เด็กไทยยุคใหม่ ไม่รู้จักศีล 5

 
oom
วันที่  27 มิ.ย. 2550
หมายเลข  4119
อ่าน  3,701

เด็กไทยยุคใหม่ไม่รู้ว่าศีล ๕ มีอะไรบ้าง น่าเป็นห่วงจริงๆ


Tag  ศีล 5  
  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 27 มิ.ย. 2550

ในยุคปัจจุบันเด็กบางคนไม่รู้ว่าศีลห้า มีอะไรบ้าง แต่เด็กบางคนก็รู้ว่าศีลห้าว่ามีอะไรบ้าง และรู้ปรมัตถธรรมตามสมควร เพราะได้ศึกษาพระสัทธรรมของพระอรหันตสัมมาสัมพระพุทธเจ้า ฉะนั้น ในปัจจุบันนี้ก็ยังดีว่ามีผู้ศึกษาพระสัทธรรมอยู่ แต่ในอนาคตข้างหน้า ทั้งเด็กและผู้ใหญ่จะไม่มีใครรู้จักศีลห้า และไม่มีใครรู้พระไตรปิฎกเลย เพราะไม่มีใครสนใจศึกษา เพราะให้ความสำคัญกับสิ่งอื่นที่เป็นวัตถุกาม ที่พระอริยกล่าวว่าเป็นของต่ำทราม มีโทษมาก ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่น่ายินดี แต่ปุถุชนมีกิเลสหนาหลงติดอยู่ และพึงทราบความเป็นไปของโลกที่มียุคเสื่อม ยุคเจริญหมุนเวียนเปลี่ยนไปอยู่อย่างนี้ การเป็นห่วงบุคคลอื่นไม่มีประโยชน์อะไร เพราะเขาจะต้องเป็นอย่างนั้นเป็นธรรมดาและทุกขณะเป็นเพียงธรรมะอย่างหนึ่งเท่านั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 27 มิ.ย. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

คำว่ารู้จักศีล ๕ คืออะไร รู้โดยชื่อ ว่ามี ... ๕ ข้อ ท่องได้หมด ชื่อว่ารู้จักศีล ๕ หรือเปล่าครับ บางคนท่องภาษาบาลีไม่ได้ แต่เห็นโทษของการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ... สุราเมรัย อันเนื่องมาจากการศึกษาธรรม อย่างนี้ชื่อว่ารู้จักศีล ๕ หรือเปล่า ดังนั้น การรู้จักศีล ๕ ไม่ใช่โดยชื่อ แต่เป็นการเห็นโทษของการล่วงศีล ๕ ว่านำมาซึ่งทุกข์และเบียดเบียนผู้อื่น จึงงดเว้นที่จะไม่ล่วงศีล ๕ นี่คือผู้รู้จักศีล ๕ ต่างกับบุคคลที่รู้ว่าศีล ๕ มีอะไรบ้างแต่ไม่เห็นโทษของการล่วงศีลเลย เพราะไม่ได้เข้าใจพระธรรมที่ถูกต้องนั่นเองครับ ดังนั้น การจะรู้จักอะไรก็ต้องเป็นเรื่องของปัญญา เพราะพุทธแปลว่าผู้รู้

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 27 มิ.ย. 2550

ศีลธรรมและศาสนาก็ค่อยๆ เสื่อมไปตามกาลเวลาค่ะ

ผู้ใหญ่หรือผู้ปกครองเด็ก ก็สามารถแนะนำให้เด็กรู้จักศีล ๕ มีอะไรบ้าง สอนให้รู้จักบาป บุญคุณโทษ ก็อาจจะมีส่วนช่วยให้เด็กมีหิริ คือความละอายต่อบาป

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ajarnkruo
วันที่ 27 มิ.ย. 2550

ที่จริงผมก็เป็นครูครับ ก็มีโอกาสได้พูดคุยกับเด็กอยู่บ่อยๆ ถ้าไปถามจริงๆ เกี่ยวกับศีลห้า ก็อาจจะตอบได้บ้าง ไม่ได้บ้าง แต่เด็กส่วนใหญ่ก็ยังพอจะแยกแยะได้ครับ ว่าสิ่งไหนควร สิ่งไหนไม่ควร แล้วสิ่งที่ควรนั้น ควรเพราะอะไร หรือไม่ควรเพราะอะไร แม้ว่าบางทีอาจจะตอบไม่ได้ หรือไม่สามารถให้เหตุผลที่ถูกต้องได้ ก็ตาม มีครั้งหนึ่งผมเคยถามเด็กว่า

ผม : "นักเรียน เคยโกรธใครบ้างไหมครับ"

เด็ก : "เคยครับ / ค่ะ"

ผม : "แล้วเคยหยุดตนเองขณะที่โกรธได้บ้างไหม"

