พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. พยากรณสูตร ว่าด้วยภิกษุละธรรม ๑๐ ประการ จักถึงความเจริญงอกงามในธรรมวินัยนี้

 
บ้านธัมมะ
วันที่  5 พ.ย. 2564
หมายเลข  39838
อ่าน  274

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 259

ทุติยปัณณาสก์

เถรวรรคที่ ๔

๔. พยากรณสูตร

ว่าด้วยภิกษุละธรรม ๑๐ ประการ จักถึงความเจริญงอกงามในธรรมวินัยนี้


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 259

๔. พยากรณสูตร

ว่าด้วยภิกษุละธรรม ๑๐ ประการ

จักถึงความเจริญงอกงามในธรรมวินัยนี้

[๘๔] ณ ที่นั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะ เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้มีอายุเหล่านั้นกล่าวรับท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวคำนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพยากรณ์อรหัตผลว่า เราทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดในจิตของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น ย่อมซักถาม สอบถาม ไล่เลียงภิกษุนั้น ภิกษุนั้นอันพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ฯลฯ ไล่เลียงอยู่ ย่อมถึงความเป็นผู้เปล่า ไม่มีคุณ ไม่เจริญ พินาศ ความไม่เจริญและความพินาศ พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ฉลาดในจิตของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น กำหนดรู้ใจด้วยใจแล้ว กระทำไว้ในใจซึ่งภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า เพราะเหตุไรหนอ ท่านผู้นี้จึงพยากรณ์อรหัตผลว่า เราทราบว่า

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 260

ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ฯลฯ กำหนดรู้ใจด้วยใจแล้ว ย่อมทราบชัดภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้มักโกรธ มีใจอันความโกรธกลุ้มรุมแล้วอยู่โดยมาก ก็ความกลุ้มรุมแห่งความโกรธนี้ เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ท่านผู้นี้เป็นผู้ผูกโกรธไว้ มีใจอันความผูกโกรธไว้กลุ้มรุมอยู่โดยมาก ก็ความกลุ้มรุมแห่งความผูกโกรธนี้ เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ท่านผู้นี้เป็นผู้มีความลบหลู่ มีใจอันความลบหลู่กลุ้มรุมอยู่โดยมาก ก็ความกลุ้มรุมแห่งความลบหลู่นี้ เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ท่านผู้นี้เป็นผู้ตีเสมอ มีใจอันความตีเสมอกลุ้มรุมอยู่โดยมาก ก็ความกลุ้มรุมแห่งความตีเสมอนี้ เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ท่านผู้นี้เป็นผู้มีความริษยา มีใจอันความริษยากลุ้มรุมอยู่มาก ก็ความกลุ้มรุมแห่งความริษยานี้ เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ท่านผู้นี้เป็นผู้ตระหนี่ มีใจอันความตระหนี่กลุ้มรุมอยู่โดยมาก ก็ความกลุ้มรุมแห่งความตระหนี่นี้ เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ท่านผู้นี้เป็นผู้โอ้อวด มีใจอันความโอ้อวดกลุ้มรุมอยู่โดยมาก ก็ความกลุ้มรุมแห่งความโอ้อวดนี้ เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ท่านผู้นี้เป็นผู้มีมารยา มีใจอันมารยากลุ้มรุมอยู่โดยมาก ก็ความกลุ้มรุมแห่งมารยานี้ เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ท่านผู้นี้เป็นผู้มีความปรารถนาลามก มีใจอันความปรารถนาลามกกลุ้มรุมอยู่โดยมาก ก็ความกลุ้มรุมแห่งความปรารถนาลามกนี้ เป็นความเสื่อมในธรรม

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 261

วินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ท่านผู้นี้เป็นผู้มีสติหลงลืม ถึงความทอดทิ้งธุระในระหว่างคุณวิเศษเบื้องบนด้วยการบรรลุคุณวิเศษเบื้องต่ำ ก็การถึงความทอดทิ้งธุระในระหว่างนี้ เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ ไม่ละธรรม ๑๐ ประการนี้แล้ว จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ ละธรรม ๑๐ ประการนี้แล้ว จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่มีได้.

จบพยากรณสูตรที่ ๔

อรรถกถาพยากรณสูตรที่ ๔

พยากรณสูตรที่ ๔ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ฌายี สมาปตฺติกุสโล ได้แก่ ผู้ถึงพร้อมด้วยฌานทั้งหลายและผู้ฉลาดในสมาบัติ. บทว่า อิริณํ ได้แก่ ความเปล่าประโยชน์. บทว่า วิจินํ ได้แก่ ความเสาะคุณ ความไร้คุณ. อีกนัยหนึ่ง เป็นประหนึ่งเข้าถึงป่าใหญ่ที่เรียกว่าอิริณะ และชัฏใหญ่ที่เรียกว่าวิจินะ. บทว่า อนยํ ได้แก่ ความไม่เจริญ. บทว่า พฺยสนํ ได้แก่ ความพินาศ. บทว่า อนพฺยสนํ ได้แก่ ความไม่เจริญ พินาศ. บทว่า กิํ นุ โข แปลว่า เพราะเหตุไร.

จบอรรถกถาพยากรณสูตรที่ ๔