พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. ติสสาเถรีคาถา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  20 พ.ย. 2564
หมายเลข  40680
อ่าน  393

[เล่มที่ 54] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 17

เถรีคาถา เอกนิบาต

๔. ติสสาเถรีคาถา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 54]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 17

๔. ติสสาเถรีคาถา

    [๔๐๕] ดูก่อนติสสา เธอจงศึกษาในไตรสิกขา โยคะกิเลสเครื่องประกอบทั้งหลายอย่าได้ครอบงำเธอ เธอจงพรากจากโยคะทั้งหมด เป็นผู้ไม่มีอาสวะเที่ยวไปในโลก.

    จบ ติสสาเถรีคาถา

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 18

๔. อรรถกถาติสสาเถรีคาถา

    คาถาว่า ติสฺเส สิกฺขสฺสุ สิกฺขาย เป็นต้น เป็นคาถาสำหรับนางสิกขมานาชื่อติสสา.

    นางสิกขมานาชื่อติสสาแม้นี้ ก็สร้างสมบุญบารมีไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมกุศลที่เป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้นๆ เพราะกุศลที่ได้รวบรวมไว้เป็นปัจจัย จึงบังเกิดในศากยราชตระกูลกรุงกบิลพัสดุ์ในพุทธุปปาทกาลนี้ เจริญวัยแล้วเป็นสนมของพระโพธิสัตว์ ภายหลังได้ออกบวชพร้อมกับพระมหาปชาบดีโคตมี เจริญวิปัสสนา พระศาสดาทรงเปล่งพระรัศมีตามนัยที่กล่าวแล้วในหนหลัง ได้ภาษิตพระคาถาแก่พระเถรีนั้นว่า

    ดูก่อนติสสา เธอจงศึกษาในไตรสิขา โยคะกิเลสเครื่องประกอบทั้งหลายอย่าได้ครอบงำ เธอจงพรากจากโยคะทั้งหมด เป็นผู้ไม่มีอาสวะเที่ยวไปในโลก

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ติสฺเส เป็นคำเรียกพระเถรีนั้น. บทว่าสิกฺขสฺสุ สิกฺขาย ความว่า จงศึกษาในสิกขา ๓ อย่างมีอธิสีลสิกขาเป็นต้นคือจงยังสิกขา ๓ ที่สัมปยุตด้วยมรรคให้ถึงพร้อม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเหตุในการยังสิกขา ๓ เหล่านั้นให้ถึงพร้อมในบัดนี้. บทว่า มา ตํ โยคาอุปจฺจคุํ ความว่า สมัยที่ควรประกอบเหล่านี้ คือ ความเป็นมนุษย์ ความไม่บกพร่องแห่งอินทรีย์ ความเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า ความได้ศรัทธาอย่าล่วงเลยเธอไปเสีย อีกอย่างหนึ่ง โยคะ ๔ มีกามโยคะเป็นต้นนั่นแหละอย่าเข้าใกล้ คืออย่าครอบงำเธอ บทว่า สพฺพโยควิสํยุตฺตา ความว่า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 19

พ้นจากโยคะทั้งหมดมีกามโยคะเป็นต้น เพราะพ้นนั้นแหละ แต่นั้นจงเป็นผู้ไม่มีอาสวะเที่ยวไปในโลก จงอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน.

    นัยมีอาทิว่า พระเถรีนั้นฟังคาถานั้นแล้วเจริญวิปัสสนาบรรลุพระอรหัต ดังนี้ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

    จบ อรรถกถาติสสาเถรีคาถา