พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ปรมัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๕ ว่าด้วยผู้ยึดถืออยู่ในทิฏฐิ

  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 564

ปรมัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๕

[๑๔๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

ชันตุชนยึดถืออยู่ทิฏฐิทั้งหลายว่า สิ่งนี้ยอดเยี่ยม ย่อมทำสิ่งใดให้ยิ่งในโลก ชันตุชนนั้นกล่าวสิ่งทั้งปวงนั้น จากสิ่งนั้นว่าเลว เพราะฉะนั้น ชันตุชนนั้นย่อมเป็นผู้ไม่ ล่วงเลยวิวาททั้งหลาย.

ว่าด้วยผู้ยึดถืออยู่ในทิฏฐิ

[๑๔๗] คำว่า ยึดถืออยู่ในทิฏฐิทั้งหลายว่าสิ่งนี้ยอดเยี่ยม มีความว่า มีสมณพราหมณ์บางพวกเป็นเจ้าทิฏฐิ สมณพราหมณ์เหล่านั้น รับ รับเอา ถือเอา ยึดมั่น ถือมั่นทิฏฐิ ๖๒ อย่างใดอย่างหนึ่งว่า สิ่งนี้ ยอดเยี่ยม เลิศ ประเสริฐ วิเศษเป็นใหญ่ สูงสุด บวร ย่อมอยู่ อยู่ร่วม อยู่อาศัย อยู่รอบ ด้วยทิฏฐิของตนๆ เหมือนพวกผู้อยู่ครองเรือนทั้งหลาย อยู่ในเรือน หรือพวกบรรพชิตผู้มีอาบัติอยู่ในกองอาบัติ หรือพวกผู้มี กิเลสอยู่ในกองกิเลสฉะนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ยึดถืออยู่ในทิฏฐิ ทั้งหลายว่าสิ่งนี้ยอดเยี่ยม.

[๑๔๘] คำว่า ชันตุชนย่อมทำสิ่งใดให้ยิ่งในโลก มีความว่า คำว่า ยทํ แปลว่า ใดคำว่า ย่อมทำให้ยิ่ง มีความว่า ชันตุชนย่อม ทำสิ่งใดให้ยิ่ง ให้เลิศ ประเสริฐ วิเศษ เป็นใหญ่ สูงสุด บวร คือย่อม ให้บังเกิด บังเกิดเฉพาะว่า พระศาสดานี้เป็นพระสัพพัญญู พระธรรมนี้

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 565

อันพระศาสดาตรัสดีแล้ว คณะสงฆ์นี้ปฏิบัติดีแล้ว ทิฏฐินี้เจริญ ปฏิปทานี้ พระศาสดาบัญญัติดีแล้วมรรคนี้ให้พ้นทุกข์ได้. คำว่า ชันตุชน ได้แก่ สัตว์ นรชน ฯลฯ มนุษย์ คำว่า ในโลก ได้แก่ อบายโลก ฯลฯ อายตนโลก. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ชันตุชนย่อมทำสิ่งใดให้ยิ่งในโลก.

[๑๔๙] คำว่า ชันตุชนนั้นกล่าวสิ่งทั้งปวงอื่นจากสิ่งนั้นว่า เลว มีความว่า ชันตุชนย่อมคัดค้าน โต้แย้ง ปฏิเสธ ซึ่งลัทธิอื่นทั้งปวง เว้นศาสดา ธรรมที่ศาสดาบอก คณะสงฆ์ ทิฏฐิปฏิปทา มรรค ของตน คือกล่าว บอก พูด แสดง แถลง อย่างนี้ว่า ศาสนานั้นไม่ใช่สัพพัญญู ธรรมไม่เป็นธรรมอันศาสดากล่าวดีแล้ว หมู่คณะไม่เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ทิฏฐิไม่เป็นทิฏฐิอันเจริญ ปฏิปทาไม่เป็นปฏิปทาอันศาสดาบัญญัติดีแล้ว มรรคไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ ความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ หรือความพ้นรอบ มิได้มีใน ลัทธินั้น พวกถือลัทธินั้น ย่อมไม่หมดจด ไม่หมดจดวิเศษ ไม่หมดจดรอบ ไม่พ้น ไม่พ้นวิเศษ หรือไม่พ้นรอบในลัทธินั้น พวกถือลัทธินั้นย่อม เป็นผู้เลว เลวทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชันตุชนนั้นกล่าวสิ่งทั้งปวงอื่นจากสิ่งนั้นว่าเลว.

[๑๕๐] คำว่า เพราะฉะนั้น ชันตุชนนั้นย่อมเป็นผู้ไม่ล่วง เลยวิวาททั้งหลาย มีความว่า เพราะฉะนั้น เพราะการณ์นั้น เพราะ เหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะนิทานนั้น ชันตุชนนั้นย่อมเป็นผู้ไม่ล่วง เลยไม่ก้าวล่วง ไม่ก้าวล่วงพร้อม ซึ่งความทะเลาะเพราะทิฏฐิ บาดหมาง แก่งแย่ง วิวาท มุ่งร้ายกันเพราะทิฏฐิ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ชันตุชน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 566

นั้นย่อมเป็นผู้ไม่ล่วงเลยวิวาททั้งหลาย. เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

ชันตุชนยึดถืออยู่ในทิฏฐิทั้งหลายว่า สิ่งนี้ยอดเยี่ยม ย่อมทำสิ่งใดให้ยิ่งในโลก ชันตุชนนั้นกล่าวสิ่งทั้งปวงอื่น จากสิ่งนั้น ว่าเลว เพราะฉะนั้น ชันตุชนนั้นย่อมเป็นผู้ไม่ ล่วงเลยวิวาททั้งหลาย.

[๑๕๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

นรชนย่อมเห็นอานิสงส์ใดในทิฏฐิของตนก็ดี ใน อารมณ์ที่เห็นก็ดี ในอารมณ์ที่ได้ยินก็ดี ในศีลและวัตรก็ ดี ในอารมณ์ที่ทราบก็ดี นรชนนั้นถือมั่นซึ่งทิฏฐินั้นนั่น แหละในลัทธิของตนนั้น ย่อมเห็นสิ่งอื่นทั้งปวงโดยความ เป็นของเลว.

ว่าด้วยอานิสงส์ในทิฏฐิ

[๑๕๒] คำว่า นรชนย่อมเห็นอานิสงส์ใดในทิฏฐิของตนก็ ดี ในอารมณ์ที่เห็นก็ดี ในอารมณ์ที่ได้ยินก็ดี ในศีลและวัตรก็ดี ในอารมณ์ที่ทราบก็ดี มีความว่าศัพท์ว่า ยทตฺตนิ ตัดบทเป็น ยํ อตฺตนิ ทิฏฐิเรียกว่า ตน นรชนย่อมเห็นอานิสงส์ ๒ ประการ ใน ทิฏฐิของตน คือ อานิสงส์ในชาตินี้ ๑ อานิสงส์ในชาติหน้า ๑.

อานิสงส์ในทิฏฐิมีในชาตินี้ เป็นไฉน? ศาสดาเป็นผู้มีทิฏฐิอย่างใด พวกสาวกก็เป็นผู้มีทิฏฐิอย่างนั้น พวกสาวกย่อมสักการะ เคารพ นับถือ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 567

บูชา ยำเกรง ซึ่งศาสดาผู้มีทิฏฐิอย่างนั้น และย่อมได้ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่มีการสักการะเป็นต้นนั้นเป็นเหตุ นี้ชื่อว่า อานิสงส์ในทิฏฐิมีในชาตินี้.

อานิสงส์ในทิฏฐิมีในชาติหน้า เป็นไฉน? นรชนย่อมหวังผลใน อนาคตว่า ทิฏฐินี้ควรเพื่อความเป็นนาค เป็นครุฑ เป็นยักษ์ เป็นอสูร เป็นคนธรรพ์ เป็นมหาราช เป็นพระอินทร์ เป็นพรหม หรือเป็นเทวดา ทิฏฐินี้เหมาะสมเพื่อความหมดจด หมดจดวิเศษ หมดจดรอบ พ้น พ้นวิเศษ พ้นรอบ สัตว์ทั้งหลายย่อมหมดจด หมดจดวิเศษ หมดจดรอบ พ้น พ้นวิเศษ พ้นรอบ ด้วยทิฏฐินี้ เราจักหมดจด หมดจดวิเศษหมด จดรอบ พ้น พ้นวิเศษ พ้นรอบ ด้วยทิฏฐินี้ ดังนี้ นี้ชื่อว่า อานิสงส์ ในทิฏฐิมีในชาติหน้า นรชนย่อมเห็นอานิสงส์ในทิฏฐิของตน ๒ ประการนี้.

นรชนย่อมเห็นอานิสงส์ ๒ ประการ แม้ในความหมดจดด้วยอารมณ์ ที่เห็น คือ อานิสงส์มีในชาตินี้ ๑ อานิสงส์มีในชาติหน้า ๑ ย่อมเห็น อานิสงส์ ๒ ประการ แม้ในความหมดจดด้วยอารมณ์ที่ได้ยิน ย่อมเห็น อานิสงส์ ๒ ประการ แม้ในความหมดจดด้วยศีล ย่อมเห็นอานิสงส์ ๒ ประการ แม้ในความหมดจดด้วยวัตร ย่อมเห็นอานิสงส์ ๒ ประการ แม้ ในความหมดจดด้วยอารมณ์ที่ทราบ คือ อานิสงส์มีในชาตินี้ ๑ อานิสงส์ มีในชาติหน้า ๑.

อานิสงส์ไม่ในความหมดจดด้วย อารมณ์ที่ทราบ มีในชาตินี้เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 568

ศาสดาเป็นผู้มีทิฏฐิอย่างใด พวกสาวกก็เป็นผู้มีทิฏฐิอย่างนั้น ฯลฯ นั้นชื่อ ว่าอานิสงส์ในความหมดจดด้วยอารมณ์ที่ทราบมีในชาตินี้.

