรตทําบุคคลนั้น (คือภิกษุ) ให้ปราศจากสัญญา (หมดสติ) ด้วยการลูบคลํา ถูกต้องและกระทบที่ปรากฏอยู่ ให้สําเร็จมโนรถของตนแล้วก็ไป ความพยายามนี้ ชื่อว่าไม่ใช่วิสัยเพราะฉะนั้น ในข้อนี้จึงไม่เป็นอาบัติ เพราะไม่ใช่วิสัย.

เรื่องบัณเฑาะก์ ปรากฏชัดแล้วแล.

ในเรื่องภิกษุมีอินทรีย์พิการ มีวินิจฉัยดังนี้ :-

บทว่า อุปหตินฺทฺริโย ความว่า เธอมีกายประสาทถูกโรคเบียดเบียนแล้ว ย่อมไม่รู้สึกสุขหรือทุกข์ เหมือนตอไม้และท่อนไม้ ฉะนั้น. แม้เมื่อเธอไม่รู้สึก ก็เป็นอาบัติ เพราะอํานาจเสวนจิต.

ในเรื่องเพียงถูกต้องกาย มีวินิจฉัยดังนี้ :-

ภิกษุรูปใด คิดในใจว่า เราจักเสพเมถุนธรรม จึงจับมาตุคามคลายความกําหนัดในเมถุนแล้วเป็นผู้มีความวิปฏิสาร ภิกษุรูปนั้น เป็นทุกกฏเท่านั้น. เพราะว่า กิจทั้งหลายมีการจับมือเป็นต้น เป็นปุพพประโยคแห่งเมถุนธรรม ย่อมตั้งอยู่ในทุกกฏ ตราบเท่าที่ยังไม่ถึงที่สุด เมื่อถึงที่สุดแล้วจึงเป็นปาราชิก. จริงอยู่ ทุกกฏเท่านั้น ใกล้ต่อปฐมปาราชิก. บรรดาอาบัติทั้ง ๓ นอกนี้ (ทุกกฏ ถุลลัจจัย สังฆาทิเสส) ถุลลัจจัย ก็ใกล้ต่อปฐมปาราชิกส่วนภิกษุรูปนี้ปราศจากความกําหนัดในเมถุนธรรมแล้ว พึงทราบว่า ยินดีเฉพาะการเคล้าคลึงกาย. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นอาบัติสังฆาทิเสส.

 
  ข้อความที่ 167  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 856

[เรื่องภิกษุอรหันต์ชาวภัททิยนครจําวัดหลับ]

ในเรื่องภิกษุชาวเมืองภัททิยะ มีวินิจฉัยดังนี้ :-

นครชื่อว่าภัททิยะ. นครนั้น ได้ชื่ออย่างนี้ เพราะมีพุ่มดอกมะลิชาติที่ชื่อว่า ชาติยาวัน หนาแน่น. ป่านั้นมีอยู่ใกล้อุปจารแห่งพระนครนั้น. ภิกษุรูปนั้นพักจําวัดอยู่ที่ป่านั้น แล้วก้าวลงสู่ความหลับสนิท เพราะถูกลมรําเพยพัดนั้น. ภวังคจิตมีกระแสเดียวเท่านั้นแล่นไป.

สองบทว่า กิลินฺนํ ปสฺสิตฺวา ความว่า เห็นองคชาตเปรอะเปื้อนด้วยอสุจิ.

๕ เรื่อง ถัดจากเรื่องภิกษุชาวเมืองภัททิยะนี้ไป คือ เรื่องที่ปฏิสังยุตด้วยความยินดีมี ๔ เรื่อง และเรื่องไม่รู้สึกตัวมี ๑ เรื่อง มีเนื้อความชัดเจนแล้วทีเดียว.

ในเรื่องไม่ยินดีอีก ๒ เรื่อง มีวินิจฉัยดังนี้ :-

สองบทว่า สหสา วุฏฺฐาสิ ความว่า ภิกษุรูปนั้นรีบลุกขึ้นทันทีเหมือนถูกอสรพิษกัดและเหมือนถูกไฟไหม้ ฉะนั้น.

