พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. ติสสสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  1 พ.ย. 2564
หมายเลข  39527
อ่าน  314

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 167

วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

อัพยากตวรรคที่ ๑

๓. ติสสสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 167

๓. ติสสสูตร

[๕๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไป เทวดา ๒ ตนมีรัศมีงาม ยังภูเขาคิชฌกูฏทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วเทวดาตนหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุณีเหล่านี้หลุดพ้นแล้ว เทวดาอีกตนหนึ่งกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุณีเหล่านี้หลุดพ้นด้วยดีแล้วเพราะไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ เทวดาเหล่านั้นได้กราบทูลดังนี้แล้วพระศาสดาทรงพอพระทัย ลำดับนั้น เทวดา เหล่านั้นทราบว่าพระศาสดาทรงพอพระทัย จึงถวายอภิวาท กระทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้น ครั้นล่วงราตรีนั้นไป พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เมื่อปฐมยามล่วงไป มีเทวดา ๒ ตนมีรัศมีงาม ยังภูเขาคิชฌกูฏทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ครั้นแล้ว เทวดาตนหนึ่งได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุณีเหล่านี้หลุดพ้นแล้ว เทวดาอีกตนหนึ่งกล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุณีเหล่านี้หลุดพ้นด้วยดีแล้วเพราะไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ เทวดาเหล่านั้นครั้นกล่าวแล้ว อภิวาทเรา กระทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้นนั่นแล ก็สมัยนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะนั่งอยู่ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 168

ท่านคิดเห็นว่า เทวดาเหล่าไหนหนอมีญาณหยั่งรู้อย่างนี้ในบุคคลผู้ยังมีอุปาทานขันธ์เหลือว่ายังมีอุปาทานขันธ์เหลือ หรือในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือว่าไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือ ก็ในสมัยนั้นแล ภิกษุชื่อติสสะมรณภาพแล้วไม่นาน เข้าถึงพรหมโลกชั้นหนึ่ง แม้ในพรหมโลกนั้นก็รู้กันอย่างนี้ว่าท้าวติสสพรหมเป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะหายจากภูเขาคิชฌกูฏไปปรากฏ ณ พรหมโลกนั้น เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนที่คู้หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ท้าวติสสพรหมได้เห็นท่านพระมหาโมคคัลลานะกำลังมาแต่ไกล จึงกล่าวกะท่านว่า ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ นิมนต์มาเถิด ท่านมาดีแล้ว นานแล้วที่ท่านกระทำปริยายเพื่อมาที่นี้ ขอนิมนต์ท่านนั่งเถิด นี่อาสนะปูไว้แล้ว.

ท่านพระมหาโมคคัลลานะนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้แล้ว แม้ติสสพรหมอภิวาทท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ถามว่า ดูก่อนติสสะ เทวดาเหล่าไหนหนอ มีญาณหยั่งรู้อย่างนี้ในบุคคลผู้ยังมีอุปาทานขันธ์เหลือว่ายังมีอุปาทานขันธ์เหลือ หรือในบุคคลผู้ไม่มี อุปาทานขันธ์เหลือว่าไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือ.

ติสสพรหมกล่าวว่า ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เทวดาชั้นพรหมย่อมมีญาณหยั่งรู้อย่างนี้ในบุคคลผู้ยังมีอุปาทานขันธ์เหลือว่ายังมีอุปาทานขันธ์เหลือ หรือในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือว่าไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือ.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 169

ม. เทวดาชั้นพรหมทั้งหมดหรือที่มีญาณหยั่งรู้อย่างนี้ ในบุคคลผู้มีอุปาทานขันธ์เหลือว่ายังมีอุปาทานขันธ์เหลือ หรือในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือว่าไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือ.

ต. ข้าแต่พระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เทวดาชั้นพรหมไม่ใช่ทั้งหมดที่มีญาณหยั่งรู้อย่างนี้ ... ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เทวดาชั้นพรหมเหล่าใดผู้ยินดีด้วยอายุ วรรณะ สุข ยศ และความเป็นอธิบดีอันเป็นของพรหม แต่ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกไปอย่างยิ่งแห่งอายุเป็นต้นนั้น เทวดาชั้นพรหมเหล่านั้นไม่มีญาณหยั่งรู้อย่างนี้ในบุคคลผู้มีอุปาทานขันธ์เหลือว่ายังมีอุปาทานขันธ์เหลือ หรือในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือว่าไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือ ส่วนเทวดาชั้นพรหมเหล่าใดไม่ยินดีด้วยอายุ วรรณะ สุข ยศ และความเป็นอธิบดีอันเป็นของ พรหม และรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกไปอย่างยิ่งแห่งอายุเป็นต้นนั้น เทวดาชั้นพรหมเหล่านั้นย่อมมีญาณหยั่งรู้อย่างนี้ ... ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นอุภโตภาควิมุติ เทวดาเหล่านั้นย่อมรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้เป็นอุภโตภาควิมุติ กายของท่านจักตั้งอยู่เพียงใด เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นท่านเพียงนั้น เพราะกายสลายไป เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นท่าน ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เทวดาเหล่านั้นย่อมมีญาณหยั่งรู้อย่างนี้ในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือว่าไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือ ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นปัญญาวิมุติ เทวดา

