พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. ทุติยสัมธัมมนิยามสูตร ว่าด้วยธรรมของผู้เข้าถึงและไม่เข้าถึงกุศล

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ต.ค. 2564
หมายเลข  39227
อ่าน  281

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 320

จตุตถปัณณาสก์

สัทธัมมวรรคที่ ๑

๒. ทุติยสัมธัมมนิยามสูตร

ว่าด้วยธรรมของผู้เข้าถึง และไม่เข้าถึงกุศล


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 320

๒. ทุติยสัมธัมมนิยามสูตร

ว่าด้วยธรรมของผู้เข้าถึง และไม่เข้าถึงกุศล

[๑๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลย่อมพูดมาก ๑ พูดคำพูดที่ผู้อื่นพูดแล้วมาก ๑ พูดปรารภตน ๑ เป็นผู้มีปัญญาทราม โง่เง่า ๑ เป็นผู้มีความถือตัวว่า

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 321

เข้าใจในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ นี้แล แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควร เพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ฟังสัทธรรมอยู่ เป็นผู้ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลย่อมไม่พูดมาก ๑ ไม่พูดคำพูดที่ผู้อื่นพูดแล้วมาก ๑ ไม่พูดปรารภตน ๑ เป็นผู้มีปัญญา ไม่โง่เง่า ๑ ไม่เป็นผู้มีความถือตัวว่า เข้าใจในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วย ธรรม ๕ ประการ นี้แล ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม.

จบทุติยสัทธัมมนิยามสูตรที่ ๒

อรรถกถาทุติยสัทธัมมนิยามสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในทุติยสัทธัมมนิยามสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อนญฺาเต อญฺาตมานี ได้แก่ เป็นผู้ไว้ตัวว่า เรารู้แล้ว ในข้อที่ยังไม่รู้.

จบอรรถกถา ทุติยสัทธัมมนิยมสูตรที่ ๒