อานิสงส์ในความหมดจดด้วยอารมณ์ที่ทราบ มีในชาติหน้า เป็น ไฉน. นรชนนั้นย่อมหวังผลในอนาคตว่า ทิฏฐินี้ควรเพื่อความเป็นนาค ฯลฯ นี้ชื่อว่าอานิสงส์ในความหมดจดด้วยอารมณ์ที่ทราบมีในชาติหน้า นรชนย่อมเห็น คือแลเห็น เหลียวเห็น เล็งเห็น พิจารณาเห็น อานิสงส์ ๒ ประการเหล่านี้คำนี้ แม้ในความหมดจดด้วยอารมณ์ที่ทราบ เพราะ ฉะนั้นจึงชื่อว่า นรชนย่อมเห็นอานิสงส์ใด ในทิฏฐิของตนก็ดี ใน อารมณ์ที่เห็นก็ดี อารมณ์ที่ได้ยินก็ดี ในศีลและวัตรก็ดี ใน อารมณ์ที่ทราบก็ดี.

[๑๕๓] คำว่า นรชนนั้นถือมั่นทิฏฐินั้นนั่นแหละในลัทธิ ของตนนั้น มีความว่า คำว่า ตเทว ได้แก่ ซึ่งทิฏฐินั้น. คำว่า ตตฺถ ได้แก่ ในทิฏฐิของตน ในความควรของตน ในความชอบใจของตน ใน ลัทธิของตน คำว่า ถือมั่น ได้แก่ ถือ ถือเอา รับเอา ยึดมั่น ถือมั่น ว่า สิ่งนี้ยอดเยี่ยม เลิศ ประเสริฐ วิเศษ เป็นใหญ่ สูงสุด บวร เพราะ ฉะนั้นจึงชื่อว่า นรชนนั้นถือมั่นทิฏฐินั้นนั่นแหละ ในลัทธิของ ตนนั้น.

[๑๕๔] คำว่า ย่อมเห็นสิ่งอื่นทั้งปวงโดยความเป็นของเลว มีความว่า นรชนนั้นย่อมเห็น คือ แลเห็น เหลียวเห็น เล็งเห็น พิจารณา เห็น ซึ่งศาสดา ธรรมที่ศาสดาบอก หมู่คณะ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคอื่น โดยความเป็นของเลว เลวทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย เพราะ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 569

ฉะนั้นจึงชื่อว่า ย่อมเห็นสิ่งอื่นทั้งปวงโดยความเป็นของเลว เพราะ เหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

นรชนย่อมเห็นอานิสงส์ใดในทิฏฐิของตนก็ดี ใน อารมณ์ที่เห็นก็ดี ในอารมณ์ที่ได้ยินก็ดี ในศีลวัตรก็ดี ในอารมณ์ที่ทราบก็ดี นรชนนั้น ถือมั่นทิฏฐินั้นนั่นแหละ ในลัทธิของตนนั้น ย่อมเห็นสิ่งอื่นทั้งปวงโดยความเป็น ของเลว.

[๑๕๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

ผู้ฉลาดทั้งหลายย่อมกล่าวทัศนะที่ตนอาศัยแม้นั้น ว่า เป็นเครื่องร้อยรัด เห็นทัศนะอื่นว่าเลว เพราะฉะนั้น แหละ ภิกษุไม่พึงอาศัยรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ ที่ทราบ หรือศีลและวัตร.

ว่าด้วยทัศนะของผู้ฉลาด

[๑๕๖] คำว่า ผู้ฉลาดทั้งหลายย่อมกล่าวทัศนะที่ตนอาศัย แม้นั้นว่า เป็นเครื่องร้อยรัด มีความว่า คำว่า ผู้ฉลาด ได้แก่ ผู้ฉลาด ในขันธ์ ฉลาดในธาตุ ฉลาดในอายตนะ ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท ฉลาด ในสติปัฏฐาน ฉลาดในสัมมัปปธาน ฉลาดในอิทธิบาท ฉลาดในอินทรีย์ ฉลาดในพละ ฉลาดในโพชฌงค์ ฉลาดในมรรค ฉลาดในผล ฉลาดใน นิพพาน ผู้ฉลาดเหล่านั้นย่อมกล่าวอย่างนี้ คือย่อมกล่าว บอก พูด แสดง แถลง อย่างนี้ว่า ทัศนะนั้นเป็นกิเลสเครื่องร้อยรัด เป็นกิเลส

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 570

เครื่องยึดเหนี่ยว เป็นกิเลสเครื่องผูกพัน เป็นกิเลสเครื่องพัวพัน. เพราะ ฉะนั้นจึงชื่อว่า ผู้ฉลาดทั้งหลายย่อมกล่าวทัศนะที่ตนอาศัย แม้ นั้นว่า เป็นเครื่องร้อยรัด.

[๑๕๗] คำว่า ทัศนะที่ตนอาศัยแล้ว เห็นทัศนะอื่นว่าเลว มีความว่า คำว่า ทัศนะที่ตนอาศัยแล้ว ได้แก่ ภิกษุอาศัย อิงอาศัย ติดพัน เข้าถึง ติดใจ น้อมใจถึงทัศนะใด คือ ศาสดา ธรรม ที่ศาสดา บอก หมู่คณะ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคใด คำว่า เห็นทัศนะอื่นว่าเลว ได้แก่ ย่อมเห็น แลเห็น เหลียวเห็น เล็งเห็น พิจารณาเห็น ซึ่งทัศนะ อื่น คือ ศาสดา ธรรมที่ศาสดาบอก หมู่คณะ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคอื่น โดยความเป็นของเลว เลวทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย. เพราะ ฉะนั้นจึงชื่อว่า ทัศนะที่ตนอาศัยแล้ว เห็นทัศนะอื่นว่าเลว.

[๑๕๘] คำว่า เพราะฉะนั้นแหละ ภิกษุที่ไม่พึงอาศัยรูป ที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ หรือศีลและวัตร มีความว่า เพราะฉะนั้น คือเพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะ นิทานนั้น ภิกษุไม่พึงอาศัย ไม่พึงถือ ไม่พึงยึดมั่น ไม่พึงถือมั่น ซึ่งรูป ที่เห็นบ้าง ความหมดจดเพราะรูปที่เห็นบ้าง เสียงที่ได้ยินบ้าง ความ หมดจดเพราะเสียงที่ได้ยินบ้าง อารมณ์ที่ทราบบ้าง ความหมดจดเพราะ อารมณ์ที่ทราบบ้าง ศีลบ้าง ความหมดจดเพราะศีลบ้าง วัตรบ้าง ความ หมดจดเพราะวัตรบ้าง เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เพราะฉะนั้นแหละ ภิกษุไม่พึงอาศัยรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ หรือศีล และวัตร. เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 571

ผู้ฉลาดทั้งหลายย่อมกล่าวทัศนะที่ตนอาศัยแม้นั้นว่า เป็นเครื่องร้อยรัด เห็นทัศนะอื่นว่าเลว เพราะฉะนั้นแหละ ภิกษุไม่พึงอาศัยรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ หรือศีลและวัตร.

[๑๕๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

ภิกษุไม่พึงกำหนดทิฏฐิในโลก ด้วยญาณหรือแม้ ด้วยศีลและวัตร ไม่พึงนำเข้าไปซึ่งตนว่า เสมอเขา ไม่ พึงสำคัญตนว่าเลวกว่าเขา หรือแม้ว่าวิเศษกว่าเขา.

ว่าด้วยภิกษุไม่พึงมีทิฏฐิมานะ

[๑๖๐] คำว่า ภิกษุไม่พึงกำหนดแม้ทิฏฐิในโลกด้วยญาณ หรือแม้ด้วยศีลและวัตร มีความว่า ภิกษุไม่พึงกำหนดซึ่งทิฏฐิ คือไม่พึงให้เกิด ไม่พึงให้เกิดพร้อม ไม่พึงให้บังเกิด ไม่พึงให้บังเกิด เฉพาะ ด้วยญาณในสมาบัติ ๘ ด้วยญาณในอภิญญา ๕ ด้วยมิจฉาญาณ ด้วย ศีล ด้วยวัตร หรือด้วยศีลและวัตร. คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุไม่พึงกำหนดแม้ทิฏฐิในโลก ด้วยญาณหรือแม้ด้วย ศีลและวัตร.

[๑๖๑] คำว่า ไม่พึงนำเข้าไปซึ่งตนว่า เสมอเขา มีความว่า ไม่พึงนำไปซึ่งตนว่า เราย่อมเป็นผู้เสมอเขาด้วยชาติ ด้วยโคตร ด้วย ความเป็นบุตรแห่งสกุล ด้วยความเป็นผู้มีรูปงาม ด้วยทรัพย์ ด้วยการ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 572

ปกครอง ด้วยหน้าที่การงาน ด้วยหลักแหล่งแห่งศิลปศาสตร์ ด้วยวิทยฐานะ ด้วยการศึกษา ด้วยปฏิภาณ หรือด้วยวัตถุอื่นๆ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ไม่พึงนำเข้าไปซึ่งตนว่า เสมอเขา.

[๑๖๒] คำว่า ไม่พึงสำคัญตนว่า เลวกว่าเขา หรือแม้ว่า วิเศษกว่าเขา มีความว่า ไม่พึงนำเข้าไปซึ่งตนว่า เราย่อมเป็นผู้เลวกว่า เขาด้วยชาติ ด้วยโคตร ด้วยความเป็นบุตรแห่งสกุล ฯลฯ หรือด้วยวัตถุ อื่นๆ และไม่พึงนำเข้าไปซึ่งตนว่า เราย่อมเป็นผู้ประเสริฐกว่าเขา ด้วย ชาติ ด้วยโคตร ฯลฯ หรือด้วยวัตถุอื่นๆ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ไม่พึง สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา หรือแม้ว่าวิเศษกว่าเขา. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

ภิกษุไม่พึงกำหนดแม้ทิฏฐิในโลก ด้วยญาณหรือ แม้ด้วยศีลและวัตร ไม่พึงนำเข้าไปซึ่งตนว่า เสมอเขา ไม่พึงสำคัญตนว่า เลวกว่าเขา หรือแม้ว่าวิเศษกว่าเขา.

