พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

วสลสูตรที่ ๗ ว่าด้วยคนถ่อย ๒๐ จําพวก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  12 พ.ย. 2564
หมายเลข  40160
อ่าน  564
  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 326

วสลสูตรที่ ๗

ว่าด้วยคนถ่อย ๒๐ จำพวก

[๓๐๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสกแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้า ไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล อัคคิกภารทวาชพราหมณ์ก่อไฟ แล้วตกแต่งของที่ควรบูชา อยู่ในนิเวศน์ ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก ในพระนครสาวัตถี เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ ของอัคคิกภารทวาชพราหมณ์ อัคคิกภารทวาชพราหมณ์ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแต่ไกลทีเดียว ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า หยุด อยู่ที่นั่นแหละคนโล้น หยุดอยู่ที่นั่นแหละสมณะ หยุดอยู่ที่นั่นแหละคนถ่อย.

เมื่ออัคคิกภารทวาชพราหมณ์กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสถามว่า ดูก่อนพราหมณ์ ก็ท่านรู้จักคนถ่อย หรือธรรมเป็นเครื่อง กระทำให้เป็นคนถ่อยหรือ?

อ. ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าไม่รู้จักคนถ่อยหรือธรรมเป็นเครื่องกระทำ ให้เป็นคนถ่อย ดีละ ขอท่านพระโคดมจงแสดงธรรมตามที่ข้าพเจ้าจะพึงรู้จัก คนถ่อยหรือธรรมเป็นเครื่องกระทำให้เป็นคนถ่อยเถิด.

พ. ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจัก กล่าว อัคคิกภารทวาชพราหมณ์ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระคาถาประพันธ์นี้ว่า

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 327

[๓๐๖] ๑. คนมักโกรธ ผูกโกรธ ลบหลู่อย่างเลว มีทิฏฐิวิบัติ และมีมายา พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย.

๒. คนผู้เบียดเบียนสัตว์ที่เกิดหนเดียว แม้หรือเกิดสองหน ไม่มีความเอ็นดู ในสัตว์ พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย.

๓. คนเบียดเบียน เที่ยวปล้น มี ชื่อเสียงว่า ฆ่าชาวบ้านและชาวนิคม พึงรู้ ว่าเป็นคนถ่อย.

๔. คนลักทรัพย์ที่ผู้อื่นหวงแหน ไม่ได้อนุญาตให้ ในบ้านหรือในป่า พึงรู้ ว่าเป็นคนถ่อย.

๕. คนที่กู้หนี้มาใช้แล้วกล่าวว่า หา ได้เป็นหนี้ท่านไม่ หนีไปเสีย พึงรู้ว่าเป็น คนถ่อย.

๖. คนฆ่าคนเดินทาง ชิงเอาสิ่งของ เพราะอยากได้สิ่งของ พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย.

๗. คนถูกเขาถามเป็นพยาน แล้ว กล่าวคำเท็จ เพราะเหตุแห่งตนก็ดี เพราะ เหตุแห่งผู้อื่นก็ดี เพราะเหตุแห่งทรัพย์ก็ดี พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 328

๘. คนผู้ประพฤติล่วงเกิด ในภริยา ของญาติก็ตาม ของเพื่อนก็ตาม ด้วยข่มขืน หรือด้วยการร่วมรักกัน พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย.

๙. คนผู้สามารถ แต่ไม่เลี้ยงมารดา หรือบิดาผู้แก่เฒ่าผ่านวัยหนุ่มสาวไปแล้ว พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย.

๑๐. คนผู้ทุบตีด่าว่ามารดาบิดาพี่- ชายพี่สาว พ่อตาแม่ยาย แม่ผัวหรือพ่อผัว พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย.

๑๑. คนผู้ถามถึงประโยชน์ บอก สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ พูดกลบเกลื่อนเสีย พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย.

๑๒. คนทำกรรมชั่วแล้ว ปรารถนา ว่าใครอย่าพึงรู้เรา ปกปิดไว้ พึงรู้ว่าเป็น คนถ่อย.

๑๓. คนผู้ไปสู่สกุลอื่นแล้ว และ บริโภคโภชนะที่สะอาด ย่อมไม่ตอบแทน เขาผู้มาสู่สกุลของตน พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย.

๑๔. คนผู้ลวงสมณะ พราหมณ์ หรือแม้วณิพกอื่น ด้วยมุสาวาท พึงรู้ว่าเป็น คนถ่อย.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 329

๑๕. เมื่อเวลาบริโภคอาหาร คนผู้ด่า สมณะหรือพราหมณ์และไม่ให้โภชนะ พึงรู้ ว่าเป็นคนถ่อย.

๑๖. คนในโลกนี้ ผู้อันโมหะครอบงำแล้ว ปรารถนาของเล็กน้อย พูดอวดสิ่ง ที่ไม่มี พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย.

๑๗. คนเลวทราม ยกตนและดูหมิ่น ผู้อื่น ด้วยมานะของตน พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย.

๑๘. คนฉุนเฉียว กระด้าง มีความ ปรารถนาลามก มีความตระหนี่ โอ้อวด ไม่ละอาย ไม่สะดุ้งกลัว พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย.

๑๙. คนติเตียนพระพุทธเจ้า หรือ ติเตียนบรรพชิต หรือ คฤหัสถ์ สาวกพระพุทธเจ้า พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย.

๒๐. ผู้ใดแลไม่เป็นพระอรหันต์ แต่ ปฏิญาณว่าเป็นพระอรหันต์ ผู้นั้นแลเป็นคน ต่ำช้า เป็นโจรในโลกพร้อมทั้งพรหมโลก คนเหล่าใด เราประกาศแก่ท่านแล้ว คน เหล่านั้นนั่นแล เรากล่าวว่าเป็นคนถ่อย.

บุคคลไม่เป็นคนถ่อยเพราะชาติ ไม่ เป็นพราหมณ์เพราะชาติ แต่เป็นคนถ่อย

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 330

เพราะกรรม เป็นพราหมณ์เพราะกรรม ท่าน จงรู้ข้อนั้น ตามที่เราแสดงนี้ บุตรของคน จัณฑาลเลี้ยงตัวเองได้ ปรากฏชื่อว่ามาตังคะ เป็นคนกินของที่ตนให้สุกเอง เขาได้ยศ อย่างสูงที่ได้แสนยาก กษัตริย์และพราหมณ์ เป็นอันมากได้มาสู่ที่บำรุงของเขา เขาขึ้น ยานอันประเสริฐ ไปสู่หนทางใหญ่อันไม่มี ฝุ่น เขาสำรอกกามราคะเสียได้แล้ว เป็นผู้ เข้าถึงพรหมโลก ชาติไม่ได้ห้ามเขาให้เข้า ถึงพรหมโลก พราหมณ์เกิดในสกุลผู้สาธยายมนต์ เป็นพวกร่ายมนต์ แต่พวกเขา ปรากฏในบาปกรรมอยู่เนืองๆ พึงถูก ติเตียนในปัจจุบันทีเดียว และภพหน้าก็เป็น ทุคติ ชาติห้ามกันพวกเขาจากทุคติหรือจาก ครหาไม่ได้ บุคคลไม่เป็นคนถ่อยเพราะชาติ ไม่เป็นพราหมณ์เพราะชาติ แต่เป็นคนถ่อย เพราะกรรม เป็นพราหมณ์เพราะกรรม.

[๓๐๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว อัคคิกภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของ พระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 331

พระองค์ทรงประกาศธรรม โดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแกคนหลงทาง หรือตามประทีปไว้ในที่มืด ด้วยหวัง คนมีจักษุจักเห็นรูปได้ ฉะนั้น ข้าพระองค์ขอถึงพระองค์กับทั้งพระธรรมและ พระภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระองค์ทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึง สรณะตลอดชีวิตจำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.

จบวสลสูตรที่ ๗

อรรถกถาอัคคิกภารทวาชสูตร *

อัคคิกภารทวาชสูตรเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ดังนี้ :-

สูตรนั้นเรียกว่า วสลสูตร ดังนี้ ก็มีอุบัติอย่างไร? พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้ พระนครสาวัตถี ทรงตรวจดูสัตวโลก ด้วยพุทธจักษุ ในเวลาเสร็จภัตกิจ เป็นต้น โดยนัยที่กล่าวแล้วในกสิภารทวาชสูตรนั่นแล ทรงเห็นอัคคิกภารทวาชพราหมณ์ ผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย แห่งสรณะและสิกขาบท ทรงทราบว่า เมื่อเราไปในที่นั้นแล้ว การสนทนาก็จักเป็นไป ต่อแต่นั้น ในที่สุดแห่งการ สนทนา พราหมณ์นั่นฟังธรรมเทศนาแล้ว จักถึงสรณะสมาทานสิกขาบท ทั้งหลาย และได้เสด็จไปในนิเวศน์ของอัคคิกภารทวาชพราหมณ์นั้น เมื่อการ สนทนาเป็นไปแล้ว พราหมณ์ได้ทูลขอให้ทรงแสดงธรรม จึงได้ตรัสพระสูตรนี้.


* บาลีเป็น วสลสูตร

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 332

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอวมฺเม สุตํ เป็นต้น ข้าพเจ้าจัก พรรณนาไว้ในมงคลสูตร. บทว่า อถโข ภควา ปุพฺพณฺหสมยํ เป็นต้น ผู้ศึกษาพึงทราบ โดยนัยที่กล่าวแล้วในกสิภารทวาชสูตรนั่นแล. ในคำว่า เตน โข ปน สมเยน อคฺคิกภารทวาชสฺส นั้น คำใดๆ ที่ไม่เคยกล่าว ข้าพเจ้าจักพรรณนาคำนั้นๆ นั่นเทียว คือ

ก็พราหมณ์นั้นย่อมบูชา คือ บำเรอไฟ เพราะกระทำอย่างนี้จึงปรากฏ โดยชื่อว่า อัคคิกะ ปรากฏโดยโคตรว่า ภารทวาชะ เพราะฉะนั้น ท่านจึง กล่าวว่า อัคคิกภารทวาชะ.

บทว่า นิเวสเน คือ ใกล้เรือน. ได้ยินว่า ใกล้ประตูนิเวศน์ของ พราหมณ์นั้น มีโรงบูชาไฟอยู่ที่ระหว่างถนน. แต่นั้น เมื่อควรจะกล่าวว่า นิเวสนทฺวาเร จึงกล่าวว่า นิเวสเน เพราะบทแม้นั้นนับเนื่องในนิเวศน์ นั่นแล. หรือบทว่า นิเวสเน เป็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถว่าใกล้ อธิบายว่า ใกล้นิเวศน์.

บทว่า อคฺคิ ปชฺชลิโต โหติ ความว่า ไฟตั้งอยู่ในเตาไฟได้เชื้อ และลมพัดในเตาที่ทำด้วยไม้ หรือในที่ใกล้ ก็ลุกโพลงมีกลุ่มเปลวไฟพุ่งขึ้น ข้างบน. บทว่า อาหุตี ปคฺคหิตา ความว่า พราหมณ์อาบน้ำชำระศีรษะแล้ว ตกแต่งข้าวปายาส เนยใส น้ำผึ้ง น้ำอ้อยเป็นต้น ด้วยสักการะใหญ่. ก็สิ่งใด สิ่งหนึ่ง ควรบูชาไฟ สิ่งนั้นเรียกว่า อาหุตี.