สองบทว่า อกฺกมิตฺวา ปวฏฺเฏสิ ความว่า ภิกษุผู้ไม่ประมาทเริ่มเจริญวิปัสสนา ควบคุมสติไว้เฉพาะหน้า รีบลุกขึ้นทันที ยันให้กลิ้งกลับเลื่อนตกไปบนพื้นดิน. อันกัลยาณปุถุชนทั้งหลาย ควรรักษาจิตไว้ ในฐานะเห็นปานนี้. และภิกษุรูปนี้ เป็นบรรดากัลยาณปุถุชนเหล่านั้นรูปใดรูปหนึ่งซึ่งเป็นเช่นกับยอดนักรบในสงคราม.

[เรื่องภิกษุเปิดประตูจําวัด]

ในเรื่องเปิดประตูจําวัด มีวินิจฉัยดังนี้ :-

สองบทว่า ทิวา ปฏิสลฺลิยนฺเตน ความว่า ผู้จะพักจําวัดในกลางวัน

 
  ข้อความที่ 168  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 857

หลายบทว่า ทฺวารํ สํวริตฺวา ปฏิสลฺลิยิตุ ความว่า เพื่อให้ปิดประตูก่อนจึงจําวัดได้. ก็ในเรื่องเปิดประตูจําวัดนี้ ในพระบาลีพระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ปรับอาบัติไว้ว่า เป็นอาบัติชื่อนี้ แม้ก็จริง ถึงกระนั้น พระเถระทั้งหลายก็ปรับเป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่ปิดประตูเสียก่อนพักผ่อน เพราะเมื่อเรื่องเกิดขึ้น เพราะโทษที่เปิดประตูนอน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราอนุญาตให้ภิกษุผู้จะพักผ่อนในกลางวัน ปิดประตูเสียก่อนจึงพักผ่อนได้.

จริงอยู่ พระเถระทั้งหลาย มีพระอุบาลีเถระเป็นต้น ทราบพระประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเสีย จึงได้ตั้งอรรถกถาไว้. ก็คําที่ว่า เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่ปิดประตูเสียก่อน พักผ่อน นี้ สําเร็จแล้วแม้ด้วยคํานี้ว่า มีอาบัติที่ภิกษุต้องในกลางวัน ไม่ต้องในกลางคืน.

[อธิบายประตูเช่นไรควรปิดและไม่ควรปิด]

ถามว่า ก็ประตูเช่นไรควรปิด? เช่นไรไม่ควรปิด?.

แก้ว่า ประตูเวียนที่เขาเอาบรรดาวัตถุชนิดใดชนิดหนึ่ง มีไม้เลียบไม้ไผ่เลียบ ลําแพนและใบไม้เป็นต้น ทําเป็นบานประตูแล้วสอดลูกล้อครกไว้ตอนล่างและห่วงบนไว้ตอนบนนั่นแล ควรปิด. ประตูชนิดอื่นเห็นปานนี้ คือประตูลิ่มสลักไม้และประตูหนาม ที่คอกฝูงโค ประตูล้อเลื่อนสําหรับกั้นบ้านในบ้าน ประตูแผงเลื่อนที่เขาทําประกอบลูกล้อ ๒ - ๓ อันไว้ที่แผ่นกระดานหรือที่กันสาด ประตูแผงลอยที่เขาทํายกออกได้ เหมือนอย่างในร้านตลาดประตูลูกกรงที่เขาร้อยซี่ไม้ไผ่ไว้ในที่ ๒ - ๓ แห่ง ทําไว้ที่บรรณกุฎี (กระท่อมใบไม้) ประตูม่านผ้า ไม่ควรปิด.

