พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อิสิทาสีเถรีคาถา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  21 พ.ย. 2564
หมายเลข  40755
อ่าน  351

[เล่มที่ 54] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 459

เถรีคาถา จัตตาฬิสนิบาต

อิสิทาสีเถรีคาถา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 54]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 459

เถรีคาถา จัตตาฬิสนิบาต

อิสิทาสีเถรีคาถา

[๔๗๓] พระสังคีติกาจารย์ ตั้งคาถานำเรื่องไว้ ๓ คาถาว่า

ในกรุงปาฏลีบุตร ที่มีนามว่า นครแห่งดอกไม้เป็นแผ่นดินที่ผ่องใส [บริสุทธิ์] มีพระภิกษุณี ๒ รูปผู้มีคุณสมบัติเป็นตระกูลแห่งศากยราช.

ใน ๒ รูปนั้น รูปหนึ่งชื่อว่า อิสิทาสี รูปที่ ๒ชื่อว่า โพธิ ล้วนสมบูรณ์ด้วยศีล ยินดีในการเพ่งฌานเป็นพหูสูต กำจัดกิเลสแล้ว ทั้งสองรูปนั้น เที่ยวบิณฑบาต ฉันและล้างบาตรแล้วก็นั่งอย่างสบายในที่ปลอดคน ต่างถามตอบด้วยถ้อยคำเปล่านี้.

พระโพธิเถรีถามว่า แม่เจ้าอิสิทาสี แม่เจ้ายังผ่องใส วัยของแม่เจ้าก็ยังไม่เสื่อมโทรม แม่เจ้าเห็นโทษอะไร จึงมาขวนขวายเนกขัมมะการบวชเล่า.

พระอิสิทาสีเถรีนั้น ถูกพระโพธิเถรีถามอย่างนี้ในที่ปลอดผู้คน ท่านเป็นผู้ฉลาดในการแสดงธรรมจึงตอบว่า แม่เจ้าโพธิ โปรดฟังเรื่องตามที่ข้าพเจ้าบวช (ต่อไป)

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 460

    ในกรุงอุชเชนี ราชธานีแห่งแคว้นอวันตี บิดาของข้าพเจ้าเป็นเศรษฐี ผู้มีศีล ข้าพเจ้าเป็นธิดาคนเดียวของท่าน จึงเป็นที่รักที่โปรดปรานและเอ็นดู.

    ครั้งนั้น พวกคนสนิทที่มีตระกูลสูง มาจากเมืองสาเกตบอกว่า เศรษฐีมีทรัพย์มากขอข้าพเจ้า บิดาจึงให้ข้าพเจ้าเป็นสะใภ้ของเศรษฐีนั้น.

    ข้าพเจ้าต้องเข้าไปทำความนอนน้อม ด้วยเศียรเกล้า ไหว้เท้าเช้าเย็น ต่อแม่ผัวและพ่อผัวตามวิธีที่ถูกสั่งสอนไว้.

    ข้าพเจ้าเห็นพี่น้องคนใกล้เคียง แม้แต่คนสนิทเพียงคนเดียวของสามีข้าพเจ้า ข้าพเจ้าก็หวาดกลัวต้องให้ที่นั่งเขา.

    ข้าพเจ้าต้องรับรองเขาด้วยข้าวน้ำของเคี้ยว แก่ผู้ที่เข้าไปนั้น นำเข้าไปและให้ของที่สมควรแก่เขา.

    ข้าพเจ้าบำรุงตามเวลา เข้าเรือนไปที่ประตูต้องล้างมือเท้า ประนมมือเข้าไปหาสามี.

    ข้าพเจ้าต้องถือหวี เครื่องลูบไล้ ยาหยอดตาและกระจกแต่งตัวให้สามีเองทีเดียวเหมือนหญิงรับใช้.

    ข้าพเจ้าหุงข้าวต้มแกงเอง ล้างภาชนะเอง ปรนนิบัติสามีเสมือนมารดาปรนนิบัติบุตรคนเดียวฉะนั้น.

    ข้าพเจ้าจงรักภักดี ทำหน้าที่ครบถ้วน เลิกมานะถือตัว ขยันไม่เกียจคร้าน มีศีลอย่างนี้ สามีก็ยังเกลียด.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 461

    สามีนั้นบอกบิดามารดาว่า ฉันลาไปละ ฉันไม่ขออยู่ร่วมกับอิสิทาสี ทั้งจะไม่ยอมอยู่ร่วมเรือนหลังเดียวกันด้วย.

    บิดามารดาเขากล่าวว่า อย่าพูดเช่นนี้สิลูก อิสิทาสีเป็นคนฉลาด สามารถ ขยันไม่เกียจคร้าน ทำไมไม่ชอบใจเล่าลูกเอ๋ย.

    เขาตอบว่า อิสิทาสีไม่ได้เบียดเบียนดอกจ้ะ แต่ฉันไม่อยากอยู่ร่วมกับอิสิทาสี ฉันเกลียด ฉันพอแล้ว ฉันขอลาไปละ.

    แม่ผัวพ่อผัวฟังคำบุตรนั้นแล้ว ได้ถามข้าพเจ้าว่า เจ้าทำผิดอะไรต่อเขา จึงถูกเขาทอดทิ้ง จงพูดไปตามจริงสิ.

    ข้าพเจ้าตอบว่า ข้าพเจ้าไม่ได้ทำผิดอะไร ไม่ได้เบียดเบียนเขา ทั้งไม่ได้พูดคำหยาบคาย ข้าพเจ้าหรือจะทำสิ่งที่สามีเกลียดข้าพเจ้าได้เล่า แม่เจ้า.

    บิดามารดาของเขานั้น เสียใจ เป็นทุกข์ หวังทะนุถนอมบุตร จึงนำข้าพเจ้าส่งกลับไปเรือนบิดา ข้าพเจ้ากลายเป็นแม่หม้ายสาวสามีร้างไป ภายหลังบิดาของข้าพเจ้าได้ยกข้าพเจ้าให้กุลบุตร ผู้มั่งคั่งน้อยกว่าสามีคนแรกครึ่งหนึ่ง ซึ่งเศรษฐีได้ข้าพเจ้าไป ข้าพเจ้าอยู่ในเรือนสามีคนที่สองนั้นได้เดือนเดียว ต่อมา เขาก็ขับข้าพเจ้า ผู้ปรนนิบัติดุจทาสี ผู้ไม่คิดประทุษร้ายพรั่งพร้อมด้วยศีล.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 462

    บิดาของข้าพเจ้าจึงพูดกะบุรุษผู้หนึ่ง ซึ่งฝึกคนอื่นๆ และฝึกตนแล้ว กำลังเที่ยวขอทานอยู่ว่า เจ้าจงทิ้งผ้าเก่าๆ และหม้อข้าวเสีย มาเป็นลูกเขยข้าเถิด.

