พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. ปฐมธรรมวิหาริกสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้เป็นอยู่ในธรรม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ต.ค. 2564
หมายเลข  39143
อ่าน  323

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 168

ทุติยปัณณาสก์

โยธาชีววรรคที่ ๓

๓. ปฐมธรรมวิหาริกสูตร

ว่าด้วยบุคคลผู้เป็นอยู่ในธรรม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 168

๓. ปฐมธรรมวิหาริกสูตร

ว่าด้วยบุคคลผู้เป็นอยู่ในธรรม

[๗๓] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่าผู้อยู่ในธรรมๆ ดังนี้ ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้อยู่ในธรรม ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ เธอย่อมปล่อยให้วันคืนล่วงไป ละการหลีกออก เร้นอยู่ ไม่ประกอบความสงบใจในภายใน เพราะการเรียนธรรมนั้น ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้มากด้วยการเรียน ไม่ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรม.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมแสดงธรรมตามที่ได้สดับมาแล้ว ตามที่ ได้เรียนมาแล้ว แก่ผู้อื่นโดยพิสดาร เธอย่อมปล่อยให้วันคืนล่วงไป ละการหลีกออกเร้นอยู่ ไม่ประกอบความสงบใจในภายใน เพราะการแสดงธรรมนั้น ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้มากด้วยการแสดงธรรม ไม่เชื่อว่า เป็นผู้อยู่ในธรรม.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมกระทำการสาธยายธรรมตามที่ได้สดับมาแล้ว ตามที่ได้เรียนมาแล้ว โดยพิสดารเธอย่อมปล่อยให้วันคืนล่วงไป ละการหลีกออกเร้นอยู่ ไม่ประกอบความสงบใจในภายใน เพราะการสาธยายธรรมนั้น ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้มากด้วยการสาธยาย ไม่ชื่อว่า เป็นผู้อยู่ในธรรม.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้สดับมาแล้ว ตามที่ได้เรียนมาแล้ว เธอย่อมปล่อยให้วันคืน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 169

ล่วงไป ละการหลีกออกเร้นอยู่ ไม่ประกอบความสงบใจในภายใน เพราะการตรึกตามธรรมนั้น ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้มากด้วยการตรึกธรรม ไม่ชื่อว่า เป็นผู้อยู่ในธรรม.

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ เธอย่อมไม่ปล่อยให้วันคืนล่วงไป ไม่ละการหลีกออกเร้นอยู่ ประกอบควานสงบใจในภายใน เพราะการเล่าเรียนธรรมนั้น ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้อยู่ในธรรม อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุ เราแสดงภิกษุผู้มากด้วยการเล่าเรียนธรรม แสดงภิกษุผู้มากด้วย การสาธยายธรรม แสดงภิกษุผู้มากด้วยการตรึกธรรม แสดงภิกษุผู้อยู่ในธรรม ด้วยประการฉะนี้ ดูก่อนภิกษุ กิจใดอันศาสดาผู้หวังประโยชน์เกื้อกูลอนุเคราะห์ อาศัยความเอ็นดู พึงกระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราได้ทำแก่เธอทั้งหลายแล้ว ดูก่อนภิกษุ นั่นโคนต้นไม้ นั่นเรือนว่าง เธอจงเพ่งฌาน อย่าประมาท อย่าเป็นผู้มีความเดือดร้อนในภายหลัง นี้เป็นอนุสาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย.

จบปฐมธรรมวิหาริกสูตรที่ ๓

อรรถกถาปฐมธรรมวิหาริกสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในปฐมธรรมวิหาริกสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ทิวสํ อตินาเมติ ได้แก่ ทำเวลาวันหนึ่งให้ล่วงไป. บทว่า ริญฺจติ ปฏิสลฺลานํ ได้แก่ ละเลยความอยู่ผู้เดียวเสีย. บทว่า เทเสติ ได้แก่ กล่าวประกาศ. บทว่า ธมฺมปญฺตฺติยา ได้แก่ ด้วยการบัญญัติธรรม. บทว่า ธมฺมํ ปริยาปุณาติ ได้แก่ เล่าเรียน ศึกษา กล่าวธรรม คือ สัจจะ ๔ โดย