 
  ข้อความที่ 169  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 858

ก็ประตูม่านผ้าชนิดเดียวเท่านั้น ไม่ทําให้ต้องอาบัติ ในเวลาที่ภิกษุมีบาตรมีมือผลักบานประตู. เมื่อผลักประตูที่เหลือต้องอาบัติ. แต่ประตูเวียนนั่นแล ทําให้ต้องอาบัติแก่ภิกษุผู้พักผ่อนในกลางวัน. ประตูที่เหลือ เมื่อภิกษุปิดก็ตาม ไม่ปิดก็ตามแล้วจําวัด อาบัติหามีไม่ แต่ควรปิดเสียก่อน จึงจําวัดข้อนี้เป็นธรรมเนียม.

ถามว่า ก็ประตูเวียน ย่อมเป็นอันปิดดีแล้ว ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร?

แก้ว่า เมื่อใส่ลูกดาลและลิ่มสลักแล้ว ก็เป็นอันปิดด้วยดีทีเดียวอีกประการหนึ่ง แม้เมื่อใส่เพียงลูกดาลแล้วจะพักจําวัดก็ควร แม้เมื่อใส่เพียงลิ่มสลักแล้ว จะพักจําวัดก็ควร แม้เมื่อปิดพอให้บานประตูจดกันแล้ว จะพักจําวัดก็ควร แม้เมื่อปิดแง้มไว้เล็กน้อยแล้ว จะพักจําวัดก็ควร ด้วยวิธีอย่างหลังที่สุด แม้เมื่อปิดประตูแง้มไว้ขนาดพอศีรษะสอดเข้าไม่ได้ จะพักจําวัดก็ควรฉะนี้แล.

ถ้าสถานที่นั้น เป็นที่ใช้ของคนหมู่มาก แม้จะพูดกะภิกษุหรือสามเณรว่า อาวุโส ! จงช่วยกันรักษาประตู แล้วจําวัดก็ควร. ถ้าแม้จะทําความผูกใจไว้ว่า ภิกษุทั้งหลายผู้นั่งทําจีวรกรรม หรือกิจอะไรอื่นอยู่ เธอเหล่านั้นจักช่วยรักษาประตูนั่น ดังนี้ แล้วจําวัด ก็ควร.

ส่วนในอรรถกถากุรุนที ท่านกล่าวว่า จะบอกแม้กะอุบาสกหรือจะทําความผูกใจไว้ว่า อุบาสกนี้จะช่วยรักษา แล้วจําวัด ก็ควร จะบอกภิกษุณีหรือมาตุคามอย่างเดียวไม่ควร.

ถ้าลูกล้อหรือห่วงบนประตูเสียหายไป หรือไม่ตั้งอยู่ (ในที่เดิม) จึงไม่อาจจะปิดได้ ก็อีกอย่างหนึ่ง เพื่อประโยชน์แก่นวกรรม เขาทํากองอิฐ

 
  ข้อความที่ 170  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 859

หรือกองดินเหนียวเป็นต้นไว้ภายในประตู หรือผูกนั่งร้านไว้ โดยที่ไม่อาจจะปิด (ประตู) ได้ ในอันตรายเห็นปานนั้น แม้จะไม่ปิดประตู พักจําวัดก็ควร.ก็ถ้าไม่มีบานประตู เป็นอันได้ข้ออ้างแท้. เมื่อจะจําวัดข้างบนควรยกม่านขึ้นไว้ จึงจําวัด. ถ้าข้างบนม่าน มีไม้สําหรับกั้นไว้ ควรกั้นไว้ จึงจําวัด. เมื่อจะจําวัดในห้อง จะปิดประตูหรือประตูหน้ามุขอย่างใดอย่างหนึ่งไว้แล้วจําวัดก็ควร.