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 170

เหล่านั้นย่อมรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้แลเป็นปัญญาวิมุติ กายของท่านจักตั้งอยู่เพียงใด เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นท่านเพียงนั้น เพราะกายสลายไป เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นท่าน. ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เทวดาเหล่านั้นย่อมมีญาณหยั่งรู้อย่างนี้ในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือว่าไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือ ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นกายสักขี (ผู้บรรลุฌานแล้วกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน) เทวดาเหล่านั้นย่อมรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้นั้นแลเป็นกายสักขีแม้ไฉน ท่านผู้นี้เสพเสนาสนะที่สมควรอยู่ คบกัลยาณมิตร อบรมอินทรีย์ พึงกระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยมที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบตามต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งยงในทิฏฐธรรมเข้าถึงอยู่ ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เทวดาเหล่านั้นย่อมมีญาณหยั่งรู้อย่างนี้ในบุคคลผู้มีอุปาทานขันธ์เหลือว่ามีอุปาทานขันธ์เหลือ ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นทิฏฐิปัตตะ (ผู้ถึงที่สุดทิฏฐิ) ฯลฯ เป็นสัทธาวิมุติ (ผู้หลุดพ้นเพราะศรัทธา) ฯลฯ ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นธัมมานุสารี (ผู้ดำเนินตามกระแสธรรม) เทวดาเหล่านั้นย่อมรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้และเป็นธัมมานุสารีแม้ไฉน ท่านผู้นี้เสพเสนาสนะที่สมควรอยู่ คบกัลยาณมิตร อบรมอินทรีย์ พึงกระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบตามต้องการนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเอง

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 171

ในทิฏฐธรรมเข้าถึงอยู่ ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เทวดาเหล่านั้นย่อมมีญาณหยั่งรู้อย่างนี้ในบุคคลผู้มีอุปาทานขันธ์เหลือว่ามีอุปาทานขันธ์เหลือ.

ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะชื่นชมยินดีภาษิตของท้าวติสสพรหมแล้ว หายจากพรหมโลกไปปรากฏที่เขาคิชฌกูฏ เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียดฉะนั้น แล้วท่านพระมหาโมคคัลลานะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลถ้อยคำสนทนาปราศรัยกับท้าวติสสพรหมทั้งหมดแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าดูก่อนโมคคัลลานะ ก็ท้าวติสสพรหมไม่ได้แสดงบุคคลอนิมิตตวิหารี (ผู้มีปกติบรรลุเจโตสมาธิอันหานิมิตมิได้อยู่) ที่ ๗ แก่เธอหรือ.

ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคต บัดนี้เป็นการควรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงทรงแสดงถึงบุคคลอนิมิตวิหารีที่ ๗ ข้าแต่พระสุคต ภิกษุทั้งหลายได้ฟังพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจักทรงจำไว้.

พ. ดูก่อนโมคคัลลานะ ถ้าอย่างนั้นเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.

ท่านพระมหาโมคคัลลานะรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนโมคคัลลานะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมบรรลุเจโตสมาธิอันหานิมิตมิได้ เพราะไม่ใส่ใจถึงนิมิตทั้งปวงอยู่

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 172

เทวดาเหล่านั้นย่อมรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้แลบรรลุเจโตสมาธิอันหานิมิตมิได้ เพราะไม่ใส่ใจถึงนิมิตทั้งปวงอยู่ แม้ไฉนท่านผู้นี้เสพเสนาสนะที่สมควรอยู่ คบกัลยาณมิตร อบรมอินทรีย์ พึงกระทำให้แจ้งซึงที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบตามต้องการนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐธรรมเข้าถึงอยู่ ดูก่อนโมคคัลลานะ เทวดาเหล่านั้นย่อมมีญาณหยั่งรู้อย่างนี้ในบุคคลผู้มีอุปาทานขันธ์เหลือว่ามีอุปาทานขันธ์เหลือ.

จบ ติสสสูตรที่ ๓