พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. ปฐมสัทธัมมนิยามสูตร ว่าด้วยธรรมผู้เข้าถึงกุศลและไม่เข้าถึงกุศล

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ต.ค. 2564
หมายเลข  39225
อ่าน  285

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 319

จตุตถปัณณาสก์

สัทธัมมวรรคที่ ๑

๑. ปฐมสัทธัมมนิยามสูตร

ว่าด้วยธรรมผู้เข้าถึงกุศล และไม่เข้าถึงกุศล


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 319

จตุตถปัณณาสก์

สัทธัมมวรรคที่ ๑

๑. ปฐมสัทธัมมนิยามสูตร

ว่าด้วยธรรมผู้เข้าถึงกุศล และไม่เข้าถึงกุศล

[๑๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือความถูกในกุศลธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลย่อมพูดมาก ๑ พูดคำพูดที่ผู้อื่นพูดแล้วมาก ๑ พูดปรารภตน ๑ เป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่านฟังธรรม ๑ เป็นผู้มีจิตไม่แน่วแน่มนสิการ โดยอุบายไม่แยบคาย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ นี้แล แม้ฟังธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ฟังสัทธรรมอยู่ เป็นผู้ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลย่อมไม่พูดมาก ๑ ไม่พูดคำพูดที่ผู้อื่นพูดแล้วมาก ๑ ไม่พูดปรารภตน ๑ เป็นผู้ไม่มีจิตฟุ้งซ่านฟังธรรม ๑ เป็นผู้มีจิตแน่วแน่มนสิการ โดยอุบายแยบคาย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ นี้แล ฟังสัทธรรมอยู่ก็เป็นผู้ควรหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม.

จบปฐมสัทธัมมนิยามสูตรที่ ๑

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 320

จตุตถปัณณาสก์

สัทธัมมวรรควรรณนาที่ ๑

อรรถกถาปฐมสัทธัมมนิยามสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในปฐมสัทธัมมนิยามสูตรที่ ๑ แห่งปัณณาสก์ที่ ๔ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า อภพฺโพ นิยามํ โอกฺกมิตํ กุสเลสุ ธมฺเมสุ สมฺมตฺตํ ความว่า ภิกษุไม่ควรเพื่อก้าวลงสู่มรรคนิยาม อันถูกต้อง ในกุศลธรรมทั้งหลาย. ในบทว่า กถํ ปริโภติ เป็นต้น เมื่อกล่าวว่า เรื่องนี้ ชื่อเรื่องอะไรดังนี้ ชื่อว่า ดูหมิ่นเรื่องที่แสดง. เมื่อกล่าวว่า ผู้นั้นพูดเรื่องอะไร ผู้นี้จะรู้อะไร ดังนี้ ชื่อว่า ดูหมิ่นผู้แสดง. เมื่อกล่าวว่า เราจะรู้กำลังที่จะฟังเรื่องนี้ของเราได้ แต่ไหน ดังนี้ ชื่อว่า ดูหมิ่นตน. พึงทราบธรรมฝ่ายขาวโดยตรงกันข้าม.

จบอรรถกถา ปฐมสัทธัมมนิยามสูตรที่ ๑