พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ธรรมที่นําให้เกิดในนรก - สวรรค์ ๔

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 ต.ค. 2564
หมายเลข  39062
อ่าน  283

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 630

วรรคที่ไม่สงเคราะห์เป็นปัณณาสก์

กรรมปถวรรคที่ ๗

ธรรมที่นําให้เกิดในนรก - สวรรค์ ๔


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 630

กรรมปถวรรคที่ ๗

ธรรมที่นำให้เกิดในนรก - สวรรค์ ๔

[๒๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาทิ้งลง ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๑ ชักชวนผู้อื่นในการฆ่าสัตว์ ๑ พอใจในการฆ่าสัตว์ ๑ กล่าวสรรเสริญคุณการฆ่าสัตว์ ๑ บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาทิ้งลง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ ตนเองเป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑ ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑ พอใจในการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑ กล่าวสรรเสริญคุณการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑ บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเกิดในสวรรค์ เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้.

[๒๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาทิ้งลง ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ ตนเองเป็นผู้ลักทรัพย์ ๑ ชักชวนผู้อื่นในการลักทรัพย์ ๑ พอใจในการลักทรัพย์ ๑ กล่าวสรรเสริญคุณการลักทรัพย์ ๑ บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาทิ้งลง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ ตนเองเป็นผู้งดเว้นจากการลักทรัพย์ ๑ ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการลักทรัพย์ ๑

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 631

พอใจในการงดเว้นจากการลักทรัพย์ ๑ กล่าวสรรเสริญคุณการงดเว้นจากการลักทรัพย์ ๑ บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้.

[๒๖๖] ตนเองเป็นผู้ประพฤติผิดในกาม ๑ ชักชวนผู้อื่นในการประพฤติผิดในกาม ๑ พอใจในการประพฤติผิดในกาม ๑ กล่าวสรรเสริญคุณการประพฤติผิดในกาม ๑ ฯลฯ ตนเองเป็นผู้งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๑ ชักชวนผู้อื่นในการงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๑ พอใจในการงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๑ กล่าวสรรเสริญคุณการงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ฯลฯ

[๒๖๗] ตนเองเป็นผู้พูดเท็จ ๑ ชักชวนผู้อื่นในการพูดเท็จ ๑ พอใจในการพูดเท็จ ๑ กล่าวสรรเสริญคุณการพูดเท็จ ๑ ฯลฯ ตนเองเป็นผู้งดเว้นจากการพูดเท็จ ๑ ชักชวนผู้อื่นในการงดเว้นจากการพูดเท็จ ๑ พอใจในการงดเว้นจากการพูดเท็จ ๑ กล่าวสรรเสริญคุณการงดเว้นจากการพูดเท็จ ๑ ฯลฯ

[๒๖๘] ตนเองเป็นผู้พูดส่อเสียด ๑ ชักชวนผู้อื่นในการพูดส่อเสียด ๑ พอใจในการพูดส่อเสียด ๑ กล่าวสรรเสริญคุณการพูดส่อเสียด ๑ ฯลฯ ตนเองเป็นผู้งดเว้นจากการพูดส่อเสียด ๑ ชักชวนผู้อื่นในการงดเว้นจากการพูดส่อเสียด ๑ พอใจในการงดเว้นจากการพูดส่อเสียด ๑ กล่าวสรรเสริญคุณการงดเว้นจากพูดส่อเสียด ๑ ฯลฯ

[๒๖๙] ตนเองเป็นผู้พูดคำหยาบ ๑ ชักซวนผู้อื่นในการพูดคำหยาบ ๑ พอใจในการพูดคำหยาบ ๑ กล่าวสรรเสริญคุณในการพูดคำหยาบ ๑ ฯลฯ ตนเองเป็นผู้งดเว้นจากการพูดคำหยาบ ๑ ชักชวนผู้อื่นในการงดเว้นจากการพูดคำหยาบ ๑ พอใจในการงดเว้นจากการพูดคำหยาบ ๑ กล่าวสรรเสริญคุณการงดเว้นจากการพูดคำหยาบ ๑ ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 632

[๒๗๐] ตนเองเป็นผู้พูดคำเพ้อเจ้อ ๑ ชักชวนผู้อื่นในการพูดเพ้อเจ้อ ๑ พอใจในการพูดเพ้อเจ้อ ๑ กล่าวสรรเสริญคุณการพูดเพ้อเจ้อ ๑ ฯลฯ ตนเองเป็นผู้งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๑ ชักชวนผู้อื่นในการงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๑ พอใจในการงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๑ กล่าวสรรเสริญคุณการงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๑ ฯลฯ

[๒๗๑] ตนเองเป็นผู้มากไปด้วยความโลภ ๑ ชักชวนผู้อื่นในความโลภ ๑ พอใจในความโลภ ๑ กล่าวสรรเสริญคุณความโลภ ๑ ฯลฯ ตนเองเป็นผู้ไม่มากไปด้วยความโลภ ๑ ชักชวนผู้อื่นในความไม่โลภ ๑ พอใจในความไม่โลภ ๑ กล่าวสรรเสริญคุณความไม่โลภ ๑ ฯลฯ

[๒๗๒] ตนเองเป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท ๑ ชักชวนผู้อื่นในความพยาบาท ๑ พอใจในความพยาบาท ๑ กล่าวสรรเสริญคุณความพยาบาท ๑ ฯลฯ ตนเองเป็นผู้ไม่มีจิตพยาบาท ชักชวนผู้อื่นความไม่พยาบาท ๑ พอใจในความไม่พยาบาท ๑ กล่าวสรรเสริญคุณความไม่พยาบาท ฯลฯ

[๒๗๓] ตนเองเป็นผู้มีความเห็นผิด ๑ ชักชวนผู้อื่นในความเห็นผิด ๑ พอใจในความเห็นผิด ๑ กล่าวสรรเสริญคุณความเห็นผิด ๑ ฯลฯ ตนเองเป็นผู้มีความเห็นชอบ ๑ ชักชวนผู้อื่นในความเห็นชอบ ๑ พอใจในความเห็นชอบ ๑ กล่าวสรรเสริญคุณความเห็นชอบ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้.

จบกรรมปถวรรคที่ ๗

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 633

กรรมปถวรรควรรณนาที่ ๗

พึงทราบวินิจฉัยในกรรมปถวรรค ดังต่อไปนี้ :-

กรรมบถแม้ ๑๐ ท่านกล่าวคละกันทั้งโลกิยะและโลกุตระ ราคเปยยาล ท่านกล่าวให้บรรลุถึงพระอรหัต. คำที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถากรรมปถาวรรควรรณนาที่ ๗

จบอรรถกถาจตุกนิบาตแห่งอังคุตตรนิกาย ชื่อมโนรถปูรณี