พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. ทุติยพลสูตร ว่าด้วยพละ ๔

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ต.ค. 2564
หมายเลข  38946
อ่าน  259

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 369

จตุตถปัณณาสก์

อินทริยวรรคที่ ๑

๓. ทุติยพลสูตร

ว่าด้วยพละ ๔


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 369

๓. ทุติยพลสูตร

ว่าด้วยพละ ๔

[๑๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พละ ๔ นี้ ฯลฯ คือ

ปญฺาพลํ พละคือปัญญา

วิริยพลํ พละคือวิริยะ

อนวชฺชพลํ พละคือกรรมอันไม่มีโทษ

สงฺคาหกพลํ พละคือการสงเคราะห์คนที่ควร สงเคราะห์

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล พละ ๔.

จบทุติยพลสูตรที่ ๓

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 370

อรรถกถาทุติยพลสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยพลสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อนวชฺชพลํ คือ พละคือกรรมที่ไม่มีโทษ. บทว่า สงฺคาหกพลํ ได้แก่ พละคือการสงเคราะห์คนที่ควรสงเคราะห์.

จบอรรถกถาทุติยพลสูตรที่ ๓