    แม้บุรุษผู้นั้น อยู่ได้ครึ่งเดือนก็พูดกะบิดาว่า โปรดคืนผ้าผืนเก่า และภาชนะขอทานแก่ข้าเถิด ข้าจะไปขอทานอีก.

    ครั้งนั้น บิดามารดาและหมู่ญาติของข้าพเจ้าทุกคนพูดกะคนขอทานว่า ท่านทำกิจอะไรไม่ได้ในที่นี้รีบบอกมา เขาจักทำกิจนั้นแทนท่านเอง.

    เขาถูกบิดามารดา และหมู่ญาติถามอย่างนี้แล้วจึงตอบว่า ถึงตัวข้าจะเป็นไท ก็ไม่มีประโยชน์อะไรที่ข้าจะอยู่ร่วมกับอิสิทาสี ข้าไม่ขออยู่ร่วมกับอิสิทาสีทั้งจะไม่ขออยู่เรือนหลังเดียวกับอิสิทาสี.

    ชายขอทานนั้น ถูกบิดาปล่อยก็ไป ส่วนข้าพเจ้าอยู่โดดเดี่ยวก็คิดว่า จำจะลาบิดามารดาไปตายหรือบวชเสีย.

    ลำดับนั้น พระแม่เจ้าชินทัตตา ผู้ทรงวินัย เป็นพหูสูต สมบูรณ์ด้วยศีล เที่ยวบิณฑบาต มายังตระกูลของบิดา.

    ข้าพเจ้าเห็นท่าน จึงลุกขึ้นไปจัดอาสนะของข้าพเจ้าถวายท่าน เมื่อท่านนั่งเรียบร้อยแล้ว ข้าพเจ้าก็กราบเท้าถวายโภชนะ.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 463

    ข้าพเจ้าเลี้ยงดูด้วยข้าวน้ำและของเคี้ยวที่จัดไว้ในเรือนให้อิ่มหนำสำราญแล้ว จึงเรียนท่านว่า พระแม่เจ้า ข้าพเจ้าประสงค์จะบวชเจ้าข้า.

    ลำดับนั้น บิดาพูดกะข้าพเจ้าว่า ลูกเอ๋ย ลูกจงประพฤติธรรมในเรือนนี้ก็แล้วกัน จงเลี้ยงดูสมณพราหมณ์ ด้วยข้าวน้ำไปเถิด.

    ขณะนั้น ข้าพเจ้าร้องไห้ประคองมือ ประนมพูดกับบิดาว่า ความจริง ลูกก็ทำบาปมามากแล้ว ลูกจักชำระบาปนั้นให้เสร็จไปเสียที.

    บิดาจึงอวยพรข้าพเจ้าว่า ลูกจงบรรลุโพธิญาณธรรมอันเลิศ และได้พระนิพพาน ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐสุดแห่งสัตว์สองเท้า ทรงกระทำให้แจ้งแล้วเถิด.

    ข้าพเจ้ากราบบิดามารดา และหมู่ญาติทุกคน บวชได้ ๗ วัน ก็บรรลุวิชชา ๓ ข้าพเจ้ารู้ระลึกชาติได้ ๗ ชาติ จะบอกกรรมที่มีวิบากอย่างนี้แก่แม่เจ้าขอแม่เจ้า โปรดมีใจเป็นหนึ่ง ฟังวิบากกรรมนั้นเถิด.

    ในนครชื่อว่า เอรกัจฉะ ข้าพเจ้าเป็นช่างทองมีทรัพย์มาก มัวมาในวัยหนุ่ม ทำชู้กับภริยาผู้อื่น.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 464

    ข้าพเจ้าจุติจากโลกนั้นแล้ว ต้องไปหมกไหม้อยู่ในนรกเป็นเวลานาน ครั้นออกจากนรกนั้นแล้ว ก็เข้าท้องนางวานร.

    ข้าพเจ้าคลอดได้ ๗ วัน วานรใหญ่จ่าฝูงก็กัดอวัยวะเพศผู้เสีย นี้เป็นผลกรรมของข้าพเจ้า ที่เป็นชู้ภริยาผู้อื่น.

    ข้าพเจ้าจุติจากกำเนิดวานรนั้นแล้ว ก็ไปเข้าท้องแม่แพะตาบอดและเป็นง่อย ในป่า แคว้นสินธพ.

    ข้าพเจ้าอายุได้ ๑๒ ปี พาเด็กขี่หลังไปกระแทกอวัยวะเพศ ป่วยเป็นโรคหนอนฟอน นี้เป็นผลกรรมที่ทำชู้ภริยาผู้อื่น.

    ข้าพเจ้าจุติจากกำเนิดแพะแล้ว ก็เกิดในกำเนิดแม่โคของพ่อค้าโค เป็นลูกโค ขนแดงดั่งน้ำครั่งอายุ ๑๒ เดือนก็ถูกตอน.

    ข้าพเจ้าถูกใช้ให้ลากไถ และลากเกวียน ป่วยเป็นโรคตาบอด นี่เป็นผลกรรมที่ทำชู้ภริยาผู้อื่น.

    ข้าพเจ้าจุติจากกำเนิดโคแล้ว ก็ไปเกิดในเรือนทาสี ณ ท้องถนน ไม่ใช่หญิง ไม่ใช่ชาย นี่เป็นผลกรรมที่ทำชู้ภริยาผู้อื่น.

    ข้าพเจ้าอายุ ๓๐ ปี ก็ตาย เกิดเป็นเด็กหญิงในตระกูลช่างทำเกวียน ที่เข็ญใจ มีโภคทรัพย์น้อยเป็นที่รุมทวงหนี้ของเจ้าหนี้.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 465

    เมื่อหนี้พอกพูนทับถมกันมากขึ้น แต่นั้น นายกองเกวียนก็รับเอาสมบัติ ฉุดเอาข้าพเจ้าซึ่งกำลังรำพันอยู่ ออกจากเรือนของสกุล.

    บุตรของนายกองเกวียน ชื่อคิริทาส เห็นข้าพเจ้าเป็นสาวรุ่น อายุ ๑๖ ปี ก็มีจิตปฏิพัทธ์ ขอไปเป็นภริยา.

    แต่นายคิริทาส มีภริยาอยู่ก่อนคนหนึ่ง เป็นคนมีศีลมีคุณมียศ จงรักสามี ข้าพเจ้าก็ทำให้สามีเกลียดนาง.

    ข้อที่สามีทั้งหลาย เลิกร้างข้าพเจ้า ซึ่งปรนนิบัติดุจทาสีไป ก็เป็นผลกรรมของกรรมนั้น ที่สุดแม้ของกรรมนั้น ข้าพเจ้าก็กระทำเสร็จแล้ว.