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 170

นวังคสัตถุศาสน์ [คำสอนของพระศาสดา ๙ ส่วน]. บทว่า น ริญฺจติ ปฏิสลฺลานํ ได้แก่ ไม่ละเลยความอยู่ผู้เดียว. บทว่า อนุยุญฺชติ อชฺฌตฺตํ เจโตสมถํ ได้แก่ ส้องเสพ เจริญจิตสมาธิภายในตนเอง คือประกอบขวนขวาย ในสมถกัมมัฏฐาน. บทว่า หิเตสินา แปลว่า ผู้แสวงประโยชน์เกื้อกูล. บทว่า อนุกมฺปเกน แปลว่า ผู้เอ็นดู. บทว่า อนุกมฺปํ อุปาทาย ได้แก่ กำหนด ท่านอธิบายว่า อาศัยซึ่งความเอ็นดู ด้วยจิตก็มี. บทว่า กตํ โว มยา ตํ ความว่า เราผู้แสดงบุคคล ๕ ประเภทนี้ ก็กระทำกรณียกิจนั้น แก่ท่านทั้งหลายแล้ว. แท้จริง พระศาสดาผู้เอ็นดู ก็มีกิจหน้าที่ คือ การแสดงธรรมอันไม่วิปริตเพียงเท่านี้แหละ.

ต่อแต่นี้ไป ชื่อว่า การปฏิบัติ เป็นกิจหน้าที่ของสาวกผู้ฟังทั้งหลาย. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ นี้โคนไม้ ฯลฯ เป็นอนุสาสนีคำพร่ำสอน ดังนี้. ก็ในพระดำรัสนั้น ทรงแสดงเสนาสนะ คือ โคนไม้ ด้วยบทว่า รุกฺขมูลานิ โคนไม้นี้. ทรงแสดงสถานที่สงัดจากคน ด้วยบทว่า สุญฺาคารานิ (เรือนว่าง) นี้ อนึ่ง. ทรงบอกเสนาสนะที่เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรแม้ด้วยบททั้งสอง ชื่อว่า ทรงมอบมรดกให้. บทว่า ณายถ ได้แก่ ท่านทั้งหลายจงเพ่งพินิจอารมณ์ ๓๘ ด้วยการเพ่งพินิจโดยอารมณ์ และเพ่งพินิจขันธ์ อายตนะเป็นอาทิ โดยเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น ด้วยการเพ่งพินิจโดยลักษณะ ท่านอธิบายว่า จงเจริญสมถะและวิปัสสนา. บทว่า มา ปมาทตฺถ แปลว่า อย่าประมาทเลย. บทว่า มา ปจฺฉา วิปฺปฏิสาริโน อหุวตฺถ ความว่า เมื่อทรงแสดงความข้อนี้ว่า สาวกเหล่าใด เวลายังเป็นหนุ่ม เวลาไม่มีโรค เวลาสมบูรณ์ด้วยสัปปายะ มีข้าวเป็นที่สบาย เป็นต้น เวลาที่ยังอยู่ต่อหน้าพระศาสดา ละเว้นการใส่ใจโดยแยบคาย มัวแต่เพลินสุขในการหลับนอน เป็นอาหารของเรือดตลอดทั้งวันทั้งคืน ประมาทมาแต่ก่อน ภายหลัง

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 171

สาวกเหล่านั้น เวลาแก่ตัวลง เป็นโรคใกล้จะตาย เวลาวิบัติ และเวลาที่พระศาสดาปรินิพพานเสียแล้ว เมื่อรำลึกถึงการอยู่อย่างประมาท มาแต่ก่อนนั้น มองเห็นการทำกาละ [ตาย] ชนิดมีปฏิสนธิว่าเป็นภาระ ก็ร้อนใจ ส่วนเธอทั้งหลาย อย่าได้เป็นกันเช่นนั้นเลย ดังนี้ จึงตรัสว่า พวกเธออย่าได้ร้อนใจกันในภายหลังเลย. บทว่า อยํ โว อมฺหากํ อนุสาสนี ความว่า วาจานี้ว่า พวกเธอจงเพ่งพินิจ จงอย่าประมาท เป็นอนุสาสนี ท่านอธิบายว่า เป็นโอวาทจากเรา สำหรับเธอทั้งหลาย ดังนี้.

จบอรรถกถา ปฐมธรรมวิหาริกสูตรที่ ๓