พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. สักขิสูตร ว่าด้วยผู้ควรและไม่ควรเป็นพยานในคุณวิเศษ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  31 ต.ค. 2564
หมายเลข  39421
อ่าน  284

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 793

ทุติยปัณณาสก์

เทวตาวรรคที่ ๒

๗. สักขิสูตร

ว่าด้วยผู้ควร และไม่ควรเป็นพยาน ในคุณวิเศษ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 793

๗. สักขิสูตร

ว่าด้วยผู้ควร และไม่ควรเป็นพยาน ในคุณวิเศษ

[๓๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมไม่เป็นผู้ควร เพื่อถึงความเป็นผู้ควร เป็นพยานในคุณวิเศษนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่ทราบชัด ตามเป็นจริงว่า ธรรมเหล่านี้ เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ๑ ย่อมไม่ทราบชัด ตามเป็นจริงว่า ธรรมเหล่านี้ เป็นไปในส่วนแห่งความดำรงอยู่ ๑ ย่อมไม่ทราบชัดตามเป็นจริงว่า ธรรมเหล่านี้ เป็นไปในส่วนแห่งคุณวิเศษ ๑ ย่อมไม่ทราบชัด ตามเป็นจริงว่า ธรรมเหล่านี้ เป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส ๑ เป็นผู้ไม่กระทำความเอื้อเฟื้อ ๑ ไม่กระทำความสบาย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ นี้แล ย่อมเป็นผู้ไม่ควร เพื่อถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยาน ในคุณวิเศษนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ควร เพื่อถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยาน ในคุณวิเศษนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมทราบชัด ตามเป็นจริงว่า ธรรมเหล่านี้ เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ๑ ย่อมทราบชัดตามเป็นจริงว่า ธรรมเหล่านี้ เป็นไปในส่วนแห่งความดำรงอยู่ ๑ ย่อมทราบชัด ตามเป็นจริงว่า ธรรมเหล่านี้ เป็นไปในส่วนแห่งคุณวิเศษ ๑ ย่อมทราบชัด ตามเป็นจริงว่า ธรรมเหล่านี้ เป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส ๑ เป็นผู้กระทำความเอื้อเฟื้อ ๑ เป็นผู้กระทำความสบาย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ นี้แล ย่อมเป็นผู้ควร เพื่อถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยาน ในคุณวิเศษนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่.

จบสักขิสูตรที่ ๗

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 794

อรรถกถาสักขิสูตรที่ * ๗

พึงทราบวินิจฉัย ในสักขิสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า ตตฺร ตตฺร เท่ากับ ตสฺมึ ตสฺมึ วิเสเส แปลว่า ในคุณพิเศษนั้นๆ. บทว่า สกฺขิภพฺพตํ ได้แก่ ความแจ้งประจักษ์. บทว่า อายตเน ได้แก่ ในเมื่อเหตุ. ธรรมทั้งหมด มีหานภาคิยธรรม เป็นต้น ข้าพเจ้าได้พรรณนาไว้แล้ว ในคัมภีร์ชื่อว่า วิสุทธิมรรค. บทว่า อสกฺกจฺจการี ได้แก่ ทำไม่ให้ดี คือ ไม่ทำโดยเอื้อเฟื้อ. บทว่า อสปฺปายการี ได้แก่ ไม่กระทำให้เป็นที่สบาย คือ ไม่ทำให้เป็นธรรมมี อุปการะ.

จบอรรถกถา สักขิสูตรที่ ๗


* พม่า เป็น สักขิภัพพสูตร