    จบ อิสิทาสีเถรีคาถา

    จบ จัตตาฬีสนิบาต

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 466

เถรีคาถา จัตตาฬีสนิบาต

๑. อรรถกถาอิสิทาสีเถรีคาถา

    ในจัตตาฬิสนิบาต คาถาว่า นครมฺหิ กุสุมนาเม เป็นต้นเป็นคาถาของพระอิสิทาสีเถรี พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

    พระเถรีแม้รูปนี้ ก็ได้สร้างบารมีมาในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ เป็นผู้ชายมาในภพนั้นๆ สร้างสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน ในภพที่ ๗ นับแต่จริมภพ ก็ได้กระทำปรทาริกกรรม [เป็นชู้กับภรรยาผู้อื่น] โดยนิสัยที่ไม่ดีตายไปบังเกิดในนรก ต้องหมกไหม้อยู่ในนรกนั้นตั้งหลายร้อยปี จุติจากนรกนั้นแล้วไปบังเกิดในกำเนิดดิรัจฉาน ๓ ชาติ จุติจากนั้นแล้วไปบังเกิดเป็นกะเทยในท้องของทาสี จุติจากนั้นก็ไปบังเกิดเป็นลูกสาวช่างทำเกวียนที่ขัดสนคนหนึ่ง เจริญวัยแล้วลูกชายนายกองเกวียนคนหนึ่ง ชื่อคิริทาสก็เอาเป็นภริยานำไปบ้าน ภริยาเดิมของนายคิริทาสก็มี เป็นคนมีศีลมีกัลยาณธรรม ลูกสาวช่างทำเกวียนนั้น ปกติชอบริษยาภริยาเดิมนั้น ก็ทำให้สามีกับภริยาเดิมเกลียดกัน นางอยู่ในบ้านนั้นจนตลอดชีวิตจนตาย ในพุทธุปบาทกาลนี้ ก็ไปบังเกิดเป็นธิดาของเศรษฐีผู้พรั่งพร้อมด้วยสมบัติ ได้รับยกย่องด้วยคุณมีตระกูล ถิ่นและสีลาจารวัตรเป็นต้น ในกรุงอุชเชนี นางมีนามว่า อิสิทาสี ครั้นเจริญวัยบิดามารดาก็มอบให้แก่บุตรเศรษฐีคนหนึ่งที่มีตระกูล รูป วัยและสมบัติเป็นต้นทัดเทียมกัน นางอิสิทาสีนั้น ก็เป็นปติเทวดา (ปฏิบัติสามีดังเทวดา) ในเรือนของสามีนั้น อยู่ได้เพียงเดือนเดียว ด้วยผลกรรมของนาง สามีเกิดเบื่อหน่ายก็นำ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 467

นางออกไปจากเรือน เรื่องนั้นทั้งหมดรู้กันได้จากบาลีแห่งเดียว เพราะเหตุที่ตนเป็นผู้ไม่เป็นที่สบใจของสามีนั้นๆ นางก็เกิดสลดใจ ให้บิดาอนุญาตแล้วก็บวชในสำนักพระชินทัตตาเถรี เจริญวิปัสสนา ไม่นานนัก ก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔ ยับยั้งอยู่ด้วยสุขในผล และสุขในพระนิพพาน วันหนึ่งเที่ยวบิณฑบาตในกรุงปาฏลีบุตร หลังจากนั้นแล้วก็กลับจากบิณฑบาตนั่งบนพื้นทรายใกล้แม่คงคามหานที ถูกพระเถรีสหายของตน ชื่อว่าโพธิเถรีถามถึงบุพปฏิบัติประวัติก่อนบวช จึงวิสัชนาความนั้น ด้วยผูกเป็นคาถาโดยนัยว่า อุชฺเชนิยา ปุรวเร เป็นอาทิ เพื่อแสดงการเชื่อมความของคำถามและคำตอบนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย จึงตั้งคาถาไว้ ๓ คาถาว่า

    ในกรุงปาฏลีบุตร ที่มีนามว่า นครแห่งดอกไม้เป็นแผ่นดินที่ผ่องใส [บริสุทธิ์] มีพระภิกษุณี ๒ รูปผู้มีคุณสมบัติ เป็นตระกูลแห่งศากยราช.

    ใน ๒ รูปนั้น รูปหนึ่งชื่อว่า อิสิทาสี รูปที่ ๒ชื่อว่า โพธิ ล้วนสมบูรณ์ด้วยศีล ยินดีในการเพ่งฌานเป็นพหูสูต กำจัดกิเลสแล้ว ทั้ง ๒ รูปนั้นเที่ยวบิณฑบาต ฉันและล้างบาตรแล้วก็นั่งอย่างสบายในที่ปลอดผู้คน ต่างถามตอบกันในถ้อยคำเหล่านี้.

    พระโพธิเถรีถามว่า แม่เจ้าอิสิทาสีเจ้าข้า แม่เจ้ายังผ่องใส วัยของแม่เจ้าก็ยังไม่เสื่อมโทรม แม่เจ้าเห็นโทษอะไร จึงมาขวนขวายเนกขัมมะการบวชเจ้าคะ.

    พระอิสิทาสีเถรีนั้น ลูกพระโพธิเถรีถามอย่างนี้ในที่ปลอดผู้คน ท่านเป็นผู้ฉลาดในการแสดงธรรม

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 468

จึงตอบว่า แม่เจ้าโพธิ โปรดฟังเรื่องตามที่ข้าพเจ้าบวชนะจ๊ะ.

    ในกรุงอุชเชนี ราชธานี [ของแคว้นอวันตี] บิดาของข้าพเจ้าเป็นเศรษฐีผู้มีศีล ข้าพเจ้าเป็นธิดาคนเดียวของท่าน จึงเป็นที่รักที่โปรดปรานและเอ็นดู.

    ครั้งนั้น พวกคนสนิทที่มีตระกูลสูงมาจากเมืองสาเกตบอกว่า เศรษฐีมีทรัพย์มากขอข้าพเจ้า บิดาจึงให้ข้าพเจ้าเป็นสะใภ้ของเศรษฐีนั้น.

    ข้าพเจ้าต้องเข้าไปทำความนอบน้อม ด้วยเศียรเกล้า ไหว้เท้าเช้าเย็นต่อแม่ผัวและพ่อผัว ตามวิธีที่ถูกสั่งสอนไว้.

    ข้าพเจ้าเห็นพี่น้องคนใกล้เคียง แม้แต่คนสนิทเพียงคนเดียวของสามี ข้าพเจ้าก็หวาดกลัว ต้องให้ที่นั่งเขา.

    ข้าพเจ้าต้องรับรองเขาด้วยข้าวน้ำของเคี้ยวที่จัดไว้แก่ผู้ที่เข้าไปนั้น นำเข้าไปและให้ของที่สมควรแก่เขา.

    ข้าพเจ้าบำรุงตามเวลา เข้าเรือนไปที่ประตูต้องล้างมือเท้า ประนมมือเข้าไปหาสามี.