[๑๖๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

นรชนนั้นละตนแล้ว ไม่ถือมั่น ไม่ทำนิสัยแม้ใน เพราะญาณ เมื่อชนทั้งหลายแตกกัน นรชนนั้นก็ไม่แล่น ไปกับพวก ไม่ถึงเฉพาะแม้ซึ่งทิฏฐิอะไรๆ.

[๑๖๔] คำว่า ละตนแล้ว ไม่ถือมั่น มีความว่า คำว่า ละตน แล้ว ได้แก่ ละความเห็นว่าเป็นตน. คำว่า ละตนแล้ว ได้แก่ ละความ ถือ. คำว่า ละตนแล้ว ได้แก่ ละ เว้น บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ทำ ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความถือ ถือมั่น ยึดมั่น ติดใจ น้อมใจไป ด้วย

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 573

สมารถแห่งตัณหา ด้วยสามารถแห่งทิฏฐิ. คำว่า ละตนแล้ว ไม่ถือมั่น ได้แก่ ไม่ถือมั่น คือไม่ยึด ไม่ยึดถือ ไม่ยึดมั่น ด้วยอุปาทาน ๔. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ละตนแล้ว ไม่ถือมั่น.

[๑๖๕] คำว่า นรชนนั้น ไม่ทำนิสัยแม้ในเพราะญาณ มี ความว่า นรชนนั้นไม่ทำตัณหานิสัยหรือทิฏฐินิสัย คือไม่ให้เกิด ไม่ให้ เกิดพร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ ในเพราะญาณในสมาบัติ ๘ ในเพราะญาณในอภิญญา ๕ หรือในเพราะมิจฉาญาณ. เพราะฉะนั้นจึง ชื่อว่า นรชนนั้น ไม่ทำนิสัยแม้ในเพราะญาณ.

[๑๖๖] คำว่า เมื่อชนทั้งหลายแตกกัน นรชนนั้นก็ไม่แล่น ไปกับพวก มีความว่า เมื่อชนทั้งหลายแยกกัน แตกกัน ถึงความเป็น สองฝ่าย เกิดเป็นสองพวกมีทิฏฐิต่างกัน มีความควรต่างกัน มีความชอบใจ ต่างกัน มีลัทธิต่างกัน อาศัยทิฏฐินิสัยต่างกัน ถึงฉันทาคติ ถึงโทสาคติ ถึงโมหาคติ ถึงภยาคติ นรชนนั้นย่อมไม่ถึงฉันทาคติ ไม่ถึงโทสาคติ ไม่ถึงโมหาคติ ไม่ถึงภยาคติ ไม่ถึงด้วยอำนาจแห่งราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ วิจิกิจฉา อนุสัย ไม่ไป ดำเนินไป เลื่อนลอยไป แล่นไป เพราะธรรมทั้งหลายอันทำความเป็นพวก. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อชนทั้งหลายแตกกัน นรชนนั้นก็ไม่แล่นไปกับพวก

[๑๖๗] คำว่า ไม่ถึงเฉพาะแม้ซึ่งทิฏฐิอะไรๆ มีความว่า ทิฏฐิ ๖๒ อันนรชนนั้นละ ตัดขาด สงบ ระงับ ควรทำไม่ให้เกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณนรชนนั้นไม่ถึงเฉพาะ ไม่มาถึงเฉพาะ ซึ่งทิฏฐิ

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 574

อะไรๆ. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ไม่ถึงเฉพาะแม้ซึ่งทิฏฐิอะไรๆ. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

นรชนนั้นละตนแล้ว ไม่ถือมั่น ไม่ทำนิสัยแม้ใน เพราะญาณ เมื่อชนทั้งหลายแตกกัน นรชนนั้นก็ไม่แล่น ไปกับพวกไม่ถึงเฉพาะแม้ซึ่งทิฏฐิอะไรๆ.

[๑๖๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

ความตั้งไว้ซึ่งส่วนสุดทั้งสอง ย่อมไม่มีแก่พระ อรหันต์ขีณาสพใด เพื่อภพน้อยภพใหญ่ ในโลกนี้หรือ โลกหน้า พระอรหันตขีณาสพนั้น ย่อมไม่มีเครื่องอยู่อะไรๆ ย่อมไม่มีการถึงความตกลงในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่น.

ว่าด้วยภูมิธรรมของพระอรหันต์

[๑๖๙] คำว่า ความตั้งใจซึ่งส่วนสุดทั้งสอง ย่อมไม่มีแก่ พระอรหันตขีณาสพใด เพื่อภพน้อยภพใหญ่ ในโลกนี้หรือโลก หน้า มีความว่า คำว่า ใด ได้แก่พระอรหันตขีณาสพ. คำว่า ส่วนสุด ได้แก่ผัสสะ เป็นส่วนสุดที่ ๑ ผัสสสมุทัยเป็นส่วนสุดที่ ๒ อดีตเป็นส่วน สุดที่ ๑ อนาคตเป็นส่วนสุดที่ ๒ สุขเวทนาเป็นส่วนสุดที่ ๑ ทุกขเวทนา เป็นส่วนสุดที่ ๒ นามเป็นส่วนสุดที่ ๑ รูปเป็นส่วนสุดที่ ๒ อายตนะภาย ใน ๖ เป็นส่วนสุดที่ ๑ อายตนะภายนอก ๖ เป็นส่วนสุดที่ ๒ กายของ คนเป็นส่วนสุดที่ ๑ สมุทัยแห่งกายของตนเป็นส่วนสุดที่ ๒ ตัณหา เรียก

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 575

ว่า ความตั้งไว้ ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดกล้า ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล.

คำว่า เพื่อภพน้อยภพใหญ่ ได้แก่ เพื่อภพน้อยภพใหญ่ คือ เพื่อกรรมวัฏและวิปากวัฏ เพื่อกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ เพื่อ วิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ เพื่อกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ เพื่อวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ เพื่อกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ เพื่อวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ เพื่อความเกิดบ่อยๆ เพื่อความไป บ่อยๆ เพื่อความเข้าถึงบ่อยๆ เพื่อปฏิสนธิบ่อยๆ เพื่อบังเกิดขึ้นแห่ง อัตภาพบ่อยๆ.

คำว่า โลกนี้ ได้แก่ อัตภาพของตน.

คำว่า โลกหน้า ได้แก่ อัตภาพของผู้อื่น.

คำว่า โลกนี้ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของตน.

คำว่า โลกหน้า ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร สัญญาณ ของผู้อื่น.

คำว่า โลกนี้ ได้แก่ อายตนะภายใน ๖.

คำว่า โลกหน้า ได้แก่ อายตนะภายนอก ๖.

คำว่า โลกนี้ ได้แก่ มนุษยโลก.

คำว่า โลกหน้า ได้แก่ เทวโลก.

คำว่า โลกนี้ ได้แก่ กามธาตุ.

คำว่า โลกหน้า ได้แก่ รูปธาตุ อรูปธาตุ.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 576

คำว่า โลกนี้ ได้แก่ กามธาตุ รูปธาตุ.

คำว่า โลกหน้า ได้แก่ อรูปธาตุ.

คำว่า ความตั้งไว้ซึ่งส่วนสุดทั้งสอง ย่อมไม่มีแก่พระอรหันต ขีณาสพใด เพื่อภพน้อยภพใหญ่ในโลกนี้หรือโลกหน้า มีความว่า ความตั้งใจไว้ซึ่งส่วนสุดทั้งสอง ย่อมไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ แก่ พระอรหันตขีณาสพใด เมื่อภพน้อยภพใหญ่ ในโลกนี้หรือโลกหน้า คือความตั้งไว้นั้น ย่อมเป็นกิริยาอันพระอรหันต์ขีณาสพใดละ ตัดขาด สงบ ระงับเสียแล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ความตั้งไว้ซึ่งส่วนสุดทั้งสอง ย่อมไม่มีแก่ พระอรหันต์ขีณาสพใด เพื่อภพน้อยภพใหญ่ในโลกนี้หรือโลก. หน้า.

[๑๗๐] คำว่า พระอรหันตขีณาสพนั้น ย่อมไม่มีเครื่องอยู่ อะไรๆ มีความว่า คำว่า เครื่องอยู่ ได้แก่ เครื่องอยู่. ๒ อย่าง คือ เครื่องอยู่ คือตัณหา ๑ เครื่องอยู่คือทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าเครื่องอยู่ คือ ตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าเครื่องอยู่คือทิฏฐิ.

คำว่า นั้น ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพนั้น. คำว่า พระอรหันต ขีณาสพนั้น ย่อมไม่มีเครื่องอยู่ คือ เครื่องอยู่นั้นไม่มี ไม่ปรากฏ ย่อมไม่เข้าไปได้ คือ เป็นธรรมอันพระอรหันตขีณาสพนั้นละ ตัดขาด สงบ ระงับ ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ. เพราะ ฉะนั้นจึงชื่อว่า พระอรหันตขีณาสพนั้น ย่อมไม่มีเครื่องอยู่อะไรๆ .

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 577

[๑๗๑] คำว่า ย่อมไม่สังการถึงความตกลงในธรรมทั้งหลาย แล้วถือมั่น มีความว่า คำว่า ในธรรมทั้งหลาย ได้แก่ ในทิฏฐิ ๖๒. คำว่า ถึงความตกลง มีความว่า ตัดสินแล้ว ชี้ขาด ค้นคว้า แสวงหา เทียบเคียง ตรวจตรา สอบสวน ทำให้เป็นแจ้งแล้วจึงจับมั่น ยึดมั่น ถือมั่น รวบถือ รวมถือ รวบรวมถือ คือความถือ ความยึดถือ ความ ยึดมั่น ความถือมั่น ความพร้อมน้อมใจเชื่อว่า สิ่งนี้จริง แท้ แน่ เป็น ตามสภาพ เป็นตามจริง มิได้วิปริตดังนี้ ย่อมไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไป ได้ หรือเป็นธรรมอันพระอรหันตขีณาสพนั้นละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ย่อมไม่มีการถึงความตกลงในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่น. เพราะ เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

ความตั้งไว้ซึ่งส่วนสุดทั้งสองย่อมไม่มีแก่พระ อรหันตขีณาสพใด เพื่อภพน้อยภพใหญ่ ในโลกนี้หรือโลก หน้า พระอรหันตขีณาสพนั้น ย่อมไม่มีเครื่องอยู่อะไรๆ ย่อมไม่มีการถึงความตกลงในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่น.