เด็ก : "ไม่ได้ครับ/ค่ะ"

ผม : แล้วมันดับไปเองหรือเปล่า หรือเราไปทำให้มันยังมีอยู่นานเป็นวันๆ

เด็ก : ดับไปเองครับ/ค่ะ

ผม : แล้วมันจะเกิดไปโกรธคนนั้นหรือคนอื่นอีกได้ไหม

เด็ก : ได้อีกครับ / ค่ะ

ถึงแม้ผมจะไม่บอกเด็กว่า สิ่งที่ผมกำลังคุยด้วยเป็นการกล่าวถึง สภาพธรรมอย่างหนึ่งที่มีเหตุปัจจัยก็เกิดและดับไป แต่เค้าก็รับรู้ได้ถึงสภาพธรรมฝ่ายอกุศล ที่มีกำลังมากเกินกว่าที่เขาจะหยุดได้ด้วยความเป็นตัวตน เหตุนี้ การที่เราจะตัดสินอะไรสักอย่างหนึ่ง จนเกิดความเป็นห่วงในบุคคลอื่น ก่อให้เกิดความรู้สึกที่ไม่สบายใจนั้นด้วยสภาพธรรมอะไร ลองพิจารณาให้ดีสิครับ โดยปรมัตถสัจจะนั้น ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ไม่มีตัวตน มีเพียงสภาพธรรมที่เกิดและดับ โดยอนันตรปัจจัยและสมนันตรปัจจัย ฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ถ้าไม่เคยน้อมจิตเข้ามาฟังพระสัทธรรม และไม่เคยเจริญสติปัฎฐานเลย ไม่เคยระลึกถึง สภาพที่ไม่พอใจ ไม่สบายใจ หรือกังวลใจนั้น ว่าเป็นเพียงสภาพธรรมที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และก็ดับไป ทั้งสองวัยนั้นต่างก็ยังคงเป็น ผู้ที่มีความไม่รู้ในสภาพธรรมมากมายเหลือเกิน ขอพึงระวังจิตตนเองครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แวะเข้ามา
วันที่ 27 มิ.ย. 2550
แม้แต่ผู้ใหญ่บางคนในยุคนี้ ก็ยังไม่รู้ว่าศีล ๕ คืออะไร แล้วใครจะไปสอนเด็ก?
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 27 มิ.ย. 2550

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
oom
วันที่ 28 มิ.ย. 2550

ที่จริงน่าจะมีวิธีแก้ไข ป้องกันในเมื่อเด็กไม่รู้ก็น่าจะให้ความรู้ได้ เช่น ในโรงเรียนควรมีการสอนในเรื่องนี้ เพราะศีล ๕ เป็นเหมือนกฎหมายควบคุมพฤติกรรมของคน ไม่ให้ทำความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น ให้การอยู่ร่วมกันในสังคมเป็นปกติสุข ไม่ได้คาดหวังว่าทุกคนจะต้องปฏิบัติได้หมด แต่ถ้ารู้จะได้เข้าใจและไม่ทำผิดเหมือนสังคมในปัจจุบัน นับวันยิ่งเลวร้ายขึ้น การปล่อยไปตามยุคสมัยว่าถึงเวลาเสื่อมก็ให้เสื่อมไป ไม่น่าจะคิดแบบนั้น คิดว่าเราน่าจะช่วยกันป้องกันให้เสื่อมช้าลง

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
kchat
วันที่ 28 มิ.ย. 2550

ไม่มีใครปล่อยให้เสื่อม ทุกอย่างเป็นไปตามเหตุปัจจัย ตราบใดที่ยังเป็นปุถุชนก็ยังล่วงศีลได้ คนที่รู้จักศีล ก็ยังล่วงศีลได้นะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
wannee.s
วันที่ 28 มิ.ย. 2550

ศีล คือ ความเป็นปกติ ขณะที่มีการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ จากการลักทรัพย์ จากการพูดเท็จ จากการดื่มสุรา ขณะนั้นก็เป็นศีล (แต่ไม่รู้จักชื่อว่านี้เป็นศีล) แต่พอได้ศึกษาแล้ว จึงรู้ว่าเป็นศีล เป็นปกติทางกาย ทางวาจา และรู้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ผู้ที่จะรักษาศีล ๕ ได้โดยไม่ล่วงอย่างเด็ดขาดเลยนั้น คือ พระโสดาบันค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
พุทธรักษา
วันที่ 28 มิ.ย. 2550

เราต้องรู้จักก่อน ถึงจะสอนคนอื่นได้ การปฏิบัติให้เห็นเป็นแบบอย่างดีที่สุด ถ้ามีโอกาสอธิบาย (บุคคลนั้นสนใจฟัง) อธิบายเรื่อง เหตุ ผลได้แค่ไหนก็แค่นั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ajarnkruo
วันที่ 28 มิ.ย. 2550