    ข้าพเจ้าต้องถือหวี เครื่องลูบไล้ ยาหยอดตาและกระจก แต่งตัวให้สามีเองทีเดียว เหมือนหญิงรับใช้.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 469

    ข้าพเจ้าหุงข้าวต้มแกงเอง ล้างภาชนะเอง ปรนนิบัติสามีเหมือนอย่างมารดาปรนนิบัติบุตรคนเดียวฉะนั้น.

    ข้าพเจ้าจงรักภักดี ทำหน้าที่ครบถ้วน เลิกมานะถือตัว ขยันไม่เกียจคร้าน มีศีลอย่างนี้ สามีก็ยังเกลียด.

    สามีนั้นบอกบิดามารดาว่า ฉันลาไปละ ฉันไม่ขออยู่ร่วมกับอิสิทาสี ทั้งจะไม่อยู่ร่วมในเรือนหลังเดียวกันด้วย.

    บิดามารดาเขากล่าวว่า อย่าพูดอย่างนี้สิลูกอิสิทาสีเป็นคนฉลาด สามารถ ขยันไม่เกียจคร้านทำไมเจ้าไม่ชอบใจเล่าลูกเอ๋ย.

    เขาตอบว่า อิสิทาสีไม่ได้เบียดเบียนฉันดอกจ้ะแต่ฉันไม่อยากอยู่ร่วมกับอิสิทาสี ฉันเกลียด ฉันพอแล้วฉันขอลาไปละ.

    แม่ผัวพ่อผัวฟังคำของบุตรนั้นแล้ว ได้ถามข้าพเจ้าว่า เจ้าทำผิดอะไรต่อเขา จึงถูกเขาทอดทิ้ง จงพูดไปตามจริงสิ.

    ข้าพเจ้าตอบว่า ข้าพเจ้าไม่ได้ทำผิดอะไร ไม่ได้เบียดเบียนเขา ทั้งไม่ได้พูดคำหยาบคาย ข้าพเจ้าหรือจะทำสิ่งที่สามีเกลียดข้าพเจ้าเล่าแม่เจ้า.

    บิดามารดาของเขานั้นเสียใจเป็นทุกข์ หวังทะนุถนอมบุตร จึงนำข้าพเจ้ากลับไปเรือนบิดา

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 470

ข้าพเจ้ากลายเป็นแม่หม้ายสาวสามีร้างไป ภายหลังบิดาของข้าพเจ้าได้ยกข้าพเจ้าให้แก่กุลบุตร ผู้มั่งคั่งน้อยกว่าสามีคนแรกครั้งหนึ่ง ซึ่งเศรษฐีได้ข้าพเจ้าไป ข้าพเจ้าอยู่ในเรือนสามีคนที่สองนั้นได้เดือนเดียว ต่อมาเขาก็ขับข้าพเจ้า ผู้ปรนนิบัติประดุจทาสี ผู้ไม่ประทุษร้ายพรั่งพร้อมด้วยศีล.

    บิดาของข้าพเจ้าจึงพูดกะบุรุษผู้หนึ่ง ซึ่งฝึกคนอื่นๆ และฝึกตนแล้ว กำลังเที่ยวขอทานอยู่ว่าเจ้าจงทิ้งผ้าเก่าและหม้อข้าวเสียมาเป็นลูกเขยข้าเถิด.

    แม้บุรุษผู้นั้นอยู่ได้ครึ่งเดือน ก็พูดกะบิดาว่าโปรดคืนผ้าผืนเก่าและภาชนะขอทานแก่ข้าเถิด ข้าจะไปขอทานอีก.

    ครั้งนั้น บิดามารดาและหมู่ญาติของข้าพเจ้าทุกคนพูดกะคนขอทานว่า ท่านทำกิจอะไรไม่ได้ในที่นี้รีบบอกมา เขาจักทำกิจนั้นแทนท่านเอง.

    เขาถูกบิดามารดาและญาติถามอย่างนี้แล้ว จึงตอบว่า ถึงตัวข้าจะเป็นไท ก็ไม่มีประโยชน์อะไรที่ข้าจะอยู่กับอิสิทาสี ข้าไม่ขออยู่ร่วมกับอิสิทาสี ทั้งไม่ขออยู่เรือนหลังเดียวกับอิสิทาสี.

    บิดายอมปล่อยชายขอทานนั้นไป ส่วนข้าพเจ้าอยู่โดดเดี่ยวก็คิดว่า จำจะลาบิดามารดาไปตายหรือบวชเสีย.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 471

    ลำดับนั้น พระแม่เจ้าชินทัตตา ผู้ทรงวินัยเป็นพหูสูต สมบูรณ์ด้วยศีล เที่ยวบิณฑบาตก็มายังตระกูลของบิดา.

    ข้าพเจ้าเห็นท่าน จึงลุกขึ้นไปจัดอาสนะของข้าพเจ้าถวายท่าน เมื่อท่านนั่งเรียบร้อยแล้ว ข้าพเจ้าก็กราบเท้าและถวายโภชนะ.

    ข้าพเจ้าได้เลี้ยงดูด้วยข้าวน้ำ และของเคี้ยวที่จัดไว้ในเรือนให้อิ่มหนำสำราญแล้ว จึงเรียนท่านว่าพระแม่เจ้า ข้าพเจ้าประสงค์จะบวชเจ้าข้า.

    ลำดับนั้น บิดาพูดกะข้าพเจ้าว่า ลูกเอ๋ย ลูกจงประพฤติธรรมในเรือนนี้ก็แล้วกัน จงเลี้ยงดูสมณะพราหมณ์ ด้วยข้าวน้ำไปเถิด.

    ขณะนั้น ข้าพเจ้าร้องไห้ประคองมือประนมพูดกะบิดาว่า ความจริงลูกก็ทำบาปมามากแล้ว ลูกจักชำระบาปนั้นให้เสร็จสิ้นไปเสียที.

    บิดาจึงอวยพรข้าพเจ้าว่า ลูกจงบรรลุโพธิญาณธรรมอันเลิศและได้พระนิพพานที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐสุดแห่งสัตว์สองเท้าทรงกระทำให้แจ้งแล้วเถิด.

    ข้าพเจ้ากราบบิดามารดาและหมู่ญาติทุกคน บวชได้ ๗ วัน ก็บรรลุวิชชา ๓.

    ข้าพเจ้ารู้ระลึกชาติได้ ๗ ชาติ จักบอกกรรมที่มีวิบากอย่างนี้แก่แม่เจ้า ขอแม่เจ้า โปรดมีใจเป็นหนึ่งฟังวิบากกรรมนั้นเถิด.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 472

    ในนครชื่อเอรกัจฉะ ข้าพเจ้าเป็นช่างทอง มีทรัพย์มาก มัวเมาในวัยหนุ่มทำชู้กับภริยาผู้อื่น.

