พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. อิฏฐสูตร ว่าด้วยธรรมที่น่าปรารถนาที่หาได้ยาก ๕ อย่าง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ต.ค. 2564
หมายเลข  39110
อ่าน  321

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 97

ปฐมปัณณาสก์

มุณฑราชวรรคที่ ๕

๓. อิฏฐสูตร

ว่าด้วยธรรมที่น่าปรารถนาที่หาได้ยาก ๕ อย่าง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 97

๓. อิฏฐสูตร

ว่าด้วยธรรมที่น่าปรารถนาที่หาได้ยาก ๕ อย่าง

[๔๓] ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสกับท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูก่อนคฤหบดี ธรรม ๕ ประการนี้ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้โดยยากในโลก ๕ ประการเป็นไฉน คือ อายุ ๑ วรรณะ ๑ สุข ๑ ยศ ๑ สวรรค์ ๑

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 98

ดูก่อนคฤหบดี ธรรม ๕ ประการนี้แล น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้โดยยากในโลก.

ธรรม ๕ ประการนี้ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้โดยยากในโลก เรามิได้กล่าวว่า จะพึงได้เพราะเหตุแห่งความอ้อนวอน หรือเพราะเหตุแห่งความปรารถนา ถ้าธรรม ๕ ประการนี้ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้โดยยากในโลก จักได้เพราะเหตุแห่งความอ้อนวอน หรือเพราะเหตุแห่งความปรารถนาแล้วไซร้ ในโลกนี้ ใครจะพึงเสื่อมจากอะไร ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกผู้ต้องการอายุ ไม่ควรอ้อนวอนหรือเพลิดเพลินอายุ หรือแม้เพราะเหตุแห่งอายุ อริยสาวกผู้ต้องการอายุ พึงปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไปเพื่ออายุ เพราะปฏิปทาอันเป็นไปเพื่ออายุ ที่พระอริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้อายุ อริยสาวกผู้นั้นย่อมได้อายุ ที่เป็นของทิพย์ หรือเป็นของมนุษย์ อริยสาวกผู้ต้องการวรรณะ ไม่ควรอ้อนวอน หรือเพลิดเพลินวรรณะ หรือแม้เพราะเหตุแห่งวรรณะ อริยสาวกผู้ต้องการวรรณะ พึงปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อวรรณะ เพราะปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อวรรณะ ที่อริยสาวกนั้น ปฏิบัติแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้วรรณะ อริยสาวกนั้นย่อมได้วรรณะ ที่เป็นของทิพย์ หรือเป็นของมนุษย์ อริยสาวกผู้ต้องการสุข ไม่อ้อนวอน หรือเพลิดเพลินสุข หรือแม้เพราะเหตุแห่งสุข อริยสาวกผู้ต้องการสุข พึงปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อสุข เพราะปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อสุข ที่อริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้สุข อริยสาวกนั้นย่อมได้สุข ที่เป็นของทิพย์ หรือของมนุษย์ อริยสาวกผู้ต้องการยศ ไม่ควรอ้อนวอน หรือเพลิดเพลินยศ หรือแม้เพราะเหตุแห่งยศ อริยสาวกผู้ต้องการยศ พึงปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อยศ เพราะปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อยศ ที่อริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้ยศ อริยสาวกนั้นย่อมได้ยศ ที่เป็นของทิพย์ หรือของมนุษย์ อริย-

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 99

สาวกผู้ต้องการสวรรค์ ไม่ควรอ้อนวอน หรือเพลิดเพลินสวรรค์ หรือแม้เพราะเหตุแห่งสวรรค์ อริยสาวกผู้ต้องการสวรรค์ พึงปฏิบัติปฏิปทา อันเป็นไปเพื่อสวรรค์ เพราะปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อสวรรค์ ที่อริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้สวรรค์ อริยสาวกนั้นย่อมได้สวรรค์.

ชนผู้ปรารถนาอายุ วรรณะ ยศ เกียรติ สวรรค์ ความเกิดในตระกูลสูง และความเพลินใจ พึงทำความไม่ประมาท ให้มากยิ่งขึ้น บัณฑิตทั้งหลาย ย่อม สรรเสริญ ความไม่ประมาทในการทำบุญ บัณฑิตผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้งสองไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในสัมปรายภพ ผู้มีปัญญา ท่านเรียกว่า บัณฑิต เพราะบรรลุถึงประโยชน์ทั้งสองนั้น.

จบอิฏฐสูตรที่ ๓

อรรถกถาอิฏฐสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในอิฏฐสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อายุสํวตฺตนิกา ปฏิปทา ได้แก่ ปฏิปทาทางบุญ ซึ่งมีทาน และศีล เป็นต้น. แม้ในบทที่เหลือ ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อตฺถาภิสมยา ได้แก่ บรรลุประโยชน์ ท่านอธิบายว่า เพราะได้ประโยชน์.

จบอรรถกถา อิฏฐสูตรที่ ๓