พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. อุปปริกขยสูตร ว่าด้วยผู้ตัดเรื่องข้องได้ไม่มีภพใหม่

 
บ้านธัมมะ
วันที่  10 พ.ย. 2564
หมายเลข  40119
อ่าน  341

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 591

ติกนิบาต

วรรคที่ ๕

๕. อุปปริกขยสูตร

ว่าด้วยผู้ตัดเรื่องข้องได้ไม่มีภพใหม่


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 591

๕. อุปปริกขยสูตร

ว่าด้วยผู้ตัดเรื่องข้องได้ไม่มีภพใหม่

[๒๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อภิกษุพิจารณาอยู่ด้วยประใดๆ วิญญาณของเธอไม่ฟุ้งซ่านแล้ว ไม่ส่ายไปแล้ว ไม่หยุดอยู่แล้วในภายใน ภิกษุพึงพิจารณาด้วยประการนั้นๆ เมื่อภิกษุไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น ความ สมภพ คือ ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ คือ ชาติ ชราและมรณะ ย่อมไม่มีต่อไป.

ภิกษุผู้ละธรรมเป็นเครื่องข้อง ๗ ประการได้แล้ว ตัดตัณหาเป็นเหตุนำไป ในภพขาดแล้ว มีสงสาร คือ ชาติหมดสิ้น แล้ว ภพใหม่ของเธอย่อมไม่มี.

จบอุปปริกขยสูตรที่ ๕

อรรถกถาอุปปริกขยสูตร

ในอุปปริกขยสูตรที่ ๕ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ตถา ตถา ความว่า โดยประการนั้นๆ. บทว่า อุปริกฺเขยฺย ความว่า พึงพิจารณาไต่ตรองดูหรือตรวจตราดู. บทว่า ยถา ยถาสฺส อุปปริกฺขโต ความว่า เมื่อภิกษุนั้นพิจารณาอยู่โดยประการใดๆ. บทว่า พหิทฺธา จสฺส วิญฺาณํ อวิกฺขิตฺตํ อวิสฏํ ความว่า วิญญาณ (จิต) ของเธอ ชื่อว่า เป็นจิตไม่ฟุ้งซ่าน เพราะไม่มีความฟุ้งซ่านที่เกิดขึ้นในอารมณ์ มีรูปเป็นต้น ภายนอก คือเป็นจิตตั้งมั่น พึงเป็นจิตไม่ซัดส่ายไปจากอารมณ์

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 592

กรรมฐานนั้นนั่นเอง มีพุทธานิบายนี้ไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุรูปนี้ ผู้ปรารภวิปัสสนาใคร่ครวญ คือ พิจารณาสังขารทั้งหลาย ได้แก่ ถือเอานิมิต ในสมถะ ด้วยอำนาจแห่งการกำหนดอาการที่จิตตั้งมั่นมาก่อนแล้วให้สัมมสนญาณเป็นไป ตลอดเวลาไม่มีระหว่างขั้นโดยเคารพวิปัสสนาจิตของตนจะไม่พึง เกิดขึ้น ในอารมณ์มีรูปเป็นต้น ที่นอกไปจากกรรมฐาน คือ ไม่พึงเป็น ฝักฝ่ายแห่งความฟุ้งซ่าน เพราะปรารภความเพียรมากเกินไป โดยประการ ใดๆ ภิกษุพึงพิจารณา คือ ไตร่ตรอง โดยประการนั้นๆ ดังนี้. บทว่า อชฺฌตฺตํ อสณฺิตํ ความว่า เพราะเหตุที่ (จิตของเธอ) ชื่อว่าหยุดอยู่แล้ว เพราะหยุดอยู่ ด้วยอำนาจแห่งความปั่นป่วน ชื่อว่าในภายใน คือ ในอารมณ์ กรรมฐานกล่าวคืออารมณ์ที่มีอยู่ในภายใน โดยการครอบงำความเกียจคร้าน ไว้ได้ เพราะเหตุที่เบื่อความเพียรดำเนินไปเพลาลงแล้ว สมาธิก็จะมีกำลัง แต่เมื่อพระโยคาวจรประกอบความเพียรสม่ำเสมอ แล้วจิตก็ชื่อว่าเป็นจิตไม่- หยุดอยู่ คือ เป็นจิตดำเนินไปสู่วิถีแล้ว ฉะนั้น ภิกษุนั้น พึงพิจารณาโดยประการ ที่เมื่อเธอพิจารณาแล้ว วิญญาณ (จิต) จะไม่พึงหยุดอยู่ในภายใน คือ จะพึง ดำเนินไปสู่วิถี. บทว่า อนุปาทาย น ปริตสฺเสยฺย มีการเชื่อมความว่า ภิกษุนั้น ควรพิจารณาโดยประการที่เมื่อเธอพิจารณาอยู่จะไม่ยึดถือสังขาร อะไรๆ ในรูปเป็นต้น ด้วยอำนาจการยึดถือด้วยตัณหาและทิฏฐิว่า นั่นเป็น ของเรา นั่นเป็นอัตตาของเราแล้ว ต่อแต่นั้นไปนั่นเอง ก็จะไม่พึงหวาดสะดุ้ง ด้วยอำนาจการยึดถือด้วยตัณหาและทิฏฐิ. ถามว่า ก็เมื่อพิจารณาอยู่อย่างไร ทั้ง ๓ อย่างนี้ (จิตหยุด ไม่หยุด ดำเนินสู่วิถี) จึงจะมี. แก้ว่า เมื่อเธอระลึก ถึงธรรมที่เป็นฝ่ายความฟุ้งซ่านและที่เป็นฝ่ายแห่งความเกียจคร้าน ประกอบ ความเพียรให้สม่ำเสมอ ชำระจิตให้สะอาดจากวิปัสสนูปกิเลส ในตอนต้นแล้ว