    ข้าพเจ้านั้นจุติจากโลกนั้นแล้วต้องหมกไหม้อยู่ในนรกเป็นเวลานาน ครั้นออกจากนรกนั้นแล้ว ก็เข้าท้องนางวานร.

    ข้าพเจ้าคลอดได้ ๗ วัน วานรใหญ่จ่าฝูงก็กัดอวัยวะสืบพันธุ์เครื่องหมายเพศผู้เสีย นี่เป็นผลกรรมของข้าพเจ้าที่เป็นชู้ภริยาผู้อื่น.

    ข้าพเจ้าจุติจากกำเนิดวานรนั้น ตายแล้วก็ไปเข้าท้องแม่แพะตาบอดและเป็นง่อย ในป่าแคว้นสินธพ.

    ข้าพเจ้าอายุได้ ๑๒ ปี พาเด็กขี่หลังไปกระแทกอวัยวะเพศ ป่วยเป็นโรคหนอนฟอน นี่เป็นผลกรรมที่ทำชู้ภริยาผู้อื่น.

    ข้าพเจ้าจุติจากกำเนิดแพะแล้ว ก็เกิดในกำเนิดแม่โคของพ่อค้าโค เป็นลูกโคขนแดงดั่งน้ำครั่ง อายุ๑๒ เดือนก็ถูกตอน.

    ข้าพเจ้าถูกใช้ให้ลากไถและลากเกวียน ป่วยเป็นโรคตาบอด นี้เป็นผลกรรมที่เป็นชู้ภริยาผู้อื่น.

    ข้าพเจ้าจุติจากกำเนิดแล้ว ก็ไปเกิดในเรือนทาสี ณ ท้องถนน ไม่ใช่หญิงไม่ใช่ชาย นี่เป็นผลกรรมที่ทำชู้กับภริยาผู้อื่น.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 473

    ข้าพเจ้าอายุได้ ๓๐ ปีก็ตาย เกิดเป็นเด็กหญิงในตระกูลช่างทำเกวียน ที่เข็ญใจ มีโภคะน้อย เป็นที่รุมทวงหนี้ของเจ้าหนี้.

    เมื่อหนี้พอกพูนทับถมกันมากขึ้น แต่นั้นนายกองเกวียน ก็ริบสมบัติฉุดเอาข้าพเจ้าซึ่งกำลังรำพันอยู่ออกจากเรือนของสกุล.

    บุตรของนายกองเกวียน ชื่อคิริทาสเห็นข้าพเจ้าเป็นสาววัยรุ่นอายุ ๑๖ ปี ก็มีจิตปฏิพัทธ์ ขอไปเป็นภริยา.

    แต่นายคิริทาสนั้น มีภริยาอยู่ก่อนคนหนึ่ง เป็นคนมีศีล มีคุณ มียศ จงรักสามี ข้าพเจ้าก็ทำให้สามีเกลียดนาง ข้อที่สามีทั้งหลายเลิกร้างข้าพเจ้าซึ่งปรน-นิบัติดุจทาสีไป ก็เป็นผลกรรมของกรรมนั้น ที่สุดแม้ของกรรมนั้น ข้าพเจ้าก็กระทำเสร็จแล้ว.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นครมฺหิ กุสุมนาเม ได้แก่ ในนครที่ขนานนามด้วยกุสุมศัพท์อย่างนี้ว่า กุสุมนคร นครแห่งดอกไม้ บัดนี้พระเถรีแสดงนครนั้น โดยสรุปว่า ปาฏลิปุตฺตมฺหิ. บทว่า วิยา มณฺเฑได้แก่ เป็นที่ผ่องแผ้วทั่วทั้งแผ่นดิน. บทว่า สกฺยกุลกุลีนาโย ได้แก่ เป็นธิดาของสกุลในศากยสกุล ท่านกล่าวอย่างนี้ ก็เพราะเป็นผู้บวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นโอรสแห่งศากยราชสกุล.

    บทว่า ตตฺถ ได้แก่ บรรดาภิกษุณี ๒ รูปนั้น. บทว่า โพธิ ได้แก่พระเถรีมีชื่ออย่างนี้. บทว่า ฌานชฺฌายนรตาโย ได้แก่ ผู้ยินดียิ่งในการเพ่ง

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 474

ฌานที่เป็นโลกียะและโลกุตระ. บทว่า พหุสฺสุตาโย ได้แก่ เป็นพหูสูต โดยพาหุสัจจะทางปริยัติ. บทว่า ธุตกิเลสาโย ได้แก่ ผู้เพิกถอนกิเลสได้โดยประการทั้งปวง ด้วยพระอรหัตมรรค. บทว่า ภตฺตตฺถํ กริย ได้แก่ ทำภัตรกิจเสร็จ [ฉันเสร็จ]. บทว่า รหิตมฺหิ ได้แก่ ในที่ปราศจากผู้คน ในที่อันสงัด. บทว่า สุขนิสินฺนา ได้แก่ นั่งเป็นสุข ด้วยสุขในบรรพชา และด้วยสุขในวิเวก. บทว่า อิมา คิรา ได้แก่ การสนทนาอย่างเป็นสุข ที่จะกล่าวกันในบัดนี้. บทว่า อพฺภุทีเรสุํ ได้แก่ กล่าวกันเป็นการถามการตอบ.

    คาถาว่า ปาสาทิกาสิ เป็นต้น พระโพธิเถรีกล่าวเป็นคำถาม.คาถาว่า เอวนนุยุญฺชิยนานา เป็นต้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายกล่าว.คาถาว่า อุชฺเชนิยา เป็นต้น ทั้งหมด พระอิสิทาสีเถรีกล่าวผู้เดียว. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาสาทิกาสิ ได้แก่ เป็นผู้นำมาแต่ความเลื่อมใสแก่ผู้พบเห็นเพราะรูปงาม. บทว่า วโยปิ เต อปริหีโน ความว่า แม้วัยของพระแม่เจ้าก็ยังไม่เสื่อมโทรม คือยังอยู่ในปฐมวัย. บทว่า กึ ทิสฺวาน พฺยาลิกํ ความว่าเห็นทุกข์ภัย คือโทษอาทีนพในฆราวาสเช่นไร. ในบทว่า อถาสิ เนกฺขมฺมมนุยุตฺตา คำว่า อถ เป็นเพียงนิบาต, ได้เป็นผู้ขวนขวายในเนกขัมมะคือบรรพชา.

    บทว่า อนุยุญฺชิยมานา ได้แก่ ถูกถาม ประกอบความว่า พระอิสิทาสีนั้น ถูกพระโพธิเถรีถาม. บทว่า รหิเต ได้แก่ ในสถานที่ว่างคน. บทว่าสุณ โพธิ ยถามฺหิ ปพฺพชิตา ความว่า ท่านโพธิเถรี เจ้าแม่โปรดสดับโปรดฟังเรื่องเก่า ตามที่ข้าพเจ้าบวชมา.