ถ้าที่ข้างทั้งสองในเรือนมีฝาด้านเดียว เขาทําใช้หลายประตู, ควรรักษาทั้งสองประตู. ในปราสาทแม้ ๓ ชั้น ควรรักษาประตูเดียวเท่านั้น. ถ้าภิกษุมากรูป กลับจากเที่ยวภิกขาจาร เข้าไปยังประสาท เช่นโลหปราสาท เพื่อพักผ่อนกลางวัน, พระสังฆเถระ ควรสั่งผู้รักษาประตูว่า จงช่วยรักษาประตูหรือจะทําความผูกใจไว้ว่า การรักษาประตู เป็นภาระของนายทวารบาลนั่นแล้วพึงเข้าไปจําวัดเถิด. ภิกษุทั้งหลายควรทําอย่างนั้นเหมือนกันจนถึงพระสังฆนวกะ. ผู้ที่เข้าไปก่อนแม้จะทําความผูกใจไว้อย่างนี้ว่า ขึ้นชื่อว่าการรักษาประตู เป็นภาระของผู้มาภายหลัง ดังนี้ ก็ควร.

เมื่อภิกษุ ไม่ทําการบอกเล่าหรือความผูกใจไว้ แล้วพักจําวัดภายในห้องที่ไม่ได้ปิดประตูหรือภายนอกห้อง เป็นอาบัติ. แม้ในเวลาจําวัดในห้องหรือในภายนอกห้อง ทําความผูกใจไว้ว่า ขึ้นชื่อว่าการรักษาประตู ในประตูใหญ่ เป็นภาระของนายทวารบาล ดังนี้ แล้วจําวัด ควรเหมือนกัน. แม้ภิกษุผู้จะจําวัดที่พื้นอากาศ (ดาดฟ้า) ในสถานที่มีโลหปราสาทเป็นต้น ควรปิดประตูแท้ทีเดียว.

ก็ในเรื่องเปิดประตูจําวัดนี้ มีความสังเขปดังต่อไปนี้ :- การพักผ่อนในกลางวันนี้ ท่านกล่าวไว้ในสถานที่มีระเบียบ ซึ่งล้อมด้วยกําแพงหรือรั้ว

 
  ข้อความที่ 171  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 860

อย่างใดอย่างหนึ่ง. เพราะฉะนั้น อันภิกษุผู้จะจําวัดในที่แจ้งโคนต้นไม้ หรือมณฑปที่ใดที่หนึ่ง ซึ่งมีระเบียง ควรปิดประตูเสียก่อน จึงจําวัด, ถ้าเป็นบริเวณใหญ่ ซึ่งเป็นสถานที่ชุมนุมของคนหมู่มาก เช่นลานมหาโพธิ์และลานโลหปราสาท, ในสถานที่ใด ประตูแม้ที่เขาปิดแล้ว ก็ไม่ตั้งอยู่ในที่ๆ ปิด (คือปิดๆ เปิดๆ) ภิกษุทั้งหลาย เมื่อไม่ได้ประตูถึงต้องเที่ยวปีนขึ้นกําแพงไป,ในสถานที่นั้น ไม่มีกิจที่จะต้องปิด (ประตู).

ภิกษุเปิดประตูจําวัดตลอดคืน ลุกขึ้นแล้วในเวลารุ่งอรุณ ไม่เป็นอาบัติ. แต่ถ้าตื่นแล้วหลับซ้ำอีกเป็นอาบัติ. ส่วนภิกษุรูปใดกําหนดไว้ทีเดียวว่า เมื่อรุ่งอรุณแล้วจักลุกขึ้น ไม่ได้ปิดประตูจําวัดตลอดคืน แต่ลุกขึ้นทันตามกําหนดนั่นเอง, ภิกษุรูปนั้น เป็นอาบัติทีเดียว. ส่วนในอรรถกถามหาปัจจรีท่านกล่าวไว้ว่า เมื่อจําวัดด้วยอาการอย่างนั้น ไม่พ้นจากทุกกฏเพราะไม่เอื้อเฟื้อ.