บทว่า สปทานํ ได้แก่ ตามลำดับเรือน. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จเที่ยวบิณฑบาตแวะไปในตระกูลสูงและตระกูลต่ำ เพื่อประโยชน์แก่การ อนุเคราะห์ชนทั้งปวง และด้วยความสันโดษในอาหาร ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง กล่าวว่า พระองค์เสด็จเที่ยวบินณฑบาตตามลำดับตรอก.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 333

ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุอะไร พราหมณ์เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยอาการทั้งปวง ทรงน่าเลื่อมใสรอบด้าน จิตจึง ไม่เลื่อมใส และเพราะเหตุไร พราหมณ์จึงพูดคำหยาบกะพระผู้มีพระภาคเจ้า เล่า?

ตอบว่า ได้ยินว่า พราหมณ์นี้มีความเห็นอย่างนี้ว่า การเห็นสมณะ ในมงคลกิจทั้งหลายเป็นอวมงคล แต่นั้นก็รู้ว่า สมณะโล้นผู้กาลกรรณีเข้ามาสู่ เรือนของเรา ในเวลามหาพรหมบริโภค จึงไม่ยังจิตให้เลื่อมใส ถึงอำนาจ แห่งการด่าทีเดียว และเมื่อด่าแล้ว ก็เสียใจ จึงเปล่งวาจาอันไม่พอใจว่า จงหยุดอยู่ที่นั้นแหละ คนโล้น ดังนี้เป็นต้น.

และเพราะแม้ในที่นั้น พราหมณ์ทั้งหลายมีความเห็นว่า คนโล้นเป็น ผู้ไม่บริสุทธิ์ เพราะฉะนั้น เมื่อรังเกียจว่า คนโล้นไม่บริสุทธิ์ ด้วยเหตุนั้น จึงเป็นผู้อันเทพและพราหมณ์ไม่บูชา จึงทูลว่า แน่ะคนโล้น. หรือรังเกียจ อยู่ว่า สมณะนั้นเป็นคนเดน เพราะมีศีรษะโล้น จึงไม่ควรมาสู่ประเทศนี้ และรังเกียจความเป็นสมณะว่า แม้เป็นสมณะก็ไม่สรรเสริญความเศร้าหมอง ทางกายเช่นนี้ จึงทูลว่า แน่ะสมณะ.

พราหมณ์นี้ จะพูดด้วยอำนาจแห่งการด่าอย่างเดียวก็หาไม่ ยังรังเกียจ อยู่ว่า คนถ่อยบวชแล้วปลื้มใจ ด้วยการทำการบริโภคร่วมกันกับคนถ่อยเหล่านั้น สมณะนี้ เลวยิ่งกว่าแม้คนถ่อย จึงทูลว่า แน่ะคนถ่อย หรือแม้สำคัญอยู่ว่า บาปย่อมมีแก่พวกคนถ่อย ด้วยการดูการบูชา และการฟังมนต์ จึงทูลอย่างนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ถูกพราหมณ์กราบทูลแล้วอย่างนั้น เมื่อจะทรง ประกาศความที่พระองค์มีพระคุณไม่ทั่วไปเป็นต้นกับสัตว์ทั้งปวง ด้วยสีพระ-

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 334

พักตร์อันผ่องใสทีเดียว ด้วยพระสุรเสียงที่ไพเราะด้วยพระหฤทัยเต็มเปี่ยมด้วย ความอนุเคราะห์และเยือกเย็นบนพราหมณ์ จึงตรัสว่า ชานาสิ ปน ตฺวํ พฺรหฺมณ แปลว่า ดูก่อนพราหมณ์ ก็ท่านรู้จักคนถ่อยหรือ? ลำดับนั้น พราหมณ์รู้ความที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีพระพักตร์ผ่องใส และพระหฤทัยสม่ำ เสมอเป็นต้น ฟังพระสุรเสียงไพเราะ ซึ่งทรงเปล่งด้วยพระหฤทัยอนุเคราะห์ และเย็นสนิท ก็มีหัวใจอันน้ำอมฤตนั่นเทียวรดแล้ว มีใจเป็นของตน มีอินทรีย์ ผ่องใส ละมานะเสียได้ ละคำพูดที่ไม่ควรพูด อันเช่นกับอสรพิษซึ่งมีชาติ นั้นๆ เป็นสภาพ สำคัญอยู่ว่า ไฉนหนอ เราจึงพูดถึงชาติเลวว่าเป็นคนถ่อย โดยปรมัตถ์ เขาหาใช่เป็นคนถ่อยไม่ และความที่ชาติเลวก็หามีไม่ มีแต่ธรรม ที่ทำให้เป็นคนถ่อย จึงกราบทูลว่า น โข อหํ โภ โคตม แปลว่า ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าไม่รู้จักคนถ่อย. ก็ข้อที่บุคคลถึงพร้อมด้วยเหตุ แม้จะ เป็นคนหยาบคาย เพราะไม่ได้ปัจจัย แต่พอได้ปัจจัย ก็จะเป็นคนละมุนละม่อม นั่นเป็นธรรมดา.

[สาธุศัพท์]

บรรดาบทเหล่านั้น ศัพท์ว่า สาธุ นี้ ย่อมปรากฏในอรรถทั้งหลาย เป็นต้นว่า

๑. อายาจนะ การขอร้อง

๒. สัมปฏิจฉนะ การยอมรับ

๓. สัมปหังสนะ ความร่าเริง

๔. สุนทร ดี

๕. ทัฬหิกรรม การทำให้มั่นคง.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 335

ก็สาธุศัพท์ปรากฏในการขอร้อง ดุจในประโยคเป็นต้นว่า สาธุ เม ภนฺเต ภควา สงฺขิตฺเตน ธมฺมํ เทเสตุ แปลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ดังข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ โดยย่อ.

ปรากฏในการยอมรับ ดุจในประโยคเป็นต้นว่า สาธุ ภนฺเตติ โข โส ภิกฺขุ ภควา ภาสิตํ อภินนฺทิตฺวา อนุโมทิตฺวา แปลว่า ภิกษุนั้นเพลิดเพลิน อนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าดีละพระเจ้าข้า. ปรากฏในความร่าเริง ดุจในประโยคเป็นต้นว่า สาธุ สาธุ สารีปุตฺต ดีละ ดีแล้ว สารีบุตร.

ปรากฏในอรรถว่า ดี ดุจในประโยคมีอาทิว่า

สาธุ ธมฺมรุจี ราชา สาธุ ปญฺญาณวา นโร

สาธุ มิตฺตานมทฺทุพฺโภ ปาปสฺสากรณํ สุขํ พระราชาทรงชอบพระธรรมเป็นคน ดี คนมีปัญญา เป็นเครื่องปรากฏเป็นคนดี คนไม่ประทุษร้ายมิตรทั้งหลาย เป็นคนดี การไม่ทำบาปเป็นเหตุแห่งความสุข.

ปรากฏในการทำให้มั่นคง ดุจในประโยคมีอาทิว่า สาธุกํ สุณาถ มสิกโรถ ตถา เต ภาสิสฺสามิ ยถา ตฺวํ ชานิสฺสสิ แปลว่า ท่านจง ฟังให้ดี จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวแก่ท่าน โดยประการที่ท่านจักรู้ได้. แต่ใน ที่นี้ สาธุศัพท์ปรากฏในการขอร้อง.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 336

บทว่า เตนหิ เป็นการแสดงขยายอธิบายการขอร้องนั้น มีอธิบายว่า ถ้าท่านประสงค์จะรู้ หรือเป็นการพูดถึงเหตุ. พึงทราบการเชื่อมบทนั้นเข้ากับ บทอื่นอย่างนี้ว่า เพราะท่านต้องการจะรู้ เพราะฉะนั้น พราหมณ์ ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวแก่ท่าน โดยประการที่ท่านจักรู้ ดังนี้.

ก็ในบทเหล่านั้น บทว่า สุณาหิ เป็นการห้ามถึงความฟุ้งซ่านแห่ง โสตินทรีย์. บทว่า สาธุกํ มนสิกโรหิ เป็นการห้ามความฟุ้งซ่านแห่ง มนินทรีย์ เพราะประกอบการทำให้มั่นคง ในมนสิการ. ก็ในคำทั้งสองนั้น คำต้น เป็นการห้ามถึงการยึดถือพยัญชนะอย่างผิดๆ คำหลังเป็นการห้ามถึง การยึดถืออรรถอย่างผิดๆ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกอบพราหมณ์ไว้ใน การฟังธรรม ด้วยคำต้น ทรงประกอบไว้ในกรรมทั้งหลายมีการทรงไว้และ การพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมทั้งหลายที่ฟังแล้วด้วยคำหลัง และด้วยคำต้น ทรงแสดงว่า ธรรมนี้มีพยัญชนะ เพราะฉะนั้น ท่านพึงฟัง ด้วยคำหลัง ทรงแสดงว่า ธรรมนี้มีอรรถ เพราะฉะนั้น ท่านพึงมนสิการ.

อีกอย่างหนึ่ง ทรงประกอบสาธุกบทเข้ากับบททั้งสอง เมื่อทรง แสดงอรรถนั้นว่า เพราะธรรมนี้ ลึกโดยธรรมและลึกโดยเทศนา เพราะฉะนั้น ท่านจงให้ดี เพราะเป็นธรรมลึกโดยอรรถและลึกโดยปฏิเวธ เพราะฉะนั้น ท่านจงสนใจให้ดี ดังนี้ จึงตรัสว่า สุณาหิ สาธุกํ มนสิกโรหิ แต่นั้น ทรงปลอบพราหมณ์นั้น ผู้ดุจท้อแท้อยู่ว่า เราจักได้ที่พึ่งในธรรมอันลึกซึ้ง อย่างนี้อย่างไร จึงตรัสว่า ภาสิสฺสามิ ดังนี้. ในคำนั้น พึงทราบความ ขวนขวายอย่างนี้ว่า ท่านจักรู้โดยประการใด เราจักกล่าวโดยนัยอันตื้นด้วยบท

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 337

และพยัญชนะอันกลมกล่อม โดยประการนั้น ต่อจากนั้น อัคคิกภารทวาชพราหมณ์เป็นผู้มีความขวนขวายแล้ว จึงทูลรับ มีอธิบายว่า รับแล้ว คือ รับเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า หรือมุ่งหน้าฟังด้วยการ ปฏิบัติตามธรรมที่ทรงแสดง ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ คือ ตรัสบอกคำนี้แก่พราหมณ์นั้น. บทมีอย่างนี้ว่า โกธโน อุปนาหี เป็นต้น ตรัสหมายถึงธรรมที่พึงตรัสบอกในบัดนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า โกธโน ได้แก่ ผู้โกรธเป็นปกติ. บทว่า อุปนาหี ได้แก่ ผู้ประกอบพร้อมด้วยความโกรธ โดยทำความโกรธนั้นนั่นแล ให้มั่นคง คนใดย่อมล้าง ย่อมลบคุณทั้งหลายของคนอื่นทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น คนนั้นชื่อว่า มกฺขี ผู้ลบหลู่ คนนั้นเลวด้วย ลบหลู่ด้วย ชื่อว่า ปาปมกฺขี ผู้ลบหลู่อย่างเลว.

