ทุกข์ ๓ อย่าง คือ ราคะ โทสะ โมหะ [นิฆสูตร]

 
webdh
วันที่  8 มิ.ย. 2550
หมายเลข  3943
อ่าน  2,805

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 171 ๑๕. นิฆสูตร ว่าด้วยทุกข์ ๓ อย่าง

[๓๒๕] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ ๓ อย่างนี้ ๓อย่างเป็นไฉน ได้แก่ทุกข์ คือ ราคะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ ๓ อย่างนี้แล.

[๓๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละทุกข์ ๓ อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ จบนิฆสูตรที่ ๑๕


  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 8 มิ.ย. 2550
ตราบใดที่เรายังต้องเกิดอีก ก็หนีทุกข์ ที่เกิดจากไฟคือโลภะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะไปไม่ได้ นอกจากอบรมเจริญสติปัฏฐานเท่านั้นค่ะ ถึงจะรื้อภพชาติได้ คือไม่เกิดอีกเลย
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 8 มิ.ย. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย เรื่อง โลภะ โทสะ โมหะนำมาซึ่งทุกข์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 513 ๓. โลกสูตร

[๔๐๒] สาวัตถีนิทาน.

พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้ทูลพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า ธรรมเท่าไรหนอแลเมื่อเกิดขึ้นแก่โลก ย่อมเกิด

ขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่สำราญ.

[๔๐๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร ธรรม ๓ อย่าง

เมื่อเกิดขึ้นแก่โลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อ

ความอยู่ไม่สำราญ ธรรม ๓ อย่างเป็นไฉน.

๑. ดูก่อนมหาบพิตร ธรรมคือโลภะความโลภ เมื่อเกิดขึ้นแก่โลก

ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่สำราญ.

๒. ดูก่อนมหาบพิตร ธรรมคือโทสะความโกรธ เมื่อเกิดขึ้นแก่โลก

ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่สำราญ.

๓. ดูก่อนมหาบพิตร ธรรมคือโมหะความหลง เมื่อเกิดขึ้นแก่โลก

ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่สำราญ.

ดูก่อนมหาบพิตร ธรรม ๓ อย่างนี้แล เมื่อเกิดขึ้นแก่โลก ย่อมเกิด

ขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่สำราญ.

[๔๐๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์คำ

ร้อยแก้วนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาคำร้อยกรองต่อไปอีกว่า

โลภะ โทสะ และโมหะ อันบังเกิด

แก่ตนย่อมทำลายบุรุษ ผู้มีใจบาป ดุจ

ขุยไผ่ทำลายต้นไฝ่ ฉะนั้น.

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
narong.p
วันที่ 10 มิ.ย. 2550

ขออนุโมทนา

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