[๑๗๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

ทิฏฐิที่สัญญาให้เกิดขึ้นแม้เล็กน้อย ที่สัญญากำหนด แล้ว ในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่ทราบใน โลกนี้ ย่อมไม่มีแก่พระอรหันต์นั้น ใครๆ ในโลกนี้ พึง กำหนดซึ่งพระอรหันต์นั้น ผู้เป็นพราหมณ์ ไม่ยึดถือทิฏฐิ ด้วยกิเลสอะไรเล่า.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 578

ว่าด้วยอรหันต์ได้ชื่อว่าพราหมณ์

[๑๗๓] คำว่า ทิฏฐิที่สัญญาให้เกิดขึ้นแม้เล็กน้อย ที่สัญญา กำหนดแล้ว ในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่ทราบ ในโลกนี้ ย่อมไม่มีแก่พระอรหันต์นั้น มีความว่า คำว่า นั้น ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ ทิฏฐิอันสัญญาให้เกิดขึ้น อันสัญญากำหนด ปรุงแต่ง ตั้งไว้ เพราะเป็นทิฏฐิมีสัญญาเป็นประธานมีสัญญาเป็นใหญ่ และความถือ ต่างด้วยสัญญา ในรูปที่เห็นบ้าง ในความหมดจดเพราะรูปที่เห็นบ้าง ในเสียง ที่ได้ยินบ้าง ในความหมดจดเพราะเสียงที่ได้ยินบ้าง ในอารมณ์ที่ทราบ บ้าง ในความหมดจดเพราะอารมณ์ที่ทราบบ้าง ย่อมไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้า ไปได้ แก่พระอรหันต์ขีณาสพนั้น คือ ทิฏฐินั้นอันพระอรหันตขีณาสพละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิฏฐิที่สัญญาให้เกิดขึ้นแม้เล็กน้อย ที่สัญญา กำหนดแล้ว ในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่ทราบ ในโลกนี้ ย่อมไม่มีแก่พระอรหันต์นั้น.

[๑๗๔] คำว่า ซึ่งพระอรหันต์นั้น ผู้เป็นพราหมณ์ ไม่ยึดถือ ทิฏฐิ มีความว่า คำว่า พราหมณ์ ได้แก่ พระอรหันต์ผู้ชื่อว่าเป็น พราหมณ์ เพราะลอยเสียแล้วซึ่งธรรม ๗ ประการ ฯลฯ ผู้อันตัณหาและ ทิฏฐิไม่อาศัย เป็นผู้คงที่ เรียกว่า เป็นพราหมณ์. คำว่า ซึ่งพระอรหันต์ นั้น ผู้เป็นพราหมณ์ ไม่ยึดถือทิฏฐิ มีความว่า ซึ่งพระอรหันต์นั้น ผู้เป็นพราหมณ์ ไม่ยึดถือ ไม่ถือเอา ไม่ถือมั่น ไม่ยึดมั่น ซึ่งทิฏฐิ

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 579

เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ซึ่งพระอรหันต์นั้น ผู้เป็นพราหมณ์ไม่ยึดถือ ทิฏฐิ.

[๑๗๕] คำว่า ใครๆ ในโลกนี้ พึงกำหนด ... .ด้วยกิเลส อะไรเล่า มีความว่า คำว่า กำหนด ได้แก่ ความกำหนด ๒ อย่าง คือ ความกำหนดด้วยตัณหา ความกำหนดด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความ กำหนดด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยทิฏฐิ. บุคคลนั้นละความ กำหนดด้วยตัณหา สละคืนความกำหนดด้วยทิฏฐิแล้ว เพราะเป็นผู้ละความ กำหนดด้วยตัณหา สละคืนความกำหนดด้วยทิฏฐิแล้ว ใครๆ จะพึงกำหนด บุคคลนั้นด้วยราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ วิจิกิจฉา อนุ- สัยอะไรเล่าว่า เป็นผู้กำหนัด ขัดเคือง หลง ผูกพัน ถือมั่นถึงความฟุ้ง ซ่าน ถึงความไม่ตกลง หรือถึงโดยเรี่ยวแรง กิเลสเครื่องปรุงแต่งเหล่า นั้น อันบุคคลนั้นละแล้ว เพราะเป็นผู้ละกิเลสเครื่องปรุงเหล่านั้นแล้ว ใครๆ จะพึงกำหนดคติแห่งบุคคลนั้นด้วยกิเลสอะไรเล่าว่า เป็นผู้เกิดขึ้น นรกเกิดในกำเนิดดิรัจฉาน เกิดในเปรตวิสัย เป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็น สัตว์มีรูป เป็นสัตว์ไม่มีรูป เป็นสัตว์มีสัญญา เป็นสัตว์ไม่มีสัญญา หรือ เป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ บุคคลนั้นไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ไม่มีการณะอันเป็นเครื่องกำหนด กำหนดวิเศษ ถึงความกำหนด. คำว่า ... ... ..ในโลก ได้แก่ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุ- โลก อายตนโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ใครๆ ในโลกนี้ พึงกำหนด ... ... .ด้วยกิเลสอะไรเล่า. เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 580

ทิฏฐิที่สัญญาให้เกิดขึ้นแม้เล็กน้อย ที่สัญญากำหนด แล้วในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่ทราบ ใน โลกนี้ ย่อมไม่มีแก่พระอรหันต์นั้น ใครๆ ในโลกนี้ พึง กำหนดซึ่งพระอรหันต์นั้น ผู้เป็นพราหมณ์ ไม่ยึดถือทิฏฐิ ด้วยกิเลสอะไรเล่า.

[๑๗๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

พระอรหันตขีณาสพทั้งหลาย ย่อมไม่กำหนด ย่อม ไม่ทำตัณหาและทิฏฐิไว้ในเบื้องหน้า. แม้ธรรมคือทิฏฐิทั้ง หลาย อันพระอรหันต์เหล่านั้น ไม่ปรารถนาเฉพาะแล้ว พระอรหันต์ผู้เป็นพราหมณ์ อันใครๆ ไม่พึงนำไปได้ด้วย ศีลและพรตย่อมเป็นผู้ถึงฝั่งไม่กลับมา เป็นผู้คงที่.

พระอรหันต์ได้ชื่อต่างๆ

[๑๗๗] คำว่า พระอรหันต์ขีณาสพทั้งหลายย่อมไม่กำหนด ย่อมไม่ทำตัณหาและทิฏฐิไว้ในเบื้องหน้า มีความว่า คำว่า กำหนด ได้แก่ ความกำหนด ๒ อย่าง คือความกำหนดด้วยตัณหา ๑ ความกำหนด ด้วยทิฏฐิ ๑.

ความกำหนดด้วยตัณหาเป็นไฉน? วัตถุที่ทำให้เป็นเขต เป็นแดน เป็นส่วน เป็นแผนก กำหนดถือเอา ยึดถือเอาว่าของเรา ด้วยส่วนแห่ง ตัณหามีประมาณเท่าใด ย่อมยึดถือเอาว่าของเรา ซึ่งวัตถุมีประมาณเท่านั้น ว่า สิ่งนี้ของเรา สิ่งนั้นของเรา สิ่งมีประมาณเท่านี้ของเรา สิ่งของของ เรามีประมาณเท่านี้ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เครื่องลาด

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 581

เครื่องนุ่งห่ม ทาสีและทาส แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา นา ที่ดิน เงิน ทอง บ้าน นิคม ราชธานี แว่นแคว้น ชนบท ฉาง คลังเป็นของเรา ย่อมยึดถือว่านั่นของของเรา แม้ซึ่งแผ่นดินใหญ่ทั้งสิ้น ด้วยสามารถแห่งตัณหา ตลอดถึงตัณหาวิปริต ๑๐๘ นี้ชื่อว่า ความ กำหนดด้วยตัณหา.

ความกำหนดด้วยทิฏฐิเป็นไฉน? สักกายทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ มิจฉาทิฏฐิ มีวัตถุ ๑๐ อันตัคคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ ทิฏฐิ ความไปคือทิฏฐิ รกเรี้ยวคือ ทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ เสี้ยนหนามคือทิฏฐิ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ เครื่อง ประกอบคือทิฏฐิ ความถือ ความถือมั่น ความยึดมั่น ความยึดถือ ทาง ผิด คลองผิด ความเห็นผิด ลัทธิเดียรถีย์ ความถือโดยแสวงหาผิด ความถือวิปริต ความถือวิปลาส ความถือผิด ความถือในสิ่งไม่แน่นอนว่า เป็นสิ่งแน่นอนเห็นปานนี้ ตลอดถึงทิฏฐิ ๖๒ นี้ชื่อว่า ความกำหนด ด้วยทิฏฐิ.

พระอรหันตขีณาสพทั้งหลายละความกำหนดด้วยตัณหา สละคืน ความกำหนดด้วยทิฏฐิแล้ว เพราะเป็นผู้ละความกำหนดด้วยตัณหา สละ คืนความกำหนดด้วยทิฏฐิแล้ว พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้นจึงไม่กำหนด ความกำหนดด้วยตัณหา หรือความกำหนดด้วยทิฏฐิ คือไม่ให้เกิด ไม่ให้ เกิดพร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ไม่ กำหนด.