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 593

(ต่อไป) ก็พิจารณาโดยที่วิปัสสนาญาณจะดำเนินไปสู่วิปัสสนาวิถีโดยชอบ นั่นเอง.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงอุบายสำหรับชำระจิตให้สะอาดจาก ความเพียรมากเกินไป ความเพียรหย่อนเกินไป และวิปัสสนูปกิเลส ด้วย ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิประกอบแล้ว แก่ภิกษุผู้บำเพ็ญกรรมฐานมีสัจจะ ทั้ง ๔ เป็นอารมณ์อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงว่า เมื่อพระโยคาวจร ชำระวิปัสสนาญาณให้สะอาดอย่างนั้น ไม่นานเลยก็จะเป็นไปเพื่อสืบต่อด้วย วิปัสสนามรรคแล้วก้าวล่วงวัฏทุกข์ทั้งสิ้นได้ จึงได้ตรัสคำมีอาทิไว้ว่า พหิทฺธา ภิกฺขเว วิญฺาเณ ดังนี้. คำนั้น มีนัยดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั่นแหละ.

ส่วนพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า การสมภพ คือ การเกิดขึ้นแห่งทุกข์ คือ ชาติ ชราและมรณะ จะไม่มีต่อไป มีเนื้อความ ดังนี้ คือ เมื่อกิเลสสิ้นไปแล้ว ด้วยมรรคเบื้องปลาย ตามลำดับ มรรคโดยไม่มีเหลือเลย เพราะสืบต่อด้วยวิปัสสนามรรคอย่างนี้ การสมภพ กล่าวคือเหตุเกิดขึ้นแห่ง วัฏทุกข์ทั้งสิ้น คือ ชาติ ชราและมรณะจะไม่มี และการอุบัติขึ้นแห่งวัฏทุกข์ ทั้งสิ้น ก็จะไม่มี ในกาลต่อไป คือ ในอนาคต อีกอย่างหนึ่ง เหตุเกิดแห่ง ทุกข์ กล่าวคือชาติ ก็จะไม่มี และการเกิดแห่งทุกข์ คือ ชราและมรณะ ก็จะ ไม่มี.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาต่อไป บทว่า สตฺตสงฺคปฺปหีนสฺส ความว่า ผู้ชื่อว่าละเครื่องข้อง ๗ อย่างได้ เพราะละเครื่องข้อง ๗ อย่าง เหล่านี้ได้ คือ เครื่องข้องคือตัณหา ๑ เครื่องข้องคือทิฏฐิ ๑ เครื่องข้องคือ มานะ ๑ เครื่องข้องคือโกธะ ๑ เครื่องข้องคืออวิชชา ๑ เครื่องข้องคือกิเลส ๑ เครื่องข้องคือทุจริต ๑. ส่วนอาจารย์บางเหล่ากล่าวว่า เครื่องข้อง ๗ อย่าง

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 594

คือ อนุสัย ๗ นั่นเอง. บทว่า เนตฺติจฺฉนฺนสฺส ความว่า ผู้ตัดกิเลสที่จะ นำไปสู่ภพขาดแล้ว. บทว่า วิกฺขีโณ ชาติสํสาโร ความว่า ก็สงสาร ที่ชื่อว่าเป็นตัวชาติ เพราะเป็นเหตุของชาติ โดยการเป็นไปด้วยสามารถแห่ง การเกิดขึ้นแล้วๆ เล่าๆ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชาติสํสาโร สงสาร คือ ชาตินั้นสิ้นสุดแล้ว คือ สุดสิ้นลงแล้ว เพราะตัณหาที่นำไปสู่ภพถูกตัดขาดแล้ว ต่อแต่นั้นนั่นเอง ภพใหม่ของท่านก็จะไม่มี ดังนี้แล.

จบอรรถกถาอุปปริกขยสูตรที่ ๕