ทำไมจึงเป็นคนอาภัพ.

 
พุทธรักษา
วันที่  29 มิ.ย. 2550
หมายเลข  4150
อ่าน  3,103

จากหนังสือ "นานาปัญหา"

โดย "คณะสหายธรรม"

ถาม คนอาภัพ เกิดจากสาเหตุอะไร

ตอบ คำว่า "คนอาภัพ" ในทางโลกกับทางธรรมไม่เหมือนกัน คนอาภัพทางโลก คือ คนที่อยากได้อะไรหรืออยากเป็นอะไร แล้วไม่สมหวัง คนอาภัพทางธรรม หมายถึง คนที่ไม่อาจบรรลุมรรคผลในชาตินี้ ท่านเรียกว่า "อภัพพบุคคล"
ได้แก่ คน ๔ ประเภท คือ
๑. คนที่เกิดด้วยอุเบกขาสันตีรณะอเหตุกกุศลวิบาก (คนบ้า ใบ้ ปัญญาอ่อนมาแต่กำเนิด)

๒. คนที่ทำกรรมหนัก (อนันตริยกรรม)

๓. เป็นมิจฉาทิฏฐิ

๔. แม้เกิดมาด้วยไตรเหตุ แต่ไม่มีศรัทธาประพฤติตามอริยมรรค หรือเป็นผู้เกียจคร้านในการเจริญกุศล ฯ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 30 มิ.ย. 2550

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1072

[๒๘๒] อภัพพสัตว์เป็นไฉน

สัตว์ทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องกั้น คือ กรรม กิเลส วิบาก เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีฉันทะ มีปัญญาทราม ไม่อาจย่างเข้าสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย เหล่านี้เป็นอภัพพสัตว์

พึงทราบวินิจฉัยในภัพพาภัพพนิทเทส ดังต่อไปนี้. พระสารีบุตรเถระเพื่อแสดงสิ่งที่ควรทั้งก่อนแล้วแสดงสิ่งที่ควรถือเอาในภายหลังจึงแสดงอภัพพสัตว์ก่อน นอกลำดับแห่งอุทเทส แต่ในอุทเทส ท่านประกอบ ภัพพศัพท์ก่อน ด้วยสามารถลักษณะนิบาตเบื้องต้นแห่งบทที่น่านับถือและบทมีอักขระอ่อนในทวันทวสมาส.

[๒๘๒ - ๒๘๓] บทว่า กมฺมาวรเณน ด้วยธรรมเป็นเครื่องกั้นคือ กรรม ได้แก่ อนันตริยกรรม ๕ อย่าง

ชื่อว่า สุมนฺนาคตา ประกอบแล้ว คือ มีความพร้อมแล้ว

บทว่า กิเลสาวรเณน ด้วยธรรมอันเป็นเครื่องกั้นคือ กิเลส ได้แก่ นิยตมิจฉาทิฏฐิ. ทั้งสองบทนี้ ชื่อว่า อาวรณะ เพราะกั้นสวรรค์และมรรค แม้กรรมมีการประทุษร้ายภิกษุณีเป็นต้น ท่านก็สงเคราะห์ด้วยธรรมเป็นเครื่องกั้นคือ กรรมนั่นแหละ

บทว่า วิปากาวรเณน ด้วยธรรมเป็นเครื่องกั้น คือ วิบาก ได้แก่ อเหตุกปฏิสนธิ. เพราะการแทงตลอดอริยมรรค ย่อมไม่มีแม้แก่ทุเหตุกะ

ฉะนั้น พึงทราบว่า แม้ปฏิสนธิเป็นทุเหตุกะ ก็เป็นธรรม เครื่องกั้น คือ วิบากนั่นแหละ

บทว่า อสฺสทฺธา เป็นผู้ไม่มีศรัทธา คือ ไม่มีศรัทธาในพระพุทธเจ้าเป็นต้น

บทว่า อจฺฉนฺทิกา - ไม่มีฉันทะ คือ ไม่มีฉันทะในกุศล คือความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำ พวกมนุษย์แคว้นอุตตรกุรุเข้าไปสู่ฐานะไม่มีความพอใจ