    บทว่า อุชฺเชนิยา ปุรวเร ได้แก่ ในนครอันอุดม [ราชธานี] ในแคว้นอวันตี ชื่ออุชเชนี. บทว่า ปิยา ได้แก่ อันบิดามารดาพึงรัก เพราะเป็น

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 475

ธิดาคนเดียว. บทว่า มนาปา ได้แก่ จำเริญใจ ด้วยคุณคือศีลาจารวัตร.บทว่า ทยิตา ได้แก่ อันบิดามารดาพึงเอ็นดู.

บทว่า อถ ได้แก่ ในภายหลัง คือในเวลาที่ข้าพเจ้าเจริญวัย บทว่า เม สาเกตโต วรกา ความว่า คนสนิทของข้าพเจ้ามาแต่นครสาเกตเลือกข้าพเจ้า. บทว่า อุตฺตมกุลีนา ได้แก่ ผู้มีตระกูลเลิศในนครนั้น ผู้ที่ส่งคนเหล่านั้นไป ก็คือเศรษฐีผู้มีรัตนะมาก. บทว่า ตสฺส มมํ สุณฺหมทาสิตาโต ความว่า บิดาของข้าพเจ้าได้ให้ข้าพเจ้าเป็นสะใภ้ของเศรษฐีนครสาเกตุเป็นภริยาของบุตรชาย.

    บทว่า สายํ ปุาตํ ได้แก่ เวลาเย็นและเวลาเช้า. บทว่า ปณามมุปคมฺม สริสา กโรมิ ความว่า ข้าพเจ้าเข้าไปหาแม่ผัวและพ่อผัวทำความนอบน้อมด้วยเศียรเกล้า กราบเท้าท่าน. บทว่า ยถามฺหิ อนุสิฎ ความว่าข้าพเจ้าจะทำตามที่ท่านสั่งสอน ไม่ล่วงละเมิดคำสั่งสอนของท่าน

    บทว่า ตเมกวรกมฺปิ ได้แก่ แม้คนสนิทคนเดียว. บทว่า อุพฺพิคฺคา ได้แก่ สะดุ้งกลัว. บทว่า อาสนํ เทมิ ความว่า สิ่งใดสมควรแก่ผู้ใดข้าพเจ้าย่อมให้สิ่งนั้นแก่ผู้นั้น.

    บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในสถานที่เข้าไป. บทว่า สนฺนิหิตํ ได้แก่ที่ที่จัดไว้มีอยู่. บทว่า ฉาเทมิ ความว่า รับรอง ครั้นรับรองแล้วก็นำเข้าไปครั้นนำเข้าไปแล้วก็ให้ แม้เมื่อจะให้ ก็ให้แต่สิ่งที่สมควรเท่านั้น.

    บทว่า อุมฺมาเร ได้แก่ ประตู. บทว่า โธวนฺตี หตฺถปาเท ประกอบความว่า ข้าพเจ้าต้องล้างมือเท้า ครั้นล้างแล้วจึงเข้าไปเรือน.

    บทว่า โกจฺฉํ ได้แก่ หวีสำหรับหวีหนวดและผม. บทว่า ปสาทนํ ได้แก่ เครื่องทาหน้ามีผงหอมเป็นต้น. บาลีว่า ปสาธนํ ก็มี ได้แก่ เครื่องประดับ. บทว่า อญฺชนึ ได้แก่ หลอดยาหยอดตา. บทว่า ปริกมฺมการิกา

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 476

วิย ความว่า ข้าพเจ้าแม้เป็นคนตระกูลเลิศ สมบูรณ์ด้วยสมบัติ ก็เป็นเหมือนหญิงรับใช้ผู้บำเรอสามี.

    บทว่า สาธยามิ ได้แก่ หุงต้ม. บทว่า ภาชนํ ได้แก่ ภาชนะทำด้วยโลหะ ประกอบความว่า ข้าพเจ้าต้องปรนนิบัติล้าง (ภาชนะต่างๆ).

    บทว่า ภตฺติกตํ ได้แก่ ผู้ทำความภักดีสามี. บทว่า อนุรตฺตํได้แก่ ผู้จงรัก. บทว่า การิกํ ได้แก่ ผู้ทำใจที่ควรทำนั้นๆ ดังนี้. บทว่า นิหตมานํ ได้แก่ ผู้นำมานะออกไปแล้ว. บทว่า อุฏฺายิกํ ได้แก่ ผู้พร้อมด้วยความขยันหมั่นเพียร. บทว่า อนลสํ ได้แก่ เพราะพร้อมด้วยความขยันหมั่นเพียรนั้นนั่นแล จึงเป็นผู้ไม่เกียจคร้าน. บทว่า สีลวตึ ได้แก่ ผู้เพียบพร้อมด้วยศีลาจารวัตร. บทว่า ทุสฺสเต แปลว่า ประทุษร้าย คือพูดเพราะโกรธ.

    บทว่า ภณติ อาปุจฺฉหํ คมิสฺสามิ ความว่า สามีของข้าพเจ้านั้นพูดกะบิดามารดาของตนว่า ฉันจะลาท่านพ่อท่านแม่ไปเสียในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง.ถ้าจะถามว่าเขาพูดว่ากระไร ก็ตอบได้ว่า เขาพูดว่า ฉันจะไม่ยอมอยู่ร่วมกับอิสิทาสี ทั้งจะไม่ยอมอยู่ร่วมเรือนหลังเดียวกันด้วย. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วจฺฉํ แปลว่าอยู่.

    บทว่า เทสฺสา ได้แก่ ไม่เป็นที่รัก [เกลียด]. บทว่า อลํ เม ความว่า ฉันไม่ต้องการอิสิทาสีนั้น. บทว่า อาปุจฺฉาหํ คมิสฺสามิ ความว่า ถ้าท่านพ่อท่านแม่ประสงค์จะให้ฉันอยู่ร่วมกับอิสิทาสีนั้น ฉันก็จะขอลาท่านพ่อท่านแม่ไปอยู่ต่างถิ่น.

    บทว่า ตสฺส ได้แก่ สามีของข้าพเจ้า. บทว่า กิสฺส ความว่าเจ้าทำผิดพลาดอะไรต่อสามีของเจ้านั้น.

    บทว่า นปิหํ อปรชฺฌํ ความว่า ข้าพเจ้าไม่ได้ทำผิดอะไรต่อสามีนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า นปิ หึเสมิ ได้แก่

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 477

ทั้งก็ไม่ได้เบียดเบียน. บทว่า ทุพฺพจนํ ได้แก่ ถ้อยคำที่กล่าวชั่วหยาบ.บทว่า กึ สกฺกา กาตุยฺเย ความว่า ข้าพเจ้าจะทำอะไรได้เล่าแม่เจ้า. บทว่ายํ มํ วิทฺเทสฺสเต ภตฺตา ความว่า เพราะเหตุที่สามีของข้าพเจ้าเกลียดคือ ทำความชัง ความเคืองขุ่นใจ.

