พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. อรหัตตสูตร ว่าด้วยผู้ควรและไม่ควรบรรลุอรหัตผล

 
บ้านธัมมะ
วันที่  31 ต.ค. 2564
หมายเลข  39426
อ่าน  423

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 800

ทุติยปัณณาสก์

อรหันตวรรคที่ ๓

๒. อรหัตตสูตร

ว่าด้วยผู้ควร และไม่ควร บรรลุอรหัตผล


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 800

๒. อรหัตตสูตร

ว่าด้วยผู้ควร และไม่ควร บรรลุอรหัตผล

[๓๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ไม่ควร เพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งอรหัต ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน? คือ มานะ ความถือตัว ๑ โอมานะ ความสำคัญว่าเลวกว่าเขา ๑ อติมานะ ความเย่อหยิ่ง ๑ อธิมานะ ความเข้าใจผิด ๑ ถัมภะ ความหัวดื้อ ๑ อตินิปาตะ ความดูหมิ่นตนเองว่า เป็นคนเลว ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการ นี้แล ย่อมเป็นผู้ไม่ควร เพื่อกระทำให้แจ้ง ซึ่งอรหัต.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 801

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ควร เพื่อกระทำให้แจ้ง ซึ่งอรหัต ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ความถือตัว ๑ ความสำคัญว่าเลวกว่าเขา ๑ ความเย่อหยิ่ง ๑ ความเข้าใจผิด ๑ ความหัวดื้อ ๑ ความดูหมิ่นตัวเองว่า เป็นคนเลว ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการ นี้แล ย่อมเป็นผู้ควร เพื่อกระทำให้แจ้ง ซึ่งอรหัต.

จบอรหัตตสูตรที่ ๒

อรรถกถาอรหัตตสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในอรหัตตสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า มานํ ได้แก่ ความสำคัญ (ตัว) โดยชาติ เป็นต้น. บทว่า โอมานํ ได้แก่ สำคัญตัวว่า เราเป็นคนเลว. บทว่า อติมานํ ได้แก่ ความถือตัว อย่างหยิ่งผยอง ที่เป็นไปล่วงเกินผู้อื่น. บทว่า อธิมานํ ได้แก่ ความสำคัญว่า ได้บรรลุ (อย่างนั้นอย่างนี้). บทว่า ถมฺภํ ได้แก่ มีความเป็นผู้กระด้าง เพราะโกรธ และมานะ. บทว่า อตินิปาตํ ได้แก่ ความสำคัญตนของคนเลว ว่าเราเป็นคนเลว.

จบอรรถกถา อรหัตตสูตรที่ ๒