พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. สีหสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  1 พ.ย. 2564
หมายเลข  39528
อ่าน  319

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 173

วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

อัพยากตวรรคที่ ๑

๔. สีหสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 173

๔. สีหสูตร

[๕๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้กรุงเวสาลี ครั้งนั้นแล สีหเสนาบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์อาจทรงบัญญัติผลแห่งทานที่ประจักษ์ในปัจจุบันได้หรือไม่.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสีหะ ถ้าอย่างนั้น จักย้อนถามท่านในปัญหาข้อนี้ก่อน ท่านพึงพยากรณ์ปัญหาข้อนั้นตามชอบใจท่าน ดูก่อนสีหะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ในเมืองเวสาลีนี้มีบุรุษอยู่ ๒ คน คนหนึ่งไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว พูดเสียดสี คนหนึ่งมีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ความสนับสนุน ดูก่อนสีหะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อจะอนุเคราะห์พึงอนุเคราะห์คนไหนก่อน จะเป็นคนไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว พูดเสียดสี หรือคนที่มีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ความสนับสนุน.

สี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนที่ไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว พูดเสียดสี พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่ออนุเคราะห์ จักอนุเคราะห์คนนั้นก่อนอย่างไรได้ ส่วนที่มีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ความสนับสนุน พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่ออนุเคราะห์ พึงอนุเคราะห์คนนั้นก่อนเทียว.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 174

พ. ดูก่อนสีหะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อเข้าไป พึงเข้าไปหาใครก่อน จะเป็นคนที่ไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว พูดเสียดสี หรือคนที่มีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ความสนับสนุน.

สี. ข้าแต่พระองค์เจริญ คนที่ไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว พูดเสียดสี พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อเข้าไปหาจักเข้าไปหาคนนั้นก่อนอย่างไรได้ ส่วนคนที่มีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ความสนับสนุน พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อเข้าไปหาพึงเข้าไปหาคนนั้นก่อนเทียว.

พ. ดูก่อนสีหะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อรับ พึงรับของใครก่อน จะเป็นคนที่ไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว พูดเสียดสี หรือคนที่มีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ความสนับสนุน.

สี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนที่ไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว พูดเสียดสี พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อรับ จักรับของคนนั้นก่อนอย่างไรได้ ส่วนคนที่มีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ความสนับสนุน พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อรับพึงรับของคนนั้นก่อนเทียว.

พ. ดูก่อนสีหะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อแสดงธรรมพึงแสดงแก่คนไหนก่อน จะเป็นคนที่ไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว พูดเสียดสี หรือคนที่มีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ความสนับสนุน.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 175

สี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนที่ไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว พูดเสียดสี พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อแสดงธรรมจักแสดงแก่คนนั้นก่อนอย่างไรได้ ส่วนคนที่มีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ความสนับสนุน พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อแสดงธรรม พึงแสดงแก่คนนั้นก่อนเทียว.

พ. ดูก่อนสีหะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน กิตติศัพท์อันงามของคนไหน พึงขจรไป จะเป็นคนที่ไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว พูดเสียดสี หรือคนที่มีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ความสนับสนุน.

สี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนที่ไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว พูดเสียดสี กิตติศัพท์อันงามของตนนั้นจักขจรไปได้อย่างไร ส่วนคนที่มีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ความสนับสนุน กิตติศัพท์อันงามของคนนั้นเทียวพึงขจรไป.

พ. ดูก่อนสีหะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คนไหนที่จะพึงเข้าไปสู่บริษัทใดๆ ก็ตาม เช่น กษัตริย์บริษัท พราหมณ์บริษัท คฤหบดีบริษัท สมณบริษัท พึงเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เก้อเขิน เข้าไป จะเป็นคนที่ไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนี่ยว พูดเสียดสี หรือคนที่มีศรัทธา ยินดีให้ความสนับสนุน.

สี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนที่ไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว พูดเสียดสี จักเข้าไปสู่บริษัทใดๆ ก็ตาม เช่น กษัตริย์บริษัท พราหมณ์บริษัท คฤหบดีบริษัท สมณบริษัท จักเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เก้อเขิน เข้าไปอย่างไรได้ ส่วนคนที่มีศรัทธา เป็นทานบดี

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 176

ยินดีให้ความสนับสนุน เขาผู้นั้นพึงเข้าไปสู่บริษัทใดๆ ก็ตาม เช่น กษัตริย์บริษัท พราหมณ์บริษัท คฤหบดีบริษัท สมณบริษัท พึงเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เก้อเขินเข้าไป.

พ. ดูก่อนสีหะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คนไหนเมื่อตายไปจะพึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ จะเป็นคนที่ไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว พูดเสียดสี หรือคนที่มีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ความสนับสนุน.

สี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนที่ไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว พูดเสียดสี เมื่อตายไปจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์อย่างไรได้ ส่วนคนที่มีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ความสนับสนุน เมื่อตายไปพึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในผลแห่งทาน ๖ ประการที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบันอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ข้าพระองค์มิได้ดำเนินไปด้วยความเชื่อต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ข้าพระองค์เองก็รู้ผลแห่งทานเหล่านี้ ข้าพระองค์เป็นทายก เป็นทานบดี พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่ออนุเคราะห์ย่อมอนุเคราะห์ข้าพระองค์ก่อน เมื่อเข้าไปหาย่อมเข้าไปหาข้าพระองค์ก่อน เมื่อรับย่อมรับของข้าพระองค์ก่อน เมื่อแสดงธรรมย่อมแสดงแก่ข้าพระองค์ ก่อน กิตติศัพท์อันงามของข้าพระองค์ขจรไปแล้วว่า สีหเสนาบดีเป็นทายก เป็นการกบุคคล เป็นผู้อุปัฏฐากพระสงฆ์ ข้าพระองค์ผู้เป็นทายก เป็นทานบดี เข้าไปสู่บริษัทใดๆ ก็ตาม เช่น กษัตริย์บริษัท พราหมณ์บริษัท คฤหบดีบริษัท สมณบริษัท ย่อมเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เก้อเขินเข้าไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในผลแห่งทาน

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 177

๖ ประการที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบันอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ข้าพระองค์มิได้ดำเนินไปด้วยความเชื่อต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ข้าพระองค์เองก็รู้ผลแห่งทานเหล่านี้ แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสผลแห่งทานใดกะข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ดูก่อนสีหะ ทายก ทานบดี เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ข้าพระองค์ยังไม่รู้ ผลแห่งทานนั้น และในผลแห่งทานข้อนี้ ข้าพระองค์ขอดำเนินไปด้วยความเชื่อต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า.

พ. อย่างนั้น สีหะ อย่างนั้น สีหะ ดูก่อนสีหะ ทายก ทานบดี เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.

จบ สีหสูตรที่ ๔

อรรถกถาสีหสูตรที่ ๔

สีหสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า มจฺฉรี ได้แก่บุคคลผู้ประกอบด้วยความตระหนี่ ๕ อย่าง. บทว่า กทริโย ความว่า บุคคลผู้มีความตระหนี่จัดย่อมห้ามแม้เมื่อชนเหล่าอื่นผู้จะให้ทาน. บทว่า อนุปฺปทานรโต ความว่า เมื่อจะให้ทานบ่อยๆ ก็ย่อมยินดี. บทว่า อนุกมฺปนฺตา ความว่า ผู้อนุเคราะห์ด้วยคิดอย่างนี้ว่าวันนี้เราจะอนุเคราะห์ใคร พวกเราจะพึงรับไทยธรรมของใคร หรือพวกเราจะพึงแสดงธรรมแก่ใคร.

จบ อรรถกถาสีหสูตรที่ ๔