    บทว่า วิมนา ได้แก่ เสียใจ. บทว่า ปุตฺตมนุรกฺขมานา ได้แก่ทนุถนอมบุตรของตน ซึ่งเป็นสามีของข้าพเจ้าด้วยการรักษาน้ำใจ. บทว่าชิตามฺหเส รูปินึ ลกฺขึ ความว่า ข้าพเจ้ามีชัยคือชนะ สิริคือศรีอันงามได้หรือหนอ อธิบายว่า ข้าพเจ้าต้องเสื่อมจากเทวดาคือสิริที่เที่ยวอยู่โดยเพศมนุษย์แล้วหนอ หมายความว่าต้องเป็นหญิงหม้ายสามีร้างไปแล้ว.

    บทว่า อฑฺฒสฺส ฆรมฺหิ ทุติยกุลิกสฺส ความว่า บิดาได้ให้ข้าพเจ้าในเรือนกุลบุตรคนที่สอง เมื่อเทียบสามีคนที่หนึ่ง ก็มั่งคั่งน้อยกว่าครึ่งหนึ่ง แต่เมื่อให้ก็ให้โดยเรียกสินสอดครึ่งหนึ่ง จากสินสอดของสามีคนที่หนึ่งนั้น.บทว่า เยน มํ วินฺทถ เสฏฺฐี ประกอบความว่า เศรษฐีได้ข้าพเจ้าเป็นคนแรกด้วยสินสอดอันใด บิดาข้าพเจ้าก็ให้โดยเรียกสินสอดอันนั้นครึ่งหนึ่งจากสินสอดสามีคนที่หนึ่งนั้น.

    บทว่า โสปิ ได้แก่ แม้สามีตนที่สอง. บทว่า มํ ปฏิจฺฉรยิได้แก่ ขับไล่ข้าพเจ้า คือเขาเสือกไสข้าพเจ้าออกไปจากเรือน. บทว่า อุปฏฺฐหนฺตึ ได้แก่ ผู้บำรุงคือทำการปรนนิบัติ ดุจทาสี. บทว่า อทูสิกํ แปลว่าผู้ไม่ประทุษร้าย.

    บทว่า ทมกํ ได้แก่ ผู้ฝึกจิตของตนอื่นๆ เพราะเป็นผู้อธิษฐานความกรุณาไว้ คือผู้เที่ยวขออาหารที่ผู้อื่นพึงให้ ทำกายวาจาคนให้สงบระงับโดยอาการที่ชนเหล่าอื่นจักให้ของบางสิ่ง. บทว่า ชามาตา ได้แก่ สามีของ

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 478

ธิดา [ลูกเขย] บทว่า นิกฺขิป โปฏฺฐิญฺจ ฆฏิกญฺจ ความว่า เจ้าจงทิ้งผ้าเก่าที่เจ้านุ่งห่ม และภาชนะขอทานเสีย.

    บทว่า โสปิ วสิตฺวา ปกฺขํ ความว่า ชายขอทานแม้คนนั้นอยู่ร่วมกับข้าพเจ้าได้เพียงครึ่งเดือน ก็หลีกไป.

    บทว่า อถ นํ ภณตี ตาโต ความว่า บิดามารดาและหมู่ญาติทุกคนของข้าพเจ้า รวมกันเป็นกลุ่มช่วยกันพูดกะชายขอทานนั้น พูดว่าอย่างไรพูดว่า กึ เต น กีรติ อิธ แปลว่า ชื่อว่า กิจอะไรท่านทำไม่ได้ ทำไม่สำเร็จในที่นี้ จงรีบบอกมา. บทว่า ตํ เต กริหิต ได้แก่ เขาจักทำกิจนั้นแทนท่าน.

    บทว่า ยทิ เม อตฺตา สกฺโกติ ประกอบความว่า ถ้าตัวข้าพึ่งตัวเองได้ เป็นไทแก่ตัว ข้าก็พอ คือแม่อิสิทาสีนั้น ก็ไม่มีประโยชน์ เพราะฉะนั้นข้าจะไม่นั่งร่วมไม่อยู่ร่วม ทั้งจะไม่อยู่ร่วมในเรือนหลังเดียวกันกับแม่อิสิทาสีนั้น.

    บทว่า วิสฺสชฺชิโต คโต โส ความว่า ชายขอทานนั้น บิดายอมปล่อยแล้ว ก็ไปตามชอบใจ. บทว่า เอกากินี แปลว่า โดดเดี่ยว. บทว่าอาปุจฺฉิตูน คจฺฉํ ความว่า ข้าพเจ้าจะสละบิดาของข้าพเจ้าไป. บทว่า มริตุเยแปลว่า เพื่อตาย. วา ศัพท์เป็นนิบาตลงในอรรถวิกัป.

    บทว่า โคจราย แปลว่า เพื่อหาอาหาร ประกอบความว่า มาสู่ตระกูลของบิดา เพื่อหาอาหาร.

    บทว่า ตํ ได้แก่ ท่านพระชินทัตตาเถรีนั้น. บทว่า อุฏฺายาสนํตสฺสา ปญฺาปยึ ความว่า ลุกขึ้นไปปูอาสนะถวายพระเถรีนั้น.

    บทว่า อิเธว ได้แก่ ยืนที่เรือนหลังนี้นี่แหละ. บิดาเมื่อเอ็นดู ก็เรียกธิดาโดยโวหารสามัญว่า ลูกเอ๋ย. บทว่า จราหิ ตฺวํ ธมฺมํ ความว่า ลูก

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

ระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 479

จงประพฤติธรรมมีพรหมจรรย์เป็นต้น ที่พึงบวชแล้วประพฤติ. บทว่า ทวิชาตีได้แก่ ชาติพราหมณ์

    บทว่า นิชฺชเรสฺสามิ ได้แก่ ทำให้หมดไป ให้เสื่อมสิ้นไป.

    บทว่า โพธึ ได้แก่ ตรัสรู้สัจจะ อธิบายว่ามรรคญาณ. บทว่า อคฺคธมฺมํ ได้แก่ ธรรมส่วนผล คือพระอรหัต. บทว่า ยํ สจฺฉิกรี ทฺวิปทเสฎฺโ ประกอบความว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐสุดแห่งสัตว์สองเท้าทั้งหลาย ได้ทรงกระทำโลกุตรธรรมอันใด ที่เข้าใจกันว่า มรรคผลนิพพานให้แจ้ง ลูกก็จงได้โลกุตรธรรมอันนั้น.

    บทว่า สตฺตาหํ ปพฺพชิตา ความว่า บวชได้สัปดาห์หนึ่ง. บทว่า อผสฺสยิ แปลว่า ถูกต้อง คือกระทำให้แจ้ง.

