พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. โกสลสูตร ว่าด้วยฐานะที่หาไม่ได้ ๕ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ต.ค. 2564
หมายเลข  39116
อ่าน  295

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 114

ปฐมปัณณาสก์

มุณฑราชวรรคที่ ๕

๙. โกสลสูตร

ว่าด้วยฐานะที่หาไม่ได้ ๕ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 114

๙. โกสลสูตร

ว่าด้วยฐานะที่หาไม่ได้ ๕ ประการ

[๔๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ทรงอภิวาทแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ก็สมัยนั้น พระนางมัลลิกาเทวีได้ทิวงคต ครั้งนั้นราชบุรุษคนหนึ่งเข้าไปกราบทูล พระเจ้าปเสนทิโกศลที่ใกล้พระกรรณว่า ขอเดชะ พระนางมัลลิกาเทวีได้ทิวงคตแล้ว ครั้นเขากราบทูลดังนี้แล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ทรงมีทุกข์โทมนัส ประทับนั่งเหงาหงอย ก้มพระพักตร์ เศร้าสลดอัดอั้น ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบดังนั้นแล้ว จึงตรัสกับพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า ดูก่อนมหาบพิตร ฐานะ ๕ ประการนี้ อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกไม่พึงได้ ๕ ประการ เป็นไฉน คือ ฐานะว่า ขอสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าแก่ ๑ ฯลฯ บัดนี้เราทำอะไรอยู่ ดังนี้.

จบโกสลสูตรที่ ๙

อรรถกถาโกสลสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในโกสลสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อุปกณฺณเก แปลว่า ที่ใกล้พระกรรณ. บทว่า ทุมฺมโน แปลว่า เสียพระทัย. บทว่า ปตฺตกฺขนฺโธ แปลว่า มีพระศอตก บทว่า ปชฺฌายนฺโต แปลว่า ทรงครุ่นคิดอยู่. บทว่า อปฺปฏิภาโณ แปลว่า ทรงคิดไม่ออก. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้ว ในหนหลัง นั่นแล.

จบอรรถกถา โกสลสูตรที่ ๙