พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. อาสวักขยสูตร ว่าด้วยธรรมที่อํานวยผลให้สิ้นอาสวะ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ต.ค. 2564
หมายเลข  39138
อ่าน  301

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 160

ทุติยปัณณาสก์

สัญญาวรรคที่ ๒

๑๐. อาสวักขยสูตร

ว่าด้วยธรรมที่อํานวยผลให้สิ้นอาสวะ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 160

๑๐. อาสวักขยสูตร

ว่าด้วยธรรมที่อำนวยผลให้สิ้นอาสวะ

[๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นว่า ไม่งามในกาย ๑ มีความสำคัญว่า เป็นของปฏิกูลในอาหาร ๑ มีความสำคัญว่า ไม่ยินดีในโลกทั้งปวง ๑ พิจารณาเห็นว่า ไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง ๑ เข้าไปตั้งมรณสัญญาไว้ในภายใน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลาย.

จบอาสวักขยสูตรที่ ๑๐

จบสัญญาวรรคที่ ๒

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 161

ในนิพพิทาสูตรที่ ๙ และอาสวักขยสูตรที่ ๑๐ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวิปัสสนาไว้. คำที่เหลือในบททั้งปวงมีเนื้อความง่าย ทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถา นิพพิทาสูตรที่ ๙ อาสวักขยสูตรที่ ๑๐

จบสัญญาวรรควรรณนาที่ ๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมสัญญาสูตร ๒. ทุติยสัญญาสูตร ๓. ปฐมวัฑฒิสูตร ๔. ทุติยวัฑฒิสูตร ๕. สากัจฉสูตร ๖. สาชีวสูตร ๗. ปฐมอิทธิปาทสูตร ๘. ทุติยอิทธิปาทสูตร ๙. นิพพิทาสูตร ๑๐. อาสวักขยสูตร และอรรถกถา.