บทว่า วิปนฺนทิฏฺิ ได้แก่ ผู้มีสัมมาทิฏฐิพินาศแล้ว หรือผู้ประกอบ ด้วยมิจฉาทิฏฐิ ๑๐ อย่าง อันวิบัติ คือ ผิดรูปแล้ว. บทว่า มายาวี ได้แก่ ผู้ประกอบพร้อมด้วยมายามีการปกปิดโทษอันมีอยู่ในตน.

บทว่า ตํ ชญฺา วสโล อิติ ความว่า ท่านจงรู้บุคคลนั้น คือ เห็นปานนั้นว่า เป็นคนถ่อย เพราะหลั่งออก เพราะไหลออกและเพราะซ่านไป แห่งธรรมเลวเหล่านั้น. ด้วยว่าธรรมอันเลวทั้งหมดเกิดแล้วในกระหม่อมของ พราหมณ์ จริงอยู่ พราหมณ์นี้ โดยปรมัตถ์เป็นคนถ่อยทีเดียว หาได้เรียก บุคคลอื่น สักว่าความพอใจแห่งหฤทัยของตนไม่.

ในคาถานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำการข่มความโกรธของพราหมณ์ นั้น ด้วยบทต้นเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้แล้ว และเมื่อจะทรงแสดงธรรมมี

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 338

ความโกรธเป็นต้น ด้วยบุคลาธิษฐานว่า บุคคลเลวมีความโกรธเป็นธรรมดา จึงทรงแสดงคนถ่อยและธรรมทั้งหลายที่ทำให้เป็นคนถ่อย ด้วยปริยายหนึ่งก่อน และเมื่อทรงแสดงอย่างนั้น ไม่ทรงทำการข่มคนอื่น และไม่ยกพระองค์ว่า ท่าน เรา ทรงตั้งพราหมณ์นั้นในความเป็นคนถ่อย และพระองค์ในความเป็น พราหมณ์ด้วยธรรมนั่นเอง คือ ด้วยความถูกต้องสม่ำเสมอ.

บัดนี้ เมื่อจะทรงปฏิเสธทิฏฐิของพราหมณ์ทั้งหลายว่า บุคคลแม้ทำ อยู่ซึ่งปาณาติบาต และอทินนาทานเป็นต้น ในกาลบางคราวก็ยังเป็นพราหมณ์ อยู่นั่นเอง และเมื่อจะทรงแสดงโทษในทิฏฐินั้นว่า ก็สัตว์ทั้งหลายเหล่าใด ประกอบด้วยอกุศลธรรมเหล่านั้นๆ ในบรรดาอกุศลธรรมมีความเบียดเบียน เป็นต้น เมื่อไม่เห็นโทษ ย่อมยึดถือธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้นเลวสำหรับ สัตว์เหล่านั้น จึงเป็นธรรมทำให้เป็นคนถ่อย จึงได้ตรัสคาถามีอาทิอย่างนี้ว่า เอกชํ วา ทฺวิชํ วา เพื่อทรงแสดงคนถ่อย และธรรมทั้งหลายอันทำให้เป็น คนถ่อย โดยปริยายทั้งหลายแม้อื่นอีก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอกชํ ได้แก่ สัตว์ที่เกิดในกำเนิด ที่เหลือเว้นสัตว์ที่เกิดในไข่. ก็สัตว์ที่เกิดในกำเนิดนั้น ย่อมเกิดครั้งเดียวเท่านั้น.

บทว่า ทฺวิโช ได้แก่ สัตว์เกิดในไข่ จริงอยู่ สัตว์เกิดในไข่นั้น ย่อมเกิดสองครั้ง คือ จากท้องแม่ครั้ง ๑ จากกระเปาะฟองไข่ครั้ง ๑ ซึ่งสัตว์ ที่เกิดหนเดียว แม้หรือเกิดสองหนนั้น.

บทว่า โยธ ปาณํ ความว่า คนใดในโลกนี้เบียดเบียนสัตว์ บทว่า วิหึสติ ความว่า ปลงจากชีวิตด้วยประโยค ที่ตั้งขึ้นจากเจตนาที่เป็นไปทาง

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 339

กายทวาร หรือที่ตั้งขึ้นจากเจตนาที่เป็นไปทางวจีทวาร. บาลีว่า ย่อมเบียดเบียนทั้งหลาย ดังนี้ก็มี. นักศึกษาพึงทราบความสัมพันธ์ในบทนั้นอย่างนี้ว่า คนใดในโลกนี้ ย่อมเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย มีประเภทอย่างนี้คือ สัตว์ที่เกิด หนเดียว หรือเกิดสองหน. ตรัสความไม่มีความเอ็นดูด้วยใจ ด้วยบทนี้ว่า ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์.

บทที่เหลือในคาถานี้ และในคาถาทั้งหลายนอกจากนี้ มีนัยที่กล่าว แล้วนั้นแล. เพราะข้าพเจ้าจะไม่กล่าวบทแม้มีประมาณเท่านี้ ต่อนี้ไปจะเลี่ยง บททั้งหลายที่มีเนื้อความง่าย จักกระทำการพรรณนาบทที่ยังไม่พรรณนาเท่า นั้นแล.

บทว่า หนฺติ คือ ย่อมฆ่า ย่อมให้พินาศ. บทว่า อุปรนฺเธติ คือ ใช้พรรคพวกยืนแวดล้อมไว้. บทว่า นครานิ แม้ดังนี้ พึงกล่าวด้วย ศัพท์ในบทนี้ว่า คามานิ นิคมานิ จ. ด้วยการฆ่าและการปล้นนี้ว่า นิคฺคาหโก สมญฺาโต มีชื่อเสียงอันบุคคลรู้แล้วในโลกว่า ฆ่าชาวบ้าน ชาวนิคม และชาวนคร.

บทว่า คาเม ยทิ วารญฺเ ความว่า บ้านก็ดี นิคมก็ดี นครก็ดี ทั้งหมดพร้อมอุปจาร ชื่อว่า บ้าน ในคาถานี้ เว้นบ้านนั้น ที่เหลือชื่อว่า ป่า. ทรัพย์ที่ผู้อื่นหวงแหน ที่สัตว์อื่นคุ้มครองยังไม่บริจาค จะเป็นสัตว์ก็ตาม เป็นสังขารก็ตาม ในบ้านหรือในป่านั้น.

บทว่า เถยฺยา อทินฺนํ อาทยติ ความว่า ลักทรัพย์ที่ผู้อื่นเหล่านั้น ไม่ได้ให้ ไม่ได้อนุญาต ด้วยไถยจิต คือ ยังการถือเอาของตนให้สำเร็จ ด้วย ประโยคอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ด้วยอวหารอย่างใดอย่างหนึ่ง.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 340

บทว่า อิณมาทาย ความว่า คนที่วางหลักทรัพย์บางอย่างของตน แล้วกู้หนี้มาใช้ ด้วยการวางหลักทรัพย์ หรือไม่วางหลักทรัพย์บางอย่างกู้หนี้ มาใช้ ด้วยการให้ดอกเบี้ยว่า ข้าพเจ้าจักให้ดอกเบี้ยประมาณเท่านี้ โดยกาล ประมาณเท่านี้ หรือด้วยทำสัญญาว่า กำไรใดจักมีแต่ทรัพย์นี้ กำไรนั้นจัก เป็นต้นทุนของเรา หรือของท่านด้วย หรือว่า กำไรต้องแบ่งกันทั้งสองฝ่าย หนีไปเสีย. บทว่า น หิ เต อิมมตฺถิ ความว่า ผู้อันเจ้าหนี้นั้นทวงอยู่ว่า ท่านจงให้หนี้แก่ข้าพเจ้า ทั้งที่อยู่ในเรือน ด้วยการพูดอย่างนี้ว่า หนี้ของท่าน ไม่มีเลย ใครเป็นพยานว่า ข้าพเจ้ากู้หนี้ท่าน ชื่อว่า หนีไปเสีย.

บทว่า กิญฺจิกฺขกมฺยตา ความว่า เพราะต้องการทรัพย์บางอย่าง เท่านั้น แม้มีประมาณน้อย. บทว่า ปนฺถสฺมึ วชตํ ชนํ ความว่า สตรี หรือบุรุษ คนใดคนหนึ่ง ผู้กำลังเดินทาง. บทว่า หนฺตา กิญฺจิกฺขมาเทติ ความว่า ฆ่าแล้ว หรือทุบตีแล้ว ชิงเอาของนั้น.

บทว่า อตฺตเหตุ ได้แก่ เพราะเหตุแห่งชีวิตของตน. เพราะเหตุ แห่งผู้อื่นก็เหมือนกัน. บทว่า ธนเหตุ ได้แก่ เพราะเหตุแห่งทรัพย์ ทรัพย์ ของตน หรือทรัพย์ของผู้อื่น. อักษรในบททั้งปวงมีการกำหนดเป็นอรรถ.

บทว่า สกฺขิปุฏฺโ ความว่า ถูกถามว่า ท่านรู้สิ่งใด จงกล่าวสิ่ง นั้น. บทว่า มุสา พฺรูหิ ความว่า เมื่อรู้กฺพูดว่าไม่รู้ หรือเมื่อไม่รู้ก็พูดว่า รู้ คือ ย่อมทำผู้เป็นเจ้าของมิให้เป็นเจ้าของ ทำผู้ไม่เป็นเจ้าของให้เป็นเจ้าของ.

บทว่า าตีนํ ได้แก่ ผู้เป็นเครือญาติ. บทว่า สขี นํ ได้แก่ ผู้เป็นสหาย. บทว่า ทาเรสุ ได้แก่ ในภรรยาทั้งหลายที่คนอื่นคุ้มครอง. บทว่า ปฏิทิสฺสติ ความว่า ย่อมปรากฏโดยปฏิกูล อธิบายว่า ปรากฏว่า

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 341

ประพฤติล่วงเกิน. บทว่า สหสา ได้แก่ หญิงไม่ต้องการ โดยพลการ บทว่า สมฺปิเยน ความว่า ผู้อันภรรยาเหล่านั้น ของคนเหล่านั้นต้องการ และตนเองก็ต้องการ มีอธิบายว่า แม้ด้วยอำนาจแห่งความรักใคร่ของบุคคล ทั้งสอง.

บทว่า มาตรํ วา ปิตรํ วา ความว่า แม้ผู้เป็นที่ตั้งแห่งเมตตา อย่างนี้. บทว่า ชิณฺณกํ คตโยพฺพนํ ความว่า แม้ผู้เป็นตั้งแห่งกรุณา อย่างนี้. บทว่า ปหุสนฺโต ความว่า แม้เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยประโยชน์ ถึง พร้อมด้วยอุปกรณ์ ก็ไม่เลี้ยง คือ ไม่เลี้ยงดู.

บทว่า สสุํ ได้แก่แม่ผัว. บทว่า หนฺติ ความว่า ประหารด้วยฝ่ามือ ด้วยก้อนดิน หรือด้วยวัตถุอื่นบางอย่าง ด่า คือ ยังความโกรธให้เกิดแก่บุคคล นั้น ด้วยวาจา คือ ด้วยคำหยาบ.