คำว่า ย่อมไม่ทำตัณหาและทิฏฐิไว้ในเบื้องหน้า มีความว่า คำว่า ทำไว้ในเบื้องหน้า ได้แก่ ความทำไว้ในเบื้องหน้า ๒ อย่าง

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 582

คือ ความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยตัณหา ๑ ความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วย ทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความ ทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยทิฏฐิ พระอรหันตขีณาสพทั้งหลายละความทำไว้ใน เบื้องหน้าด้วยตัณหา สละคืนความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยทิฏฐิแล้ว เพราะ เป็นผู้ละความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยตัณหา สละคืนความทำไว้ในเบื้องหน้า ด้วยทิฏฐิแล้ว พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้นจึงไม่กระทำตัณหาหรือทิฏฐิไว้ เบื้องหน้าเที่ยวไป คือเป็นผู้ไม่มีตัณหาเป็นธงชัย ไม่มีตัณหาเป็นธงยอด ไม่มีตัณหาเป็นใหญ่ ไม่มีทิฏฐิเป็นธงชัย ไม่มีทิฏฐิเป็นธงยอด ไม่มีทิฏฐิ เป็นใหญ่ จึงชื่อว่าเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิ ไม่แวดล้อมเที่ยวไป เพราะ ฉะนั้นจึงชื่อว่า พระอรหันตขีณาสพทั้งหลายย่อมไม่กำหนด ย่อม ไม่ทำตัณหาและทิฏฐิไว้ในเบื้องหน้า.

[๑๗๘] คำว่า แม้ธรรมคือทิฏฐิทั้งหลายอันพระอรหันต์ เหล่านั้นไม่ปรารถนาเฉพาะแล้ว มีความว่าทิฏฐิ ๖๒ เรียกว่า ธรรม คำว่า เหล่านั้นได้แก่ พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น คำว่าไม่ปรารถนา เฉพาะแล้ว ความว่า ไม่ปรารถนาเฉพาะว่าโลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเป็นโมฆะ ไม่ปรารถนาเฉพาะว่า โลกไม่เที่ยง ฯลฯ สัตว์เบื้อง หน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ สิ่งนี้เท่า นั้นจริง สิ่งอื่นเป็นโมฆะ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า แม้ธรรมคือทิฏฐิ ทั้งหลาย อันพระอรหันต์เหล่านั้น ไม่ปรารถนาเฉพาะแล้ว.

[๑๗๙] คำว่า พระอรหันต์ผู้เป็นพราหมณ์ อันใครๆ ไม่ พึงนำไปได้ด้วยศีลและพรต มีความว่า ศัพท์ว่า เป็นปฏิเสธ.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 583

คำว่า พราหมณ์ ความว่า พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เพราะลอย เสียแล้วซึ่งธรรม ๗ ประการ ฯลฯ เป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยแล้ว เป็นผู้คงที่ เรียกว่าเป็นพราหมณ์ คำว่า พระอรหันต์ผู้เป็นพราหมณ์ อันใครๆ ไม่พึงนำไปได้ด้วยศีลและพรต ความว่า พระอรหันต์ผู้ เป็นพราหมณ์ ย่อมไม่ไป ไม่ออกไป ไม่เลื่อนลอยไป ไม่แล่นไป ด้วย ศีลหรือด้วยพรต หรือด้วยศีลและพรต เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า พระอรหันต์ ผู้เป็นพราหมณ์ อันใครๆ ไม่พึงนำไปได้ด้วยศีลและพรต.

[๑๘๐] คำว่า ย่อมเป็นผู้ถึงฝั่งไม่กลับมาเป็นผู้คงที่ มีความ ว่า อมตนิพพาน เรียกว่าฝั่ง ได้แก่ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา ความสำรอก ความดับ ความ ออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด ผู้ใดไปถึงฝั่ง บรรลุฝั่งแล้ว ไปถึงส่วน สุด เพราะส่วนสุดแล้ว ไปถึงที่สุด บรรลุที่สุดแล้ว ฯลฯ ภพใหม่มิได้มี แก่ผู้นั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เป็นผู้ถึงฝั่ง.

คำว่า ย่อมไม่กลับ ความว่า กิเลสเหล่าใด อันอริยบุคคลละ แล้วด้วยโสดาปัตติมรรค อริยบุคคลนั้นย่อมไม่ถึงอีก ไม่กลับถึงไม่กลับมา สู่กิเลสเหล่านั้น. กิเลสเหล่าใดอันอริยบุคคลละแล้วด้วยสกทาคามิมรรค อริย บุคคลนั้น ย่อมไม่ถึงอีก ไม่กลับถึง ไม่กลับมา สู่กิเลสเหล่านั้น กิเลสเหล่า ใดอันอริยบุคคลละแล้วด้วยอนาคามิมรรค อริยบุคคลนั้นย่อมไม่ถึงอีก ไม่ กลับถึง ไม่กลับมา สู่กิเลสเหล่านั้น. กิเลสเหล่าใดอันอริยบุคคลละแล้ว ด้วยอรหัตตมรรค อริยบุคคลนั้นย่อมไม่ถึงอีก ไม่กลับถึง ไม่กลับมา สู่กิเลสเหล่านั้น. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ย่อมเป็นผู้ถึงฝั่ง ไม่กลับมา.

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 584

คำว่า เป็นผู้คงที่ ความว่า พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ โดย อาการ ๕ คือ เป็นผู้คงที่ในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ เป็นผู้คงที่เพราะ อรรถว่าสละแล้ว เป็นผู้คงที่เพราะอรรถว่าข้ามแล้ว เป็นผู้คงที่เพราะ อรรถว่าพ้นแล้ว เป็นผู้คงที่เพราะแสดงออกซึ่งธรรมนั้นๆ.

พระอรหันต์ชื่อว่า เป็นผู้คงที่ ในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ อย่างไร? พระอรหันต์เป็นผู้คงที่แม้ในลาภ แม้ในความเสื่อมลาภ แม้ ในยศ แม้ในความเสื่อมยศ แม้ในสรรเสริญ แม้ในนินทา แม้ในสุข แม้ในทุกข์ หากว่าชนทั้งหลายพึงลูบไล้แขนข้างหนึ่งแห่งพระอรหันต์ด้วย เครื่องหอม พึงถากแขนข้างหนึ่งด้วยมีด พระอรหันต์ย่อมไม่มีความยินดีใน การลูบไล้ด้วยเครื่องหอมโน้น และไม่มีความยินร้ายในการถากด้วยมีดโน้น เป็นผู้ละการยินดียินร้ายเสียแล้ว เป็นผู้ล่วงเลยการดีใจและการเสียใจแล้ว เป็นผู้ก้าวล่วงความยินดีความยินร้ายเสียแล้ว พระอรหันต์ชื่อว่า เป็นผู้ คงที่ ในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์อย่างนี้.

พระอรหันต์ชื่อว่า เป็นผู้คงที่ เพราะอรรถว่าสละแล้ว อย่างไร? พระอรหันต์ สละ คาย ปล่อย ละ สละคืนเสียแล้ว ซึ่งความกำหนัด ความขัดเคือง ความหลง ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความดีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความ กระด้าง ความแข็งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อน ทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง พระอรหันต์ ชื่อว่า เป็นผู้คงที่ เพราะอรรถว่าสละ อย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 585

พระอรหันต์ชื่อว่า เป็นผู้คงที่ เพราะอรรถว่าข้ามแล้ว อย่างไร? พระอรหันต์ข้ามแล้ว ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง ก้าวล่วงด้วยดี เป็นไป ล่วงซึ่งกาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ และคลองแห่งสงสาร ทั้งปวง พระอรหันต์นั้นอยู่จบแล้ว ประพฤติจรณะแล้ว ฯลฯ ภพใหม่ มิได้มีแก่พระอรหันต์นั้น เพราะฉะนั้น พระอรหันต์ชื่อว่า เป็นผู้คงที่ เพราะอรรถว่าข้ามแล้ว อย่างนี้.

พระอรหันต์ชื่อว่า เป็นผู้คงที่ เพราะอรรถว่า พ้นแล้ว อย่างไร? พระอรหันต์มีจิตพ้นแล้ว พ้นวิเศษแล้ว พ้นดีแล้ว จากความกำหนัด และขัดเคือง ความหลง ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความ ตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความกระ ด้าง ความแข็งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อน ทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง พระอรหันต์ชื่อ ว่า เป็นผู้คงที่ เพราะอรรถว่าพ้นแล้ว อย่างนี้.

พระอรหันต์ชื่อว่า เป็นผู้คงที่ เพราะแสดงออกซึ่งธรรมนั้นๆ อย่าง ไร? พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะแสดงออกว่า เป็นผู้มีศีล ใน เมื่อศีลมีอยู่. ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะแสดงออกว่า เป็นผู้มีศรัทธา ใน เมื่อศรัทธามีอยู่. ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะแสดงออกว่า เป็นผู้มีความเพียร ในเมื่อความเพียรมีอยู่. ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะแสดงออกว่า เป็นผู้มีสติ ในเมื่อสติมีอยู่. ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะแสดงออกว่า เป็นผู้ตั้งมั่น ใน เมื่อสมาธิมีอยู่. ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะแสดงออกว่า เป็นผู้มีปัญญา ใน

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 586

เมื่อปัญญามีอยู่. ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะแสดงออกว่า เป็นผู้มีวิชชา ๓ ในเมื่อวิชชา ๓ มีอยู่. ซึ่งว่าเป็นผู้คงที่ เพราะแสดงออกว่า เป็นผู้มี อภิญญา ๖ ในเมื่ออภิญญา ๖ มีอยู่. พระอรหันต์ชื่อว่า เป็นผู้คงที่ เพราะแสดงออกซึ่งธรรมนั้นๆ อย่างนี้. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ย่อม เป็นผู้ถึงฝั่ง ไม่กลับมาเป็นผู้คงที่. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค เจ้าจึงตรัสว่า :-

พระอรหันตขีณาสพทั้งหลาย ย่อมไม่กำหนด ย่อมไม่ทำ ตัณหาและทิฏฐิไว้ในเบื้องหน้า แม้ธรรมคือทิฏฐิทั้งหลาย อัน พระอรหันต์เหล่านั้นไม่ปรารถนาเฉพาะแล้ว พระอรหันต์ผู้เป็น พราหมณ์ อันใครๆ ไม่พึงนำไปได้ด้วยศีลและพรต ย่อมเป็น ผู้ถึงฝั่ง ไม่กลับมา เป็นผู้คงที่ดังนี้.

จบปรมัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๕

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 587

อรรถกถาปรมัฏฐกสุตตนิทเทส

ในปรมัฏฐกสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปรมนฺติ ทิฏฺีสุ ปริพฺพสาโน ความว่า ยึดถืออยู่ใน ทิฏฐิของตนๆ ว่าสิ่งนี้ยอดเยี่ยม.

บทว่า ยทุตฺตรึ กุรุเต ความว่า ย่อมทำสิ่งใด มีศาสดาของตน เป็นต้นให้ประเสริฐที่สุด.

บทว่า หีนาติ อญฺเ ตโต สพฺพมาห ความว่า ชันตุชน นั้นกล่าวสิ่งทั้งปวง เว้นศาสดาของตนเป็นต้นนั้น ชื่อว่า อื่นจากสิ่งนั้น ชื่อว่าเหล่านี้เลวทั้งหมด.

บทว่า ตสฺมา วิวาทานิ อวีติวตฺโต ความว่า เพราะเหตุนั้น ชันตุชนนั้นย่อมเป็นผู้ไม่ล่วงเลยการทะเลาะเพราะทิฏฐิได้เลย.

บทว่า วสนฺติ ความว่า อยู่ด้วยสามารถทิฏฐิที่เกิดขึ้นครั้งแรก.

บทว่า สํวสนฺติ ความว่า เข้าไปอยู่.

บทว่า อาวสนฺติ ความว่า อยู่โดยวิเศษ.

บทว่า ปริวสนฺติ ความว่า อยู่โดยภาวะทุกอย่าง.

พระสารีบุตรเถระเมื่อจะยังบทนั้นให้สำเร็จด้วยอุปมา จึงกล่าวคำ เป็นต้นว่า ยถา อาคาริกา วา ดังนี้.

บทว่า อาคาริกา วา ได้แก่ พวกเจ้าของเรือน.

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 588

บทว่า ฆเรสุ วสนฺติ ความว่า เป็นผู้ปราศจากความหวาดหวั่น อยู่อาศัยในเรือนของตน.

บทว่า สาปตฺติกา วา ได้แก่ ผู้มากด้วยอาบัติ.

บทว่า สกิเลสา ได้แก่ ผู้มากด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้น.

บทว่า อุตฺตรึ กโรติ ความว่า กระทำให้ยิ่งเกิน.

บทว่า อยํ สตฺถา สพฺพญฺญู ความว่า พระศาสดาของพวก เรานี้รู้ธรรมทั้งปวง.

บทว่า สพฺเพ ปรปฺปวาเท ขิปติ ความว่า ทิ้งลัทธิอื่นทั้งหมด.

บทว่า อุกฺขิปติ ความว่า นำออก.

บทว่า ปริกฺขิปติ ความว่า ทำลับหลัง.

บทว่า ทิฏิเมธคานิ ได้แก่ ความมุ่งร้ายเพราะทิฏฐิ.

คาถาที่ ๒ มีเนื้อความดังต่อไปนี้ :-

ผู้ไม่ล่วงเลยไปได้อย่างนี้ เห็นอานิสงส์ใด คือมีประการดังกล่าว แล้วในก่อน ในคนกล่าวคือทิฏฐิที่เกิดขึ้นในวัตถุ ๔ เหล่านี้ คือ ในรูปที่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน ในศีลและพรต ในอารมณ์ที่ทราบ ผู้ไม่ล่วงเลยไป ได้นั้นยึดมั่นอานิสงส์ในทิฏฐิของตนนั้นว่าสิ่งนี้ ประเสริฐที่สุด เห็นสิ่งอื่น ทั้งปวงมีศาสดาอื่นเป็นต้น โดยความเป็นของเลว.

บทว่า เทฺว อานิสงฺเส ปสฺสติ ความว่า แลดูคุณ ๒ ประการ.

บทว่า ทิฏฺธมฺมิกญฺจ ได้แก่ คุณที่ให้ผลในปัจจุบัน คือใน อัตภาพที่ประจักษ์.

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 589

บทว่า สมฺปรายิกญฺจ ได้แก่ คุณที่พึงได้เฉพาะในโลกหน้า.

บทว่า ยํทิฏฺิโก สตฺถา ความว่า เป็นผู้มีลัทธิอย่างใด คือเป็น เจ้าลัทธิเดียรถีย์.

บทว่า อลํ นาคตฺตาย วา ความว่า ต้องการเพื่อความเป็นนาค แม้ในความเป็นครุฑ ก็นัยนี้แหละ.

บทว่า เทวตฺตาย วา ได้แก่ เพื่อความเป็นสมมติเสพเป็นต้น

บทว่า อายตึ ผลปฏิกงฺขี โหติ ความว่า ย่อมปรารถนาผล อันเป็นวิบากในอนาคต.

บทว่า ทิฏฺวิสุทฺธิยาปิ เทฺว อานิสงฺเส ปสฺสติ ความว่า แลดูคุณ ๒ ประการ ด้วยการยึดถือสิ่งที่คนยึดถือ แม้เพราะความเป็นเหตุ แห่งความหมดจด ด้วยสามารถแห่งรูปายตนะที่เห็นด้วยจักขุวิญญาณ แม้ ในความหมดจดด้วยเสียงที่ได้ยินเป็นต้น ก็นัยนี้แหละ.

คาถาที่ ๓ มีเนื้อความดังต่อไปนี้ :-

ผู้ฉลาดทั้งหลายย่อมกล่าวทัศนะที่ตนแม้เห็นอยู่อย่างนี้ อาศัยศาสดา ของตนเป็นต้น. เห็นผู้อื่นมีศาสดาอื่นเป็นต้นว่าเลว นั้นว่าเป็นเครื่องร้อย รัดนั่นเทียว มีอธิบายว่า เครื่องผูกพัน เพราะข้อนั้นแหละ ฉะนั้นภิกษุ จึงไม่อาศัยรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ หรือศีลและพรต มี อธิบายว่า ไม่ยึดมั่น.

บทว่า กุสลา ได้แก่ ผู้ฉลาดในเพราะรู้ธรรมมีขันธ์เป็นต้น.

บทว่า ขนฺธกุสลา ได้แก่ ผู้ฉลาดในขันธ์ ๕ มีรูปขันธ์เป็นต้น. แม้ในธาตุอายตนะ ปฏิจจสมุปบาท สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 590

อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ มรรค ผล และนิพพาน ก็นัยนี้แหละ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มคฺคกุสลา ได้แก่ ฉลาด ในมรรค ๔.

บทว่า ผลกุสลา ได้แก่ ฉลาดในผล ๔.

บทว่า นิพฺพานกุสลา ได้แก่ ฉลาดในนิพพาน ๒ อย่าง.

บทว่า เต กุสลา ได้แก่ ผู้ฉลาดเหล่านั้น เป็นผู้ฉลาดในประการ ที่กล่าวแล้วเหล่านี้.

บทว่า เอวํ วทนฺติ ความว่า กล่าวอย่างนี้. บทว่า คณฺโ เอโส ความว่า ผู้ฉลาดย่อมกล่าวทัศนะที่อาศัย ศาสดาของตนผู้เห็นอยู่เป็นต้น และทัศนะอื่นมีศาสดาอื่นเป็นต้น โดยความ เป็นของเลวว่า นี้เป็นกิเลสเครื่องร้อยรัด คือผูกพ้น.

บทว่า ลมฺพนํ เอตํ ความว่า ทัศนะนั้นคือมีประการดังกล่าว แล้ว เป็นกิเลสเครื่องยึดเหนี่ยวลงต่ำ ดุจคล้องไว้ที่หลักที่แขวนหมวก.

บทว่า พนฺธนํ เอตํ ความว่า ชื่อว่าเป็นกิเลสเครื่องผูกพัน ดุจ เครื่องผูกพันมีโซ่เป็นต้น เพราะอรรถว่า ยากที่จะตัดออก.

บทว่า ปลิโพโธ เอโส ความว่า นี้ชื่อว่าเป็นกิเลสเครื่องผูกพัน เพราะอรรถว่าไม่ยอมให้ออกจากสงสาร.

คาถาที่ ๔ มีเนื้อความดังต่อไปนี้ :-

ภิกษุไม่พึงอาศัยรูปที่เห็น และเสียงที่ได้ยินเป็นต้นอย่างเดียวก็หามิ ได้ ก็อีกอย่างหนึ่ง ไม่พึงกำหนดแม้ทิฏฐิสูงๆ ขึ้นไป ซึ่งมิได้เกิดในโลก มีอธิบายว่า ไม่พึงให้เกิด เช่นไร? ไม่พึงกำหนดทิฏฐิที่ตนจักกำหนดด้วย ญาณหรือแม้ด้วยศีลและวัตร คือด้วยญาณมีญาณในสมาบัติเป็นต้น หรือ

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 591

ด้วยศีลและวัตรนั้น ภิกษุไม่พึงกำหนดทิฏฐิอย่างเดียวก็หามิได้ ก็อีกอย่าง หนึ่ง ไม่พึงนำเข้าไปซึ่งคนว่า เป็นผู้เสมอเขา ด้วยเหตุมีชาติเป็นต้น หรือ ไม่พึงสำคัญว่า เลวกว่าเขา หรือแม้ว่า วิเศษกว่าเขา แม้เพราะมานะ.

บทว่า อฏสมาปตฺติาเณน วา ความว่า ด้วยปัญญาอันสัมปยุต ด้วยสมาบัติ ๘.

บทว่า ปญฺจาภิญฺาาเณน วา ความว่า ด้วยปัญญาอันสัมปยุต ด้วยอภิญญา ๕ อันเป็นโลกิยะ.

บทว่า มิจฺฉาาเณน วา ความว่า ด้วยปัญญาที่เป็นไปโดยสภาพ วิปริต หรือด้วยมิจฉาญาณที่เกิดขึ้นอย่างนี้ ในสิ่งที่ยังไม่พ้นว่า พวกเรา พ้นแล้ว.

