พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. เทวตาสูตร ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุให้เสื่อมและไม่ให้เสื่อม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  31 ต.ค. 2564
หมายเลข  39419
อ่าน  281

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 788

ทุติยปัณณาสก์

เทวตาวรรคที่ ๒

๕. เทวตาสูตร

ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุให้เสื่อม และไม่ให้เสื่อม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 788

๕. เทวตาสูตร

ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุให้เสื่อม และไม่ให้เสื่อม

[๓๔๐] ครั้งนั้น เทวดาองค์หนึ่ง เมื่อปฐมยามล่วงไป มีรัศมีงามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้น ให้สว่างไสวแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๖ ประการนี้ ย่อมเป็นไป เพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ ๖ ประการเป็นไฉน? คือ ความเป็นผู้เคารพในพระศาสดา ๑ ความเป็นผู้เคารพในพระธรรม ๑ ความเป็นผู้เคารพในพระสงฆ์ ๑ ความเป็นผู้เคารพในสิกขา ๑ ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑ ความเป็นผู้มีมิตรดี ๑ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ เทวดาองค์นั้น กล่าวดังนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ครั้งนั้น เทวดาองค์นั้น ได้ทราบว่า พระศาสดาได้ทรงพอพระทัยตนแล้ว จึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำประทักษิณ แล้วหายไป ณ ที่นั้น.

ครั้นเมื่อราตรีนั้นล่วงไป พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เทวดาองค์หนึ่ง เมื่อปฐมยามล่วงไป

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 789

มีรัศมีงามยิ่งนัก ยังวิหารเชตวันทั้งสิ้น ให้สว่างไสว แล้วเข้ามาหาเราถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกับเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๖ ประการนี้ ย่อมเป็นไป เพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ ๖ ประการเป็นไฉน? คือ ความเป็นผู้เคารพในพระศาสดา ๑ ความเป็นผู้เคารพในพระธรรม ๑ ความเป็นผู้เคารพในพระสงฆ์ ๑ ความเป็นผู้เคารพในสิกขา ๑ ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑ ความเป็นผู้มีมิตรดี ๑ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นไป เพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ เทวดาองค์นั้น ได้กล่าวดังนี้แล้ว อภิวาท กระทำประทักษิณเราแล้ว ได้หายไป ณ ที่นั้น..

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส อย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรถวายบังคม พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้ว ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ ย่อมทราบชัด เนื้อความแห่งพระดำรัส ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสโดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้เคารพในพระศาสดาด้วยตนเอง กล่าวสรรเสริญ ความเป็นผู้เคารพในพระศาสดา ย่อมชักชวนภิกษุ เหล่าอื่น ผู้ไม่เคารพในพระศาสดา ให้เคารพในพระศาสดา และกล่าวสรรเสริญ ภิกษุเหล่าอื่น ผู้เคารพ ในพระศาสดาตามเป็นจริง โดยกาลอันควร เป็นผู้เคารพ ในพระธรรมด้วยตนเอง ฯลฯ เป็นผู้เคารพ ในพระสงฆ์ด้วยตนเอง ฯลฯ เป็นผู้เคารพ ในสิกขาด้วยตนเอง ฯลฯ เป็นผู้ว่าง่ายด้วยตนเอง ฯลฯ เป็นผู้มีมิตรดีด้วยตนเอง กล่าวสรรเสริญ ความเป็นผู้มีมิตรดี ชักชวนภิกษุเหล่าอื่น ผู้ไม่มีมิตรดี ให้เป็นผู้มีมิตรดี และกล่าวสรรเสริญภิกษุเหล่าอื่น ผู้มีมิตรดีตามเป็นจริง โดยกาลอันควร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมทราบชัด เนื้อความแห่งพระดำรัส ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสโดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร ดีละ ดีละ เธอย่อมทราบ เนื้อความแห่งคำ ที่เรากล่าวโดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้ เป็นการดีแล ดูก่อนสารีบุตร ภิกษุ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 790

ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้เคารพ ในพระศาสดาด้วยตนเอง กล่าวสรรเสริญ ความเป็นผู้เคารพในพระศาสดา ชักชวนภิกษุเหล่าอื่น ผู้ไม่เคารพในพระศาสดา ให้เคารพในพระศาสดา และกล่าวสรรเสริญภิกษุเหล่าอื่น ผู้เคารพในพระศาสดา ตามเป็นจริง โดยกาลอันควร เป็นผู้เคารพ ในพระธรรมด้วยตนเอง ฯลฯ เป็นผู้เคารพ ในพระสงฆ์ด้วยตนเอง ฯลฯ เป็นผู้เคารพ ในสิกขาด้วยตนเอง ฯลฯ เป็นผู้ว่าง่ายด้วยตนเอง ฯลฯ เป็นผู้มีมิตรดีด้วยตนเอง กล่าวสรรเสริญ ความเป็นผู้มีมิตรดี ชักชวนภิกษุเหล่าอื่น ผู้ไม่มีมิตรดีให้เป็นผู้มีมิตรดี และกล่าวสรรเสริญภิกษุเหล่าอื่น ผู้มีมิตรดีตามเป็นจริง โดยกาลอันควร ดูก่อนสารีบุตร เนื้อความแห่งคำ ที่เราได้กล่าว โดยย่อนี้บัณฑิตพึงเห็น โดยพิสดาร อย่างนี้.

จบเทวตาสูตรที่ ๕

อรรถกถาเทวตาสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในเทวตาสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้:-

ความเป็นผู้ว่าง่าย ชื่อว่า โสวจัสสตา. ความเป็นผู้มีมิตรที่สะอาด ชื่อว่า กัลยาณมิตตตา. บทว่า สตฺถุคารโว ได้แก่ ผู้ที่ประกอบไปด้วย ความเคารพในพระศาสดา. ในบททั้งปวง ก็มีนัยนี้.

จบอรรถกถา เทวตาสูตรที่ ๕