พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๑. มุตตาเถรีคาถา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  20 พ.ย. 2564
หมายเลข  40688
อ่าน  307

[เล่มที่ 54] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 23

เถรีคาถา เอกนิบาต

๑๑. มุตตาเถรีคาถา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 54]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 23

๑๑. มุตตาเถรีคาถา

[๔๑๒] เราเป็นผู้พ้นด้วยดี เป็นผู้พ้นโดยชอบด้วยความหลุดพ้นจากความค่อม ๓ อย่าง คือค่อมเพราะครก ๑ ค่อมเพราะสาก ๓ ค่อมเพราะสามี ๑ เป็นผู้พ้นแล้วจากความเกิดและความตายถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพได้แล้ว.

จบ มุตตาเถรีคาถา

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 24

๑๑. อรรถกถามุตตาเถรีคาถา

    คาถาว่า สุมุตฺตา สาธุ มุตฺตามฺหิ เป็นต้น เป็นคาถาของพระเถรีชื่อมุตตา.

    พระเถรีชื่อมุตตาแม้นี้ ก็สร้างสมบุญบารมีไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมกุศลไว้ในภพนั้นๆ ในพุทธุปปาทกาลนี้บังเกิดเป็นบุตรสาวของพราหมณ์ยากจนในโกศลชนบท เวลาเจริญวัย บิดามารดาได้ให้เธอแก่พราหมณ์ค่อมคนหนึ่ง เธอไม่ชอบครองเรือนกับพราหมณ์ค่อมนั้น ขออนุญาตเขาบวชแล้ว เจริญวิปัสสนา จิตของเธอพล่านไปในอารมณ์ภายนอก เธอข่มจิตนั้นกล่าวคาถาว่า เราเป็นผู้พ้นด้วยดี เป็นผู้พ้นโดยชอบ เป็นต้น ขวนขวายวิปัสสนาบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า

    พระพิชิตมารพระนามว่าปทุมุตตระ มีจักษุในธรรมทั้งปวง ทรงอนุเคราะห์เหล่าสัตว์ เสด็จเข้าบุรีเพื่อบิณฑบาต เมื่อพระศาสดาพระองค์นั้นเสด็จมา ชาวพระนครเหล่านั้นทั้งหมดต่างร่าเริงยินดีมาร่วมกันเกลี่ยทราย กวาดถนน ยกต้นกล้วย หม้อมีน้ำเต็ม ธง เอาธูป จุรณ และพวงดอกไม้สักการะพระศาสดา ข้าพเจ้ามอบถวายมณฑป นิมนต์พระผู้นายกวิเศษถวายมหาทาน ปรารถนาพระสัมโพธิญาณพระมหาวีระ พระนามปทุมุตตระผู้นำเหล่าสรรพสัตว์ ผู้เป็นอัครบุคคล ทรงอนุโมทนาแล้วทรง

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 25

พยากรณ์ว่า เมื่อล่วงไปแสนกัป จักมีภัทรกัป เธอได้ความสุขในภพน้อยใหญ่ทั้งหลายแล้วจักบรรลุพระโพธิญาณ ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งทั้งชายและหญิง ผู้กระทำหัตถกรรม ทั้งหมดจักประชุมพร้อมกันในอนาคตกาล ชนเหล่านั้นจักเป็นบริจาริกาคนรับใช้ของเธอ ในเทวพิภพที่เธอเกิด ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น และด้วยความตั้งใจมั่น ย่อมเสวยทิพยสุขและมนุษย์สุขอันนับไม่ได้ พวกเราท่องเที่ยวไปในภพน้อยใหญ่ตลอดกาลนานจากนี้ไปแสนกัป ข้าพเจ้าได้ทำกรรมใดไว้ในกาลนั้นด้วยกรรมนั้น ข้าพเจ้าเป็นผู้สุขุมาลชาติในมนุษยโลกและเทวโลก ข้าพเจ้าได้รูป โภคะ ยศ อายุ เกียรติและสุขที่น่ารัก ทั้งหมดเป็นความถึงพร้อมแห่งกุศลกรรมที่ทำติดต่อกัน.

    ครั้นถึงภพสุดท้าย ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลพราหมณ์ มีมือเท้าละเอียดอ่อนในนิเวศน์ที่น่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง ข้าพเจ้าไม่เห็นสิ่งที่ไม่งามบนปฐพี ข้าพเจ้าไม่เห็นภาคพื้นที่เป็นโคลนเลนไม่สะอาด ในกาลไหนๆ ข้าพเจ้าเผากิเลสแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้าปฏิบัติคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว.

    ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อเปล่งอุทาน พระเถรีได้กล่าวคาถานี้ว่า

    เราเป็นผู้พ้นด้วยดี เป็นผู้พ้นโดยชอบ ด้วยความหลุดพ้นจากความค่อม ๓ อย่างคือ ค่อมเพราะครก ๑ ค่อมเพราะสาก ๑ ค่อมเพราะสามี ๑ เป็น

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 26

ผู้พ้นแล้วจากความเกิดและความตาย ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพได้แล้ว.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุมุตฺตา ได้แก่ พ้นแล้วด้วยดี. บทว่าสาธุ มุตฺตามฺหิ ความว่า เป็นผู้พ้นดี คือโดยชอบนั่นเอง ก็เป็นผู้พ้นด้วยดี เป็นผู้พ้นโดยชอบ จากอะไร ฉะนั้น จึงกล่าวว่า ตีหิ ขุชฺเชหิมุตฺติยา ความว่า ด้วยความหลุดพ้นจากความคด ๓ อย่าง. บัดนี้เมื่อจะแสดงความคดเหล่านั้นโดยย่อ พระเถรีจึงกล่าวว่า ค่อมเพราะครก ๑ ค่อมเพราะสาก ๑ ค่อมเพราะสามี ๑ ดังนี้. ด้วยว่าเมื่อใส่ข้าวเปลือกในครก กลับข้าวไปมา และตำอยู่ด้วยสาก ย่อมต้องก้มหลังดังนั้น ท่านจึงกล่าวเหตุทั้งสองว่าค่อม เพราะเป็นเหตุให้ทำความค่อม อนึ่ง สามีของพระเถรีนั้นเป็นคนค่อมทีเดียว.

    บัดนี้ พระเถรีกล่าวความพ้นจากความค่อม ๓ อย่าง เป็นการแสดงความพ้นใด เมื่อแสดงความพ้นนั่นแหละ พระเถรีกล่าวว่า เป็นผู้พ้นแล้วจากความเกิดและความตาย แล้วกล่าวถึงเหตุในเรื่องนั้นว่า ถอนตัณหาเป็นเครื่องนำไปสู่ภพได้แล้ว. เนื้อความของบทนั้นว่า ข้าพเจ้ามิได้พ้นเพียงความค่อม ๓อย่างเท่านั้น ที่แท้ข้าพเจ้าพ้นแม้จากความเกิดและความตายทั้งหมด เพราะตัณหาตัวที่เป็นเนตติคือนำไปสู่ภพทั้งหมด ข้าพเจ้าถอนขึ้นแล้วด้วยมรรคอันเลิศ (คืออรหัตมรรค)

    จบ อรรถกถามุตตาเถรีคาถา