พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. สสังขารสูตร ว่าด้วยบุคคล ๔ จําพวก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 ต.ค. 2564
หมายเลข  38962
อ่าน  308

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 399

จตุตถปัณณาสก์

ปฏิปทาวรรคที่ ๒

๙. สสังขารสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๔ จําพวก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 399

๙. สสังขารสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก

[๑๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเป็นไฉน บุคคลบางคนเป็นสสังขารปรินิพพายีในภพปัจจุบัน ๑ บุคคลบางคนเป็น สสังขารปรินิพพายีเพราะกายแตกไป ๑ บุคคลบางคนเป็นอสังขารปรินิพพายีในภพปัจจุบัน ๑ บุคคลบางคนเป็นอสังขารปรินิพพายีเพราะกายแตกไป ๑

บุคคลเป็นสสังขารปรินิพพายีในภพปัจจุบันเป็นอย่างไร? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นความไม่งามในร่างกาย มีความสำคัญปฏิกูลในอาหาร มีความสำคัญไม่น่าเพลิดเพลินดีในโลกทั้งปวง พิจารณาเห็นความ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 400

ไม่เที่ยงในสังขารทั้งหมด อนึ่ง ตั้งความกำหนดความตายไว้อย่างดีในภายในภิกษุนั้นอาศัยเสขพละ ๕ นี้ คือ สัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา อยู่ อินทรีย์ ๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ของเธอแก่กล้า เพราะอินทรีย์ ๕ นี้แก่กล้า เธอย่อมเป็นสสังขารปรินิพพายีในภพปัจจุบันนี้เอง อย่างนี้แล บุคคลเป็นสสังขารปรินิพพายีในภพปัจจุบัน

บุคคลเป็นสสังขารปรินิพพายีเพราะกายแตกไปเป็นอย่างไร? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นความไม่งามในร่างกาย มีความสำคัญปฏิกูลในอาหาร มีความสำคัญไม่น่าเพลิดเพลินยินดีในโลกทั้งปวง พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งหมด อนึ่ง ตั้งความกำหนดความตายไว้อย่างดีในภายใน ภิกษุนั้นอาศัยเสขพละ ๕ นี้คือ สัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา อยู่ แต่อินทรีย์ ๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ของเธออ่อน เพราะอินทรีย์ ๕ นี้อ่อน เธอย่อมเป็นสสังขารปรินิพพายีเพราะกายแตกไป อย่างนี้แล บุคคเป็นสสังขารปรินิพพายีเพราะกายแตกไป

บุคคลเป็นอสังขารปรินิพพายีในภพปัจจุบันเป็นอย่างไร? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ได้ปฐมฌาน ฯลฯ ได้ทุติยฌาน ฯลฯ ได้ตติยฌาน ฯลฯ ได้จตุตถฌาน ฯลฯ ภิกษุนั้นอาศัยเสขพละ ๕ นี้คือ สัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา อยู่ ทั้งอินทรีย์ ๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ของเธอก็แก่กล้า เพราะอินทรีย์ ๕ นี้แก่กล้า เธอย่อมเป็นอสังขารปรินิพพายีในภพปัจจุบัน อย่างนี้แล บุคคลเป็นอสังขารปรินิพพายีในภพปัจจุบัน

บุคคลเป็นอสังขารปรินิพพายีเพราะกายแตกไปเป็นอย่างไร? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ได้ปฐมฌาน ฯลฯ ได้ทุติยฌาน ฯลฯ ได้ตติยฌาน ฯลฯ ได้จตุตถฌาน ฯลฯ ภิกษุนั้นอาศัย

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 401

เสขพละ ๕ นี้คือ สัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา อยู่ แต่อินทรีย์ ๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ของเธออ่อน เพราะอินทรีย์ ๕ นี้อ่อน เธอย่อมเป็นอสังขารปรินิพพายีเพราะกายแตกไป อย่างนี้แล บุคคลเป็นอสังขารปรินิพพายีเพราะกายแตกไป

ภิกษุทั้งหลาย นี้แลบุคคล ๔ จำพวกมีอยู่ในโลก.

จบสสังขารสูตรที่ ๙

อรรถกถาสสังขารสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสสังขารสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บุคคลที่ ๑ ที่ ๒ เป็นสุกขวิปัสสก ยังสังขารนิมิตให้ปรากฏด้วยความเพียรเรี่ยวแรง. ในบุคคลเหล่านั้น คนหนึ่ง ย่อมปรินิพพานด้วยกิเลสปรินิพพานในอัตภาพนี้ เพราะอินทรีย์คือวิปัสสนามีกำลัง คนหนึ่งปรินิพพานไม่ได้ในอัตภาพนี้ เพราะอินทรีย์ไม่มีกำลัง ต่อได้มูลกรรมฐานนั้นเท่านั้นในอัตภาพลำดับไป ยังสังขารนิมิตให้ปรากฏด้วยความเพียรเรี่ยวแรงแล้วจึงปรินิพพานด้วยกิเลสปรินิพพาน บุคคลที่ ๓ ที่ ๔ เป็นสมถยานิก (สมถะนำไป). บรรดาบุคคลเหล่านั้น พึงทราบว่า คนหนึ่งทำกิเลสให้สิ้นไปในอัตภาพนี้ เพราะอินทรีย์มีกำลังด้วยไม่ต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง คนหนึ่งทำกิเลสให้สิ้นไปไม่ได้อัตภาพในโลกนี้ เพราะอินทรีย์ไม่มีกำลัง ต่อได้มูลกรรมฐานนั้นเท่านั้น ในอัตภาพลำดับไปทำกิเลสให้สิ้นไปด้วยไม่ต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง ดังนี้.

จบอรรถกถาสสังขารสูตรที่ ๙