พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. ฐานสูตร (อารามสูตร) ว่าด้วยโทษการคลุกคลีคณะและคุณการไม่คลุกคลี

 
บ้านธัมมะ
วันที่  31 ต.ค. 2564
หมายเลข  39418
อ่าน  328

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 786

ทุติยปัณณาสก์

เทวตาวรรคที่ ๒

๔. ฐานสูตร (อารามสูตร)

ว่าด้วยโทษการคลุกคลีคณะ และคุณการไม่คลุกคลี


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 786

๔. ฐานสูตร (อารามสูตร)

ว่าด้วยโทษการคลุกคลีคณะและคุณการไม่คลุกคลี

[๓๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชอบคลุกคลีด้วยหมู่ ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่ ประกอบความยินดีในการคลุกคลี ด้วยหมู่ ชอบคณะ ยินดีคณะ ประกอบความยินดีในคณะ จักเป็นผู้อยู่รูปเดียว ยินดียิ่งในวิเวก ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อไม่อยู่รูปเดียว ยินดียิ่งในวิเวก จักถือนิมิตแห่งจิต ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อไม่ถือนิมิตแห่งจิต จักบำเพ็ญสัมมาทิฏฐิให้

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 787

สมบูรณ์ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ไม่บำเพ็ญสัมมาทิฏฐิให้สมบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญสัมมาสมาธิให้สมบูรณ์ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ไม่บำเพ็ญสัมมาสมาธิให้สมบูรณ์แล้ว จักละสังโยชน์ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ไม่ละสังโยชน์แล้ว จักกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ชอบคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ประกอบความยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ชอบคณะ ไม่ยินดีคณะ ไม่ประกอบความยินดีคณะ จักเป็นผู้อยู่รูปเดียว ยินดียิ่งในวิเวก ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อเป็นผู้อยู่รูปเดียว ยินดียิ่งในวิเวก จักถือนิมิตแห่งจิต ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อถือนิมิตแห่งจิต จักบำเพ็ญสัมมาทิฏฐิให้สมบูรณ์ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ บำเพ็ญสัมมาทิฏฐิให้สมบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญสัมมาสมาธิให้สมบูรณ์ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ บำเพ็ญสัมมาสมาธิให้สมบูรณ์แล้ว จักละสังโยชน์ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ ละสังโยชน์ได้แล้ว จักกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้.

จบฐานสูตรที่ ๔

อรรถกถาฐานสูตรหรืออารามสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในฐานสูตร หรืออารามสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สงฺคณิการาโม ความว่า รื่นเริงใจ ด้วยการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ส่วนภิกษุชื่อว่า คณารามะ เพราะยินดีในคณะ มีคณะศึกษาพระสูตร เป็นต้น หรือในคณะ กล่าวคือ บริษัทของตน. บทว่า ปวิเวเก ได้แก่ กายวิเวก. บทว่า จิตฺตสฺส นิมิตฺตํ ความว่า นิมิตของสมาธิจิต และวิปัสสนาจิต

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 788

คืออาการของสมาธิ และวิปัสสนา. บทว่า สมฺมาทิฏฺึ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิในวิปัสสนา. บทว่า สมาธึ ได้แก่ มรรคสมาธิ และผลสมาธิ. บทว่า สํโยชนานิ ได้แก่ สังโยชน์ ๑๐ อย่าง. บทว่า นิพฺพานํ ได้แก่ ปรินิพพานที่หาปัจจัย มิได้.

จบอรรถกถา ฐานสูตร หรืออารามสูตรที่ ๔