พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. ภัททกสูตร ว่าด้วยการอยู่ที่เจริญและไม่เจริญ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 ต.ค. 2564
หมายเลข  39361
อ่าน  312

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 552

ปฐมปัณณาสก์

สาราณิยาทิวรรคที่ ๒

๔. ภัททกสูตร

ว่าด้วยการอยู่ที่เจริญและไม่เจริญ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 552

๔. ภัททกสูตร

ว่าด้วยการอยู่ที่เจริญและไม่เจริญ

[๒๘๕] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อเธอสำเร็จการอยู่ ย่อมไม่มีความตายที่เจริญ ตายแล้วก็ไม่เจริญ ก็ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อเธอสำเร็จการอยู่ ย่อมไม่มีความตายที่เจริญ ตายแล้วก็ไม่เจริญ เป็นอย่างไร? คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 553

ชอบการงาน (นวกรรม) ยินดีการงาน ขวนขวายความเป็นผู้ชอบการงาน ชอบการคุย ยินดีการคุย ขวนขวายความเป็นผู้ชอบการคุย ชอบความหลับ ยินดีความหลับ ขวนขวายความชอบความหลับ ชอบความคลุกคลีหมู่คณะ ยินดีความคลุกคลีหมู่คณะ ขวนขวายความเป็นผู้ชอบคลุกคลีหมู่คณะ ชอบความคลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ ยินดีความคลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ ขวนขวายความชอบ ความคลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ขวนขวายความชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อสำเร็จการอยู่ ย่อมไม่มีความตายที่เจริญ ตายแล้วก็ไม่เจริญ อย่างนี้แล ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ยินดีสักกายะ (เตภูมิกวัฏ) ไม่ละสักกายะเพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อเธอ สำเร็จการอยู่ ย่อมมีความตายที่เจริญ ตายแล้วก็เจริญ ก็ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อเธอสำเร็จการอยู่ ย่อมมีความตายที่เจริญ ตายแล้วก็เจริญเป็นอย่างไร? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ชอบการงาน ไม่ยินดีการงาน ไม่ขวนขวายความชอบการงาน ไม่ชอบการคุย ไม่ยินดีการคุย ไม่ขวนขวายความชอบการคุย ไม่ชอบความหลับ ไม่ยินดีความหลับ ไม่ขวนขวายความชอบความหลับ ไม่ชอบความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ไม่ยินดีความคลุกคลีหมู่คณะ ไม่ขวนขวายความชอบความคลุกคลีหมู่คณะ ไม่ชอบความคลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ ไม่ยินดีความคลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ ไม่ขวนขวายความชอบคลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ ไม่ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ไม่ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ไม่ขวนขวายความชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อเธอสำเร็จการอยู่ ย่อมมีความตายที่เจริญ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 554

ตายแล้วก็เจริญ อย่างนี้แล ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ยินดีนิพพาน ละสักกายะ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ.

ครั้นท่านพระสารีบุตรได้กล่าว ไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้กล่าวคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

ผู้ใดประกอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า เช่น ดังมฤค ผู้นั้นย่อมไม่ได้ชมนิพพาน ที่เกษมจากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ ส่วนผู้ ใดละธรรม ที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีในบท คือ ธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้นั้น ย่อมได้ชมนิพพาน ที่เกษมจากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้.

จบภัททกสูตรที่ ๔

อรรถกถาภัททกสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในภัททกสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า น ภทฺทกํ ความว่า ไม่ได้. อธิบายว่า ในสองอย่างนั้น ผู้ใดกลัวมากแล้ว ตาย ผู้นั้นชื่อว่า ตายไม่ดี. (ส่วน) ผู้ใดถือปฏิสนธิในอบาย ผู้นั้น (ชื่อว่า) มีกาลกิริยาไม่ดี.

ในบทมีอาทิว่า กมฺมาราโม ดังนี้ สิ่งที่มายินดี ชื่อว่า อารามะ อธิบายว่า ได้แก่ความยินดียิ่ง. บุคคล ชื่อว่า กมฺมาราโม เพราะมีความ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 555

ยินดีในนวกรรม มีการสร้างวิหาร เป็นต้น. ชื่อว่า กมฺมรโต เพราะยินดีในกรรมนั้นๆ นั่นแหละ ชื่อว่า อนุยุตฺโต เพราะประกอบความที่เป็นผู้มีกรรม เป็นที่มายินดีนั่นแหละบ่อยๆ. ในบททั้งปวง ก็มีนัยนี้.

ก็การพูดคุยกัน (เรื่องหญิง เรื่องชาย) ชื่อว่า ภัสสะ ในที่นี้. บทว่า นิทฺทา ได้แก่ความหลับ. บทว่า สงฺคณิกา ได้แก่ เป็นผู้คลุกคลีด้วยหมู่ การคลุกคลีด้วยหมู่นั้น พึงทราบโดยนัยมีอาทิว่า เมื่อมีคนเดียว ก็เพิ่มเป็นสอง เมื่อมีสองคน ก็มีคนที่สาม. บทว่า สํสคฺโค ได้แก่ ความเป็นผู้เกี่ยวข้องกัน อันเป็นไปแล้ว ด้วยสามารถแห่งการเกี่ยวเนื่องกัน ด้วยการฟัง การเห็น การเจรจา การร่วมกัน และการเกี่ยวเนื่องกันทางกาย.

บทว่า ปปญฺโจ ได้แก่ ธรรมเครื่องเนิ่นช้า คือ กิเลส อันเป็นไปแล้ว ด้วยสามารถแห่งตัณหา ทิฏฐิ และมานะ อันดำรงอยู่ด้วยอาการมึนเมา. บทว่า สกฺกายํ ได้แก่วัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ ๓. บทว่า สมฺมาทุกฺขสฺส อนฺตกิริยาย ความว่า เพื่อกระทำการตัดขาด ทางแห่งวัฏทุกข์ทั้งสิ้น โดยเหตุ โดยนัย. บทว่า มโค ได้แก่เช่น มฤค. บทว่า นิปฺปปญฺจปเท ได้แก่ ในธรรมเครื่องถึงซึ่งพระนิพพาน. บทว่า อาธารยิ ความว่า ให้บริบูรณ์ ได้แก่ ยังวัตรปฏิบัตินั้น ให้ถึงพร้อม.

จบอรรถกถา ภัททกสูตรที่ ๔