คาถาที่ ๕ มีเนื้อความดังต่อไปนี้ :-

ก็นรชนนั้นไม่กำหนดและไม่สำคัญทิฏฐิอย่างนี้ ละตนแล้วไม่ถือมั่น คือละตนที่เคยยึดถือแล้วไม่ยึดถือตนอื่นอีก ย่อมไม่กระทำนิสัย ๒ อย่างใน เพราะญาณแม้นั้น คือแม้ในญาณที่มีประการดังกล่าวแล้ว และเมื่อไม่ กระทำ นรชนนั้นแล เมื่อเหล่าสัตว์แยกกัน คือแตกกันด้วยสามารถแห่ง ทิฏฐิต่างๆ เป็นผู้แล่นไปกับพวก คือเป็นผู้มีอันไม่ไปด้วยสามารถความ พอใจเป็นต้นเป็นธรรมดา ย่อมไม่ถึงเฉพาะซึ่งทิฏฐิอะไรๆ ในบรรดา ทิฏฐิ ๖๒ มีอธิบายว่า ย่อมไม่กลับมา.

บทว่า จตูหิ อุปาทาเนหิ ได้แก่ ด้วยความยึดมั่น ๔ อย่าง มี กามุปาทานเป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 592

บทว่า ส เว ววฏฺิเตสุ ความว่า บุคคลนั้น เมื่อคนทั้งหลาย ไม่ปรารถนากันและกัน.

บทว่า ภินฺเนสุ ความว่า แตกกันเป็น ๒ พวก.

บัดนี้ พระสารีบุตรเถระ เพื่อจะกล่าวสรรเสริญพระขีณาสพที่กล่าว ไว้ในคาถานี้นั้น จงกล่าวคาถา ๓ คาถาว่า ยสฺสูภยนฺเต เป็นต้น.

บรรดาคาถา ๓ คาถานั้น คาถาแรกมีเนื้อความดังต่อไปนี้ :- บทว่า ยสฺสูภยนฺเต ความว่า ต่างโดยผัสสะที่กล่าวแล้วในก่อนเป็นต้น.

บทว่า ปณิธิ ได้แก่ ตัณหา.

บทว่า ภวาภวาย ได้แก่ เพื่อเกิดบ่อยๆ.

บทว่า อิธ วา หุรํ วา ได้แก่ ในโลกนี้ต่างโดยอัตภาพของตน เป็นต้น หรือในโลกหน้าต่างโดยอัตภาพของผู้อื่นเป็นต้น.

บทว่า ผสฺโส เอโก อนฺโต ความว่า จักขุสัมผัสเป็นต้นเป็น ส่วนที่ ๑.

บทว่า ผสฺสสมุทโย ความว่า มีวัตถุเป็นอารมณ์ เพราะตั้งขึ้น คือเกิดขึ้น ผัสสะนั้นจึงชื่อสมุทัย.

บทว่า ทุติโย อนฺโต ความว่า เป็นส่วนที่ ๒.

บทว่า อตีตํ ความว่า เป็นไปล่วงแล้ว ชื่อว่า อดีตมีอธิบายว่า ก้าวล่วง.

บทว่า อนาคตํ ความว่า ยังไม่มาถึง ชื่อว่า อนาคต มีอธิบายว่า ยังไม่เกิดขึ้น. สุขเวทนาเป็นต้น ท่านกล่าวด้วยสามารถเป็นวิสภาคกัน หมวด ๒ แห่งนามรูป ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งการนอบน้อมและการ

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 593

เปลี่ยนแปลง อายตนะภายในเป็นต้น ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งอายตนะ ภายในและอายตนะภายนอก กายของตนเป็นต้น พึงทราบว่าท่านกล่าว ด้วยสามารถแห่งความเป็นไป และความเกิดขึ้นแห่งขันธปัญจกทั้งหลาย.

บทว่า สกตฺตภาโว ได้แก่ อัตภาพของตน.

บทว่า ปรตฺตภาโว ได้แก่ อัตภาพของผู้อื่น.

คาถาที่ ๒ มีเนื้อความดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ทิฏฺเ วา ได้แก่ ในความหมดจดเพราะรูปที่เห็นบ้าง ใน เสียงที่ได้ยินเป็นต้น ก็นัยนี้.

บทว่า สญฺา ได้แก่ ทิฏฐิที่สัญญาให้เกิดขึ้น.

บทว่า อปรามสนฺตํ ความว่า ไม่ถือมั่นด้วยตัณหามานะและทิฏฐิ.

บทว่า อภินิวิสนฺตํ ความว่า ไม่ยึดมั่นด้วยตัณหามานะและทิฏฐิ เหล่านั้น.

บทว่า วินิพนฺโธติ วา ความว่า หรือว่า ผูกพันด้วยมานะ.

บทว่า ปรามฏฺโติ วา ความว่า หรือว่า ถือมั่นด้วยความ เที่ยงความสุขและความงามเป็นต้นแต่ผู้อื่น.

บทว่า วิกฺเขปคโต ท่านกล่าวด้วยสามารถอุทธัจจะ.

บทว่า อนิฏฺงฺคโต ท่านกล่าวด้วยสามารถวิจิกิจฉา.

บทว่า ถามคโต ท่านกล่าวด้วยสามารถอนุสัย.

บทว่า คติยา ท่านกล่าวด้วยสามารถ ภพที่จะพึงไป.

คาถาที่ ๓ มีเนื้อความดังต่อไปนี้ :-

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 594

บทว่า ธมฺมาปิ เตสํ น ปฏิจฺฉิตา เส ความว่า แม้ธรรมคือ ทิฏฐิ ๖๒ อันพระอรหันต์เหล่านั้นไม่ปรารถนาเฉพาะอย่างนี้ว่า สิ่งนี้แหละ จริง สิ่งอื่นเป็นโมฆะ.

บทว่า ปารงฺคโต น ปจฺเจติ ตาทิ ความว่า พระอรหันต์ผู้ถึง ฝั่งคือนิพพาน ย่อมไม่มาสู่กิเลสทั้งหลายที่ละได้แล้วด้วยมรรคนั้นๆ อีก และเป็นผู้คงที่ด้วยอาการ ๕ บทที่เหลือปรากฏแล้วทั้งนั้น.

บทว่า วีสติวตฺถุกา สกฺกายทิฏฺิ ได้แก่ ทิฏฐิในวิชชมานกาย ชึ่งกระทำขันธ์ ๕ เป็นที่ตั้ง เป็นไปโดยอาการสี่ๆ ในขันธ์หนึ่งๆ โดย นัยเป็นต้นว่า พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นตน.

บทว่า ทสวตฺถุกา มิจฺฉาทิฏฺิ ได้แก่ ทิฏฐิที่เป็นไปโดยนัย เป็นต้นว่า ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล.

บทว่า อนฺตคฺคาหิกา ทิฏฺิ ทิฏฐิทีถือเอาว่า ส่วนสุดหนึ่งๆ มี อยู่ ซึ่งเป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเป็น โมฆะ.

บทว่า ยา เอวรูปา ทิฏฺิ เป็นบทตั้ง ซึ่งทั่วไปแก่บท ๑๙ บท ที่กล่าวอยู่ในบัดนี้ พึงเชื่อมความแม้ทั้งหมดว่า ทิฏฐิอันใด ความไปคือ ทิฏฐิก็อันนั้นแหละ ทิฏฐิอันใด รกเรี้ยวคือทิฏฐิก็อันนั้นแหละ.

อันใดชื่อว่าทิฏฐิ เพราะอรรถว่าเห็นไม่แน่นอน อันนั้นแหละชื่อว่า ทิฏฐิคตะ เพราะอรรถว่าไป คือ เห็นในทิฏฐิทั้งหลาย เพราะหยั่งลงภาย ในทิฏฐิ ๖๒. เนื้อความของบทนั้น กล่าวไว้แล้วทีเดียวแม้ในหนหลัง. ชื่อว่า ทิฏฐิคตะ เพราะไปแล้วโดยส่วนเดียวของส่วนสุดทั้ง ๒.

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 595

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สสฺสโต ได้แก่ เที่ยง.

บทว่า โลโก ได้แก่ ตน, สรีระในโลกนี้เท่านั้นพินาศไป แต่ ตนคงเป็นตนนั่นแหละทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เข้าใจกันดังนี้.

ก็ตนนั้น เข้าใจกันว่าโลก เพราะวิเคราะห์ว่าแลดูเป็นสามัญทั้งนั้น.

บทว่า อสสฺสโต ได้แก่ ไม่เที่ยงตนย่อมพินาศไปพร้อมกับสรีระ เข้าใจกันดังนี้.

บทว่า อนนฺตวา ความว่า ทำฌานให้เกิดขึ้นในกสิณเล็กน้อยแล้ว เข้าใจเจตนาที่มีกสิณเล็กน้อยเป็นอารมณ์นั้นว่าเป็นตนที่มีในที่สุดรอบ.

บทว่า อนนฺตวา ความว่า มีที่สุดหามิได้ คือทำฌานให้เกิดขึ้น ในกสิณหาประมาณมิได้แล้วเข้าใจเจตนาที่มีกสิณหาประมาณมิได้เป็นอารมณ์ นั้น ว่าเป็นตนที่มีที่สุดรอบหามิได้.

บทว่า ตํ ชีวํ ตํ สรีรํ ความว่า ทั้งชีพทั้งสรีระก็อันนั้นแหละ.

บทว่า ชีโว ได้แก่ นี้ท่านกล่าวเป็นนปุงสกลิงค์ด้วยลิงควิปลาส.

บทว่า สรีรํ ความว่า ชื่อว่าขันธปัญจกะ ด้วยอรรถว่ายินดี.

บทว่า อญฺํ ชีวํ อญฺํ สรีรํ ความว่า ชีพเป็นอย่างหนึ่ง ขันธปัญจกะเป็นอีกอย่างหนึ่ง.

