พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. พลสูตร ว่าด้วยผู้ควรและไม่ควรบรรลุพลภาพในสมาธิ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  31 ต.ค. 2564
หมายเลข  39422
อ่าน  315

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 794

ทุติยปัณณาสก์

เทวตาวรรคที่ ๒

๘. พลสูตร

ว่าด้วยผู้ควร และไม่ควรบรรลุ พลภาพในสมาธิ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 794

๘. พลสูตร

ว่าด้วยผู้ควร และไม่ควรบรรลุ พลภาพ ในสมาธิ

[๓๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อบรรลุ พลภาพในสมาธิ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการตั้งอยู่แห่งสมาธิ ๑ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการออกแห่งสมาธิ ๑ เป็นผู้ไม่ กระทำความเอื้อเฟื้อ ๑ ไม่กระทำติดต่อ ๑ ไม่กระทำความสบาย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ นี้แล ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อบรรลุ พลภาพ ในสมาธิ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 795

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อบรรลุ พลภาพ ในสมาธิ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งอยู่แห่งสมาธิ ๑ เป็นผู้ฉลาดในการออกแห่งสมาธิ ๑ เป็นผู้กระทำความเอื้อเฟื้อ ๑ เป็นผู้กระทำติดต่อ ๑ เป็นผู้กระทำความสบาย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ นี้แล ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อบรรลุ พลภาพ ในสมาธิ.

จบพลสูตรที่ ๘

อรรถกถาพลสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในพลสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า พลตํ ได้แก่ ความเป็นผู้มีกำลัง คือ ความเป็นผู้มีเรี่ยวแรง (ในสมาธิ). บทว่า อสาตจฺจการี ความว่า ไม่กระทำให้ติดต่อกัน. คำที่เหลือ มีนัยดังกล่าวแล้ว ในหนหลัง.

จบอรรถกถา พลสูตรที่ ๘