บทว่า อตฺถํ ได้แก่ ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาสันทิฏ- ฐิกประโยชน์ สัมปรายิกประโยชน์ และปรมัตถประโยชน์. บทว่า ปุจฺฉิโต สนฺโต ความว่า ถูกถามแล้ว. บทว่า อนตฺถมนุสาสติ ความว่า ย่อม บอกสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลนั่นเทียว แก่เขา. บทว่า ปฏิจฺฉนฺเนน มนฺเตติ ความว่า แม้เมื่อบอกสิ่งที่เป็นประโยชน์ ก็ย่อมบอกด้วยคำปกปิด ด้วยบทพยัญชนะที่ไม่ปรากฏโดยที่บุคคลนั้นไม่รู้ หรือย่อมปกปิดสิ่งที่มีเงื่อนงํา บอกสิ่งที่ไม่มีเงื่อนงำเท่านั้น.

บทว่า โย กตฺวา ความว่า ความปรารถนาลามกในส่วนเบื้องต้น แห่งมายาได้กล่าวไว้แล้วในอรรถกถา มาแล้วอย่างนี้ว่า คนบางคนในโลกนี้ ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ย่อมปกปิดความปรารถนาอันลามก

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 342

เพราะเหตุปกปิดทุจริตนั้น คือ ย่อมปรารถนาว่า ขอคนอื่นอย่าพึงรู้เรา มี การงานปกปิด ด้วยการกระทำโดยประการที่คนอื่นทั้งหลายไม่รู้ และด้วยการ ไม่เปิดเผยการงานที่ทำแล้วว่า การงานของเขาปกปิด.

บทว่า ปรกุลํ ได้แก่ ตระกูลญาติ หรือตระกูลมิตร. บทว่า อาคตํ ความว่า ย่อมไม่ตอบแทนเขาผู้มาแล้วสู่เรือนตน ผู้ซึ่งคนเคยได้บริโภคอาหาร มาแล้ว ด้วยวัตถุทั้งหลายมีน้ำและโภชนะเป็นต้น อธิบายว่า ย่อมไม่ให้หรือ ให้แต่อาหารที่เลว.

บทว่า โย พฺราหฺมณํ วา มีนัยที่กล่าวไว้แล้วในปราภวสูตรนั้นแล.

บทว่า ภตฺตกาเล อุปฏฺิเต ความว่า เกิดแล้ว ปรากฏแล้ว ใน กาลแห่งโภชนะ บาลีว่า ปรากฏแล้วดังนี้ก็มี อธิบายว่า ผู้มาแล้ว ในกาล แห่งภัตรแต่เช้า. บทว่า โรเสติ วาจา น จ เทติ อธิบายว่า คนคิดว่า สมณะหรือพราหมณ์นี้ ใคร่ประโยชน์แก่เรา ไม่มาเพื่อให้เราทำบุญโดยพลการ ย่อมด่าด้วยคำหยาบที่ไม่สมควร โดยที่สุด ย่อมไม่ให้ แม้สักว่าพบหน้าสมณะ หรือพราหมณ์นั้น จะป่วยกล่าวไปไยถึงการให้โภชนะเล่า.

บทว่า อสิตํ โยธ ปพฺรูติ ความว่า คนในโลกนี้พูดคำที่ไม่มี โดยประการใดที่นิมิตทั้งหลายปรากฏว่า สิ่งนี้และสิ่งนี้จักมีแก่ท่านในวันชื่อ โน้น บาลีว่า อสนฺติ ดังนี้ก็มี อธิบายว่า เรื่องไม่จริง. บทว่า ปพฺรูติ ความว่า ย่อมพูด เหมือนนักเลงลวงภรรยาของคนอื่น หรือทาสีของคนอื่นว่า ในบ้านชื่อโน้น ข้าพเจ้ามีสมบัติประจำเรือนเช่นนี้ จงมา จงไปในบ้านนั้น ด้วยกัน ท่านจักเป็นแม่เรือนของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักให้สมบัตินี้แก่ท่าน. บทว่า

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 343

นิชิคึสาโน ความว่า ต้องการอยู่ คือ แสวงหาอยู่. อธิบายว่า ผู้ประสงค์ จะลวงเขาแล้ว ถือเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งหนีไปเสีย.

บทว่า โย จตฺตานํ ความว่า ก็คนใดยกตน. บทว่า สมุกฺกํเส ความว่า ย่อมยกตนด้วยมานะทั้งหลายมีชาติเป็นต้น คือ ตั้งตนไว้ในฐานะสูง. บทว่า ปเร จ มวชานติ ความว่า ย่อมดูหมิ่นคนเหล่าอื่น คือ ทำให้ต่ำ ด้วยมานะทั้งหลายมีชาติเป็นต้นเหล่านั้น. อักษร กระทำการเชื่อมบท. บทว่า นิหีโน ความว่า ผู้เสื่อมจากคุณวุฒิ หรือถึงความเป็นผู้ตกต่ำ. บทว่า เสน มาเนน ความว่า ด้วยมานะของตน กล่าวคือ การยกตนและข่มท่าน นั้น.

บทว่า โรสโก ได้แก่ผู้ฉุนเฉียวคนเหล่าอื่นด้วยกายและวาจา. บทว่า กทริโย ได้แก่ ผู้ตระหนี่จัด. คำว่า กทริโย นั้น เป็นชื่อของคนผู้ห้าม คนเหล่าอื่น ที่ให้ทานแก่คนเหล่าอื่น หรือผู้ทำบุญอย่างอื่น. บทว่า ปาปิจฺโฉ ได้แก่ ผู้ถึงพร้อมด้วยความปรารถนาที่จะยกย่องคุณที่ตนไม่มี. บทว่า มจฺฉรี ได้แก่ ประกอบด้วยความตระหนี่ในเพราะที่อยู่เป็นต้น. บทว่า สโ ได้แก่ ผู้ประกอบพร้อมด้วยความโอ้อวด มีการประกาศคุณที่ตนไม่มีเป็นลักษณะ. หรือผู้มักกล่าวคำที่ไม่ชอบ แม้ไม่ประสงค์จะทำ ด้วยคำว่า เราจะทำเป็นต้น. หิริมีการเกลียดบาปเป็นลักษณะ ไม่มีแก่คนนั้น โอตตัปปะมีการสะดุ้งกลัวบาป เป็นลักษณะ ไม่มีแก่คนนั้น เพราะฉะนั้น คนนั้นชื่อว่า อหิริโก ไม่ละอาย อโนตฺตปฺปี ไม่สะดุ้งกลัว.

บทว่า พุทฺธํ ได้แก่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า. บทว่า ปริภาสติ ความว่า ติเตียน ด้วยคำว่า ไม่เป็นสัพพัญญูเป็นต้น. และย่อมติเตียนพระสาวก

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 344

ด้วยคำว่า เป็นผู้ปฏิบัติชั่วเป็นต้น. ก็บทว่า ปริพฺพาชกํ คหฏฺํวา นั่น เป็นวิเสสนะของสาวกเท่านั้น. อธิบายว่า บรรพชิต หรือคฤหัสถ์ ผู้ถวาย ปัจจัย ผู้เป็นสาวกพระพุทธเจ้านั้น. โบราณาจารย์ทั้งหลายย่อมต้องการเนื้อ ความในคาถานี้ อย่างนี้ว่า ย่อมติเตียนปริพาชกภายนอก หรือคฤหัสถ์คนใด คนหนึ่ง ด้วยโทษอันไม่เป็นจริง.

บทว่า อนรหํ สนฺโต ความว่า ผู้ไม่เป็นพระขีณาสพ. บทว่า อรหํ ปฏิชานติ ความว่า ปฏิญาณว่า เราเป็นพระอรหันต์ คือ ย่อมเปล่ง วาจา ย่อมตะเกียกตะกายด้วยกาย ย่อมปรารถนา ย่อมรับด้วยจิต โดยประการ ที่บุคคลทั้งหลายรู้เขาว่า คนนี้เป็นพระอรหันต์. บทว่า โจเร ได้แก่ ขโมย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจคำอันอุกฤษฏ์ว่า ในโลกพร้อมทั้งพรหมโลก อธิบายว่า ในโลกทั้งปวง.

จริงอยู่ พวกผู้ร้ายทำการตัดที่ต่อ การปล้นสดมภ์ การปล้นเรือน หลังเดียว และการดักปล้นในหนทางเป็นต้นแล้ว ปล้นทรัพย์ของคนเหล่าอื่น ท่านเรียกว่า โจร ในโลก พวกบรรพชิตปล้นปัจจัยเป็นต้น ด้วยบริษัทสมบัติ เป็นต้น ท่านเรียกว่า โจร ในพระศาสนา. สนดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

[มหาโจร]

๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาโจร ๕ เหล่านี้ มีอยู่ ปรากฏอยู่ใน โลก ๕ เป็นไฉน คือ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาโจรบางคนในโลกนี้ คิด อย่างนี้ว่า ชื่อในกาลไหนหนอ เราผู้อันบริวาร ๑๐๐ คน หรือ ๑,๐๐๐ คน แวดล้อมแล้ว จักเที่ยวไปในคาม นิคม และราชธานี ฆ่าเอง ให้ฆ่า ตัดเอง

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 345

ให้ตัด จี้เอง ให้จี้ โดยสมัยอื่น เขามีบริวาร ๑๐๐ คน หรือ ๑,๐๐๐ คน แวดล้อมแล้ว เที่ยวไปอยู่ในคาม นิคม และราชธานี ฆ่าเอง ฯลฯ ให้จี้ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชั่วบางรูปในศาสนานี้ ก็เหมือนอย่างนั้นแล คิดอย่างนี้ว่า ชื่อในกาลไหนหนอ เราผู้อันบริวาร ๑๐๐ ฯลฯ แวดล้อมแล้ว จักไปสู่ที่จารึก ในคาม นิคม และราชธานี ผู้อันคฤหัสถ์ทั้งหลายและบรรพชิตทั้งหลายสักการ แล้ว เคารพแล้ว นับถือแล้ว บูชาแล้ว ยำเกรงแล้ว ได้จีวร ฯลฯ บริขาร โดยสมัยอื่นอีก เขาอันบริวาร ๑๐ ฯลฯ เที่ยวไปสู่คาม นิคม ราชธานีสักการะ แล้ว ฯลฯ ได้จีวร ฯลฯ บริขาร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มหาโจรที่ ๑ มีอยู่ ปรากฏอยู่ในโลก.

๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังมีข้ออื่นอีก ภิกษุชั่วบางรูปในศาสนานี้ เรียนธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมเผาตนเอง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มหาโจรที่ ๒ ฯลฯ ในโลก.

๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังมีข้ออื่นอีก ภิกษุชั่วบางรูปในศาสนานี้ กำจัดพรหมจารีผู้บริสุทธิ์ ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์ ด้วยพรหมจรรย์อัน ไม่มีมูล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มหาโจรที่ ๓ ฯลฯ ในโลก.

๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังมีข้ออื่นอีก ครุภัณฑ์ ครุบริขาร ของสงฆ์ คือ อาราม อารามวัตถุ วิหาร วิหารวัตถุ เตียง ตั่ง ฟูก หมอน หม้อโลหะ อ่างโลหะ ขวดโลหะ กระทะโลหะ มีด ขวาน ผึ่ง จอบ สิ่ว เถาวัล ไม้ไผ่ หญ้ามุงกระต่าย หญ้าปล้อง ดินเหนียว เครื่องไม้ เครื่องดินเหนียว ภิกษุชั่วย่อมสงเคราะห์ ย่อมช่วยเหลือคฤหัสถ์ด้วยครุภัณฑ์ ครุบริขารเหล่านั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มหาโจรที่ ๔ ฯลฯ ในโลก.

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 346

๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดอวดอุตริมนุสธรรมที่ตนไม่มี ไม่ เป็นจริง ภิกษุนี้เป็นยอดมหาโจรในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ฯลฯ พร้อมทั้งเทวดา และมนุษย์.

ในโจร ๕ จำพวกนั้น โจรทางโลกย่อมขโมยวัตถุมีทรัพย์และธัญชาติ เป็นต้น เฉพาะทางโลกเท่านั้น ในบรรดาโจรที่กล่าวแล้วในศาสนา โจรที่ ๑ ย่อมขโมยสักว่าปัจจัยมีจีวรเป็นต้น มีรูปเห็นปานนั้นเท่านั้น โจรที่ ๒ ย่อม ขโมยประยัติธรรม โจรที่ ๓ ย่อมขโมยพรหมจรรย์ของคนอื่น โจรที่ ๔ ย่อม ขโมยครุภัณฑ์อันเป็นของสงฆ์ โจรที่ ๕ ย่อมขโมยทั้งคุณทรัพย์ที่เป็นโลกิยะ และโลกุตระ อันต่างด้วยฌาน สมาธิ สมาบัติ มรรค และผลทั้งปัจจัยมีจีวร เป็นต้น อันเป็นโลกีย์ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก้อนข้าวของแว่นแคว้น พวกเธอบริโภคแล้ว ด้วยไถยจิต. ในโจร ๕ จำพวกนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นโจรในโลก พร้อมทั้งพรหมโลก ดังนี้ ทรงหมายถึงมหาโจรที่ ๕ นี้ เพราะมหาโจรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นยอดมหาโจร เพราะขโมยโลกิยทรัพย์และ โลกุตรทรัพย์อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดอวดอุตริมนุสธรรมที่ตน ไม่มี ไม่เป็นจริง ภิกษุนี้เป็นยอดมหาโจรในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ... พร้อม ทั้งเทวดาและมนุษย์ เพราะฉะนั้น จึงทรงประกาศภิกษุนั้น แม้ในศาสนานี้ ด้วยการกำหนดอย่างสูงนี้ว่า ในโลกพร้อมทั้งพรหมโลก.

ศัพท์ว่า โข ในบทนี้ว่า เอโส โข วสลาธโม มีอวธารณะ เป็นอรรถ. ด้วยโขศัพท์นั้น ทรงกำหนดลงไปว่า ผู้นั้นแลเป็นคนถ่อยต่ำช้า

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 347

คือ เลวที่สุดของคนถ่อยทั้งหลาย. เพราะเหตุไร เพราะหลั่งออกซึ่งไถยธรรม ในวัตถุอันประเสริฐ เขาไม่สละปฏิญาณนั้นตราบใด เขาก็บรรลุแล้วซึ่งธรรม ที่ทำให้เป็นคนถ่อย เป็นคนถ่อยตราบนั้น.

บทว่า เอเต โข วสลา ความว่า บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อ จะทรงแสดงขยายถึงคนถ่อย ๓๓ พวก หรือ ๓๔ พวก ที่ตรัสอย่างนี้ว่า ใน คาถาที่ ๑ มี ๕ พวก มีมักโกรธเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งอาสยวิบัติ หรือมี ๖ พวก โดยแยกลบหลู่อย่างเลวออกเป็น ๒ อย่าง ในคาถาที่ ๒ มี ๑ คือ ผู้ เบียดเบียนสัตว์ ด้วยอำนาจแห่งประโยควิบัติ ในคาถาที่ ๓ มี ๑ คือ ผู้ฆ่า ชาวบ้านและชาวนิคม ด้วยอำนาจแห่งประโยควิบัติเท่านั้น ในคาถาที่ ๔ มี ๑ ด้วยอำนาจแห่งไถยาวหาร ในคาถาที่ ๕ มี ๑ ด้วยอำนาจแห่งการตระบัดหนี้ ในคาถาที่ ๖ มี ๑ คือ ฆ่าคนเดินทาง ด้วยอำนาจปสัยหาวหาร ในคาถาที่ ๗ มี ๑ ด้วยอำนาจแห่งผู้เป็นพยานโกง ในคาถาที่ ๘ มี ๑ ด้วยอำนาจแห่งการ ประทุษร้ายมิตร ในคาถาที่ ๙ มี ๑ ด้วยอำนาจแห่งผู้อกัตญญู ในคาถาที่ ๑๐ มี ๑ ด้วยอำนาจแห่งผู้ทำความเสียหาย และเบียดเบียน ในคาถาที่ ๑๑ มี ๑ ด้วยอำนาจแห่งการลวงผู้อื่น ในคาถาที่ ๑๒ มี ๒ ด้วยอำแห่งคนผู้ปกปิด กรรมและการงาน ในคาถาที่ ๑๓ มี ๑ ด้วยอำนาจแห่งคนอกตัญญูเหมือนกัน ในคาถาที่ ๑๔ มี ๑ ด้วยอำนาจแห่งการลวง ในคาถาที่ ๑๕ มี ๑ ด้วยอำนาจ แห่งการเบียดเบียน ในคาถาที่ ๑๖ มี ๑ ด้วยอำนาจแห่งการลวง ในคาถา ๑๗ มี ๒ ด้วยอำนาจแห่งการยกตนข่มท่าน ในคาถาที่ ๑๘ มี ๗ มีฉุนเฉียว เป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งประโยคและอาสยวิบัติ ในคาถาที่ ๑๙ มี ๒ ด้วย

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 348

อำนาจแห่งการติเตียน ในคาถาที่ ๒๐ มี ๑ ด้วยอำนาจแห่งอัครมหาโจร ดังนี้แล้ว จึงตรัสว่า คนเหล่าใด เราประกาศแก่ท่านแล้ว คนเหล่านั้นนั่นแล เรากล่าวว่า เป็นคนถ่อย ดังนี้.

เนื้อความแห่งพระดำรัสนั้น มีดังนี้ :-

คนถ่อยเหล่านั้นใดที่เรากล่าวในกาลก่อนโดยย่ออย่างนี้ว่า ดูก่อน พราหมณ์ ก็ท่านรู้จักคนถ่อยหรือ คนถ่อยเหล่านั้นนั่นแล เราประกาศแล้ว โดยพิสดาร.

อนึ่ง คนถ่อยเหล่านั้นใด เรากล่าวแล้ว ด้วยอำนาจบุคคล คนถ่อย เหล่านั้นนั่นแล เราประกาศแล้ว แม้ด้วยอำนาจแห่งธรรม.

อนึ่ง คนถ่อยเหล่าใด เราประกาศแล้วแก่ท่าน คนถ่อยเหล่านั่นแล เรากล่าวแล้ว ด้วยอำนาจแห่งอริยธรรม หาได้กล่าวด้วยอำนาจแห่งชาติไม่.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงคนถ่อยอย่างนี้ โดยนัยมีอาทิว่า มักโกรธ ผูกโกรธ ดังนี้ บัดนี้ เมื่อจะทรงปฏิเสธทิฏฐิที่พราหมณ์ ยึดมั่น อย่างยิ่ง ด้วยสักกายทิฏฐิ จึงตรัสว่า น ชจฺจา วสโล บุคคลไม่เป็นคน ถ่อยเพราะชาติ.

เนื้อความแห่งคาถานั้นว่า ก็โดยปรมัตถ์ บุคคลไม่เป็นคนถ่อยเพราะ ชาติ ไม่เป็นพราหมณ์เพราะชาติ แต่เป็นคนถ่อยเพราะกรรม เป็นพราหมณ์ เพราะกรรม เป็นคนถ่อยเพราะหลั่งออกซึ่งกรรมอันไม่บริสุทธิ์ เป็นพราหมณ์ เพราะลอยกรรมอันไม่บริสุทธิ์ ด้วยกรรมอันบริสุทธิ์ หรือ เพราะท่านสำคัญ คนเลวว่าเป็นคนถ่อย คนประเสริฐว่าเป็นพราหมณ์ เพราะฉะนั้น เมื่อจะทรง

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 349

ยังพราหมณ์ให้รู้เนื้อความแม้อย่างนี้ว่า บุคคลเป็นคนถ่อยเพราะกรรมเลว เป็น พราหมณ์เพราะกรรมประเสริฐดังนี้ จึงตรัสอย่างนั้น.

บัดนี้ เพื่อทรงยังเนื้อความนั้นนั่นแลให้สำเร็จ ด้วยการทรงแสดง ขยาย จึงตรัสคถา ๓ คาถา มีอาทิว่า ตทมินาปิ ชานาถ ดังนี้. ในคาถา เหล่านั้น ๒ คาถามีคาถาละ ๔ บท คาถาหนึ่ง มี ๖ บท.

เนื้อความแห่งคาถาเหล่านั้นว่า ข้อใดมีอาทิว่า บุคคลไม่เป็นคนถ่อย เพราะชาติ เรากล่าวแล้ว ท่านจงรู้ข้อนั้น ตามที่เราแสดงนี้ มีอธิบายว่า คำที่เราแสดงขยายนี้ย่อมมีโดยประการใด คือ โดยความเหมือนกันอันใด ท่าน จงรู้ข้อนั้น โดยประการแม้นี้.

หากจะมีคำถามว่า ตัวอย่างเป็นไฉน?

ตอบว่า บุตรของคนจัณฑาล เลี้ยงตนเองได้ ฯลฯ เป็นผู้เข้าถึง พรหมโลก เป็นตัวอย่าง. บุตรของคนจัณฑาล ชื่อว่าจัณฑาลบุตร บุคคลใด ได้ของที่สุกแล้ว เพื่อประโยชน์แก่การเคี้ยวกินของตนแล้ว หุงของสุกเหล่านั้น อีก เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น ชื่อว่า โสปาก ผู้เลี้ยงตนเองมีชื่อว่า มาตังคะ.

บทว่า วิสฺสุโต ความว่า ปรากฏแล้ว ด้วยชาติเลว เป็นอยู่เลว และมีชื่ออย่างนี้. บทว่า โส ความว่า มาตังคะนั้นเกี่ยวกับบทก่อน ได้ยศ อย่างสูง คือ บรรลุพร้อมแล้ว ซึ่งยศ คือ เกียรติ การสรรเสริญ น่า อัศจรรย์ อันอุดม ประเสริฐยิ่ง. บทว่า ยํ สุทุลฺลภํ ความว่า อัน บุคคล แม้เกิดแล้วในตระกูลสูงก็ได้โดยยาก อันบุคคลผู้เกิดในตระกูลเลว ก็ได้โดย แสนยาก. อธิบายว่า ก็พวกกษัตริย์พวกพราหมณ์ เป็นอันมาก มาสู่ที่บำรุง

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 350

ของมาตังคะนั้น ผู้ได้ถึงยศอย่างนี้ คือ พวกกษัตริย์ พวกพราหมณ์ และ พวกมนุษย์ ในชมพูทวีปเหล่าอื่นมากมีแพศย์และศูทรเป็นต้น ต่างก็มาสู่ที่ บำรุงโดยมาก เพื่อบำรุงมาตังคะนั้น.

