ทุกข์

 
สุทัศน์
วันที่  26 มิ.ย. 2550
หมายเลข  4115
อ่าน  1,144

ได้พยายามทำความเข้าใจเรื่องทุกข์และทางดับทุกข์ ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วไม่แน่ใจว่าเข้าใจถูกต้องหรือเปล่า เช่น เกิดเป็นทุกข์เพราะเป็นหนี้เขา ตราบใดก็ตามที่เรายังใช้หนี้เขายังไม่หมด เราก็ยังไม่หมดทุกข์ แต่ในทางศาสนาถือว่าทุกข์นี้เกิดเพราะเรามีกิเลสคือโลภ มีไม่พอ ต้องกู้หนี้เขามา ทางดับทุกข์คือมรรค ๘ ต้องมีสัมมาอาชีวะ เพื่อจะได้มีรายได้มาใช้หนี้เขา


Tag  ทุกข์  
  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 27 มิ.ย. 2550

ควรทราบคำว่า ทุกข์ ตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าว่ามีความหมายหลายนัยเช่น ทุกขเวทนา ทุกขกาย ทุกข์ใจ ทุกขทุกข์ ทุกขลักษณะ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ขอเชิญอ่านรายละเอียดเรื่องทุกข์ต่อที่นี่ครับ

การกำหนดรู้ทุกข์

ทุกข์อริยสัจ กับ ทุกข์ในไตรลักษณ์

ทุกข์ คือ. ..

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 27 มิ.ย. 2550

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 316

จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่าทุกข์นี้มีประการต่างๆ เป็นอเนก คือ

ทุกขทุกข์ (ทุกข์เพราะทนได้ยาก)

วิปริณามทุกข์ (ทุกข์เพราะเปลี่ยนแปลง)

สังขารทุกข์ (ทุกข์ของสังขาร)

ปฏิจฉันนทุกข์ (ทุกข์ปกปิด)

อัปปฏิจฉันนทุกข์ (ทุกข์เปิดเผย)

ปริยายทุกข์ (ทุกข์โดยอ้อม)

นิปปริยายทุกข์ (ทุกข์โดยตรง) .

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 27 มิ.ย. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

การทำความเข้าใจเรื่องทุกข์ ไม่ใช่เพียงขั้นการคิดว่า ชีวิตนี้ทุกข์ เกิดแล้วก็ตาย ต้องเจ็บปวด หรืออะไรต่างๆ ที่เป็นเรื่องราวในชีวิตประจำวัน แต่การพิจารณาทุกข์นั้น ด้วยปัญญาอีกระดับหนึ่ง ที่เห็นความเป็นทุกข์ เพราะสภาพธัมมะที่เกิดขึ้น และดับไปจึงเป็นทุกข์ ขณะนี้มีทุกข์ไหม ถ้าสบายดี ไม่มีเรื่องวุ่นวายใจก็อาจบอกว่า ไม่ทุกข์อะไร แต่จริงๆ แล้วเป็นทุกข์อยู่ทุกขณะ เพราะสภาพธัมมะทั้งหลายเกิดขึ้นและดับไปจึงเป็นทุกข์ เช่น เห็นเป็นธรรม เห็นไม่เที่ยงเกิดขึ้น และดับไปจึงเป็นทุกข์ แต่เราก็ยังเห็นเหมือนเดิม ไม่เห็นดับไปตรงไหน เพราะอะไร เพราะปัญญาที่จะรู้ทุกข์นั้น ไม่ใช่ขั้นการคิด แต่ต้องเป็นขั้นประจักษ์สภาพธัมมะที่เกิดขึ้นและดับไปในขณะนี้ (ระดับวิปัสสนาญาณ)

ดังนั้น การรู้ทุกข์ที่ถูกต้อง ไม่ใช่ขั้นการคิดเป็นเรื่องราว แต่ประจักษ์สภาพธัมมะที่เกิดขึ้นและดับไป จึงชื่อว่า รู้จักทุกข์ตามความเป็นจริงจึงจะดับกิเลสได้ครับ

เรื่อง ธรรมไม่ใช่รู้ได้ด้วยการตรึก (คิดนึก)

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 419

ข้อความบางตอนจาก ปาสราสิสูตร

ทรงระลึกถึงธรรม

[๓๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้มีความดำริว่า ธรรมที่เราได้บรรลุนี้ลึก เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก เป็นธรรมสงบ ประณีต หยั่งไม่ได้ด้วยความตรึก ละเอียด รู้ได้แต่บัณฑิต

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 27 มิ.ย. 2550

ทันทีที่เกิดมาก็ทุกข์แล้ว ทุกข์คือ สภาพธรรมที่เปลี่ยนแปลง ไม่เที่ยง ความสุขก็ไม่เที่ยงจึงเป็นทุกข์ ทุกข์มีมากมาย ทุกข์ที่ปกปิด เช่น ปวดฟัน ไม่พูดออกมา คนอื่นก็ไม่รู้ ทุกข์ที่เปิดเผย เช่น คนที่ประสบอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บ ทุกข์ในไตรลักษณ์ คือ สภาพธรรมที่เกิดดับทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่เที่ยงจึงเป็นทุกข์ หนทางเดียวที่จะดับทุกข์ คือ อบรมเจริญมรรคมีองค์แปดค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 27 มิ.ย. 2550
เชิญคลิกอ่านได้ที่ ... ทุกข์ [วิภังค์]
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ajarnkruo
วันที่ 27 มิ.ย. 2550

ต่อให้ไม่มีหนี้ หมดหนี้ หรือเกิดมาร่ำรวยล้นฟ้า อยู่กินบนกองเงินกองทอง แต่นายช่างสร้างเรือน คือ โลภะ ก็ยังคงมีกันทุกคนครับ ขึ้นอยู่กับว่า โลภะที่เกิดกับจิตของผู้ใดจะสะสมมามากเท่าไร และจะสะสมต่อไปอีกนับเท่าไร ---ฟังธรรมและศึกษาพระสัทธรรม เจริญสติ ให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ละความเห็นผิดบางประเภทก่อน ดีที่สุดครับ

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 27 ธ.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