ส่วนภิกษุใด รักษา (พยาบาล) ภิกษุอาพาธเป็นต้น หลายราตรีทีเดียว หรือเดินทางไกล มีร่างกายอิดโรยทั้งวัน นั่งบนเตียงแล้ว พอยกเท้ายังไม่พ้นจากพื้นดินเลย ก็จําวัดหลับ เพราะอํานาจความหลับ (ครอบงํา) ,ภิกษุนั้นไม่เป็นอาบัติ. ถ้าเธอก้าวลงสู่ความหลับทั้งไม่รู้สึกตัว พอยกเท้าขึ้นเตียง ก็เป็นอาบัติทีเดียว. เมื่อนั่งพิงหลับไปไม่เป็นอาบัติ. อีกอย่างหนึ่งภิกษุรูปใด เดินจงกรมด้วยตั้งใจว่า จักบรรเทาความง่วง แล้วล้มลง รีบลุกขึ้นทันที, แม้ภิกษุรูปนั้นก็ไม่เป็นอาบัติ. ส่วนภิกษุรูปใด ล้มลงแล้ว นอนอยู่ในสถานที่นั้นนั่นเองไม่ยอมลุกขึ้น, ภิกษุรูปนั้น เป็นอาบัติ.

ถามว่า ใครพ้น (จากอาบัติ) ? ใครไม่พ้น?

 
  ข้อความที่ 172  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 861

แก้ว่า ในอรรถกถามหาปัจจรี ท่านกล่าวไว้ก่อนว่า ผู้ที่จําวัดโดยพับไปข้างเดียวนั่นแลย่อมพ้น, ส่วนที่ยกเท้าพ้นจากพื้นดินแล้วจําวัด จะเป็นผู้ที่ถูกยักษ์เข้าสิงก็ตาม เป็นผู้ปราศจากสัญญา (หมดสติ) ก็ตาม ย่อมไม่พ้น.ในอรรถกาถากุรุนที ท่านกล่าวไว้ว่า ผู้ที่ถูกมัดให้นอนเท่านั้น ย่อมพ้น. ส่วนในมหาอรรถกถา พระมหาปทุมเถระ กล่าวไว้ว่า ภิกษุรูปใดเดินจงกรมอยู่สลบล้มลง แล้วหลับอยู่ในสถานที่นั้นนั่นเอง, อาบัติย่อมไม่ปรากฏแก่ภิกษุรูปนั้น เพาะเธอไม่มีอํานาจ, แต่พระอาจารย์ทั้งหลายมิได้กล่าวว่า ; เพราะฉะนั้น จึงเป็นอาบัติทีเดียว. ส่วนภิกษุ ๒ รูป คือ ผู้ที่ยักษ์เข้าสิง ๑ ผู้ที่ถูกมัดให้นอน ๑ ย้อมพ้นจากอาบัติแท้แล.

[เรื่องภิกษุฝันได้เสพเมถุนธรรม]

ในเรื่องภิกษุชาวเมืองภารุกัจฉะ มีวินิจฉัยดังนี้ :-

สองบทว่า อนาปตฺติ สุปินนฺเตน ความว่า ชื่อว่าไม่เป็นอาบัติเพราะความฝันด้วยอาการอย่างนี้ เพราะไม่ใช่วิสัย เหตุดังนั้น พระอุบาลีเถระจึงได้วินิจฉัยเรื่องนี้ แม้ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้ายังไม่เคยทรงวินิจฉัยเลย โดยความถือเอาตามนัย. และแม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงสดับ (เรื่องที่ท่านพระอุบาลีเถระวินิจฉัยนั้นแล้ว) ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาลีกล่าวไว้ชอบแล้ว, อุบาลีกล่าวแก้ปัญหานี้ ดุจทํารอยเท้าไว้ในที่ไม่มีรอยเท้า ดุจแสดงรอยเท้าไว้ในอากาศ ฉะนั้น ดังนี้แล้ว จึงทรงตั้งพระเถระไว้ในเอตทัคคะว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! บรรดาภิกษุสาวกของเรา ผู้ทรงวินัยอุบาลีนี้เป็นเยี่ยม (๑)

เรื่องทั้งหลายมีเรื่องนางสุปวาสาเป็นต้น (๒) ถัดจากเรื่องภิกษุชาวเมืองภารุกัจฉะนี้ไป มีเนื้อความชัดเจนแล้วทีเดียว.