อธิบายว่า มาตังคะนั้นถึงพร้อมด้วยความขยันหมั่นเพียรอย่างนี้ ขึ้น สู่ยาน คือ สมาบัติแปด ชื่อว่า วิรัช เพราะปราศจากธุลี คือ กิเลส ชื่อว่า ทางใหญ่ เพราะท่านผู้ใหญ่มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ปฏิบัติแล้ว ที่รู้กันว่า ยาน ไปสู่พรหมโลก เพราะเป็นยานสามารถเพื่อให้ถึงเทวโลก กล่าวคือ พรหมโลก ชำรอกกามราคะเสียได้ ด้วยการปฏิบัตินั้น ก็ไม่ได้ห้ามเขาให้เข้าถึงพรหมโลก คือจากการอุบัติในพรหมโลก ก็ผู้ศึกษาพึงทราบเนื้อความนี้ อย่างนี้.

ได้ยินว่า ในอดีตกาล มหาบุรุษกระทำอยู่ซึ่งประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ โดยอุบายนั้นๆ อุบัติในตระกูลของคนจัณฑาล ซึ่งเลี้ยงชีพด้วยอาหารที่ตน ให้สุกเอง เขามีชื่อว่า มาตังคะ มีรูปร่างไม่น่าดู อาศัยอยู่ในกระท่อมที่ทำ ด้วยหนังสัตว์ ในภายนอกนคร เที่ยวขอภิกษาในภายในนครเลี้ยงชีวิต.

อยู่มาวันหนึ่ง เมื่อเข้าโฆษณานักษัตรเกี่ยวกับสุราในนครนั้น พวกนัก เลงพากันเล่นกับบริวารของตน ธิดาของพราหมณ์มหาศาลแม้คนหนึ่ง อายุราว ๑๕ - ๑๖ ปี มีรูปโฉมน่าดู. น่าเลื่อมใสดุจเทพกัญญา คิดว่า เราจักเล่นตาม สมควรแก่ตระกูลวงศ์ของตน จึงบรรทุกสัมภาระเกี่ยวกับการเล่นมีของเคี้ยวของ กินเป็นต้น อย่างเพียงพอใส่เกวียนทั้งหลาย ขึ้นสู่ยานที่เทียมด้วยแม่ม้าขาวปลอด ไปสู่สถานที่ในอุทยาน ด้วยบริวารใหญ่ นางมีชื่อว่า ทิฏฐมังคลิกา ได้ยินว่า นางไม่ปรารถนาจะเห็นรูปที่ไม่สวยงามด้วยคิดว่า เป็นอวมงคล ด้วยเหตุนั้น นางจึงเกิดมีชื่อว่า ทิฏฐมังคลิกา.

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 351

ในกาลครั้งนั้น มาตังคะนั้นลุกขึ้นตามกาลนั่นเทียวนุ่งผ้าเก่า ผูกก้าน ตาลที่มือ ถือภาชนะเข้าสู่นคร เห็นมนุษย์ทั้งหลายแล้ว ก็เคาะก้านตาลแต่ ไกลแล ลำดับนั้น นางทิฏฐมังคลิกา อันบุรุษทั้งหลายกำลังไล่ชนที่เลวข้าง หน้าๆ ว่า พวกท่านจงลุกออกไป จงลุกออกไป นำทางอยู่ ได้เห็นมาตังคะ ในท่ามกลางประตูนคร จึงกล่าว นั่นใคร. ข้าพเจ้าเป็นลูกคนจัณฑาล ชื่อ มาตังคะ. นางคิดว่า คนทั้งหลายที่ไปเห็นคนเช่นนี้ จะมีความเจริญแต่ที่ไหน จึงสั่งให้นำยานกลับ. มนุษย์ทั้งหลายโกรธว่า พวกเราไปสู่อุทยานแล้ว พึงได้ วัตถุมีของเคี้ยวและของกินเป็นต้นใด อันตรายแห่งวัตถุมีของเคี้ยวและของกิน เป็นต้นนั้นของพวกเรา ถูกมาตังคะกระทำแล้ว จึงพูดว่า พวกท่านจงจับคนจัณฑาล ประหารด้วยก้อนดินทั้งหลาย รู้ว่าตายแล้ว จึงจับเท้าไปทิ้งที่ส่วนข้างหนึ่ง กลบด้วยหยากเยื่อแล้วไป เขากลับได้สติแล้ว ลุกขึ้นถามมนุษย์ทั้งหลายว่า นาย! ชื่อว่า ประตูเป็นของทั่วไปแก่คนทั้งปวง หรือทำไว้สำหรับพวกพราหมณ์ เท่านั้น. มนุษย์ทั้งหลายกล่าวว่า ไม่ได้ทำ ประตูเป็นของทั่วไปแก่คนทั้งปวง. มาตังคะคิดว่า มนุษย์ทั้งหลายให้เราผู้เข้าไปทางประตูที่ทั่วไปแก่ชนทั้งปวงแล้ว ยังชีวิตให้เป็นไปด้วยภิกขาจาร ให้ถึงความพินาศย่อยยับนี้ เพราะนางทิฏฐ- มังคลิกาเป็นเหตุ จึงเที่ยวไปตามถนนสู่ถนน บอกแก่มนุษย์ทั้งหลายแล้ว นอน ที่ประตูเรือนของพราหมณ์ ด้วยคิดว่า เราไม่ได้นางทิฏฐมังคลิกาแล้ว จักไม่ ลุกขึ้น.

พราหมณ์ฟังว่า มาตังคะนอนที่ประตูเรือน จึงกล่าวว่า ท่านจงให้ กากณิกหนึ่งแก่เขา เอาน้ำมันงาทาตัวแล้ว จงไป มาตังคะนั้นย่อมไม่ปรารถนา

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 352

กากณิกนั้น จึงกล่าวว่า เราไม่ได้นางทิฏฐมังคลิกาแล้ว จักไม่ลุกขึ้น แต่นั้น พราหมณ์กล่าวว่า จงให้ ๒ กากณิก จงกินมูล ๑ กากณิก เอาน้ำมันงาทาตัว ๑ กากณิก แล้วไป เขาไม่ต้องกากณิกแม้นั้น ยังพูดยืนยันตามเดิมนั่นแล พราหมณ์ฟังแล้ว ก็สั่งว่า จงให้มาสก บาท กึ่งกหาปณะ ๒ กหาปณะ ๓ กหาปณะ จนถึง ๑๐๐ กหาปณะ เขาก็ไม่ต้องการ ยังพูดยืนยันตามเดิม นั่นแล เมื่อพวกเขาอ้อนวอนอยู่อย่างนี้นั่นเทียว พระอาทิตย์ก็อัสดง.

ลำดับนั้น นางพราหมณีลงจากปราสาท ให้ล้อมผ้าม่าน เข้าไปหา มาตังคะนั้นแล้วอ้อนวอน กล่าวว่า แน่ะพ่อมาตังคะ เจ้าจงอดโทษแก่นาง ทิฏฐมังคลิกาเถิด จงรับ ๑,๐๐๐ กหาปณะ ๒ - ๓ พันกหาปณะ จนถึงแสน กหาปณะ เขาก็คงนอนนิ่งอย่างนั่นเทียว เมื่อ ๔ - ๕ วันล่วงไปอย่างนี้แล้ว ชนทั้งหลายมีขัตติยกุมารเป็นต้น ให้บรรณาการแม้มากแล้ว เมื่อไม่ได้นาง ทิฏฐมังคลิกา จึงกระซิบบอกที่หูมาตังคะว่า ธรรมดาบุรุษทั้งหลายทำความ เพียรหลายปี จึงถึงความปรารถนา ท่านอย่าเบื่อเลย จักได้นางทิฏฐมังคลิกา โดยล่วงไป ๒ - ๓ วันแน่แท้. เขาก็คงนอนนิ่งอย่างนั้นนั่นแหละ.

ลำดับนั้น ในวันที่ ๗ พวกคุ้นเคยโดยรอบ ลุกขึ้นกล่าวว่า ท่าน จงให้มาตังคะลุกขึ้น หรือจงให้ทาริกา อย่าให้พวกเราทั้งหมดเสียหายเลย. ได้ยินว่า พวกชนเหล่านั้นมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า คนจัณฑาลนอนตายอย่างนี้ ใน ประตูเรือนของคนใด พวกคนที่อยู่ในเรือนโดยรอบละ ๗ หลังคาเรือน พร้อม ด้วยเรือนของคนนั้น ก็จะกลายเป็นคนจัณฑาลด้วย. แต่นั้น พราหมณ์และ นางพรหมณี ให้นางทิฏฐมังคลิกานุ่งผ้าเก่าสีเขียว ให้วัตถุทั้งหลายมีกระบวย

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 353

และหม้อเป็นต้น นำนางผู้คร่ำครวญอยู่ไปสู่สำนักของมาตังคะนั้นแล้ว กล่าวว่า เจ้าจงรับทาริกา ลุกขึ้นไปเสีย นางทาริกานั้นยืนที่ข้างกล่าวว่า จงลุกขึ้น. มาตังคะนั้นกล่าวว่า จงจับมือฉันให้ลุกขึ้น แล้วกล่าวว่า พวกเราไม่ได้เพื่ออยู่ภาย ในนคร มาเถิด จงนำฉันไปสู่กระท่อมหนัง ในภายนอกนคร. นางจูงมือเขา นำไปที่กระท่อมหนัง. อาจารย์ผู้กล่าวชาดกว่า ให้ขี่หลัง. ก็ครั้นนำไปแล้ว จึงเอาน้ำมันทาร่างกายของมาตังคะนั้น ให้อาบน้ำด้วยน้ำอุ่น ต้มยาคูให้.

มาตังคะนั้นคิดว่า ขอพราหมณ์กัญญานี้อย่าฉิบหายเลย แล้วไม่กระทำ การสมสู่ด้วยชาติเทียว พอได้กำลังสักกึ่งเดือนจึงพูดว่า ฉันจะไปป่า เจ้าอย่า ร้อนใจว่า ชักช้ามาก และสั่งผู้คนในบ้านว่า พวกท่านอย่าละเลยนางนี้ ออก จากเรือน บวชเป็นดาบส กระทำกสิณบริกรรมโดยไม่นานนัก ก็ยังสมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ ให้เกิดขึ้น คิดว่า ก็บัดนี้ เราจักเป็นที่พึ่งของนางทิฏฐมังคลิกา จึงเหาะมาทางอากาศลงที่ประตูนคร ส่งข่าวไปยังสำนักของนางทิฏฐมังคลิกา. นางฟังแล้ว คิดอยู่ว่า เห็นจะเป็นญาติของเราคนหนึ่งบวชแล้ว รู้ว่าเราเป็นทุกข์ จักมาเยี่ยม ดังนี้ จึงไป รู้ว่าเป็นมาตังคะนั้นแล้ว หมอบที่เท้าทั้งสองกล่าวว่า ท่านทำดิฉันให้หมดที่พึ่ง มาเพื่อประโยชน์อะไร.