บทว่า โหติ ตถาคโต ปรมฺมรณา ความว่า สัตว์เบื้องหน้า แต่มรณะ ย่อมมี คือ มีอยู่ ไม่พินาศไป.

ก็บทว่า ตถคโต นี้ เป็นชื่อของสัตว์ แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า บทว่า ตถาคโต ได้แก่ พระอรหันต์.

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 596

บทว่า อิเม น โหติ ความว่า เห็นโทษในฝ่ายหนึ่ง แล้วถือ เอาอย่างนี้.

บทว่า น โหติ ตถาคโต ปรมฺมรณา ความว่า แม้ขันธ์นั้น หลายย่อมพินาศในโลกนี้เท่านั้น และสัตว์เบื้องหน้าแต่มรณะย่อมไม่มี คือ ขาดสูญ.

บทว่า อิเม โหติ ความว่าเห็นโทษในฝ่ายหนึ่งแล้วถือเอาอย่างนี้.

บทว่า โหติ จ น จ โหติ ความว่า พระอรหันต์เหล่านี้เห็น โทษในการยึดถือฝ่ายหนึ่งๆ แล้วถือเอาทั้งสองฝ่าย.

บทว่า เนว โหติ น น โหติ ความว่า พระอรหันต์เหล่านี้เห็น การต้องโทษ ๒ อย่างในการยึดถือทั้ง ๒ ฝ่าย จึงถือฝ่ายที่ดิ้นได้ไม่ตายตัว ว่า มีอยู่ ก็มี ไม่มีอยู่ ก็มี.

ก็ในข้อนี้มีนัยแห่งอรรถกถาดังต่อไปนี้ :-

ท่านกล่าวประเภทแห่งทิฏฐิโดยอาการ ๑๐ อย่างว่า สสฺสโต โลโก วา เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สสฺสโต โลโก ความว่า ทิฏฐิที่เป็น ไปโดยอาการยึดถือว่าเที่ยง ของผู้ที่ยึดถือว่าขันธปัญจกะชื่อว่าโลก แล้ว ยึดถือว่า โลกนี้เที่ยง ยั่งยืน เป็นไปทุกกาล.

บทว่า อสสฺสโต ความว่า ทิฏฐิที่เป็นไปโดยอาการยึดถือว่าขาด สูญของผู้ที่ยึดถือโลกนั้นนั่นแหละว่า ขาดสูญ คือ พินาศ.

บทว่า อนฺตวา ความว่า ทิฏฐิที่เป็นไปโดยอาการยึดถือว่าโลกมี ที่สุด ของผู้ได้กสิณเล็กน้อย ผู้เข้ากสิณเพียงกระด้งหรือเพียงถ้วย ยึดถือ

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 597

รูปธรรมและอรูปธรรมที่เป็นไปภายในสมาบัติ ว่าโลกด้วย ว่ามีที่สุด โดยที่กำหนดด้วยกสิณด้วย ทิฏฐินั้นย่อมเป็นทั้งสัสสตทิฏฐิทั้งอุจเฉททิฏฐิ แต่ผู้ได้กสิณไพบูลย์ เข้ากสิณนั้น ยึดถือรูปธรรมและอรูปธรรมที่เป็นไป ภายในสมาบัติ ว่าโลกด้วย ว่าไม่มีที่สุดโดยที่สุดที่กำหนดด้วยกสิณด้วย ย่อมมีทิฏฐิที่เป็นไปโดยอาการยึดถือว่าโลกไม่มีที่สุด ทิฏฐินั้นก็เป็นทั้ง สัสสตทิฏฐิทั้งอุจเฉททิฏฐิ.

บทว่า ตํ ชีวํ ตํ สรีรํ ความว่า ทิฏฐิที่เป็นไปโดยอาการยึด ถือว่าขาดสูญ ว่าเมื่อสรีระขาดสูญ แม้ชีพก็ขาดสูญ เพราะยึดถือว่า เป็น ชีพของสรีระซึ่งมีการแตกไปเป็นธรรมดานั่นเองด้วยบทที่ ๒ ท่านกล่าว ทิฏฐิที่เป็นไปโดยอาการยึดถือว่าเที่ยง ว่าแม้เมื่อสรีระขาดสูญ ชีพก็ไม่ ขาดสูญ เพราะถือว่าชีพเป็นอื่นจากสรีระ. ในบทว่า โหติ ตถาคโต เป็นต้นมีความว่า ทิฏฐิ ๑ ชื่อว่า สัสสตทิฏฐิ เพราะยึดถือว่า สัตว์ ชื่อว่าตถาคต สัตว์นั้นเบื้องหน้าแต่มรณะ มีอยู่ ทิฏฐิที่ ๒ ชื่อว่าอุจเฉท ทิฏฐิ เพราะยึดถือว่า ไม่มีอยู่. ทิฏฐิที่ ๓ ชื่อว่า เอกัจจสัสสต เพราะยึดถือว่า มีอยู่ก็มี ไม่มีอยู่ก็มี. ทิฏฐิที่ ๔ ชื่อว่าอมราวิกเขป ทิฏฐิ เพราะยึดถือว่า มีอยู่ก็หามิได้ ไม่มีอยู่ก็หามิได้. ทิฏฐิ ๑๐ อย่าง มีประการดังกล่าวแล้วด้วยประการฉะนี้. ทิฏฐิมี ๒ อย่าง ตามกิเลส คือ ภวทิฏฐิ ๑ วิภวทิฏฐิ ๑ ในทิฏฐิ ๒ อย่างนั้น แม้สักอย่างหนึ่ง พระ ขีณาสพเหล่านั้นก็ไม่ปรารถนา.

บทว่า เย กิเลสา ความว่า กิเลสเหล่าใดอันอริยบุคคลละแล้ว

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 598

ด้วยโสดาปัตติมรรค อริยบุคคลนั้นย่อมไม่กลับถึงกิเลสเหล่านั้นอีก คือไม่ ยังกิเลสเหล่านั้นให้กลับบังเกิดอีก.

บทว่า น ปจฺจาคจฺฉติ ความว่า ไม่มาภายหลัง.

บทว่า ปญฺจหากาเรหิ ตาทิ ความว่า เป็นผู้เช่นกับด้วยเหตุ หรือส่วน ๕ อย่าง.

บทว่า อิฏฺานิฏฺเ ตาทิ ความว่า เป็นผู้เช่นกับในเหตุ ๒ อย่าง คือ อิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ เพราะเปลื้องความยินดีและยินร้ายได้ ตั้งอยู่. บทว่า จตฺตาวี ได้แก่ ละกิเลสทั้งหลาย.

บทว่า ติณฺณาวี ได้แก่ ก้าวล่วงสงสาร.

บทว่า มุตฺตาวี ได้แก่ พ้นจากราคะเป็นต้น.

บทว่า ตํ นิทฺเทสา ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้เช่นกัน เพราะแสดง ออก คือกล่าวชี้แจงด้วยคุณมีศีลและศรัทธาเป็นต้นนั้นๆ. พระสารีบุตรเถระประสงค์จะกล่าวอาการ ๕ อย่างนั้นให้พิสดาร จึง กล่าวว่า กถํ อรหา อิฏานิฏฺเ ตาทิ เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลาเภปิ ความว่า แม้ในการได้ ปัจจัย ๔.

บทว่า อลาเภปิ ความว่า แม้ในการเสื่อมปัจจัย ๔ เหล่านั้น.

บทว่า ยเสปิ ได้แก่ แม้ในบริวาร.

บทว่า อยเสปิ ได้แก่ แม้ในคราวเสื่อมบริวาร.

บทว่า ปสํสายปิ ได้แก่ แม้ในการกล่าวสรรเสริญ.

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 599

บทว่า นินฺทายปิ ได้แก่ แม้ในการติเตียน.

บทว่า สุเขปิ ได้แก่ แม้ในความสุขทางกาย.

บทว่า ทุกฺเขปิ ได้แก่ แม้ในความทุกข์ทางกาย.

บทว่า เอกํ เจ พาหํ คนฺเธน ลิมฺเปยฺยุํ ความว่า หากชน ทั้งหลายพึงให้การลูบไล้เบื้องบนๆ แขนข้างหนึ่ง ด้วยของหอมที่ปรุงด้วย จตุรชาติ.

บทว่า วาสิยา ตจฺเฉยฺยํ ความว่า หากนายช่างเอามีดถากแขน ข้างหนึ่งทำให้บาง.

บทว่า อมุสฺมึ นตฺถิ ราโค ความว่า ความเสน่หาในการสูบไล้ ด้วยของหอมโน้นไม่มี คือมีอยู่หามิได้.

บทว่า อมุสฺมึ นตฺถิ ปฏิฆํ ความว่า ความยินร้ายกล่าวคือการ กระทบ ได้แก่ความโกรธ ในการถากด้วยมีดโน้นไม่มี คือมีอยู่หามิได้.

บทว่า อนุนยปฏิฆวิปฺปหีโน ความว่า ละความเสน่หาและความ โกรธตั้งอยู่.

บทว่า อุคฺฆาตินิคฺฆาติ วีติวตฺโต ความว่า ก้าวล่วงการช่วย เหลือด้วยสามารถแห่งความยินดี และการข่มขี่ด้วยสามารถแห่งความยินร้าย ตั้งอยู่.

บทว่า อนุโรธวิโรธสมติกฺกนฺโต ความว่า ก้าวล่วงโดยชอบ ซึ่งความยินดีและความยินร้าย.

บทว่า สีเล สติ ความว่า เมื่อศีลมีอยู่.

บทว่า สีลวา ความว่า ถึงพร้อมด้วยศีล.

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 600

n พระอรหันต์ย่อมได้การแสดงออก คือการกล่าว ด้วยศีลนั้น เหตุ นั้น จึงชื่อว่าเป็นผู้คงที่. แม้ในบทอย่างนี้ว่า สทฺธาย สติ สทฺโธ เป็น ต้นก็นัยนี้แหละ.

สัทธัมมปัชโชติกา อรรถกถาขุททกนิกาฯ มหานิทเทส

อรรถกถาปรมัฏฐกสุตตนิทเทส

จบสูตรที่ ๕