พระธรรม ไม่ใช่สิ่งที่คนยุคนี้สมัยนี้ที่หลงไหลไปในวัตถุกาม จะพึงสำเหนียก และอดทนฟังกันได้ทุกคน ขอเล่าสักอีกนิดนะครับว่า ผมทำงานในโรงเรียนคริสต์แห่งหนึ่ง เคยพูดถึงธรรมะกับเด็กบ้างในบางโอกาส โดยไม่ได้เอ่ยถึงว่าสิ่งที่พูดเป็นหลักธรรมในพระพุทธศาสนา แต่ก็เน้นเรื่องชีวิตประจำวันเป็นหลัก ในตอนแรกก็คิดอยากช่วยให้ผู้อื่นได้รู้ เหมือนที่ตนรู้ จนเกิดความหวังว่ามันเป็นสิ่งที่ดี ที่ใครๆ ก็ได้โดยเฉพาะเด็กๆ จะได้รู้ความจริง แต่สุดท้ายก็ไม่ได้รับความสนใจมากนัก ไม่เป็นไปตามที่หวัง เกิดทุกข์ใจเพราะโลภะที่พอใจในกุศล มันพาไปให้เหนื่อยจริงๆ ครับ ความหวังที่เล่ามานี้ ก็เป็นสภาพธรรมที่เป็นอกุศลอย่างหนึ่ง แม้จะเข้าใจว่า เหมือนเกิดกับตนน้อยนิดก็ตาม การที่บอกว่าไม่ได้คาดหวังมากมาย แต่ให้สักนิดก็ยังดี ใช่ความหวังหรือไม่ครับ

อีกความเห็นหนึ่งนะครับ อุปนิสยปัจจัยที่เกิดสั่งสมของบุคคลไม่เหมือนกัน เป็นเหตุให้อัธยาศัยต่างกันโดยสิ้นเชิง การที่จะอาศัยพระธรรมเป็นที่พึ่งนั้น ก็ต้องเป็นเหตุปัจจัยที่สั่งสมมาในอดีต ที่จะเห็นประโยชน์ และคุณค่าของพระธรรมจริงๆ ถ้าเกิดความหวังให้บุคคลพึงกระทำอย่างนั้น อย่างนี้ เพราะเห็นว่าดี ควรกระทำ ทำไมไม่เริ่มทำ ทำไมวางเฉยกันเสียเหลือเกิน เดี๋ยวสังคมก็ย่ำแย่ลงไปอีกขณะนั้นเป็นตัวตนหรือไม่ครับ ที่จะไปจัดการโลกให้เป็นไปตามที่ต้องการทุกอย่าง

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
พุทธรักษา
วันที่ 29 มิ.ย. 2550

เท่าที่อ่าน คุณก็เข้าใจเองแล้วว่า เมื่อมีความหวัง ก็ต้องผิดหวัง ความปรารถนาดี (เมตตา) ที่แท้จริง ไม่มีผลเป็นทุกข์ ไม่เหนื่อย แต่ก็เป็นธรรมดาที่ปุถุชนอย่างเราๆ ยังชอบหวังกันอยู่ "การที่จะอาศัยพระธรรมเป็นที่พึ่งนั้น ก็ต้องเป็นเหตุปัจจัยที่สั่งสมมาในอดีต" ดังนั้นการเผยแพร่พระธรรมต้องพิจารนาเรื่องกาละ เทศะ เป็นต้น ไม่ใช่ "วางเฉย"

ลองพิจารนาเรื่องการสั่งสอนสาวกของพระพุทธเจ้า รวมทั้งการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในยุคหลังๆ ถ้าเครื่องรับไม่เปิด เครื่องส่งกำลังแรงแค่ไหน. ก็ไม่มีทางรับข้อมูลได้ เช่น การเผยแพร่พระธรรมทางวิทยุ ถ้าไม่เปิดวิทยุ จะได้ฟังไหม หรือถ้าได้ยินแล้วไม่ฟัง ไม่สนใจจะติดตามฟัง จนเกิดประโยชน์แก่ตนไหม ธรรมะทางวิทยุ เปรียบเสมือนนำทรัพย์อันมีค่า มากองไว้หน้าประตู สุดแล้วแต่เจ้าของบ้านจะเปิดประตูรับหรือไม่ ฉันใดก็ฉันนั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
ปลายฟ้า
วันที่ 7 ก.ค. 2550

อ่านแล้ว รู้ได้ว่า ไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนในโลกนี้ สุขได้ ดีได้ ถ้าทำใจให้รู้จักรับและปฏิเสธเป็น

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 27 ธ.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