มหาบุรุษกล่าวว่า แน่ะนางทิฏฐมังคลิกา เจ้าอย่าเป็นทุกข์เลย ฉัน จักให้ชาวชมพูทวีปทั้งสิ้นทำสักการะแก่เจ้า แล้วกล่าวคำนี้ว่า จงไป เจ้าจง ให้ทำการป่าวประกาศว่า ท้าวมหาพรหมเป็นสามีของดิฉัน ไม่ใช่มาตังคะ ท้าวมหาพรหมนั้นจักแหวกวิมานจันทร์แล้วมาสู่สำนักของดิฉันในวันที่ ๗.

นางกล่าวว่า ท่านเจ้าขา ดิฉันเป็นธิดาของพราหมณ์มหาศาล ถึง ความเป็นคนจัณฑาลนี้ เพราะบาปกรรมของตน ไม่อาจเพื่อจะพูดอย่างนั้น.

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 354

มหาบุรุษกล่าวว่า เจ้าไม่รู้จักอานุภาพของมาตังคะ จึงแสดงปาฏิหาริย์ หลายอย่าง โดยประการที่นางยอมเชื่อถือ สั่งนางอย่างนั้นแล้ว ก็ไปสู่ที่อยู่ ของตน. นางได้ทำอย่างนั้น.

พวกมนุษย์ต่างก็เพ่งโทษ หัวเราะว่า ก็นางทิฏฐมังคลิกานี้ ถึงความ เป็นคนจัณฑาลแล้ว เพราะบาปกรรมของตน จักทำมาตังคะนั้นให้เป็นมหาพรหมอีกอย่างไรกัน. นางมีมานะยิ่งนั่นแล จึงเที่ยวประกาศทั่วนครทุกๆ วัน ว่า แต่นี้ไปท้าวมหาพรหมจักมาในวันที่ ๖ ที่ ๕ ที่ ๔ ที่ ๓ ในวันพรุ่งนี้ ในวันนี้. มนุษย์ทั้งหลายฟังข่าวที่นางประกาศแล้ว คิดว่า บางครั้ง พึงมีแม้ อย่างนี้ ให้ทำมณฑปที่ประตูเรือนของตนๆ จัดแจงสถานผูกม่าน ประดับ ประดาทาริกาผู้เจริญวัย นั่งมองดูอากาศว่า เมื่อท้าวมหาพรหมมาจักถวาย กัญญาทาน.

ลำดับนั้น มหาบุรุษเมื่อพระจันทร์โผล่ออกสู่พื้นท้องฟ้าในวันเพ็ญ ก็แหวกวิมานจันทร์ มาปรากฏเป็นรูปท้าวมหาพรหมแก่มหาชนผู้มองดู มหาชน เข้าใจว่า พระจันทร์ ๒ ดวงเกิดแล้ว แต่นั้น เห็นท้าวมหาพรหมมาโดยลำดับ ได้ถึงความตกลงว่า นางทิฏฐมังกลิกาพูดจริง นี้เป็นท้าวมหาพรหมเทียว มา ด้วยเพศของมาตังคะในกาลก่อน เพื่อจะทรมานนางทิฏฐมังคลิกา. มหาบุรุษ นั้น เมื่อมหาชนมองดูอย่างนั้น จึงลงในที่เป็นที่อยู่ของนางทิฏฐมังคลิกานั่นแล.

ก็ในกาลนั้น นางมีระดู มหาบุรุษนั้นลูบคลำสะดือของนางด้วยนิ้วมือ ครรภ์ก็ตั้งขึ้นด้วยการลูบคลำนั้น. แต่นั้น จึงกล่าวกะนางว่า ครรภ์ของเจ้า ตั้งพร้อมแล้ว เมื่อบุตรเกิด เจ้าจงอาศัยบุตรนั้นเลี้ยงชีพ เมื่อมหาชนกำลัง

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 355

มองดู ก็เข้าสู่วิมานจันทร์อีก พวกพราหมณ์พากันกล่าวว่า นางทิฏฐมังคลิกา เป็นประชาบดีของมหาพรหม เป็นมารดาของพวกเรา จึงมาจากที่นั้นๆ ประตู นครก็คับคั่ง ด้วยอำนาจแห่งพวกมนุษย์ ผู้ใคร่เพื่อจะทำสักการะนั้น พวก พราหมณ์เหล่านั้น ตั้งนางทิฏฐมังคลิกาในกองเงิน ให้อาบน้ำ ตกแต่ง ยก ขึ้นสู่รถ ให้การทำประทักษิณพระนคร ด้วยสักการะใหญ่ ให้สร้างมณฑป ในท่ามกลางนคร ตั้งนางไว้ในตำแหน่งที่เห็นว่า ประชาบดีของพรหม ให้อยู่ ในมณฑปนั้นว่า ขอให้นางอยู่ในมณฑปนี้ก่อน จนกว่าพวกเราจะทำโอกาส เป็นที่อยู่อันเหมาะสมแก่นาง.

นางคลอดบุตรที่มณฑปนั่นเทียว ในวันบริสุทธิ์ พวกพราหมณ์ให้ นางพร้อมกับบุตรอาบน้ำสระเกล้าแล้ว ตั้งชื่อทารกว่า มัณฑัพยกุมาร เพราะ เหตุเกิดในมณฑป และจำเดิมแต่นั้น พวกพราหมณ์เที่ยวแวดล้อมกุมารนั้นว่า บุตรของมหาพรหม บรรณาการหลายแสนประการก็มาจากที่นั้น พราหมณ์เหล่า นั้นตั้งอารักขากุมาร พวกที่มาแล้ว ก็ไม่ได้เพื่อเยี่ยมกุมารได้โดยเร็ว กุมาร อาศัยความเจริญโดยลำดับ ปรารภแล้วเพื่อจะให้ทาน เขาไม่ให้ทานแก่คน กำพร้าและคนเดินทาง ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยความหวัง แต่ให้แก่พวกพราหมณ์ เท่านั้น.

มหาบุรุษระลึกว่า บุตรของเราให้ทานหรือไม่ให้ เห็นกุมารกำลังให้ ทานแก่พราหมณ์ทั้งหลายนั่นเทียว จึงคิดว่า เราจักทำโดยประการที่กุมารนี้ ให้ทานแก่ชนทั้งหมด จึงห่มจีวร ถือบาตร เหาะมาทางอากาศ ยืนอยู่ที่ ประตูเรือนของบุตร กุมารเห็นมหาบุรุษนั่นแล้วโกรธว่า สมณะนี้เป็นคนถ่อย มีเพศน่าเกลียดอย่างนี้ มาจากไหนดังนี้แล้ว กล่าวคาถานี้ว่า

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 356

กุโต นุ อาคจฺฉสิ จมฺมวาสิ โอตฺตลลโก ปํสุปิสาจโกว สงฺการโจฬํ ปฏิมุญฺจ กณฺเ โก เร ตุวํ โหสิ อทกฺขิเณยฺโย

ท่านนุ่งหนังสัตว์ มีรูปร่างน่าเกลียด เหมือนปีศาจคลุกฝุ่น มาจากไหนกัน ท่านสวมท่อนผ้า ซึ่งได้จากกองหยากเยื่อไว้ ที่คอ เป็นผู้ไม่ควรทักษิณา เป็นใครกันนะ ดังนี้.

พวกพราหมณ์กล่าวว่า จงจับ จงจับ แล้วจับมหาบุรุษนั้น ทุบตี ให้ถึงความพินาศย่อยยับ มหาบุรุษนั้น เหาะทางอากาศไปยืนอยู่ที่ภายนอกนคร.

เทวดาทั้งหลายโกรธแล้ว จับคอกุมาร เอาเท้าชี้ฟ้า เอาศีรษะลงดิน ตั้งไว้. กุมารนั้นมีนัยน์ตาถล่น มีน้ำลายไหลออกจากปาก หายใจฆุรุ ฆุรุ เสวยเวทนา นางทิฏฐมังคลิกาฟังแล้ว ถามว่า มีใครมาหรือ? เออ บรรพชิต มา. ไปไหน?. ไปอย่างนี้. นางไปที่นั้นแล้ว อ้อนวอนว่า ท่านเจ้าขา ขอ ท่านจงอดโทษแก่ทาสของท่าน ดังนี้แล้ว หมอบลงที่พื้นใกล้เท้าของมหาบุรุษ นั้น.

ก็โดยสมัยนั้น มหาบุรุษเที่ยวบิณฑบาต ได้ข้าวยาคู กำลังดื่มข้าวยาคู นั่งอยู่ในที่นั้น เขาให้ข้าวยาคูที่เหลือนิดหน่อยแก่นางทิฏฐมังคลิกา กล่าวว่า จงไป จงกวนข้าวยาคูนี้ในหม้อน้ำแล้วหยอดที่นัยน์ตา หู รูจมูก และประพรม

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 357

ร่างกายทั้งสิ้น ของคนผู้พิการทั้งหลาย คนพิการทั้งหลายจักหายพิการ นางได้ กระทำอย่างนั้น แต่นั้น เมื่อกุมารมีร่างกายปกติแล้ว จึงกล่าวว่า มาเถิด พ่อมัณฑัพยะ พวกเราจักให้มหาบุรุษนั้นอดโทษ แล้วพาบุตรและพราหมณ์ ทั้งปวงให้นอนหมอบที่บาทมูลของมหาบุรุษนั้นแล้วขอขมาให้อดโทษ.

มหาบุรุษนั้นโอวาทว่า พึงให้ทานแก่ชนทั้งปวง กล่าวธรรมกถาแล้ว ไปสู่ที่อยู่ของตน คิดว่า นางทิฏฐมังคลิกา เราได้ทรมานปรากฏแล้วในสตรี ทั้งหลาย มัณฑัพยกุมาร ปรากฏแล้วในบุรุษทั้งหลาย บัดนี้ เราพึงทรมานใคร แต่นั้น ได้เห็น ชาติมันตดาบส ผู้อาศัยพันธุมดีนคร อยู่ที่ฝั่งแห่งกุมภวดีนที ดาบสนั้นคิดว่า เราเป็นผู้ประเสริฐโดยชาติ จะไม่บริโภคน้ำที่คนอื่นทั้งหลาย บริโภคแล้ว จึงพักอยู่ที่เหนือแม่น้ำ มหาบุรุษสำเร็จการอยู่เหนือภูมิภาคของ ดาบสนั้น ในเวลาที่ดาบสนั้นบริโภคน้ำ ก็เคี้ยวไม้สีฟันโยนลงในแม่น้ำ ดาบส เห็นไม้สีฟันนั้นถูกน้ำพัดไป ก็คิดว่า ใครทิ้งไม้สีฟันนี้ จึงไปทวนกระแส เห็นมหาบุรุษแล้ว ถามว่า ใครในที่นี้?

ม. คนจัณฑาล ชื่อ มาตังคะ อาจารย์.

ด. จงหลีกไปคนจัณฑาล อย่ามาอยู่เหนือแม่น้ำ.

