พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. ทุติยธรรมวิหาริกสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้เป็นอยู่ในธรรม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ต.ค. 2564
หมายเลข  39144
อ่าน  392

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 171

ทุติยปัณณาสก์

โยธาชีววรรคที่ ๓

๔. ทุติยธรรมวิหาริกสูตร

ว่าด้วยบุคคลผู้เป็นอยู่ในธรรม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 171

๔. ทุติยธรรมวิหาริกสูตร

ว่าด้วยบุคคลผู้เป็นอยู่ในธรรม

[๗๔] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า ผู้อยู่ในธรรมๆ ดังนี้ ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้อยู่ในธรรม ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเรียนธรรม คือ สุตต ... เวทัลละ เธอย่อมไม่ทราบเนื้อความของธรรมนั้น ที่ยิ่งขึ้นไปด้วยปัญญา ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้มากด้วยการเรียน ไม่ชื่อว่า เป็นผู้อยู่ในธรรม ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 172

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ... เวทัลละ เธอย่อมทราบชัดเนื้อความของธรรมนั้น ที่ยิ่งขึ้นไปด้วยปัญญา ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้อยู่ในธรรมอย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุ ฯลฯ นี้เป็นอนุสาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย.

จบทุติยธรรมวิหาริกสูตรที่ ๔

อรรถกถาทุติยธรรมวิหาริกสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในทุติยธรรมวิหาริกสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อุตฺตรึ จสฺส ปญฺาย อตฺตํ นปฺปชานาติ ความว่า ไม่รู้เนื้อความของธรรมนั้น ด้วยมรรคปัญญาพร้อมทั้งวิปัสสนา ยิ่งขึ้นไปกว่าปริยัตินั้น. อธิบายว่า ไม่เห็นไม่แทงตลอดสัจจะ ๔. ในวาระนอกนั้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. ชน ๖ จำพวก คือ ภิกษุพหูสูต ผู้บำเพ็ญวิปัสสนากัมมัฏฐาน พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี พระขีณาสพ พึงทราบว่าเป็นธรรมวิหารี (ผู้อยู่โดยธรรม) ในพระสูตรแม้ทั้งสองนี้ ด้วยประการ ฉะนี้.

จบอรรถกถา ทุติยธรรมวิหาริกสูตรที่ ๔