(๑) องฺ. เอก. ๒๐/๓๒.

(๒) บาลีเดิมเป็น สุปัพพา.

 
  ข้อความที่ 173  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ธ.ค. 2564

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 862

ในเรื่องทั้งหลายมีเรื่องชักนําให้ภิกษุขืนเสพเมถุนธรรมในนางภิกษุณี เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ :-

เจ้าลิจฉวีกุมารเหล่านั้น เป็นผู้ทรงขวนขวายในการเล่น ได้ทําอย่างนั้นเพราะอนาจารของตน. ตั้งแต่กาลนั้นมา ความพินาศจึงได้เกิดมีขึ้นแก่เจ้าลิจฉวีทั้งหลาย เพราะทรงทําเหตุอย่างนั้น.

ในเรื่องภิกษุผู้บวชเมื่อแก่ มีวินิจฉัยดังนี้ :-

สองบทว่า ทสฺสนํ อคมาสิ ความว่า ภิกษุผู้เฒ่านั้นคิดว่า จักเยี่ยมภรรยาเก่านั้น จึงได้ไปยังเรือน เพราะความอนุเคราะห์. ขณะนั้น นางได้ชี้แจงถึงข้อที่ตนและพวกเด็กๆ ไม่มีที่พึ่ง ให้ท่านฟังโดยประการต่างๆ และทราบว่าภิกษุเฒ่านั้นไม่มีความไยดี จึงโกรธแล้วพูดว่า ท่านจงมาสึกเสียเถิดจึงได้จับท่านโดยพลการ. ท่านผู้เฒ่าได้ถอยกลับไปเพื่อเปลื้องตน จึงได้ล้มหงายลง เพราะความชราทุพลภาพ. ขณะนั้น นางได้ทําตามใจของตนแล้ว.แต่ภิกษุรูปนั้นเป็นพระอนาคามี ตัดกามราคะได้เด็ดขาดแล้ว; เพราะฉะนั้นท่านจึงไม่ยินดี ฉะนี้แล.

เรื่องลูกเนื้อ มีเนื้อความชัดเจนแล้วทีเดียว ฉะนี้แล.

ปฐมปาราชิกวรรณนา แห่งวินัยสังวรรณนา

ชื่อสมันตปาสาทิกาจบ.

ในข้อที่อรรถกถาชื่อสมันตปาสาทิกาในวินัยนั้น ชวนให้เกิดความเลื่อมใสรอบด้าน มีคําอธิบายดังจะกล่าวต่อไปดังนี้ว่า

 
  ข้อความที่ 174  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ก.พ. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 863

    เมื่อวิญญูชนทั้งหลาย สอดส่องอยู่โดยลําดับแห่งอาจารย์ โดยการแสดงประเภทแห่งนิทานและวัตถุ โดยความเว้นลัทธิอื่น โดยความหมดจดแห่งลัทธิของตน โดยการชําระพยัญชนะให้เรียบร้อย โดยเนื้อความเฉพาะบท โดยลําดับแห่งบาลีและโยชนาแห่งบาลี โดยการวินิจฉัยสิกขาบทและโดยการชี้ความต่างแห่งวินัยในวิภังค์ คําน้อยหนึ่งซึ่งไม่ชวนให้เกิดความเลื่อมใสย่อมไม่ปรากฏในสมันตปาสาทิกานี้ เพราะเหตุนั้น สังวรรณนาแห่งวินัยที่พระโลกนาถผู้อนุเคราะห์โลก ฉลาดในการฝึกเวไนยได้ตรัสไว้นี้ จึงเป็นไปโดยชื่อว่า สมันตปาสาทิกา แล