มหาบุรุษตอบรับว่า ดีละ อาจารย์ จึงพักอยู่ที่ใต้แม่น้ำ ไม้สีฟันก็ ทวนกระแสน้ำมาสู่สำนักดาบส ดาบสไปอีกกล่าวว่า ออกไปคนจัณฑาล จง อย่าอยู่ในที่ใต้แม่น้ำ จงอยู่ในที่เหนือน้ำเท่านั้น มหาบุรุษรับว่า ดีละ อาจารย์ จึงกระทำตามสั่ง ทั้งทำอย่างเดิมอีก ดาบสโกรธว่า ยังทำอย่างนั้นอีก จึงสาปแช่ง มหาบุรุษว่า ในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น ขอศีรษะของท่านจงแตกออกเป็นเจ็ดเสี่ยง ฝ่ายมหาบุรุษกล่าวว่า ดีละ อาจารย์ แต่เราจะไม่ให้พระอาทิตย์ขึ้นจึงห้ามมิให้ พระอาทิตย์ขึ้น.

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 358

แต่นั้น ราตรีไม่สว่าง ความมืดเกิดขึ้น ชาวพระนครพันธุมดีกลัว พากันไปสู่สำนักของดาบสแล้ว ถามว่า ท่านอาจารย์ พวกกระผมจะมีความ ปลอดภัยหรือหนอ. และชาวพระนครแม้เหล่านั้นก็สำคัญดาบสนั้นว่า เป็น พระอรหันต์ ดาบสนั้นก็บอกเรื่องทั้งหมดแก่ชาวพระนครเหล่านั้น พวกเขาจึง เข้าไปหามหาบุรุษอ้อนวอนว่า ท่านเจ้าขา ขอท่านจงปล่อยพระอาทิตย์ มหาบุรุษกล่าวว่า ผิว่า พระอรหันต์ของพวกท่านมาขอขมาฉัน ฉันจักปล่อย.

พวกมนุษย์ไปแล้ว กล่าวกะดาบสว่า มาเถิด ท่านผู้เจริญ ท่านจงขอขมา มาตังคบัณฑิต พวกกระผมอย่าฉิบหาย เพราะเหตุแห่งการทะเลาะของพวกท่าน ดาบสนั้นกล่าวว่า เราจะไม่ขอขมาคนจัณฑาล มนุษย์ทั้งหลายกล่าวว่า ท่านให้ พวกกระผมฉิบหาย แล้วพากันจับมือและเท้านำไปสู่สำนักของมหาบุรุษ มหาบุรุษกล่าวว่า เมื่อดาบสนอนหมอบใกล้เท้าของเราขอขมาอยู่ เราจะอดโทษให้. มนุษย์ทั้งหลายกล่าวว่า ท่านจงทำอย่างนี้ ดาบสก็กล่าวว่า เราจะไม่ไหว้คนจัณฑาล มนุษย์ทั้งหลายกล่าวว่า ท่านจักไม่ไหว้ตามความพอใจของท่าน ดังนี้แล้ว จึงจับมือ เท้า หนวด และคอเป็นต้น ให้นอนใกล้เท้าของมหาบุรุษ.

มหาบุรุษนั้นกล่าวว่า เราอดโทษแก่ดาบสนี้ แต่ว่า เราจะไม่ปล่อย พระอาทิตย์ เพราะความอนุเคราะห์แก่ดาบสนั่นแล เพราะเมื่อพระอาทิตย์มาตร ว่าขึ้นเท่านั้น ศีรษะของดาบสนั้นจักแตกออกเป็นเจ็ดเสี่ยง มนุษย์ทั้งหลายจึง กล่าวว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า บัดนี้ จะพึงทำอย่างไร มหาบุรุษกล่าวว่า ถ้า เช่นนั้น พวกท่านจงวางก้อนดินเหนียวบนศีรษะของดาบส และให้อยู่ในน้ำ ลึกประมาณคอ เราจักปล่อยพระอาทิตย์ พอปล่อยพระอาทิตย์แล้ว ก้อนดิน เหนียวก็แตกออกเป็นเจ็ดเสี่ยงตกลงมา ดาบสกลัวแล้วหนีไป พวกมนุษย์เห็น

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 359

แล้ว จึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ จงดูอานุภาพของสมณะ ดังนี้แล้ว กล่าวเรื่อง ทั้งหมดให้พิสดารเริ่มต้นแต่การทิ้งไม้สีฟันเป็นต้น เลื่อมใสในมหาบุรุษนั้นว่า สมณะที่เป็นเช่นนี้ไม่มี.

จำเดิมแต่นั้น คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลายมีกษัตริย์และพราหมณ์ เป็นต้น ในชมพูทวีปทั้งสิ้น ก็ได้ไปสู่ที่บำรุงของมาตังคบัณฑิต เขาดำรงอยู่ ตามสมควรแก่อายุแล้ว เพราะกายแตกจึงบังเกิดในพรหมโลก ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ตทมินาปิ ชานาถ ฯลฯ พฺรหฺมโลกูปปตฺติยา ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้สำเร็จว่า บุคคลไม่เป็นคนถ่อยเพราะชาติ แต่เป็นคนถ่อยเพราะกรรม ดังนี้ อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อให้สำเร็จอย่างนี้ว่า ไม่เป็นพราหมณ์เพราะชาติ แต่เป็นพราหมณ์เพราะกรรม ดังนี้ จึงตรัสว่า อชฺฌายกกุเล ชาตาฯ เปฯ ทุคฺคจฺจา ครหาย วา ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อชฺฌายกกุเล ได้แก่เกิดในตระกูลพราหมณ์ ผู้สาธยายมนต์. บาลีว่า อชฺฌายิกกุเล ชาตา ดังนี้บ้าง. อธิบายว่า เกิด ในตระกูลพราหมณ์ผู้สาธยายมนต์และไม่ถูกรังเกียจ. มนต์ทั้งหลายเป็นเผ่าพันธุ์ของพราหมณ์เหล่านั้น เพราะเหตุนั้น พราหมณ์เหล่านั้น จึงชื่อว่า มนฺตพนฺธวา เป็นพวกร่ายมนต์ คือร่ายพระเวท มีอธิบายว่า มีพระเวท เป็นที่พึ่งอาศัย.

บทว่า เต จ ปาเปสุ กมฺเมสุ อภิณฺหมุปทิสฺสเร ความว่า พราหมณ์เหล่านั้น เกิดในตระกูลอย่างนี้แล้ว แม้จะเป็นพวกร่ายมนต์แต่ก็ ปรากฏอยู่เนืองๆ ในบาปกรรมทั้งหลายมีปาณาติบาตเป็นต้น เมื่อเป็นอย่างนั้น

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 360

ก็จะพึงถูกติเตียนในปัจจุบันทีเดียว และภพหน้าก็เป็นทุคติ อธิบายว่า พวก เขาเมื่อปรากฏอยู่อย่างนี้ ในอัตภาพนี้ทีเดียวก็จะพึงถูกมารดาและบิดาติเตียน อย่างนี้ว่า พวกนี้ไม่ใช่บุตรของพวกเรา พวกมันเกิดชั่ว เป็นขี้เถ้าของตระกูล จงขับพวกของมันไป ดังนี้บ้าง ถูกพราหมณ์ทั้งหลายติเตียนอย่างนี้ว่า พวก เหล่านี้เป็นคหบดี พวกเหล่านั้นไม่ใช่พราหมณ์ พวกท่านอย่าให้พวกมันเข้า ไปในพิธีทั้งหลายมีที่บูชายัญและที่ถวายถาดข้าวสุกด้วยศรัทธาเป็นต้น อย่าพึง สนทนากับพวกมัน ดังนี้บ้าง ถูกมนุษย์เหล่าอื่นติเตียนอย่างนี้ว่า พวกเหล่านี้ ทำกรรมชั่ว พวกเหล่านี้ไม่ใช่พราหมณ์ ดังนี้บ้าง และภพหน้าของพวกเขา ก็เป็นทุคติ คือ ปรโลกของพวกมันก็เป็นทุคติอันต่างด้วยนรกเป็นต้น บาลีว่า สมฺปราเย ดังนี้ก็มี อธิบายว่า ในปรโลกของพวกเขาก็เป็นทุคติ คือ เป็น คติแห่งความทุกข์ ได้แก่ เป็นการถึงความทุกข์นั่นเอง.

บทว่า น เน ชาติ นิวาเรติ ทุคฺคจฺจา ครหาย วา ความว่า ชาตินั้นแม้จะสูงอย่างนั้น ท่านหวังชาติใดโดยความเป็นสาระ ชาตินั้นย่อมไม่ ห้ามกันพวกพราหมณ์ ที่ปรากฏอยู่ในบาปกรรมทั้งหลายนั้น จากทุคติมีประการ ได้กล่าวแล้ว ในบทนี้ว่า และภพหน้าก็จะเป็นทุคติ หรือจากครหามีประการ ดังกล่าวแล้วในบทว่า พึงถูกติเตียนในปัจจุบันทีเดียว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงความที่พราหมณ์ทั้งหลาย แม้เกิด ในตระกูลสาธยายมนต์ก็ยังตกต่ำในปัจจุบันทีเดียว ด้วยอำนาจแห่งกรรมมีการ ถูกติเตียนเป็นต้น และเมื่อจะทรงแสดงความไม่มีแห่งชาติพราหมณ์ในภพหน้า ด้วยการถึงทุคติ ทรงยังอรรถแม้นี้ว่า ไม่เป็นพราหมณ์เพราะชาติ แต่เป็น พราหมณ์เพราะกรรม ดังนี้ ให้สำเร็จอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะประมวลอรรถ แม้ทั้งสอง จึงตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ เพราะอย่างนี้

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 361

น ชจฺจา วสโล โหติ น ชจฺจา โหติ พฺราหฺมโณ กมฺมุนา วสโล โหติ กมฺมุนา โหติ พฺราหฺมโณ

บุคคลไม่เป็นคนถ่อยเพราะชาติ ไม่ เป็นพราหมณ์เพราะชาติ แต่เป็นคนถ่อย เพราะกรรม เป็นพราหมณ์เพราะกรรม ดังนี้.

บทที่เหลือมีนัยที่กล่าวแล้วในกสิภารทวาชสูตรนั่นแล หรือโดยพิเศษ พึงทราบการประกอบอย่างนี้แห่งบททั้งหลาย มีอาทิว่า นิกฺกุชฺชิตํ วา ใน คาถานี้ :-

พระธรรมอันพระโคดมผู้เจริญ ทรงยกข้าพระองค์ผู้หันหลังให้กรรม ผู้ตกอยู่ในชาติวาทะขึ้นจากความเห็นว่า ชาติเป็นเหตุให้บุคคลเป็นพราหมณ์ และเป็นคนถ่อย เหมือนคนบางคนหงายของที่คว่ำฉะนั้น ทรงเปิดกรรมวาทะ ที่ชาติวาทะปิดไว้ เหมือนคนเปิดสิ่งที่ปิดฉะนั้น ทรงบอกทางตรง อันไม่ เจือคละด้วยความที่ชาติเป็นเหตุให้เป็นพราหมณ์และให้เป็นคนถ่อย เหมือน คนบอกทางแก่คนหลงทางฉะนั้น ทรงประกาศแล้ว โดยอเนกปริยาย เพราะ เป็นธรรมที่ทรงประกาศแล้ว โดยปริยายเหล่านั้น แก่ข้าพระองค์ โดยทรง ส่องแสงสว่างในการยกเรื่องมาตังคะ เป็นต้นเป็นตัวอย่าง เหมือนบุคคลตาม ประทีปน้ำมันไว้ในที่มืด ฉะนั้นแล.

จบอัคคิกภารทวาชสุตตวัณณนา แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อ ปรมัตถโชติกา