    บทว่า ยสฺสยํ วิปาโก ความว่า วิบากนี้เป็นผลที่หลั่งออกคือความเป็นผู้ไม่สบใจสามี ของบาปกรรมอันใด. บทว่า ตํ ตวอาจิกฺขิสฺสํ ความว่า ข้าพเจ้าจักกล่าวบาปกรรมนั้นแก่แม่เจ้า. บทว่า ตํ ได้แก่กรรมนั้นนั่นแหละ ที่จะกล่าว หรือถ้อยคำของข้าพเจ้านั้น. บทว่า เอกมนาได้แก่ เป็นผู้มีใจมีอารมณ์เดียว อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน.

    บทว่า นครมฺหิ เอรกจฺเฉ ได้แก่ ในนครที่มีชื่ออย่างนี้. บทว่าโส ปรทารํ อเสวิหํ แปลว่า ข้าพเจ้านั้น ได้ซ่องเสพภริยาของผู้อื่น.

    บทว่า จิรํ ปกฺโก ได้แก่ ถูกไฟนรกเผา หลายแสนปี. บทว่า ตโต จ อุฏฺหิตฺวา ได้แก่ ออกคือจุติจากนรกนั้นแล้ว. บทว่า มกฺกฏิยากุจฺฉิโมกฺกมึ ได้แก่ ถือปฏิสนธิในท้องนางวานร.

    บทว่า ยูถโป แปลว่า จ่าฝูง. บทว่า นิลฺลจฺเฉสิ ได้แก่ ตอนคือควักพืชคืออวัยวะสืบพันธุ์ อันเป็นเครื่องหมายแห่งเพศผู้ออกเสีย. บทว่า

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 480

ตสฺเสตํ กมฺมผลํ ได้แก่ นั่นเป็นผลของกรรมที่ทำไว้ในอดีตของข้าพเจ้านั้น. บทว่า ยถาปิ คนฺตฺวาน ปรทารํ ได้แก่ อย่างที่ข้าพเจ้าเป็นชู้ภริยาของผู้อื่น.

    บทว่า ตโต ได้แก่ จากกำเนิดวานร. บทว่า สินฺธวารญฺเได้แก่ ในสถานที่ป่าใหญ่ แคว้นสินธพ. บทว่า เอฬกิยา แปลว่า แม่แพะ.

    บทว่า ทารเก ปริวหิตฺวา ได้แก่ พาพวกเด็กขี่หลังไป. บทว่า กิมินาวฏฺโฏ ได้แก่ เป็นโรคถูกหนอนชอนไชในที่อวัยวะสืบพันธุ์ ทรมานกดขี่. บทว่า อกลฺโล แปลว่า ป่วย เติมคำว่า อโหสิ แปลว่า ได้เป็นสัตว์ป่วย.

    บทว่า โควาณิชกสฺส ได้แก่ คนขายโคเลี้ยงชีพ. บทว่า ลาขาตมฺโพได้แก่ ประกอบด้วยขนสีแดงเหมือนย้อมด้วยน้ำครั่ง.

    บทว่า โวฒูน ได้แก่ ลาก. บทว่า นงฺคลํ แปลว่าไถ อธิบายว่า ลากไถและลากเกวียน. บทว่า อนฺโธวฏฺฏ ได้แเก่ เป็นโรคตาบอด ทรมานเบียดเบียน.

    บทว่า วีถิยา ได้แก่ ถนนในนคร. บทว่า ทาสิยา ฆเร ชาโตได้แก่ เกิดในท้องทาสีในเรือนเบี้ย. อาจารย์บางพวกกล่าวว่าหญิงวรรณะทาสก็มี. บทว่า เนว มหิสา น ปุริโส ความว่า ข้าพเจ้าจะเป็นหญิงหรือเป็นชายก็ไม่ใช่ คือไม่มีเพศ.

    บทว่า ติสติวสฺสมฺหิ มโต ได้แก่ เป็นคนไม่มีเพศ ตายเสียเมื่ออายุได้ ๓๐ ปี. บทว่า สากฏิกกุลมฺหิ ได้แก่ ตระกูลช่างทำเกวียน. บทว่า ธนิกปุริสปาตพหุลมฺหิ ได้แก่ เป็นที่บุรุษเจ้าหนี้ทั้งหลายมารวมกัน อันเจ้าหนี้เป็นอันมากพากันมาทวงหนี้.

    บทว่า อุสฺสนฺนาย ได้แก่ สะสม. บทว่า วิปุลาย ได้แก่ มาก.บทว่า วฑฺฒิยา ได้แก่ เมื่อหนี้พอกพูน. บทว่า โอกฑฺฒติ ได้แก่ ฉุดคร่า. บทว่า กุลฆรสฺมา ได้แก่ จากเรือนตระกูลที่ข้าพเจ้าเกิด.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 481

บทว่า โอรุนฺธตสฺส ปุตฺโต ความว่า บุตรของนายกองเกวียนนั้น ชื่อว่า คิริทาส เกิดจิตปฏิพัทธ์ในข้าพเจ้า ก็กักตัวไว้ คือทำให้ข้าพเจ้าอยู่ในเรือนโดยเป็นผู้ควรหวงแหนสำหรับตน.

บทว่า อนุรตฺตา ภตฺตารํ ได้แก่ คล้อยตามสามี. บทว่า ตสฺสาหํวิทฺเทสนมกาสึ ได้แก่ วิเทสนกรรมคือทำภริยากับสามีให้เกลียดกันเป็นศัตรูกัน คือข้าพเจ้าปฎิบัติโดยวิธีที่สามีขุ่นเคืองภริยานั้น.

บทว่า ยํ มํ อปกีริตูน คจฺฉนฺติ ได้แก่ ข้อที่สามีทั้งหลายในเรือนนั้นๆ สละทอดทิ้งข้าพเจ้า ซึ่งปรนนิบัติโดยเคารพประดุจทาสี ไม่อาลัยอาวรณ์เลิกร้างไป เป็นผลที่หลั่งไหลมาแห่งกรรมคือการเป็นชู้ภริยาผู้อื่น และกรรมคือการทำสามีภริยาให้เกลียดเป็นศัตรูกัน ที่ทำไว้ครั้งนั้น ของข้าพเจ้านั้น. บทว่า ตสฺสปิ อนฺโต กโต มยา ความว่า ที่สุดแห่งกรรมที่ทำให้ถึงความยินร้าย อย่างนั้นนั้นอันทารุณ บัดนี้ ข้าพเจ้าผู้บรรลุอรหัตมรรคกระทำเสร็จแล้ว ทุกข์อะไรนอกจากนี้ไม่มีกันละ. ก็คำที่มิได้จำแนกไว้ในระหว่างๆ ในเรื่องนี้ มีความง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัยที่กล่าวมาแล้ว.

จบอรรถกถาอิสิทาสีเถรีคาถา

จบอรรถกถาจัตตาฬีสนิบาต