บทว่า ทุปฺปญฺญา - มีปัญญาทราม คือ เสื่อมจากภวังคปัญญา อนึ่ง แม้เมื่อภวังคปัญญาบริบูรณ์ ภวังค์ของผู้ใด ยังไม่เป็นบาทของโลกุตระ แม้ผู้นั้นก็ยังชื่อว่าเป็นผู้ปัญญาอ่อนอยู่นั่นแหละ

บทว่า อภพฺพา นิยามํ โอกฺกมิตุ กุสเลสุ ธมฺเมสุ สมฺมตฺตํ - ไม่อาจย่างเข้าสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย คือ ไม่ย่างเข้าสู่อริยมรรค กล่าวคือ สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย เพราะอริยมรรคเป็นสภาวะโดยชอบ จึงชื่อว่า สัมมัตตะ อริยมรรคนั้นแหละเป็นสัมมัตตะในการให้ผลในลำดับ. หรือว่า ผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีฉันทะมีปัญญาทราม ไม่อาจย่าง คือ เข้าไปสู่สัมมัตตนิยามนั้น เพราะตนเองเป็นผู้ไม่หวั่นเอง

บทมีอาทิว่า น กมฺมาวรเณน พึงทราบโดยตรงกันข้ามกับบทดังกล่าวแล้วนั่นแหละ

จบ อรรถกถา อาสยานุสยญาณนิทเทส

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 30 มิ.ย. 2550

[เล่มที่ 18] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 453

พระพุทธประสงค์ที่จะทรงแสดงธรรม จึงทรงจำแนกเหล่าสัตว์ใน ๓ ภพ ทั้งหมด อีกสองคือ ภัพพบุคคลและอภัพพบุคคล. ท่านหมายเอาสัตว์เหล่าใด จึงกล่าวคำนี้ไว้ ว่าเหล่าสัตว์ผู้ประกอบด้วยการห้ามกรรมห้ามวิบาก ห้ามกิเลส ไม่มีศรัทธา ตัดไม่ขาด ไม่มีปัญญา ไม่ควรก้าวลงสู่ความชอบในกุศลธรรมแน่นอน สัตว์เหล่านี้นั้นจัดเป็นอภัพพะ เหล่าสัตว์ผู้เป็นภัพพะเหล่านั้นเป็นไฉน คือเหล่าสัตว์ผู้ไม่ประกอบด้วยการห้ามกรรมห้ามวิบาก ห้ามกิเลส ฯลฯ สัตว์เหล่านี้นั้น จัดเป็นภัพพะ ในสัตว์สองประเภทนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงละอภัพพบุคคลทั้งหมด ทรงกำหนดถือเอาด้วยพระญาณ เฉพาะภัพพบุคคลเท่านั้น ทรงจำแนกออกเป็น ๖ ส่วน คือ เหล่านี้มีราคจริต โทสจริต โมหจริต วิตกจริต ศรัทธาจริต และพุทธิจริต ครั้นจำแนกอย่างนี้แล้ว ก็ทรงพระดำริจักทรงแสดงธรรมโปรด

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 30 มิ.ย. 2550

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
pamali
วันที่ 29 ก.ค. 2553

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
dhammanath
วันที่ 12 ม.ค. 2554

ขออนุโมทนาและขอบคุณทุกท่าน

ใคร่ถามเพิ่มเติมว่า คำว่า "ภวังคปัญญา" นั้น คือปัญญาชนิดไหน จะสั่งสมได้อย่างไร

ขอขอบคุณอีกครั้ง

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
prachern.s
วันที่ 20 ม.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ ๕

ในอรรถกถาท่านอธิบายว่า ภวังคปัญญาที่บาทของโลกุตตระ ยังไม่พบคำอธิบายมากกว่านี้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 14 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 19 ธ.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