พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. ทุกขสูตร ว่าด้วยธรรมทําให้เป็นทุกข์และเป็นสุข

 
บ้านธัมมะ
วันที่  31 ต.ค. 2564
หมายเลข  39425
อ่าน  292

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 799

ทุติยปัณณาสก์

อรหันตวรรคที่ ๓

๑. ทุกขสูตร

ว่าด้วยธรรมทําให้เป็นทุกข์ และเป็นสุข


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 799

อรหันตวรรคที่ ๓

๑. ทุกขสูตร

ว่าด้วยธรรมทำให้เป็นทุกข์ และเป็นสุข

[๓๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ มีความเดือดร้อน คับแค้น เร่าร้อน ในปัจจุบันเทียว เมื่อตายไป พึงหวังได้ทุคติ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน? คือ กามวิตก ๑ พยาบาทวิตก ๑ วิหิงสาวิตก ๑ กามสัญญา ๑ พยาบาทสัญญา ๑ วิหิงสาสัญญา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมอยู่เป็นทุกข์ มีความเดือดร้อน คับแค้น เร่าร้อน ในปัจจุบันเทียว เมื่อตายไป พึงหวังได้ทุคติ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมอยู่เป็นสุข ไม่เดือดร้อน ไม่คับแค้น ไม่เร่าร้อน ในปัจจุบันเทียว เมื่อตายไป พึงหวังได้สุคติ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน? คือ เนกขัมมวิตก ๑ อัพยาบาทวิตก ๑ อวิหิงสาวิตก ๑ เนกขัมมสัญญา ๑ อัพยาบาทสัญญา ๑ อวิหิงสาสัญญา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ นี้แล ย่อมอยู่เป็นสุข ไม่เดือดร้อน ไม่คับแค้น ไม่เร่าร้อน ในปัจจุบันเทียว เมื่อตายไป พึงหวังได้สุคติ.

จบทุกขสูตรที่ ๑

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 800

อรหันตวรรควรรณนาที่ * ๓

อรรถกถาทุกขสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในทุกขสูตรที่ ๑ แห่งอรหัตตวรรคที่ ๓ ดังต่อ ไปนี้ :-

บทว่า สวิฆาตํ ความว่า ประกอบไปด้วยความคับแค้น คือ มีอุปัทวะ. บทว่า สปริฬาหํ ความว่า มีความกระวนกระวาย ด้วยความกระวนกระวาย ทางกาย และทางจิต. บทว่า ปาฏิกงฺขา ความว่า พึงหวัง คือ มีอยู่แน่นอน.

จบอรรถกถา ทุกขสูตรที่ ๑


* อรรถกถาเป็นวรรคที่ ๘